สรุปมติที่ประชุม กทช. 30/2552

มติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 30/2552
วันพุธที่ 2 กันยายน 2552 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการสำนักงาน กทช.

 
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1. พลเอกชูชาติ                      พรหมพระสิทธิ์     ประธานกรรมการ
2. นายเหรียญชัย                    เรียววิไลสุข         กรรมการ
3. นายสุชาติ                          สุชาติเวชภูมิ        กรรมการ
4. ศาสตราจารย์เศรษฐพร         คูศรีพิทักษ์          กรรมการ
5.  นายสุรนันท์                       วงศ์วิทยกำจร       เลขาธิการ กทช.
ผู้ไม่เข้าประชุม
1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์  ประพิณมงคลการ      ไปต่างประเทศ
2. รองศาสตราจารย์สุธรรม  อยู่ในธรรม            ไปต่างประเทศ
 
ระเบียบวาระที่  1 :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.  ขณะนี้ย่างเข้าสู่เดือนกันยายนแล้ว และเรื่องการสรรหา กทช. ก็คงจะเข้มงวดเข้าไปทุกที จึงมีความเป็นห่วงงานต่างๆที่สำนักงาน กทช. จะต้องปรับปรุงแก้ไข ขอให้ สำนักงาน กทช. เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว มิฉะนั้น หากเหลือ กทช. เพียง 3 ท่าน อาจจะมีปัญหาได้
2.  เรื่องการฟังธรรม เป็นเรื่องที่ดี ซึ่งได้ริเริ่มไว้ และเป็นประธานให้สองครั้งแล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ลทช. และ รทช. ไม่มีท่านใดไปร่วมเลย จึงขอให้ สำนักงาน กทช. รับผิดชอบ โดยให้ ลทช. หรือ รทช. ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นประธานในแต่ละครั้งต่อเนื่องกันไป ทั้งนี้  ในการจัดฟังธรรม ให้แจ้งเวียนทุกสำนัก  รวมทั้งให้แจ้ง กทช. ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาทุกท่านทราบ และ ผอ.สำนัก หากไม่มีงานสำคัญเร่งด่วน ขอให้ไปร่วมฟังธรรมด้วย  เราเป็นพุทธมามะกะ ควรจะไปร่วมฟังธรรม และเรื่องดีๆ ที่ กทช. ได้ริเริ่มไว้ อาทิ ห้องพยาบาล และ สนามเทนนิส ก็ขอให้ สำนักงาน กทช. สานต่อกิจกรรมดังกล่าว และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อๆ ไป
3. ในเดือนกันยายน 2552 ขอให้งดการประชุมในสัปดาห์สุดท้าย ทั้งนี้ เพื่อให้สำนักงาน กทช.ได้มีเวลาในการเตรียมการจัดงานครบรอบ 5 ปี การปฏิบัติงานของ กทช. โดยอาจพิจารณากำหนดวันประชุมเพิ่มเติมในสัปดาห์ก่อนหน้านั้นได้ เพื่อมิให้มีเรื่องค้างการพิจารณา
4. ในการเดินทางเยือนประเทศในกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการของ กทช. ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม 2552 ขอให้สำนักงาน กทช. พิจารณากำหนดวันที่เหมาะสมด้วย 
5. ขอให้สำนักงาน กทช. เร่งนำเสนอร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดงานครบรอบ 5 ปี การปฏิบัติงานของ กทช. เพื่อให้ประธาน กทช. ลงนาม โดยเร็ว
มติที่ประชุม  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่  2  :  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 29/2552  วันพุธที่ 26  สิงหาคม  2552 และวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2552
มติที่ประชุม
  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 29/2552 วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2552และวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  3   :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 29/2552 วันพุธที่ 26  สิงหาคม  2552 และวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2552
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 29/2552 วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2552 และวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.4  :  การไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีการให้บริการของผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่กรณี บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) : รทช.ประเสริฐฯ, กท.
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุมไปวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมความเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  โดยให้หารือ รทช.พิทยาพลฯ แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาต่อไปเมื่อ กทช.ครบ 6 คน ทั้งนี้ โดยมีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่
1.  ในการวิเคราะห์การคิดค่าบริการการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในโครง ข่าย (on net) และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างโครงข่าย (off net) นั้น ในหลักการควรต้องเป็นอัตราเดียวกัน อย่างไรก็ดี จะต้องพิจารณาศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการกำกับดูแลเรื่องนี้ โดยไม่เลือกปฏิบัติ และต้องดูแลคุ้มครองผู้บริโภคด้วย
2. โดยหลักการแล้ว การคิดค่าบริการการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ on net และ off net จะกำหนดอัตราที่สะท้อนต้นทุน (Cost Base) แต่ในข้อเท็จจริงต้นทุนของ on net และ off net ที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลให้การคิดอัตราค่าบริการไม่เท่ากันเช่นเดียวกับหลายกรณีในต่าง ประเทศ อย่างไรก็ดี ควรพิจารณาศึกษาหาแนวทางเพื่อให้การดำเนินธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่สามารถแข่งขันได้ โดยต้องไม่เลือกปฏิบัติ เช่น การคิดค่า on net และ off net เป็นราคาเดียวกันในแต่ละรายการส่งเสริมการขาย (Promotion) แต่มีข้อเสนอบริการเสริมพิเศษอื่นๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละรายการ ซึ่งโดยวิธีนี้ ผู้ประกอบการจะสามารถทำรายการ Promotion ต่างๆ ที่หลากหลายได้เช่นกัน เป็นต้น
ระเบียบวาระที่ 4.5  :  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวหาบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ให้บริการในลักษณะโทรศัพท์ประจำที่ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม : คณะกรรมการไต่สวนฯ, กท. 
มติที่ประชุม
             
1. เห็นชอบตามความเห็นของสำนักงาน กทช.ที่เสนอ ซึ่งได้พิจารณาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ประกาศ กทช. และข้อมูลทางเทคนิคที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตรวจสอบการติดตั้งเครื่อง และอุปกรณ์ที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  (AIS) ให้บริการแก่ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด  ณ อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค แล้ว เห็นว่า AIS เป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่มีสิทธิประกอบกิจการโทรคมนาคมตามขอบเขตและ สิทธิที่มีอยู่เดิมตามที่ได้รับอนุญาตจาก TOT  สำหรับการให้บริการแก่ บจ. ยูนิลีเวอร์ฯ นั้น เป็นการให้บริการในลักษณะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยทั่วไป  ภายใต้เงื่อนไขในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ได้รับอนุญาตจาก TOT เพียงแต่  AIS จัดหาอุปกรณ์ที่สามารถต่อเข้ากับตู้สาขา (PABX) ของลูกค้า  ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถติดตั้งเข้ากับระบบโทรศัพท์ในองค์กรเพื่อให้ โทรศัพท์ทุกเครื่องที่อยู่ในตู้สาขาสามารถใช้โทรศัพท์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อน ที่ในราคาประหยัดได้   อันเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการในลักษณะองค์กรที่มีการใช้ โทรศัพท์ติดต่อไปยังปลายทางในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่  และโทรศัพท์ทางไกลเป็นประจำ  ทำให้ประหยัดค่าโทรศัพท์และเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ ด้วยเหตุนี้ การให้บริการของ บริษัท แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) แก่บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ณ อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค มิได้เป็นการให้บริการในลักษณะบริการโทรศัพท์ประจำที่โดยมิได้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม จาก กทช. ตามที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวหา และมิได้เป็นการกระทำที่ขัดต่อมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่ กทช. จะพิจารณาบทลงโทษ บริษัท แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้ง บมจ. กสท โทรคมนาคม  เพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1
หมายเหตุ  กทช.สุธรรมฯ ได้มีบันทึกความเห็นคัดค้านมติที่ประชุม กทช. รายละเอียดปรากฎตามบันทึกลงวันที่ 10 กันยายน 2552  ที่แนบ 
ระเบียบวาระที่  4.6  :  การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายต่อบริการ : รทช.ประเสริฐฯ, กท.
มติที่ประชุม
             
1. โดยที่ บมจ. กสท โทรคมนาคม (ผู้ร้อง) ยังมิได้รับความเสียหายแต่อย่างใด หรือมิใช่ผู้เสียหายที่จะร้องต่อ กทช.ให้พิจารณาเรื่องนี้ได้ เนื่องจากมิใช่ผู้ได้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายต่อ บริการ และยังมิได้เข้าสู่กระบวนการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการแต่อย่างใด  ดังนั้น ในกรณีนี้ จึงไม่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยข้อพิพาทตามข้อ 28 ของประกาศ กทช. เรื่องการประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการ ได้ จึงเห็นสมควรให้ยกคำร้องของ บมจ. กสท โทรคมนาคม 
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุม และความเห็นกรรมการกลั่นกรอง ไปพิจารณาดำเนินการเพื่อตรวจสอบสภาพการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม โดยการศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมของบริษัท บีที สยาม จำกัด ซึ่งได้รับการอุดหนุนจากบริษัท บีที ในสหราชอาณาจักรที่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัทแม่ของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย ว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด และใช้อำนาจทางการตลาดที่ไม่เป็นธรรมอันจะมีผลต่อการแข่งขันในลักษณะครอบงำ กิจการหรือกีดกันการแข่งขันในการเป็นผู้ขายต่อบริการหรือไม่ โดยจะต้องให้บริษัท บีทีฯ เป็นผู้ดูแลในการใช้บริการโทรคมนาคมทุกประเภทของบริษัทข้ามชาติดังกล่าว จนทำให้ผู้ให้บริการรายอื่นในประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันโดยเสรีในการให้ บริการได้ ทั้งนี้ ขอให้ศึกษาวิเคราะห์ในกรณีของบริษัทต่างชาติรายอื่นๆที่มีลักษณะเดียวกันนี้ ด้วย เช่น กรณีบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น โดยให้เร่งตรวจสอบและศึกษาวิเคราะห์ให้แล้วเสร็จใน 2 สัปดาห์ แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาต่อไป เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการการกำกับดูแลที่เหมาะสมในการป้องกันมิให้มี การกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันการประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภท ขายต่อบริการในลักษณะการเข้ามาตั้งบริษัทในประเทศไทยเพื่อประกอบกิจการเป็น ตัวแทนของบริษัทแม่ในต่างประเทศดังกล่าวแล้วต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.7  :  กระทรวงพาณิชย์ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ :รทช.ประเสริฐฯ, กบ.
มติที่ประชุม
             
1. อนุมัติ การจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1203 เพื่อใช้เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์ ตามความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม โดยให้ชำระค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอจำนวน 5,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษรายเดือนในอัตราร้อยละ 50 ตามข้อ 82 (5) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์จัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 ตามที่ สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยให้กำหนดเป็นเงื่อนไขให้กระทรวงพาณิชย์ต้องดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยน ระบบให้สามารถใช้เลขหมาย 1203 เป็นแม่ข่ายเพียงเลขหมายเดียวได้ต่อไปภายในระยะเวลา 2 ปี และมี Extension เพื่อรองรับการใช้งานของส่วนราชการระดับกรม สำหรับเลขหมายพิเศษ 4 หลักที่มีอยู่เดิมแล้วให้ส่งคืน กทช.เพื่อพิจารณาดำเนินการ Reassign ตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
2. มอบหมายให้คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม นำมติหลักการในข้อ 1 ไปพิจารณากำหนดเป็นหลักการเพื่อใช้แนวทางปฏิบัติเป็นการทั่วไปให้ชัดเจน สำหรับทุกส่วนราชการกรณีเสนอขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ แล้วนำเสนอ กทช.พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ควรพิจารณาเชิญผู้แทนส่วนราชการมาประชุมเพื่อชี้แจงให้ทราบหลักการดังกล่าว พร้อมกันอย่างเป็นระบบด้วยต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.8  :  บมจ.กสท โทรคมนาคม ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมเพิ่มเติม : รทช.ประเสริฐฯ, กบ.
มติที่ประชุม
  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานสำหรับบริการโทรศัพท์ประจำที่เพิ่ม เติมให้แก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม จำนวน 3,000 เลขหมาย ในกลุ่มเลขหมาย 033 , 039 ,075 สำหรับใช้งานในพื้นที่ให้บริการจังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดกระบี่ จังหวัดละ 1,000 เลขหมาย เพื่อนำไปให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ภายใต้ชื่อบริการ One-Connect ตามความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ประกอบด้วย
1.  จังหวัดชลบุรี     หมายเลข  033004000 - 033 004 999
2.  จังหวัดจันทบุรี   หมายเลข  039609000 - 039 609 999
3.  จังหวัดกระบี่      หมายเลข  075818000 - 075 818 999
     ทั้งนี้ บมจ.กสท โทรคมนาคม จะต้องปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 และที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.9  : การขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของมูลนิธิวิถีสุข:รทช.ประเสริฐฯ, กบ.
มติที่ประชุม
  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่มูลนิธิวิถีสุขจำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1413 เพื่อใช้เป็นช่องทางในการให้บริการทางสังคมในโครงการศูนย์ปรึกษาปัญหาเลิก เหล้า ตามความเห็นคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม ทั้งนี้ โดยมูลนิธิฯ ต้องชำระค่าธรรมเนียมพิจารณาคำขอจำนวน 5,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)  สำหรับค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษรายเดือน ให้ลดหย่อนร้อยละ 50 (5,000 บาท/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)) เนื่องจากมูลนิธิวิถีสุขเป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือแก่สังคมหรือเพื่อ ประโยชน์สาธารณะในการให้บริการประชาชน ตามข้อ 80 และ ข้อ 82 (5) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์จัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551
ระเบียบวาระที่ 4.10  :  การขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย :รทช.ประเสริฐฯ,กบ.
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่สมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1412  เพื่อใช้ในการให้บริการตามโครงการศูนย์บรรเทาใจ ตามความเห็นคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม ทั้งนี้ โดยสมาคมฯ ต้องชำระค่าธรรมเนียมพิจารณาคำขอจำนวน 5,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษรายเดือน ให้ลดหย่อนร้อยละ 50 (5,000 บาท/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)) เนื่องจากสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรที่ดำเนินงานเพื่อประโยชน์ สาธารณะ ตามข้อ 80 และข้อ 82 (5) แห่งประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551
ระเบียบวาระที่ 4.12  :  บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด(มหาชน) แจ้งความประสงค์ขอเพิ่มบริการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
  อนุมัติให้บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุญาตให้บริการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เสมือน แบบ Non Facilities Based MVNO-Thin MVNO ซึ่งอยู่ภายใต้ใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 1  โดยมีรายละเอียดของเงื่อนไขการอนุญาต ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยให้กำหนดเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติมให้บริษัทฯ จัดทำข้อเสนอแบบ Non Discrimination สำหรับการให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Wholesale) ด้วยตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง ภายใต้หลักการที่สนับสนุนให้ทำ Unbundled Offering เพื่อส่งเสริมการแข่งขันเช่นกรณีนี้
ระเบียบวาระที่  4.15  :  ผลการตรวจสอบและตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กรณี บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น บจ.ทรู มูฟ และ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ก่อสร้างสถานีวิทยุคมนาคมในบริเวณที่ดินติดกับที่อยู่อาศัยของนางสาวนภาพร แสงชัยทวีรักษ์ กับพวกรวม 13 คน : สบท.
มติที่ประชุม
             
1. รับทราบรายงานผลการตรวจวัดระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีวิทยุ คมนาคมที่ถูกร้องเรียนของ  PTEC ซึ่งผลการตรวจวัดความแรงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานในทุกจุดการวัด อยู่ภายใต้ขีดจำกัดความแรงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับกลุ่มผู้ได้รับคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าทั่วไปตามมาตรฐาน ICNIRP ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ระดับความแรงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของผู้ประกอบการแต่ละรายได้แก่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บจ.ทรู มูฟ และ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสตลอดจนผลรวมสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของผู้ประกอบการทุกรายไม่เกินขีดจำกัด ตามมาตรฐานความปลอดภัยที่ กทช.ประกาศ ด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะสั่งให้รื้อถอนสถานีวิทยุคมนาคมออกไปจากบริเวณ พิพาทด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตามที่นางสาวนภาพร แสงชัยทวีรักษ์ กับพวกรวม 13 คนร้องขอ
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ดังนี้
  • ให้ สบท.ประสานงานกับ วท. เพื่อมีหนังสือแจ้ง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ว่าบริษัทฯ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ 13 แห่งประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้ เครื่องวิทยุคมนาคม ให้ถูกต้อง ครบถ้วนต่อไป
  • ให้ สบท.มีหนังสือแจ้งนางสาวนภาพร แสงชัยทวีรักษ์ กับพวกรวม 13 คน เพื่อทราบรายงานผลการตรวจวัดระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีวิทยุ คมนาคมที่ถูกร้องเรียนของ  PTEC ตามมติข้อ 1
ระเบียบวาระที่  4.16  :  ขออนุมัติกรอบอัตรากำลังทดแทนพนักงาน สบท. ที่มาปฏิบัติงานที่สำนักงาน กทช. : สบท.
มติที่ประชุม
 อนุมัติกรอบอัตรากำลังทดแทนพนักงาน สบท.จำนวน 3 ราย ที่มาปฏิบัติงานที่สำนักงาน กทช. ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ ทั้งนี้ โดยให้ตัดอัตรากำลังลูกจ้างของสำนักงาน กทช.จำนวน 3 อัตราไปแทน เพื่อให้การปฏิบัติงานของสถาบันฯเป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.18  :  แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ดูแล และติดตามประเมินผลโครงการขยายการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ (เพิ่มเติม) : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ.
มติที่ประชุม
  อนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ดูแล และติดตามประเมินผลโครงการขยายการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ (เพิ่มเติม) อีกจำนวน 2 ราย ได้แก่ 1. ผู้แทนจากมูลนิธิราชสุดาเป็นกรรมการ และ 2. นายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้บริหารระดับต้น สำนักการบริการอย่างทั่วถึง เป็นกรรมการ ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.19  :  การกำหนดการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น (เพิ่มเติม) : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม
             
1. อนุมัติ หลักการในการอนุญาตให้สมาคมวิทยุสมัครเล่นจำนวน 5 สมาคม จัดการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น เพิ่มเติมจากที่ได้รับอนุญาตแล้วจำนวน 14 สมาคม (ตามมติที่ประชุม กทช.ครั้งที่ 22/2552) ดังนี้
  • สมาคมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดยโสธร
  • สมาคมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดลำปาง
  • สมาคม นักวิทยุสมัครเล่นจังหวัดสมุทรปราการ
  • สมาคมนักวิทยุสมัครเล่นจังหวัดเชียงราย
  • สมาคม นักวิทยุสมัครเล่นจังหวัดสระบุรี
2. อนุมัติหลักการให้สำนักงาน กทช. เป็นผู้ดำเนินการในการจัดอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัคร เล่นขั้นต้นให้กับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารออมสิน ซึ่งใช้หลักสูตรและวิธีการจัดอบรม และสอบฯ ตามที่ กทช. กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 แนบท้ายระเบียบ กทช. ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ.2550 โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
  • มอบหมายให้ธนาคารออมสิน เป็นผู้ประสานงานกับผู้สมัครเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  • กำหนดการอบรม 1 วัน ณ ธนาคารออมสิน เลขที่ 470 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
  • ในการรับสมัครเข้ารับการอบรมและสอบฯ ผู้สมัครต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวพนักงานหรือลูกจ้างที่ธนาคารออมสินเป็นผู้ ออกให้ เป็นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมประกอบการยื่นใบสมัคร เพื่อให้จำกัดเฉพาะพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารเข้ารับการอบรมและสอบฯ เท่านั้น
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อแนะนำของที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการเรื่องนี้อย่าง เหมาะสมและรอบคอบต่อไป โดยต้องกำกับดูแลอย่างระมัดระวัง มิให้มีปัญหาการแสวงหารายได้โดยมิชอบเกิดขึ้น
ระเบียบวาระที่  4.20  :  การประชุมกลุ่มศึกษาที่ 17 ว่าด้วยความมั่นคงและปลอดภัยทางโทรคมนาคม (Security) ระหว่างวันที่ 16-25 กันยายน 2552 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ : รทช.ทศพรฯ, กร.
มติที่ประชุม
  อนุมัติให้นายณรงค์พล โชตเศรษฐ์ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง สำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม (วท.) เข้าร่วมการประชุมกลุ่มศึกษา 17 ว่าด้วยความมั่นคงและปลอดภัยทางโทรคมนาคม (Security) ระหว่างวันที่ 16-25 กันยายน 2552 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีค่าใช้จ่ายจำนวน 206,500 บาท เบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ หมวดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของพนักงานสำนักงาน กทช.
หมายเหตุ  ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือได้แก่ วาระที่ 4.1-4.3 ,4.11 ,4.13-4.14 และ 4.17 จะได้นำเสนอ กทช. ในการประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1  :  รายงานความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราช บัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ....  : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราช บัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ....  ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ และตามที่ ลทช. ได้รายงานต่อที่ประชุม
ระเบียบวาระที่ 5.2  : รายงานผลการดำเนินการโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท ครั้งที่ 6 ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมีนาคม 2552 : คณะกรรมการโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกล 
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนา ชนบท ครั้งที่ 6 ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมีนาคม 2552  ตามเอกสารที่คณะกรรมการโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่ 6  :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่ 6.1  :  พิจารณาจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ของหน่วยงานเอกชน  (บริษัท โชว์รูม คาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด) : รทช.ประเสริฐฯ , กบ.
มติที่ประชุม
  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่ บริษัท โชว์รูม คาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1714 เพื่อใช้งานด้านการตลาด การโฆษณา การขายสินค้าและการให้บริการลูกค้า ตามความเห็นคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม ทั้งนี้ โดยบริษัทฯ ต้องชำระค่าธรรมเนียมพิจารณาคำขอจำนวน 5,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษรายเดือนในอัตรา 10,000 บาท/เลขหมาย/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) รวมถึงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 และที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดต่อไป
ระเบียบวาระที่ 6.2  : บริษัท โรงพยาบาลยันฮี จำกัด ขอรับการจัดสรรเลขหมายฯพิเศษ: รทช.ประเสริฐฯ , กบ.
มติที่ประชุม
  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่ บริษัท โรงพยาบาลยันฮี จำกัด  จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1723 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มารับบริการของโรงพยาบาลหรือประชาชนทั่วไปใน การเข้าถึงและติดต่อกับโรงพยาบาลฯ ตามความเห็นคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม ทั้งนี้ โดยบริษัทฯ ต้องชำระค่าธรรมเนียมพิจารณาคำขอจำนวน 5,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษรายเดือนในอัตรา 10,000 บาท/เลขหมาย/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) รวมถึงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 และที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดต่อไป
ระเบียบวาระที่ 6.3 : การพิจารณาจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ของหน่วยงานภาคเอกชน (บริษัท บีเอฟซี กู๊ดเฮ็ลธ์เซ็นเตอร์ จำกัด และ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด) : รทช.ประเสริฐฯ , กบ.
มติที่ประชุม
  อนุมัติ การจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่ หน่วยงานภาคเอกชนจำนวน 2 ราย ตามความเห็นคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม ได้แก่
1. บริษัท บีเอฟซี กู๊ดเฮ็ลธ์เซ็นเตอร์ จำกัด  จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่  หมายเลข 1724  เพื่อใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารกับบริษัทฯ 
2. บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด  จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1726 เพื่อใช้ให้ลูกค้าติดต่อสื่อสารเมื่อประสบภัยต่างๆ 
     ทั้งนี้ โดยหน่วยงานเอกชนทั้ง 2 รายดังกล่าว ต้องชำระค่าธรรมเนียมพิจารณาคำขอจำนวน 5,000 บาท(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษรายเดือนในอัตรา 10,000 บาท/เลขหมาย/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) รวมถึงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 และที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดต่อไป 
ระเบียบวาระที่ 6.4  :  การชี้แจงข้อเท็จจริงต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีร้องขอความเป็นธรรมของนางนิพา เย็นใจ : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
  เห็นชอบรายละเอียดคำชี้แจงข้อเท็จจริงต่อ ผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีร้องขอความเป็นธรรมของนางนิพา เย็นใจ และคณะ ในการพิจารณาข้อร้องเรียนของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมตาม ที่สำนักงาน กทช.เสนอ และให้สำนักงานฯ จัดส่งบันทึกคำชี้แจงดังกล่าว พร้อมพยานหลักฐาน ให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินโดยเร็วต่อไป
ระเบียบวาระที่ 6.5  :  การขอรับการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ภาคประชาชน : ลทช., กลุ่มภารกิจด้านแผนกลยุทธ์ฯ
มติที่ประชุม
  เพื่อให้การพิจารณาเกิดความรอบคอบ และมีข้อมูลประกอบการพิจารณาได้อย่างละเอียดเพียงพอมากยิ่งขึ้น และโดยที่งบประมาณที่จะขอรับการสนับสนุนมีจำนวนค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. เชิญสภาองค์กรวิทยุ-โทรทัศน์ท้องถิ่นแห่งชาติ เพื่อมาชี้แจงรายละเอียดข้อมูลโครงการเตรียมความพร้อมในการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนให้ที่ประชุม กทช. ได้รับทราบ และประกอบการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป 
ระเบียบวาระที่ 6.6  :  การศึกษาดูงาน ITU TELECOM WORLD 2009 ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และดูงานด้าน Voice Quality of Service ณ ประเทศอิตาลี : รทช.ทศพรฯ, วท.
มติที่ประชุม
  อนุมัติให้พนักงานสำนักงาน กทช. รวม 5 ราย ร่วมในคณะเดินทางของ กทช.เหรียญชัยฯ และกทช.ประสิทธิ์ฯ ในการดูงาน ITU TELECOM WORLD 2009 ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และการดูงานด้าน Voice Quality of Service ณ ประเทศอิตาลี  ระหว่างวันที่ 7-13 ตุลาคม 2552 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในวงเงิน 2,887,000 บาท ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี 2552 ของสำนักกิจการกรรมการ หมวดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของ กทช. ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่ 6.7  : การอบรมหลักสูตรการจัดทำวิเคราะห์และการประเมินผลกระทบ  จากการกำกับดูแลโทรคมนาคม (Regulatory Impact Analysis-RIA) : รทช.ทศพรฯ, รศ.
มติที่ประชุม
  อนุมัติให้พนักงานสำนักงาน กทช. รวม 4 ราย เดินทางไปเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรการจัดทำวิเคราะห์และการประเมินผลกระทบจาก การกำกับดูแลโทรคมนาคม (Regulatory Impact Analysis-RIA) ระหว่างวันที่ 19- 23 ตุลาคม 2552 ณ เมือง Bruges ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในวงเงิน 1,164,960 บาท ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี 2552 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของพนักงานสำนักงาน กทช. ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่ 6.8  :  การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าร่วมประชุมสัมมนาและดูงาน ในต่างประเทศ : กทช.เศรษฐพรฯ
มติที่ประชุม
  รับทราบเรื่อง การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าร่วมประชุมสัมมนาและดูงานใน ต่างประเทศ ตามที่ กทช.เศรษฐพรฯ เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับเรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการไปต่างประเทศ ของ กทช.สุธรรมฯ ที่ได้นำเสนอที่ประชุมพิจารณาเช่นกันในการประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 6.9  :  การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่(IMT หรือ 3G and beyond) (วาระต่อเนื่อง) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
             
1. รับทราบแนวทางการดำเนินการ (ขั้นตอน ภารกิจหลัก และภารกิจรอง)รวมทั้งกรอบเวลา (Timeline) ในการดำเนินการเพื่อประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ซึ่งในการประชุม กทช.ครั้งต่อไปที่ประชุมจะได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ในรายละเอียดอีกครั้ง หนึ่งเมื่อ กทช.เข้าประชุมครบ 6 คน ทั้งนี้ ขั้นตอน และกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญตามข้อคิดเห็นของที่ประชุม ได้แก่
1.1 ขั้นตอนการเตรียมการ อาทิ  เรื่อง Documentation ทั้งหมด ด้านการประชาสัมพันธ์, การทำ Public Hearing, การทำ Mock Auction เป็นต้น
1.2 ขั้นตอนการจัดประมูล อาทิ การจัดเตรียมด้าน Logistic ทั้งหมด (เครื่องมืออุปกรณ์, ระบบ IT, ระบบไฟฟ้าสำรอง) การทำ Pre-qualification 
1.3 ขั้น ตอนและกระบวนงานในวันประมูล อาทิ การกำหนดผู้ทำหน้าที่ Auction Master, Time Keeper
1.4 ขั้นตอนหลังการประมูล อาทิ รูปแบบ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าคลื่นความถี่
2. เห็นชอบในหลักการให้สำนักงาน กทช.จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบการดำเนินการเพื่อประมูลคลื่นความถี่ ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักงานฯ เร่งพิจารณาเสนอรายชื่อองค์ประกอบของคณะกรรมการแต่ละชุดให้ที่ประชุม กทช. พิจารณาโดยเร็วต่อไปด้วยในการประชุมครั้งต่อไป
3.  สำหรับประเด็นอื่น ๆ เช่น กำหนดการ นั้น ให้นำเสนอเพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 6.10  : การร่วมจัดนิทรรศการ Thailand Pavilion ภายในงาน ITU Telecom World 2009 ระหว่างวันที่ 5-9 ตุลาคม 2552 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ : รทช.ทศพรฯ, กร.
มติที่ประชุม
   เนื่องจากขณะนี้ประเทศยังอยู่ระหว่างการฟื้นฟูจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ตามภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อประหยัดเงินตราต่างประเทศ ประกอบระยะเวลาเตรียมงานกระชั้นชิดเกินไป และต้องใช้งบประมาณเพื่อการนี้ค่อนข้างสูง ดังนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว จึงเห็นสมควรยืนยันมติที่ประชุม กทช.ครั้งที่ 7/2552 เมื่อวันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2552 ตามเดิมโดยให้งดการเข้าร่วมจัดนิทรรศการ Thailand Pavilion ภายในงาน ITU Telecom World 2009 ระหว่างวันที่ 5 - 9 ตุลาคม 2552 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เพื่อทราบต่อไป

สร้างโดย  -   (17/3/2559 15:40:39)

Download

Page views: 72