สรุปมติที่ประชุม กทช. 34/2552

มติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 34/2552
วันพุธที่ 7 ตุลาคม 2552 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการ  สำนักงาน กทช.
 
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  พลเอกชูชาติ                       พรหมพระสิทธิ์         ประธานกรรมการ
2.  นายเหรียญชัย                     เรียววิไลสุข             กรรมการ
3.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์            ประพิณมงคลการ      กรรมการ
4.  นายสุชาติ                           สุชาติเวชภูมิ             กรรมการ
5.  ศาสตราจารย์เศรษฐพร          คูศรีพิทักษ์               กรรมการ
6.  รองศาสตราจารย์สุธรรม         อยู่ในธรรม               กรรมการ
7.  นายสุรนันท์                         วงศ์วิทยกำจร            เลขาธิการ กทช.

ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1. ขอขอบคุณสำนักงาน กทช. พนักงาน และ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันจัดงานครบรอบ 5 ปี กทช. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา รวมทั้งได้ให้การต้อนรับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 อย่างไรก็ดี ในการจัดกิจกรรมช่วงบ่าย ซึ่งเป็นการอภิปรายและเสวนาระหว่างอดีตรัฐมนตรี และ กทช. นั้น สำนักงาน กทช. ยังไม่ค่อยให้ความสนใจกันเท่าที่ควร  และที่ผ่านมาสังเกตได้ว่า เมื่อมีการจัดบรรยาย สำนักงาน กทช. ก็ให้ความสนใจน้อยมาก ไม่มีระดับผู้บริหารมาร่วมฟังการบรรยายเลยในหลายๆครั้ง แต่หากมีผู้บริหารท่านใดเข้าร่วมฟังการบรรยายก็ขอขอบคุณ จึงขอฝากให้ผู้บริหารและพนักงานให้เข้าร่วมฟังการบรรยายในโอกาสต่างๆกันให้ มากด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับการทำงานของสำนักงาน กทช.
2. ขณะนี้ทุกฝ่ายให้ความสนใจเรื่อง 3G เป็นอย่างมาก แม้แต่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ก็ได้ให้ข้อคิดเห็นในเรื่องนี้ไว้เช่นกัน รวมทั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ได้ขอเข้าพบ กทช. เพื่อหารือเรื่องนี้ด้วย จึงขอให้ท่าน กทช.เศรษฐพรฯ เป็นผู้แทนของ กทช. ในการชี้แจงและให้ข้อเท็จจริงเรื่อง 3G กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT เป็นหลักเพียงคนเดียวก่อน เพื่อป้องกันความสับสน สำหรับ กทช. ท่านอื่นช่วยกันเสริมข้อมูลต่างๆให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. (รทช.ประเสริฐฯ) รวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงของเรื่อง 3G ให้ครอบคลุมทั้งหมดทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับ In band Migration หรือส่วนใบอนุญาต 3G ที่ กทช. กำลังดำเนินการ รวมทั้ง ให้รวบรวมข้อมูลในส่วนที่ กทช. ได้ให้ความช่วยเหลือ บมจ.ทีโอที ในเรื่องต่างๆ เช่น In band Migration, การโอนคลื่นความถี่ 1900 - 2100 MHz เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมาก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วว่าการดำเนินการใด ที่มีผลกระทบกับรัฐวิสาหกิจต้องมีความรอบคอบและระมัดระวังให้มาก มีการฟ้องร้องกันระหว่าง TOT กับ กทช. ,DTAC เรื่องเปิด Office Data & Translator มาแล้ว ซึ่งศาลปกครอง จะตัดสินคดีในวันที่ 9 ตุลาคม 2552 นี้ อย่างไรก็ดี เราได้ผ่านปัญหาอุปสรรคต่างๆมามากแล้ว ขอให้ทุกท่านหนักแน่นและมั่นคง อย่าหวั่นไหว 
4. ขอฝากไว้อีกเรื่องหนึ่งด้วยว่า ในช่วงระยะเวลานี้ ขอให้ทุกท่านระมัดระวังในการให้ข่าวเกี่ยวกับเรื่อง 3G โดยสามารถให้ข้อเท็จจริงได้ แต่ไม่ควรให้ข้อคิดเห็นที่เป็นการตอบโต้ จะทำให้สังคมมอง กทช. ในทางลบได้
มติที่ประชุม  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามข้อ 3 ต่อไป
ระเบียบวาระที่  2  :  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 33/2552 วันพุธที่ 23 กันยายน 2552 และวันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552
มติที่ประชุม
  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 33/2552 วันพุธที่ 23 กันยายน 2552 และวันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 33/2552 วันพุธที่ 23 กันยายน 2552 และวันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552
มติที่ประชุม
  รับทราบ รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 33/2552 วันพุธที่ 23 กันยายน 2552 และวันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.16  :  ร่างหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนาและติดตามการประเมินระบบการควบคุมภายใน เสนอ : คณะกรรมการพัฒนาและติดตามการประเมินระบบการควบคุมภายใน
  • ร่างหลักเกณฑ์การจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานคณะ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. ....
  • ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีของสำนักงานคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. ....
  • ร่างหลักเกณฑ์การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ พ.ศ. .... : คณะกรรมการพัฒนาและติดตามการประเมินระบบการควบคุมภายใน ,ปต.
มติที่ประชุม
1. เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ และวิธีการภายใต้ระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการงบประมาณของสำนักงาน กทช. พ.ศ. 2552 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและติดตามการประเมินระบบการควบคุมภายในเสนอ ดังนี้
  • ร่างหลักเกณฑ์การจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานคณะ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. ....
  • ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. ....
  • ร่างหลักเกณฑ์การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ พ.ศ. ....
     ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำร่างหลักเกณฑ์ตามข้อ 1.1 และ 1.2 เสนอ ลทช.ลงนาม และร่างหลักเกณฑ์ตามข้อ 1.3 เสนอ ประธาน กทช. ลงนามต่อไป 
2. เห็นชอบเป็นหลักการให้สำนักงาน กทช. ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไปโดยกรณีการเสนอวาระเพื่อทราบต่อที่ประชุม กทช. เพื่อรับทราบนั้น หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน และอำนาจหน้าที่ของ กทช. นั้น ให้สำนักงาน กทช. นำเสนอ กทช.โดยการชี้แจง/รายงานเรื่องดังกล่าวต่อ กทช.ในที่ประชุม กทช.เพื่อให้รับทราบโดยตรงด้วย
ระเบียบวาระที่  4.26  :  แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคล : รทช.ฐากรฯ, ปต.
มติที่ประชุม
  เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคลตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 เนื่องจากคณะกรรมการฯ ชุดปัจจุบันจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 10 ตุลาคม 2552 นี้ ทั้งนี้ โดยให้มีองค์ประกอบคงเดิม ยกเว้นผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่น (พลเอกชูชาติ สุขสงวน) เนื่องจาก อยู่ระหว่างขอพักการปฏิบัติหน้าที่  และให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปีก่อนเนื่องจาก ขณะนี้เป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน โดยหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้คณะกรรมการฯ ดำรงตำหน่งต่อเนื่องไปจนครบวาระ 2 ปีตามที่ระเบียบกำหนดได้ต่อไป
หมายเหตุ  ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือได้แก่ วาระที่ 4.1 - 4.5 ,4.6 - 4.15, 4.17 - 4.25 ,และ 4.27 - 4.29 จะได้นำเสนอ กทช. ในการประชุม กทช.  ครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1  :  แจ้งการลาออกจากการเป็นกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ของนายสุเมธ วงศ์พานิชเลิศ : สบท.
มติที่ประชุม
  รับทราบกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคใน กิจการโทรคมนาคม (นายสุเมธ วงศ์พานิชเลิศ) ขอลาออก ตามเอกสารที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ
ระเบียบวาระที่  5.2  :  รายงานการประชุม ATRC MRA JSC และ ATRC ครั้งที่ 15 : รทช.ทศพรฯ, กร.
มติที่ประชุม
  รับทราบผลการเข้าร่วมประชุม ATRC MRA JSC เมื่อวันที่ 26 - 27 กรกฎาคม 2552 และ การประชุม ATRC ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 27 - 29 กรกฎาคม 2552 ของคณะผู้แทนสำนักงาน กทช. ณ จังหวัดเชียงราย ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.3  :  สัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ทรูยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด : สชท.
มติที่ประชุม
  รับทราบสัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ทรูยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด ที่ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ กทช.สุธรรมฯ แล้ว ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.4  :  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 11 - 23 กันยายน 2552) : รทช.พิทยาพลฯ, ศฐ.
มติที่ประชุม
 รับทราบการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ 3 รายได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส, บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และ บจ. ทรูมูฟ ในเดือนกันยายน 2552 รวม 36 รายการ (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 11 - 23 กันยายน 2552) ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.5  :  บทวิเคราะห์เกี่ยวกับการกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี : ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำเสนอวาระนี้โดยเป็นการรายงานต่อที่ประชุม กทช. ได้รับทราบเรื่องในการประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  5.6  :  รายงานผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเกี่ยวกับ แนวทางหลักการเข้าถึง ICT สำหรับคนพิการ : รทช.พิทยาพลฯ ,ทถ.
มติที่ประชุม
 รับทราบรายงานผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เกี่ยวกับแนวทางหลักการเข้าถึง ICT สำหรับคนพิการ ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  6  :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) (วาระต่อเนื่อง) : รทช.ประเสริฐฯ, คณะกรรมการกำกับโครงการ ,ปก.
มติที่ประชุม

1. รับทราบประเด็นข้อคิดเห็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ร่างสรุปข้อสนเทศ (Draft Information Memorandum) การจัดสรรคลื่นความถี่ IMT หรือ 3G and beyond เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2552 และประเด็นข้อคิดเห็นจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ได้แก่
  • ข้อคิดเห็นของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จากการปฐกถาพิเศษในเรื่อง “บทบาทขององค์กรอิสระต่อการพัฒนาประเทศ” เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 
  • ข้อคิดเห็นของบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด จากหนังสือบริษัทฯ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2552
  • ข้อคิดเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ 
2. รับทราบแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) ทั้งในประเด็นกฎหมาย และกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ ของที่ปรึกษาฯ (บริษัท NERA)  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ รวมทั้งข้อเสนอของ Mr. Christian Dippon จากการประชุมทางไกล (Tele-conference)
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม ไปศึกษาวิเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพิ่มเติมจากข้อคิดเห็นของหลายฝ่ายที่ได้รับทั้งในประเด็นกฎหมาย และกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเรื่องนี้ โดยเฉพาะการจัดทำรายละเอียดข้อสนเทศ (Information Memorandum : IM) ของการประมูลสำหรับการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) มีความเหมาะสม ถูกต้อง และรอบคอบมากยิ่งขึ้น แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีประเด็นที่สำคัญ อาทิ
  • ประเด็นด้านกฎหมาย ควรหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาตามความเห็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย (ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์) ว่า “ ในขณะนี้ กทช.สามารถจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) ได้หรือไม่ ” เนื่องจากกำลังจะมี กสทช.เกิดขึ้น ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ที่กำลังจะประกาศใช้ ตามมาตรา 47 และมาตรา 305 (1) แห่งรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
  • ประเด็นด้านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่
    • ในการคำนวณเพื่อกำหนด Reserved Price หรือ Reference Price นั้น นอกเหนือจากหลักการคิดคำนวณทางวิชาการตามผลการศึกษาที่มีอยู่ และข้อมูลอ้างอิงกรณีการโอนคลื่นความถี่ 1900 MHz ระหว่าง บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ซึ่งน่าจะยอมรับได้ในฐานะที่เป็น Historical Data ในระดับหนึ่งแล้ว นั้น ยังอาจต้องพิจารณานำ Risk Factors/Discount Factors มาถ่วงน้ำหนักในการคำนวณให้เหมาะสมด้วย เช่น ปัจจัยด้าน Legal Separation, ข้อตกลง/ข้อผูกพันกับต่างประเทศ, รวมถึงนโยบายต่างๆของรัฐที่เกี่ยวข้อง
    • ในการคำนวณเพื่อกำหนด Starting Price นั้น ต้องวิเคราะห์เพื่อหาหลักการอ้างอิงที่เหมาะสม และสามารถอธิบายได้ (Justified) ซึ่งไม่ควรเป็นราคาเดียวกับ Reserved Price หรือ Reference Price ทั้งนี้ การกำหนดราคา Starting Price ดังกล่าว ควรพิจารณาถึง Risk Factors เช่น ราคาที่ผู้บริโภคต้องจ่าย/รับภาระ ความสามารถในการลงทุนของผู้ประกอบการ มูลค่าการลงทุน (Investment Cost) ในแต่ละปี รวมถึงภาระต้นทุนรวมของผู้ประกอบการในด้านต่างๆ (Spectrum Fee, License Fee, Numbering Fee) ตลอดจน ค่า IC Cost และ USO Cost รวมทั้งคำนึงถึงสภาพตลาดการแข่งขันด้วย เป็นต้น
    • การจัดทำรายละเอียดแผน Contingency Plan ที่ชัดเจน กรณีหากจำนวนผู้เข้าประมูลมีน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต ซึ่งอาจมีแนวทางรองรับได้หลายวิธี เช่น เลื่อนการประมูลออกไป จัดสรรความถี่ตามมูลค่าของ Reserved Price หรือ Reference Price ที่กำหนดซึ่งเป็นราคาคาดหวัง (Expected Price)
    • ในกรณีหากผลการประมูลไม่เท่ากับมูลค่าของ Reserved Price หรือ Reference Price ที่กำหนดไว้ จะมีแนวทางหรือวิธีการบริหารจัดการอย่างไร เช่น ยอมรับผลการประมูลตามราคาที่ได้นั้น เป็นต้น
4. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ปรับปรุงรายละเอียดของข้อวิเคราะห์ในประเด็นกฎหมายตามที่เสนอให้เหมาะสม และชัดเจนยิ่งขึ้น 
  • ปรับปรุงข้อความ ในข้อ 5.1.3 (3) ด้วยการตัด“ มิใช่ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้ง “ ออก และเพิ่มเติมข้อความในตอนท้ายเพื่ออธิบายให้ชัดเจนว่า “การให้ใบอนุญาตการใช้ความถี่ นั้น ถือเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน”
  • เพิ่มเติมการอธิบายรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับ “บัญชีสาม” ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าวฯ ในข้อ 5.1.4 ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
5. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปพิจารณาจัดทำประมวลสรุปผลข้อมูลความเห็นจาก การประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ข้อมูลความเห็นของสำนักงาน กทช. และข้อมูลความเห็นของ กทช.ในรูปของตาราง 3 ช่อง เพื่อประกอบการพิจารณาของ กทช.ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย 
6. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.เตรียมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม ในช่วงปลายเดือนตุลาคม – ต้นเดือนพฤศจิกายน 2552 ต่อไป
หมายเหตุ  ประชุมผ่านระบบ Tele-conference กับที่ปรึกษา  (Mr. Christian Dippon)
ระเบียบวาระที่  6.2  :  หลักเกณฑ์ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการ โดยคนต่างด้าว : กทช.สุธรรมฯ
มติที่ประชุม
 
1. มอบหมายให้ กทช.รับร่างหลักเกณฑ์ว่าด้วย การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ ไปพิจารณาศึกษาในรายละเอียดก่อน โดยหากมีประเด็นข้อคิดเห็นใดเพิ่มเติม ให้แจ้ง กทช.สุธรรมฯ ทราบ และพิจารณาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง ก่อนประมวลเสนอ กทช.ให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ ปัจจุบันประเด็นเรื่อง สัญชาติ (Nationality) กับเรื่อง การครอบงำ (Domination) นั้น สามารถแยกกันได้ ซึ่งหมายถึงการแยกกันระหว่างสิทธิในการตั้งธุรกิจ (Right of Establishment : ROE) กับ การครอบงำโดยมุ่งเน้นการใช้หลักกฎหมาย Control มากกว่า
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เร่งกระบวนการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อาจารย์พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ) เพื่อดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการครอบงำกิจการ เรื่อง การแยกหน้าที่บริหารกับความเป็นเจ้าของกิจการ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามที่ กทช.ได้มีมติอนุมัติแล้วในการประชุมครั้งที่ 24/2552 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552
ระเบียบวาระที่  6.3  :  การปรับปรุงแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 : ลทช., กลุ่มภารกิจด้านการงบประมาณ
มติที่ประชุม
  เห็นชอบการปรับปรุงแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ตามข้อ 14 แห่งระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการงบประมาณของสำนักงาน กทช. พ.ศ. 2552 ซึ่งได้ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบ ประมาณฯ แล้ว ตามรายละเอียดที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบประมาณลดลง จำนวน 185,671,920 บาท ประกอบด้วย
  • โครงการที่ ดำเนินการแล้วเสร็จ และมีเงินเหลือจ่าย 8,671,920 บาท
  • โครงการที่ขอยกเลิกการดำเนินโครงการ 22,000,000 บาท
  • โครงการที่ขอเลื่อนไปดำเนินการในปี 2553 55,000,000 บาท
  • โครงการที่ดำเนินการไม่เป็นไปตามแผน 100,000,000 บาท
2. อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปี 2552 จำนวน 123,171,600 บาท โดยให้ใช้จ่ายจากรายการปรับลด/เปลี่ยนแปลงงบประมาณลดลงจำนวน 185,671,920 ตามข้อ 1 ประกอบด้วย
  • ค่าใช้จ่ายในการจัดการและบริหารองค์กร 47,920,600 บาท
  • ค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง 30,013,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสถาบัน 340,000 บาท
  • ค่าภาระที่เหมาะสม (โครงการ) จำนวนเงิน 44,898,000 บาท

สร้างโดย  -   (17/3/2559 10:51:00)

Download

Page views: 57