สรุปมติที่ประชุม กทช. 39/2552

มติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 39/2552
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2552
 เวลา 09.30 น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1. พลเอกชูชาติ  พรหมพระสิทธิ์                    ประธานกรรมการ
2. นาย เหรียญชัย  เรียววิไลสุข                     กรรมการ
3. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์  ประพิณมงคลการ      กรรมการ
4. นายสุชาติ  สุชาติเวชภูมิ                           กรรมการ
5. ศาสตราจารย์ เศรษฐพร  คูศรีพิทักษ์           กรรมการ
6. รองศาสตราจารย์สุธรรม  อยู่ในธรรม           กรรมการ
7. นายสุรนันท์  วงศ์วิทยกำจร                        เลขาธิการ กทช.
 
ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1. ขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่นานก็ย่างเข้าสู่ปี 2553 แล้ว ในเรื่องการจัดเตรียมของขวัญปีใหม่ในคราวนี้ ขอให้มีเอกภาพ อย่าซ้ำซ้อนกัน โดยเน้นประโยชน์ใช้สอย และประหยัด
2.  ขอให้สำนักงาน กทช.เข้าใจว่าเรื่องการอนุญาตประกอบกิจการ 3G เป็นเรื่องการดำเนินงานตามปกติธรรมดา เพียงแต่มีเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่เข้ามาเกี่ยวข้องเท่านั้น  ในขณะที่ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่ค้างคาต้องรีบดำเนินการอยู่หลายเรื่อง จึงอยากให้สำนักงาน กทช.เน้นและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานภายในของสำนักงาน กทช. ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเรื่องต่างๆ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 
มติที่ประชุม  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ สำหรับเรื่อง  การจัดเตรียมของขวัญเนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ขอให้ไปหารือ กทช.สุธรรมฯ ด้วย ซึ่งอาจนำดวงตราไปรษณียากรที่จัดทำขึ้นในวาระ กทช. ครบรอบ 5 ปี มาเป็นของขวัญโดยเพิ่มเติมข้อความอวยพรปีใหม่ตามที่ กทช.เศรษฐพรฯ เสนอเป็นทางเลือกหนึ่งได้
ระเบียบวาระที่  2  :  เรื่องรับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 38/2552 วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2552
มติที่ประชุม

1. รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 38/2552 วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ โดยมีข้อแก้ไขวาระที่ 6.1 ข้อ 2.2 บรรทัดที่ 4 จากเดิม “22,000 บาท” เป็น “22,000 ล้านบาท”
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ตรวจสอบระเบียบ กทช.ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมฯ พ.ศ. 2548 ในกรณีที่ กทช.มีความเห็นแย้งมติที่ประชุม เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเหมาะสมในทางปฏิบัติยิ่งขึ้น แล้วพิจารณานำเสนอ กทช.ต่อไป
ระเบียบวาระที่  3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 38/2552 วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2552
มติที่ประชุม
 รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 38/2552 วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา   
ระเบียบวาระที่  4.5  :  บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  แจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (IMT - 2000)  :  รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม

1.  อนุมัติให้ บมจ.ทีโอที ประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (IMT - 2000) ในย่านความถี่ 1965 - 1980 MHz คู่กับ 2155 - 2170 MHz โดยกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ดังนี้
  • ให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศ กทช. เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการและ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศฯ ที่ กทช.กำหนด โดยเคร่งครัด
  • ให้บริษัทฯ รายงานสถานะการประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G (IMT - 2000) ในย่านความถี่ข้างต้น ให้ กทช.ทราบทุก 3 เดือน
  • ให้บริษัทฯ ส่งแผนการดำเนินธุรกิจ (Business Model) ที่ยึดหลักการให้บริการแบบผู้ให้บริการโครงข่าย (Network Provider)  หรือการให้บริการแบบขายส่ง (Wholesaler)
  • ให้บริษัทฯ ส่งแผนความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบในเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์  และจัดทำแผนความเสี่ยงเพื่อรองรับด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • ให้แจ้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณี  MVNO ที่มาขอทำธุรกิจกับ บมจ.ทีโอที จะมีมูลค่าเกินหนึ่งพันล้านบาท จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ตามที่คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจตั้งข้อสังเกตไว้หรือไม่
2.  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการต่อไป ดังนี้
  • ให้รวบรวมข้อมูลภาพรวมสถานการณ์ และความเคลื่อนไหวของตลาดการประกอบธุรกิจประเภทบริการขายส่งบริการ และบริการขายต่อบริการ เสนอให้ที่ประชุม กทช.ทราบ
  • ให้ตรวจสอบว่าเมื่อ บมจ.ทีโอที เริ่มประกอบกิจการโทรคมนาคมโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แล้ว จะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานใดของสำนักงาน กทช. บ้าง เพื่อให้การติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลให้เป็นไปตามประกาศ/หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  แล้วให้นำเสนอที่ประชุม กทช.ภายใน 2 สัปดาห์ 
ระเบียบวาระที่ 4.7  :  โครงการระบบสื่อสัญญาณไร้สายผ่านดาวเทียมสำหรับโครงการ USO ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : รทช.ทศพรฯ, วท.
มติที่ประชุม
  เห็นชอบร่างหนังสือหารือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการต่างประเทศ (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมอาเซียน) และ กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) กรณี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะใช้บริการช่องสัญญาณของดาวเทียมต่างชาติสำหรับโครงการ USO ซึ่งได้แก้ไขปรับปรุงตามความเห็นของ กทช.เศรษฐพรฯ และ กทช.สุธรรมฯ เรียบร้อยแล้ว ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช.เร่งจัดส่งหนังสือดังกล่าว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นโดยเร็วต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.8  :  รายงานผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เรื่อง การอนุญาตให้บริการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) : รทช.ประเสริฐฯ ,ปก.
มติที่ประชุม

1. รับทราบรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เรื่องการอนุญาตให้บริการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก (Mr.Adrian Foster) ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2. อนุมัติให้สำนักงาน กทช. เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะฯ ตามข้อ 1 ใน Website ของสำนักงาน กทช. ได้แก่
  • แผนภูมิแสดงผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
  • ตารางสรุปความคิดเห็นสาธารณะพร้อมความเห็นผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก
3. รับทราบรายงานฉบับสมบูรณ์ของผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก (Mr.Adrian Foster) ตามโครงการ Consultancy for NTC’ s Broadband Wireless Access Service : Regulations and Licensing for New Technology Service
4. เห็นชอบในหลักการให้จ้างที่ปรึกษาจากธนาคารโลก เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การอนุญาตการให้บริการ BWA ร่วมกับคณะทำงานของสำนักงาน กทช. โดยนำผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะที่ได้ตามข้อ 1 และความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ มาใช้เพื่อประกอบการจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. หารือกับธนาคารโลกแล้ว จัดทำรายละเอียดขอบเขตการดำเนินงานในการว่าจ้างที่ปรึกษา และกรอบวงเงินงบประมาณแล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.9  :  การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 2.5 GHz  ในโครงการนำร่องฯ ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
  เพื่อให้การพิจารณาเรื่อง การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 2.5 GHz ในโครงการนำร่องฯ ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และเรื่อง การขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุย่าน 2.5 GHz ในโครงการพัฒนาระบบต้นแบบและสร้างกำลังคนด้วยเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบ และขั้นตอน  จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช.นำเรื่อง การปรับปรุงแก้ไขประกาศ กทช.เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่ 2500 - 2690 MHz เสนอ กทช.พิจารณาให้เรียบร้อยก่อนนำเรื่องทั้งสองดังกล่าวเสนอ กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.16  :  แต่งตั้งคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม : รทช.ประเสริฐฯ, กบ.
มติที่ประชุม

1.  อนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม ตามข้อ 14 แห่งประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 จำนวน 2 ราย  ดังนี้
  • นายบุญเสริม  อึ้งภากรณ์
  • นายดิเรก  เจริญผล 
     ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำเสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ เลขหมายโทรคมนาคมให้ประธาน กทช.ลงนามโดยเร็วต่อไป รวมทั้งเร่ง ติดต่อประสานงานกรรมการทุกท่านเพื่อนัดประชุมเลือก ประธาน กรรมการให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามที่ระเบียบกำหนดไว้  
2.  อนุมัติให้คณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคมที่เป็นบุคคลภายนอก ได้รับค่าตอบแทนเบี้ยประชุม ตามข้อ 18 (ข) ในอัตราครั้งละ 8,000 บาท สำหรับพนักงานให้เป็นไปตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ. 2551 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
ระเบียบวาระที่ 4.17  :  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ ขอยกเลิกการให้บริการและขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : รทช.ประเสริฐฯ, กบ., ปก.
มติที่ประชุม

1. อนุมัติให้ บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ ยกเลิกการให้บริการโทรศัพท์ราคาประหยัด ตามข้อเสนอของสำนักงาน กทช. เนื่องจาก บมจ. ทริปเปิลที บรอดแบนด์  ยังมิได้เปิดให้บริการโทรศัพท์ราคาประหยัด ดังนั้น การยกเลิกบริการดังกล่าวของบริษัทฯ จึงไม่มีผลกระทบ และ/หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อน/เสียหายแก่ผู้ใช้บริการ
2.  อนุมัติให้ บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์  เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ หมายเลข 1530 จากเดิม เพื่อให้บริการโทรศัพท์ราคาประหยัด เป็นการให้บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call Center) ตามข้อเสนอของสำนักงาน กทช. ที่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม
ระเบียบวาระที่ 4.18  : แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม พิเศษกรณีได้รับจัดสรรจาก บมจ.ทีโอที ก่อนมี กทช. (Re-Assign) : รทช.ประเสริฐฯ ,กบ.
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ส่งเรื่อง แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ กรณีได้รับจัดสรรจาก บมจ.ทีโอที ก่อนมี กทช. (Re-Assign) ให้คณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม เพื่อพิจารณาให้ความเห็นก่อนนำเสนอที่ประชุมพิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.19  :  การดำเนินการตามประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ :  คณะกรรมการบริการคงสิทธิเลขหมายฯ, รทช.ประเสริฐฯ, กบ.
มติที่ประชุม

1.  เห็นชอบในหลักการการกำหนดเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้าย และแผนงานดำเนินการของผู้ให้บริการตามข้อ 13 และข้ออื่นๆ แห่งประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริการคงสิทธิเลขหมายฯ แล้ว ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเงื่อนไขดัง กล่าวให้เหมาะสม และชัดเจนยิ่งขึ้น แล้วเสนอให้ กทช.สุธรรมฯ พิจารณาเพื่อความรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง ก่อนดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ประกาศกำหนดต่อไป อาทิ
  • ให้ตัดหัวข้อ 13 : ข้อสงวนแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ออก
  • ในเรื่องขั้นตอนการโอนย้าย (Porting Process) ข้อ 4 ควรพิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติที่ไม่เป็นภาระกับประชาชนผู้ใช้บริการเกินไป เช่นที่ระบุไว้ในข้อ 4.9.7 รวมถึงในข้อ 4.9 ควรพิจารณาให้รอบคอบโดยกำหนดแนวทางปฏิบัติอย่าให้เกินกว่าที่ประกาศกำหนดไว้ และควรพิจารณาให้มีระบบ และกระบวนการโอนย้ายที่สะดวก รวดเร็วเท่ากับการซื้อเลขหมายใหม่ด้วย
  • ข้อ 4.11 ให้แก้ไขคำว่า “วันพรุ่งนี้” (บรรทัดที่สามจากท้ายสุด) เป็น “วันรุ่งขึ้น” 
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. กำหนดมาตรการบังคับทางปกครอง เพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินการบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใน ระยะเวลา 9 เดือน ทั้งนี้ ให้หารือ กทช.สุธรรมฯ ด้วยเพื่อให้การพิจารณามีความครบถ้วน  และถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  ก่อนนำเสนอ กทช. พิจารณาต่อไป
3.  สำหรับในประเด็นการพิจารณากำหนดสัดส่วนในการลงทุนตามข้อ 24 แห่งประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับความเห็นที่ประชุมไปวิเคราะห์เพิ่มเติมในรายละเอียดของรูปแบบ และแนวทางการลงทุน อาทิ กรณีหากจำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มจะมีวิธีการระดมทุนอย่างไร และหากมีผู้ให้บริการรายใหม่ประสงค์จะร่วมลงทุน สามารถกระทำได้หรือไม่ อย่างไร แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
4.  รับทราบการดำเนินการของสำนักงาน กทช. ในการจัดทำข้อเสนอบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่ (Fixed Number Portability) และ บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ข้ามพื้นที่ (Geographic Number Portability)
ระเบียบวาระที่ 4.20  :  การขอรับใบอนุญาตการให้บริการวงจรส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) ของบริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต เกตเวย์ จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ , ปก.  
มติที่ประชุม
 อนุมัติให้บริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต เกตเวย์ จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สามเพียงใบเดียว โดยมีกำหนดระยะเวลาการอนุญาต 15 ปี ในการให้บริการวงจรส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) เพื่อเชื่อมต่อออกต่างประเทศทางภาคพื้นดิน (Land Cable) ตามที่เคยได้รับอนุญาตให้ทดลอง/ทดสอบ จำนวน 2 จุด ได้แก่ จุดเชื่อมต่อตำบลปาดังเบซาร์ และ ตำบลสำนักขาม ซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และขอเพิ่มจุดเชื่อมต่อภาคพื้นดินในครั้งนี้ จำนวน 7 จุด รวมเป็น 9 จุด และรวมถึงการให้บริการ IPLC ทางภาคพื้นน้ำ (Submarine Cable) ทั้งนี้ โดยให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้บริษัทฯ ดำเนินการตามประกาศ/กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี เท่าเทียม และเป็นธรรม ทั้งที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (อาทิ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีอำนาจเหนือตลาด (SMP)  การกำหนดนิยามตลาด (Market Definition) การร่วมใช้โครงข่าย (Infrastructure Sharing) Essential Facility การแบ่งแยกข้อมูลทางบัญชี การควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น)  ตลอดถึงกฎเกณฑ์ที่ กทช. จะประกาศกำหนดต่อไปในอนาคต
ระเบียบวาระที่ 4.21  :  การสิ้นสุดการอนุญาต ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง และใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง : รทช.ประเสริฐฯ , ปก.
มติที่ประชุม

1. รับทราบการขอยกเลิกและอนุมัติสิ้นสุดการอนุญาตของผู้รับใบอนุญาตประกอบ กิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง และใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง จำนวน 27 ราย  ดังนี้
  • กรณีผู้รับใบอนุญาตขอยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการ  โทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง
    • กรณีไม่มีผู้ใช้บริการ จำนวน 2 ราย ได้แก่ (1) บริษัท  บลูดอท คอมมูนิเคชั่น จำกัด และ (2) บริษัท ฟู่อัน จำกัด
    • กรณีมีผู้ใช้บริการ จำนวน 1 ราย ได้แก่ บริษัท ยูบิควิตี จำกัด
  • กรณีผู้รับใบอนุญาตขอยกเลิกใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใช้บริการจำนวน 4 ราย ได้แก่ 1) บริษัท เอ คอนเนค จำกัด 2) บริษัท สามารถ บรอดแบนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด  3) บริษัท ซิสเต็ม แอ็ดไวเซอร์ กรุ๊ป จำกัด และ  4) บริษัท ฟรี อินเตอร์เน็ต จำกัด
  • กรณีผู้รับใบอนุญาตขาดต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใช้บริการ จำนวน 7 ราย ได้แก่ 1) บริษัท อินทิเกรท คอมมูนิชั่น เทคโนโลยี (เอเชีย) จำกัด 2) บริษัท ซอฟท์โฟน จำกัด 3) บริษัท มันนี่ ทอล์คส ฟอร์มี จำกัด 4)  บริษัท โกลบอล เทเลลิงค์ (ประเทศไทย) จำกัด 5) บริษัท โซลูชั่น วัน โฮลดิ้ง จำกัด  6) บริษัท สมาร์ทเทล (ประเทศไทย) จำกัด  และ 7) บริษัท ทรานส์ แปซิฟิก เทเลคอม (ประเทศไทย) จำกัด
  • กรณีผู้รับใบอนุญาตขาดต่ออายุใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง  ซึ่งไม่มีผู้ใช้บริการ จำนวน 13 ราย ได้แก่ 1) บริษัท โกลบอล ลิงค์ (ประเทศไทย) จำกัด 2) บริษัท ซอฟท์โฟน จำกัด 3) บริษัท คอลไทยดอทเนท จำกัด 4) บริษัท แพลนเน็ท คอมเมิร์ซ จำกัด 5)  บริษัท อินทิเกรท  คอมมูนิชั่น เทคโนโลยี (เอเชีย)  จำกัด 6) บริษัท โซลูชั่น วัน โฮลดิ้ง จำกัด  7) บริษัท ไอซ์ ยอนสัน จำกัด  8)  บริษัท มันนี่ ทอล์คส  ฟอร์มี จำกัด 9) บริษัท แม็กซ์ พรีเมียม จำกัด 10) บริษัท ทรานส์ แปซิฟิก เทเลคอม (ประเทศไทย) จำกัด  11) บริษัท ซี เอ ที แซทคอม ลิงค์ จำกัด 12) บริษัท โค้ดเทค จำกัด  และ 13) บริษัท แอ็กเซส คอนเวอร์เจนส์ แมนเนจเมนท์ จำกัด
2. เห็นชอบมาตรการกำกับดูแลการต่ออายุใบอนุญาต และการดำเนินการเพื่อเสนอสิ้นสุดการอนุญาตกรณีผู้รับใบอนุญาตขาดต่ออายุใบ อนุญาตแบบที่หนึ่ง ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
3. เห็นชอบมาตรการลงโทษกรณีผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง และผู้รับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาต ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.22  :  การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิ ในการปักหรือ ตั้งเสา หรือ เดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม  (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง)และมาตรา 39 วรรคแรกของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม  พ.ศ. 2544  : คณะกรรมการสิทธิแห่งทาง, พต.
มติที่ประชุม

1.  เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับ เสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 7 ราย (บมจ. ทีโอที  บมจ.กสท โทรคมนาคม บจ.ซุปเปอร์ บอรดแบนด์ เน็ทเวอร์ค  บจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์  บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์  บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส  และ บมจ.ทีทีแอนด์ที จำกัด ) จำนวน 31 คำขอ 275 เส้นทาง 263 ชุมสาย  ซึ่งเป็นการ ขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม และมาตรา 39 วรรคแรกของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้นจึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุมัติของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมงานดังกล่าว  ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กทช.กำหนด โดยเคร่งครัดต่อไป
2.  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช. จัดส่งคำชี้แจงข้อความท้ายมติในข้อ 1  “ ในกรณีที่บริษัทฯ  อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้น  จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุมัติของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมงานดังกล่าว ”  ให้ กทช.สุชาติฯ ทราบ
หมายเหตุ  ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือได้แก่ วาระที่ 4.1 – 4.4, 4.6, 4.10 – 4.15  และ 4.23 จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 5.1  :  รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 : รทช.พิทยาพลฯ , กม.
มติที่ประชุม
 รับทราบรายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการ ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประจำเดือนกันยายน และตุลาคม 2552 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.2  :  การแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมกรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ร้องเรียน ในฐานความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 : คณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง , สบท.
มติที่ประชุม
  รับทราบผลการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมกรณี บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) แจ้งความดำเนินคดีกับ นายวีระวุฒิ ธรรมยงค์กิจ และ นายสมเกียรติ  เชียวชุ่ม ผู้ร้องเรียน ในฐานความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ตามเอกสารที่คณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช.กรณีการจัดทำเอกสารประมวลรวบรวมมติที่ประชุม กทช. : ลทช., กช.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 24/2551 วันที่ 10 กรกฎาคม 2551 กรณีการจัดทำเอกสารประมวลรวบรวมมติที่ประชุม กทช. ตามเอกสารที่ สำนักงาน กทช. เสนอประกอบด้วย
1 หนังสือรวมมติ กทช.ตั้งแต่ปี 2547 – 2551 พร้อมซีดี
2. ประมวลเอกสารวาระการประชุม กทช.จัดเก็บในรูปของซีดี ตั้งแต่ปี 2547 – 2551
ระเบียบวาระที่ 5.4 :  รายงานผลการความคืบหน้าของโครงการในปีงบประมาณ 2552 : รทช.ฐากรฯ , ปต.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการความคืบหน้าของโครงการในปีงบประมาณ 2552 ไตรมาสที่ 3 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.5 :  การสัมมนา The 4th Multi-Country Study Mission on Public Governance ในหัวข้อ “Strategies , Tools and Capacities for Administrative Simplification”  : รทช.ทศพรฯ , รศ.
มติที่ประชุม
 รับทราบการเดินทางของพนักงาน สำนักงาน กทช.จำนวน 3 ราย เพื่อเข้าร่วมการสัมมนา The 4th Multi-Country Study Mission on Public Governance ในหัวข้อ “Strategies, Tools and Capacities for Administrative Simplification ระหว่างวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน 2552 ณ สาธารณรัฐเกาหลี ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  6  :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) (วาระต่อเนื่อง) : รทช.ประเสริฐฯ , คณะกรรมการกำกับโครงการฯ , ปก.
มติที่ประชุม

1.  รับทราบกำหนดการและการเตรียมการประชุมการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่าง สรุปข้อสนเทศ (Draft Information Memorandum) การจัดสรรคลื่นความถี่ IMT หรือ 3G and beyond ครั้งที่ 2 ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ  และเห็นชอบให้สำนักข่าว TNN และ Thai PBS ถ่ายทอดการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะดังกล่าว
2.  รับทราบความเห็นเรื่อง การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ ๓G and beyond) จากหน่วยงานต่างๆ และนักวิชาการเอกชนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
3.  รับทราบผลการศึกษาระยะที่ 2 (Phase ๒ report) ของบริษัทที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการด้านเศรษฐกิจและแนวทางการกำกับดูแล สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond)  (บริษัท NERA) ตามที่ที่ปรึกษา (Mr.Cristian Dippon) เสนอ
4.  รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการจัดทำหนังสือสอบถาม ความเห็นไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่ 6.2  :  การขอทบทวนมติ กทช.ครั้งที่ 35/2552 วาระการขอหารือการดำเนินโครงการ UniNet ของ สกอ. : รทช.ประเสริฐฯ , ปก.
มติที่ประชุม

1. โดยที่ที่ประชุมยังไม่อาจหาข้อยุติร่วม กันที่ชัดเจนได้ในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจมีผลกระทบต่อแนวทาง ปฏิบัติกรณีหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นกิจการเฉพาะกิจเช่นกันว่าสมควรต้องได้รับใบอนุญาตประกอบ กิจการโทรคมนาคมด้วยหรือไม่ รวมถึงผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการ ศึกษา (UniNET)เพื่อรองรับการศึกษาทั้งระบบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)  อันเนื่องมาจากการดำเนินโครงการ UniNET ในลักษณะกิจการเฉพาะกิจที่มิใช่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะปัญหาการขอใช้สิทธิของ สกอ.ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ตลอดจนสิทธิหน้าที่อื่นๆ ที่จะไม่ปรากฏตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลต่างๆ ของ กทช.แต่อย่างใด เช่น การใช้และเชื่อมต่อโครงข่าย และการแบ่งใช้โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และมีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กทช.มีหนังสือหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อสอบถามความเห็นในประเด็นกฎหมายว่า กรณีการดำเนินโครงการ UniNET ของ สกอ.ดังกล่าวจะต้องออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือไม่ ทั้งนี้ โดยให้แนบความเห็น กทช.สุธรรมฯ และ กทช.ประสิทธิ์ฯ เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม และให้หารือ กทช.สุธรรมฯ และ กทช.ประสิทธิ์ฯ อีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของถ้อยคำก่อนจัดส่งให้สำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกาต่อไป  
2. อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นที่ทราบข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งแล้วว่าการดำเนินโครงการพัฒนา เครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNET) เพื่อรองรับการศึกษาทั้งระบบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นั้น เป็นการสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศในการ ให้บริการด้านการศึกษาแก่สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์ ประกอบกับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนภายใต้การขับ เคลื่อนยุทธศาสตร์ไทยเข้มแข็ง ซึ่งเป็นการดำเนินมาตรการที่มีความสำคัญลำดับสูงของรัฐบาลในการฟื้นฟู และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้คืนสู่ภาวะการขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพโดย เร็ว ดังนั้น จากข้อเท็จจริง และวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการฯตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลดังกล่าวข้าง ต้น ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วจึงเห็นควรให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการตามมติ กทช. ครั้งที่ 35/2552 ต่อไป โดยหากได้รับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว จึงเสนอ กทช. พิจารณาต่อไป

สร้างโดย  -   (31/1/2559 14:27:12)

Download

Page views: 131