สรุปมติที่ประชุม กสทช. 20/2554

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 21/2554
วันพุธที่  6  กรกฎาคม  2554  เวลา  09.30  น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12  อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 
ผู้เข้าประชุม 
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์                ประพิณมงคลการ            ประธานกรรมการ
2.  รองศาสตราจารย์สุธรรม             อยู่ในธรรม                     กรรมการ
3.  นายสุรนันท์                            วงศ์วิทยกำจร                  กรรมการ
4.  พันเอก นที                             ศุกลรัตน์                        กรรมการ 
5.  รองศาสตราจารย์พนา               ทองมีอาคม                     กรรมการ
6.  นายฐากร                               ตัณฑสิทธิ์                      รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่                                                                                                 เลขาธิการ กสทช.
 
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1.  นายอารักษ์                  โพธิทัต                ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการประชุมและเลขานุการ
2.  นางดวงเดือน                 เสวตสมบูรณ์        ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการและติดตามประเมินผล
3.  นายบุญยิ่ง                    โหมดเทศน์          ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนมติและรายงานการประชุม
4.  นางอรุณ                       วงศ์ศิวะวิลาส        ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนงานวาระการประชุม
5.  นางสาวกานต์ชนา           เกตุสุวรรณ           ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6.  นางสาวสุภาวดี                สดศรี                 ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง 
7.  นางสาวจุฑาสินี               คำบำรุง              ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
8.  นางสาวกุลรดา                ไชยศร               ปฏิบัติหน้าที่พนักงานปฏิบัติการประจำส่วนงาน กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่                                                                  กสทช.
 
ผู้ชี้แจง
1.  นายทศพร                  เกตุอดิศร                ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช.
2.  นายพิทยาพล              จันทนะสาโร            ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช.
3.  นายเฉลิมชัย                ก๊กเกียรติกุล           ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านการใช้และเชื่อมต่อโครงข่าย                                                                      โทรคมนาคม
4.  ดร.สุพจน์                    เธียรวุฒิ                 ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการ กลุ่มภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนา                                                                                  อุตสาหกรรมโทรคมนาคม
5.  นายธวัชชัย                 ล้ำสมบัติ                 ปฏิบัติหน้าที่ รองผู้อำนวยการ กลุ่มภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนา                                                                              อุตสาหกรรมโทรคมนาคม
6.  นายพิชัย                    ร่วมภูมิสุข                ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บริหารระดับต้น
7.  นายธนิส                     สงกรานต์                ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
8.  นางสาวนิณณยา           ผลอนันต์                ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
9.  นางสาวอรดา               เทพยายน               ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนงานที่ปรึกษากฤษฎีกาและวิชาการ สำนัก                                                                      กฎหมาย
10.นางสาวภัทรพันธ์          ไพบูลย์                   ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
11.นางสาววีร์ธิมา              ชินธรรมมิตร             ผู้ช่วยเลขานุการ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
12.Professor Erik           Bohlin                    Head of Division, Professor Division of Technology & Society,                                                                      Department of Technology Management & Economics at                                                                              Chalmers University of Technology

ระเบียบวาระที่   1  :   เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 
1.  เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมากรรมการผู้จัดการใหญ่ อสมท. (นายธนวัฒน์  วันสม) และคณะผู้บริหารประมาณ 12 ท่าน ได้เข้าพบหารือประธานฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมี รสทช. (นายทศพรฯ) และพนักงานระดับผู้อำนวยการประมาณ 3 – 4 คน รวมทั้งท่าน กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เข้ามาร่วมด้วยภายหลัง เรื่องที่กรรมการผู้จัดการ อสมท. ได้หารือมี 2 เรื่อง ได้แก่
  • เสนอว่าจะขอใช้คลื่นความถี่ 700 MHz ที่มี UHF ที่อนุมัติให้ใช้เป็นการเสริมจุดบอดในกรุงเทพฯ
  • จะใช้คลื่นความถี่ MMDS ให้บริการอย่างอื่น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ (นายฐากรฯ) ได้รายงานเพิ่มเติมว่า เรื่อง MMDS ได้นำเสนอกรรมการกลั่นกรองแล้ว สำหรับเรื่องข่าย UHF ขณะนี้สำนักกิจการกระจายเสียงฯ ได้เสนอเรื่องเข้ามาเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554 ขณะนี้จะนำเสนอกรรมการกลั่นกรองพิจารณา
2.  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่อง กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ไปชี้แจงที่คณะกรรมาธิการวุฒิสภา และมีความเห็นเพิ่มเติมว่าในอนาคตควรแจ้งสำนักงานวุฒิสภาว่าหากไม่ใช่เรื่องรายบุคคลขอให้มีหนังสือเชิญในนาม กสทช. เพราะ กสทช. ทำงานในลักษณะคณะกรรมการ
3.  กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้หยิบยกประเด็นข้อห่วงใยเรื่องการดำเนินงาน MVNO ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และขอให้สำนักงาน กสทช. รวบรวมข้อมูลการอนุญาต MVNO ที่ผ่านมา โดยแยกให้เห็นรายละเอียดในช่วงก่อน/หลังกฎหมาย พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นฯ ฉบับใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและถูกต้อง ซึ่ง กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นเพิ่มเติมโดยขอให้สำนักงาน กสทช. จัดทำรายละเอียดข้อมูล Facts Sheet ของเรื่องดังกล่าวเสนอมาให้พิจารณาล่วงหน้า
4.  นอกจากนี้ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีความเห็นเพิ่มเติมเรื่อง การแต่งตั้งบุคคลที่จะเข้าไปทำหน้าที่เลขานุการคณะอนุกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อกำหนดกรอบการดำเนินงานตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 โดยควรแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง MVNO ด้วย เพราะอนุกรรมการที่แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกอาจจะไม่ทราบว่า TOR จะให้ทำอะไร ดังนั้น จึงต้องจัดทำFacts Sheet เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบ
5.  กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้กล่าวแสดงความเห็นต่อประเด็นแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิค ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ว่า ตนมีความเข้าใจว่ากรณีของ บมจ.กสท โทรคมนาคม บจ.ทรู มูฟ และ บจ.ฮัทชิสันฯ จะมีการตรวจสอบใน 2 ส่วน ได้แก่ เรื่อง Competition และประกาศต่างๆ โดยชุดของคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชุดที่ขอให้ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. เป็นประธานกรณีการตรวจสอบการดำเนินการตาม มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 เพราะ กสทช. จะเป็นผู้ที่รู้เรื่องมาตรา 46 ดีที่สุด โดยจะวางกรอบมาตรา 46 เพื่อความเป็นธรรมและสร้างกฎกติกาไว้ ซึ่งประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ได้ขอให้พิจารณาใน TOR วาระเรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวางกรอบการปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอความเห็นเพิ่มเติมว่า เรื่อง MVNO เป็นเรื่องสำคัญ มีประเด็นที่จะต้องตีความ 3 – 4 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคนิค เรื่องเศรษฐศาสตร์Competition และกฎหมาย โดยเสนอให้รวมผู้ทรงคุณวุฒิที่จะเชิญมาช่วยงานไปรวมในคณะอนุกรรมการฯ ชุดที่ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. เสนอ เพื่อกำหนดกรอบและนโยบายการดำเนินงานตามมาตรา 46 ให้ชัดเจน ในการนี้ ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช.จึงขอให้ที่ประชุมไปพิจารณาหารือเรื่องนี้กันอีกครั้งในวาระที่ 6.1 ต่อไป 
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบเรื่องกรรมการผู้จัดการ อสมท. พร้อมคณะผู้บริหารเข้าพบเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ตามที่ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
2.  รับทราบเรื่องการไปชี้แจงคณะกรรมาธิการวุฒิสภาของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ
3.  รับทราบความเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เรื่อง ข้อห่วงใยการดำเนินงาน MVNO และการแต่งตั้งบุคคลเป็นฝ่ายเลขานุการในคณะอนุกรรมการวางกรอบการปฏิบัติตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ทั้งนี้ ในเรื่องการพิจารณาการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดังกล่าว ทั้งในประเด็นองค์ประกอบและขอบเขตการทำงานจะได้มีการพิจารณาร่วมกันในวาระที่ ๖.๑ ในการประชุมวันนี้
4.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. จัดทำ Facts Sheet เรื่อง MVNO เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดกรอบการดำเนินงานตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ต่อไป 
ระเบียบวาระที่  2   :  เรื่องรับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่  19/2554 วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2554 
มติที่ประชุม                
1.  รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 19/2554 วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2554 ยกเว้นวาระที่ 6.5 และวาระที่ 6.6 โดยมีข้อแก้ไขตามที่ที่ประชุมขอแก้ไข ดังนี้
1.1 ให้ตัดข้อความ ข้อ 3 ในบรรทัดที่ 11 – 12 จากด้านล่าง “และแนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553” ออก
1.2 ให้เพิ่มเติม Footnote ต่อท้ายมติข้อ 3 ในหน้า 7 ว่า “ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นเรื่องการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวางกรอบการปฏิบัติตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ว่าคณะอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าวที่มีประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ทำหน้าที่ประธาน มีกรอบภารกิจในการวางกรอบนโยบาย MVNO มิใช่เฉพาะประเด็นด้านเทคนิค ”
1.3 ให้เพิ่มเติมข้อความในมติวาระที่ 4.31, 4.32, 4.33 และ 4.34 ต่อท้ายมติข้อ 1 โดยใช้ข้อความดังนี้  “ประกอบกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันว่าตามบทเฉพาะกาล มาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 บัญญัติให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในฐานะ กสทช. จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กสทช. ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีอำนาจเช่นเดียวกับ กสทช. ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 27 (4) (6) บัญญัติให้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนเป็นการอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นการใช้งานตามปกติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ”
1.4 ให้แก้ไขข้อความในมติวาระที่ 4.43 ในเอกสารหน้า 22 แก้ไขจากเดิม “Home Lacation Register” เป็น “Home Location Register”
1.5 ให้แก้ไขมติวาระที่ 4.52 ในเอกสารหน้า 24 โดยตัดคำว่า “Scientific” ออก และเปลี่ยนเป็นคำว่า “เพียงพอ”
1.6 ให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อความในมติวาระที่ 4.63 ในเอกสารหน้า 25 โดยเพิ่มเติมข้อความ “ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท” ต่อท้ายข้อความ “จำนวน 100 เครื่อง”
1.7 ให้แก้ไขปรับปรุงข้อความในมติวาระที่ 4.71 ในเอกสารหน้า 27 – 28 ในข้อ 2 และ 3 โดยใช้ข้อความใหม่ดังนี้
     “1.  เห็นชอบผลการพิจารณาขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ จำนวน 4 รายการ ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายฯ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
  • โครงการจัดระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน เห็นด้วยในหลักการและเห็นควรให้ดำเนินการนำร่องไปก่อนจำนวน 5 ศูนย์ จำนวนเงิน 602,000 บาทเพื่อให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (USO NET) ซึ่ง ทถ. อยู่ระหว่างดำเนินการ
  • โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (Digital Learning Contest) ซึ่งที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 5/2554 ได้มีมติอนุมัติให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการภายในกรอบวงเงิน 2 ล้านบาทนั้น เห็นควรให้ทบทวนแหล่งงบประมาณใหม่ โดยจัดสรรจากรายการเงินสนับสนุนการจัดกิจกรรมของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ประจำปี 2554 เนื่องจากมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อ 5(2) ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช. พ.ศ. 2551
  • การสนับสนุนงบประมาณโครงการอนุรักษ์เทปยูเมติก วงเงิน 3.5 ล้านบาท เห็นควรให้ปรับลดการสนับสนุนงบประมาณลงเหลือจำนวน 2,500,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ โดยเบิกจ่ายจากรายการเงินสนับสนุนการจัดกิจกรรมของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ประจำปี 2554 สำหรับค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 1,000,000 บาท ให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับไปดำเนินการเอง 
     2.  สำหรับโครงการเผยแพร่ภารกิจด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ภายในงาน บีโอไอแฟร์ 2011 (BOI FAIR 2011) ที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติให้การสนับสนุนงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปด้วยความประหยัดและเท่าที่จำเป็น”
2.  สำหรับกรณีที่ที่ประชุมยังมิได้รับรองรายงานการประชุมฯ ของระเบียบวาระที่ 6.5 และ 6.6 นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปพิจารณาดำเนินการดังนี้
2.1 ให้แก้ไขข้อความในมติวาระ 6.5 ข้อ 2 ให้เหมาะสมมากยิ่ง ตามความเห็น กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จากเดิมเป็น ดังนี้
2.  เห็นชอบการกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตตามมติข้อ 1 เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการ โดยต้องให้ผู้บริโภคได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างน้อยเทียบเท่าหรือดีกว่าเดิม ตามความเห็นของที่ประชุม และให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม นำส่งแผนการติดตั้งสถานีฐานในแต่ละจังหวัด เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งด้วย ตามความเห็นของสำนักงาน กสทช.
2.2 ให้ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม อนุญาตให้ผู้ประกอบการใช้คลื่นความถี่ 800 MHz ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA ให้ชัดเจนก่อนว่าเป็นการดำเนินการที่ยังอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานหรือไม่ อย่างไร แล้วประมวลเสนอที่ประชุมเพื่อประกอบการพิจารณารับรองรายงานการประชุมในวาระดังกล่าวให้ถูกต้องและเรียบร้อยโดยเร็วต่อไป 
หมายเหตุ   Professor Erik Bohlin  พร้อมด้วยนางสาวอรดา เทพยายน และนางสาววีร์ธิมาชินธรรมมิตร ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อรายงานความคืบหน้าการเตรียมการจัดการประชุม ITS 2012 Conference ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดย Professor Erik Bohlin ได้รายงานต่อที่ประชุมสรุปได้ว่า จากการที่ได้รับข้อเสนอจากทาง กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ให้เป็นผู้จัดการประชุม ITS 2012 Conference นั้น กล่าวได้ว่า จากข้อเสนอและการได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ทางนี้ ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นและเข้มแข็ง จริงจังของ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ที่จะจัดการประชุมดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ต้องสงสัย โดยได้มีโอกาสพบและหารือถึงแผนการทำงาน กำหนดการประชุม การเปิดรับผลงานทางวิชาการ (Call for Papers) รวมถึงภาพรวมๆ ของขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาการตรวจคัดเลือกผลงานทางวิชาการร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กสทช.ที่งาน Taiwan Regional Conference ณ ประเทศไต้หวัน พร้อมด้วย Professor Hitoshi Mitomo จากประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งยังได้สนทนาถึงความเป็นไปได้ที่องค์กรหรือหน่วยงานในพื้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ รวมถึงการมีส่วนร่วมของนักเรียนทุนจากประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ ในเดือนกันยายน 2554 จะมีงาน Regional Conference จัดขึ้นที่เมือง Budapest รวมทั้งการจัดงานประชุมประจำปีของ ITS (Annual ITS Meeting) จึงอยากขอเชิญ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ไปร่วมงานด้วย โดยเฉพาะท่าน กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และทีมงานจะได้ถือโอกาสรายงานความก้าวหน้าการเตรียมการจัดการประชุม ITS 2012 Conference ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ให้ที่ประชุมที่นั่นได้ทราบ และในช่วงนี้หากเป็นไปได้ จะเป็นการดีมากที่จะเริ่มต้นกระบวนการเปิดรับผลงานทางวิชาการ (Call for Papers) รวมทั้งการจัดทำ Website ประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ของงานการจัดการประชุม ITS 2012 Conference ได้แล้ว หรืออย่างน้อยเป็นโอกาสดีที่จะประชาสัมพันธ์เครื่องหมายหรือสัญญลักษณ์ (Banner) ของการจัดงานฯ ที่งาน Regional Conference ณ เมือง Budapest ต้องขอขอบคุณไฟล์ข้อมูลที่เป็น Power Point เกี่ยวกับภาพรวมของแผนงานและกิจกรรมการจัดงานที่ได้รับจาก กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
     จากนั้น ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ได้กล่าวขอบคุณอย่างมากสำหรับการรายงานความคืบหน้าการเตรียมการจัดการประชุม ITS2012 Conference ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และได้แสดงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมงาน ITS Regional Conference ที่เมือง Budapest ในเดือนกันยายน ๒๕๕๔ และเห็นว่า Professor Erik Bohlin  ควรตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดงานดังกล่าวขึ้นมา โดยมี Professor Erik Bohlin เป็นประธาน และมี กทช.  สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ร่วมด้วย สำหรับเรื่อง Call for Papers เราคงยังพอมีเวลาที่จะเตรียมการ รวมทั้งจัดเตรียมงบประมาณรองรับได้ เมื่อได้ผลงานที่ถูกใจแล้ว ก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ขอเชิญ Professor Erik Bohlin  เข้าร่วมงานในเดือนสิงหาคมนี้ ประมาณวันที่ 20 หรือ 21 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับ ICT Deployment in the Government Sector โดยมี       Professor Hitoshi Mitomo ร่วมด้วยในท้ายสุด Professor Erik Bohlin ได้กล่าวถึงงาน ITS Regional Conference ที่เมือง Budapest ในเดือนกันยายน 2554 เพิ่มเติมอีกว่าเป็นงานEuropean Conference ที่จัดขึ้นในเชิงของการประชุมทางวิชาการที่เข้มข้น โดยสถานที่จัดงานอยู่ริมแม่น้ำซึ่งสวยงามมาก จึงหวังว่าจะได้พบกับ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทุกท่าน โดยเฉพาะ ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. และ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ที่งาน  ITSRegional Conference ที่เมือง Budapest และในเดือนพฤศจิกายน 2554 ก็จะมีงาน Conference จัดขึ้นที่เมือง Perth และในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ที่เมืองนิวเดลี ประเทศอินเดีย เป็นครั้งแรก จึงขอเชิญ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทุกท่านเข้าร่วมด้วย 
ระเบียบวาระที่   3  :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่   19/2554  วันพุธที่ 29  มิถุนายน  2554 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 19/2554  วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา 
ระเบียบวาระที่  4.1  :  การดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม : รทช.ทศพรฯ
 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบข้อเท็จจริงความเป็นมาในการดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาสิทธิ วงโคจรดาวเทียม ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายทศพรฯ) นำเสนอ      
2.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยเหลือสิทธิในตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม จำนวน 6 ตำแหน่ง (slot) คือ 50.5 ํE 78.5 ํE 119.5 ํE  120 ํE  126 ํE และ 142 ํE และในการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม 120 ํE ประเทศไทยโดยรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ดำเนินการในนามประเทศไทย ดังนั้น จึงเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือด่วนที่สุดถึงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อทราบความเห็น และข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการในการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม และพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีตัดสินใจว่ารัฐบาลจะมีนโยบายในเรื่องนี้อย่างไรให้ชัดเจน ซึ่ง กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และสำนักงาน กสทช. พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในประเด็นหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อทำหน้าที่แทนรัฐบาลไทยในฐานะหน่วยงานโทรคมนาคมไทยหรือที่เรียกว่า Administration of Thailand ซึ่งที่ผ่านมากระทรวง ICT เป็นผู้รับผิดชอบหน้าที่นี้ โดยในส่วนของสำนักงาน กสทช. นั้น เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการประสานงานการใช้คลื่นความถี่ การอนุญาตประกอบกิจการ และการตั้งสถานีตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ดังนั้น จึงต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมในประเด็นหน่วยงานรับผิดชอบให้ชัดเจนก่อน ทั้งนี้ ให้นำร่างหนังสือดังกล่าวให้ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช., กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาความครบถ้วน ถูกต้อง และเหมาะสมของถ้อยคำอีกครั้งหนึ่งก่อนจัดส่งโดยด่วนต่อไปภายในวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2554 นี้
ระเบียบวาระที่  4.6  :  ผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ฉบับ : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ (นายฐากรฯ), กม. (ครั้งที่ 19/2554) 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งได้รับมอบอำนาจ ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 และมติที่ประชุม กทช.ครั้งที่ 31/2553 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553 จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
1.  สัญญาให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า Digital CDMA (Post-Paid) ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม
2.  สัญญาให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า Digital CDMA (Post-Paid) ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม โดย บจ.ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย
3.  สัญญาให้บริการวิทยุคมนาคมเซลลูล่า Digital CDMA (Pre-paid) ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม โดย บจ.ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย
     ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ในประเด็นต่างๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สรุปได้ดังนี้
1)  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แจ้งผู้ให้บริการดำเนินการแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมาย และตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ตามมติที่ประชุมข้างต้นที่ได้เห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) แล้วโดยเร่งด่วนต่อไป
2)  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.เร่งรัดการเจรจากับผู้ให้บริการเพื่อแก้ไขสัญญาให้บริการโทรคมนาคมซึ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม พร้อมทั้งกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายและประกาศ กทช.เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 อย่างเคร่งครัด และให้รายงานผลการดำเนินการต่อที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ภายใน 14 วัน
3)  นอกจากนี้ กรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ให้บริการไม่ดำเนินการแก้ไขข้อสัญญาให้ถูกต้องตามที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.มีมติ อันเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมาย อันส่งผลเสียโดยตรงต่อผู้ใช้บริการที่เข้าทำสัญญาดังกล่าวกับผู้ให้บริการ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ใช้บริการมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ให้บริการ จึงเห็นสมควรกำหนดโทษปรับแก่ผู้ให้บริการในกรณีที่ผู้ให้บริการยังคงเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในเรื่องการตรวจแบบสัญญาฯ ต่อไป รวมถึงสมควรให้มีการกำหนดโทษแก่ผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนมติที่ประชุมในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย และหากภายหลังจากที่กำหนดค่าปรับแล้ว ผู้ให้บริการยังคงเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ให้สำนักงาน กสทช. กำหนดบทลงโทษ และมาตรการทางปกครองที่เกี่ยวข้องต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.15  :  บริษัท โอทาโร เวิลด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ของ บจ.โอทาโร เวิล์ด คอร์ปอเรชั่น เป็นไปตามข้อ 3 และข้อ 5 ของประกาศ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติ อนุมัติให้ บจ.โอทาโร เวิล์ด คอร์ปอเรชั่น ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เพื่อให้บริการให้เช่าโครงข่ายโทรคมนาคมหลักและเข้าถึง (Back Bone Network/Access Network) บริการวงจรเช่าบนโครงข่ายโทรคมนาคม บริการวงจรเช่าบนโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (IPLC) บริการบนโครงข่ายโทรคมนาคม NGN และบริการขายส่งและขายต่อบริการ โดยมีระยะเวลาการอนุญาต 15 ปี ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาตตามลักษณะและประเภทบริการโทรคมนาคมภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม ที่คณะกรรมการได้อนุมัติไว้แล้ว 
ระเบียบวาระที่  4.57   :  วิธีการคิดค่าธรรมเนียม USO เพื่อใช้กำหนดปริมาณภารกิจ USO ที่ต้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553 ของ บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นาย พิทยาพลฯ), ทถ. (ครั้งที่ 12/2554)      
มติที่ประชุม   โดยที่ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 17/2554 วันที่ 8 มิถุนายน 2554 เห็นชอบให้ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เป็นผู้รับมอบอำนาจในการกำกับดูแลการดำเนินงานด้าน USO ต่อไป จนกว่า กสทช. ชุดใหม่จะได้รับแต่งตั้ง และเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น การกำหนดวิธีการคิดค่าธรรมเนียม USO เพื่อใช้กำหนดปริมาณภารกิจ USO ที่ต้องดำเนินการตามแผนการปฏิบัติการUSO ประจำปี 2553 ของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากการพิจารณากลั่นกรองของ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แล้ว จึงเห็นควรมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำวิธีการดังกล่าวไปดำเนินการต่อไป ทั้งนี้  โดยให้รับความเห็นประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้นด้วย   
ระเบียบวาระที่  4.67   :  โครงการปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน ASEAN Secretariat สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ (นายฐากรฯ), บค. 
มติที่ประชุม   อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 685,184 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ น.ส.ศิริพร  พุกกะเวส ในการปฏิบัติงาน ณ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2554 ตามมติ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่          17/2554 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 ที่ได้อนุมัติให้ น.ส.ศิริพรฯ ขยายระยะเวลาการปฏิบัติงาน ณ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน จนถึงสิ้นเดือน กันยายน 2554 ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการปฏิบัติงาน  ณ หน่วยงานในต่างประเทศ ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่    4.83  :  ร่างแถลงการณ์ร่วม ด้าน ICT และ Broadcasting ระหว่าง สำนักงาน กสทช. และ NICT ประเทศญี่ปุ่น : สพท. (ครั้งที่ 19/2554)          
มติที่ประชุม  โดยที่ความร่วมมือด้าน ICT และ Broadcasting ระหว่าง สำนักงาน กสทช. และ NICT ประเทศญี่ปุ่น เป็นกรณีความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาในลักษณะเป็น Umbrella Agreement หรือกรอบความร่วมมือในกิจกรรมแนวกว้างโดยมิได้ส่งผลให้เกิดข้อผูกพันใดๆ ในด้านงบประมาณระหว่างกันทั้งสองฝ่าย และเพื่อมิให้เป็นพันธะผูกพันกับ กสทช. ชุดใหม่มากจนเกินไป เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมด้าน ICT และ Broadcasting ระหว่างสำนักงาน กสทช.และ NICT ประเทศญี่ปุ่น ตามที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เสนอ โดยให้มีระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ โดยให้สพท. ชี้แจงเหตุผลดังกล่าวให้ประเทศญี่ปุ่นทราบ และให้รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมที่ขอให้เน้นถึงประโยชน์ที่จะได้รับให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย   
ระเบียบวาระที่  4.84   :   การดำเนินการเกี่ยวกับกลุ่มภารกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับภารกิจเดิมของสถาบันเฉพาะทางและสำนักงานกองทุนฯ : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ  (นายฐากรฯ), บค. 
มติที่ประชุม   เนื่องจากปัจจุบันภายหลังพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับแล้ว ส่งผลให้ระเบียบเกี่ยวกับสถาบันเฉพาะทาง และสำนักงานกองทุนฯ  มีความขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว และทำให้ต้องถูกยกเลิกโดยผลของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ไม่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งฉบับตามความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสำนักงาน กสทช. กอรปกับขณะนี้ สถาบันเฉพาะทาง และสำนักงานกองทุนฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนสถานะเป็นกลุ่มภารกิจปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจเดิมอยู่ภายใต้โครงสร้างสำนักงาน กสทช.ตามมติที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 9/2554 แล้ว ดังนั้น สถานะและสิทธิประโยชน์ของผู้ปฏิบัติงานจากสถาบันเฉพาะทาง และสำนักงานกองทุนฯ จึงสมควรต้องถูกกำหนด และได้รับตามหลักเกณฑ์ของระเบียบ/ประกาศด้านการบริหารงานบุคคลที่ใช้บังคับเช่นเดียวกันกับผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช. รวมถึงการว่าจ้างพนักงานหรือลูกจ้างในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ย่อมสามารถกระทำได้ขึ้นอยู่กับเหตุผลความจำเป็น และมีจำนวนที่เหมาะสม เพียงพอ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช. ตามความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสำนักงาน กสทช. ในการนี้ ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมข้างต้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับกลุ่มภารกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับภารกิจเดิมของสถาบันเฉพาะทาง และสำนักงานกองทุนฯ โดยให้พิจารณาจัดทำรายละเอียดของสถานะและสิทธิประโยชน์ของผู้อำนวยการสถาบันเฉพาะทาง (สพท. และ สบท.) และผู้ปฏิบัติงานจากสถาบันเฉพาะทาง และสำนักงานกองทุนฯ ตามแนวทางดังกล่าวให้ชัดเจน แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง 
ระเบียบวาระที่  4.87   :   การจัดทำความตกลงต่างตอบแทนว่าด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นไทย-ฝรั่งเศส : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นายทศพรฯ), รศ. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูต ว่าด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจัดทำขึ้น ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ ซึ่งมีเนื้อหาเหมือนกับที่ประเทศไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้เคยจัดทำความตกลงต่างตอบแทนในรูปหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตกับนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศเบลเยี่ยมแล้ว ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำร่างหนังสือดังกล่าวเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้แจ้งกระทรวงการต่างประเทศทราบเพื่อดำเนินการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนของฝ่ายไทยตอบรับข้อเสนอของฝ่ายฝรั่งเศสต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.88     :   การดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่  16/2554 เรื่อง โครงการสร้างสรรค์เยาวชนคนรุ่นใหม่ผู้มีวินัยใช้ไอซีที (NetGen) : กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., ทถ. 
มติที่ประชุม  อนุมัติการสนับสนุนงบประมาณโครงการสร้างสรรค์เยาวชนคนรุ่นใหม่ ผู้มีวินัยใช้ไอซีที (NetGen) โดยวิธีการสนับสนุนงบประมาณโดยตรงให้แก่สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายในกรอบวงเงินจำนวน 4 ล้านบาท ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กสทช. พร้อมทั้งให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ร่วมกับสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นเงื่อนไขประกอบการดำเนินงานโครงการฯ ให้สำเร็จลุล่วงได้ต่อไปตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   4.96    :  หลักการเก็บค่าธรรมเนียมผู้รับใบอนุญาตแบบที่สาม ที่ยังไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม                
1.  เห็นชอบหลักการการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ที่ยังไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ ตามที่ กทช.(ขณะนั้น) ได้เคยมีมติกำหนดหลักการคำนวณค่าธรรมเนียมดังกล่าวไว้แล้วในการประชุมครั้งที่ 6/2550  ครั้งที่ 18/2551 และครั้งที่  14/2553 เพื่อนำมาปรับใช้กับผู้ประกอบการรายอื่นในลักษณะเดียวกันให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันต่อไป แต่ทั้งนี้ ต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามมาตรา 45 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ที่กำหนดให้จัดเก็บในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายของผู้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ สำหรับกรณีของใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม ให้ดำเนินการเก็บค่าธรรมเนียมฯ  ที่ไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ ไปในแนวทางเดียวกันข้างต้น ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช., กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.จัดเก็บค่าธรรมเนียมรายปีของใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ที่ยังไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ จำนวน 3 รายตามหลักการข้างต้น ได้แก่ บจ.สมุทรปราการ มีเดีย คอร์ปอเรชั่น, บจ.วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น และ บจ. ซุปเปอร์ ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต รวมทั้ง จัดเก็บค่าธรรมเนียมรายปีของใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ที่ปัจจุบันได้ประกอบกิจการแล้ว แต่ยังไม่มีการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีในรอบปีที่บริษัทฯ ยังไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ จำนวน 2 รายตามหลักการข้างต้น ได้แก่ บจ.มิลคอม ซิสเต็มซ์ และ บจ.สวัสดีช้อป 
ระเบียบวาระที่   4.97   :   ยกเลิกการให้บริการบัตร PhoneNet By Hatari ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม                  
1.  อนุมัติให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ยกเลิกการให้บริการบัตร PhoneNet By Hatari ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 9 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช., กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.,  กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.,  กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ โดยให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ปฏิบัติตามแผนการดำเนินการเพื่อยกเลิกให้บริการโดยเคร่งครัด
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อไปพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์ และวิธีการในการขออนุญาตพักหรือหยุดการให้บริการ ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาต่อไป  
ระเบียบวาระที่  4.99  :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 8/2554 เมื่อวันจันทร์ที่     13 มิถุนายน 2554 (สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนร่วมด้วยช่วยกัน) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงฯ 
มติที่ประชุม  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนร่วมด้วยช่วยกัน คลื่นความถี่ 102.75 MHz จังหวัดกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 8(4) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยกำหนดให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนตามข้อ 8(5) ของประกาศดังกล่าว ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
อนึ่ง การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เป็นการอนุญาตให้ใช้ทดลองเป็นการชั่วคราว และอาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามแผนความถี่ รวมทั้ง การอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิถาวรกับผู้รับใบอนุญาตที่จะอ้างสิทธิ 
ระเบียบวาระที่  4.100   :  การแจ้งตอบข้อมูลผู้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนที่ถูกดำเนินคดี : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงฯ 
มติที่ประชุม   เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามข้อกฎหมายขอบเขต และเงื่อนไขการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน และมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 39/2553 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553 โดยให้แจ้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ดำเนินการทางคดีตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายให้เป็นที่ยุติก่อน และเมื่อผลทางคดียุติเรียบร้อยแล้ว หากประสงค์จะทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวอีก  ก็ให้ยื่นเอกสารที่แสดงว่าผลการพิจารณาคดีเป็นที่ยุติแล้ว เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการในการขยายระยะเวลาการทดลองออกอากาศชั่วคราวต่อไป ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน สปอร์ต เรดิโอ เพื่อทราบและดำเนินการตามแนวปฏิบัติข้างต้น และตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1. สถานีวิทยุกระจายเสียงสปอร์ต เรดิโอ คลื่นความถี่ 97.25 MHz ที่ตั้งสถานีเลขที่ 429/246 หมู่ 2 ซอยพึงมี 52 ถนนสุขุมวิท 93 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260 เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้แจ้งความประสงค์ฯ ตามบทเฉพาะกาล ข้อ 18 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยถือเป็นผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว และต้องถือปฏิบัติตามขอบเขตและเงื่อนไขสำหรับผู้แจ้งความประสงค์ฯ โดยในเงื่อนไขได้กำหนดว่าผู้ยื่นความประสงค์ยินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการจะประกาศกำหนดทุกประการ ซึ่งจากข้อเท็จจริงปรากฏว่าสถานีวิทยุกระจายเสียงสปอร์ต เรดิโอ ถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ในฐานการมี ใช้ ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ดังนั้น จึงขอให้สถานีวิทยุกระจายเสียงสปอร์ต เรดิโอ ดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายจนเป็นที่ยุติก่อน และเมื่อผลทางคดีเป็นที่ยุติเรียบร้อยแล้ว หากประสงค์จะทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวอีกครั้ง ก็สามารถยื่นเอกสารที่แสดงว่าผลการพิจารณาคดีเป็นที่ยุติแล้ว เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการในการขยายระยะเวลาการทดลองออกอากาศชั่วคราวต่อไป
2.  กรณีตามที่หารือเอกสารประกอบการพิจารณาขยายระยะเวลาการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว คือ เอกสารที่แสดงถึงผลการพิจารณาคดีเป็นที่สิ้นสุดแล้วตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 หรือคำพิพากษาของศาลที่คดีถึงที่สุดแล้ว ประกอบกับเอกสารการได้รับอนุญาตให้มี ใช้ ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 และผลการตรวจสอบมาตรฐานทางวิชาการของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ทั้งนี้ หากเอกสารครบถ้วน สำนักงาน กสทช. จะได้ดำเนินการนำเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาตามกระบวนการโดยเร็วต่อไป
3.  กรณีที่เกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เป็นกรณีที่อยู่นอกเหนือขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 
ระเบียบวาระที่  4.101   :  การพิจารณาคำร้องขอให้ตรวจสอบการดำเนินการของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรณีการต่อสัญญาร่วมดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 ให้บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ของนายประมุท  สูตะบุตร  : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ กรณีนายประมุท  สูตะบุตร ยื่นคำร้องขอให้ตรวจสอบการดำเนินการของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรณีการต่อสัญญาร่วมดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 ให้บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
2.  อย่างไรก็ตาม โดยที่เรื่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตามกฎหมายของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความรอบคอบ จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. โดยสำนักกฎหมายไปวิเคราะห์จัดทำความเห็นในเชิงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาเกี่ยวกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมนั้น อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. หรือไม่ และการพิจารณาการใช้อำนาจตามมาตรา 74 และมาตรา 75 ในบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน แล้วเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. โดยเร็วต่อไป   
ระเบียบวาระที่  4.102   :  รายงานผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (จำนวน 3 ราย 10 ใบอนุญาต) :กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงฯ 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณ เมื่อสถานีทำการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก)  จำนวน 3 ราย (10 ใบอนุญาต) ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการรั่วไหลของสัญญาณ ตามที่คณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เสนอ
1)  บจ. เคซีแอล เคเบิล คอมมิวนิเคชั่น (๖ ใบอนุญาต 94 ช่องรายการ)
2)  บจ. เค.พี.พี.ราไวย์ (1 ใบอนุญาต 92 ช่องรายการ)
3)  หจก. เพชรบูรณ์ เคเบิ้ลทีวี (3 ใบอนุญาต 50/40/40 ช่องรายการ)
2.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต จำนวน 3 ราย ตามข้อ 1 และการพิจารณาขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. โดยสำนัก/กลุ่มภารกิจที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการสุ่มตรวจสถานีโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิกที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว ว่าได้มีการออกอากาศรายการของสถานีตรงตามที่ได้ขออนุญาตไว้หรือไม่ แล้วรายงานให้ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ทราบ ตามความเห็น กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
ระเบียบวาระที่  4.103   :  การขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลการแจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงฯ 
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงประกอบกับเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องแล้ว กรณีที่นางศศิวิมล  ศรีคง ยื่นเอกสารคัดค้านการแสดงตนและการได้รับสิทธิการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวของนายธนวัฒน์  ขุนทวี ซึ่งประกอบด้วยบันทึกเรื่องราวขอไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวน สภ.เมืองภูเก็ต โดยได้มีการลงนามแสดงเจตนาจากนายธนวัฒน์  ขุนทวี ผู้ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนต้นไผ่เสียงทอง มิวสิคเรดิโอ คลื่นความถี่ 97.50 MHz ว่ามีการส่งมอบและการครอบครองสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนดังกล่าวให้แก่นางศศิวิมล  ศรีคง ได้ใช้ประโยชน์ในสิทธินั้นต่อไป ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวเป็นกรณีโต้แย้งระหว่างบุคคล และไม่สามารถนำข้อพิพาทนั้นมาหักล้างหรือเป็นเหตุแห่งความจำเป็นในการขอเปลี่ยนแปลงผู้แจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนได้ กอปรกับมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 19/2553 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2553 ได้วางหลักการ “การขอเปลี่ยนแปลงผู้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน หากเป็นกรณีที่มีเหตุแห่งความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรือเหตุอย่างใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ โดยกรณีที่แจ้งความประสงค์ฯ ประเภทบุคคลธรรมดา ให้ทำได้ในกรณีเสียชีวิต หรือการย้ายถิ่นพำนักไปต่างประเทศ หรือเหตุอย่างใดๆ ซึ่งทำให้ผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้คนชุมชนในเขตพื้นที่ที่สถานีตั้งอยู่ลงมติเพื่อคัดเลือกผู้แจ้งความประสงค์มาทดแทนได้” ดังนั้น กรณีการได้รับสิทธิในการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวที่แจ้งความประสงค์ฯ ประเภทบุคคลธรรมดา จึงเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถมอบให้ผู้อื่นได้ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติไม่อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลการแจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนตามที่นางศศิวิมล  ศรีคง ร้องขอตามความเห็นของคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ อย่างไรก็ดี นางศศิวิมล  ศรีคง สามารถแสดงเอกสาร หลักฐานประกอบที่แสดงถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่สอดคล้องตามแนวทางที่กำหนด ตามที่มติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 19/2553 โดยสามารถยื่นอุทธรณ์ขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลการแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน พร้อมเอกสาร หลักฐานประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.104    :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 8/2554 เมื่อวันที่จันทร์ 13 มิถุนายน 2554 (จำนวน 13 ราย 56 ใบอนุญาต) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงฯ 
มติที่ประชุม   อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 13 ราย (56 ใบอนุญาต) ตามข้อ 7(3) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) โดยกำหนดให้มีการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นเวลา 30 วัน ตามข้อ 7(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น และการขึ้นทะเบียนช่องรายการของผู้รับใบอนุญาตฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  หจก.เมืองนครพนม เคเบิลเน็ทเวิร์ค    จำนวน 1 ใบอนุญาต 50 ช่องรายการ
2.  บจ.เอ.เอส.อินเตอร์เนชั่นแนล     จำนวน 15 ใบอนุญาต 84 ช่องรายการ
3.  บจ.อมตะ มีเดียพลัส เทเลวิชั่น    จำนวน 3 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
4.  หจก.สหพลรุ่งเรืองกิจ (2001)     จำนวน 1 ใบอนุญาต 55 ช่องรายการ
5.  หจก.โฟนอีเล็คทรอนิคส์           จำนวน 1 ใบอนุญาต 35 ช่องรายการ
6.  หสม.เท็นเทเลคอม                  จำนวน 2 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
7.  บจ.เจริญเคเบิลทีวี เน็ตเวอร์ค     จำนวน 9 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
8.  บจ.ฟากฟ้า                            จำนวน 10 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
9.  บจ.นวมินทร์ เคเบิลทีวี เน็ตเวิร์ค  จำนวน 8 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
10 บจ.สมุย เคเบิ้ล ทีวี                   จำนวน 1 ใบอนุญาต 50 ช่องรายการ
11. บจ.นางรอง เคเบิ้ลทีวี               จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
12. บจ.เคเบิลวิชั่น                        จำนวน 1 ใบอนุญาต 70 ช่องรายการ
13. บจ.โกลด์ เคเบิ้ลทีวี                 จำนวน 3 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ 
ระเบียบวาระที่  4.105  :  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีขออนุญาตย้ายเสาส่งและเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., สท. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริง และความเป็นไปได้ในทางเทคนิคในการย้ายเสาส่งและเครื่องส่งสถานีวิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีแล้ว ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการรบกวนความถี่วิทยุข้างเคียง ดังนั้น จึงมีมติอนุมัติให้สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ย้ายเสาส่งและเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ความถี่ 89.50 MHz จากจุดที่ตั้งเดิม (เลขที่ ๓๙๙ ถนนสามเสน แขวงวชิรพยายาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ) ไปติดตั้ง ณ เลขที่ 5 อาคารซี.พี.แลนด์ จำกัด ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง กรุงเทพฯ ตามความเห็นของ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไข ดังนี้
1.  กรณีเกิดการรบกวนใดๆ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จะต้องรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาการรบกวนดังกล่าว
2.  จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ซึ่งจะจัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 กำหนดในอนาคตด้วย
     อนึ่ง เพื่อให้เกิดความรอบคอบมากยิ่งขึ้นในการพิจารณากลั่นกรองเรื่องในลักษณะเดียวกันนี้ต่อไปในอนาคต จึงเห็นควรให้สำนักงาน กสทช. ส่งเรื่องการขออนุญาตในลักษณะดังกล่าวให้ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองด้วยตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   4.107   :   ขอความเห็นชอบในข้อคิดเห็นของสำนักงาน กสทช. ที่มีต่อ Addendum on ATRC Intra-ASEAN Roaming Rates (MRR) to the Intent (Rol) ภายใต้กรอบอาเซียน : กร., ศฐ., คณะกรรมการตรวจและรับมอบงานโครงการศึกษานโยบายฯ 
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบตามความเห็นของสำนักงาน กสทช. ที่เสนอ ที่มีต่อ Addendum on ATRC Intra-ASEAN Roaming Rates (MRR) to the Intent (Rol) ภายใต้กรอบอาเซียน ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) เพื่อนำเสนอกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพิจารณากำหนดท่าทีของประเทศไทย และนำเสนอต่อที่ประชุมสภาหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแห่งอาเซียน (ATRC)ครั้งที่ ๑๗ ระหว่างวันที่ 11 – 14 กรกฎาคม 2554 ณ ประเทศบรูไน  ดารุสซาลาม
2.  อนุมัติให้สำนักงาน กสทช. จัดส่งข้อพิจารณาและความเห็นตามข้อ 1 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะหน่วยงานที่เป็นตัวแทนรัฐบาลในการประชุมภายใต้กรอบอาเซียนเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวต่อไป 
ระเบียบวาระที่  5   :   เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1   :  รายงานผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำ กทช.สุรนันท์  วงศ์วิทยกำจร (นายสามารถ  รัตนประทีปพร และ ดร.ชาญณรงค์   จันทร์โชติ) : กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำ กทช.สุรนันท์   วงศ์วิทยกำจร (นายสามารถ  รัตนประทีปพร และ ดร.ชาญณรงค์ จันทร์โชติ) ประจำเดือนธันวาคม 2553 – กุมภาพันธ์ 2554 และเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2554 ตามเอกสารที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.2  :  รายงานผลการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้รับสื่อในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๔ :กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กส. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานผลการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้รับสื่อในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2554 จำนวน 47 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 26 เรื่อง อยู่ในระหว่างดำเนินการ จำนวน 21 เรื่อง ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.3   :  รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ประจำเดือนพฤษภาคม 2554 : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ (นายฐากรฯ), กม. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือมอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ลสทช.) ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ประจำเดือนพฤษภาคม 2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   5.4  :  รายงานข้อมูลของสถานีวิทยุชุมชนประจำเดือนพฤษภาคม 2554 : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), กท. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานสรุปข้อมูลสถานะความเคลื่อนไหวของวิทยุชุมชนและข้อมูลสถิติระดับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากวิทยุชุมชนโดยเฉพาะในกรณีมีผลกระทบร้ายแรงต่อการรบกวนวิทยุการบิน ประจำเดือนพฤษภาคม 2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   5.5  :  บมจ.กสท โทรคมนาคม ขอส่งคืนเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐาน : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), กบ. 
มติที่ประชุม  รับทราบการส่งคืนเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐาน สำหรับโครงข่ายโทรศัพท์ประจำที่ กลุ่มเลขหมาย 037 จำนวน 5,000 เลขหมาย ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   5.6    :  รายงานสรุปข้อมูลการติดตามการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานสรุปข้อมูลการติดตามการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท   ทีโอที จำกัด (มหาชน) ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่    5.7    :  รายงานสรุปผลการประชุมคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และข้อร้องเรียนของบริษัท ทรู มูฟ จำกัด : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ (นายพิทยาพลฯ), สชท. 
มติที่ประชุม   รับทราบ  รายงานสรุปผลการประชุมคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อเสนอและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม  สภาผู้แทนราษฎร และข้อร้องเรียนของบริษัท ทรู มูฟ จำกัด ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ       
ระเบียบวาระที่   5.8  :  ผลการหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การดำเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ (นายฐากรฯ), กม. 
มติที่ประชุม   รับทราบความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การดำเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. ของสำนักงาน กสทช. ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 เรื่องเสร็จที่ 553/2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่    6   :   เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่    6.1   :   การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (กรณีศึกษาการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่ม  ฮัทชิสัน) : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ (นายฐากรฯ), ปธ.
 
มติที่ประชุม   อนุมัติการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (กรณีศึกษาการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยให้รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม และเมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้นำเสนอประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. เพื่อลงนามแต่งตั้งต่อไป ดังนี้
1.  ให้เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิเป็นอนุกรรมการ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ นายจักรทิพย์ นิติพน ที่ปรึกษาประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ดร.ศักดา  ธนิตกุล  คณะบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.คณิต แสงสุพรรณ ทั้งนี้ โดยให้สำนักงาน กสทช. ตรวจสอบประวัติ คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ด้วย
2.  ให้ปรับแก้ไขร่างคำสั่งในส่วนของพนักงานสำนักงาน กสทช. ที่เป็นองค์ประกอบตั้งแต่ลำดับที่ 9-15 ใหม่ให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ แทน (Supporting Staff)
3.  ให้เพิ่มข้อความในหัวข้ออำนาจหน้าที่ใน ข้อ 3.2  2) โดยเพิ่มข้อความ “และผลกระทบต่อตลาดและการแข่งขัน” ต่อท้ายข้อความ “เกี่ยวข้องกันทางเทคนิค”  
     ทั้งนี้ การแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมข้างต้น เพื่อขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้ และองค์ประกอบ ให้สามารถดำเนินการพิจารณากำหนดกรอบนโยบาย และแนวทางปฏิบัติตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ที่เหมาะสมในทุกๆ ด้านได้อย่างครบถ้วน และเบ็ดเสร็จในคราวเดียวตามความเห็นของที่ประชุมนอกเหนือจากทางด้านเทคนิคเพียงอย่างเดียว 
ระเบียบวาระที่  6.2   :  ความเห็นต่อกรณีขอให้ดำเนินการให้บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ปฏิบัติตามมาตรา 84(1) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกระทรวงพาณิชย์ตามข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และข้อร้องเรียนของบริษัท ทรู มูฟ จำกัด กรณี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นนิติบุคลต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หรือไม่ ตามที่สำนักงาน กสทช. โดย ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ) และนายเฉลิมชัยฯ ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม รายงานต่อที่ประชุม
2.  รับทราบและเห็นชอบด้วยกับความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตามบันทึกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม   อยู่ในธรรม) ที่ 485/2554 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นต่อกรณีขอให้ดำเนินการให้บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  ปฏิบัติตามมาตรา 84(1) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ซึ่งสมควรต้องดำเนินการพิสูจน์ความข้อเท็จจริงให้ปรากฏตามกฎหมาย และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในทางปกครอง โดยไม่ซ้ำซ้อนกับการดำเนินการตรวจสอบความเป็นสัญชาติต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ของกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยให้ดำเนินกระบวนการไต่สวนและรวบรวมข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการในเรื่องดังกล่าว โดยดำเนินกระบวนการไต่สวนและรวบรวมข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 โดยเร็ว และเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ ตลอดจนมีโอกาสโต้แย้งและแสดงเสนอหลักฐาน รวมถึงภาระการพิสูจน์ย่อมเป็นของผู้กล่าวอ้างตามหลักทั่วไป ทั้งนี้ ให้รายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทราบทุกสัปดาห์
3.  ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามข้อ 1 นั้น อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานใดที่เกี่ยวข้องได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น การแสวงหาข้อมูลต่างๆ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบงบประมาณที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับต่อไปด้วย       
ระเบียบวาระที่   6.3  :   ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาขาดแคลน ณ King’s College London และ Queen Mary, University of Londonประเทศสหราชอาณาจักร : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ (นายฐากรฯ), บค. 
มติที่ประชุม                  
1.  อนุมัติการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่ นายนภดนัย  ฉัตรภูติ พนักงานตามสัญญาจ้าง สำนักกิจการกรรมการ เพื่อศึกษาในหลักสูตร Master of Arts in International Political Economy ณ มหาวิทยาลัย King’s College London ประเทศสหราชอาณาจักร ภายในกรอบวงเงิน 1,968,436 บาท
2. อนุมัติการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่ นางสาวภุมรา  มะโน พนักงานสัญญาจ้างตามโครงการสนับสนุนผู้มีอัจฉริยภาพด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนภารกิจของ กทช. (Internship Program) เพื่อศึกษาในหลักสูตร Master of Laws (LLM) ณ มหาวิทยาลัย Queen Mary, University of London ประเทศสหราชอาณาจักร ภายในกรอบวงเงิน 1,908,628 บาท
3.  อนุมัติเปลี่ยนแปลงงบประมาณโครงการพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรเพื่อภารกิจสำนักงาน กสทช. ประจำปี 2554 ในส่วนที่ใช้สนับสนุนทุนการศึกษาสำนักงาน กสทช. ประจำปี 2554 (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) ที่คงเหลือจากการไม่มีผู้สมัครขอรับทุนจำนวน 1 ทุน เป็นเงินจำนวน 4,500,000 บาท มาใช้ในการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นายนภดนัย  ฉัตรภูติ ภายในกรอบวงเงิน 1,968,436 บาท และมาใช้ในการสนับสนุนการศึกษาให้แก่นางสาวภุมรา  มะโน ภายในกรอบวงเงิน 1,908,628 บาท รวมเป็นเงิน 3,877,064 บาท
     ทั้งนี้ โดยให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กทช.ว่าด้วยการพัฒนาบุคลากร พ.ศ.2551 และให้นำระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ.2551 อัตราค่าใช้จ่ายของนักเรียนทุนรัฐบาล และข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการจัดการการศึกษา ควบคุมดูแล และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ และนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ พ.ศ.2551 มาใช้โดยอนุโลม และให้นายนภดนัยฯ และนางสาวภุมราฯ อยู่ในความดูแลจัดการการศึกษาของ ก.พ. ระหว่างที่ศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ
     อนึ่ง ในการพิจารณาการสนับสนุนทุนการศึกษา นั้น ให้พิจารณาภายใต้หลักการในการให้สิทธิแก่พนักงานและลูกจ้างอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ต้องกลับมาปฏิบัติงานที่สำนักงาน กสทช. 
ระเบียบวาระที่   6.8  :   (ร่าง) ประกาศ กทช. ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. .... : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กทช.ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. .... ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยให้รับข้อคิดเห็นที่ประชุมเพื่อปรับแก้ไขให้มีความเหมาะสม และชัดเจนยิ่งขึ้น ก่อนนำเสนอประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ลงนาม เพื่อนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามขั้นตอนต่อไป ดังนี้ 
1.  ให้ปรับแก้ไขระยะเวลาในข้อ 14 โดยกำหนดระยะเวลา 180 วัน แต่หากมีเหตุอันควรให้นำเสนอ กสทช.เพื่อขออนุญาตผ่อนผันต่อได้อีก 180 วัน
2.  ให้เพิ่มเติมข้อความในส่วน Preamble ของร่างประกาศโดยลำดับความเป็นมาของการจัดทำประกาศฉบับนี้ให้ชัดเจน เพื่อให้สาธารณชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าเรื่องดังกล่าวได้มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 มิใช่เป็นการเร่งรัดดำเนินการในห้วงระยะเวลานี้ 
ระเบียบวาระที่  6.9  :  การกำหนดหลักการการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการ/ขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือน MVNOตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 
มติที่ประชุม  เพื่อให้เกิดความชัดเจนและถูกต้องยิ่งขึ้น ทั้งที่ผ่านมาและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้สอดคล้องตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ภายหลังได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2553 เป็นต้นมา ที่ประชุมจึงมีมติดังนี้
1.  มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ร่วมกันพิจารณากำหนดกรอบหลักการที่ชัดเจนในเบื้องต้นต่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการ/ขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เสมือน MVNO เพื่อมิให้ขัดหรือแย้งกับมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 สรุปได้ว่า การได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการ/ขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เสมือน MVNO ดังกล่าว ยังไม่ถือว่าเป็นสิทธิในการเข้าถึงคลื่นความถี่ (Right to Access) แต่เป็นการได้รับสิทธิในการไปเจรจาเชิงธุรกิจกับผู้ให้บริการ Wholesale ซึ่งเมื่อผู้รับใบอนุญาตเจรจาได้เรียบร้อยแล้ว จึงมายื่นขออนุญาตในการเข้าถึงคลื่นความถี่ต่อ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.อีกครั้งหนึ่ง
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการให้บริการขายส่งบริการ/ขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือน MVNO เพื่อทำความเข้าใจในหลักการตามข้อ 1 ให้ชัดเจนต่อไป 
หมายเหตุ   ไม่มีเอกสารประกอบวาระการประชุม

สร้างโดย  -   (26/2/2559 15:23:51)

Download

Page views: 297