สรุปมติที่ประชุม กสทช. 19/2554

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ 
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 19/2554
วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2554  เวลา  09.30  น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12  อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 
1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์                  ประพิณมงคลการ                ประธานกรรมการ
2.  รองศาสตราจารย์สุธรรม               อยู่ในธรรม                        กรรมการ 
3.  นายสุรนันท์                              วงศ์วิทยกำจร                      กรรมการ
4.  พันเอก นที                               ศุกลรัตน์                           กรรมการ
5.  รองศาสตราจารย์พนา                 ทองมีอาคม                        กรรมการ
6.  นายฐากร                                 ตัณฑสิทธิ์                         รักษาการในตำแหน่ง เลขาธิการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่                                                                                               เลขาธิการ กสทช.
 
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
 
1.  นายอารักษ์                     โพธิทัต                          ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการประชุมและเลขานุการ
2.  นางดวงเดือน                   เสวตสมบูรณ์                   ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ และติดตามประเมินผล
3.  นายบุญยิ่ง                      โหมดเทศน์                     ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนมติและรายงานการประชุม
4.  นางนภาพร                      เก่งสาร                          ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
5.  นางสาวสุภาวดี                 สดศรี                            ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6.  นางสาวจุฑาสินี               คำบำรุง                          ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
7.  นางสาวณัฐจิรา                ขันทอง                          ปฏิบัติหน้าที่พนักงานปฏิบัติการประจำส่วนงาน กทช.สุธรรมฯ
 
ระเบียบวาระที่  1         :    เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่  1         :     เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

 
1.  ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งเวียนให้ทราบว่า มีหนังสือจาก European Union Ambassador  และผู้อำนวยการ Joint Foreign Chambers of Commerce in Thailand ท้วงติงเรื่องหลักเกณฑ์การถือหุ้นโดยคนต่างชาติ  ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้จัดทำประชาพิจารณ์ไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว จึงได้ขอให้ที่ปรึกษาพิจารณาให้ความเห็น แล้วแจ้งเวียนให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ทุกท่านทราบแล้ว
2.  ในช่วงระยะนี้ เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ได้เดินทางไปต่างประเทศและภายในประเทศมากทำให้ไม่สามารถติดต่อเรื่องงานได้ ในชั้นนี้ขอให้เลขาธิการ กสทช. ได้กำชับว่าในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ขอให้ทำงานอย่างขยันขันแข็งและอยู่ปฏิบัติงานที่สำนักงาน กสทช. ด้วย
3.  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในเรื่อง Europearn Union Ambassador  โดยท่านประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.อาจมอบหมายหรือมีบัญชาให้สำนักงาน กสทช.นำหนังสือของ European Union Ambassador  และของผู้อำนวยการ Joint Foreign Chambers of Commerce in Thailand ที่ท้วงติงเรื่องหลักเกณฑ์ถือหุ้นโดยคนต่างชาติ  ลง Website ของ สำนักงาน กสทช. ด้วย เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำประกาศ กทช. เรื่องการครอบงำฯ  ตลอดจนคำวินิจฉัยของศาลปกครองในการพิจารณาสัดส่วนผู้ถือหุ้นโดยละเอียดทุกขั้น ซึ่งหากออกประกาศแล้ว มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ก็สามารถนำคำพิพากษาของศาลปกครองเพื่อยืนยันความถูกต้อง นอกจากนี้ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า สำนักงาน กสทช. ควรจะได้วิเคราะห์เปรียบเทียบความเห็นของ EU ดังกล่าวกับประกาศของ กทช. ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วเวียนให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ทุกท่านได้ทราบ นอกจากนี้ ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมกรณีข้อความในหนังสือจาก EU ดังกล่าว ระบุว่าขัดต่อข้อตกลงของ GATS และได้อ้างถึงหนังสือที่ส่งกลับมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งจำเป็นต้องตรวจสอบ และนำหนังสือดังกล่าวมาพิจารณาและวิเคราะห์ประกอบด้วย
4.  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ได้แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุม กรณีหากมีการฟ้องร้องต่อศาล เราก็ชนะ เพราะว่าประเทศโลกที่สามไม่ยอมประเทศพัฒนาแล้วทั้งอินเดีย บราซิล และ เม็กซิโก ถ้าเขาเปิดเขาจะบอกว่าเขาเปิด ไม่ใช่บอกว่าคุณไม่ปิดก็ต้องเปิด หรือถ้าคุณไม่มี Condition กำหนดไว้แล้ว ก็ถือว่าคุณเปิดอัตโนมัติ แบบนี้ไม่ได้ ซึ่งในส่วนของเรามีคำพิพากษาศาลปกครอง Back up อยู่แล้ว
                                      
มติที่ประชุม                รับทราบเรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. กรณีหนังสือท้วงติงจาก European Union Ambassador  และผู้อำนวยการ Joint Foreign Chambers of Commerce in Thailand เรื่อง หลักเกณฑ์การถือหุ้นโดยคนต่างชาติ  โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการต่อไป โดยให้นำหนังสือท้วงติงจาก European Union Ambassador  และผู้อำนวยการ Joint Foreign Chambers of Commerce in Thailand เรื่อง หลักเกณฑ์การถือหุ้นโดยคนต่างชาติ ลง Website ของสำนักงาน กสทช. และวิเคราะห์เปรียบเทียบความเห็นของ EU ดังกล่าวกับประกาศของ กทช. ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วเวียนให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ทุกท่านได้รับทราบ
 
ระเบียบวาระที่  2         :   เรื่องรับรองรายงานการประชุม รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554   วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2554
ระเบียบวาระที่  2         :       รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554  วันพุธที่ 15มิถุนายน 2554

 
มติที่ประชุม                  รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554   วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2554 โดยมีข้อแก้ไข ดังนี้
1.  ในหน้า 5 -7 ของระเบียบวาระที่ 4.1 ให้ปรับรูปแบบการเขียนมติที่ประชุมใหม่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยแยกเนื้อหาระหว่าง “ การอภิปราย ” และ “ มติที่ประชุม ” ออกจากกัน เป็นดังนี้
มติที่ประชุม      
1.  ตามบันทึกความเห็นที่ 373/2554 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 ของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เป็นเพียงการรับรองในหลักการของที่ประชุม โดยมีรายละเอียดและเหตุผลที่เกี่ยวข้องที่ควรต้องคำนึงถึง ในเรื่องนี้ (Raise Concern) ตามบันทึกดังกล่าวตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ และที่ประชุมรับทราบ  คำชี้แจงเพิ่มเติมของ กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในส่วนที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
1.1 ในการประชุม กทช. ครั้งที่ 39/2553 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553 มีรายละเอียดโครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมที่ครบถ้วนทั้งหลักการ เหตุผล กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินการ และประมาณการงบประมาณ ซึ่งที่ประชุมมีมติอนุมัติโครงการภายใต้กรอบวงเงิน จำนวน 84 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กสทช.
1.2 ในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 8/2554 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 มีการทบทวนอีกครั้ง เสนอโดย กทช.บัณฑูรฯ มีทั้งหมด 5 โครงการ ซึ่งที่ประชุมมีมติยืนยันให้คงดำเนินการดังกล่าวข้างต้นจำนวน 84 ล้านบาท เนื่องจากเป็นการดำเนินการร่วมกันในรูปคณะกรรมการร่วมประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย-เดช ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว หากระงับไม่ได้มีการสนับสนุนอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ และมติดังกล่าวที่ประชุมมีการรับรองทุกครั้งมิได้มีการคัดค้าน
1.3 โครงการอิ่มบุญของวุฒิสภาเป็น 1 ใน 8 ของโครงการใหญ่ของวุฒิสภาที่เป็นโครงการเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุ 84 พรรษา และโครงการได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบรอบ 84 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของคณะรัฐมนตรีและเป็นโครงการที่จัดทำโดยองค์รวมของวุฒิสภา เป็นการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของเยาวชน จำนวน 84,000 คน หรือมากกว่าและเป็นโครงการที่ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงาน ในส่วนของสำนักงาน กสทช. ได้จัดทำโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม ซึ่งเป็นโครงการที่สอดคล้องกับภารกิจของ กสทช. การดำเนินโครงการเป็นในรูปแบบคณะกรรมการร่วม โดยมีเลขาธิการวุฒิสภา เป็นเลขานุการ ซึ่งประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ได้ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 8/2554   และ  39/2553  โดยมีหลักเหตุผลในการดำเนินงานพอสังเขป ซึ่งกิจกรรมมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับระเบียบ กทช. ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช. ซึ่งจัดได้ว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างยิ่ง จึงเห็นควรสนับสนุน และไม่น่าจะเป็นการ   ซื้อเสียงล่วงหน้าของสมาชิกวุฒิสภา
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปตรวจสอบในเรื่องกระบวนการ (Procedure) ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณากรณี “โครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ” เพื่อดำเนินการให้ถูกต้อง และครบถ้วนสมบูรณ์ตามกระบวนการที่ระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ให้เรียบร้อย (Due Process) ทั้งขั้นตอนการพิจารณากลั่นกรองงบประมาณโครงการฯ จำนวน 84 ล้านบาท ตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการงบประมาณฯ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 และการพิจารณารับรองรายงานการประชุมของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
2.  ในหน้า 8 ของระเบียบวาระที่ 4.2 ข้อ 3 บรรทัดที่ 6 จากท้าย ให้ปรับข้อความทั้งหมดตั้งแต่ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ ดังนั้น......... ” ไปขึ้นเป็นย่อหน้าใหม่
3.  ในหน้า 10 ของระเบียบวาระที่ 4.5 ข้อ 2 ให้ปรับปรุงข้อความใหม่ให้เหมาะสม และชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นดังนี้
2.  เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆที่เป็นกลาง (Third Party) จำนวน 2 ชุด เพื่อเข้ามาช่วยตรวจสอบและกลั่นกรอง รวมถึงให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะแก่ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในการดำเนินการเรื่องนี้ ให้มีความรอบคอบและถูกต้องตามหลักวิชาการมากยิ่งขึ้นทั้งในด้านเทคนิค และอีกคณะหนึ่งในด้านนิติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ อาทิ ในประเด็นผลกระทบต่อการแข่งขัน โดยให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ไปพิจารณาเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เหมาะสมในแต่ละด้าน แล้วเมื่อได้รายชื่อดังกล่าวแล้วให้ดำเนินการตรวจสอบประวัติ คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด แล้วจึงนำเสนอประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. เพื่อลงนามแต่งตั้งต่อไป ทั้งนี้ โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 45 วัน และให้ได้รับค่าตอบแทนในอัตรา 8,000 บาท ตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ. 2551 ต่อไป พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปพิจารณาจัดทำข้อกำหนด (TOR) ในการปฏิบัติงานเรื่องนี้ของผู้ทรงคุณวุฒิให้ชัดเจนด้วย อนึ่ง สำหรับในประเด็นด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้อง  มอบหมายให้ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาดำเนินการ
 
หมายเหตุ                      
1.  ภายหลังจากที่ประชุมได้พิจารณาระเบียบวาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม เสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมได้หยิบยกและอภิปรายเพิ่มเติมในเรื่องอื่นๆ อีก 2 เรื่อง สรุปได้ดังนี้
1.1 กรณีเรื่อง การรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียมอันเป็นผลจากการประชุมใหญ่ของ ITU เมื่อเร็วๆนี้ ขึ้นหารือและอภิปรายร่วมกัน และโดยที่เรื่องดาวเทียมดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.และสำนักงาน กสทช. ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กสทช.(นายทศพร  เกตุอดิศร) เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามข้อคิดเห็นของที่ประชุมในการรวบรวมรายละเอียดของข้อมูล และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องของสถานะการดำเนินงานเรื่องดาวเทียมทั้งหมดตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน (Facts) แล้วประมวลเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมกรณีการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออก (ได้บันทึกมติเรื่องนี้ไว้เป็นวาระที่ 6.10)
1.2 กรณีเรื่อง การแสดงความคิดเห็นกับบุคคล/หน่วยงานภายนอกของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ซึ่งปัจจุบัน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้รับเชิญเป็นรายบุคคลจากบุคคล/หน่วยงานภายนอกเพื่อให้ข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ มากยิ่งขึ้น ในการนี้ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบเป็นหลักการร่วมกันว่า ในการแสดงความคิดเห็นกับบุคคล/หน่วยงานภายนอกของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แต่ละคนนั้น ย่อมเป็นสิทธิที่กระทำได้โดยเป็นความรับผิดชอบของผู้นั้นเอง จะไม่มีผลผูกพันกับ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทั้งคณะไม่ว่าในกรณีใดๆทั้งสิ้น ยกเว้นแต่กรณีที่เป็นมติที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แล้วเท่านั้น (ได้บันทึกมติเรื่องนี้ไว้เป็นวาระที่ 6.12)
2.  นอกจากนี้ รองเลขาธิการฯ ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) ได้เสนอต่อที่ประชุมเพิ่มเติมกรณีการเดินทางไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงาน กสทช. (ทั้งในและต่างประเทศ) ของผู้บริหารสำนักงาน กสทช. ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ควรกำหนดเป็นนโยบายให้สำนักงาน กทช. ยึดถือปฏิบัติ โดยให้พิจารณาเดินทางเฉพาะภารกิจที่จำเป็นจริงๆ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการเท่านั้น และให้หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเฉพาะในวันที่มีการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้ว เห็นชอบด้วยตามที่รองเลขาธิการฯ ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) เสนอขอ (ได้บันทึกมติเรื่องนี้ไว้เป็นวาระที่ 6.11)
 
 
ระเบียบวาระที่  3       :     รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554 วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2554
 
ระเบียบวาระที่  3       :        รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554  วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2554

 
มติที่ประชุม              รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554  วันพุธที่ 15 มิถุนายน 2554  ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ

ระเบียบวาระที่  4         :    เรื่องเพื่อพิจารณา  
กลุ่มเรื่องที่ กทช. เสนอ
4.1    ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่  : กทช.สุธรรม
4.2    ขอให้ กทช. มีมาตรการบังคับให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการ ล่วงหน้า (เติมเงิน) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และเรื่องการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง กทช. และเครือข่ายผู้บริโภคในการรับเรื่องร้องเรียนด้าน
 โทรคมนาคม : กทช. พันเอก นทีฯ
 กลุ่มเรื่องที่สำนักงานฯ เสนอ          
 กลุ่มเรื่องกฎหมาย

4.3   ผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ฉบับ : กม.
4.4   การพิจารณาคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมใหม่ (บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)) : กม.
4.5   การยืนยันรายชื่อหรือเสนอรายชื่อเพิ่มเติมกรณีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เปรียบเทียบคดี ความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 : กม.
กลุ่มเรื่องใบอนุญาต     
ก.  การขอรับใบอนุญาต/การขอขยายระยะเวลา
4.6  รายงานผลการดำเนินการและขอขยายระยะเวลาในการเปิดให้บริการของ บริษัท ดีแทค อินเตอร์เนต เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.7  บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตให้บริการต่อโดยไม่ยกเลิก ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง (บริการ medium-MVNO) : ปก.
4.8   การขอขยายระยะเวลาการใช้บริการโครงข่ายระบบ GSM 900 MHz เพื่อให้ บริการโทรศัพท์ทางไกลชนบทระบบ Wireless Local Loop : WLL ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.9    การขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ ย่าน 470 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  : ปก.
4.10  บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่นส์ แอนด์ เซลส์ จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการ สำหรับบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ภายใต้ใบอนุญาตประกอบ กิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง : ปก.
4.11  บริษัท สยามเทเลคอมแอคเซส จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการ การขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO : ปก.
4.12  การขออนุญาตกรณีการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ถือครองหุ้นในบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด : ปก.
ข. เรื่องอื่นๆ
4.13   การตรวจสอบการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ระหว่างประเทศ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่าย เป็นของตนเอง ของบริษัท สวัสดีช้อป จำกัด : ปก.
4.14   เงื่อนไขเฉพาะสำหรับใบอนุญาตแบบที่สามการให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคล                 ระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) : ปก.
4.15   การกำหนดขอบเขตของการให้บริการเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.16   วิธีการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : ปก.
4.17   การปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.18   หลักเกณฑ์การนำรายการ CDMA DATA Content มาขอหักลดหย่อน ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม : ปก.      
4.19   ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายในการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมของบริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.20   ขอความเห็นชอบการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับ (ร่าง) ประกาศ หลักเกณณ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง พ.ศ. 2554 (Unified License) : ปก.
4.21   โครงการเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอ่าวไทย ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ปก.
กลุ่มเรื่องการขอใช้ความถี่วิทยุ/ตั้งสถานีวิทยุ
4.22   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท เอ็นเอ็นอาร์ โกลบอล โลจิสติคส์ (ประเทศไทย)) : ฉก.
4.23   การยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตวิทยุคมนาคมที่ออกแทนฉบับเดิมที่หมดอายุอันมีสาเหตุจากความล่าช้าภายในกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาต : ฉก.
4.24   การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (จำนวน 5 เรื่อง) : ฉก.
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน
 - บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม
- องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ขออนุญาตสำรองการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคม
- กรมการทหารสื่อสาร ขออนุญาตใช้และนำเข้าเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์
- กองทัพเรือ ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบ FM จำนวน 3 เครื่อง
4.25   บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานี วิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุเดิม และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเดิมที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว : ฉก.
4.26   การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และยกเลิกใช้ความถี่วิทยุ (บริษัท น้ำตาลเกษตรไทย จำกัด และ บริษัท เกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล จำกัด) : ฉก.
4.27   การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุและเครื่องวิทยุ คมนาคม (บริษัท ขอนแก่น แอลกอฮอล์ จำกัด) : ฉก.
4.28   การจัดสรรคลื่นความถี่ทดแทนและยกเลิกการใช้ความถี่วิทยุ กรณีจัดสรร คลื่นความถี่วิทยุซ้ำระหว่างสำนักราชเลขาธิการกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ และกรมการสื่อสารทหารกับสำนักงานศาลยุติธรรม : ฉก.          
4.29   คำชี้แจงกรณีการขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุ คมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมของกองบัญชาการกองทัพไทย : ฉก. 
4.30   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท สยามกรกิจ จำกัด) : ฉก.
4.31   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท เช้งเก้อร์  (ไทย) จำกัด) : ฉก.
4.32   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท พีเอ็ม เซ็นเตอร์ จำกัด) : ฉก.
4.33   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท ทางยกระดับ ดอนเมือง จำกัด (มหาชน)) : ฉก.
4.34   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด) : ฉก.
4.35   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท ฮัลลิเบอร์ตัน เอ็นเนอจี เซอร์วิสเซส อิงค์) : ฉก.
4.36   บริษัท เมอร์เมด ออฟชอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุในกิจการนำทางทางการบิน (AERONAUTICAL RADIONAVIGATION SERVICE) เพื่อใช้งานกับเครื่องวิทยุช่วยเดินอากาศระบบ Non-Directional Radio Beacon (NDB) ติดตั้งใช้งานบนเรือ เมอร์เมด เอเชียน่า (MERMAID ASIANA) : ฉก.
กลุ่มเรื่องการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม
4.37   การพิจารณาดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการ โทรศัพท์สาธารณะ : กท.
4.38   ขออนุญาตควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด : พต.
4.39   ร่างระเบียบ กสทช. ว่าด้วยกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการงดหรือระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือ
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันประโยชน์สาธารณะ : กท.
กลุ่มเรื่องเลขหมาย
4.40   การพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น : กบ., คกก.กำหนดค่าปรับทางปกครองฯเรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศที่ใช้รหัสบริการ : กบ.    
4.42   มาตรการทางกฎหมายกับบริษัท ทรู มูฟ จำกัด กรณีไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด การไต่สวนข้อเท็จจริงที่ 1/2553 : ลสทช., คกก.ศึกษาและกำหนดค่าปรับทางปกครองฯ      
4.43   หลักเกณฑ์การใช้รหัสแสดงเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Network Code – MNC) : กบ.                     
กลุ่มเรื่องการบริหารงานของสำนักงานฯ
4.44   การตรวจสอบภายในของสำนักงาน กสทช. : ปต.         
4.45   การดำเนินการกรณีพนักงานไม่สามารถเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2554 เนื่องจากเงินเดือนเต็มขั้นสูงของตำแหน่ง หรือมีเงินเดือนใกล้เต็มขั้นสูงของตำแหน่ง : บค.
4.46    ข้อเสนอโครงการประเมินมูลค่าใบอนุญาตเทคโนโลยี 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz   ของประเทศไทย : ปธ.
4.47   ขอขยายเวลาการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บท กิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2553) : คณะกรรมการติดตาม ประเมินผลแผนแม่บทฯ      
4.48   โครงการนำร่องในการพัฒนาบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงในพื้นที่การให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ระยะที่ 1 : ทถ.
4.49   โครงการพัฒนาต้นแบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาการศึกษาและบริการสุขภาพ : ทถ.
4.50   การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฯ : พต.
4.51   การแจ้งเตือนภัยพิบัติ : ปธ.
4.52   การประเมินผลตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPI) ของสำนักงานคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2553 : บค., พต. 
4.53   ความเห็นในหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าบริการสาขา Information and  Communication Technology Service (ICT) : รศ.
กลุ่มเรื่องวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
4.54   การดำเนินการตามความตกลง Mutual Recognition Arrangement (MRAs)  สาขาโทรคมนาคม : กร., วท.
4.55   การเรียกคืนคลื่นความถี่ GSM 1900 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ตว.
4.56   รายงานผลการศึกษาเทคโนโลยีสำหรับคลื่นความถี่ใช้ร่วมสาธารณะ : คกก.กำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
โทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและ อุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เรื่อง เครื่องโทรศัพท์สาธารณะ : วท.
4.58   (ร่าง) ประกาศ กสทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและ อุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เรื่องเครื่องโทรศัพท์ประจำที่, (ร่าง) ประกาศ กสทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์สำหรับ
คนพิการและผู้สูงอายุ เรื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่และร่างแผนการดำเนินการจัดทำ มาตรฐานผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ : คณะอนุกรรมการจัดมาตรฐานผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ, วท.      
กลุ่มเรื่องสิทธิแห่งทาง/USO
4.59   ขออนุมัติจัดทำแนวทางการทำความตกลงเพื่อขอใช้สิทธิแห่งทางในการใช้ประโยชน์ ในที่ดินหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นในการให้บริการโทรคมนาคม : พต.
4.60   แนวทางการพาดสายโทรคมนาคมผ่านสะพานหรือโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานของรัฐ : พต.
4.61   มาตรการช่วยเหลือการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ : ศฐ., ทถ., พต., สชท.
4.62   วิธีการคิดค่าธรรมเนียม USO เพื่อใช้กำหนดปริมาณภารกิจ USO ที่ต้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553 ของ บมจ. ทีโอที และบมจ. กสท โทรคมนาคม : ทถ.
กลุ่มเรื่องการขอสนับสนุนงบประมาณ
4.63   การขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆจำนวน 5 รายการ : กทช.บัณฑูร
4.64   การขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 2 รายการ : กทช.บัณฑูร
4.65   ขออนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณขอรับการสนับสนุนโครงการที่หลบภัยสึนามิและศูนย์เรียนรู้ภัยธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ระยะที่ 2 : กจ.
4.66   ขออนุมัติงบประมาณดำเนินการโครงการ ประจำปี 2554 (จำนวน 4 โครงการ) : ปส.
4.67   พิจารณาอนุมัติให้บรรจุงบประมาณโครงการ “ส่งเสริม สนับสนุน การเผยแพร่ การดำเนินงานของโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบท ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ในแผนงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กสทช. ประจำปี 2554 : ทถ.
4.68   พิจารณาสนับสนุนโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ชุมชน ผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) และการศึกษาทางไกล (Tele-education) ภายใต้โครงการเครือข่ายสุขภาพ มารดา  และทารก เพื่อครอบครัวเด็กและเยาวชนไทย : ลสทช., บป., กจ.
4.69   ขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับการดำเนินการกับสถานีวิทยุชุมชนและโทรทัศน์ชุมชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับ สำนักงาน กสทช. : บป.
4.70   ขออนุมัติงบประมาณ ปี 2554 สำหรับโครงการเพิ่มศักยภาพระบบสนับสนุนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : ปก.
4.71   การพิจารณาความเหมาะสมของงบประมาณสำหรับการดำเนินงานโครงการ และการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการ จำนวน 4 รายการ : งป.
- โครงการจัดระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน จำนวน    49.60 ล้านบาท
- โครงการเผยแพร่ภารกิจด้านกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมภายใน งานบีโอไอแฟร์   2011 (BOI FAIR 2011) จำนวน 35.00 ล้านบาท
- โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (Digital Learning Contest)   จำนวน 2.00 ล้านบาท
- การสนับสนุนงบประมาณโครงการอนุรักษ์เทปยูเมติก จำนวน 3.50 ล้านบา
4.72   การชำระค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and Beyond) : รสทช.ประเสริฐ, คกก.ตรวจและ รับมอบงานจ้างที่ปรึกษาฯ
4.73   งบประมาณสำหรับการเบิกจ่ายค่าจ้างส่วนเพิ่มเติมจากงบประมาณเดิมของสัญญาโครงการที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) : คกก.ตรวจและรับมอบงานจ้าง ที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond)
กลุ่มเรื่องกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.74   การทบทวนนโยบายในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์
4.75   นโยบายดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
 : กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์           
4.76   โครงการทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน : กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
4.77   ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและการประกอบกิจการชั่วคราวในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ครั้งที่ 2 เมื่อวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2553 : กทช.พนา, กส.
4.78   การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. ต่อกรณีนายประมุท สูตะบุตรยื่นข้อร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) : กส.
4.79   การพิจารณาดำเนินการคัดเลือกพนักงานตามสัญญาจ้างเพื่อปฏิบัติงานด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กส.
กลุ่มเรื่องสถาบัน
4.80   การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี และการจ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของ ผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ : คกก.กำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ    
4.81   งบการเงินของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 19 ธันวาคม 2553 : สนง.กองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ
4.82   การต่อสัญญาการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มภารกิจเลขานุการกองทุนฯ : บค.
4.83   การแต่งตั้งเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกิจการโทรคมนาคมและให้สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเป็นฝ่ายธุรการของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
: กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.84   การต่ออายุสัญญาการปฏิบัติงานของ นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : สพท.
4.85   การต่อสัญญาปฏิบัติงานรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : สพท.
4.86   เงื่อนไขการให้บริการคงสิทธิเลขหมายมีลักษณะที่ขัดต่อกฎหมาย : สบท.
4.87   โครงการพัฒนาศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคม สำหรับคนพิการและ ผู้สูงอายุ (โครงการต่อเนื่อง) : สบท.
4.88   โครงการสนับสนุนการรับเรื่องร้องเรียนและพัฒนาศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ปี 2554 : สบท.
4.89   ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางและร่างหลักเกณฑ์การให้บริการเสริมผ่านมือถือเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกรบกวนและเพื่อการกำกับดูแล : สบท.  
กลุ่มเรื่องเสนอใหม่       
4.90   การประชุม ASEAN Telecommunication Regulators’Council (ATRC) ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 11-14 กรกฎาคม 2554 ณ บรูไน ดารุสซาลาม : กร.
4.91   โครงการปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน ASEAN Secretariat สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : บค.
4.92   การจัดทำความตกลงด้านการผลิตภาพยนตร์และโสตทัศน์กับอินเดีย : กส.
4.93   การแจ้งตอบความเห็นต่อกรณีข้อหารือขอให้สำนักงาน กสทช. จัดตั้งสถานีวิทยุให้กรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติ : กส.
4.94   คำขออนุญาตใช้ความถี่เพื่อตั้งวิทยุชุมชุน ของสำนักงานเทศบาลตำบลน้ำน้อย : กส.
4.95   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริหารชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2554 (จำนวน 6 สถานี) : กส.
- สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
- สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสืบสานวัฒนธรรมประเพณีภูไท
- สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อความมั่นคงเสียงสามแยก
- สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบ้านจอมบึง
- สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบางใหญ่เรดิโอ
- สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนซีรีส์ เรดิโอ
4.96   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว
(กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2554 (จำนวน 15 ราย 21 ใบอนุญาต) : กส.
4.97   รายงานผลการดำเนินงานด้านการกำกับเนื้อหาโทรทัศน์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำเดือนเมษายน 2554 : กส.
4.98   รายงานผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ไตรมาส 4 ประจำปี 2553 และไตรมาส 1 ประจำปี 2554 : งป.
4.99   บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด ขอให้ช่วยสนับสนุนผู้ให้บริการ โทรคมนาคมในพื้นที่อ่าวไทย : ปก.
4.100  บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ซ แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด ขออนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคมเพิ่มเติมโดยใช้คลื่นความถี่ 400 MHz สำหรับให้บริการวิทยุคมนาคม : ปก.
4.101   บริษัท เซอร์วิส อินเตอร์เน็ต โฟน จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง บริการ ADSL บริการ  Leased Line และบริการ VoIP : ปก.
4.102    ความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ... : ปก., กม.
4.103    การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz และการขอปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี  ย่านความถี่ 800 MHz ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม :ปก.                             
4.104    บริษัท โอทาโร เวิลด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคมแบบที่สาม : ปก.
4.105    การอนุญาตให้เอกชนใช้ความถี่วิทยุสำหรับข่ายสื่อสารเฉพาะกิจ (บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด และบริษัท ก้าวหน้า เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด) : ฉก.
4.106    ร่างแถลงการณ์ร่วม ด้าน ICT และ Broadcasting ระหว่าง สำนักงาน กสทช. และ NICT ประเทศญี่ปุ่น : สพท.   
4.107    ผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ฉบับ : กม.
 
ระเบียบวาระที่   4       :      เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่   4.1    :      ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.

 
มติที่ประชุม               เห็นชอบในหลักการการพิจารณาหมุนเวียนภาระหน้าที่ของผู้บริหารในสำนักงาน กสทช. และการนำระบบการออกใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ (Automatic License) มาใช้เพื่อให้การกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นไปตามหลักนิติธรรม  ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดย กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.จะได้มีการพิจารณาและหารือในรายละเอียดของเรื่องนี้ร่วมกันเป็นการภายในต่อไป
 
ระเบียบวาระที่   4.2   :  ขอให้ กทช. มีมาตรการบังคับให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า (เติมเงิน) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และเรื่องการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง กทช. และเครือข่ายผู้บริโภคในการรับเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคม : กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
 
มติที่ประชุม            
1.  รับทราบเรื่องเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในการรับเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคมยื่นหนังสือขอให้ กทช.กำหนดมาตรการบังคับให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า (เติมเงิน) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และเรื่องการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง กทช. และเครือข่ายผู้บริโภคในการรับเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคม ตามที่ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เสนอ
2.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าโดยที่ขณะนี้มีผู้ประกอบการหลายรายได้ยื่นฟ้อง กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ต่อศาลปกครอง กรณีมีคำสั่งให้ผู้ประกอบการทุกรายปฏิบัติตามข้อ 11 ของประกาศ กทช.เรื่อง มาตรฐานของสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม ว่าเป็นการออกกฎหรือคำสั่งโดยมิชอบ ดังนั้น เพื่อให้การชี้แจงคดีต่อศาลเป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบซึ่งผลการวินิจฉัยของศาลในกรณีดังกล่าวย่อมเกี่ยวพันโดยตรงต่อการบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจหน้าที่ของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.รับไปพิจารณาดำเนินการเตรียมความพร้อมในการรวบรวมรายละเอียดข้อมูล และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการดำเนินการทางคดีให้เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนของศาลได้อย่างครบถ้วน และสมบูรณ์ต่อไป
 
ระเบียบวาระที่    4.3     :  ผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน ๓ ฉบับ : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม.
 
มติที่ประชุม                 เห็นชอบผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท    โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ฉบับ ตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ซึ่งได้รับมอบอำนาจตาม มติที่ประชุม ครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553  และมติ ที่ประชุม ครั้งที่ 31/2553 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553  ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้ 
1.  สัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส   คอมมูนิเคชั่น ประเภทจดทะเบียนสำหรับผู้ใช้บริการ ประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
2.  สัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส   คอมมูนิเคชั่น ประเภทจดทะเบียนสำหรับผู้ใช้บริการ ประเภทองค์กรภาครัฐ และองค์กรภาคธุรกิจ
3.  สัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส   คอมมูนิเคชั่น  ประเภทเติมเงินสำหรับผู้ใช้บริการ ประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
                ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กสทช.มีหนังสือแจ้ง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมายและประกาศ กทช.เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ต่อไป
 
ระเบียบวาระที่   4.4     :  การพิจารณาคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมใหม่ (บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)) : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม.
 
มติที่ประชุม               เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช.มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ให้บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทราบ โดยยืนยันให้  บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  ได้สิทธิตามคำวินิจฉัยที่ 2/2553 และคำวินิจฉัยที่ 3/2553 ซึ่งกำหนดให้บังคับใช้อัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างกันนับแต่วันที่ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 มีผลบังคับใช้ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ ให้แจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น ให้ศาลปกครองทราบตามคดีหมายเลขดำที่ 1481/2553 ต่อไปด้วย
                                     
ระเบียบวาระที่     4.24     :  การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (จำนวน ๕ เรื่อง) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม
- องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยขออนุญาตสำรองการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคม
- กรมการทหารสื่อสาร ขออนุญาตใช้และนำเข้าเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์
- กองทัพเรือ ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบ FM จำนวน 3 เครื่อง
 
มติที่ประชุม                รับทราบ และเห็นชอบให้ถอนเรื่อง การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (จำนวน 5 เรื่อง)  เนื่องจากเป็นการนำเสนอของ กทช.สุชาติฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อการเร่งรัดติดตามผลการพิจารณาเรื่องทั้งหมดดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็วในขณะนั้น และต่อมาเรื่องทั้ง 5 เรื่องดังกล่าวก็ได้ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 9/2554   ครั้งที่ 14/2554  และ ครั้งที่ 17/2554 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาอีก ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) เสนอ
 
ระเบียบวาระที่    4.29    :  คำชี้แจงกรณีการขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมของกองบัญชาการกองทัพไทย : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบรายงานคำชี้แจงและเหตุผลความล่าช้าในการพิจารณาคำขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมของกองบัญชาการกองทัพไทย ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งกองบัญชาการกองทัพไทยเพี่อทราบข้อเท็จจริงถึงสาเหตุของความล่าช้าในการพิจารณาคำขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม และนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม ที่เกิดขึ้นอันเป็นผลสืบเนื่องจากขั้นตอนการดำเนินการของกองบัญชาการกองทัพไทยด้วยประการหนึ่ง ซึ่งสมควรต้องพิจารณาแก้ไขปรับปรุงให้รวดเร็วยิ่งขึ้นต่อไปตามข้อเสนอแนะของ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (ปต.) รับข้อคิดเห็นของ กทช.สุธรรมฯปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ไปติดตามงานที่ยังล่าช้าอยู่ แล้วรายงานให้ทราบทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป ดังนี้
2.1 เร่งรัดการจัดทำประกาศ กทช.เรื่อง Automatic license  เพื่อนำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.พิจารณาโดยด่วน
2.2  เร่งรัดติดตามเรื่อง การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมของสำนักราชเลขาธิการ เนื่องจากล่าช้ามานานมากแล้ว
 
ระเบียบวาระที่    4.31     :  การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท เช้งเก้อร์  (ไทย) จำกัด) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                  
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า กรณีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขอขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม เป็นการขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตแล้ว ก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 2553) และเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิม และยังไม่ถูกยกเลิก นำมาใช้งานซ้ำกับเครื่องวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในกิจการของบริษัท เช้งเก้อร์  (ไทย) จำกัดโดยการเช่าใช้จาก บมจ.กสท โทรคมนาคม และความถี่วิทยุ 450.500 MHz เป็นความถี่วิทยุในย่าน 450-455 MHz ตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ใช้ความถี่วิทยุในกิจการประจำที่ (Fixed Service) และกิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) เป็นกิจการหลัก ซึ่งการใช้งานความถี่วิทยุของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ใช้ในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) ด้วยเหตุนี้ การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจึงสอดคล้องกับข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และเป็นการใช้ความถี่ความถี่วิทยุถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม และไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่น ประกอบกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันว่าตามบทเฉพาะกาล มาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 บัญญัติให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในฐานะ กสทช. จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กสทช. ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า กทช.ปฏิบัติหน้า กสทช. มีอำนาจเช่นเดียวกับ กสทช.ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 27 (4) (6) บัญญัติให้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนเป็นการอนุญาตตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นการใช้งานตามปกติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ
2.  ดังนั้น ผลจากการพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1 แล้ว ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่ 450.500 MHz ระบบ UHF/FM ความกว้างแถบคลื่นไม่เกิน 16 KHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือแก่บริษัท เช้งเก้อร์  (ไทย) จำกัด ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า การอนุมัติจะมีผลเมื่อ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันอำนาจของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มาเรียบร้อยแล้ว อาทิ ในมาตรา 27 (1) ตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 6/2554 และตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้เป็นไปตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1)   ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งการอนุญาต ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขอใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2)   ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ UHF/FM ชนิดมือถือ กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ จำนวน 12 เครื่อง
3)   เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2) ต้องเป็นประเภทผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
4)   จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5)   บมจ. กสท โทรคมนาคม จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
6)   ให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว ให้บริษัท เช้งเก้อร์  (ไทย) จำกัด
“    อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม  ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว  ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น ”
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ประสานงานกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในรายละเอียดการจัดทำหนังสือยืนยันอำนาจหน้าที่ของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาอนุญาตเครื่องวิทยุคมนาคมตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ในกรณีต่างๆ ของ บมจ.กสท โทรคมนาคมสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 6/2554 และตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองยิ่งขึ้น
                                               
ระเบียบวาระที่   4.4    :  การพิจารณาคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมใหม่ (บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)) : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม.
 
มติที่ประชุม                  
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า กรณีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขอขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม เป็นการขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตแล้ว ก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 2553) และเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิม และยังไม่ถูกยกเลิก นำมาใช้งานซ้ำกับเครื่องวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในกิจการของบริษัท พีเอ็ม เซ็นเตอร์ จำกัดโดยการเช่าใช้จาก บมจ.กสท โทรคมนาคม และความถี่วิทยุส่ง/รับ 142.350 MHz เป็นความถี่วิทยุในย่าน 137.175 - 148 MHz ตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ใช้ความถี่วิทยุในกิจกการประจำที่ (Fixed Service) และกิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) เป็นกิจการหลัก ซึ่งการใช้งานความถี่วิทยุของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ใช้ในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) ด้วยเหตุนี้ การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจึงสอดคล้องกับข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และเป็นการใช้ความถี่ความถี่วิทยุถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม และไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่น ประกอบกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันว่าตามบทเฉพาะกาล มาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 บัญญัติให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในฐานะ กสทช. จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กสทช. ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า กทช.ปฏิบัติหน้า กสทช. มีอำนาจเช่นเดียวกับ กสทช.ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 27 (4) (6) บัญญัติให้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนเป็นการอนุญาตตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นการใช้งานตามปกติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ
2.  ดังนั้น  ผลจากการพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1 แล้ว ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุส่ง/รับ 142.950 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบคลื่นไม่เกิน 16 KHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือแก่บริษัท พีเอ็ม เซ็นเตอร์ จำกัด ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า การอนุมัติจะมีผลเมื่อ บมจ.กสท โทรคมนาคม มีหนังสือแจ้งยืนยันอำนาจของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2553 มาเรียบร้อยแล้ว อาทิ ในมาตรา 27 (1) ตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 6/2554 และตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้เป็นไปตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1)  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งการอนุญาต ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขอใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2)  ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ชนิดมือถือ กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ จำนวน 15 เครื่อง
3)  เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2) ต้องเป็นประเภทผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
4)  จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5)  บมจ. กสท โทรคมนาคม จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
6)  ให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม  ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว ให้บริษัท พีเอ็ม เซ็นเตอร์ จำกัด
“    อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม  ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว  ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น ”
 
 
ระเบียบวาระที่    4.33     :   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (     บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                  
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า กรณีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขอขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม เป็นการขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตแล้ว ก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 2553) และเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิม และยังไม่ถูกยกเลิก นำมาใช้งานซ้ำกับเครื่องวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในกิจการของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) โดยการเช่าใช้จาก บมจ.กสท โทรคมนาคม และความถี่วิทยุส่ง/รับ 155.625 / 149.625 MHz เป็นความถี่วิทยุในย่าน 150.05 – 156.7625 MHz และ 148 – 149.9 MHz ตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ใช้ความถี่วิทยุในกิจกการประจำที่ (Fixed Service) และกิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) เป็นกิจการหลัก ซึ่งการใช้งานความถี่วิทยุของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ใช้ในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) ด้วยเหตุนี้ การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจึงสอดคล้องกับข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และเป็นการใช้ความถี่วิทยุถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม และไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่น ประกอบกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันว่าตามบทเฉพาะกาล มาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 บัญญัติให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในฐานะ กสทช. จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กสทช. ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า กทช.ปฏิบัติหน้า กสทช. มีอำนาจเช่นเดียวกับ กสทช.ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 27 (4) (6) บัญญัติให้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนเป็นการอนุญาตตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นการใช้งานตามปกติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ
2.  ดังนั้น ผลจากการพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1 แล้ว ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุส่ง/รับ 155.625/149.625 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบคลื่นไม่เกิน 16 KHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือแก่  บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)  ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า การอนุมัติจะมีผลเมื่อ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันอำนาจของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.๒๕๕๓ มาเรียบร้อยแล้ว อาทิ ในมาตรา ๒๗ (๑) ตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ ๖/๒๕๕๔ และตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้เป็นไปตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1)  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งการอนุญาต ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขอใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2)  ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ชนิดมือถือ กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ จำนวน 50 เครื่อง
3)  เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2) ต้องเป็นประเภทผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
4)  จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5)  บมจ. กสท โทรคมนาคม จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
6)  ให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว ให้บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
  “ อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม  ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว  ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น ”
                                     
ระเบียบวาระที่    4.34     :  การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด) :ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                  
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า กรณีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขอขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม เป็นการขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตแล้ว ก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 2553) และเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิม และยังไม่ถูกยกเลิก นำมาใช้งานซ้ำกับเครื่องวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในกิจการของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด โดยการเช่าใช้จาก บมจ.กสท โทรคมนาคม และความถี่วิทยุส่ง/รับ 142.950 MHz เป็นความถี่วิทยุในย่าน 137.175 – 148 MHz ตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ใช้ความถี่วิทยุในกิจการประจำที่ (Fixed Service) และกิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) เป็นกิจการหลัก ซึ่งการใช้งานความถี่วิทยุของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ใช้ในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) ด้วยเหตุนี้ การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจึงสอดคล้องกับข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และเป็นการใช้ความถี่วิทยุถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม และไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่น ประกอบกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันว่าตามบทเฉพาะกาล มาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 บัญญัติให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในฐานะ กสทช. จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กสทช. ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า กทช.ปฏิบัติหน้า กสทช. มีอำนาจเช่นเดียวกับ กสทช.ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 27 (4) (6) บัญญัติให้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนเป็นการอนุญาตตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นการใช้งานตามปกติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ
2.  ดังนั้น ผลจากการพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1 แล้ว ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุส่ง/รับ 142.950 MHz  ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบคลื่นไม่เกิน 16 KHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือแก่ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า การอนุมัติจะมีผลเมื่อ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันอำนาจของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2553 มาเรียบร้อยแล้ว อาทิ ในมาตรา 27 (1) ตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 6/2554 และตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้เป็นไปตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1)    ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งการอนุญาต ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขอใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2)    ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ชนิดมือถือ กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ จำนวน 8 เครื่อง
3)    เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2) ต้องเป็นประเภทผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
4)   จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5)   บมจ. กสท โทรคมนาคม จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
6)    ให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว ให้บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
       “    อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม  ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว  ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น ”
 
ระเบียบวาระที่    4.43     :  หลักเกณฑ์การใช้รหัสแสดงเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Network Code - MNC) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
 
มติที่ประชุม                  
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเพื่อให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีโครงข่าย และ/หรือ HLR (Home Location Register) ได้มีเลขหมายโทรคมนาคมที่ใช้งานทางเทคนิค ประเภทรหัส MNC ตามแนวทางข้อเสนอแนะ ITU-T E.๒๑๒ สำหรับการให้บริการโทรศัพท์ข้ามประเทศอัตโนมัติ (International Roaming Service) จึงมีมติอนุมัติหลักเกณฑ์การใช้รหัสแสดงเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (Mobile Network Code - MNC) สำหรับงานด้านเทคนิคของระบบโทรคมนาคมในโครงข่ายของตนเอง ทั้งนี้ ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคมตามที่ กทช. สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
2.  เห็นชอบการกำหนดค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอ (5,000 บาท) และค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมประเภท Mobile Network Code ในอัตรา 1,000 บาท/เลขหมาย/เดือน ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 79  ข้อ 80 และ ข้อ 87 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551
 
ระเบียบวาระที่    4.47     :  ขอขยายเวลาการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2553) : คณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทฯ
 
มติที่ประชุม                 เนื่องจากกำหนดการขอขยายเวลาการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามประเมินผล แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2553) ตามที่เสนอได้ผ่านเลยไปแล้ว กอรปกับสำนักงาน กสทช.ได้นำเสนอในเรื่องเดียวกันนี้ให้ที่ประชุมพิจารณาในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นวาระใหม่ด้วยแล้วในระเบียบวาระที่ 4.50 ดังนั้น ที่ประชุมจึงไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาในวาระเรื่องนี้อีก

หมายเหตุ                  วาระนี้ที่ประชุมได้พิจารณาพร้อมกับวาระที่ 4.50 เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกัน ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) เสนอ
 
ระเบียบวาระที่    4.50     :  การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฯ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), พต.
 
มติที่ประชุม                  เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนากิจการโทรคมนาคมตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 และให้จัดทำรายงานการติดตามผลการดำเนินงานทุก 6 เดือนเสนอต่อที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ไปพลางก่อนในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ จนกว่าจะมีการ แต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เรียบร้อยแล้ว จึงนำเสนอ กสทช. เป็นผู้พิจารณาการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฯต่อไปตามข้อเสนอของสำนักงาน กสทช.
 
 
 
ระเบียบวาระที่   4.52     :  การประเมินผลตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPI) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2553 : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), บค., พต.
 
มติที่ประชุม                 ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วโดยยึดหลักการของความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกันตามผลงานขององค์กรเป็นสำคัญ (Firm Performance Base) โดยพิจารณาจาก Corporate KPI ( KPI รายบุคคลได้มีการพิจารณาไปแล้วในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี) รวมทั้งเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจสำหรับผู้ปฏิบัติงานทุกคนของสำนักงาน กสทช. จึงมีมติอนุมัติการจ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2553 ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช. ในอัตรา 1 เท่าของเงินเดือน ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามมติดังกล่าวต่อไป
                               อนึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. งดออกเสียง เนื่องจากเห็นว่าวิธีการ และกระบวนการประเมินผลยังไม่เป็นระบบเพียงพอ ส่งผลให้ผลการประเมินยังไม่สะท้อนและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ดังนั้น จึงยังไม่อาจพิจารณาตัดสินใจใดๆได้
 
ระเบียบวาระที่     4.57     :  ขออนุมัติจัดทำแนวทางการทำความตกลงเพื่อขอใช้สิทธิแห่งทางในการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นในการให้บริการโทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), พต.
 
มติที่ประชุม                  
1.  อนุมัติในหลักการการจัดทำแนวทางการทำความตกลงเพื่อขอใช้สิทธิแห่งทางในการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นในการให้บริการโทรคมนาคม ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง  (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่คณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง เสนอ
2.  อนุมัติกรอบการดำเนินงาน และการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างแนวทางการทำความตกลงเพื่อขอใช้สิทธิแห่งทางในการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นในการให้บริการโทรคมนาคม ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 โดยมีประมาณการวงเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายจำนวน 636,000 บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2554 ค่าใช้จ่ายในการจัดการและบริหารองค์กร รายจ่ายอื่น ประเภทค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมกับหน่วยงานภายนอก ตามที่คณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทางเสนอ
 
ระเบียบวาระที่    4.63      :  การขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 5 รายการ : กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
 
มติที่ประชุม                 เห็นชอบผลการพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 5 โครงการ ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายฯ   ตามที่ กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เสนอ ดังนี้
1.  เห็นควรให้การสนับสนุนงบประมาณรายการสนับสนุนเครื่องรับส่งวิทยุชนิดมือถือ จำนวน 100 เครื่อง แก่ศูนย์ประสานงานกิจการพิเศษ  กรมราชองครักษ์ ในวงเงินงบประมาณจำนวน 500,000 บาท เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับระเบียบ กทช.ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช.และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2551  ข้อ 5(2) โดยจัดสรรจากรายการเงินสนับสนุน การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช.และสำนักงาน กทช. ประจำปีงบประมาณ 2554
2.  ไม่เห็นควรให้การสนับสนุนงบประมาณรายการขอรับเงินสนับสนุนการจัดตั้ง “กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา” ของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากไม่สอดคล้องระเบียบ กทช.ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2551
3.  ไม่เห็นควรให้การสนับสนุนงบประมาณรายการขอรับการสนับสนุนการจัดทำรายการปกิณกะ ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและการท่องเที่ยวของมูลนิธิพระพุทธโลกนาถสุโขทัย ของมูลนิธิพระพุทธโลกนาถสุโขทัย เนื่องจากไม่สอดคล้องระเบียบ กทช.ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช.และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2551
4. ไม่เห็นควรให้การสนับสนุนงบประมาณรายการสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือสารานุกรมโทรคมนาคมไทย ครั้งที่ ๒ ของสมาคมวิชาการไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์โทรคมนาคมและสารสนเทศ เนื่องจากสำนักงาน กสทช.ได้เคยให้การสนับสนุนการจัดพิมพ์ในครั้งที่ ๑ ไปแล้ว
5.  ไม่เห็นควรให้การสนับสนุนงบประมาณรายการขอรับเงินสนับสนุนการจัดกิจกรรมในงาน Engineering Expo ๒๐๑๑ ของสมาคมนิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากการดำเนินงานมิใช่เป็นไปตามภารกิจของ กสทช.โดยตรงและไม่สอดคล้องระเบียบ กทช. ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2551
                                       
ระเบียบวาระที่   4.64     :  การขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 2 รายการ : กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
 
มติที่ประชุม                 เห็นชอบผลการพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 2 โครงการ ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายฯ   ตามที่ กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เสนอ ดังนี้
1.  เห็นควรให้การสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท ในการสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกล เพื่อการดูแลรักษาผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบวงเงินโครงการรวม 20 ล้านบาท เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับระเบียบ กทช.ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช.และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2551 ข้อ 5(2) โดยจัดสรรจากรายการเงิน การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. ปี พ.ศ.2554
2.  ไม่เห็นควรให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาโครงการศูนย์โรคหัวใจสิรินธร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ จำนวน 75 ล้านบาท ให้แก่ มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เนื่องจากการดำเนินงานมิใช่เป็นไปไปตามภารกิจของ กสทช. โดยตรง และไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามระเบียบ กทช.ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช.พ.ศ.2551
 
ระเบียบวาระที่   4.71    :   การพิจารณาความเหมาะสมของงบประมาณสำหรับการดำเนินงานโครงการ และการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการ  จำนวน  4 รายการ  :  ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), งป.
- โครงการจัดระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน  จำนวน 49.60 ล้านบาท
- โครงการเผยแพร่ภารกิจด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมภายในงานบีโอไอแฟร์ 2011 (BOI FAIR ๒๐๑๑)  จำนวน 35.00 ล้านบาท
- โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (Digital Learning Contest) จำนวน 2.00 ล้านบาท
- การสนับสนุนงบประมาณโครงการอนุรักษ์เทปยูเมติก จำนวน 3.50 ล้านบาท
 
มติที่ประชุม                
1.  เห็นชอบผลการพิจารณาขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ จำนวน 4 รายการ ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายฯ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.1 โครงการจัดระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน เห็นด้วยในหลักการและเห็นควรให้ดำเนินการนำร่องไปก่อนจำนวน 5 ศูนย์ จำนวนเงิน 602,000 บาทเพื่อให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (USO NET) ซึ่ง ทถ. อยู่ระหว่างดำเนินการ
1.2 โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (Digital Learning Contest)  ซึ่งที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 5/2554 ได้มีมติอนุมัติให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการภายในกรอบวงเงิน 2 ล้านบาทนั้น เห็นควรให้ทบทวนแหล่งงบประมาณใหม่ โดยจัดสรรจากรายการเงินสนับสนุนการจัดกิจกรรมของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ประจำปี 2554 เนื่องจากมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อ 5(2) ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช. พ.ศ. 2551
1.3  การสนับสนุนงบประมาณโครงการอนุรักษ์เทปยูเมติก  วงเงิน 3.5 ล้านบาท เห็นควรให้ปรับลดการสนับสนุนงบประมาณลงเหลือจำนวน 2,500,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ โดยเบิกจ่ายจากรายการเงินสนับสนุนการจัดกิจกรรมของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ประจำปี 2554 สำหรับค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน  จำนวน 1,000,000 บาท  ให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับไปดำเนินการเอง 
2.  สำหรับโครงการเผยแพร่ภารกิจด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ภายในงานบีโอไอแฟร์ 2011 (BOI FAIR ๒๐๑๑) ที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติให้การสนับสนุนงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปด้วยความประหยัดและเท่าที่จำเป็น
 
ระเบียบวาระที่    4.77     :  ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและการประกอบกิจการชั่วคราวในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ครั้งที่ 2 เมื่อวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2553 : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
 
มติที่ประชุม                เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและการประกอบกิจการชั่วคราวในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งได้แก้ไขปรับปรุงตามข้อคิดเห็น และตามข้อเสนอแนะจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 แล้ว โดยตัดประเด็นในข้อ 18 ของร่างประกาศดังกล่าวที่เกี่ยวกับภาระในการนำส่งเงินเข้ากองทุนฯ ออก เนื่องจากไม่ควรเป็นภาระแก่ผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับอนุญาตเป็นการชั่วคราวตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการประกาศให้สาธารณชนทราบต่อไป ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่    4.78     :  การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. ต่อกรณีนายประมุท สูตะบุตร ยื่นข้อร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กส.
 
มติที่ประชุม                 รับทราบรายงานการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. กรณีข้อร้องเรียนของนายประมุท สูตะบุตร ขอให้ตรวจสอบการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และให้ดำเนินการติดตามเรื่อง เข้าสู่การพิจารณาโดยเร็ว ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่    4.90    :  การประชุม ASEAN Telecommunication Regulators’Council (ATRC) ครั้งที่ 17       ระหว่างวันที่ 11-14 กรกฎาคม 2554 ณ บรูไน ดารุสซาลาม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายทศพรฯ) , กร.
 
มติที่ประชุม                 ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าการประชุม ASEAN Telecommunication Regulators’Council (ATRC) เป็นการประชุมที่สำคัญและมี Regulator ต่างๆ มาเข้าร่วมประชุม ดังนั้น จึงมอบหมายให้ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการเข้าร่วมประชุม ASEAN Telecommunication  Regulator’s Council (ATRC) ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 11-14 กรกฎาคม 2554 ณ บรูไน ดารุสซาลาม และการประชุม MRA Joint Sector Committee (MRA JSC) และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการในส่วนของสำนักงาน กสทช.ให้เป็นไปตามที่ สำนักงาน กสทช.เสนอ ยกเว้น ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายทศพรฯ) เนื่องจากที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้อยู่ปฏิบัติภารกิจเร่งด่วน ณ สำนักงาน กสทช.เกี่ยวกับกรณีการดำเนินการรักษาตำแหน่งของวงโคจรดาวเทียม และเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ให้สำนักงาน กสทช. มีบันทึกสอบถาม กทช.ทุกท่าน อีกครั้งหนึ่งด้วยว่าประสงค์จะเข้าร่วมประชุมดังกล่าวหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อจะได้เตรียมการในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนต่อไป
 
ระเบียบวาระที่    4.93     :  การแจ้งตอบความเห็นต่อกรณีข้อหารือขอให้สำนักงาน กสทช. จัดตั้งสถานีวิทยุให้กรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติ : กส.
 
มติที่ประชุม                   รับทราบการแจ้งความเห็นของสำนักงาน กสทช.ให้สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีต่อกรณีข้อหารือของนายบุญยอด สุขถิ่นไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ที่ขอให้สำนักงาน กสทช.จัดตั้งสถานีวิทยุเพื่อให้กรมอุตุนิยมวิทยาใช้เป็นสื่อกลางในการายงานข่าวเกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ แก่ประชาชน ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่ สำนักงาน กสทช.เสนอ
                  
ระเบียบวาระที่  4.94     :  คำขออนุญาตใช้ความถี่เพื่อตั้งวิทยุชุมชน ของสำนักงานเทศบาลตำบล  น้ำน้อย : กส.
                                  
มติที่ประชุม  
1.  เห็นชอบตามผลการพิจารณาคำขออนุญาตใช้ความถี่เพื่อติดตั้งวิทยุชุมชนของสำนักงานเทศบาลตำบลน้ำน้อย โดยใช้คลื่นความถี่ 94.65 MHz พร้อมตั้งสถานีเครื่องส่ง 1 สถานี ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ สรุปได้ว่าไม่อาจดำเนินการพิจารณาคำขออนุญาตใช้ความถี่เพื่อติดตั้งวิทยุชุมชนของสำนักงานเทศบาลตำบล น้ำน้อยได้ ทั้งนี้ เนื่องจาก สำนักงานเทศบาลตำบลน้ำน้อย มีฐานะเป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น จึงมีคุณสมบัติที่จะยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ไม่สอดคล้องตามมาตรา 12 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่กำหนดคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ต้องเป็นสมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐและมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ หรือกลุ่มคนในท้องถิ่นที่ไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่งรวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ตลอดจนไม่สอดคล้องตามประกาศ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน)  ข้อ 4 ที่กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตว่าเป็นสมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ให้บริการ ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ และมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจหรือเป็น “กลุ่มคน” ในท้องถิ่นที่ไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่งรวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน อย่างไรก็ดี เมื่อองค์กรอิสระตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 จัดตั้งแล้วเสร็จ สำนักงานเทศบาลตำบลน้ำน้อย ก็สามารถดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ในประเภทบริการสาธารณะได้ต่อไป
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.มีหนังสือแจ้งสำนักงานเทศบาลตำบลน้ำน้อย เพื่อทราบมติข้างต้นต่อไป
3.  เพื่อให้การพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปด้วยความรวดเร็วและไม่เกินกำหนดเวลาตามมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงาน กสทช.ถือเป็นแนวปฏิบัติว่าในกรณีที่หน่วยงานภาครัฐยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว วิทยุกระจายเสียงชุมชน)  ให้สำนักงาน กสทช. แจ้งตอบตามหลักการที่คณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบตามข้อ 1  และรายงานผลการแจ้งตอบให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และคณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะอนุกรรมการฯ ทราบเป็นครั้งๆ ไป  ความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
                                                
ระเบียบวาระที่   4.95   :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริหารชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2554 (จำนวน 6 สถานี) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ , กส.
-  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   บางสะพาน
-  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสืบสานวัฒนธรรมประเพณีภูไท
-  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อความมั่นคงเสียงสามแยก
-  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบ้านจอมบึง
-  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบางใหญ่เรดิโอ
-  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนซีรีส์ เรดิโอ
 
มติที่ประชุม                
1.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว  (วิทยุกระจาย เสียงชุมชน) ให้แก่ ผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตจำนวน 6 สถานี  ตามข้อ 8(4) ของ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว  (วิทยุกระจายเสียงชุมชน)   โดยกำหนดให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา  30 วัน   เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนตามข้อ 8 (5) ของประกาศดังกล่าว ตามความเห็นของคณะ อนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เสนอ ดังนี้
1.1  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บางสะพาน คลื่นความถี่ 100.75 MHz จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
1.2  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสืบสานวัฒนธรรมประเพณีภูไท FM 92.75 MHZ คลื่นความถี่ 92.75 MHz จังหวัดกาฬสินธุ์
1.3  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อความมั่นคงเสียงสามแยก คลื่นความถี่ 105.75 MHz จังหวัดยโสธร
1.4  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบ้านจอมบึง อ.บ้านบึง จ.ราชบุรี คลื่นความถี่ 105.75 MHz จังหวัดราชบุรี
1.5  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบางใหญ่เรดิโอ คลื่นความถี่ 99.75 MHz จังหวัดนนทบุรี
1.6  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนซีรีส์ เรดิโอ คลื่นความถี่ 94.00 MHZ จังหวัดขอนแก่น
        อนึ่ง การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เป็นการอนุญาตให้ใช้ทดลองเป็นการชั่วคราวเท่าที่ไม่เป็นการรบกวนการใช้คลื่นความถี่ของผู้รับใบอนุญาตหรือบุคคลอื่นที่มีสิทธิในการใช้คลื่นความถี่โดยชอบด้วยกฎหมาย และอาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามแผนความถี่  รวมทั้งการอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิถาวรกับผู้รับใบอนุญาตที่จะอ้างสิทธิใดๆ ในคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ และจะต้องคืนคลื่นความถี่เมื่อ กทช. มีมติให้คืนหรือปรับปรุง หรือเมื่อได้มีการแต่งตั้ง กสทช.
2.  มอบหมายสำนักงาน กสทช. กำชับสำนักงาน กสทช.เขต ให้กำกับดูแลมิให้การกระจายเสียงของวิทยุชุมชนก่อให้เกิดปัญหาการรบกวนต่อคลื่นความถี่หลักในพื้นที่ด้วยตามความเห็น กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.          
 
ระเบียบวาระที่    4.96     :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว           (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว(กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2554 (จำนวน 15 ราย 21 ใบอนุญาต) : กส.
 
มติที่ประชุม               อนุมัติการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 15 ราย 21 ใบอนุญาต ตามข้อ 7(3) ของประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก)  โดยกำหนดให้มีการทดลองใช้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นระยะเวลา 30 วัน ตามข้อ 7 (5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น และการขึ้นทะเบียนช่องรายการของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก)  ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เสนอ ดังนี้
1.  บริษัท เค.พี ปลวกแดง  จำนวน 1 ใบอนุญาต  48 ช่องรายการ
2.  ห้างหุ้นส่วนสามัญหันคาเคเบิลทีวี   จำนวน 1 ใบอนุญาต  30 ช่องรายการ
3.  บริษัท สมิหลา เคเบิ้ลทีวี จำกัด   จำนวน 1 ใบอนุญาต  50 ช่องรายการ
4.  บริษัท ส่งความสุข จำกัด  จำนวน 6 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
5.  บริษัท เกาะช้างเทเลวิชั่น จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต  61 ช่องรายการ
6.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด เคเบิ้ล ทีวี.ขลุง  จำนวน 1 ใบอนุญาต  55 ช่องรายการ
7.  บริษัท ราชธานีเคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน  1 ใบอนุญาต 68 ช่องรายการ
8.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด สรรคบุรีเคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 90 ช่องรายการ
9.  บริษัท ชุมพรวิชั่น จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 70 ช่องรายการ
10. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซาเทิร์น ยูบีซี เคเบิ้ล มาร์เก็ตติ้ง  จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
11. บริษัทเน็ตเวิร์ค เคเบิ้ลทีวี จำกัด  จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
12. ห้างหุ้นส่วนจำกัด นรินทร์ธร (เทียนชัยเคเบิล)  จำนวน 1 ใบอนุญาต 50 ช่องรายการ
13. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทิวาธานี  จำนวน 2 ใบอนุญาต  65 ช่องรายการ
14. ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีสะเกษ ส.การไฟฟ้า  จำนวน 1 ใบอนุญาต 40 ช่องรายการ
15. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สตาร์ บี.ซี เคเบิลทีวี  จำนวน 1 ใบอนุญาต  40 ช่องรายการ
 
ระเบียบวาระที่   4.101     :  บริษัท เซอร์วิส อินเตอร์เน็ต โฟน จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง บริการ ADSL บริการ Leased Line และบริการ VoIP : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ   (นายประเสริฐ),ปก.
 
มติที่ประชุม                  ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่าการขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง บริการ ADSL บริการ Leased Line และบริการ VoIP มิได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือประโยชน์สาธารณะแต่อย่างใด และเป็นการส่งเสริมนโยบายการแข่งขันเพื่อให้มีผู้ให้บริการในตลาดเพิ่มขึ้น และเพื่อให้ผู้ใช้บริการมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บจ. เซอร์วิส อินเทอร์เน็ต โฟน ขยายระยะเวลา การเริ่มให้บริการใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง บริการ ADSL บริการ Leased Line และบริการ VOIP ออกไปอีก 90 วันจนถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2554 (นับจากวันที่ 3 มีนาคม 2554)  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.สุรนันท์ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ ทั้งนี้ ให้บริษัทฯ แจ้งผลการดำเนินงานให้สำนักงาน กสทช.ทราบด้วย และหากบริษัทฯ ไม่เริ่มให้บริการได้ภายในวันที่ 3 มิถุนายน 2554 ให้นำเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาการสิ้นสุดการอนุญาตต่อไป
  
หมายเหตุ                   ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลืออยู่ทั้งหมดอีกจำนวน 81 เรื่อง จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ครั้งต่อไป
 
ระเบียบวาระที่    5      :  เรื่องเพื่อทราบ
5.1  รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประจำเดือนพฤษภาคม 2554 : กม.
5.2   รายงานผลการปฏิบัติงานของ คณะอนุกรรมการมาตรฐาน กทช. (24 กุมภาพันธ์ – 23 พฤษภาคม 2554) : คณะอนุกรรมการมาตรฐาน กทช., วท.
5.3   การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง IPv6 Migration Strategy for Telecom Service Provider : กร.
5.4   รายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีที่สอง (วันที่ 30 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2553) : พต.
5.5   บริษัท เท็น ฟอร์เวิร์ด จำกัด แจ้งเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสถานประกอบการ : ปก.
5.6   บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายชื่อกรรมการบริษัท : ปก.
5.7   การแต่งตั้งผู้บริหารและการปรับโครงสร้างการบริหารของบริษัท ทีที แอนด์ ทีจำกัด (มหาชน) : ปก.
5.8   องค์การอนามัยโลกจัดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ในกลุ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งกลุ่ม 2B (เป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง) : สบท.
 
ระเบียบวาระที่    5        :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่   5.1      :  รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) ,กม.
 
มติที่ประชุม                 รับทราบรายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประจำเดือนพฤษภาคม 2554 จำนวน 2 ราย  ได้แก่
1) บริษัททีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด และ  
2) บริษัท ทริปเปิลทรี โกลบอลเน็ท จำกัด ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่    5.2     :  รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการมาตรฐาน กทช.  (24 กุมภาพันธ์ – 23 พฤษภาคม 2554)  : คณะอนุกรรมการมาตรฐาน กทช., วท.
 
มติที่ประชุม               รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการมาตรฐาน กทช.ในช่วงสามเดือนแรก ภายหลังการปรับเปลี่ยนสภาพ   (24 กุมภาพันธ์ – 23 พฤษภาคม 2554)   ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   5.3     :  การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง IPv6 Migration Strategy for Telecom Service   Provider : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นายทศพรฯ) , กร.
 
มติที่ประชุม                รับทราบเรื่อง สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง IPv6 Migration Strategy for Telecom Service  Provider   ระหว่างวันที่ 25-28 กรกฎาคม 2554 ณ TOT Academy จังหวัดนนทบุรี  และมีหนังสือแจ้งสำนักงาน กสทช.เพื่อขอให้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   5.4      :  รายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีที่สอง (วันที่ 30 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2553)  : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ(นายพิทยาพลฯ) ,พต.
 
มติที่ประชุม                 รับทราบรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีที่สอง (วันที่ 30 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2553) ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
             
ระเบียบวาระที่    5.5     : บริษัท เท็น ฟอร์เวิร์ด จำกัด แจ้งเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสถานประกอบการ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ) ,ปก.
 
มติที่ประชุม                รับทราบการแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งสถานประกอบการของบริษัท เท็น ฟอร์เวิร์ด จำกัด  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอทั้งนี้ให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใบอนุญาตในส่วนของที่อยู่ใหม่เพื่อจัดส่งให้ผู้รับใบอนุญาตและปรับปรุงข้อมูลสถานที่ตั้งประกอบการของผู้รับใบอนุญาตในระบบฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลต่อไป
 
ระเบียบวาระที่    5.6    : บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายชื่อกรรมการบริษัท : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ) ,ปก.
 
มติที่ประชุม                รับทราบกรณีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อกรรมการของบริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิ เคชั่น จำกัด (มหาชน)  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
 
ระเบียบวาระที่    5.7   :  การแต่งตั้งผู้บริหารและการปรับโครงสร้างการบริหารของบริษัท ทีที แอนด์ ที จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ  (นายประเสริฐฯ) ,ปก.
 
มติที่ประชุม                  รับทราบการแต่งตั้งผู้บริหาร (นายดอน ภาสะวณิช) ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2554 และการปรับโครงสร้างการบริหารของบริษัท ทีที แอนด์ ที จำกัด (มหาชน) ตามเอกสารที่ สำนักงาน กสทช.เสนอ
 
ระเบียบวาระที่    5.8     :  องค์การอนามัยโลกจัดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ในกลุ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งกลุ่ม 2B (เป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
 
มติที่ประชุม                รับทราบข้อมูลการจัดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ในกลุ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งกลุ่ม 2B (เป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง) ตามเอกสารข่าวขององค์การอนามัยโลก ตามเอกสารที่กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ
 
ระเบียบวาระที่    5.9   : รายงานคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 217-218/2554 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 ระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดีที่ 1 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดีที่ 2 กทช.ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลทช.ผู้ถูกฟ้องคดีที่๒ กรณีชี้ขาดคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ฉบับลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2553  : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ(นายฐากรฯ), กม.
 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบรายงานคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 217-218/2554 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 ระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดีที่ 1 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดีที่ 2 กทช.ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลทช.ผู้ถูกฟ้องคดีที่๒ กรณีชี้ขาดคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ฉบับลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช.เสนอ สรุปได้ว่าศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้ยกคำขอทุเลาการบังคับทางปกครองของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง เนื่องจากคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นคำสั่งทางปกครองที่กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ เมื่อล่วงพ้นระยะเวลา 30 วันที่กำหนดไว้แล้ว จึงสิ้นผลบังคับ ดังนั้น เมื่อคำสั่งทางปกครองที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีดังกล่าวสิ้นผลบังคับแล้ว จึงไม่มีคำสั่งทางปกครองที่เป็นเหตุให้ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษาอีกต่อไป อุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงฟังขึ้น  
2.  ผลจากคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว เมื่อพิจารณาแล้วย่อมสมควรต้องเร่งดำเนินการออกเป็นกฎเกณฑ์/ประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเลือกผู้ให้บริการ (Carrier Selection)  สำหรับการเรียกใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อ ให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และมิให้เกิดเป็นคดีความเช่นการฟ้องร้องในคดีดังกล่าวขึ้นอีก จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เร่งดำเนินการในเรื่องการออกกฎเกณฑ์/ประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเลือกผู้ให้บริการ (Carrier Selection)  สำหรับการเรียกใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ โดยเร็ว ทั้งนี้ โดยให้หารือร่วมกับ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ด้วย
 
ระเบียบวาระที่    6        :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่    6        :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่    6.1     :  การกำหนดหลักการกรณีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ 3G Inband Migration ตามกรอบจำนวนสถานีฐานที่ได้รับอนุญาตเดิม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ) ,ปก.
 

มติที่ประชุม                 ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีแนวนโยบายที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G Inband Migration ภายใต้หลักการ Technology Neutral เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่กีดขวางการตัดสินใจทางธุรกิจ และไม่กระทบต่อการแข่งขัน โดยอิงหลักการของ WTO ในเรื่อง Technology Choice ที่เป็น Operator’s Choice ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติ
1.  อนุมัติหลักการพิจารณาอนุญาตกรณีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G Inband Migration ของผู้รับสัมปทานตามกรอบจำนวนสถานีฐานที่ได้รับอนุญาตเดิมดังนี้
1.1  ให้ผู้รับสัมปทานให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G Inband Migration สามารถยื่นขออนุญาตเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้บริการ (สถานที่ตั้งสถานีฐาน) ตามกรอบจำนวนสถานีฐานที่ได้รับอนุญาตเดิมได้ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตวิทยุคมนาคมที่เกี่ยวข้องต่อสำนักงาน กสทช. ได้โดยตรง
1.2  ให้ผู้รับสัมปทานให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G Inband Migrationแจ้งให้คู่สัญญาทราบถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย (Notify) โดย กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องใดๆ กับสัญญาสัมปทาน
ทั้งนี้ หากการดำเนินการใดข้างต้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อการแข่งขันในอนาคต กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. สงวนสิทธิที่จะต้องกำกับดูแลเพื่อมิให้การดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการแข่งขันตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
2.  อนุมัติให้ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ดำเนินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G Inband Migration ตามกรอบจำนวน 1,884 สถานีฐานที่ได้รับอนุญาตเดิม
 
ระเบียบวาระที่    6.2      : การยื่นคำร้องในคดีปกครองหมายเลขดำที่ 465/2549 :ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ(นายฐากรฯ), กม.
 
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดย กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จะเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลเองเพื่อขอให้วินิจฉัยข้อเท็จจริง และพิจารณาพิพากษาคดีปกครองหมายเลขดำที่ 465/2549 ใหม่ (ระหว่างนายศาสตรา โตอ่อน ผู้ฟ้องคดีกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 กระทรวงคมนาคม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) ในประเด็นที่ว่า กิจการดาวเทียมสื่อสารมิใช่กิจการโทรคมนาคม ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ทั้งนี้ โดยไม่ต้องมีหนังสือแจ้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อขอให้เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลในคดีปกครองดังกล่าวตามมติ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 14/2554 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554  อีกต่อไป เนื่องจากคดีปกครองหมายเลขดำที่ 465/2549 มีความเกี่ยวข้องกับคดีปกครองหมายเลขดำที่ 546/2550 (ระหว่างนายสุพงษ์ ลิ้มธนากุล ผู้ฟ้องคดี กับ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1  สำนักงาน กสทช.ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3  บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)  บริษัท ชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4  และ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5) โดยศาลปกครองวินิจฉัยให้การประกอบกิจการดาวเทียมถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคม และอยู่ในอำนาจหน้าที่การกำกับดูแลของ กทช. ดังนั้น กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงสมควรเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลเอง
2.  สำหรับคดีปกครองหมายเลขดำที่ 546/2550 ก็ให้ยื่นอุทธรณ์คดีในประเด็นเดียวกับคดีปกครองหมายเลขดำที่ 465/2549 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามมติทั้งสองข้อดังกล่าวโดยเร็วต่อไป
 
ระเบียบวาระที่    6.3      :  คำสั่งเรียกให้ทำคำให้การให้คดีฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศ กทช.เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 11 และข้อ 34 และเพิกถอนมติที่ประชุม กทช.ครั้งที่ 11/2553 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม  2553 ข้อ 2 วาระที่ 6.1 และคำสั่งตามหนังสือที่ ทช 7300/4103 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2553 และหนังสือที่ สบท. 54/2554 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ  (นายฐากรฯ), กม.
 
มติที่ประชุม                  
1.  มอบหมาย กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขดำที่ 1226/2554 ระหว่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ผู้ฟ้องคดี กับ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ผู้ถูกฟ้องคดี
2.  เห็นชอบแนวทางการจัดทำคำให้การในคดีปกครอง หมายเลขดำที่ 1226/2554 ระหว่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ผู้ฟ้องคดี กับ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ผู้ถูกฟ้องคดี และให้สำนักกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการทางคดีต่อไป โดยให้อยู่ภายใต้การกำกับของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ผู้รับผิดชอบคดีตามข้อ 1
 
 
ระเบียบวาระที่   6.4     :  ขอความเห็นชอบในข้อคิดเห็นของสำนักงาน กสทช.ที่มีต่อ Addendum on ATRC Intra –ASEAN Roaming Rates (MRR) to the  Intent (Rol) ภายใต้กรอบอาเซียน : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ  (นายทศพรฯ) , กร, ศฐ และ คณะกรรมการตรวจและรับมอบงานโครงการศึกษานโยบายเกี่ยวกับการใช้งานข้ามเครือข่ายในภูมิภาคอาเซียน
 
มติที่ประชุม               มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ส่งเรื่อง ขอความเห็นชอบในข้อคิดเห็นของสำนักงาน กสทช.ที่มีต่อ Addendum on ATRC Intra –ASEAN Roaming Rates (MRR) to the  Intent (Rol) ภายใต้กรอบอาเซียน ให้กรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) พิจารณาให้ความเห็นตามขั้นตอน ก่อนนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
 
ระเบียบวาระที่    6.5    :  การขออนุญาตปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีวิทยุคมนาคมย่านความถี่ 800 MHz จากระบบ CDMA เป็น HSPA ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ) ,ปก.
 
มติที่ประชุม              
1.  กทช. ยึดถือแนวนโยบายภายใต้หลักการ Technology Neutrality อันเป็นหลักการสากล เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม สามารถใช้งานคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานมากที่สุด  โดยให้ผู้ให้บริการสามารถพัฒนาเทคโนโลยีตามความเหมาะสมกับความต้องการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก ทั่วถึง รวดเร็ว ด้วยราคาที่เป็นธรรม อันจะเป็นการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.  การขออนุญาตปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจากระบบ CDMA เป็น HSPA ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ที่ย่านความถี่ 800 MHz เป็นไปตามนโยบายของ กทช. ที่ดำเนินการมาโดยต่อเนื่อง และสอดคล้องกับหลัก Technology Neutrality ตามข้อ 1.
3.  ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงมีมติอนุมัติให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ดำเนินการปรับปรุงโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 800 MHz (824.0-834.2 MHz คู่กับ 869.0 – 879.2 MHz)จากระบบ CDMA เป็น HSPA รวมทั้งสิ้นจำนวน 5,326 สถานี  ทั้งนี้ในการดำเนินการดังกล่าวให้ถือว่าเป็นทางเลือกของผู้ประกอบกิจการ (Operator Choice) ในการที่จะใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรคลื่นความถี่โดยเพิ่มเติมจากเดิมที่ได้รับอนุญาตตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 29/2551  ทั้งนี้ในการดำเนินการดังกล่าวจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคให้ได้รับความเดือดร้อนและให้ผู้บริโภคได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างน้อยเทียบเท่าหรือดีกว่าเดิม รวมถึงต้องไม่กระทบต่อการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม ซึ่งหากเกิดผลกระทบต่อการแข่งขันขึ้นในอนาคต กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. สงวนสิทธิที่จะต้องกำกับดูแลตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดต่อไป
4.  การอนุมัติตามข้อ 3 เห็นควรกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องให้ผู้บริโภคได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างน้อยเทียบเท่าหรือดีกว่าเดิม และให้บมจ. กสท โทรคมนาคมนำส่งแผนการติดตั้งสถานีฐานในแต่ละจังหวัด เพื่อใช้เป็นกรอบในการติดตามและกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบแผนที่กำหนดไว้ต่อไป ตามความเห็นของสำนักงาน กสทช.
 
หมายเหตุ                   กทช.สุธรรมฯ ได้มีความเห็นเพิ่มเติมตามบันทึกที่ 535/2554 ลงวันที่ 19 กรกฏาคม 2554 เรื่อง การรับรองมติที่ประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นระบบ HSPA ตามเอกสารแนบ
 
ระเบียบวาระที่   6.6   :  แนวทางการดำเนินการกรณีการขอรับใบอนุญาตวิทยุคมนาคมสำหรับการทดลองให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ HSPA ย่านความถี่ 800 MHz ของ บจ.ทรู มูฟ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ) ,ฉก.
 
มติที่ประชุม              
1.  กทช. ยึดถือแนวนโยบายภายใต้หลักการ Technology Neutrality อันเป็นหลักการสากล เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม สามารถใช้งานคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานมากที่สุดโดยให้ผู้ให้บริการสามารถพัฒนาเทคโนโลยีตามความเหมาะสมกับความต้องการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก ทั่วถึง รวดเร็ว ด้วยราคาที่เป็นธรรม อันจะเป็นการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.  การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจากระบบ CDMA เป็น HSPA ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ที่ย่านความถี่ 800 MHz  เป็นไปตามนโยบายของ กทช. ที่ดำเนินการมาโดยต่อเนื่อง และสอดคล้องกับหลัก Technology Neutrality ตามข้อ 1. 
3.  ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงมีมติอนุมัติให้ บจ.ทรู มูฟ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก บมจ. กสท โทรคมนาคม แล้วให้ดำเนินการทดลองการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเทคโนโลยี HSPA ย่านความถี่ 800 MHz  แบบไม่เชิงพาณิชย์ จำนวนไม่เกิน 1,433 สถานี (ตามมติคณะกรรมการ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในการประชุมครั้งที่ 19/2553 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2553) ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับการทดลองให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเทคโนโลยี HSPA ย่านความถี่ 800 MHz แบบไม่เชิงพาณิชย์ รวมจำนวน 456 เครื่อง ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ภูเก็ต และสมุทรปราการ ตามที่เสนอขอ
4.  การอนุมัติตามข้อ 3 เป็นไปตามหลักการของมติ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 6/2554 และให้อยู่ภายใต้กรอบการอนุญาตตามมติ กทช.  ครั้งที่ 29/2551 ที่ได้อนุญาตไว้แล้ว
4.1 มติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 6/2554 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ได้วางหลักการไว้ให้บริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับหน่วยงานรัฐสามารถขออนุญาตให้ใช้ ทำ นำเข้า และนำออกเครื่องวิทยุได้โดยตรง โดยให้มีหนังสือแจ้งหน่วยงานรัฐที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานทราบด้วย (Notify)
4.2 ในการประชุม กทช.ครั้งที่ 29/2551 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 กทช.มีมติอนุญาตให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ปรับปรุงโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ความถี่ย่าน 800 MHz โดยใช้เทคโนโลยี HSPA รวมทั้งสิ้น 656 สถานี และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยใช้ความถี่วิทยุ 834.2 – 839.0 MHz คู่กับ 879.2 – 884.0 MHz ความกว้างแถบความถี่ (Bandwidth) 4.8 MHz
 
หมายเหตุ                       กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ได้มีความเห็นเพิ่มเติมตามบันทึกที่ 535/2554 ลงวันที่ 19 กรกฏาคม 2554 เรื่อง การรับรองมติที่ประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นระบบ HSPA  ตามเอกสารแนบ
 
ระเบียบวาระที่   6.7    :   การแต่งตั้งผู้แทน ตามคำสั่ง กระทรวงพาณิชย์ที่ 309/2554 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคมสภาผู้แทนราษฎรและข้อร้องเรียนของบริษัท ทรู มูฟ จำกัด : สำนักงาน กสทช.
 
มติที่ประชุม              มอบหมายให้ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กสทช.  (นายพิทยาพล จันทนะ- สาโร) เป็นผู้แทนสำนักงาน กสทช.และ นายเฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล เป็นผู้แทนสำรอง ในคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และข้อร้องเรียนของบริษัท ทรู มูฟ  จำกัด ตามคำสั่ง กระทรวงพาณิชย์ที่ 309/2554 ตามที่ สำนักงาน กสทช.เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   6.8    :  การประชุม ITU Asia-Pacific Regional Multi-stakeholder Forum on Emergency Telecommunication ณ ประเทศมองโกเลีย : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
 
มติที่ประชุม              อนุมัติให้บุคคลภายนอก (นายต่อพงศ์ เสลานนท์) ในฐานะผู้แทนจากอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เดินทางไปเข้าร่วมประชุม ITU Asia-Pacific Regional Multi-stakeholder Forum on Emergency Telecommunication ระหว่างวันที่ 7-12 กรกฎาคม 2554  ณ ประเทศมองโกเลีย ซึ่งเป็นการประชุมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ Text –to-Speech (TTS) สำหรับผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการมองเห็น โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางภายในกรอบวงเงิน 138,500 บาท ทั้งนี้ ให้เจียดจ่ายจากค่าใช้จ่ายบริหารจัดการองค์กรของสำนักงาน กสทช. และให้ได้รับสิทธิตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เสนอ
 
 
ระเบียบวาระที่   6.9    :  โครงการสัมมนาหัวข้อ “Policy and Regulations In ICT Development for Mobile and Broadband Diffusion” : ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. , สำนักประธานกรรมการ, สำนักกิจการกรรมการ
 
มติที่ประชุม            
1.  อนุมัติการจัดโครงการสัมมนาหัวข้อ “Policy and Regulations In ICT Development for Mobile and Broadband Diffusion” โดยกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม 2554  ณ อาคารหอประชุม ชั้น 2 สำนักงาน กสทช. ตามที่ สำนักงาน กสทช.เสนอ โดยให้รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปปรับปรุงการดำเนินการโครงการสัมมนาฯ ให้เหมาะสมและหลากหลายยิ่งขึ้น  โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์จากประเทศในสภาพยุโรปหรือ EU (Prof.Dr.Erik Bolin ) เป็นวิทยากรเข้าร่วมการบรรยายด้วย ทั้งนี้ โดย มอบหมาย กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เป็นผู้ประสานงานให้
2.  อนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการตามข้อ 1 ในกรอบวงเงิน 800,000 บาท ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากรายจ่ายประจำปี 2554 รายการค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการองค์กรของสำนักงาน กสทช.ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                                   
ระเบียบวาระที่   6.10   :  การพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมกรณีการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออก : ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
                                   
มติที่ประชุม               มอบหมายให้ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กสทช.(นายทศพร  เกตุอดิศร) เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามข้อคิดเห็นของที่ประชุมในการรวบรวมรายละเอียดของข้อมูล และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องของสถานะการดำเนินงานเรื่องดาวเทียมทั้งหมดตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน (Facts) แล้วประมวลเสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมกรณีการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออก
 
หมายเหตุ                  ไม่มีเอกสารประกอบวาระ เนื่องจากเป็นการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาอภิปรายและพิจารณาโดยที่ประชุมเองในระหว่างการประชุมช่วงการพิจารณาระเบียบวาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม
 
ระเบียบวาระที่    6.11     :    การเดินทางไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงาน กสทช. (ทั้งในและต่างประเทศ) ของผู้บริหารสำนักงาน กสทช. :   ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ)
 
มติที่ประชุม                  โดยที่ปัจจุบันปรากฎว่า มีการเดินทางไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงาน กสทช. (ทั้งในและต่างประเทศ) ของผู้บริหารสำนักงาน กสทช. เป็นจำนวนบ่อยครั้งมาก ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช.ในการสนับสนุนการดำเนินงานและการตัดสินใจของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เป็นไปด้วยความรอบคอบ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ซึ่งยังมีภารกิจที่สำคัญอีกหลายประการที่ต้องเร่งดำเนินการภายใต้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบเป็นนโยบายให้สำนักงาน กทช. ยึดถือปฏิบัติสำหรับการเดินทางไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงาน กสทช. (ทั้งในและต่างประเทศ) ของผู้บริหารสำนักงาน กสทช. โดยให้พิจารณาเดินทางเฉพาะภารกิจที่จำเป็นจริงๆ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการเท่านั้น และให้หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเฉพาะในวันที่มีการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) พิจารณาอนุมัติการเดินทางไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงาน กสทช. ของผู้บริหารสำนักงาน กสทช. โดยเข้มงวดตามแนวนโยบายดังกล่าวด้วย
 
หมายเหตุ                  ไม่มีเอกสารประกอบวาระ เนื่องจากเป็นการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาอภิปรายและพิจารณาโดยที่ประชุมเองในระหว่างการประชุมช่วงการพิจารณาระเบียบวาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม
 
ระเบียบวาระที่   6.12     :  การแสดงความคิดเห็นกับบุคคล/หน่วยงานภายนอกของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. : ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
 
มติที่ประชุม                โดยที่ปัจจุบัน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้รับเชิญเป็นรายบุคคลจากบุคคล/หน่วยงานภายนอกเพื่อให้ข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ มากยิ่งขึ้น ในการนี้ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบเป็นหลักการร่วมกันว่า ในการแสดงความคิดเห็นกับบุคคล/หน่วยงานภายนอกของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แต่ละคนนั้น ย่อมเป็นสิทธิที่กระทำได้โดยเป็นความรับผิดชอบของผู้นั้นเอง จะไม่มีผลผูกพันกับ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทั้งคณะไม่ว่าในกรณีใดๆทั้งสิ้น ยกเว้นแต่กรณีที่เป็นมติที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แล้วเท่านั้น
 
หมายเหตุ                 ไม่มีเอกสารประกอบวาระ เนื่องจากเป็นการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาอภิปรายและพิจารณาโดยที่ประชุมเองในระหว่างการประชุมช่วงการพิจารณาระเบียบวาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม

สร้างโดย  -   (29/2/2559 12:03:40)

Download

Page views: 299