สรุปมติที่ประชุม กทช. 33/2552

มติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 33/2552
วันพุธที่ 23 กันยายน 2552  เวลา 14.00 น.
และวันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการ  สำนักงาน กทช.
 
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1. พลเอกชูชาติ                        พรหมพระสิทธิ์        ประธานกรรมการ
2. นายเหรียญชัย                      เรียววิไลสุข            กรรมการ
3. นายสุชาติ                            สุชาติเวชภูมิ            กรรมการ
4. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์             ประพิณมงคลการ     กรรมการ
5. ศาสตราจารย์เศรษฐพร            คูศรีพิทักษ์             กรรมการ
6. รองศาสตราจารย์สุธรรม          อยู่ในธรรม              กรรมการ
7. นายสุรนันท์                          วงศ์วิทยกำจร           เลขาธิการ กทช.

ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 
     ขอให้สำนักงาน กทช. นำคำพิพากษาของศาลในคดีกล้ายาง เมื่อวานนี้มาเป็นบทเรียนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดประมูลคลื่นความถี่ (3G)  เนื่องจากในคดีนี้ประกอบด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายและหลายระดับ ตั้งแต่รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการระดับสูงของกระทรวง และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้อง ขอให้ไปศึกษาประเด็นที่ยกฟ้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะกรรมการที่ดำเนินการเรื่องจัดประมูลในคดีนี้พ้นข้อกล่าวหาทั้งหมดในที่ สุด เนื่องจากได้ไปหารือกับอัยการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นเกราะป้องกัน จึงต้องการให้สำนักงาน กทช. มีการศึกษากรณีคดีกล้ายางนี้อย่างจริงจัง โดยตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษารายละเอียดเพื่อใช้เป็นแนวทางดำเนินการด้วยความ รอบคอบ ระมัดระวังและไม่ประมาทต่อไป
มติที่ประชุม  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่  2  :  รับรองมติที่ประชุม กทช.
ระเบียบวาระที่  2.1  :  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 32/2552 วันพุธที่ 16 กันยายน 2552   
มติที่ประชุม
 รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 32/2552 วันพุธที่ 16 กันยายน 2552 โดยมีข้อแก้ไขวาระที่ 6.2 เรื่องการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม ของบริษัท สมุทรปราการ มีเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในหมายเหตุ ข้อ 2 จากเดิม “กทช.เศรษฐพรฯ” เปลี่ยนเป็น “กทช.เหรียญชัยฯ”
ระเบียบวาระที่  2.2  :  แก้ไขมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 31/2552 ระเบียบวาระที่ 4.1
มติที่ประชุม
 เห็นชอบ ให้แก้ไขมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 31/2552 ระเบียบวาระที่ 4.1 เรื่อง ร่างระเบียบ กทช.ว่าด้วยการแต่งตั้ง ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นของกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ตามที่ กทช.เศรษฐพรฯ เสนอ เป็นดังนี้ “ เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบ กทช.ว่าด้วยการแต่งตั้ง ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นของกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท โดยมอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ รับไปพิจารณาความครบถ้วนและถูกต้องของถ้อยคำ แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. อีกครั้งหนึ่ง สำหรับประเด็นค่าตอบแทนและค่าตอบแทนพิเศษ นั้น ให้เสนอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของ กทช. ต่อไปด้วย ”
ระเบียบวาระที่  3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 32/2552 วันพุธที่ 16 กันยายน 2552
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 32/2552 วันพุธที่ 16 กันยายน 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.6  :  การปรับปรุงแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 :ลทช., กลุ่มภารกิจด้านการงบประมาณ (วันพุธที่ 23 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ส่งรายละเอียดการปรับปรุงแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ให้คณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์และประเมินมูลค่างบประมาณฯ พิจารณาให้ความเห็นก่อน แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.7  :  การขอรับการจัดสรรเงินสนับสนุนโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและ พัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : สำนักงานกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (วันพุธที่ 23 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม
 
1. อนุมัติในหลักการการสนับสนุนโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและ พัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ (โครงการเตรียมความพร้อมวิชาพื้นฐานสำหรับนักเรียนจุดเสี่ยงภาคใต้ด้วย e-learning)  ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นระยะเวลา 3 ปี จำนวนเงิน 74,497,600 บาท ทั้งนี้ โดยจัดสรรเงินสนับสนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน กทช. เนื่องจากเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล และข้อเสนอแนะของรัฐสภา
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. (รทช.ฐากรฯ) ไปประสานงานในรายละเอียดกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อปรับปรุงในประเด็นแหล่งเงินงบประมาณให้ถูกต้องสอดคล้องตามมติข้อ 1 รวมทั้งแผนการใช้จ่ายงบประมาณโครงการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2552 ซึ่งมีช่วงระยะเวลาเหลืออยู่อีกเพียง 3 เดือน (ตุลาคม-ธันวาคม 2552) นั้น สมควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ก่อนส่วนหนึ่งตามความจำเป็น (Seed Money) และพิจารณาตั้งงบประมาณส่วนที่เหลือให้ในปี 2553 และ 2554 เพื่อรองรับการดำเนินงานโครงการจนแล้วเสร็จต่อไป
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นและข้อแนะนำของที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางในการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป อาทิ การกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จโครงการให้ชัดเจน การประเมินผลโครงการปีต่อปี และการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
ระเบียบวาระที่  4.8  :  บริษัท ทริปเปิลที โกลบอลเน็ท จำกัด ขอเปลี่ยนเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 102 : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. (วันพุธที่ 23 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม
 มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของ กทช. ไปพิจารณาปรับปรุงเอกสารข้อวิเคราะห์ให้เหมาะสม และชัดเจนยิ่งขึ้นในประเด็นความเหมาะสมในการพิจารณายกเว้นค่าธรรมเนียมให้ แก่บริษัทฯ แล้วนำเสนอ กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในการขอเปลี่ยนเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 102 เป็น 002 ของบริษัท ทริปเปิลที โกลบอลเน็ท จำกัด นั้น สามารถวิเคราะห์ในเชิงนโยบายได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เข้าระบบตาม แผนเลขหมายโทรคมนาคม และสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติสากล (International Direct Dial : IDD) สำหรับการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ โดยขึ้นต้นด้วย ๐๐x อันถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายที่มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม (Policy Adjustment) ยิ่งขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในเชิงเทคนิคเพิ่มเติมกรณีการให้ระยะเวลา ที่เหมาะสมแก่บริษัทฯ ในการดำเนินการ Cut Over เลขหมาย 102 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เช่น ภายใน 1 เดือน เป็นต้น
ระเบียบวาระที่  4.9  :  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม ของบริษัท สมุทรปราการ มีเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด : ผชช.กม., รทช.ประเสริฐฯ, ปก. (วันพุธที่ 23 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม

1. ที่ประชุมเสียงข้างมาก (ประธาน กทช. กทช.เศรษฐพรฯ กทช.สุชาติฯ กทช.ประสิทธิ์ฯ และ กทช.สุธรรมฯ) อนุมัติให้บริษัท สมุทรปราการ มีเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการแข่งขันของตลาดให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น (Niche Market) โดยผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้ามาแข่งขันในการให้บริการได้ แต่ทั้งนี้ในการอนุญาตดังกล่าว ที่ประชุมมีข้อคิดเห็นที่สำคัญประกอบการอนุญาตด้วยว่า บริษัทฯ จะยังไม่สามารถ offer services ได้ทันที เนื่องจาก มิใช่เป็นการได้รับอนุญาตการจัดสรรคลื่นความถี่ โดยเมื่อบริษัทฯเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว ในการดำเนินการขอร่วมใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ลักษณะการเป็นผู้ให้บริการที่มิได้รับสิทธิในการใช้คลื่นความถี่เป็นของตน เอง (MVNO) นั้น จะต้องดำเนินการตามประกาศ กทช.ว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2550 ต่อไป
     อนึ่ง ที่ประชุมเสียงข้างน้อย (กทช.เหรียญชัยฯ) มีความเห็นเช่นเดียวกันกับ รศ.ดร.กมลชัย รัตนสกาววงค์  ว่า “ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ จะต้องได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ฯ ก่อน จึงจะขอใบอนุญาตประกอบกิจการได้”
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับประเด็นข้อคิดเห็นของที่ประชุมตามข้อ 1 ไปพิจารณากำหนดเป็นเงื่อนไขประกอบการอนุญาตให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมถึงให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมตามความเห็นของสำนักงาน กทช.ที่เสนอด้วยว่า ในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมตามข้อ 1 จะไม่ถือเป็นภาระผูกพันที่จะทำให้บริษัทฯ ต้องได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ในอนาคต และ กทช. สามารถยุติการอนุญาตของบริษัทฯ ได้ นอกจากนี้หากบริษัทฯ ไม่สามารถเจรจาขอร่วมใช้คลื่นความถี่ได้ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ บริษัทฯ จะเรียกร้องความเสียหายใดๆ จาก กทช. มิได้
ระเบียบวาระที่  4.10  :  (ร่าง) หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ. (วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม
 
1. เนื่องจากการดำเนินการตามแผนการจัดให้มีบริการ USO ของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม จะสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2552 ตามเงื่อนไขของประกาศ USO ฉบับลงวันที่ 3 สิงหาคม 2548 ประกอบกับในการพิจารณาข้อเสนอของที่ปรึกษา ITU ในประเด็นการปรับเปลี่ยนหลักการ และรูปแบบการจัดให้มีบริการ USO รวมถึงการกำหนดให้ผู้รับสัมปทาน ผู้รับใบอนุญาตแบบที่ 1 ต้องมีส่วนร่วมในการจัดให้มีบริการ USO ด้วย นั้น ยังไม่อาจพิจารณาหาข้อยุติที่เหมาะสมได้ ดังนั้น เพื่อให้ภารกิจในการจัดให้มีบริการ USO มีความต่อเนื่อง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบ(ร่าง) ประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม (ฉบับที่ 2) ขึ้นใช้เป็นการชั่วคราว ตามแนวทางที่ 2 ที่สำนักงาน กทช.เสนอ ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมจากประกาศ USO ฉบับปัจจุบัน ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นในเรื่องการปรับปรุงนิยาม, การมีแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อกำหนดภารกิจ และพื้นที่เป้าหมาย USO, การไม่นำค่าใช้จ่ายที่เป็น Inter-operator Payment มาคำนวณค่า USO, การบำรุงรักษาโทรศัพท์สาธารณะที่ได้ติดตั้งไปแล้ว ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช.นำร่างประกาศ USO ฉบับที่ 2 หารือ กทช.เศรษฐพรฯ อีกครั้งหนึ่งเพื่อความรอบคอบก่อนนำเสนอประธาน กทช. ลงนามโดยเร็วต่อไป
2. มอบ หมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ ประชุมไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
  • เร่งจัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดย ทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม โดยการพิจารณากำหนดพื้นที่เป้าหมาย และปริมาณงาน/จำนวนเป้าหมายเพื่อรองรับสำหรับผู้รับใบอนุญาตแบบที่สองที่มี โครงข่าย และแบบที่สาม ระยะเวลา 1 ปี ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาต่อไป
  • จัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม เสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ โดยให้เน้นถึงยุทธศาสตร์/แนวทางในระยะข้างหน้าที่ต้องสนับสนุน/ส่งเสริมให้ มี “Players” มากขึ้น รวมทั้งการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการลดหย่อนการจ่ายค่าธรรมเนียม USO ด้วย
ระเบียบวาระที่  4.12  :  คณะกรรมการประสานงานการดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านโทร คมนาคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ครบวาระ  : สพท. (วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม
             
1. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการดำเนินงานตาม ข้อตกลงความร่วม มือทางวิชาการด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้อง  โดยมี รศ.ดร.กิตติชัย  ลวันยานนท์  ผู้แทนจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นประธานกรรมการ  ตามที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เสนอ
2. อนุมัติค่าใช้จ่ายการเดินทางสำหรับคณะกรรมการฯ ของสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในต่างจังหวัด ในการเข้าร่วมประชุมกับ สพท. ในโครงการ Excellence 2008 Plus Three  ทั้งนี้ รวมค่าโดยสารเครื่องบิน (ชั้นประหยัด) และค่าพาหนะเดินทาง
3. อนุมัติค่าตอบแทนการประชุมให้กับคณะกรรมการฯ ตามข้อ 1 ในการเข้าร่วมประชุมในโครงการตามข้อ 2 ทั้งนี้ ตามระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 โดยอนุโลม 
4. มอบหมายให้ สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตามข้อ ๑ เสนอให้ที่ประชุม กทช. ทราบทุก 6 เดือนด้วย
ระเบียบวาระที่  4.13  :  แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับเรื่องร้องเรียนและบริการประชาชน สบท. : สบท. (วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม
 เห็นชอบการแก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรม การรับเรื่องร้องเรียนและบริการประชาชน สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้ นายจินดา เจริญสุข และนายศรีสะเกษ สมาน พ้นจากตำแหน่ง อนุกรรมการ และแต่งตั้งให้เลขาธิการ สคบ. หรือผู้แทน และ ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา  เป็นอนุกรรมการแทน   
2. ให้ นางสาววรุณรัตน์  กิจภากรณ์  พ้นจากตำแหน่งเลขานุการ และ แต่งตั้งให้หัวหน้าหน่วยบริการประชาชนเป็นเลขานุการแทนโดย ตำแหน่ง
3. ให้นางสาววีนัส ดอนขำ พ้นจากตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ และแต่งตั้งให้ พนักงานบันทึกข้อมูล เป็นผู้ช่วยเลขานุการ แทนโดยตำแหน่ง
ระเบียบวาระที่  4.17  :  ผู้ให้บริการโทรศัพท์ และผู้ประกอบกิจการฯ ขอนำเสนอแผนงานต่อ กทช. ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. (วันพุธที่ 23 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม

1. รับทราบผลการดำเนินงานของผู้ให้บริการและผู้ประกอบกิจการ ตามข้อ 13 แห่งประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์  เคลื่อนที่ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
2. รับทราบการชี้แจง และนำเสนอรายละเอียดเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้าย และแผนการดำเนินงานตามข้อ 13 แห่งประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบกิจการ 3 ราย ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และ บจ.ทรูมูฟ ตามที่ผู้แทนบริษัททั้งสามรายดังกล่าวเข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุม อย่างไรก็ดี ที่ประชุมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การพิจารณาเรื่องนี้ตลอดเวลาที่ผ่านมาจนถึงการออกกฎระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยว ข้อง เป็นการดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนที่เป็นด้วยความรอบคอบ (Prudent Process) และตรวจสอบได้อย่างชัดเจน (Tracked Record) 
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รวบรวมประเด็นข้อเสนอเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายและแผนการดำเนินงานตาม ข้อ 2 ไปศึกษาวิเคราะห์เสนอความเห็น กทช.เพื่อพิจารณาต่อไปโดยเร็ว รวมทั้งนำความเห็นของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในเรื่อง นี้ ประกอบการพิจารณาของ กทช. ด้วย  
ระเบียบวาระที่  4.21  :  การจัดซื้ออุปกรณ์สื่อสารที่มีระบบป้องกันความปลอดภัยสำหรับสำนักงาน กทช. : รทช.ฐากรฯ, กจ. (วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม
 มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปจัดทำรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อประกอบการพิจารณาของ กทช. ต่อไป   
หมายเหตุ  ประชุมเฉพาะ กทช.
ระเบียบวาระที่  4.24  :  การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อหรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 : คกก.สิทธิแห่งทาง, พต. (วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม              
1. เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ของผู้ประกอบกิจการ จำนวน 5 ราย (บจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์  บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจนซ์  บจ.ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค  บมจ.กสท โทรคมนาคม  และ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส) จำนวน 127 คำขอ 491 เส้นทาง ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ตามความเห็นคณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง โดยผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง กำหนดอย่างเคร่งครัดต่อไป โดยเฉพาะในกรณีบริษัทที่อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน นั้น สิทธิตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้น จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุมัติของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมการงานดังกล่าว
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรอง และข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของที่ประชุม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ที่สำคัญได้แก่
  • การใช้ทรัพยากรโครงข่าย (Infrastructure) ตามที่ กทช. อนุญาตนี้ จะต้องนำไปใช้เพื่อให้บริการโทรคมนาคมเท่านั้น จะนำไปใช้ในกิจการอื่นมิได้ ทั้งนี้ ต้องกำหนดห้ามโดยชัดแจ้งในเงื่อนไขการอนุญาตด้วย
  • ควรศึกษาเตรียมการ และกำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตให้ครอบคลุมถึงกฎเกณฑ์เพิ่มเติมที่ เกี่ยวข้องต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น Unbundling และ LLU, Infrastructure Sharing และ Spectrum Sharing เป็นต้น
  • ควรพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริม และจูงใจให้ผู้ประกอบการลงทุนในทรัพยากรโครงข่าย (Infrastructure) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ระเบียบวาระที่  4.26  :  การนำร่างประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) เผยแพร่ต่อสาธารณชน : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ (วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม

1. เห็นชอบร่างประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่น ความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) เผยแพร่ต่อสาธารณชนที่ได้แก้ไขปรับปรุงแล้ว ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เสนอ ทั้งนี้ ให้นำร่างประกาศดังกล่าวเสนอประธาน กทช. เพื่อลงนามก่อนนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
2. มอบหมายให้คณะทำงานด้านกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่เร่งเสนอรายละเอียด หลักเกณฑ์ซึ่งกำหนดไว้ในร่างประกาศฯ ตามข้อ 1 อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา หลักเกณฑ์การหารายได้จากการโฆษณา และหลักเกณฑ์การปรับ การพักใช้ การเพิกถอนใบอนุญาต ให้ที่ประชุม กทช. พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.27  :  การพิจารณาทบทวนหลักการการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการประกอบกิจการที่ ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก): คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ (วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552)
มติที่ประชุม

1. เห็นชอบในหลักการแนวทางการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตรายปี การประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ระดับท้องถิ่น ในอัตราคงที่ โดยอ้างอิงตามเขตการปกครองของกรมการปกครอง และคำนึงถึงความเป็นธรรมของตลาดที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์แตกต่างกัน ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ เสนอ ทั้งนี้  โดยแบ่งระดับอัตราจัดเก็บค่าธรรมเนียมเป็น 4 ระดับ ได้แก่
  • เขตที่มีศักยภาพทางพาณิชย์สูง 25,000 บาท/ใบอนุญาต/อำเภอ
  • เขตที่มีศักยภาพทางพาณิชย์ปานกลาง 10,000 บาท/ใบอนุญาต/อำเภอ
  • เขตที่มีศักยภาพทางพาณิชย์น้อย 5,000 บาท/ใบอนุญาต/อำเภอ
  • เขตที่ไม่มีศักยภาพทางพาณิชย์  ยกเว้นค่าธรรมเนียม
     อนึ่ง สำหรับการพิจารณากำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่น ความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ระดับชาติ นั้น เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีประเด็นต้องพิจารณาในรายละเอียด รวมถึงต้องศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ อย่างรอบคอบ จึงให้นำเสนอ กทช.พิจารณาต่อไป
2. เห็นชอบให้นำ ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และแนวทางการกำหนดเขตพื้นที่การจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการที่ ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ไปจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามขั้นตอนที่ระเบียบกำหนดได้ต่อ ไป
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.(ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ) รับข้อคิดเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
  • ให้ปรับปรุงข้อความในบทนำ (Preamble) ของร่างประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราวฯ โดยการอ้างอิงกฎหมาย/ประกาศ/ระเบียบ ให้ครบถ้วนถูกต้องยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการอ้างอิงโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุฯ ทั้งนี้ เมื่อได้แก้ไขปรับปรุงร่างประกาศฯ แล้ว ให้นำเสนอ กทช.สุธรรมฯ พิจารณาความครบถ้วนและถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนนำลง Website ตามขั้นตอนของการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป
  • ในการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ควรปรับปรุงและจัดทำเอกสารข้อมูลที่จะนำเสนอให้มีรายละเอียดที่สมบูรณ์มาก ขึ้น (Informative) โดยเฉพาะคำอธิบายในรายละเอียดของการแบ่งเขตพื้นที่ในการจัดเก็บอัตราค่า ธรรมเนียมใบอนุญาตการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) รวมถึงการตรวจสอบและปรับปรุงตัวเลขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้องยิ่งขึ้นด้วย นอกจากนี้ ควรจัดเตรียมการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ภาพรวมจำนวนของผู้ประกอบการที่จะมีการ ยื่นขอรับใบอนุญาตในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนข้อมูลชี้แจงแสดงหลักการและเหตุผลในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมชั่ว คราวในอัตราคงที่แบบ Upfront ให้ชัดเจนด้วยว่าเป็นวิธีการที่สะดวกและเหมาะสมกับการนำมาใช้เป็นการชั่ว คราว 1 ปี รวมทั้งจะไม่ผูกพันไปถึงคณะกรรมการชุดใหม่แต่อย่างใดทั้งสิ้น
  • ในประเด็นที่เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการรายได้ที่จะได้รับจากการ จัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) นั้น ให้สำนักงาน กทช.(ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ) รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อประกอบการวิเคราะห์รายละเอียดเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาเพื่อมีมติให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง อาทิ ควรแยกเงินรายได้ส่วนนี้ไว้เป็นการเฉพาะ (Set aside) และนำส่งเป็นเงินรายได้รัฐให้กับกระทรวงการคลังทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย รวมถึงการกำหนดแนวทางการกำกับดูแลเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวที่เหมาะสมโดยการ พิจารณาถึงความจำเป็นว่าจะต้องผ่านการตรวจสอบบัญชีตามระเบียบและระบบของ สำนักงาน กทช.เช่นเดียวกับเงินรายได้จากกิจการโทรคมนาคมด้วยหรือไม่ เป็นต้น
     อนึ่ง กทช.สุธรรมฯ จะมีบันทึกความเห็นในรายละเอียดของ ประเด็นนี้เพิ่มเติมด้วยต่อไป
หมายเหตุ ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือได้แก่ วาระที่ 4.1 - 4.5 ,4.11 ,4.14 - 4.16, 4.18 – 4.20, 4.22 , 4.23  และ 4.25 จะได้นำเสนอ กทช. ในการประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1  :  การเดินทางเพื่อเข้าร่วมประชุมหารืออย่างเป็นทางการและแลกเปลี่ยนความคิด เห็นภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการ (Joint Statement) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและมหาวิทยาลัยวาเซดะ แห่งประเทศญี่ปุ่น  : รทช.ฐากรฯ, กจ. 
มติที่ประชุม
  รับทราบการเดินทางของประธาน กทช. พร้อมคณะทำงาน เพื่อเข้าร่วมประชุมหารืออย่างเป็นทางการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายใต้ กรอบความร่วมมือทางวิชาการ (Joint Statement) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและมหาวิทยาลัยวาเซดะ แห่งประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 28 กันยายน 2552 ณ มหาวิทยาลัยวาเซดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น  ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.2  :  รายงานข้อมูลของสถานีวิทยุชุมชนประจำเดือนสิงหาคม 2552 : รทช.ประเสริฐฯ,  กท.
มติที่ประชุม
 รับทราบรายงานข้อมูลของสถานีวิทยุชุมชนประจำเดือนสิงหาคม 2552 ปรากฏว่ามีสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 4,826 สถานี มีการแพร่กระจายคลื่นแปลกปลอมในย่านของกิจการวิทยุคมนาคม จำนวน 379 สถานี และข่ายสื่อสารอื่น จำนวน 23 สถานี และมีการแพร่กระจายคลื่นแปลกปลอมในย่านกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์ จำนวน 779 สถานี และย่านกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 278 สถานี กิจการวิทยุโทรทัศน์ จำนวน 501 สถานี รวมทั้ง แจ้งให้สถานีวิทยุชุมชนที่กระทำให้เกิดการรบกวนต่อการวิทยุคมนาคมระงับการ ส่งกระจายเสียง จำนวน 3 สถานี ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.3  :  รายงานการใช้ประโยชน์และความขาดแคลนเลขหมายโทรคมนาคม มาตรฐาน (Utilization and Scarcity Report)  : รทช.ประเสริฐฯ,  กบ.
มติที่ประชุม
 รับทราบรายงานการใช้ประโยชน์และความขาดแคลนเลขหมายโทรคมนาคม มาตรฐาน สถานะการใช้เลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐาน (Utilization and Scarcity Report) ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 (เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม) ตามข้อ 39 ข้อ 40 และข้อ 41 ของประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายฯ พ.ศ. 2551 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.4  : การแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมกับสำนักงานประสานงานมูลนิธิอานันทมหิดลและชมรมผู้รับพระราชทานทุน มูลนิธิอานันทมหิดล : รทช.ฐากรฯ, ปต.
มติที่ประชุม
 รับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมกับสำนักงานประสานงานมูลนิธิอานันทมหิดล และชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล  ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.5  :  รายงานผลการสอบทานงบการเงินและรายงานผลการดำเนินงานของ สบท. ครั้งที่ 1/2552 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 : สบท.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการสอบทานงบการเงินและรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันคุ้ม ครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ครั้งที่ 1/2552 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 ซึ่งได้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2550 ตามเอกสารที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ
ระเบียบวาระที่  5.6  :  สัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) : สชท.
มติที่ประชุม
  รับทราบสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด  และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.7  :  สัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด : สชท.
มติที่ประชุม
  รับทราบสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทร คมนาคมระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.8  :  สัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด : สชท.
มติที่ประชุม
  รับทราบสัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่างบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.9  :  สัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) : สชท.
มติที่ประชุม
  รับทราบสัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่างบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเสนอ
ระเบียบวาระที่  5.10  :  ข้อเสนอการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของ บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด : สชท. 
มติที่ประชุม
 รับทราบข้อเสนอการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของ บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่าย โทรคมนาคม เสนอ

สร้างโดย  -   (17/3/2559 11:44:49)

Download

Page views: 65