สรุปมติที่ประชุม กทช. 38/2553

ระเบียบวาระการประชุม
    คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
  ครั้งที่ 38/2553
วันพุธที่  1  ธันวาคม  2553
     เวลา  09.30 น. 
  ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 

ผู้เข้าประชุม 
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์            ประพิณมงคลการ              ประธานกรรมการ
2.  นายสุชาติ                           สุชาติเวชภูมิ                     กรรมการ 
3.  รองศาสตราจารย์สุธรรม         อยู่ในธรรม                       กรรมการ
4.  นายสุรนันท์                         วงศ์วิทยกำจร                   กรรมการ
5.  พันเอก นที                          ศุกลรัตน์                         กรรมการ
6.  รองศาสตราจารย์พนา            ทองมีอาคม                      กรรมการ
7.  นายฐากร                            ตัณฑสิทธิ์                       รองเลขาธิการ กทช. รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.
 
ระเบียบวาระที่  1   :   เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ                                   
1.  เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคม 2553 ซึ่งในวันนี้สำนักงาน กทช.ได้จัดให้มีพิธีถวายพระพรไปแล้ว และวันที่ 7 ธันวาคม 2553 จะมีงานสโมสรสันนิบาตที่ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล หาก กทช.ท่านใดว่างก็ขอเชิญไปร่วมด้วย
2.  บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ มีหนังสือขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดสื่อโฆษณาเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งก็ได้อนุมัติไปแล้วจำนวนเงิน 990,000 บาท         
หมายเหตุ   กทช.ได้มีเรื่องแจ้งต่อที่ประชุม รวมทั้งได้มีการอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในระหว่างวาระนี้สรุปได้ดังนี้ 
3.  กทช.สุรนันท์ฯ ได้แจ้งว่า เมื่อวานนี้ (วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553) ได้ไปตรวจงานเรื่อง Clearing House เพื่อรองรับการบริการ MNP และได้มีโอกาสประชุมปรึกษาหารือกับผู้ให้บริการทั้ง 5 ราย  ได้ข้อสรุปว่าผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย  จะเริ่มให้บริการ MNP ในวันที่ 5 ธันวาคม 2553 ซึ่งจะเปิดในวงจำกัดเฉพาะในกรุงเทพมหานครก่อน จะมี Outlet บริษัทละ 5 แห่ง เพื่อรับทำการนั้นๆ และจะขยายต่อเชื่อมไปจนครบทั้งประเทศ โดยจะเร่งให้เสร็จภายในเดือนมกราคม 2554   จากนั้น กทช.สุธรรมฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเพิ่มเติมว่า ไปศาลปกครองเรื่อง MNP เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะนี้รอการไต่สวน เข้าใจว่าเรื่องนี้ไม่ฉุกเฉิน เพราะศาลยังไม่มีคำวินิจฉัย ซึ่งบริษัทเอกชนทุกรายก็ขอ และยืนยันกับศาลว่าทำไม่ได้ ถ้าผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้ก็จะเป็น Good View ของสำนักงาน กทช. และในแง่ของกระบวนการทางปกครองในเรื่องดังกล่าวก็จะหยุดไปด้วย ทั้งนี้ กทช.สุรนันท์ฯได้กล่าวอีกว่าได้ขอให้ผู้ประกอบการประกาศผ่านสื่อ และให้มีหนังสือแจ้งให้ กทช.ทราบอย่างเป็นทางการด้วย
4.  นายฐากร ตัณฑสิทธิ์   รองเลขาธิการ  กทช. รักษาในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่าขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ อยู่ในระหว่างที่รัฐสภาส่งเรื่อง ให้เลขาธิการคณะ รัฐมนตรี  เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ  ซึ่งในวันนี้มีหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการและ  หน่วยงานต่างๆ  เกี่ยวกับ  ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับนี้  อาทิ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงคมนาคมฯลฯ ที่ได้ส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดย สำนักงาน  กทช.  จะได้รวบรวมเพื่อนำเสนอที่ประชุม  กทช. พิจารณาต่อไป
5.  กทช.พันเอก นทีฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ประธาน กทช.นัด กทช. ทุกท่านเพื่อหารือบทบาทหน้าที่ของ กทช. ภายหลัง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ ในการนี้ ประธาน กทช.ได้ขอนัดเป็นวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2553 โดยจัดเป็นการหารือของ กทช. นอกสถานที่พร้อมผู้ติดตาม สำหรับเรื่องสถานที่ควรจะเดินทางสะดวกและไม่ไกลนัก ซึ่งอาจจะเป็นที่บางแสน จังหวัดชลบุรี หรือจังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ขอให้สำนักงาน กทช.รับไปดำเนินการเตรียมการด้วย อนึ่ง  นายฐากรฯ รองเลขาธิการ กทช.รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.ได้เรียนชี้แจงเพิ่มเติมว่า สำนักงาน กทช.ได้เตรียมการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน  เพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่อง มาตรา 95  ที่กำหนดไว้ก็คือ ระเบียบ / ประกาศ ต่างๆ ที่ขัดกับ พระราชบัญญัตินี้จะเป็นอันตกไป ซึ่งก็มีหลายระเบียบต่างๆ ที่จะต้องมีการหารือกัน รวมทั้งเกี่ยวกับร่าง พ.ร.ฏ.เงินเดือน และ ค่าตอบแทนอื่น ของ กทช.  จะมีผลบังคับใช้ต่อไปหรือไม่ โดยสำนักงาน กทช.คาดว่าจะจัดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
6.  กทช.พนาฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าในระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2553 สำนักประชาสัมพันธ์จะได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ณ โรงแรมอิมพีเรียล เลควิว แอนด์ กอล์ฟคลับ  อ.หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยจะเชิญผู้อำนวยการสำนักฯ มาหารือ เรื่องการปรับปรุงองค์กรเพื่อรองรับภารกิจตามกฎหมายใหม่ จึงขอเชิญ กทช.ทุกท่าน
7.  นายฐากรฯ รองเลขาธิการ กทช.รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.ได้เรียนให้ที่ประชุมทราบเพิ่มเติมว่าในปี 2553 สำนักงาน กทช.กำหนดจัดงานกีฬาสีในระหว่างวันที่ 20-24 ธันวาคม 2553  และจะจัดให้มีพิธีปิดในวันที่ 24 ธันวาคม 2553 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.  รับทราบเรื่อง การเปิดให้บริการ MNP ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ รายงานให้ที่ประชุมทราบ
3.  รับทราบรายงานความคืบหน้าของร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ และ การเตรียมการเพื่อรองรับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ ตามที่ รองเลขาธิการ กทช. รักษาในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.รายงานให้ที่ประชุมทราบ
4.  เห็นชอบการนัดหารือของ กทช.นอกสถานที่พร้อมผู้ติดตามในวันที่ 14 ธันวาคม 2553 เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ กทช.ภายหลัง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่มีผลใช้บังคับโดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับไปพิจารณาดำเนินการให้เรียบร้อยต่อไป ทั้งนี้ ควรเลือกสถานที่ที่เดินทางสะดวก และไม่อยู่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก เช่น ที่บางแสน จังหวัดชลบุรี เป็นต้น       
5.  รับทราบการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ  (Workshop)   ระหว่างวันที่  11 -12 ธันวาคม 2553 ของสำนักประชาสัมพันธ์ ตามที่ กทช.พนาฯ เสนอ
6.  รับทราบกำหนดการจัดงานกีฬาสีประจำปี 2553 ของสำนักงาน กทช.ตามที่ รองเลขาธิการ กทช. รักษาในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.รายงานให้ที่ประชุมทราบ 
ระเบียบวาระที่   2   :  รับรองรายงานการประชุม กทช. ครั้งที่ 37/2553 วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน  2553
มติที่ประชุม  รับรองรายงานการประชุม กทช. ครั้งที่ 37/2553 วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน  2553   ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ โดยมีข้อแก้ไข ดังนี้
1.  ให้ปรับแก้ไขมติที่ประชุมในวาระที่ 4.75  เรื่อง การออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมในกิจการพาณิชย์ ใหม่ให้ถูกต้อง และเป็นไปตามที่ กทช.มีมติไว้แล้วตามที่ กทช.สุธรรมฯ ขอแก้ไข เป็นดังนี้
“ 1.  อนุมัติการออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมในกิจการพาณิชย์ให้แก่ผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอใบอนุญาต จำนวน 50 ราย รวม 146  ฉบับ ซึ่งเป็นไปตามแผนความถี่เดิมที่ได้มีการจัดสรรไว้อยู่ก่อนแล้ว มิใช่กรณีการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ โดยได้ผ่านการพิจารณาของกรรมการกลั่นกรองตามมติ กทช.แล้วตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
1.1 ใบอนุญาตให้ ค้า ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม           จำนวน 18 ฉบับ
1.2 ใบอนุญาตให้ ทำ ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม           จำนวน  5  ฉบับ
1.3 ใบอนุญาตให้ นำเข้า ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม       จำนวน 83 ฉบับ
1.4 ใบอนุญาตให้ นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม      จำนวน 40 ฉบับ
     ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ไปดำเนินการให้ถูกต้อง และครบถ้วนสมบูรณ์ในเรื่องข้อมูลโดยเร็วด้วย แล้วนำเสนอประธาน กทช.ลงนามในใบอนุญาต ต่อไป
2.  สำหรับการออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมให้แก่ผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอใบอนุญาตเพิ่มเติมอีกจำนวน 6,499 ฉบับ ปรากฏตามเอกสารที่แจกเพิ่มเติมในที่ประชุม นั้น ให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการตามกระบวนการกลั่นกรองที่ กทช. ได้มีมติไว้แล้วในการประชุม กทช.ครั้งที่ 33/2553 ที่มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ  กทช.พันเอก นทีฯ และ กทช.พนาฯ พิจารณากลั่นกรองคำขอรับใบอนุญาตและเรื่องที่จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณา ” 
หมายเหตุ                            
1)  มติที่ประชุมที่ได้ปรับแก้ไขใหม่ข้างต้น สำนักงาน กทช. ได้หารือ กทช.สุธรรมฯ ในเรื่องความถูกต้องและเหมาะสมของถ้อยคำแล้ว
2)  กทช.พนาฯ ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินการออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมในกิจการพาณิชย์ นั้น หากมองในเชิงธุรกิจแล้ว อาจยังมีประเด็นสำคัญและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ กทช. และสำนักงาน กทช. ยังพิจารณาเองได้ไม่ครอบคลุม หรือรอบคอบ จึงควรที่สำนักงาน กทช.จะจัดให้มีการประชุมสัมมนาร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำข้อมูลที่ได้ประกอบการพิจารณากำหนดแนวทาง/วิธีการที่เหมาะสมเพื่อรองรับการดำเนินการออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมในกิจการพาณิชย์ โดยเฉพาะกรณีการนำเข้าเครื่องวิทยุและอุปกรณ์โทรคมนาคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
2.  ให้ปรับแก้ไขมติที่ประชุมในวาระที่ 6.9  เรื่อง กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ ค่ายนิมมาณกลยุทธ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ใหม่ตามที่ กทช.พันเอกนทีฯ ขอแก้ไข เป็นดังนี้
      “ อนุมัติให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา ตามที่ขอรับการสนับสนุน โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องอินเทอร์เน็ตของ USO ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักการบริการอย่างทั่วถึงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป ตามที่ กทช.พันเอก นทีฯ เสนอ ” 
หมายเหตุ  มติที่ประชุมที่ได้ปรับแก้ไขใหม่ข้างต้น สำนักงาน กทช. ได้หารือ กทช. พันเอก นทีฯ ในเรื่องความถูกต้องและเหมาะสมของถ้อยคำแล้ว 
ระเบียบวาระที่   3   :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช.  ครั้งที่ 37/2553 วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน  2553 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช.  ครั้งที่ 37/2553 วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน  2553 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   4   :   เรื่องเพื่อพิจารณา
มติที่ประชุม   เนื่องจากในระเบียบวาระที่ 4 นี้ มีเรื่องบรรจุไว้เพื่อเสนอที่ประชุมพิจารณาเป็นจำนวนมาก  ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาจากกรรมการกลั่นกรองตามขั้นตอนแล้ว ดังนั้น เพื่อให้สำนักงาน กทช. สามารถดำเนินการในเรื่องต่างๆตามที่เสนอไว้ได้โดยรวดเร็วต่อไป ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบและมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการตามแนวทางดังต่อไปนี้ และให้ถือเป็นมติ กทช.
1.  เรื่องเพื่อพิจารณาตามวาระที่ 4 เรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการกลั่นกรองแล้ว มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองต่อไป
2.  เรื่องเพื่อพิจารณาตามวาระที่ 4 เรื่องใดที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาของกรรมการกลั่นกรอง ให้สำนักงาน กทช. เสนอให้กรรมการกลั่นกรองพิจารณาให้ความเห็นก่อน แล้วจึงนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณา 
ระเบียบวาระที่  4.1   :   การดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช.ระเบียบวาระการประชุม กทช. ครั้งที่ 27/2553 (การขอทบทวนมติที่ประชุม กทช.เรื่องการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด  (มหาชน)  ถือครองหุ้นในบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด) : กทช.สุธรรมฯ , รทช.ประเสริฐฯ , กท. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่องการดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช.ระเบียบวาระการประชุม กทช. ครั้งที่ 27/2553 (การขอทบทวนมติที่ประชุม กทช.เรื่องการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันของบริษัท  แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ถือครองหุ้นในบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด)  ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเป็นดังนี้
1.  มติที่ประชุม กทช. ให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือแจ้ง กทช. เพื่อขออนุญาตถือครอง บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด นั้น ถือเป็นการออกคำสั่งตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ในข้อ 8 แห่งประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 เท่านั้น หาได้มีคำสั่งในเนื้อหาแห่งคดีแต่อย่างใดไม่ กทช.เพียงมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายระบุ และยังมีหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในลำดับต่อไป  ดังนั้น การที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) อ้างถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่บริษัทฯ ตลอดจนโทษทางอาญานั้นจึงฟังไม่ขึ้นในลำดับนี้
2.  ในประเด็นที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) อ้างว่าประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลังนั้น เห็นว่ากฎหมายดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดการกระทำหรือพฤติกรรมต้องห้ามเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมไทย ดังนั้น เมื่อประกาศฯ ฉบับดังกล่าวมีผลบังค้บใช้ ผู้รับใบอนุญาตที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของ กทช. ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามหรือแก้ไขให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด  โดยเมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าการถือครองหุ้นของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) นั้น มีลักษณะเข้าข่ายการถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น และการบริหารธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น ซึ่งข้อ 8 ของประกาศดังกล่าวกำหนดว่า เป็นการกระทำหรือพฤติกรรมที่จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กทช.  บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด มิได้มีผลเป็นการสั่งการให้ปฏิบัติย้อนหลังแต่อย่างใด
ดังนั้น เมื่อคำสั่งดังกล่าวออกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงให้คงคำสั่งตามมติที่ประชุม กทช.ไว้ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.2  :   บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ขอให้ทบทวนหลักเกณฑ์การให้บริการขายส่งและขายต่อบริการ (วาระ 4.25 ครั้งที่ 31/2553):  กทช.สุธรรมฯ , กทช.สุรนันท์ฯ , กทช.พนาฯ , กทช.พันเอก นทีฯ ,
รทช.ประเสริฐฯ ,ปก.
 
มติที่ประชุม                
1.  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ขอให้ทบทวนหลักเกณฑ์การให้บริการขายส่งและขายต่อบริการ ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ , กทช.สุรนันท์ฯ , กทช.พนาฯ , กทช.พันเอก นทีฯ )   และตามผลการวิเคราะห์เพิ่มเติมต่อ ข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆของกรรมการกลั่นกรองที่ให้ไว้  พร้อมความเห็นของสำนักงาน กทช. ที่เสนอ สรุปได้ว่า ในชั้นนี้ ยังไม่เห็นควรพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์ตามประกาศ กทช. เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการ และบริการขายต่อบริการ หากแต่ต้องพิจารณาดำเนินการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญตามที่ กทช.ได้มีคำสั่งที่ 32/2553 เรื่อง ระบุผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญจะต้องปฏิบัติตามมาตรการเฉพาะที่ กทช.กำหนด โดยเฉพาะข้อ 2 (4) ที่กำหนดให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญที่มีโครงข่ายโทรคมนาคม มีหน้าที่ต้องเปิดให้ใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายและจัดให้มีบริการโครงข่ายสายแบบแยกส่วนแก่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ประกอบการรายอื่น ทั้งนี้ โดยให้ผู้รับใบอนุญาต IPLC ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองที่ถูกระบุว่าเป็น SMP ตามคำสั่ง กทช.ที่ 32/2553 ซึ่งหมายถึง บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่เป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ในตลาดค้าปลีกบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ บริการเกตเวย์โทรศัพท์ระหว่างประเทศ และบริการเกตเวย์อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ ต้องแจ้งเป็นผู้ประกอบกิจการขายส่งบริการ IPLC ด้วย
2.  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.ไปศึกษา และตรวจสอบผู้รับใบอนุญาตรายอื่น โดยหากระบุได้ว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญแล้ว จะต้องถูกกำหนดให้มีหน้าที่เป็นผู้ให้บริการขายส่ง IPLC ด้วยเช่นกัน ตามความเห็นที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
หมายเหตุ  ในการจัดทำมติของวาระนี้ ได้หารือ กทช.สุธรรมฯ เพิ่มเติมเพื่อความถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย 
ระเบียบวาระที่ 4.4   :   การพิจารณางบประมาณเพื่อการสนับสนุนสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 4 รายการ  การใช้จ่ายงบประมาณฯ  :  กทช.บัณฑูรฯ ,  คณะ กรรมการพิจารณางบประมาณและติดตาม , สำนักงานกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ
  • โครงการสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิน้ำเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
  • โครงการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับระบบสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • โครงการจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของโรงเรียนไตรรัตนวิทยาคม จังหวัดกาฬสินธุ์
  • โครงการ Institution Capacity Building on ICT Policies in Thailand                                       
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยงานต่างๆ จำนวน ๔ รายการ ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณฯ  ตามที่ กทช.บัณฑูรฯ เสนอ และตามความเห็นของคณะกรรมการกำกับกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
1.  โครงการสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิน้ำเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 จำนวน 84 ล้านบาท โดยคณะกรรมการฯ เห็นด้วยในหลักการของการก่อตั้งมูลนิธิน้ำ แต่การสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวไม่สามารถจัดสรรจากงบประมาณรายการเงินสนับสนุนการจัดกิจกรรมของ กทช.และสำนักงาน กทช.ได้เนื่องจากไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามระเบียบ กทช.ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช.และ สำนักงาน กทช.พ.ศ.2551 ดังนั้น จึงเห็นควรให้การสนับสนุนในการทูลเกล้าฯ ถวายในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เพื่อเป็นทุนประเดิมในการก่อตั้งมูลนิธิน้ำ ในวงเงิน 84 ล้านบาท โดยจัดสรรเงินประมาณจากเงินคงเหลือจากการปรับปรุงแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553
2.  โครงการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับระบบสาธารณสุข จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยคณะกรรมการพิจารณางบประมาณฯ เห็นควรให้ปรับปรุงรายละเอียดให้สอดคล้องกับระเบียบว่าด้วยการสนับสนุนงบประมาณของกองทุน USO และนำเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุน USO ซึ่งต่อมาคณะกรรมการกำกับกองทุนฯ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวในรายละเอียดแล้ว เห็นควรสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ในวงเงินไม่เกิน 12 ล้านบาท ให้แก่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับระบบสาธารณสุข จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อระหว่างกันต่อไป
3.  โครงการจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของโรงเรียนไตรรัตนวิทยาคม จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเห็นควรให้การสนับสนุนโดยให้จัดทำเป็นโครงการนำร่องเพื่อทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนและให้โรงเรียนรายงานผลการดำเนินงานให้ กทช.ทราบ ต่อไป โดยให้จัดสรรเงินจำนวน 0.50 ล้านบาท จากเงินคงเหลือจากการปรับปรุงแผนงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2553
4.  โครงการ Institution Capacity Building on ICT Policies in Thailand จำนวน 0.10 USD จำนวนเงิน 3.0 ล้านบาท ซึ่งพิจารณาเห็นว่าโดยที่โครงการดังกล่าวไม่เคยมีการทำข้อตกลงกับ กทช.ไว้ก่อน และเป็นโครงการที่น่าจะขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากรัฐบาลได้โดยตรงจึงไม่สมควรให้การสนับสนุน 
ระเบียบวาระที่  4.5   :   การพิจารณางบประมาณเพื่อการสนับสนุนสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 4 รายการ การใช้จ่ายงบประมาณฯ : กทช.บัณฑูรฯ , คณะกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตาม
  • หนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษ “ประเพณีลอยกระทงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและร่วมเทิดพระเกียรติฯ”
  • รายการโทรทัศน์ “โลกประชาธิปไตย”
  • โครงการเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชฯ
  • โครงการ “อยู่ดีมีสุขได้ด้วยไท้นำทาง” 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยงานต่างๆ จำนวน 4 รายการ ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณฯ   ตามที่ กทช.บัณฑูรฯ เสนอ ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่ารายการที่ขอรับการสนับสนุนทั้ง 4 รายการ ได้แก่
1.  หนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษ “ประเพณีลอยกระทงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและร่วมเทิดพระเกียรติฯ”
2.  รายการโทรทัศน์ “โลกประชาธิปไตย”  แก่บริษัท ไทยวิทัศน์ จำกัด        
3.  โครงการเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช เนื่องในมหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 83 พรรษา  และ
4.  สนับสนุนการจัดโครงการ “อยู่ดีมีสุขได้ด้วยไท้นำทาง” มีวัตถุประสงค์ไม่เป็นไปตามภารกิจของ กทช. โดยตรงและไม่สอดคล้องกับระเบียบ กทช.ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช.และสำนักงาน กทช.พ.ศ.2552 จึงเห็นควรระงับการสนับสนุนงบประมาณ อย่างไรก็ดี กรณีโครงการลำดับที่ 4 นั้น ที่ประชุม กทช.โดยประธาน กทช.ได้แจ้งต่อที่ประชุมในวาระประธานแจ้งแล้ว เห็นว่าโครงการ “อยู่ดีมีสุขได้ด้วยไท้นำทาง” ดังกล่าว เป็นการเฉลิมพระเกียรติและใช้ ICT ผ่านทางเว็บไซด์ และสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งงบประมาณที่ใช้ไม่สูงมากนัก ซึ่งสำนักงาน กทช.มีงบประมาณเพียงพอจัดเตรียมไว้แล้ว จึงเห็นควรให้การสนับสนุนไปได้ ทั้งนี้  โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรปี 2553 
ระเบียบวาระที่   4.6  :    โครงการเกษียณก่อนกำหนดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 : รทช.ฐากรฯ, บค. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่องโครงการเกษียณก่อนกำหนดประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.2554 ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง  (กทช.สุธรรมฯ , กทช.บัณฑูรฯ) ซึ่งพิจารณาเห็นว่า สมควรชะลอการพิจารณาโครงการเกษียณก่อนกำหนดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ไว้ก่อน เนื่องจากขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ....  ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว จึงควรจะพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ประกอบด้วย เพื่อมิให้ถูกครหาว่าการดำเนินโครงการ Early Retirement เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายใหม่ (กทช.สุธรรมฯ) นอกจากนั้น เมื่อกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้น พนักงานของสำนักงาน กทช. ก็อาจมีการชดเชยการเลิกจ้างอยู่แล้ว หรืออาจให้มีการโอนพนักงานของสำนักงาน กทช. เข้าเป็นพนักงานของสำนักงาน สกทช. ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว สถานภาพของพนักงานสำนักงาน กทช. จึงน่าจะยังไม่มีความชัดเจนจนกระทั่งกฎหมายจัดตั้ง กสทช. ประกาศใช้ ดังนั้น จึงน่าจะชะลอโครงการดังกล่าวไว้ก่อน (กทช.บัณฑูรฯ) 
ระเบียบวาระที่ 4.7   :   การใช้มาตรการบังคับทางปกครอง (มติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553) กรณีกำหนดให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมเจรจาเพื่อทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) : รทช.ฐากร, กม.
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การใช้มาตรการบังคับทางปกครอง (มติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553) กรณีกำหนดให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมเจรจาเพื่อทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ)  ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ)  ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้  “ สำนักงาน กทช. ต้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเป็นดังที่ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น กล่าวอ้างหรือไม่ กล่าวคือ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ. ทีทีแอนด์ที ได้ปฏิเสธที่จะเข้าทำสัญญากับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จริงหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นจริง ต้องมาพิจารณาคำสั่งทางปกครองของ กทช. ตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 8/2553 ซึ่งได้กำหนดมาตรการบังคับไว้แล้วว่า หากคู่กรณีไม่สามารถเจรจาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาได้ ให้ถือว่าบริษัททั้งสามเข้าสู่ระบบการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ทันที โดยข้อเสนอการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมของแต่ละคู่เป็นเงื่อนไขการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม และอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายให้เป็นไปตามอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมมาตรฐาน (Reference Rate) ชั่วคราว ดังนั้น จึงถือว่าปัจจุบันคู่กรณีเข้าสู่ระบบการเชื่อมต่อแล้ว โดยสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อเรียกร้องให้คู่กรณีอีกฝ่ายชำระค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมตามอัตรา Reference Rate ได้ ” อย่างไรก็ตาม กทช.ก็ควรกำหนดมาตรการบังคับเพิ่มเติมเพื่อให้คำสั่งเดิมสามารถบรรลุผลได้ดียิ่งขึ้น 
ระเบียบวาระที่   4.8    :   การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 : รทช.ฐากรฯ, กม. 
มติที่ประชุม  อนุมัติการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 แทน คณะอนุกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ที่ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่ง กทช. ที่ 15/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544  ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช., กทช.สุธรรมฯ, กทช.พนาฯ, และ กทช.บัณฑูรฯ,) ไปพิจารณาดำเนินการโดยประสานงานกับ กทช.แต่ละท่าน เพื่อยืนยัน และ/หรือรับความเห็นเพิ่มเติม (ถ้ามี) ก่อนนำไปประมวลและจัดทำคำสั่งแต่งตั้งเสนอประธาน กทช. ลงนามต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.9   :   รายชื่อและค่าตอบแทนของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ : รทช.ฐากรฯ, ปต.
มติที่ประชุม  รับทราบการรวบรวมข้อมูลรายชื่อและค่าตอบแทนของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ และการจัดหมวดหมู่ประเภทคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ  รวมถึงการแยกลักษณะค่าตอบแทนที่เป็นรายเดือนหรือเป็นค่าเบี้ยประชุมพร้อมอัตราที่ได้รับของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.11   :   รายงานความเห็นการใช้คลื่นความถี่ใช้ร่วมสาธารณะในภาวะฉุกเฉินเกิดอุทกภัยร้ายแรง : คณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ 
มติที่ประชุม  เห็นชอบและมอบหมายให้  กทช.สุธรรมฯ กทช.สุรนันท์ฯ ,และ กทช.พันเอก นทีฯ  เป็นผู้พิจารณากลั่นกรอง เรื่อง รายงานความเห็นการใช้คลื่นความถี่ใช้ร่วมสาธารณะในภาวะฉุกเฉินเกิดอุทกภัยร้ายแรง ตามที่ กทช. มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช. พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 และให้นำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.13   :  การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ : คณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่  
มติที่ประชุม  มอบหมายให้  กทช.สุธรรมฯ, กทช.สุรนันท์ฯ ,และ กทช. พันเอก นทีฯ  เป็นผู้พิจารณากลั่นกรอง เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ตามที่ กทช. มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช. พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 และให้นำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.14   :   ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยื่นขออนุญาตเพิ่มเติมขอบข่ายการให้บริการทดสอบจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิม: รทช.ทศพรฯ, วท. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยื่นขออนุญาตเพิ่มเติมขอบข่ายการให้บริการทดสอบจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิม ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง ( กทช.สุธรรมฯ , กทช.พนาฯ , กทช.นทีฯ ) ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ว่า ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งหน่วยตรวจสอบเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ประเภทที่สอง ใบอนุญาตเลขที่ ๐๐๑ ตามประกาศหลักเกณฑ์ของ กทช.จึงเห็นควรอนุญาตให้ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ศทอ.) เพิ่มเติมขอบข่ายการให้บริการทดสอบเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ได้ตามที่เสนอขอ โดยอนุญาตให้บริการได้ตามระยะเวลาที่เหลือตามอายุใบอนุญาตเดิม
ระเบียบวาระที่  4.15    :   สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ (เดิมสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) ยื่นขออนุญาตเพิ่มเติมขอบข่ายการให้บริการทดสอบจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิม : รทช.ทศพรฯ,วท. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ (เดิมสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) ยื่นขออนุญาตเพิ่มเติมขอบข่ายการให้บริการทดสอบจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิม  ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ, กทช.พนาฯ , และ กทช.นทีฯ ) ดังนี้
1.  อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก “สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์” เป็น “สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ” (สฟอ.)  ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
2.  อนุญาตให้สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ (สฟอ.) ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งหน่วยตรวจสอบเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ประเภทที่สอง ใบอนุญาตเลขที่ 002 เพิ่มเติมขอบข่ายการให้บริการทดสอบเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์จากที่ได้รับใบอนุญาตไว้เดิม ทั้งนี้ โดยให้บริการได้ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามใบอนุญาตเดิม ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.17  :    การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 (จำนวน 7 ราย 9 คำขอ 915 เส้นทาง 227 ชุมสาย) : รทช.พิทยาพลฯ, พต. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 จำนวน 7 ราย (บมจ.ทีโอที  บมจ.กสท โทรคมนาคม  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์  บจ.ทรูยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจนซ์  บจ.ซุปเปอร์บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และ บจ.ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์) จำนวน 90 คำขอ 915 เส้นทาง 227 ชุมสาย และกำหนดเงื่อนไขตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.)   ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ)   ซึ่งพิจารณาเห็นว่าเป็นการขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้น จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุญาตของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมการงานดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กทช. กำหนดโดยเคร่งครัดต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.18    :   การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 (จำนวน 6 ราย 23 คำขอ 142 เส้นทาง 69 ชุมสาย) : รทช.พิทยาพลฯ, พต. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา ๓๙ วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 จำนวน 6 ราย (บมจ.ทีโอที  บมจ.กสท โทรคมนาคม  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์  บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจนซ์  บจ.ซุปเปอร์บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค และ บจ.ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์) จำนวน 23 คำขอ 142 เส้นทาง 69 ชุมสาย และกำหนดเงื่อนไขตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.)   ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ)   ซึ่งพิจารณาเห็นว่าเป็นการขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้น จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุญาตของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมการงานดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กทช. กำหนดโดยเคร่งครัดต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.19   :  การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 (จำนวน 6 ราย 31 คำขอ 155 เส้นทาง 18 ชุมสาย) : รทช.พิทยาพลฯ, พต. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 จำนวน 6 ราย (บมจ.ทีโอที  บมจ.กสท โทรคมนาคม  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์  บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจนซ์  บจ.ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค และ บจ.ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์) จำนวน 31 คำขอ 155 เส้นทาง 18 ชุมสาย และกำหนดเงื่อนไขตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.)   ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ)  ซึ่งพิจารณาเห็นว่าเป็นการขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้น จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุญาตของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมการงานดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กทช. กำหนดโดยเคร่งครัดต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.20  :  การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้กรณีการกำหนดอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่าย ระหว่างการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามวิธีการอัตราเดียว (Symmetric rate) : รทช.พิทยาพลฯ, ศฐ.
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้กรณีการกำหนดอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่าย ระหว่างการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามวิธีการอัตราเดียว (Symmetric rate)   ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ)  ซึ่งพิจารณาเห็นด้วยกับหลักวิชาการในการกำหนดอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่าย ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการขอข้อมูลต้นทุนจากผู้ประกอบการโทรศัพท์ประจำที่เพื่อนำมาคำนวณค่าเชื่อมต่อโครงข่ายและพิจารณาอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายที่มีความเหมาะสมตามข้อมูลของผู้ประกอบการอีกครั้งหนึ่ง แล้วนำเสนอ กทช.พิจารณาต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.22   :  ขออนุมัติยกเลิกการดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมทักษะเยาวชนด้านเทคโนโลยี (Technology Smart Youth)  : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ.
มติที่ประชุม    เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง ขออนุมัติยกเลิกการดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมทักษะเยาวชนด้านเทคโนโลยี (Technology Smart Youth)  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่ขณะนี้สำนักงาน กทช. ยังมีภารกิจการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ กทช. โดยตรงตามที่กฎหมายกำหนดอยู่หลายประการ ประกอบกับมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนต่ำกว่าเป้าหมายจำนวนมาก จึงเห็นสมควรยกเลิกการดำเนินโครงการฯ นี้ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ   
ระเบียบวาระที่  4.24   :   โครงการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 61 : รทช.ฐากรฯ, รทช.ประเสริฐฯ, กท., บค. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง โครงการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 61 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) ซึ่งได้พิจารณาและเห็นชอบตามที่สำนักงาน กทช. ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหา รูปแบบ และวิธีการให้เหมาะสมยิ่งขึ้นแล้วตามมติกทช. ครั้งที่ 18/2553 ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการโครงการดังกล่าวตามที่เสนอต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.25   :  การหยุดให้บริการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต : รทช.ประเสริฐฯ, กท. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การหยุดให้บริการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ซึ่งเห็นด้วยกับความเห็นของสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม สรุปได้ว่า การกระทำของ TT&T มิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ 46 ของประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ตลอดจนเป็นการกระทำที่ขัดกับมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ตามความเห็นของสำนักงาน กทช. เนื่องจาก TT&T หยุดให้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก กทช.ก่อนกรณี TT&T รื้อถอนคู่สายของ TT&T ในส่วนที่กระทบกับการให้บริการโครงข่ายที่ TTT BB เช่าจาก TT&T  โดยอ้างว่าผู้ใช้บริการขอยกเลิกการใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานเพราะผู้ใช้บริการค้างชำระค่าบริการโทรศัพท์พื้นฐาน หรือคาดว่าจะมีบุคคลอื่นนำคู่สายวงจรเช่ามาใช้โดยพลการ ทั้งนี้ หาก TT&T ประสงค์จะยกเลิกหรือแก้ไขสัญญาดังกล่าวหรือระงับการให้บริการแต่ฝ่ายเดียว TT&T ต้องยื่นคำขอเป็นหนังสือพร้อมรายละเอียดและเหตุผลการขอยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือระงับการให้บริการเพื่อให้ กทช. พิจารณาก่อน ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีคำสั่งให้ TT&T ระงับการกระทำดังกล่าว และต้องเชื่อมต่อโครงข่ายวงจรเช่าให้กับ TTT BB ตามสัญญาการให้บริการวงจรเช่าระหว่าง TT&T และ TTT BB  ต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.26  :   บริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) จำกัด ขอหารือเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างบริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) จำกัด กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด  (มหาชน) : รทช.ประเสริฐฯ, กท. 
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง บริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) จำกัด ขอหารือเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างบริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) จำกัด กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด  (มหาชน)  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ และ กทช.พนาฯ) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า กรณีทั้งในประเด็นการหยุด หรือ  ระงับหรือปฏิเสธการให้บริการส่งผ่านทราฟฟิกระหว่างประเทศของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด  (มหาชน) ก่อนที่จะได้รับอนุญาตจาก กทช. และในประเด็นกรณีที่ บริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) ไม่มีระบบการตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection System) เพื่อตรวจจับการบุกรุกการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายทั้งสองฝ่าย จึงเห็นควรบังคับให้ดำเนินการเปิดให้ใช้โดยพลัน และเร่งติดตั้งอุปกรณ์ระบบการตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection System) ตามประกาศ กทช.และเงื่อนไขการอนุญาต ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ ลทช. ซึ่งมีอำนาจตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มีคำสั่งทางปกครองแจ้งให้คู่กรณีทั้งสอง ได้แก่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด  (มหาชน)  และ   บริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการดังต่อไปนี้
1.1  มีคำสั่งให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย(มาตรา 20,25 และ 27 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ตลอดจนประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมสำหรับผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต และประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ) โดยเปิดให้บริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) จำกัด ส่งผ่านทราฟฟิคโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (Transit) ระบบ Premium และ Economy ผ่านชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับคำสั่ง และให้รายงานผลการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวให้สำนักงาน กทช. ทราบเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
1.2 มีคำสั่งให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ส่งสำเนาสัญญาให้บริการส่งผ่านทราฟฟิคโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (Transit) ระบบ Premium และ Economy ผ่านชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) จำกัด ให้ กทช. เพื่อพิจารณา ตามมาตรา 27 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ภายใน 10 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับคำสั่ง
1.3 มีคำสั่งให้ บริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) จำกัด ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและเงื่อนไขการอนุญาต (มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และข้อ 25 ของเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาต)โดยให้บริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย)จำกัด ดำเนินการติดตั้งระบบตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection System)ตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่ ๑ เลขที่ NTC/MM/INT/ISP/I/021/2549 ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับคำสั่ง แล้วให้รายงานผลการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวให้สำนักงาน กทช. ทราบเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.  รับทราบผลการพิจารณาตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง(กทช.พนาฯ) สำหรับกรณีที่ บริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ชำระค่าบริการแก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม จนทำให้เกิดการระงับการส่งสัญญาณ นั้น เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจของ กทช. ในการพิจารณา เนื่องจากเป็นเรื่องของสัญญาทางแพ่งที่คู่ความจะต้องใช้สิทธิทางศาลในการพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้น 
ระเบียบวาระที่  4.27   :   ข้อวิเคราะห์ในประเด็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมมีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ 100% : รทช.ประเสริฐฯ, กท. 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบข้อวิเคราะห์ในประเด็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมมีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ 100% ตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสำนักงาน กทช.ได้ดำเนินการตามมติ กทช. ครั้งที่ 11/2553 วันที่ 11 พฤษภาคม 2553 ที่มอบหมายให้สำนักงานฯ จัดทำข้อวิเคราะห์ในประเด็นดังกล่าวเสนอที่ประชุม กทช. ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ             
2.  รับทราบผลการพิจารณาตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ต่อข้อวิเคราะห์ของสำนักงาน กทช. ตามข้อ 1 ซึ่งสรุปได้ว่า ในการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการผูกขาดโดยคนต่างชาตินอกจากการพิจารณากรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว สำนักงาน กทช. ควรวิเคราะห์ผลในทางปฏิบัติจากการถือหุ้นเป็นต่างชาติร้อยละ 100 ของคนต่างด้าวที่มีต่อการประกอบธุรกิจของคนไทยอย่างไร อาทิ การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน การทำการตลาด เทคโนโลยีการผลิต เป็นต้น พร้อมกันนี้ สำนักงานฯ ควรเสนอมาตรการป้องกันการผูกขาดโดยคนต่างชาติ ประกอบการพิจารณาในคราวเดียวกัน
3.  รับทราบข้อคิดเห็นและข้อเสนอของสำนักงาน กทช. ที่มีต่อความเห็นกรรมการกลั่นกรองตามข้อ 2 เพิ่มเติมตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ อย่างไรก็ดี สำหรับในประเด็นที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการป้องกันการผูกขาดโดยคนต่างชาติตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง นั้น แม้ว่าปัจจุบันจะมีกฎหมายและประกาศ กทช. ที่กำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อกำกับดูแลในเรื่องนี้ไว้ในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม สำนักงานฯ ควรหารือในรายละเอียดถึงความเหมาะสมและความจำเป็นกับ กทช.สุธรรมฯ ให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งด้วยว่าสมควรต้องดำเนินการในประเด็นดังกล่าวอย่างไร หรือไม่ต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.28  :   การไต่สวนข้อเท็จจริง กรณี การกำหนดราคาขายบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่เป็นธรรม : รทช.ประเสริฐฯ ,  กท. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การไต่สวนข้อเท็จจริง กรณี การกำหนดราคาขายบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่เป็นธรรม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) โดยเห็นควรมอบหมายให้สำนักงาน กทช.กำหนดมาตรการเฉพาะโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และข้อ 16 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ดังนี้
1.  ให้ TT&T ต้องเปิดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตใช้โครงข่ายของตนโดยไม่เลือกปฏิบัติ
2.  ให้ TTT BB ในฐานะ “ผู้ที่มีโครงข่ายโทรคมนาคม” ต้องเปิดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตใช้โครงข่ายทั้งในส่วนของที่  TTT BB ลงทุนสร้างโครงข่ายเอง และในส่วนที่ใช้โครงข่ายตามสัญญากับ TT&T โดยไม่เลือกปฏิบัติ
     ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.32   :    บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น  ขอคำชี้แจงเกี่ยวกับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. 
มติที่ประชุม  มอบหมายให้ กทช.สุรนันท์ฯ เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่อง บมจ.โทเทิ่ล  แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ขอคำชี้แจงเกี่ยวกับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามที่ กทช. มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช. พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 และให้นำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.36   :   การขอใช้ความถี่วิทยุสำหรับระบบติดตามอากาศยานในกิจการวิทยุนำทางทางการบิน สำหรับเรด้าร์ปฐมภูมิ (Primary Radar) เรด้าร์ทุติยภูมิ (Secondary Radar) เรดาร์ควบคุมจราจรทางอากาศในระดับภาคพื้นดิน (Surface Movement Radar) : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.               
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขอใช้ความถี่วิทยุสำหรับระบบติดตามอากาศยานในกิจการวิทยุนำทางทางการบิน สำหรับเรด้าร์ปฐมภูมิ (Primary Radar) เรด้าร์ทุติยภูมิ (Secondary Radar) เรดาร์ควบคุมจราจรทางอากาศในระดับภาคพื้นดิน (Surface Movement Radar)  ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ ข้อ 4.2 กำหนดให้ กรณีการออกหรือต่ออายุใบอนุญาตสำหรับผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่เดิมทั้งการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Commercial Use) และกิจการที่มิใช่เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Non - Commercial Use) ซึ่งจะออกหรือต่ออายุใบอนุญาตให้ได้ไม่เกินคราวละ 1 ปี หรือจนกว่าจะมีหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่แล้วแต่กรณีใดเกิดขึ้นก่อน แต่เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ดังนั้น ในชั้นนี้ กรณีการออกหรือต่ออายุใบอนุญาตสำหรับผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่เดิม จึงเห็นควรให้ดำเนินการตามข้อ 4.2 ของประกาศฉบับดังกล่าวไปก่อน
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พันเอก นทีฯ) ในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้ บจ.วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ใช้ความถี่วิทยุสำหรับระบบติดตามอากาศยาน (Radar) เพื่อช่วยให้ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศสามารถมองเห็นและติดตามเป้าอากาศยานที่กำลังเดินทางภายในอากาศในเขตพื้นที่รับผิดชอบและบริเวณภาคพื้นอากาศยานได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง สะดวกปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้
2.1  เรดาร์ปฐมภูมิ (Primary Radar) ความถี่ส่ง/ความถี่รับ 2750/2750 MHz 2850/2850 MHz
2.2  เรดาร์ทุติยภูมิ (Secondary Radar) ความถี่ส่ง/ความถี่รับ 1030/1090 MHz
2.3  เรดาร์ควบคุมจราจรทางอากาศในระดับภาคพื้นดิน (Surface Movement Radar) ความถี่ส่ง/ความถี่รับ 9170/9170 MHz, 9438/9438 MHz
       ทั้งนี้ โดยให้ใช้ความถี่ข้างต้นเป็นเวลา 1 ปี และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเดิม ณ สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาต โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1)  หากการใช้ความถี่วิทยุก่อให้เกิดการรบกวนต่อข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จะต้องเป็นผู้แก้ไขหรือระงับการใช้งานทันที
2)  จะต้องปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่ กทช. กำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวาระที่  4.37  :   การสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น (วาระที่ 4.7 ครั้งที่ 7/2553) ตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 25/2553 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2553 : รทช.ประเสริฐฯ , ฉก. 
มติที่ประชุม  ยืนยันให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการตามมติ กทช. ครั้งที่ 25/2553 ซึ่งที่ประชุมรับทราบ และเห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ แล้วโดยให้มีการปรับแก้ไขระเบียบ กทช. ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2550 ในส่วนของการกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการสอบ และคุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรมและสอบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่เกิดความลักลั่นระหว่างผู้เข้ารับการสอบกับผู้เข้ารับการอบรมและสอบ ก่อนดำเนินการเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป  ทั้งนี้ โดยไม่จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นสาธารณะอีก 
หมายเหตุ  ในการจัดทำมติที่ประชุมนี้ ได้หารือกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) อีกครั้งหนึ่งแล้วเพื่อความชัดเจน
ระเบียบวาระที่  4.39   :  การอนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ความถี่วิทยุตามประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ความถี่วิทยุ : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.  
มติที่ประชุม              
1.  เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ความถี่วิทยุ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า คลื่นความถี่ตามบันทึกเป็นคลื่นความถี่ที่คณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ได้จัดสรรและกำหนดกรอบการอนุญาตการใช้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เพื่อการบริการสาธารณะและการโทรคมนาคมระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรมการปกครองมาตั้งแต่ปี 2552 และ กบถ. ได้มอบอำนาจให้กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาตั้งปี 2544 อันจักเห็นได้ว่าเป็นคลื่นความถี่ที่จัดสรรไว้แล้วเป็นเวลาประมาณ 20 ปี อีกทั้งเป็นการจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปให้บริการสาธารณะ โดยมิใช่เชิงพาณิชย์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว เห็นสมควรให้อนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวได้ต่อไป เพื่อให้การบริการสาธารณะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุดหยุดลง อันจักก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ) ในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 5 แห่ง ใช้ความถี่ตามประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ความถี่วิทยุต่อไป ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ดังนี้
2.1 อนุญาตให้องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจ้าอยู่หัวอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งสถานีฐาน (Base Station)  จำนวน 1 สถานี และองค์กรบริหารส่วนตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ตั้งสถานีฐาน (Base Station) จำนวน 1 สถานี ตั้งสถานีเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Station) จำนวน 2 สถานี และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 162.525 MHz เป็นช่องเรียกขาน ความถี่วิทยุ 162.150  162.175  162.225   162.475  162.575   162.650  162.775  162.125  และ 162.975 MHz เป็นช่องปฏิบัติงานร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความถี่วิทยุ 162.125 MHZ ใช้งานร่วมกับกรมการปกครองสำหรับเป็นช่องประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกรมการปกครอง ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHz เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ รายละเอียดเงื่อนไขการอนุญาตให้เป็นไปตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.2  อนุญาตให้เทศบาลตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 162.525 MHz เป็นช่องเรียกขาน ความถี่วิทยุ 162.150  162.175    162.225   162.475  162.575   162.650  162.775  162.125  และ 162.975 MHz เป็นช่องปฏิบัติงานร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความถี่วิทยุ 162.125 MHZ ใช้งานร่วมกับกรมการปกครองสำหรับเป็นช่องประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกรมการปกครอง ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHz เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ รายละเอียดเงื่อนไขการอนุญาตให้เป็นไปตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.3  อนุญาตให้องค์การบริการส่วนตำบลคชสิทธิ์ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และเทศบาลตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ขยายระยะเวลาในการใช้ความถี่วิทยุ 162.125   162.150  162.175   162.225   162.475 162.525   162.575   162.650  162.775  162.825  และ 162.975 MHz เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2553  ทั้งนี้การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ จะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498  และมีเงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตไว้เดิม
3.  มอบอำนาจให้ เลขาธิการ กทช. เป็นผู้ลงนามในหนังสือแจ้งตอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 5 แห่งดังกล่าวเพื่อทราบมติที่ประชุม กทช. ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.40  :   การอนุญาตให้เอกชนใช้ความถี่วิทยุสำหรับข่ายสื่อสารเฉพาะกิจ :  รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.  
มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การอนุญาตให้เอกชนใช้ความถี่วิทยุสำหรับข่ายสื่อสารเฉพาะกิจตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง  (กทช.สุธรรมฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ) ในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้เอกชนจำนวน 3 ราย  ( บจ.บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ มูลนิธิประชาร่วมใจ และ บจ.โจตันไทย  ใช้ความถี่วิทยุที่คณะกรรมการประสานงานจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ได้จัดสรรและกำหนดกรอบการอนุญาตไว้แล้วได้ต่อไป ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ดังนี้
2.1 อนุญาตให้บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด  ตั้งสถานีฐาน (Base Station) จำนวน 1 สถานี  ณ  บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด ตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี  และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก ( Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 167.525 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHz ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อใช้ติดต่อประสานงานในการรับ-จ่ายกระแสไฟฟ้ากับสถานีไฟฟ้าพัฒนานิคม ทั้งนี้ รายละเอียดเงื่อนไขการอนุญาตให้เป็นไปตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.2 อนุญาตให้มูลนิธิประชาร่วมใจ ตั้งสถานีฐาน (Base Station) จำนวน 1 สถานี ณ  เลขที่ 38/1 ถนนอัครวิถี หมู่ที่ 3 ตำบล   ขนอม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก ( Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 168.275 MHz  เป็นช่องเรียกขาน  ความถี่วิทยุ 168.475 และ 168.775 MHz เป็นช่องปฏิบัติงานร่วมกับมูลนิธิหรือสมาคมต่างๆ ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHz  เพื่อใช้ติดต่อประสานงานในกิจการเพื่อสาธารณกุศลในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ รายละเอียดเงื่อนไขการอนุญาตให้เป็นไปตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
2.3 อนุญาตให้บริษัท โจตันไทย จำกัด ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ 471.150 MHz ระบบ UHF/FM   ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 kHz ในกิจการเคลื่อนที่ทางบก  ( Land Mobile Service) เพื่อใช้ติดต่อประสานงานในกิจการเพื่อการอุตสาหกรรม ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (บางปะกง 2) เลขที่ 700/353 ตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี  ได้จนถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2554 และมีเงื่อนไขอื่นๆให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตไว้เดิม  ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ จะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498    
ระเบียบวาระที่  4.41  :   การขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคมใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและใช้ความถี่วิทยุสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย-ตะวันออกกลาง ครั้งที่ 3 : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.  
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคมใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและใช้ความถี่วิทยุสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย-ตะวันออกกลาง ครั้งที่ 3  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากเป็นการใช้คลื่นความถี่เป็นการชั่วคราวและเกี่ยวข้องกับภารกิจสำคัญของประเทศ ควรเร่งดำเนินการอนุญาตต่อไป
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พันเอก นทีฯ) ในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และใช้ความถี่วิทยุย่าน VHF ความถี่ 163.025  163.050  163.075  163.175  165.550  165.575  166.275  166.325  166.375  และ 171.325 MHz จำนวน 10 ความถี่ เพื่อใช้ในภารกิจประสานและดูแลให้การต้อนรับ คณะผู้แทน ผู้ติดตาม และผู้สื่อข่าวทั้งหมดที่เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย-ตะวันออกกลาง (Asia –Middle East Dialogue –AMED) ครั้งที่ 3 หรือ AMED III เป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 14-16 ธันวาคม 2553 โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
2.1  ให้ใช้ความถี่วิทยุได้ไม่เกินวันที่ 20 ธันวาคม 2553 นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
2.2  เครื่องวิทยุคมนาคมที่จะนำมาใช้ความถี่วิทยุดังกล่าว ต้องเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน กทช. แล้ว
2.3  กระทรวงการต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กทช.กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
     ทั้งนี้ เครื่องวิทยุคมนาคมที่นำมาใช้งานต้องเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องตามกฎหมาย                   ระเบียบวาระที่  4.42   :   กำหนดการจัดอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุ สมัครเล่นขั้นต้นประจำปี 2554-2555 : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.  
มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง กำหนดการจัดอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุ สมัครเล่นขั้นต้นประจำปี 2554-2555  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีนี้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้พิจารณาบรรจุเป็นวาระ กทช. ต่อไปตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ เพื่ออนุญาตให้สมาคมวิทยุสมัครเล่นจำนวน 25 แห่ง ดำเนินการจัดอบรมและสอบ เพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นได้
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ) ในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้สมาคมวิทยุสมัครเล่นจำนวน ๒๕ แห่งที่ได้แจ้งความประสงค์ขอจัดการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ดำเนินการจัดอบรมและสอบได้ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ ให้สมาคมทั้ง 25 แห่ง ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ.2550 โดยเคร่งครัด สำหรับรายละเอียดเงื่อนไขการกำหนดจำนวนการรับสมัครในแต่ละครั้ง การจัดสถานที่รองรับ และการกำหนดการจัดอบรมและสอบฯ ในปี 2554  ที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นทั้ง 25 แห่งจะต้องดำเนินการ นั้น ให้เป็นไปตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ  
ระเบียบวาระที่  4.43   :   การขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ย่าน 470 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.  
มติที่ประชุม   โดยที่เรื่องนี้สำนักงาน กทช. ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 1 ปีมาแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 ในการประชุม กทช. ครั้งที่ 9/2552 เป็นต้นมา ประกอบกับกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ได้มีความเห็นในเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 โดยสำนักงานฯ จำเป็นต้องขอข้อมูลจาก บมจ.ทีโอที เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ความเห็นทางเทคนิคต่างๆ ซึ่งได้ใช้เวลาดำเนินการล่วงเลยต่อมาจนได้นำเสนอประธาน กทช. อนุมัติให้บรรจุเป็นวาระการประชุม กทช.เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาเรื่องนี้ของ กทช. เป็นไปด้วยความรอบคอบมากยิ่งขึ้น ภายใต้สภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปที่อาจมีผลกระทบต่อเรื่องนี้ได้ จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำเรื่อง การขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ย่าน 470 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) พร้อมรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นปัจจุบัน เสนอกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำเสนอ กทช. พิจารณาต่อไป 
หมายเหตุ  ในการจัดทำมติของวาระนี้ ได้หารือ กทช.สุธรรมฯ แล้ว 
ระเบียบวาระที่  4.44   :  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง บริการขายต่อบริการอินเทอร์เน็ต ( WiFi) ของบริษัท โฮริซอน เคเบิ้ล คอมมูนิเคชั่น จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ,ปก.  
มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง บริการขายต่อบริการอินเทอร์เน็ต ( WiFi) ของบริษัท โฮริซอน เคเบิ้ล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นควรอนุมัติ เพราะเป็นการเพิ่มผู้แข่งขัน ทั้งนี้ โดยมีข้อสังเกตให้สำนักงาน กทช.เร่งรัดดำเนินการเรื่องกฎว่าด้วย Automatic license ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ) ในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้ บริษัท โฮริซอน เคเบิ้ล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ได้รับอนุญาตให้บริการขายต่อบริการอินเทอร์เน็ต WiFi ย่านความถี่วิทยุ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก (Equivalent Isotropically Radiated Power : E.I.R.P.) ไม่เกิน 100 มิลลิวัตต์ ภายใต้ใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง โดยมีเงื่อนไขการอนุญาตว่าการให้บริการดังกล่าวต้องไม่ใช่การให้บริการลักษณะ Broadcasting 
ระเบียบวาระที่  4.47   :  บริษัท ฟรีคอล จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ(ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บริษัท ฟรีคอล จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ(ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช., กทช.สุชาติฯ, กทช.สุธรรมฯ, กทช.พนาฯ, และ กทช.พันเอก นทีฯ ) ซึ่งพิจารณาแล้วสรุปความเห็นได้ว่า บริษัท ฟรีคอล จำกัด มีเหตุขัดข้องทางเทคนิคของระบบ Software ภายใน การคิดค่าใช้จ่ายและการให้บริการบางส่วน เป็นเหตุผลที่รับฟังได้ ประกอบกับขอขยายเวลาเพียง 2 เดือนน้อยกว่า 3 เดือนตามที่ประกาศ กทช.กำหนด จึงเห็นควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการไปจนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ตามที่บริษัทฯ ร้องขอ ทั้งนี้ โดยให้กำหนดเงื่อนไขให้บริษัทฯ จัดทำรายงานการดำเนินงานให้สำนักงาน กทช. ทราบทุกเดือนด้วย
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองข้างต้นในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้บริษัท ฟรีคอล จำกัด ขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ(ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง) ออกไปจนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ตามเหตุผลและเท็จจริงที่บริษัทฯ ร้องขอ ทั้งนี้ ให้บริษัทฯ จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้ กทช.ทราบเป็นรายเดือนจนกว่าจะเริ่มให้บริการได้ โดยหาก บริษัทฯ ยังไม่เริ่มให้บริการได้ภายในเวลาที่กำหนด ให้สำนักงาน กทช.นำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาการสิ้นสุดการอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมของบริษัทต่อไปตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.49  :   บริษัท ทีที เน็ตเวิร์ค อินทิเกรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ขอประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติม ประเภทการขายส่งบริการ : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บริษัท ทีที เน็ตเวิร์ค อินทิเกรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ขอประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติม ประเภทการขายส่งบริการ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช., กทช.สุธรรมฯ, กทช.พนาฯ และ กทช.สุรนันท์ฯ ) ซึ่งพิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปได้ว่า บริษัท ทีที เน็ตเวิร์ค อินทิเกรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มีฐานะการเงินที่ดี มีสภาพคล่องสูง และได้ประกอบกิจการขายต่อบริการในประเภทเดียวกันอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่ม ประกอบกับบริการที่ขอเพิ่มเติมเป็นบริการภายใต้ใบอนุญาตประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นบริการที่สมควรทำได้โดยเสรี และ กทช. เองก็มีนโยบายเร่งรัดการอนุญาต จึงสมควรพิจารณาอนุญาตให้บริษัทให้บริการขายส่งบริการเพิ่มเติม ภายใต้ใบอนุญาตประเภทที่ 1 ได้ตามที่ร้องขอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองข้างต้นในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้บริษัท ทีที เน็ตเวิร์ค อินทิเกรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติมประเภทการขายส่งบริการภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง เลขที่ 1/52/025 จำนวน 3 บริการ ดังนี้
2.1  บริการคู่สายเช่า หรือวงจรเช่า (Leased Line)
2.2  บริการ Muti-Protocol Label Switching (MPLS)
2.3  บริการ Frame Relay
3.  เห็นชอบให้ยกเว้นการเก็บค่าดำเนินการจำนวน 5,000 บาท ในกรณีการขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติมประเภทการขายส่งบริการภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมาแบบที่หนึ่งเลขที่ 1/52/029 เนื่องจากเคยมีมติ กทช. ครั้งที่ 20/2552 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2552 ให้ยกเว้นการคิดค่าธรรมเนียมในกรณีการขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติมประเภทบริการขายต่อบริการภายใต้ใบอนุญาตเดิม ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดส่งเงื่อนไขการอนุญาตเฉพาะส่วนที่จำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้แก่บริษัทฯ ทราบตามที่สำนักงาน กทช.เสนอต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.51   :  บริษัท เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติม ประเภทการขายส่งบริการอินเทอร์เน็ต : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง บริษัท เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติม ประเภทการขายส่งบริการอินเทอร์เน็ต  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง  (ประธาน กทช. และ กทช.สุธรรมฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปได้ว่าการให้บริการของบริษัทฯ ยังอยู่ในขอบเขตของใบอนุญาตแบบที่หนึ่งได้ เพราะไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง จึงเห็นควรอนุญาตตามสิทธิที่กฎหมายรองรับไว้   
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองข้างต้นในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้ บจ.เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) ประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติมประเภทการขายส่งบริการอินเทอร์เน็ต จำนวน 5 บริการ ภายใต้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่ง ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ดังนี้
1.  บริการอินเทอร์เน็ตแบบ Narrowband (Dial-up Modem)
2.  บริการอินเทอร์เน็ตแบบ Broadband (Dial-up Modem)
3.  บริการอินเทอร์เน็ตแบบ ADSL (ADSL Modem)
4.  บริการอินเทอร์เน็ตแบบสายเช่า (Leaded Line)
5.  บริการอื่นๆ ได้แก่ Web Hosting , Mail Hosting , Dedication Server, Co-Location และ Back Up Server 
3.  เห็นชอบให้ยกเว้นการเก็บค่าดำเนินการจำนวน 5,000 บาท เนื่องจากเคยมีตามมติ กทช. ครั้งที่ 20/2552 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2552 ให้ยกเว้นการคิดค่าธรรมเนียมในกรณีการขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติมประเภทบริการขายต่อบริการภายใต้ใบอนุญาตเดิม
ระเบียบวาระที่  4.52  :   บริษัท เอฟทีทีเอ็กซ์ อินฟรา (พัทยา) จำกัด ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม  โดยที่เรื่อง บริษัท เอฟทีทีเอ็กซ์ อินฟรา (พัทยา) จำกัด ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม  ในวาระนี้ เป็นเรื่องเดียวกับวาระที่ 6.15 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ซึ่ง กทช.ได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้บริษัท เอฟทีทีเอ็กซ์ อินฟรา (พัทยา) จำกัด  ได้รับอนุญาตให้บริการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือนแบบ Non-Facility – Thin MVNO โดยให้มีระยะเวลาการอนุญาต 5 ปี และให้กำหนดขอบเขตและเงื่อนไขตามมติ กทช. ครั้งที่ 30/2552 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2552  รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตเพิ่มเติมด้วยว่าให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามประกาศที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือนที่ กทช.จะประกาศกำหนดในอนาคต (Subject to Future Regulation)  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.53    :  บริษัท เซอร์วิส อินเตอร์เนชั่นแนลโฟน จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง บริษัท เซอร์วิส อินเตอร์เนชั่นแนลโฟน จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง  (ประธาน กทช., กทช.สุรนันท์ฯ, กทช.พนาฯ, และ กทช.พันเอก นทีฯ,) ซึ่งพิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปได้ว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างติดตั้งระบบบริการ ความล่าช้าในการเปิดกิจการเกิดจากการติดตั้งเลขหมาย Fixed Line จาก บมจ.ทีโอที เพื่อใช้เป็น Access Number จึงเป็นเหตุผลที่รับฟังได้ ทั้งนี้ โดยบริษัทฯ ต้องสรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้ทราบเป็นรายเดือนจนกว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้  โดยกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทเริ่มให้บริการภายใน 3 เดือน นับแต่ที่ประชุม กทช. มีมติอนุมัติ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองข้างต้นในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้บริษัท เซอร์วิส อินเตอร์เนชั่นแนลโฟน จำกัด ขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง โดยกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทเริ่มให้บริการภายใน 3 เดือน นับแต่ที่ประชุม กทช. มีมติอนุมัติ ทั้งนี้ ให้บริษัทฯ ต้องสรุปผลการดำเนินงานและให้รายงานให้ทราบเป็นรายเดือนจนกว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ และหากบริษัทฯ ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้สำนักงาน กทช. ประมวลเสนอเรื่องให้ กทช. เพื่อพิจารณาการสิ้นสุดการอนุญาตประกอบกิจการของบริษัทฯ ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. (กลุ่มเลขหมาย) รับข้อสังเกตของ กทช.สุธรรมฯ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย (เห็นควรให้กลุ่มเลขหมายกำกับ บมจ.ทีโอที ให้เปิด Access Code ตามกฎหมาย และตามคำตัดสินของศาลปกครองกลาง)    
ระเบียบวาระที่  4.54   :   การปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นด้วยตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยสำนักงาน กทช.ได้ปรับปรุงเงื่อนไขการเปิดให้บริการตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ เรียบร้อยแล้ว ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบร่างประกาศ กทช.  เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง (ฉบับ พ.ศ. 2553) ซึ่งปรับเปลี่ยนจากการอนุญาตรายบริการ (Service – specific License) สู่การอนุญาตกลุ่มบริการ (Class-service License of All Service License) พร้อมปรับเงื่อนไขการอนุญาตเข้าสู่เงื่อนไขที่เป็นมาตรฐานกลาง (Standard License Terms and Conditions) ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ และ มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ 
ระเบียบวาระที่   4.55   :  การขอเพิ่มบริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตแบบใช้เลขหมายโทรศัพท์ (VoIP แบบใช้เลขหมาย) ของบริษัท เอเชียส รีเยนแนล เซอร์วิสเซส จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม   โดยที่ เรื่อง การขอเพิ่มบริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตแบบใช้เลขหมายโทรศัพท์ (VoIP แบบใช้เลขหมาย) ของบริษัท เอเชียส รีเยนแนล เซอร์วิสเซส จำกัด ได้ผ่านการพิจารณาของกรรมการกลั่นกรอง  (กทช.สุธรรมฯ) และสำนักงาน กทช. ได้ตรวจสอบและชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองอย่างชัดเจนแล้วว่า การให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP) แบบใช้เลขหมายโทรศัพท์ของบริษัทฯ เป็นการเปิดให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานในหลายลักษณะ จึงมีทั้งการใช้งานในส่วนที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่ โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่เป็นการใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz ซึ่งควรยกเว้นการอนุญาตในส่วนของการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวไปก่อน ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้บริษัท เอเชียส รีเยนแนล เซอร์วิสเซส จำกัด ขยายขอบเขตการให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP) สู่แบบมีเลขหมายโทรศัพท์ (โทรศัพท์ถึงโทรศัพท์) ซึ่งไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง โดยกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทฯ นำเลขหมายที่ได้รับจัดสรร 06 ไปใช้เฉพาะการให้บริการ VoIP บนโครงข่ายอินเทอร์เน็ต เท่านั้น โดยยกเว้นการอนุญาตในส่วนของการใช้งานผ่านคลื่นความถี่ทุกรูปแบบไปก่อน  ทั้งนี้ ให้ได้รับยกเว้นค่าดำเนินการจำนวน 5,000 บาท ตามแนวทางของมติ กทช. ครั้งที่ 20/2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.56    :  การขอรับอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมบริการขายต่อบริการ  ของบริษัท เอ แอนด์ เอ นีโอเทคโนโลยี จำกัด :รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การขอรับอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมบริการขายต่อบริการของ บริษัท เอ แอนด์ เอ นีโอเทคโนโลยี จำกัด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช., กทช.สุชาติฯ, กทช.สุธรรมฯ, กทช.พนาฯ, และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปได้ว่าบริษัทฯ มีคุณสมบัติตามกฎหมายและประกาศ กทช. จึงเห็นควรอนุญาตให้บริษัทฯ ให้บริการขายต่อบริการสำหรับบริการ Ethernet ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่งได้  ทั้งนี้ สำนักงาน กทช. ได้ตรวจสอบและชี้แจงต่อความเห็นกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับบริการ Ethernet ด้วยแล้วสรุปได้ว่า ได้กำหนดบริการ Ethernet ไว้ในประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการออกใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ (Automatic License)   (ฉบับที่ 3) แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุญาตให้ บริษัท เอ แอนด์ เอ นีโอเทคโนโลยี จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติม บริการขายต่อบริการสำหรับบริการ Ethernet ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง เลขที่ 1/53/017 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2553 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.57  :  บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด ขอยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่ง : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด ขอยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอรเน็ต แบบที่หนึ่ง ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง  (ประธาน กทช., กทช.สุชาติฯ, กทช.สุธรรมฯ, กทช.พนาฯ, และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปได้ว่า โดยที่บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด ยังไม่ได้เปิดให้บริการ กอปรกับบริษัทฯ ได้ดำเนินการตามประกาศ กทช.ที่เกี่ยวข้องโดยได้แจ้งขอยกเลิกใบอนุญาตล่วงหน้าเป็นเวลานานกว่า ๑ เดือน รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ จึงเห็นควรอนุมัติให้บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด ยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่งได้  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอรเน็ต แบบที่หนึ่งของบริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด กรณีไม่มีผู้ใช้บริการได้ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.58   :  บริษัท จีวอยซ์โมบาย จำกัด ขอเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง บริษัท จีวอยซ์โมบาย จำกัด ขอเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตให้ดำเนินการได้
      ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาต ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง (บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ) ในภาคผนวก ง (แผนธุรกิจ) และภาคผนวก ช (รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบอุปกรณ์ที่ใช้ตามลักษณะและประเภทกิจการโทรคมนาคมที่ได้รับอนุญาต) ของ บริษัท จีวอยซ์โมบาย จำกัด อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการ จากการให้บริการในลักษณะ Call-back Service เป็นการให้บริการในลักษณะ Call-through Service  ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 5 ของประกาศ กทช. เรื่อง เงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ในกรณีเงื่อนไขในการอนุญาตใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.59  :  บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด ขอยืนยันการขอเพิ่มจุดเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (IPLC) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด ขอยืนยันการขอเพิ่มจุดเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (IPLC) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง  (กทช.สุธรรมฯ, กทช.สุชาติฯ, กทช.สุรนันท์ฯ, กทช.พนาฯ, กทช.พันเอก นทีฯ และ กทช.บัณฑูรฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปได้ว่า เห็นควรอนุมัติการขอยืนยันเพิ่มจุดเชื่อมต่อที่ด่านบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เพื่อใช้เป็นจุดต่อสำรองร่วมของจุดเชื่อมต่อด่านตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ จังหวักสระแก้ว เพื่อเป็นการสำรองโครงข่ายสำหรับเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของบริการโดยทั่วถึงแก่ประชาชน การสนับสนุนให้เกิดการแข่งขัน และการพัฒนาประสิทธิภาพของบริการที่ดี ทั้งนี้ กรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยว่า สำนักงาน กทช.ควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ในการให้บริการ IPLC เพื่อมิให้การให้บริการนี้จำกัดหรือผูกขาดอยู่แต่เพียงผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่ง
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองข้างต้นในข้อ 1 ต่อไป โดยอนุมัติให้ บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด เพิ่มจุดเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เพื่อให้บริการโทรคมนาคมแบบที่สาม วงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (IPLC) อีกหนึ่งจุดทางภาคพื้นดินที่ด่านชายแดนไทย – กัมพูชา ณ จุดเชื่อมต่อด่านบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ พร้อมทั้งให้สำนักงาน กทช.รับข้อเสนอแนะของกรรมการกลั่นกรอง(กทช.สุธรรมฯ)เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการกำกับดูแลตลาดการให้บริการ IPLC ให้มีการแข่งขันมากยิ่งขึ้นต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.63   :   การตรวจหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ. 2549  : สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) 
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การตรวจหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ. 2549  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช., กทช.สุธรรมฯ, กทช.สุชาติฯ, กทช.พนาฯ, กทช.พันเอก นทีฯ, กทช.สุรนันท์ฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปได้ว่าเห็นควรอนุมัติการตรวจหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่ได้แก้ไขปรับปรุงตามความเห็นของ สบท. ให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ. 2549  แล้ว ทั้งนี้ กรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยว่าเห็นควรให้ สบท. นำเรื่องหลักเกณฑ์ดังกล่าวของบริษัทรายอื่นที่ยังไม่สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ. 2549  เสนอเข้าที่ประชุม กทช. เพื่อพิจารณาโดยเร็วต่อไปด้วย
2.  มอบหมายให้ สบท.ไปดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองข้างต้นในข้อ 1 ต่อไป โดยให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ. 2549 ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ตามที่ สบท. เสนอ พร้อมทั้งให้ สบท.รับข้อเสนอแนะของ กรรมการกลั่นกรอง(กทช.สุรนันท์ฯ) ไปพิจารณาดำเนินการในกรณีการแก้ไขหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนฯของบริษัทรายอื่นให้สอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนฯ แล้วนำเสนอ กทช.โดยเร็วต่อไปด้วย
ระเบียบวาระที่  4.64   :   การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม :สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (สชท.) 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ,และ กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมตามที่เสนอ  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสำนักงาน กทช. เป็นผู้สอบบัญชีของสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ตามที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเสนอ โดยมอบหมายให้ สชท.ไปดำเนินการเรื่องดังกล่าวต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.65   :   ขอความเห็นชอบคำขอกรอบวงเงินในการใช้จ่ายเงินของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประจำปี 2554 และคำของบประมาณรายจ่ายของสำนักงานกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะประจำปี 2554 : สำนักงานกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ 
มติที่ประชุม   เห็นควรส่งเรื่อง ขอความเห็นชอบคำขอกรอบวงเงินในการใช้จ่ายเงินของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประจำปี 2554 และคำของบประมาณรายจ่ายของสำนักงานกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะประจำปี 2554 ให้กรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) พิจารณาให้ความเห็นก่อนตามขั้นตอน เพื่อประกอบการพิจารณาของ กทช. ต่อไป 
หมายเหตุ   ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลืออยู่ทั้งหมดจำนวน ๒๐ เรื่อง จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ครั้งต่อไป (วาระที่ 4.3, 4.10, 4.12, 4.16, 4.21,  4.23, 4.29, 4.30, 4.31, 4.33, 4.34, 4.35, 4.38, 4.45, 4.46, 4.48, 4.50, 4.60, 4.61, และ 4.62)  
ระเบียบวาระที่  5  :    เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1  :    รายงานผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำ กทช.พันเอก นที ศุกลรัตน์ :  กทช. พันเอกนทีฯ

มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของ ที่ปรึกษาประจำ กทช.พันเอกนที   ศุกลรัตน์  จำนวน 3 ราย ตามเอกสารที่ กทช.พันเอก นทีฯ เสนอ ดังนี้
1.  รายงานผลการปฏิบัติงานของ พล.ต.อ.ชาญชิต เพียรเลิศ  (ประจำเดือนมิถุนายน – กันยายน 2553)
2.  รายงานผลการปฏิบัติงานของ  พลเอกสุเจตน์  วัฒนสุข  (ประจำเดือนมิถุนายน-ตุลาคม)
3.  รายงานผลการปฏิบัติงานของ นางจุฑารัตน์ ธนไพศาลกิจ ประจำเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2553) 
ระเบียบวาระที่   5.2   :   ขอให้เร่งรัดกระบวนการออกใบอนุญาตวิทยุชุมชน (ชั่วคราว) และทบทวนแนวทางการให้ใบอนุญาตวิทยุชุมชนของคณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และคณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชน : กทช.พนาฯ , คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 
มติที่ประชุม  รับทราบเรื่อง การขอให้เร่งรัดกระบวนการออกใบอนุญาตวิทยุชุมชน (ชั่วคราว) และทบทวนแนวทางการให้ใบอนุญาตวิทยุชุมชนของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และคณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชน ของนายบุญส่ง จันทร์ส่องรัศมี ประธานสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ ตามเอกสารที่ กทช. พนาฯ เสนอ 
ระเบียบวาระที่    5.3  :   รายงานคดีปกครองหมายเลขดำที่ 1456/2553 และ 1462/2553 : รทช.ฐากรฯ, กม. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานคดีปกครองหมายเลขดำที่ 1456/2553 ระหว่างนางจินตนา กิจธิคุณ ผู้ฟ้องคดี กับสำนักงาน กทช.ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 กทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2  บมจ. กสท โทรคมนาคม  ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3  และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4   และคดีหมายเลขดำที่ 1462/2553 ระหว่างนายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ผู้ฟ้องคดี กับ สำนักงาน กทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และพวกรวม 2 คน  ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่   5.4  :   รายงานความก้าวหน้าและสถานะการดำเนินคดีปกครองที่ กทช., สำนักงาน กทช., ลทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานสำนักงาน กทช.ถูกฟ้องต่อศาลปกครองประจำเดือนตุลาคม 2553 : รทช.ฐากรฯ , กม. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานความก้าวหน้าและสถานการดำเนินคดีปกครองที่ กทช., สำนักงาน กทช., ลทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานที่สำนักงาน กทช.ถูกฟ้องต่อศาลปกครองประจำเดือนตุลาคม 2553 จำนวน 40 คดี ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.5  :   การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มศึกษาที่ 3 สำหรับกลุ่มภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียของสำนักงานมาตรฐานโทรคมนาคมแห่งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และ ประชุมเชิงปฏิบัติการของสำนักงานพัฒนาโทรคมนาคมว่าด้วยเรื่องอัตราค่าบริการโทรคมนาคม :  รทช.ทศพรฯ,กร. 
มติที่ประชุม   รับทราบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มศึกษาที่ 3 สำหรับกลุ่มภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียของสำนักงานมาตรฐานโทรคมนาคม (TSB) แห่งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และ ประชุมเชิงปฏิบัติการของสำนักงานพัฒนาโทรคมนาคม  (BDT) ว่าด้วยเรื่องอัตราค่าบริการโทรคมนาคม ระหว่างวันที่ 8-11 มีนาคม 2554 ณ โรงแรม Novotel Resorts จังหวัดภูเก็ต ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.6   :  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ถึง 17 พฤศจิกายน 2553) : รทช.พิทยาพลฯ , ศฐ. 
มติที่ประชุม   รับทราบการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ จำนวน 6 ราย (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ถึง 17 พฤศจิกายน 2553) ตามเอกสารที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ดังนี้
1.  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์พื้นฐานใช้นอกสถานที่ของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
2.  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น 
3.  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ   บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น  บจ.ทรู มูฟ   บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที 
ระเบียบวาระที่   5.7  :   รายงานผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ     พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 (จังหวัดมหาสารคาม) :  รทช.พิทยาพลฯ , ทถ. 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 (จังหวัดมหาสารคาม) ฉบับที่ 8 (กรกฎาคม ถึง กันยายน 2553) ตามเอกสารที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
2.  สรุปผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือฯ ปีที่ 2 (ตุลาคม 2552 ถึง กันยายน 2553)  ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.8   :  รายงานผลการศึกษาแผนการจัดตั้งศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสาร สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและการพูด  Telecommunications Relay Service) : รทช.พิทยาพลฯ , ทถ. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการศึกษาแผนการจัดตั้งศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสาร สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและการพูด (Telecommunications Relay Service) ซึ่งจะนำมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการนำร่องการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้นในประเทศไทย ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.9   :   รายงานข้อมูลของสถานีวิทยุชุมชนประจำเดือนตุลาคม 2553  : รทช.พิทยาพลฯ, กท. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานข้อมูลสถานะความเคลื่อนไหวของวิทยุชุมชนและข้อมูลสถิติระดับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากวิทยุชุมชนโดยเฉพาะในกรณีมีผลกระทบร้ายแรงต่อการรบกวนวิทยุการบิน ประจำเดือนตุลาคม 2553 ตามเอกสารที่ สำนักงาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.10  :  บริษัท ซันฟลาวเวอร์ เทเลคอม จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง (บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม  รับทราบกรณีบริษัท ซันฟลาวเวอร์ เทเลคอม จำกัด ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง (บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ) ตามประกาศ กทช.เรื่อง กระบวนการออกใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ (Automatic License) ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่   5.11  :   บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) แจ้งการจดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้ว และ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของสำนักงาน : รทช.ประเสริฐฯ ,ปก. 
มติที่ประชุม  รับทราบกรณีบริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) แจ้งการจดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วเป็นเงิน 228 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท และการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของสำนักงานแห่งใหญ่เป็น เลขที่ 123 ซันทาวเวอร์ส อาคารบี ชั้น 35-36 ถนนวิภาวดีรังสิต  แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.12    :   ข้อเสนอแนวทางการกำกับดูแลสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน : สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานสาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมาธิการสื่อสาร และโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และข้อเสนอแนวทางการกำกับดูแลสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงินตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 11 ตามเอกสารที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.13    :  รายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้ประกอบการ 6 เดือนแรก ปี 2553 : สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้ประกอบการ 6 เดือนแรก ปี 2553 โดยมีผู้รับใบอนุญาตส่งรายงานมาทั้งสิ้น 18 ราย จากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจำนวนทั้งสิ้น 238 ราย ( ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2553) โดยแจ้งว่าไม่มีเรื่องร้องเรียน 7 ราย และมีเรื่องร้องเรียน 11 ราย แบ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ราย ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5 ราย และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 3 ราย   ตามเอกสารที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ
ระเบียบวาระที่  5.14  :  รายงานการเดินทางเข้าร่วมการประชุม 14th  Annual Competition Conference ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน 2553 : กทช.สุธรรมฯ 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานการเดินทางของ กทช.สุธรรมฯ และคณะในการเข้าร่วมการประชุม ๑๔th  Annual Competition Conference ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน 2553  ตามเอกสารที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.15   :   การดำเนินการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์  : รทช.ทศพรฯ , วท. 
มติที่ประชุม  รับทราบการดำเนินการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์  ตามประกาศ กทช.เรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์  ประกาศ กทช.เรื่อง ระเบียบสำหรับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.16   :    รายงานการเข้าร่วมการสัมมนา International Regulations Forum และการสัมมนา IIC Annual Conference ๒๐๑๐ ระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2553 ณ กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน : กทช.สุธรรมฯ 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานผลการเดินทางเข้าร่วมการสัมมนา International Regulations Forum และการสัมมนา IIC Annual Conference 2010 ของ กทช.สุธรรมฯ  กทช.พนาฯ  และ คณะเดินทาง  ระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2553 ณ กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน  ตามเอกสารที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.17    :   รายงานการเข้าร่วมการสัมมนา FT World Telecoms Conference ระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2553 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร : กทช.สุธรรมฯ 
มติที่ประชุม    รับทราบผลการเข้าร่วมการสัมมนา FT World Telecoms Conference ของ กทช.สุธรรมฯ และคณะเดินทาง ระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2553 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตามเอกสารที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.18   :   รายงานการเดินทางเข้าลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MoU) ณ เมือง Gotenberg ประเทศสวีเดน : กทช.สุธรรมฯ 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานการเดินทางเข้าลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MoU) ของ กทช.สุธรรมฯ กทช.พนาฯ และ คณะเดินทาง ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 ณ เมือง Gotenberg ประเทศสวีเดน ตามเอกสารที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.19   :   บันทึกความตกลงระหว่างคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ สำนักงาน กทช. : กทช.สุธรรมฯ 
มติที่ประชุม   รับทราบบันทึกความตกลงระหว่างคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ สำนักงาน กทช. ตามเอกสารที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ 
หมายเหตุ  ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือ ได้แก่ วาระที่ 4.10 ,4.12 , 4.16 ,4.21, 4.23 ,4.29-4.35 , 4.38 , 4.45 -4.4.46 , 4.48 ,4.50 ,4.60 , 4.61-4.62 จะได้นำเสนอในการประชุม กทช.ครั้งต่อไป 
ระเบียบวาระที่    6   :   เรื่องอื่น ๆ
ระเบียบวาระที่    6.1  :   ข้อร้องเรียนของนายพีรพงษ์  คงธนาสมบูรณ์ กรณีบริษัท แอดวานซ์   อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้าและยกเลิกบริการเลขหมายของผู้ร้องเรียน : สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
 
มติที่ประชุม            
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าโดยที่ที่ประชุม กทช.ได้มีมติครั้งที่ 23/2553 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2552  กำหนดแนวปฏิบัติในกรณีมีเรื่องร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการร้องเรียนตามประกาศ กทช.เรื่อง   กระบวนการร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการให้มีหนังสือแจ้งผู้ให้บริการ (ผู้ถูกร้อง) เพื่อให้เปิดสัญญาณโทรศัพท์ให้แก่ผู้รับบริการเพื่อเยียวยาความเสียหายเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้ข้อยุติในเรื่องร้องเรียนตามข้อ 5 ของประกาศดังกล่าว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติยืนยันให้แจ้ง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ดำเนินการเปิดสัญญาณโทรศัพท์  ให้แก่ นายพีรพงษ์  คงธนาสมบูรณ์ (ผู้ร้อง)โดยเร็วที่สุดจนกว่าจะได้ข้อยุติในเรื่องที่ร้องเรียนดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 45 วรรคสาม แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และข้อ 5 แห่งประกาศ กทช.เรื่องกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ
2.  มอบหมายให้ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคฯ รับข้อคิดเห็นของที่ประชุม ไปแจ้งยืนยันฯ เพื่อให้ทราบถึงสิทธิผู้บริโภค ในกรณีบัตรเติมเงิน (Prepaid) ว่าผู้ใช้บริการมีสิทธิได้รับคืนเงินค่าบริการในส่วนที่ไม่ได้ใช้บริการ และหากในอนาคตบริษัทฯ ยังดำเนินการในทำนองเดียวกันนี้อีก ก็จะมีการพิจารณากำหนดมาตรการบังคับที่มากยิ่งขึ้น เช่น การปรับหรือยกเลิกใบอนุญาต
ระเบียบวาระที่  6.2   :   ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ของสำนักงาน กทช.ในระดับสายงาน  สถาบัน  สำนัก  กลุ่มภารกิจ  กองทุนฯ ส่วนงาน ระดับบุคคล ของสำนักงาน กทช.ประจำปี 2553  : รทช.ประเสริฐฯ , บค.,พต. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบการจัดทำตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ของสำนักงาน กทช.ในระดับสายงาน  สถาบัน  สำนัก  กลุ่มภารกิจ  กองทุนฯ ส่วนงาน ระดับบุคคล ของสำนักงาน กทช.ประจำปี 2553   ตลอดจน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายหลัก (Strategic Destination) และแผนที่ยุทธศาสตร์ของสำนักงาน กทช. ที่สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) ได้แก้ไขปรับปรุงตามมติ กทช. แล้ว ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ และชัดเจนต่อจากนี้ไปจนกว่าการจัดตั้งสำนักงาน กสทช. จะแล้วเสร็จในปี 2554 ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ ที่จะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆนี้ 
ระเบียบวาระที่  6.3   :  การทำคำให้การในคดีปกครองหมายเลขดำที่ 1663/2553  :  รทช .  ฐากรฯ, กม. 
มติที่ประชุม                  
1.  มอบอำนาจให้ กทช.สุธรรมฯ และ กทช.พนาฯ เป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขดำที่ 1663/2553 ระหว่าง นายวิชิต นวนพรัตน์สกุล ผู้ฟ้องคดี กับ กทช.ผู้ถูกฟ้องคดี ในข้อพิพาทขอให้เพิกถอน (คำสั่ง on-net และ off-net)
2.  เห็นชอบแนวทางการจัดทำคำให้การในคดีปกครองหมายเลขดำที่ 1663/2553 ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักกฎหมาย เป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนทางคดีโดยให้อยู่ภายใต้การกำกับของ กทช. ผู้รับผิดชอบคดี
ระเบียบวาระที่  6.4  :  กรมการปกครองขอขยายข่ายและรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก. 
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ส่งเรื่อง กรมการปกครองขอขยายข่ายและรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม ให้กรรมการกลั่นกรองพิจารณาก่อนตามขั้นตอน และให้สำนักงาน กทช.ดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองต่อไป  
ระเบียบวาระที่  6.5  :   ทุนการศึกษาสำนักงาน กทช.ประจำปี 2554 : กทช.สุธรรมฯ 
มติที่ประชุม                      
1.  อนุมัติให้ดำเนินการสนับสนุนการศึกษาสำนักงาน กทช.ประจำปี 2554 ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ ประกอบด้วย
1.1  ทุนการศึกษาให้แก่บุคคลทั่วไป ในระดับปริญญาตรี-โท ศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกา ในสาขา Broadcasting (เฉพาะการกำกับดูแลสื่อและ Content) สาขากฎหมาย (โทรคมนาคม) สาขาเศรษฐศาสตร์ (โทรคมนาคม) สาขาละ 1 ทุน รวมจำนวน 3 ทุน
1.2  ทุนการศึกษาให้แก่บุคคลทั่วไป ในระดับปริญญาโท ศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกา ในสาขา Broadcasting (เฉพาะการกำกับดูแลสื่อและ Content) สาขากฎหมาย (โทรคมนาคม) สาขาเศรษฐศาสตร์ (โทรคมนาคม) สาขาละ 1 ทุน รวมจำนวน 3 ทุน
1.3  ทุนการศึกษาให้แก่บุคคลทั่วไป ในระดับปริญญาเอก ศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกา ในสาขา Broadcasting (เฉพาะการกำกับดูแลสื่อและ Content) สาขากฎหมาย (โทรคมนาคม) สาขาเศรษฐศาสตร์ (โทรคมนาคม) สาขาละ 1 ทุน รวมจำนวน 3 ทุน
1.4  ทุนการศึกษาโดยความร่วมมือกับสถาบัน Graduate School of Asia Pacific Studies มหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น ในระดับปริญญาโท จำนวน 1 ทุน  ในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านโทรคมนาคม ในระดับปริญญาเอก จำนน 1 ทุน  ในสาขาการศึกษากิจการระหว่างประเทศด้านโทรคมนาคม โดยเปิดรับบุคคลทั่วไป และบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้แก่สำนักงาน กทช.
1.5  ทุนการศึกษาโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Chalmers ราชอาณาจักรสวีเดน ในระดับปริญญาเอก ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์โทรคมนาคม เศรษฐศาสตร์โทรคมนาคม และกฎหมายโทรคมนาคม สาขาละ 1 ทุน รวมจำนวน  3 ทุน
1.6  ทุนการศึกษาโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Curtinประเทศออสเตรเลีย ในระดับปริญญาเอก ในสาขาเศรษฐศาสตร์โทรคมนาคม จำนวน 2 ทุน และสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 1 ทุน (ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากอนุมัติเดิมในมติที่ประชุมครั้งที่ 34/2553 ระเบียบวาระที่ 6.2 ที่ให้สนับสนุนทุนการศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ในระดับปริญญาโท  และ ปริญญาเอก ระดับละ 1 ทุน และสาขาเศรษฐศาสตร์ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ระดับละ 1 ทุน)
1.7  ทุนการศึกษาโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย King’s College London สหราชอาณาจักร ในระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า ในสาขากฎหมาย จำนวน 2 ทุน และทุนการศึกษาในระดับ Diploma ในสาขาวิชากฎหมาย ซึ่งเป็นการศึกษาทางไกล จำนวน 2 ทุน
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการในการจัดทำงบประมาณเพื่อรองรับการดำเนินการทุนการศึกษาตามข้อ 1 พร้อมทั้งให้ สำนักงาน กทช.ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการของทุนการศึกษาแต่ละทุนด้วย  
ระเบียบวาระที่  6.6   :  ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัย Chalmers ประเทศสวีเดน : กทช.สุธรรมฯ 
มติที่ประชุม  เห็นชอบในหลักการการกำหนดทุนการศึกษาเพื่อส่งบุคลากรเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัย Chalmers ประเทศสวีเดน จำนวน 3 ทุน  ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับทุนการศึกษา แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง  
ระเบียบวาระที่  6.7  :   อนุมัติการจัดทำข้อตกลง joint Statement ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กับ The Global Information & Telecommunication Institute และ Graduate School of Global Information & Telecommunication Studies มหาวิทยาลัย  วาเซดะ : ประธาน กทช. 
มติที่ประชุม  อนุมัติในหลักการการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กทช.และมหาวิทยาลัยวาเซดะ (joint Statement ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กับ The Global Information & Telecommunication Institute และ Graduate School of Global Information & Telecommunication Studies , Waseda University)  โดยให้จัดสรรงบประมาณภายในกรอบวงเงินจำนวน 5,000,000 บาท ในปี 2554 เพื่อรองรับการดำเนินกิจกรรมตามข้อตกลงความร่วมมือฯ โดยบรรจุอยู่ในแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. ตามที่ประธาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  6.8   :  ความร่วมมือทางวิชาการในการส่งนักเรียนทุนเข้าศึกษาต่อยัง มหาวิทยาลัย King’s College London ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ : กทช.สุธรรมฯ 
มติที่ประชุม                  
1.  อนุมัติการส่งนักเรียนทุนเข้าศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัย King’s College   London ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ ได้แก่
1.1  ส่งนักเรียนทุนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท (LLM) หรือสูงกว่า ในสาขาวิชากฎหมาย จำนวน 2 ทุน
1.2  ส่งนักเรียนทุนเข้าศึกษาต่อในระดับอนุปริญญา (Diploma) ในสาขาวิชากฎหมาย ซึ่งเป็นการศึกษาทางไกล จำนวน 2 ทุน
1.3  การจัดกิจกรรมการทางวิชาการ เช่น การอบรมสัมมนา Workshop หรือ seminar training ที่จัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัย King’s College   London จำนวน 4 ทุน
2.  อนุมัติให้สำนักทรัพยากรบุคคลเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ พร้อมทั้งจัดเตรียมงบประมาณเพื่อเป็นทุนรองรับในการดำเนินการตามความร่วมมือทางวิชาการในข้อ 1 ต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.9  :   การจัดการอบรมหลักสูตร NTC Law and Economics Training Programme ๒๐๑๑ : กทช.สุธรรมฯ
มติที่ประชุม                  
1.  อนุมัติการจัดการอบรมหลักสูตร NTC Law and Economics Training Programme 2011 ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง กทช. และ King’s College London ทั้งนี้ โดยมีกรอบวงเงินค่าใช้จ่าย จำนวน 10 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักกิจการกรรมการ ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ
2.  อนุมัติให้บุคคลภายนอก (ผู้แทนศาลยุติธรรมและศาลปกครอง) เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรตามข้อ 1 สำหรับรายชื่อและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง มอบหมายให้สำนักงาน กทช.พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป 
ระเบียบวาระที่  6.10   :   ขออนุมัติโครงการสัมมนา “Mobile Banking and Share Service” : ประธาน กทช. 
มติที่ประชุม  อนุมัติให้ดำเนินการโครงการสัมมนา “Mobile Banking and Share Service” ในวันที่ 9 ธันวาคม 2553  ณ อาคารหอประชุมชั้น 2 สำนักงาน กทช. ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 115,000 บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมของสำนักประธานกรรมการ ตามที่ประธาน กทช.เสนอ 
ระเบียบวาระที่  6.11   :   การแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (คบท.) ชุดใหม่ : สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
มติที่ประชุม  เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ชุดใหม่ ตามรายชื่อบุคคลที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งสิ้น 13 ราย ตามที่กรรมการสรรหาฯ เสนอ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ตามข้อ 9 แห่งระเบียบ กทช.ว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2550  ทั้งนี้  โดยให้ได้รับค่าตอบแทน ค่าเบี้ยประชุมในอัตราครั้งละ 8,000 บาท ตามระเบียบ กทช.ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ.2551 ข้อ 18(1) (ข) ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ 
ระเบียบวาระที่   6.12  :    การรายงานผลการดำเนินงานและขอขยายระยะเวลาการดำเนินการของคณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายกรณีศาลปกครองกลางกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz : คณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายกรณีศาลปกครองฯ 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายกรณีศาลปกครองกลางกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ตามที่ คณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายกรณีศาลปกครองฯ เสน
2.  อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการดำเนินงานของคณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายฯ ตามข้อ 1 ออกไปอีก 45 วัน นับจากวันที่ครบกำหนดเดิม (28 พฤศจิกายน 2553) ตามที่คณะกรรมการเจรจาและต่อรองและบรรเทาความเสียหายฯ เสนอ 
ระเบียบวาระที่  6.13  :    แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง : สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 ราย ตามรายชื่อที่เสนอ โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 1 ปี ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (กพท.) ตามที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเสนอ  ทั้งนี้ โดยหาก กทช.ท่านใดประสงค์จะเสนอรายชื่อเพิ่มเติมขอให้แจ้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ภายใน 1 สัปดาห์
2.  อนุมัติค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่คณะกรรมการดังกล่าว (สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในต่างจังหวัด) ในการเข้าร่วมประชุมกับ สพท.ในโครงการ Excellence 2008 Plus Three ทั้งนี้ โดยรวมค่าโดยสารเครื่องบิน (ชั้นประหยัด)  ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะเดินทาง รวมทั้งในกรณีที่มีความจำเป็นในการประชุมต่างจังหวัดให้คณะกรรมการที่สังกัดในสถาบันที่มีที่ตั้งต่างจากสถานที่ประชุมสามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ในหลักการเดียวกัน
3.  อนุมัติค่าตอบแทนการประชุมให้กรรมการดังกล่าวตามระเบียบ กทช.ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 โดยอนุโลม
ระเบียบวาระที่  6.14  :   โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบแอพพลิเคชั่น  (Application Test Center :ATC) : สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
มติที่ประชุม   เห็นชอบโครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบแอพพลิเคชั่น  (Application Test Center :ATC) ตามที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเสนอ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารงานสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (กพท.) แล้ว ทั้งนี้ โดยหาก กทช.ท่านใดมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ขอให้จัดส่งความเห็นให้ประธาน กทช.ภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2553 เพื่อจะได้จัดส่งให้สถาบันวิจัยและพัฒนาฯ รับไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินโครงการฯ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป 
ระเบียบวาระที่   6.15  :   การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO : รทช.ประเสริฐฯ , ปก. 
มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง จำนวน 7 ราย ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่งประเภทการขายส่งบริการและ/หรือบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขเช่นเดียวกับกรณีบริการ MVNO ที่ กทช.มีมติอนุมัติไปแล้ว ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ประกอบด้วย
1)  บจ.สยามเทเลคอม แอคเซส เพื่อให้บริการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการ Medium – MVNO และบริการขายต่อบริการอินเทอร์เน็ต
2)  บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพื่อให้บริการขายส่งและบริการขายต่อบริการ Medium –MVNO
3)  บจ.ซี.ที.เทเลคอม จำกัด เพื่อให้บริการขายต่อบริการ Thin-MVNO
4)  บจ. ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์เซลล์  เพื่อให้บริการขายต่อบริการ Medium –MVNO
5)  บจ.เอทูเน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้บริการขายต่อบริการ Thin-MVNO
6)  บจ.ดีแทค อินเตอร์เนต เซอร์วิส เพื่อให้บริการขายต่อบริการ Medium-MVNO
7)  บจ.เอฟทีทีเอ็กซ์ อินฟรา (พัทยา) จำกัด เพื่อให้บริการขายต่อบริการ Thin-MVNO
2.  เห็นชอบเป็นหลักการให้สำนักงาน กทช.พิจารณาดำเนินการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง กรณีบริการ MVNO ตามกระบวนการ Automatic License ต่อไปได้ แล้วรายงานให้ กทช.ทราบ 
ระเบียบวาระที่  6.16  :    การก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของ กสทช. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบในหลักการการก่อสร้างอาคารใหม่เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของ กสทช. ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ของสำนักงาน กทช. รับไปพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะดำเนินการ รวมทั้งจัดทำรายละเอียดแผนการดำเนินงานโดยอาจแบ่งเป็นระยะสั้น และระยะยาว แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาต่อไป 
หมายเหตุ   ไม่มีเอกสารประกอบวาระ (ที่ประชุมได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือร่วมกัน)   
ระเบียบวาระที่   6.17   :   การสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิธารศิลป์รักษ์จิตรกร : กทช.สุรนันท์ฯ 
มติที่ประชุม   อนุมัติในหลักการการสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิธารศิลป์รักษ์จิตรกร โดยการซื้อภาพวาดของศิลปินเพื่อนำเงินรายได้ไปช่วยเหลือสังคมในโอกาสต่างๆหรือช่วยเหลือในกรณีหากเกิดสาธารณภัยรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ ในการสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว จะได้นำเสนอในรายละเอียดให้ที่ประชุม กทช. พิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นครั้งๆไป ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ เสนอ 
หมายเหตุ  ไม่มีเอกสารประกอบวาระ (กทช.สุรนันท์ฯ ได้หยิบยกเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุมกทช. ด้วยวาจา)

สร้างโดย  -   (31/1/2559 14:08:36)

Download

Page views: 382