สรุปมติที่ประชุม กทช. 18/2553

มติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
  ครั้งที่ 18/2553
วันพุธที่  30 มิถุนายน  2553   เวลา  09.30  น.
     ณ ห้องประชุม ชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 

ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์            ประพิณมงคลการ           ประธานกรรมการ
2.  นายสุชาติ                           สุชาติเวชภูมิ                  กรรมการ  
3.  นายสุรนันท์                         วงศ์วิทยกำจร                กรรมการ
4.  พันเอกนที                          ศุกลรัตน์                       กรรมการ
5.  นายบัณฑูร                         สุภัควณิช                      กรรมการ
6.  นายฐากร                           ตัณฑสิทธิ์                     รองเลขาธิการ กทช.รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.
 
ระเบียบวาระที่  1   :   เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 
 
1.  จากการพบหารือกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) นายจุติ ไกรฤกษ์ เมื่อวันพุธที่ 23 มิถุนายน 2553 ท่านได้ขอความร่วมมือ กทช. ให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างสำนักงาน กทช. และ กระทรวง ICT ขึ้น เพื่อพิจารณาดำเนินการเรื่องสำคัญๆ 3 เรื่อง ได้แก่
1) เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม
2) เรื่อง แนวทาง  การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี Broadband  และ
3) เรื่อง การนำเทคโนโลยีมาใช้งานด้าน USO ของกระทรวง ICT ซึ่งก็ได้แจ้งว่า กทช. ยินดีสนับสนุนที่จะส่งคนเข้าร่วมทำงาน 
2.  เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ซึ่งถือเป็นคณะกรรมการระดับนโยบายด้านบุคลากร นั้น ขอให้เปิดกว้างโดยมี กทช. ทุกท่านเป็นที่ปรึกษา ซึ่งในกรณีที่มีวาระเรื่องใดสำคัญ ก็สามารถเข้าร่วมได้  เพราะจะต้องทำงานร่วมกันอยู่แล้ว ทั้งนี้ จะได้ออกคำสั่งแต่งตั้งต่อไป
3.  ในช่วงระยะเวลา 3-4 วันที่ผ่านมา ได้เดินทางไปราชการที่ประเทศญี่ปุ่น โดยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2553 ได้เข้าร่วมประชุม และเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงาน ITS ในปี 2012 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งได้มีการนำเสนอวิดีทัศน์ และการกล่าว Speech ของประธาน กทช. รวมทั้งการพูดชี้แจงในส่วนต่างๆของ กทช. สุธรรมฯ และ ดร.สุพจน์ฯ (ผอ.สพท.)  โดยที่ประชุมมีการสอบถามเรื่องระยะเวลาการจัดงานที่เหมาะสม แล้วจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ โดยไม่มีใครคัดค้าน ดังนั้น เรื่องนี้ประเทศไทย โดยสำนักงาน กทช. ก็ต้องดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงต่อไป อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า การเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ คณะเดินทางมีจำนวนค่อนข้างมาก ซึ่งควรพิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็นเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือต้องนำเสนอบทความ แต่ในครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งพิเศษที่มีความสำคัญ และมีคณะทำงานที่เป็นบุคคลภายนอกมาช่วยงานกันมาก แต่ก็ขอให้สำนักงาน กทช. ระมัดระวังในเรื่องนี้ต่อๆไปด้วย

หมายเหตุ                    กทช.ได้มีการแจ้งเรื่องต่อที่ประชุมเพิ่มเติม และได้มีการอภิปราย และแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งได้หยิบยกประเด็นอื่นๆ ขึ้นหารือในระหว่างวาระนี้ สรุปได้คือ

4.  กทช.พันเอกนทีฯ ได้รายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553  ซึ่งมีการถ่ายทอดสดทางช่อง True (98) และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมลงทะเบียน 1,200 คน ซึ่งคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond ได้นำข้อคิดเห็นต่างๆมาพิจารณา ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)  ที่จังหวัดนครปฐม ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ผ่านมา และได้จัดประชุมต่อเนื่องในวันจันทร์ และวันอังคารที่ผ่านมา  ซึ่งได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ และจะนำเสนอเอกสารให้ กทช.ทุกท่านได้รับทราบในช่วงบ่ายวันนี้ ก่อนนำไปพิจารณาในการประชุม กทช. นัดพิเศษ ในวันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553 ต่อไป 
5.  กทช.บัณฑูรฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ของสำนักงาน กทช. ที่ได้มีการทบทวนและปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบาย และเป้าหมายที่ กทช.กำหนดไปแล้ว โดยให้ความสำคัญกับรายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเป็นลำดับแรกก่อน ทั้งนี้ หากในระยะต่อไป มีรายการใดที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินการเพิ่มเติม แต่ไม่ได้กำหนดหรือบรรจุไว้เป็นแผนงานภายใต้กรอบงบประมาณประจำปี 2553 ก็จะจัดสรรจากเงินงบกลาง และ/หรือรายการเงินเหลือจ่ายที่สามารถโอนเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการให้โดยเฉพาะกรณีที่ กทช. ต้องใช้จ่ายเพื่อไปแสวงหาเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ด้านต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาโทรคมนาคมของประเทศ และเกิดประโยชน์ต่อสาธารณชน สำหรับรายการใดที่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ก็จะพิจารณาให้ตั้งงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2554 ต่อไป  อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตเพิ่มเติมด้วยว่า ในเรื่องรายการใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงการศึกษาหรือ Study ต่างๆ นั้น ต้องมีรายละเอียดระบุขอบเขตของงานหรือ Scope of Work รวมทั้งค่าใช้จ่ายของบุคลากร พร้อมระยะเวลาการปฏิบัติงาน เช่น Man-month หรือ Man-hour  ที่จะใช้อย่างชัดเจน เพื่อนำมาอธิบายต่อสังคมได้ โดยเฉพาะการศึกษาในเรื่อง 3G และ BWA ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ และอยู่ในความสนใจของสาธารณชนในขณะนี้ 
6.  กทช.สุชาติฯ ขอให้ สำนักการประชุมและเลขานุการ ประมวลสรุปหลักการเรื่องงบประมาณของ กทช. บัณฑูรฯ ดังกล่าวข้างต้นและให้ กทช.บัณฑูรฯ พิจารณาความเหมาะสมของถ้อยคำด้วยอีกครั้งหนึ่ง ก่อนแจ้งเวียนให้สำนักงาน กทช. และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป นอกจากนี้ ได้ให้ข้อสังเกตในเรื่อง ค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของสำนักงาน กทช. ว่าสมควรมีการพิจารณาให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนด้วย
7.  ประธาน กทช. ได้หยิบยกประเด็นขึ้นหารือเรื่อง การตั้งงบประมาณในส่วนของการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนกิจการของ กทช. และ สำนักงาน กทช. ว่าสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นหรือไม่ ซึ่ง กทช.บัณฑูรฯ ได้อภิปรายและให้ข้อเสนอแนะในประเด็นนี้ว่า เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น ควรจัดตั้งวงเงินงบประมาณสนับสนุนในกิจการหรือ Sectors ของงานด้านต่างๆ ไว้ในขั้นตอนการจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปีจะเหมาะสมกว่า โดยอาศัยข้อมูลสถิติการเบิกจ่ายเดิม (Past Record) ในการประมาณการจัดตั้งงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบในการเบิกจ่ายได้อย่างเหมาะสม และอยู่ภายในวงเงินตามแผนที่กำหนดไว้ต่อไป

มติที่ประชุม              
1.  รับทราบเรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.  รับทราบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ  เรื่อง หลักเกณฑ์ และ วิธีการในการออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553 และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ และจะนำเสนอเอกสารให้ กทช.ทุกท่านได้รับทราบในช่วงบ่ายวันนี้ ก่อนนำไปพิจารณาในการประชุม กทช. นัดพิเศษ ในวันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553 ต่อไปตามที่ กทช.พันเอกนทีฯ แจ้งต่อที่ประชุมทราบ 
3.  รับทราบเรื่อง หลักการจัดการงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการทบทวน และปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายปี 2553 ของสำนักงาน กทช. โดยให้ความสำคัญกับรายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเป็นลำดับแรกก่อน ตลอดจนจะพิจารณาจัดสรรจากเงินงบกลาง และ/หรือรายการเงินเหลือจ่ายที่สามารถโอนเปลี่ยนแปลงได้หากในระยะต่อไปมีรายการใดที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินการเพิ่มเติม แต่ไม่ได้บรรจุไว้เป็นแผนงานภายใต้กรอบงบประมาณประจำปี 2553 รวมถึงรับทราบข้อสังเกตการตั้งงบประมาณสำหรับกรณีจ้างศึกษา ที่ต้องมีรายละเอียดระบุขอบเขตของงาน และค่าใช้จ่ายของบุคลากร พร้อมระยะเวลาการปฏิบัติงานที่จะใช้อย่างชัดเจนตามที่ กทช.บัณฑูรฯ แจ้งต่อที่ประชุมทราบ 
4.  รับทราบข้อเสนอแนะของ กทช.สุชาติฯ โดยมอบหมายให้สำนักการประชุมและเลขานุการ ประมวลสรุปหลักการเรื่องงบประมาณของ กทช. บัณฑูรฯ ตามข้อ 3 โดยให้ กทช.บัณฑูรฯ พิจารณาความเหมาะสมของถ้อยคำอีกครั้งหนึ่ง ก่อนแจ้งเวียนให้สำนักงาน กทช.และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป
5.  รับทราบแนวทางที่เหมาะสมในการตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจการของ กทช. และ สำนักงาน กทช. ตามข้อเสนอแนะของ กทช.บัณฑูรฯ ที่เห็นควรจัดตั้งวงเงินงบประมาณสนับสนุนในกิจการหรือ Sectors ของงานด้านต่างๆ ไว้ในขั้นตอนการจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อเป็นกรอบในการเบิกจ่ายได้อย่างเหมาะสม และอยู่ภายในวงเงินที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ โดยอาศัยข้อมูลสถิติการเบิกจ่ายเดิม (Past Record) ในการประมาณการจัดตั้งงบประมาณ
 
ระเบียบวาระที่   2     :  รับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่  2.1   :  รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 17/2553 วันพุธที่ 23 มิถุนายน 2553


หมายเหตุ                 ยังไม่มีการพิจารณาในการประชุมครั้งนี้  โดยเห็นควรพิจารณาเมื่อ กทช.เข้าประชุมได้ครบทุกท่าน

ระเบียบวาระที่  2.2   :  รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 15/2553 เฉพาะระเบียบวาระที่ 4.2 ข้อ 1.3  

หมายเหตุ                   ยังไม่มีการพิจารณาในการประชุมครั้งนี้  โดยเห็นควรพิจารณาเมื่อ กทช.เข้าประชุมได้ครบทุกท่าน
 
ระเบียบวาระที่   3      :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 17/2553  วันพุธที่ 23 มิถุนายน 2553
 
มติที่ประชุม              
 รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 17/2553 วันพุธที่ 23 มิถุนายน 2553  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   4     :   เรื่องเพื่อพิจารณา   
ระเบียบวาระที่   4.1  :   การรายงานผลการดำเนินงานของ คณะกรรมการเตรียมการปรับปรุง หลักเกณฑ์การกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้คลื่นความถี่ (ตามมติ  ครั้งที่ 9/2553 วาระที่ 4.12) : คณะกรรมการเตรียมการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้คลื่นความถี่


มติที่ประชุม                มอบหมายให้ กทช.สุรนันท์ฯ  กทช.บัณฑูรฯ  และที่ปรึกษาประจำประธานกทช. (นายจักรทิพย์ฯ) เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่อง การรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเตรียมการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้คลื่นความถี่ (ตามมติครั้งที่ 9/2553 วาระที่ 4.12) ตามแนวทางที่ กทช.มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช.พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช.ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553

ระเบียบวาระที่   4.2   :   การนำค่าตอบแทนการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมมารวมคำนวณเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม และเงินอุดหนุนกองทุนเพื่อพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (มติที่ประชุมครั้งที่ 10/2553 วาระที่ 4.24): กทช.พนาฯ

หมายเหตุ                  เรื่องนี้ยังค้างการพิจารณาของที่ประชุมอยู่ในประเด็นที่ต้องการความชัดเจนประกอบการพิจารณาว่า ในกรณีกลับกัน หากคิดว่าค่า IC เป็นรายจ่ายที่บริษัทฯ ต้องจ่ายเพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว จะสามารถนำมาหักจากรายได้เพื่อเป็นฐานในการคำนวณเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ แบบที่สาม ได้หรือไม่ แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไม่สามารถมาชี้แจงข้อมูลในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมได้ ที่ประชุมจึงให้เลื่อนการพิจารณาวาระนี้ไปก่อน แล้วให้นำเสนอเพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ระเบียบวาระที่   4.3   :   โครงการ “ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่การดำเนินงานของโครงการศูนย์ทางไกลฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”  ตามมติครั้งที่ 9/2553  วาระที่ 4.14) : กทช.สุรนันท์ฯ

มติที่ประชุม              รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง โครงการ “ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่การดำเนินงานของโครงการศูนย์ทางไกล เพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบท ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ตามความเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช.ตามมติ กทช.ครั้งที่   8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ซึ่งพิจารณาแล้ว อนุมัติให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามดำเนินการโครงการ “ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่การดำเนินงานของโครงการศูนย์ทางไกล เพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบท ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึง เดือนกันยายน 2554 ภายในกรอบวงเงินโครงการทั้งหมดจำนวน 4,349,000 บาท ซึ่งแบ่งการใช้จ่ายงบประมาณโครงการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ในปี 2553 จำนวน 2,156,000 บาท และส่วนที่เหลือให้ตั้งงบประมาณในปี 2554 จำนวน 2,193,000 บาท ทั้งนี้ โดยให้เบิกจ่ายจากกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ     
  
ระเบียบวาระที่   4.4   :  แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำนโยบายและแผนเพื่อจัดให้มีบริการโทรคมนาคมสำหรับคนพิการ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส (ตามมติครั้งที่ 9/2553 วาระที่ 4.15) : กทช.สุรนันท์ฯ, รทช.ทศพรฯ, ทถ.
  
มติที่ประชุม              รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณา   เรื่อง   แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำนโยบายและแผนเพื่อจัดให้มีบริการโทรคมนาคม   สำหรับคนพิการ  เด็ก ผู้สูงอายุ และ ผู้ด้อยโอกาส ตามความเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช.    ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553   เมื่อวันที่ 2 เมษายน   2553  ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าในชั้นนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำนโยบายและแผน เพื่อจัดให้มีบริการโทรคมนาคมสำหรับคนพิการ เด็ก ผู้สูงอายุ และ ผู้ด้อยโอกาส  โดยควรรอให้มีการออกแผนแม่บท  USO  และแผนการดำเนินงาน USO ขั้นที่ 1 ก่อน   เพื่อให้มีกรอบการดำเนินงานและมีเป้าหมายที่ชัดเจน  แล้วจึงพิจารณาความเหมาะสมในการแต่งตั้งกรรมการเฉพาะด้านต่อไป

ระเบียบวาระที่ 4.5 : แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล และติดตามประเมินผลโครงการขยายการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติและอินเทอร์เน็ต : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ. 
   
มติที่ประชุม              อนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามประเมินผลโครงการขยายการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติและอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ โดยให้ปรับปรุงองค์ประกอบในส่วนของผู้แทนสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย จากเดิม 3 ราย เหลือ 1 ราย ตามความเห็น กทช.สุรนันท์ฯ

ระเบียบวาระที่   4.6   :  ขอความร่วมมือสนับสนุนในการดำเนินการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมนาคม พ.ศ. ....” : กทช.สุรนันท์ฯ

มติที่ประชุม               อนุมัติในหลักการให้การสนับสนุนการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ....” ตามที่คณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรมีหนังสือขอความร่วมมือมา ทั้งนี้ สำหรับวงเงินงบประมาณสนับสนุน นั้น มอบหมายให้ กทช.บัณฑูรฯ รับไปพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง โดยให้สำนักงาน กทช.ประสานงานสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขอข้อมูลในรายละเอียดของรายการค่าใช้จ่ายต่างๆเพื่อประกอบการพิจารณา  แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาต่อไป

ระเบียบวาระที่   4.7  :  ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในโครงการส่งเสริมการบูรณาการนวัตกรรมการจัดการศึกษาด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ (MoE Plaza ตลาดการศึกษาออนไลน์) : กทช.สุรนันท์ฯ 
 
มติที่ประชุม              โครงการส่งเสริมการบูรณาการนวัตกรรมการจัดการศึกษาด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ (MoE Plaza ตลาดการศึกษาออนไลน์) ของสำนักส่งเสริมการลงทุนและบริหารสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโครงการที่ดี เนื่องจากเป็นการดำเนินการในส่วนของ Content ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการใช้ Broadband ภายในโรงเรียน แต่อย่างไรก็ดี โดยที่โครงการนี้เป็นภารกิจโดยตรงของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งน่าจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะเหมาะสมกว่า ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งมติที่ประชุมข้างต้นให้สำนักส่งเสริมการลงทุนและบริหารสินทรัพย์ สกสค.ทราบ

ระเบียบวาระที่   4.8   :  บจ.จัสมิน อินเตอร์เน็ต ขอหารือการเพิ่มวัตถุประสงค์การใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก : กทช.สุรนันท์ฯ, รทช.ประเสริฐฯ, กบ.

มติที่ประชุม             ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ กทช. ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่   39/2550 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2550 ให้ใช้เลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน และเลขหมายโทรฟรี 1800 เพื่อให้บริการ Calling Card ดังนั้น  ในกรณี บจ.จัสมิน อินเตอร์เน็ต ขอปรับเพิ่มการให้บริการ Call Center ใช้เป็นรหัสการเข้าถึงบริการ Calling Card จึงไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งานตามที่ได้รับอนุญาตจาก กทช. ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมกับผู้ประกอบการรายอื่น จึงมีมติไม่อนุมัติให้บริษัทฯ นำเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ไปให้บริการ Calling Card โดยให้ใช้เลขหมายโทรศัพท์ประจำที่ทดแทนต่อไป ตามความเห็นคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม
  
ระเบียบวาระที่   4.9   :   การจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษเดิมที่รับคืนจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรทางสังคม และบริษัทเอกชน : กทช.สุรนันท์ฯ, รทช.ประเสริฐฯ, กบ.

มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษเดิม จำนวน ๒๗๙ เลขหมาย ที่รับคืนจาก บมจ.ทีโอที   เมื่อวันที่  28  สิงหาคม  2551   ให้แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ   องค์กรทางสังคม และ บริษัทเอกชน จำนวน 180 เลขหมาย เพื่อให้ใช้งานตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
2.  เห็นชอบตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ โดยให้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ จำนวน 99 เลขหมาย ของหน่วยงานต่างๆ ที่ได้แจ้งยกเลิก และไม่เคยมีใช้ และยังไม่แจ้งผลใดๆ สิ้นสุดการใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2551 และให้สำนักงาน กทช.มีหนังสือแจ้ง บมจ.ทีโอที ตัดวงจรการเชื่อมต่อเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษต่อไป 
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.นำเสนอรายละเอียดเรื่อง ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรทางสังคม และบริษัทเอกชน ที่มีอยู่ก่อนประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 ใช้บังคับ (วันที่ 24 ตุลาคม 2551) ให้ กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
4.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น และข้อสังเกตของที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคมในการพิจารณาจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษให้กับหน่วยงานของรัฐ เป็นไปอย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์กับประเทศมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษแก่หน่วยงานหารายได้ของประเทศ เช่น กรมสรรพากร รวมทั้งหน่วยงานด้านสาธารณภัย อย่างรวดเร็ว   

ระเบียบวาระที่   4.10   :   การให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ : กทช.สุรนันท์ฯ, รทช.ประเสริฐฯ     ,   คณะกรรมการประสานการให้บริการคงสิทธิ เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่, กบ. 
     
มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนย้าย (Porting Fee) เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอัตราค่าธรรมเนียม 99 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)   ตามที่คณะกรรมการประสานการให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เสนอ โดยปรับต้นทุนแปรผันลงอีกเพื่อจูงใจให้เกิดการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่
2.  เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้บริการรายเดิมมีสิทธิเรียกเก็บจากผู้ให้บริการต้นทาง (Conveyance Cost) โดยให้ใช้อัตราเดียวกับอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นอัตราอ้างอิงตามคำสั่ง กทช.ที่ 11/2553 ตามที่คณะกรรมการประสานการให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เสนอ
3.  เห็นชอบในหลักการการกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมของผู้ให้บริการ ตามที่คณะกรรมการประสานการให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เสนอ ซึ่งได้ปรับแก้ไขตามมติ กทช. ครั้งที่ 39/2552 เมื่อวันที่ 11 พ.ย.2552 ในกรณีดังนี้
3.1  ผู้ให้บริการ อาจปฏิเสธคำขอโอนย้ายผู้ให้บริการของผู้ใช้บริการได้ โดยถือว่าผู้ให้บริการได้ปฏิบัติตามข้อ 17(1) (2) (3) ของประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว  ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคมและที่เกี่ยวข้อง 
3.2  การโอนย้ายในปริมาณมากๆ ตั้งแต่ 25-500 เลขหมาย  ให้โอน ย้ายแล้วเสร็จภายใน 20 วันทำการ
3.3  การออกใบเสร็จรับชำระค่าธรรมเนียมการโอนย้ายฯ ให้ Clearing House : CLH (บจ.ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์) ออกใบเสร็จรับชำระค่าธรรมเนียมการโอนย้ายฯ ให้แก่ผู้ขอโอนย้ายฯ 
           ทั้งนี้ ให้หารือในรายละเอียดการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งในเรื่องมาตรฐานสัญญาการโอนสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่กับ กทช.สุธรรมฯ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความรอบคอบมากยิ่งขึ้น เนื่องจากอาจมีประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
4.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. พิจารณาจัดเตรียมและดำเนินการการประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้ เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบการดำเนินงาน และมีความเข้าใจในประเด็นต่างๆ เสียแต่เนิ่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นไปด้วยความราบรื่นเมื่อเปิดให้บริการ
  
ระเบียบวาระที่    4.11   :   ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปี 2553 และ รายงานเงินเหลื่อมปี 2551 และ 2552 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2553 : กทช.สุรนันท์ฯ, รทช.ประเสริฐฯ, งป.

มติที่ประชุม              
1.  รับทราบรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปี  2553 และ รายงานเงินเหลื่อมปี 2551 และ 2552 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2553 ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ 
2.  โดยที่ยังมีหลายรายการหรืองาน หรือโครงการหรือเรื่องที่กำหนดโดย กทช.ที่ยังมิได้มีการเบิกจ่าย จึงขอให้ กทช.ทุกท่านเข้าร่วมกับ กทช.บัณฑูรฯ ในการพิจารณาทบทวนการใช้จ่ายงบประมาณของรายการต่างๆดังกล่าวต่อไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณในภาพรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ระเบียบวาระที่ ๔.๑๒ : ขออนุมัติดำเนินการโครงการปรับปรุงกิจการตรวจสอบการใช้ความถี่วิทยุ เฟสที่ ๓ (จัดหาสถานีตรวจสอบการใช้ความถี่วิทยุระบบควบคุมระยะไกล) : กทช.สุรนันท์ฯ, รทช.ทศพรฯ, ตว.

มติที่ประชุม               มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปจัดทำรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แล้วเสนอ กทช. เพื่อประกอบการพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง โดยให้จัดทำรายงานการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาใน Phaseที่ 1 และ 2  รวมทั้งอธิบายในประเด็นทางเทคนิคเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งานร่วมกันของอุปกรณ์ที่จะจัดซื้อจัดหาใหม่กับเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมว่าจะมีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ อย่างไร และเมื่อดำเนินการครบถ้วนทั้ง 3 Phase แล้ว จะบังเกิดประสิทธิภาพในการตรวจสอบการใช้ความถี่วิทยุมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ สมควรพิจารณาจัดทำเป็นเอกสารแผนปฏิบัติการที่มีรายละเอียดชัดเจนในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรองรับภารกิจการตรวจสอบการใช้ความถี่วิทยุของสำนักงาน กทช.ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นในอนาคต

ระเบียบวาระที่   4.13   :  ขอความเห็นชอบในการจัดหาห้องปิดกั้นคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบกึ่งไร้คลื่นสะท้อนระยะทดสอบ 10 เมตร และเครื่องมือทดสอบการแพร่กระจายสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Specifications for 10 m Test Site Semi – Anechoic Chamber and EMI Test Equipment) ตามโครงการห้องปฏิบัติการ Wireless Benchmark Test Lab & EMC Chamber : กทช.สุรนันท์ฯ, รทช.ทศพรฯ, บป.
 
มติที่ประชุม                 มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของที่ประชุมในประเด็นนโยบายที่สำคัญไปพิจารณาดำเนินการ แล้วนำเสนอที่ประชุม  กทช. พิจารณาให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งต่อไป ดังนี้  
1.  จัดทำแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ (Master Plan Land Use) ในภาพรวมของสำนักงาน กทช. เสนอ กทช. พิจารณาตัดสินใจให้ชัดเจนก่อนว่าจะกำหนดรายละเอียดผังการใช้พื้นที่อย่างไรทั้งพื้นที่ที่พหลโยธิน พื้นที่ที่นนทบุรี รวมทั้งพื้นที่ที่หลักสี่ (ตึก Postel) รวมถึงทางเลือกในการเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานของเอกชนในบริเวณใกล้เคียงเพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงาน ทั้งนี้ นอกเหนือจากเพื่อรองรับจำนวนหน่วยงาน และบุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว จะต้องคำนึงถึงปริมาณงาน โครงสร้าง และภารกิจที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย โดยเฉพาะคณะกรรมการ กสทช. ที่จะเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ หน่วยงานที่จะเกิดขึ้นใหม่ตามนโนบาย และมติ กทช. รวมทั้งจำนวนบุคลากรที่จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
2.  จัดทำแผนบริหารจัดการศูนย์ทดลองหรือทดสอบอุปกรณ์โทรคมนาคม ที่จะจัดตั้งขึ้น ตามโครงการห้องปฏิบัติการ Wireless Benchmark Test Lab & EMC Chamber (การจัดหาห้องปิดกั้นคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบกึ่งไร้คลื่นสะท้อนระยะทดสอบ 10 เมตร และเครื่องมือทดสอบการแพร่กระจายสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) เสนอ กทช.เพื่อประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ โดยให้ศึกษาถึงประเด็นความพร้อมในการดำเนินการ ทั้งในเรื่องบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และผู้ใช้งาน (Users) รวมถึงความถี่ในการใช้งาน ตลอดจนพิจารณาเปรียบเทียบถึงความจำเป็นและความคุ้มค่าในการดำเนินการโดยสำนักงาน กทช.เอง หรือการให้สถาบันการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการแทน  โดยสำนักงาน กทช. สนับสนุนด้านงบประมาณ นอกจากนี้ ควรต้องพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อรองรับภาระค่าใช้จ่ายของศูนย์ทดลองหรือทดสอบอุปกรณ์โทรคมนาคม ที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย อาทิ ค่าใช้จ่ายในการ Certify ความเป็นมาตรฐานของเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบทุกๆ 2-3 ปี รวมทั้งในระยะยาว อาจต้องพิจารณาให้ศูนย์ดังกล่าวมีรายได้เป็นของตนเองเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองต่อไปได้
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.จัดส่ง TOR ข้อกำหนดการจัดหาห้องปิดกั้นคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบกึ่งไร้คลื่นสะท้อนระยะทดสอบ 10 เมตร และเครื่องมือทดสอบการแพร่กระจายสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Specifications for 10m Test Site Semi – Anechoic Chamber and EMI Test Equipment) ให้ กทช. ทุกท่านพิจารณาในรายละเอียด หาก กทช. ท่านใดมีความเห็นเพิ่มเติมให้รวบรวมนำเสนอต่อไปในคราวเดียวกัน

ระเบียบวาระที่   4.14  :   ขอส่งรายชื่อคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ชุดใหม่ : กทช.   สุธรรมฯ

มติที่ประชุม                 รับทราบรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ กทช.เสนอแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ชุดใหม่ ดังนี้
1.  พลเอกชูชาติ  สุขสงวน
2.  นายธวัช  คงเดชา
3.  นายบดินทร์  เยี่ยมสมบัติ
4.  ดร.ประยงค์  เนตรยารักษ์
5.  นางสาวลานนา คำนวล
 
ระเบียบวาระที่   4.20   :   แนวทางการดำเนินคดีปกครองในคดีหมายเลขดำที่  788/2553   คดีระหว่างบริษัท ทรู มูฟ จำกัด (ผู้ฟ้องคดี)  กับ ลทช. (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และ กทช. (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒)  (บริษัท ทรู มูฟ จำกัด ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่ง กทช.  และ  ลทช.  รวมถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ กทช. เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว : รทช.ฐากรฯ, กม.

มติที่ประชุม              
1.  รับทราบประเด็นแห่งการฟ้องคดีต่อศาลปกครองของ บจ.ทรู มูฟ กรณี กทช.กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจารณาข้อร้องเรียนของ   น.ส.สกาวรัช  บัวเอี่ยม    ในคดีหมายเลขดำที่ 788/2553 ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
2.  มอบอำนาจให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินคดีแทน เนื่องจาก เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการดำเนินกระบวนการทางศาล
3.  มอบอำนาจให้ กทช.สุธรรมฯ เป็นผู้รับผิดชอบคดีแทน กทช. ในการดำเนินการทางศาลตามกระบวนการ และขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด โดยมีสำนักกฎหมาย เป็นผู้จัดเตรียมเอกสารและประสานงาน
4.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รวบรวมข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำคำให้การของ กทช.ต่อไปตามแนวทางการดำเนินคดีที่สำนักงาน กทช.เสนอ 
5. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อสังเกตของที่ประชุมเพื่อศึกษาติดตามรายละเอียดผลของคดีที่นางสาวสกาวรัชฯ ยื่นฟ้อง  บริษัท ทรู มูฟ  จำกัด ต่อศาลแพ่ง อย่างใกล้ชิด และพิจารณาใช้ประกอบการจัดทำคำให้การได้ โดยเฉพาะการติดตามรายละเอียดในประเด็นที่กล่าวไว้ในคำฟ้องของ บจ. ทรู มูฟ ว่า ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาจนเป็นที่น่าพอใจของนางสาวสกาวรัชฯ จนศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งนี้ ให้รายงาน กทช.ทราบ ผลการติดตามตรวจสอบรายละเอียดในคดีที่ศาลแพ่งดังกล่าวต่อไปด้วย

ระเบียบวาระที่   4.21   :   การโต้แย้งคัดค้านการทำสัญญาใช้โครงข่ายโทรคมนาคมระหว่าง บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) : รทช.ฐากรฯ, กม.

มติที่ประชุม                ที่ประชุมพิจารณาวินิจฉัยแล้ว เห็นชอบตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองว่า ตามมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกอบข้อ 126 แห่งประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ได้กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาให้เป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือองค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์กำหนดหน้าที่ให้ครอบคลุมถึงผู้มีสิทธิครอบครองด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด ในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองโครงข่ายจึงมีอำนาจและหน้าที่ให้ผู้รับใบอนุญาตรายอื่นใช้โครงข่ายของตนเองตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และตามประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 เมื่อ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ดำเนินการทำสัญญาใช้โครงข่ายโทรคมนาคมตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดและ กทช. ได้ให้ความเห็นชอบการจัดทำสัญญาใช้โครงข่ายดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 แล้วนั้น สัญญาใช้โครงข่ายโทรคมนาคมระหว่าง บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม อ้างว่าตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโครงข่ายโทรคมนาคม และยังมิได้ยินยอมให้ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด นำโครงข่ายไปให้ผู้อื่นใช้งาน จึงหาได้เป็นประเด็นอันเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาถึงความสมบูรณ์ของสัญญาใช้โครงข่ายโทรคมนาคมอันจะเป็นเหตุให้ กทช. มีอำนาจสั่งให้ระงับสัญญาใช้โครงข่ายโทรคมนาคมได้
   
ระเบียบวาระที่   4.22  :  การมอบอำนาจผู้อำนวยการสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมให้ปฏิบัติการแทนเลขาธิการ กทช. : รทช.ฐากรฯ, บค.

มติที่ประชุม                อนุมัติการมอบอำนาจให้นายเฉลิมชัย  ก๊กเกียรติกุล ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ปฏิบัติการแทนเลขาธิการ กทช. ในกิจการของสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามข้อ 4 ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการมอบอำนาจของเลขาธิการ กทช.ให้ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนในสถาบันเฉพาะทาง พ.ศ.2550

ระเบียบวาระที่  4.23  :  ข้อมูลของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ : รทช.ฐากรฯ, ปต. 

มติที่ประชุม                รับทราบข้อมูลของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่ กทช. (ชุดเดิม) แต่งตั้ง (ณ วันที่ 30 เมษายน 2553) จำนวน 14 คณะ และคณะกรรมการที่กฎหมายกำหนดให้ กทช. แต่งตั้ง จำนวน 12 คณะ ตามที่สำนักงาน เสนอ โดยมอบหมายให้ ประธาน กทช. เป็นผู้รับเรื่องนี้ไปเพื่อพิจารณานำเสนอในการประชุมปรึกษาหารือภายใน (INNER) ต่อไปถึงการทบทวนความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยน แต่งตั้งใหม่ หรือยกเลิกคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการทั้งหมดดังกล่าว ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ของ กทช. และความจำเป็นของสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

ระเบียบวาระที่  4.24  :  การตรวจสอบประเมินผลสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ : รทช.ฐากรฯ, ปต.

มติที่ประชุม                เห็นชอบให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อยืนยันคำชี้แจงเดิมและแจ้งให้ทราบว่า เรื่องนี้เป็นกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) รายงานนายกรัฐมนตรี ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ ให้นำเสนอ กทช.สุธรรมฯ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความถูกต้องของถ้อยคำทางกฎหมายอีกครั้งหนึ่งเพื่อความรอบคอบก่อนจัดส่งต่อไป 
 
ระเบียบวาระที่  4.28  :  ขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมประเภทเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ (Jammer) : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.

มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขใช้เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ (Jammer) เฉพาะพื้นที่ควบคุมเพื่อใช้ในหน่วยงานในสังกัดจำนวน ๗ หน่วยงาน เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของทางราชการ ทั้งนี้โดยกำหนดเงื่อนไข ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ดังนี้ 
1.1 ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมประเภทเครื่องตัดสัญญาณคลื่นโทรศัพท์มือถือ (Jammer) โดยให้การแพร่กระจายคลื่นวิทยุครอบคลุมเฉพาะพื้นที่การใช้เท่านั้น หากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเกิดผลกระทบกับสิทธิเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หน่วยงานดังกล่าวจะต้องแก้ไขการรบกวนที่เกิดขึ้นและระงับการใช้งานทันที
1.2 เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว จะต้องเป็นเครื่องที่ผ่านการตรวจยืนยันคุณสมบัติ หรือลักษณะทางเทคนิคจากสำนักงาน กทช.
1.3 ขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุข ได้กำชับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานระมัดระวังในการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าวให้อยู่ภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
1.4 จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กทช.กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด หากตรวจสอบพบในภายหลังว่ามีการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคม ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขจะไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ประเภทเครื่องตัดสัญญาณคลื่นโทรศัพท์มือถือ (Jammer) ดังกล่าวอีกต่อไป 
2.  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการต่อไป เพื่อให้กระบวนการทำงานมีความรวดเร็ว และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้
2.1  หากตรวจสอบเอกสารที่หน่วยงานยื่นขออนุญาตมาพบว่า เอกสารในส่วนที่เป็นสาระสำคัญยังไม่ครบถ้วน ให้รีบแจ้งประสานงานเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนโดยให้จัดส่งสำนักงาน กทช.ภายใน  7 วัน แต่หากยังไม่ได้รับเอกสารดังกล่าวตามระยะเวลาที่กำหนด ให้สำนักงาน กทช.ส่งเรื่องกลับคืนไป
2.2  ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังอยู่นั้น สำนักงาน กทช.จะต้องให้ความสำคัญเป็นกรณีเร่งด่วน โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น

ระเบียบวาระที่  4.29  :  ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุเพื่อแก้ไขปัญหาคลื่นวิทยุสื่อสารการเดินอากาศถูกรบกวน : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.

มติที่ประชุม                
1.  อนุมัติให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ จำนวน 15 ความถี่  ได้แก่  118.400   118.750  119.250   119.450  119.650  121.100  121.450  122.000  122.450  122.750  124.100  125.400  125.600  133.000  และ 133.200 MHz  ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 8 KHz ในกิจการเคลื่อนที่ทางการบิน (Aeronautical Mobile Service) ในการแก้ไขปัญหาคลื่นวิทยุสื่อสารการเดินอากาศถูกรบกวน เป็นการชั่วคราว ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี ตามเงื่อนไขที่สำนักงาน กทช.เสนอ และให้ สำนักงาน กทช.มีการประสานติดตามให้ บวท.ต้องรายงานการปฏิบัติงานด้านวิทยุสื่อสารการเดินอากาศที่ได้รับอนุญาตถึงเรื่องการถูกรบกวนทุก 3 เดือน เพื่อรับทราบข้อมูลสถานะการใช้งานความถี่วิทยุ รวมทั้งวิเคราะห์สถานะการรบกวน นอกจากนี้ ให้สำนักงาน กทช. วิเคราะห์การใช้งานคลื่นความถี่วิทยุของ บวท.ว่าสอดคล้องกับจำนวนความถี่ที่ได้รับอนุญาตมากน้อยเพียงใด
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. (ฉก.และ กส.) ร่วมมือกับบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด พิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการอย่างเข้มข้นในการตรวจสอบทางด้านเทคนิค เพื่อค้นหาสถานีวิทยุชุมชนหรือสถานีที่เป็นต้นเหตุในการแพร่กระจายคลื่นรบกวนระบบสื่อสารทางการบินของประเทศ แล้วดำเนินมาตรการตามขั้นตอนของกฎหมายให้หยุดการรบกวนโดยเข้มงวดต่อไป
 
ระเบียบวาระที่   4.30  :  การตรวจและรับมอบงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) : คณะกรรมการตรวจและรับมอบงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่ฯ

มติที่ประชุม                
1.  รับทราบข้อชี้แจงของคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานจ้างฯต่อข้อกล่าวอ้าง / ข้อเสนอของ บริษัท NERA และแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานจ้างฯ สำหรับโครงการประมูลคลื่นความถี่ สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) และโครงการด้านเศรษฐกิจและแนวทางการกำกับดูแล สำหรับโครงการประมูลคลื่นความถี่ สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ กทช.สุรนันท์ฯ เป็นผู้กำกับดูแลการตรวจและรับมอบงานของที่ปรึกษาบริษัท NERA ในครั้งนี้ด้วย
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการตามแนวทางการดำเนินการที่คณะกรรมการตรวจและรับมอบงานจ้างฯ เสนอ โดยรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพื่อพิจารณาดำเนินการให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้น ดังนี้
2.1 ให้สำนักงาน กทช.พิจารณาความเหมาะสมในการปรับปรุงขอบเขตของงาน และงวดการเบิกจ่ายเงินให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การอนุญาต และกฎการประมูลที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
2.2 โครงการด้านเศรษฐกิจ และแนวทางการกำกับดูแล ในส่วนที่ได้ตรวจรับแล้ว ให้ดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว สำหรับในส่วนที่ยังค้างอยู่ ให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งบริษัท NERA ให้เร่งปรับแก้ไขรายงานฉบับสมบูรณ์ตามความเห็นคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานจ้างฯ แล้วเสนอคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานจ้างฯ พิจารณาตรวจรับ ก่อนเบิกจ่ายค่าจ้างในส่วนที่เหลือต่อไป อันถือเป็นการสิ้นสุดการว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินโครงการด้านเศรษฐกิจฯ ดังกล่าวตามสัญญา

ระเบียบวาระที่  4.32  :  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประจำปี 2552 ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติที่ประชุม                  เห็นชอบจำนวนเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ซึ่ง บมจ.กสท โทรคมนาคม จะต้องชำระประจำปี 2552 ที่เพิ่มขึ้น จำนวน 3,585,969.33 บาท (ไม่รวม VAT) หรือจำนวน 3,836,987.18 บาท (รวม VAT) โดยใช้หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคิดค่าธรรมเนียมฯ ประจำปี 2549 ตามที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ

ระเบียบวาระที่   4.45  :  การพิจารณาจัดสรรหมายเลข ๑๙๑ สำหรับใช้รับแจ้งเหตุฉุกเฉินให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  : รทช.ประเสริฐฯ, กบ.  
  
มติที่ประชุม                
1.  อนุมัติจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ๓ หลัก ให้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข ๑๙๑ เพื่อใช้รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน  โดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอ และค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษรายเดือน ตามข้อ 79 และ 82 (3) ของประกาศ กทช. เรื่อง  หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 สำหรับค่าเช่าใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติประสานไปยังผู้ให้บริการเพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวต่อไป ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ  
2.  รับทราบความเห็นเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ. ....  ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในประเด็นอำนาจหน้าที่ของ กทช. ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 

ระเบียบวาระที่   4.46  :  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันการใช้งานเลขหมายฯ พิเศษที่ได้รับจาก บมจ.ทีโอที (Re-assign)  : รทช.ประเสริฐฯ, กบ.  
  
มติที่ประชุม                 อนุมัติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษที่ กทช. รับคืนจาก บมจ.ทีโอที (เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551) จำนวน 20 เลขหมาย ต่อไปเป็นการชั่วคราว โดยให้จัดทำรายละเอียดการใช้งานเลขหมายโทรคมนาคม  ตามประกาศ กทช. เรื่อง แผนเลขหมายโทรคมนาคม ตามความเห็นของคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ทั้งนี้ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอและค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษให้แก่เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษที่ สตช.ใช้งาน ดังกล่าว ตามข้อ 82 (2) และ (3) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรร และบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551

ระเบียบวาระที่   4.47  :  บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ขออนุญาตใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 3 หลัก หมายเลข 004 ตามด้วย 00 เป็นรหัสเข้าถึงบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ : รทช.ประเสริฐฯ, กบ.
    
มติที่ประชุม                 อนุมัติให้ บจ.ดีแทค เนทเวอร์ค ใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 3 หลัก หมายเลข 004 ตามด้วย 00 เป็นรหัสเข้าถึงบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศตามความเห็นของคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ให้บริษัทฯ ดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 โดยเคร่งครัดต่อไป

ระเบียบวาระที่  4.48  :  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ขอให้ กทช. กำหนดมาตรการเฉพาะตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 : รทช.ประเสริฐฯ, กท.
    
มติที่ประชุม                ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ขณะนี้สำนักงาน กทช. อยู่ระหว่างขั้นตอนการนำประกาศหลักเกณฑ์การเลือกผู้ให้บริการ (Carrier Selection) เผยแพร่ใน Website ของสำนักงาน กทช. ซึ่งหากจะกำหนดมาตรการเฉพาะตามข้อ 10 ประกอบข้อ 16 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 เป็นการชั่วคราว นั้น จึง เห็นควรรอให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวประกาศใช้โดยเรียบร้อยก่อน ทั้งนี้ มอบหมายให้ สำนักงาน กทช. เร่งประมวลสรุปความเห็นจากการเผยแพร่ประกาศหลักเกณฑ์การเลือกผู้ให้บริการ (Carrier Selection) ใน Website เพื่อนำเสนอ กทช. พิจารณาโดยเร็วต่อไป

ระเบียบวาระที่  4.49  :  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ขอให้ กทช. กำหนดมาตรการเฉพาะตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 (รายงานผลการดำเนินการตามคำสั่ง กทช.) : รทช.ประเสริฐฯ, กท.

มติที่ประชุม             ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ขณะนี้สำนักงาน กทช. อยู่ระหว่างขั้นตอนการนำประกาศหลักเกณฑ์การเลือกผู้ให้บริการ (Carrier Selection) เผยแพร่ใน Website ของสำนักงาน กทช. ซึ่งหากจะกำหนดมาตรการเฉพาะตามข้อ 10 ประกอบข้อ 16 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 เป็นการชั่วคราว นั้น จึง เห็นควรรอให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวประกาศใช้โดยเรียบร้อยก่อน ทั้งนี้ มอบหมายให้ สำนักงาน กทช. เร่งประมวลสรุปความเห็นจากการเผยแพร่ประกาศหลักเกณฑ์การเลือกผู้ให้บริการ (Carrier Selection) ใน Website เพื่อนำเสนอ กทช. พิจารณาโดยเร็วต่อไป

ระเบียบวาระที่  4.50  :  การเปรียบเทียบปรับสถานีวิทยุชุมชน ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 : รทช.ประเสริฐฯ, กท.
    
มติที่ประชุม                ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ปัจจุบันได้มีประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) รวมทั้งกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งกระจายเสียง ซึ่งมีผลทำให้สถานีวิทยุชุมชนที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถที่จะประกอบกิจการกระจายเสียงบริการชุมชนได้โดยชอบด้ว2498 ไม่ควรกำหนดให้ดำเนินคดีทางศาลเท่านั้น แต่ควรให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาที่ยอมสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริงสามารถแจ้งความประสงค์ขอระงับคดีโดยการเปรียบเทียบปรับได้ ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ที่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตสามารถดำเนินการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ได้ ที่ประชุมจึงมีมติให้ยกเลิกมติ กทช.เดิมครั้งที่ 33/2551 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 ในส่วนการเปรียบเทียบปรับสถานีวิทยุชุมชนที่กระทำความผิดภายหลัง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ที่กำหนดให้ดำเนินคดีทางศาลเท่านั้น โดยให้สามารถเปรียบเทียบปรับได้ ทั้งนี้ การพิจารณาจะขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งความร้ายแรงในการกระทำความผิดเป็นรายกรณีๆ ไป  
  
ระเบียบวาระที่  4.51  :  การไต่สวนข้อเท็จจริงกรณี เรื่อง การกำหนดราคาขายบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่เป็นธรรม : รทช.ประเสริฐฯ, กท.

มติที่ประชุม                  มอบหมายให้ กทช.พนาฯ เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณี เรื่อง การกำหนดราคาขายบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่เป็นธรรมตามแนวทางที่ กทช.มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช.พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช.ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553

ระเบียบวาระที่  4.52  :  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ รายงานปัญหาและผลกระทบในการให้บริการและขอให้กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ : รทช.ประเสริฐฯ, กท.

มติที่ประชุม                มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่อง บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ รายงานปัญหาและผลกระทบในการให้บริการและขอให้กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ ตามแนวทางที่ กทช.มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช.พิจารณาเรื่องแล้วตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553

ระเบียบวาระที่  4.53  :  โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม (มาตรา 61) : รทช.ประเสริฐฯ, กท., บค.

มติที่ประชุม              ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม (มาตรา 61) ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอมา นั้น ยังมีขอบเขตของเนื้อหาการอบรมที่จำกัด สมควรพิจารณาปรับปรุงขยายหลักสูตรให้ครอบคลุมการอบรมกระบวนการกำกับดูแล และการบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement) ตามประกาศ กทช. ในเรื่องต่างๆ ด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ กทช. อย่างชัดเจน  สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โดยอาจพิจารณากำหนดเป็นหลักสูตรการอบรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแยกเป็นหลักสูตรย่อย ( Module ที่ 1, 2, 3...) แต่ละด้าน ดังนั้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปพิจารณาดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแล การประกอบกิจการโทรคมนาคม (มาตรา 61) ตามข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของที่ประชุมดังกล่าวข้างต้น แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

ระเบียบวาระที่  4.54  :  ชี้แจงความคืบหน้าในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการใช้สิทธิแห่งทาง  บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) : รทช.พิทยาพลฯ, พต.
   
มติที่ประชุม                มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่อง ชี้แจงความคืบหน้าในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการใช้สิทธิแห่งทาง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ตามแนวทางที่ กทช. มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช.พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช.ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553

ระเบียบวาระที่  4.55  :  แจ้งผลการพิจารณาการขอความเห็นชอบในการใช้สิทธิตามมาตรา 39 วรรคแรก ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม : รทช.พิทยาพลฯ, พต.

มติที่ประชุม                  มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องแจ้งผลการพิจารณาการขอความเห็นชอบในการใช้สิทธิตามมาตรา 39 วรรคแรก ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ตามแนวทางที่ กทช.มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช.พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช.ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553

ระเบียบวาระที่  4.56  :  ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประชุมประธานกรรมการ และกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 – 2553) : รทช.พิทยาพลฯ, พต.

มติที่ประชุม                 อนุมัติเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประชุมประธานกรรมการ และกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2553) ทั้งนี้ โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2553 ค่าใช้จ่ายในการจัดการและบริหารองค์กรของสำนักพัฒนานโยบายและกฎกติกา ดังนี้
1.  กรณีประธานกรรมการฯ (นายดิเรก  เจริญผล) ให้ได้รับเบี้ยประชุมตามข้อ 18 (ข) และข้อ 20 ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2.  กรณีกรรมการฯ (นายกิตติน อุดมเกียรติ) ) ให้ได้รับเบี้ยประชุมตามข้อ 18 (ข) และข้อ 23 (เนื่องจาก ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาประธาน กทช.) ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
 
ระเบียบวาระที่  4.57  :  การจ้างที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการจัดทำรายงานบัญชีแยกประเภทบริการ (Accounting Separation) ของผู้ประกอบการ : รทช.พิทยาพลฯ, ศฐ.

มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบให้มีการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการ  Account Separation ของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม     
2.  เห็นชอบขอบเขตการจ้างที่ปรึกษา (Terms of Reference : TOR) ตามที่ สำนักงาน กทช. เสนอ
3.  เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณการจ้างที่ปรึกษาตลอดอายุโครงการจำนวน 40 ล้านบาท โดยปรับปรุงภาระผูกพันงบประมาณประจำปี 2553 – 2555 ดังนี้
3.1  งบประมาณปี 2553   จำนวน 6   ล้านบาท 
3.2  ผูกพันงบประมาณปี 2554  จำนวน 20 ล้านบาท 
3.3  ผูกพันงบประมาณปี 2555  จำนวน 14  ล้านบาท

ระเบียบวาระที่  4.58  :  โครงการภายใต้ข้อตกลงขอความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ : รทช. พิทยาพลฯ , กจ.

หมายเหตุ                  ที่ประชุมเห็นควรพิจารณาเรื่องนี้เมื่อที่ประชุม กทช. ครบ 7 ท่าน
 
ระเบียบวาระที่  4.59  :  การแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานกรณีการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : รทช.พิทยาพลฯ
 
มติที่ประชุม                 มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานกรณีการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตามแนวทางที่ กทช.มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช.พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช.ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553
  
ระเบียบวาระที่   4.60  :  ผลการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อร้องเรียนของนายสุรศักดิ์   วิภาบุษบากร กรณี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมใกล้บริเวณที่พักอาศัยโดยไม่ได้ดำเนินการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม : รทช.พิทยาพลฯ
   
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบผลการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อร้องเรียนของนายสุรศักดิ์  วิภาบุษบากร กรณี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมใกล้บริเวณที่พักอาศัยโดยไม่ได้ดำเนินการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการ ต่อไป ดังนี้
2.1  จัดทำคำชี้แจงการดำเนินงานในเรื่องนี้เพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบ/ประกาศแล้ว หรือไม่ อย่างไร แต่เป็นเพราะความไม่ชัดเจนของขั้นตอนในทางปฏิบัติ จึงทำให้เกิดปัญหาตามมา
2.2  ปรับปรุงกระบวนการทำงานระหว่าง สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และ สำนักการอนุญาตเฉพาะกิจ โดยทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวต้องทำงานให้ประสานสอดคล้องกันอย่างใกล้ชิดนับจากนี้ไป (Synchronize) เพื่อมิให้เกิดประเด็นปัญหาเช่นเดียวกันนี้ตามมาอีก ทั้งนี้ โดยสมควรจัดทำเป็นแนวปฏิบัติ และกำหนดมาตรฐานการทำความเข้าใจกับประชาชนให้ชัดเจน และเร่งรัดกระบวนการพิจารณาให้เร็วยิ่งขึ้นด้วย
2.3  เห็นชอบให้กำหนดเรื่อง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมที่มีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นเงื่อนไขในการยื่นขอใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.ถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป

ระเบียบวาระที่  4.61  :  ข้อร้องเรียนของนายสุพจน์  แสงสว่าง และนายบุญรอด  เรือนมา  กรณีบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมใกล้บริเวณที่พักอาศัยโดยไม่ได้ดำเนินการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม : สบท.
  
มติที่ประชุม                เนื่องจากเป็นข้อร้องเรียนกรณีเดียวกับเรื่องในวาระที่ 4.60 จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมตามมติในวาระที่ 4.60 ในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับเรื่องนี้ต่อไป โดยประสานการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสำนักการอนุญาตเฉพาะกิจ กับสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้การดำเนินการอนุญาตติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเป็นไปอย่างถูกต้องตามขั้นตอนของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ทั้งนี้ โดยสมควรจัดทำเป็นแนวปฏิบัติและกำหนดมาตรฐานการทำความเข้าใจกับประชาชนให้ชัดเจนด้วย

หมายเหตุ                    ที่ประชุมพิจารณาวาระที่ 4.61 พร้อมกับวาระที่ 4.60

ระเบียบวาระที่  4.62  :  การขออนุมัติจ้างผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อสอบทานงบการเงินเบื้องต้นของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมประจำปี 2553 : สบท.
    
มติที่ประชุม                  เห็นชอบแต่งตั้งบริษัท นิลสุวรรณ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงาน กทช. เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีเบื้องต้น เพื่อสอบทานงบการเงินของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ประจำปี 2553 ทั้งนี้ ตามข้อ 33 วรรคสอง ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2550

ระเบียบวาระที่  4.63  :  ความเห็นคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เรื่อง กรณีรายการส่งเสริมการขาย iPhone 3G : คบท.
    
มติที่ประชุม               มอบหมายให้ กทช.พันเอกนทีฯ เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องความเห็นคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เรื่อง กรณีรายการส่งเสริมการขาย iPhone 3G ตามแนวทางที่ กทช.มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช.พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช.ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553

หมายเหตุ                ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือได้แก่ วาระที่ 4.2, 4.15 - 4.19, 4.25 – 4.27, 4.31, 4.33 - 4.44 และ 4.58 จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ครั้งต่อไป
 
ระเบียบวาระที่  5     :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1  :  การเดินทางเข้าร่วมการประชุม 18th ITS Biennial Conference 2010 “Culture, Communications and the Cutting Edge of Technology” ณ ประเทศญี่ปุ่น :กทช.พนาฯ


มติที่ประชุม                รับทราบการเดินทางเข้าร่วมการประชุม 18th  ITS  Biennial  Conference 2010 “Culture, Communications and the Cutting Edge of Technology” ของ กทช.พนาฯ และ น.ส.พัสนันท์  รัตนงาม ส่วนงาน กทช.พนาฯ ระหว่างวันที่ 27-30 มิถุนายน 2553 ณ ประเทศญี่ปุ่น ตามเอกสารที่ กทช.พนาฯ เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.2   :   การดำเนินการชำระเงินการจ้างที่ปรึกษาโครงการศึกษา เรื่องการแยกหน้าที่บริหารกับความเป็นเจ้าของกิจการ : กรณีศึกษากิจการในสหรัฐอเมริกา และข้อสังเกตจากกิจการโทรคมนาคม : รทช.   พิทยาพลฯ, กจ.

มติที่ประชุม                รับทราบการชำระเงินการจ้างที่ปรึกษา โครงการศึกษา เรื่องการแยกหน้าที่บริหารกับความเป็นเจ้าของกิจการ จำนวน 120,000 บาท ให้กับผู้วิจัย (นางสาวพัฒนาพร  โกวพัฒนกิจ) ทั้งนี้ ตามข้อ 32 ของระเบียบ กทช.  ว่าด้วยการรับการจ่ายและการเก็บรักษาเงิน พ.ศ.2548 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.3  :   บริษัท ทริปเปิลที โกลบอลเน็ท จำกัด ขอส่งคืนเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 102 :  รทช.ประเสริฐฯ, กบ.

มติที่ประชุม                 รับทราบการส่งคืนเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 3 หลัก หมายเลข 102  ของ บริษัท ทริปเปิลที โกลบอลเน็ท จำกัด ทั้งนี้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป ตามเอกสารที่ สำนักงาน กทช.เสนอ

ระเบียบวาระที่ 5.4 :  คำพิพากษาคดีปกครอง หมายเลขดำที่  1947/2550 ระหว่าง นายโอภาส  อรรณพพรชัย ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ผู้ถูกฟ้องคดี : รทช.ฐากรฯ, กม.

มติที่ประชุม                 รับทราบผลคำพิพากษาคดีปกครอง หมายเลขดำที่ 1947/2550 ระหว่าง นายโอภาส  อรรณพพรชัย ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ผู้ถูกฟ้องคดี เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  โดยขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ กทช.ดำเนินการระงับ เพิกถอนระเบียบ กทช.ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2550 และออกระเบียบ กทช.ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น ให้เป็นไปตามระเบียบ กทช.ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ พ.ศ.2548 ซึ่งศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2553 พิพากษายกฟ้อง ตามเอกสารที่ สำนักงาน กทช.เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.5  :  ศาลได้มีคำสั่งให้ยกคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ฟ้องคดี : รทช.ฐากรฯ, กม.

มติที่ประชุม                รับทราบผลคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ในคดีหมายเลขดำที่ 800/2553 ระหว่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น  ผู้ฟ้องคดี กับ กทช.ที่ 1 กับ เลขาธิการ กทช.ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี  เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่กำหนดอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นการชั่วคราว ระหว่างผู้ฟ้องคดี  กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น  ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2553  ให้ยกคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้ฟ้องคดี รายละเอียดตามเอกสารที่ สำนักงาน กทช.เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.6   :   รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 :  รทช.ฐากรฯ, กม.

มติที่ประชุม                รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต หรือมอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ลทช.) ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498  ประจำเดือนพฤษภาคม 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ
 
ระเบียบวาระที่  6     :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz : กทช.พันเอกนทีฯ, คณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond


มติที่ประชุม                รับทราบรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างประกาศ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ร่างและข้อสรุปสารสนเทศ ตามที่คณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ   3G and beyond ได้พิจารณาและมีความเห็นในประเด็นต่างๆ รวมทั้งได้แก้ไขปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์และข้อสรุปสารสนเทศให้สอดคล้องกับความเห็นที่พิจารณาเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ขอให้ กทช.แต่ละท่านพิจารณาร่างหลักเกณฑ์และร่างข้อสรุปสารสนเทศ  และแสดงความเห็นเพิ่มเติมเป็นเอกสาร (ถ้ามี) เพื่อพิจารณาในการประชุม กทช. นัดพิเศษ วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553

ระเบียบวาระที่  6.2  :  งบประมาณสนับสนุนทุนการศึกษาของ นางสาววรุณรัตน์ กิจภากรณ์ : รทช.ฐากรฯ, บค.

มติที่ประชุม               อนุมัติให้โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ จำนวน 2,102,280 บาท จาก งบประมาณเหลือจ่ายที่มีอยู่ จำนวน 2,500,000 บาท ที่ใช้สำหรับการสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโท ณ สถาบัน Graduate School of  Asia  –  Pacific Studies (GSAPS) แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น (ภาคการศึกษาที่ 2) ภายใต้โครงการพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร เพื่อภารกิจ สำนักงาน กทช. ประจำปี 2553  เนื่องจากไม่มีผู้สมัครเข้ารับทุนดังกล่าวไปใช้สนับสนุนทุนการศึกษาให้นางสาววรุณรัตน์  กิจภากรณ์ เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย University College London สหราชอาณาจักร  ซึ่งอยู่ภายในกรอบวงเงินงบประมาณที่เหลืออยู่ดังกล่าว ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
   
หมายเหตุ                   บค.ได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขอโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณให้นางสาววรุณรัตน์  กิจภากรณ์ ว่า เนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือไม่มีผู้สมัครเข้ารับทุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโท ณ สถาบัน Graduate School of  Asia  –  Pacific Studies (GSAPS) แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น (ภาคการศึกษาที่ 2) ภายใต้โครงการพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร เพื่อภารกิจสำนักงาน กทช. ประจำปี 2553  มิได้เกี่ยวข้องกับนายวรภัทร ภัทรธรรม แต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ กช.จึงมิได้ระบุเหตุผลที่สามารถโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณคงเหลือจากกรณีที่นายวรภัทรฯ ขอสละสิทธิ์การรับทุนเพื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยวาเซดะดังกล่าว ตามที่ที่ประชุมให้ระบุไว้

ระเบียบวาระที่  6.3  :   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) : กทช.พนาฯ

มติที่ประชุม                อนุมัติให้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 10 ราย (24 ใบอนุญาต) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ เสนอ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 7 (3)  ของ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ดังนี้
1.  บริษัท เมืองเพชรเคเบิลทีวี จำกัด  จำนวน 1 ใบอนุญาต
2.  บริษัท อ่างทองเคเบิลทีวี จำกัด     จำนวน 2 ใบอนุญาต
3.  บริษัท ชาลีเคเบิลจำกัด               จำนวน 1 ใบอนุญาต
4.  บริษัท ราไวย์  เคเบิ้ลทีวี จำกัด      จำนวน 2 ใบอนุญาต
5.  บริษัท สระบุรี เคเบิลทีวี จำกัด       จำนวน 4 ใบอนุญาต
6.  บริษัท สุชาติ เทเลคอม จำกัด        จำนวน 7 ใบอนุญาต
7.  บริษัท ไทยซิน แอดวานซ์ เทคโนโลยี่ จำกัด จำนวน 2 ใบอนุญาต
8.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ละงู เคเบิ้ลทีวี     จำนวน 1 ใบอนุญาต
9.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไซเบอร์สตาร์เคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต
10. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปราจีนบุรีเคเบิ้ล   จำนวน 3 ใบอนุญาต

ระเบียบวาระที่   6.4   :   การใช้มาตรการทางกฎหมายกับบริษัท  เวิลด์ สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด : กทช.พนาฯ

มติที่ประชุม                โดยที่กรณีการพักใช้เพิกถอนหรือยกเลิกการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุของบริษัท เวิลด์ สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด และกรณีการโอนคลื่นความถี่ให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้รับอนุญาตเข้าใช้แทน นั้น มิได้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 แต่เป็นประเด็นที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ดังนั้น จึงไม่อยู่ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์  ที่ประชุมจึงมติเห็นชอบให้คณะอนุกรรมการฯ ส่งเรื่องคืนให้สำนักงาน กทช. เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป แล้วรายงานให้ กทช.ทราบ ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ และตามที่ กทช.พนาฯ เสนอ

ระเบียบวาระที่   6.5   :  ขอรับรองผลการประชุม กทช. (INNER) เรื่อง โครงการจัดตั้งสถาบันบริหารนโยบายและกำกับดูแลกิจการธุรกิจและวิสาหกิจให้เป็นมติ กทช. : กทช.พนาฯ

มติที่ประชุม               เห็นชอบโครงการจัดตั้งสถาบันบริหารนโยบายและกำกับดูแลกิจการธุรกิจและวิสาหกิจ โดยมอบหมายให้ กทช.พนาฯ ร่วมกับ กทช.สุธรรมฯ และ กทช.สุรนันท์ฯ รับผิดชอบกำกับดูแลการดำเนินงานโครงการฯ ตามที่ กทช.พนาฯ เสนอที่ประชุม กทช.รับรองมติที่ประชุมปรึกษาหารือภายใน (INNER) ครั้งที่ 9/2553 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน 2553  ในเรื่องนี้ให้เป็นมติที่ประชุม กทช.

สร้างโดย  -   (15/3/2559 17:40:35)

Download

Page views: 654