สรุปมติที่ประชุม กทช. 39/2553

 รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 39/2553
วันพุธที่  15  ธันวาคม  2553  เวลา  09.30  น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12  อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์          ประพิณมงคลการ              ประธานกรรมการ
2.  นายสุชาติ                         สุชาติเวชภูมิ                     กรรมการ 
3.  รองศาสตราจารย์สุธรรม       อยู่ในธรรม                       กรรมการ
4.  นายสุรนันท์                      วงศ์วิทยกำจร                    กรรมการ
5.  พันเอกนที                        ศุกลรัตน์                          กรรมการ
6.  รองศาสตราจารย์พนา          ทองมีอาคม                      กรรมการ
7.  นายฐากร                         ตัณฑสิทธิ์                        รองเลขาธิการ กทช. รักษาการในตำแหน่ง เลขาธิการ กทช.

ระเบียบวาระที่ 1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.  ในวันพรุ่งนี้ประธาน กทช. จะเดินทางไปร่วมงานโครงการหลวง ซึ่งจะมีพิธีที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับเชิญจากอธิการบดีศาสตราจารย์   ดร.พงษ์ศักดิ์ฯ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะเสด็จในพิธี และทรงมีรับสั่งให้ประธาน กทช.เข้าเฝ้า
2.  ในวันที่ 17 - 18 ธันวาคม 2553 ประธาน กทช.จะไปร่วมงานของ บมจ. ทีโอที จะมี กทช. ท่านใดประสงค์จะไปร่วมด้วยหรือไม่ ก็ขอฝากไว้ด้วย
หมายเหตุ ประธาน กทช. ได้เปิดโอกาสให้ กทช. หรือรองเลขาธิการ กทช. (นายฐากรฯ) รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช. ที่มีความประสงค์จะแจ้งเรื่องใดต่อที่ประชุมก็สามารถแจ้งได้ ในการนี้ นายฐากรฯ รทช. ร/ก ลทช. ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบ รวม 2 เรื่อง ได้แก่
3.  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้รับรองงบดุลของสำนักงาน กทช. ประจำปี 2552 แล้ว ทั้งนี้ สำนักงาน กทช.ได้จัดส่งเอกสารให้ กทช. ทุกท่านทราบแล้ว ผลการตรวจนับว่าดีกว่าเดิมมาก เนื่องจากมี Comments จาก สตง. น้อยลง เหลืออยู่ไม่กี่เรื่อง ซึ่งสำนักงาน กทช. จะรับไปดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามความเห็นของ สตง. ต่อไป
4.  สำหรับความคืบหน้าเรื่องพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ นั้น ได้รับการประสานงานเป็นการภายในจากสำนักราชเลขาธิการ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ว่าขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะองคมนตรี แล้ว จึงอยู่ระหว่างในขั้นตอนนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป ซึ่งสำนักงาน กทช. ได้ประสานงานกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีว่า เมื่อทรงโปรดเกล้าฯ แล้ว ขอให้แจ้งให้ทราบโดยด่วนด้วย
5.  ประธาน กทช. ได้กล่าวขอบคุณ กทช. สุรนันท์ฯ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ กทช.ในขณะนั้น รวมทั้ง รทช.ฐากรฯ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช. ที่ช่วยดูแลความเรียบร้อยและชี้แจงข้อสงสัยต่างๆ ในการตรวจสอบงบดุลของสำนักงาน กทช. ประจำปี 2552 จึงขอให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของ สตง. ไปดำเนินการเพื่อปรับปรุงระบบการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ให้ประสานการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. ด้วย
6.  จากนั้น กทช.สุรนันท์ฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม โดยขอให้สำนักงาน กทช. เตรียมการในเรื่องการชำระบัญชีของสำนักงาน กทช. ไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินและหนี้สิน เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งมอบในนาม กทช. ให้กับ กสทช. และ กทช.สุชาติฯ ได้สอบถามเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าการเตรียมการในเรื่องนี้ของสำนักงาน กทช. ว่าต้องดำเนินการอะไรบ้าง ระเบียบ/ประกาศใดที่ต้องยกเลิก หรือคงไว้ เรื่องเกี่ยวกับพนักงานของสำนักงานฯ โดยอยากทราบว่าจะนำมาเสนอ กทช. ได้เมื่อใดเพื่อให้ที่ประชุม กทช. ทราบ และจะได้กำหนดยุทธศาสตร์ และวิธีการดำเนินงานที่ชัดเจน ในการนี้ รทช.ฐากรฯ ได้เรียนชี้แจงเพิ่มเติมว่า สำนักงาน กทช. ได้มีการเตรียมการในเรื่องนี้มาเป็นลำดับ โดยได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง โดยมี อทถ. (นายพากเพียรฯ) เป็นประธาน เนื่องจากเป็นผู้ที่เข้าไปสังเกตการณ์ในการยกร่างพระราชบัญญัตินี้มาโดยตลอด รวมทั้งมี อกม. และ อปต. เข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้วย ซึ่งจะพิจารณาในมาตรา 79 และ มาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติฯ ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. โดยตรง รวมทั้งได้ประสานงานกับท่านดิสทัตฯ ซึ่งเป็นกรรมาธิการ ดร.สมเกียรติฯ และท่านประสิทธิ์  โพธสุธน ก็จะเข้ามาช่วยพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย โดยกำหนดการจัดประชุมหารือร่วมกันไว้ในระหว่างวันที่ 26 – 27 ธันวาคม 2553 โดยจะได้มีการนำประเด็นปัญหาต่างๆ ที่รวบรวมไว้ทั้งหมดนำเข้าหารือในที่ประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ จะขอเรียนเชิญ กทช. ทุกท่านเข้าร่วมด้วย โดยจะจัดที่โรงแรมกรุงศรีรีเวอร์ หลังจากนั้นจะนำผลที่ได้ประมวลเสนอที่ประชุม กทช. โดยเร็วในช่วงหลังปีใหม่
7.  ประธาน กทช. ได้กล่าวเสริมด้วยว่า ใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ ได้มีข้อความที่ระบุเกี่ยวกับระเบียบตามที่คณะกรรมการกำหนดไว้ จึงขอให้สำนักงาน กทช. ไปตรวจสอบระเบียบ/ประกาศ กทช. ที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องปรับเปลี่ยนเป็น กสทช. โดยให้รวบรวมเพื่อนำเสนอ กสทช. พิจารณาต่อไป นอกจากนี้ กทช.สุธรรมฯ กทช.สุรนันท์ฯ และ กทช.พนาฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการเตรียมความพร้อมของสำนักงาน กทช. เพื่อรองรับกฎหมายใหม่ และ กสทช. สรุปได้ว่า สำนักงาน กทช. ต้องเตรียมการในเรื่อง Logistic ต่างๆ สำหรับคณะกรรมการ กสทช.และพนักงานที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านให้ดี เพราะจะมีงานเยอะมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว วิธีการที่สำนักงานฯ จะดำเนินการตามที่ รทช.ฐากรฯ ชี้แจงนั้น อาจไม่ทันการ กทช. จำเป็นต้องเข้ามาร่วมดำเนินการด้วยตนเองจะเร็วกว่า โดยสำนักงานฯ ต้องจัดทีมหรือบุคลากรเพื่อสนับสนุน กทช. ในการทำงาน อาทิ การเตรียมการในด้านกฎหมาย ซึ่งคงต้องเป็น กทช.สุธรรมฯ ช่วยกำกับดูแลด้านนี้ ตลอดจนการเตรียมการด้าน Facility หรืออุปกรณ์สำนักงาน และเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงประธาน กทช. ได้กล่าวเพิ่มเติมในเรื่องการเตรียมการด้านอาคารสถานที่ด้วย และได้ให้ข้อสังเกตในตอนท้ายเกี่ยวกับความชัดเจนในการทำหน้าที่ของ กทช. ในการปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณาดูให้รอบคอบ และชัดเจน ว่าจะสามารถมีขอบเขตของการดำเนินการได้มากน้อยเพียงใด
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.  รับทราบรายงานการตรวจสอบงบดุลของสำนักงาน กทช. ปี 2552 ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และรายงานความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. .... ตามที่ รทช.ฐากรฯ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช. แจ้งต่อที่ประชุมทราบ
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็น และข้อสังเกตของที่ประชุมในเรื่อง แนวทางการเตรียมการเพื่อรองรับภารกิจตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. ....ฉบับใหม่ เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำรายละเอียด พร้อมความเห็นและข้อเสนอแนะเสนอต่อที่ประชุม กทช. โดยเร็วต่อไป โดยเฉพาะในประเด็นที่สำคัญๆ อาทิ การชำระบัญชีของสำนักงาน กทช. การแก้ไขปรับปรุงประกาศ ระเบียบ ให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ การเตรียมการด้าน Logistic ตลอดจนการเตรียมการด้านอาคารสถานที่ รวมถึงในเรื่องการพิจารณากำหนดขอบเขตการทำหน้าที่ของ กทช. ในการปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ที่ต้องมีความชัดเจน รอบคอบและถูกต้อง เป็นต้น
ระเบียบวาระที่  2 :  รับรองรายงานการประชุม กทช. ครั้งที่ 38/2553 วันพุธที่ 1 ธันวาคม 2553
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม กทช. ครั้งที่ 38/2553 วันพุธที่ 1 ธันวาคม 2553 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ  อย่างไรก็ดี หาก กทช. ท่านใดมีข้อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมประการใด ก็ขอให้แจ้งต่อสำนักงาน กทช. โดยเร็วเพื่อดำเนินการก่อนนำเสนอประธาน กทช. ลงนามรับรองภายใน 3 วันนับจากวันที่ กทช.มีมติรับรองตามขั้นตอนของระเบียบที่กำหนดไว้ต่อไป
หมายเหตุ ประธาน กทช. ได้แจ้งให้ปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มเติมข้อความต่อท้ายมติที่ประชุมเดิมในวาระที่ 4.5 ให้สอดคล้อง และถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้น (ตามที่ประธาน กทช.ได้แจ้งต่อที่ประชุมให้รับทราบแล้วในวาระประธานแจ้งที่ประชุมทราบ) เป็นดังนี้
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยงานต่างๆ จำนวน 4 รายการ ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณฯ ตามที่ กทช.บัณฑูรฯ เสนอ ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่ารายการที่ขอรับการสนับสนุนทั้ง 4 รายการ ได้แก่
1.  หนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษ “ประเพณีลอยกระทงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและร่วมเทิดพระเกียรติฯ”      
2.  รายการโทรทัศน์ “โลกประชาธิปไตย” แก่บริษัท ไทยวิทัศน์ จำกัด  
3.  โครงการเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในมหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 83 พรรษา  และ
4.  สนับสนุนการจัดโครงการ “อยู่ดีมีสุขได้ด้วยไท้นำทาง” มีวัตถุประสงค์ไม่เป็นไปตามภารกิจของ กทช. โดยตรงและไม่สอดคล้องกับระเบียบ กทช.ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช.และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2552 จึงเห็นควรระงับการสนับสนุนงบประมาณ อย่างไรก็ดี กรณีโครงการลำดับที่ 4 นั้น ที่ประชุม กทช. โดยประธาน กทช.ได้แจ้งต่อที่ประชุมในวาระประธานแจ้งแล้วเห็นว่า โครงการ “อยู่ดีมีสุขได้ด้วยไท้นำทาง” ดังกล่าวเป็นการเฉลิมพระเกียรติและใช้ ICT ผ่านทางเว็บไซต์ และสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งงบประมาณที่ใช้ไม่สูงมากนัก ซึ่งสำนักงาน กทช. มีงบประมาณเพียงพอจัดเตรียมไว้แล้ว จึงเห็นควรให้การสนับสนุนไปได้ ทั้งนี้ โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรปี 2553”
ระเบียบวาระที่ 3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 38/2553 วันพุธที่ 1 ธันวาคม 2553
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 38/2553 วันพุธที่ 1 ธันวาคม 2553 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.1 :  การคัดเลือกเลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ : รทช.ฐากรฯ, ปต.

มติที่ประชุม ยืนยันตามมติ กทช. ครั้งที่ 33/2553 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553 มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ประสานบริษัท เมเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อขอแก้ไขปรับปรุง TOR โดยให้จัดทำเฉพาะข้อเสนอเชิงวิชาการในลักษณะ Recommendations เกี่ยวกับข้อเสนอแนะการกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ รวมถึงรูปแบบ/แนวทาง/ขั้นตอนและวิธีการคัดเลือก ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์กรณีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่กำลังจะประกาศใช้บังคับอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ และเพื่อไม่ให้ภาครัฐเกิดความเสียหาย
ระเบียบวาระที่ 4.2  :  การเรียกคืนความถี่ GSM 1900 MHz ของ บมจ. ทีโอที : คณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ (30/2553)
มติที่ประชุม  โดยที่เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการใช้งานคลื่นความถี่ กอปรกับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่อยู่ในระหว่างนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ใกล้จะมีผลบังคับใช้ในเร็ววันนี้ ส่งผลให้มีประเด็นต่างๆ ที่จำเป็นต้องพิจารณาเพิ่มเติม ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรอบคอบมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้ กทช. พันเอก นทีฯ เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองในรายละเอียดของเรื่องนี้เพิ่มเติมก่อน เพื่อเสนอความเห็นให้ที่ประชุม กทช. พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.3 :  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับบริการโครงข่ายสายแบบแยกส่วน : รทช.พิทยาพลฯ, พต. (34/2553)
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบการมอบหมาย กทช. สุธรรมฯ เป็นประธานกรรมการกำกับบริการโครงข่ายสายแบบแยกส่วน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 4 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้บริการโครงข่ายสายแบบแยกส่วน พ.ศ. 2553
2.  เห็นชอบร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับบริการโครงข่ายสายแบบแยกส่วน ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปพิจารณาระบุชื่อตัวบุคคลเป็นกรรมการแทนการระบุตำแหน่งให้ชัดเจน เนื่องจากกรรมการโดยตำแหน่งบางตำแหน่งไม่มีอยู่ในกฎหมายฉบับใหม่ รวมทั้งในเรื่องขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการฯ นั้น ควรพิจารณากำหนดเท่าที่จำเป็นโดยเป็นการดำเนินกิจกรรมในลักษณะการศึกษาวิจัย (Study & Research) เพื่อส่งมอบงานต่อให้ผู้ที่รับผิดชอบตามกฎหมายใหม่เท่านั้น ยังมิได้มีอำนาจแท้จริง แล้วนำเสนอคำสั่งแต่งตั้งให้ประธาน กทช. ลงนามต่อไป               
ระเบียบวาระที่  4.4  :  อัตราขั้นสูงใหม่ของค่าบริการโทรคมนาคมตามประกาศ กทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการและการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 (วาระต่อเนื่อง) : รทช.พิทยาพลฯ, ศฐ.  (34/2553)
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบรายงานผลการศึกษาอัตราค่าบริการโทรคมนาคมแบบ Bottom-up Model ที่เป็นจำลองต้นทุนของผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพ (Hypothetical Efficient Operator) ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  เห็นชอบการกำหนดอัตราขั้นสูงใหม่ของค่าบริการโทรคมนาคมตามประกาศ กทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการและการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ดังนี้
2.1 กำหนดอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ Pre-paid และ Post-paid ในอัตรา 0.99 บาท/นาที ในลักษณะอัตราถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weight Average Rate) ทั้งนี้ ให้บังคับใช้กับผู้รับใบอนุญาตการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ทุกราย
2.2 สำหรับการพิจารณากำหนดอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรศัพท์ประจำที่และบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปพิจารณาดำเนินการตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองต่อไป ซึ่งในชั้นนี้ ยังไม่ควรต้องกำกับดูแลอัตราค่าบริการของบริการทั้งสองข้างต้น โดยสามารถประกาศกำหนดยกเว้นเป็นรายกรณีตามข้อ 4 วรรคสอง ของประกาศ กทช. เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการและการเรียกเก็บเงินล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ได้ กล่าวคือ
1)  กรณีบริการโทรศัพท์ประจำที่ เนื่องจากปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการและรายได้ของบริการโทรศัพท์ประจำที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ถูกทดแทนด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ไม่ได้เป็นผู้นำตลาดด้านราคาได้อีกต่อไป จึงควรพิจารณากำกับดูแลอัตราค่าบริการโทรศัพท์ประจำที่ในลักษณะ Ex post regulation แทน
2)  กรณีบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ เนื่องจากบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศถือเป็นบริการที่มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และขึ้นอยู่กับปัจจัยในการคำนวณที่แตกต่างกัน การกำกับดูแลย่อมพิจารณาในลักษณะพิเศษของบริการดังกล่าว ในชั้นนี้ จึงควรมีการศึกษาให้รอบคอบก่อนพิจารณาการกำกับดูแลอัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้เหมาะสมต่อไป
     ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปพิจารณาดำเนินการตามมติข้างต้น เพื่อจัดทำร่างประกาศเสนอ กทช. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามขั้นตอนต่อไป
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อเสนอแนะของที่ประชุม กทช. ไปพิจารณาจัดเตรียม และจัดสรรงบประมาณเพื่อเบิกจ่ายเป็นค่าดำเนินการจัดพิมพ์และเผยแพร่เอกสารรายงานผลการศึกษาเพื่อกำหนดอัตราขั้นสูงใหม่ของค่าบริการโทรคมนาคมฯ ตามข้อ 1 ให้เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ โดยมอบหมาย กทช.สุธรรมฯ เป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแลทั้งการพิจารณาเรื่องความเหมาะสมของเนื้อหา (โดยมีประธาน กทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ช่วยพิจารณาด้วย) และการจัดพิมพ์เอกสารายงานฯ โดยให้เจ้าหน้าที่สำนักเศรษฐกิจโทรคมนาคมมาหารือในรายละเอียดด้วยอีกครั้งหนึ่ง ก่อนดำเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.5  :  การมอบนโยบายการดำเนินงานและงบประมาณประจำปี 2554 : รทช.พิทยาพลฯ, รทช.ประเสริฐฯ, พต., งป. (37/2553)
มติที่ประชุม                  
1.  โดยที่ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ อยู่ในระหว่างการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ก่อนนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร รูปแบบ และวิธีการดำเนินงาน ตลอดจนการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบในช่วงเปลี่ยนผ่านดังกล่าว กอรปกับเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและมิให้การปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. ต้องหยุดชะงักลง ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. ในชั้นนี้ จึงสมควรต้องกำหนดแนวนโยบายงบประมาณประจำปี 2554 ที่มุ่งเน้นเฉพาะรายการค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก่อน สำหรับรายการค่าใช้จ่ายในส่วนที่เหลือ กทช. จะได้นำมาพิจารณาโดยรวมอีกครั้งหนึ่งเพื่อความเหมาะสมภายหลังจาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว
2.  อนุมัติกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. จำนวนเงิน 3,641.65 ล้านบาท ซึ่งได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณากลั่นกรองของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 แล้ว และเป็นไปตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยหลักการบริหารจัดการงบประมาณ พ.ศ. 2551 (Budget Management)
หมายเหตุ วาระนี้พิจารณาร่วมกับวาระที่ 6.1 เรื่อง ผลการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกันและต่อเนื่องกัน
ระเบียบวาระที่  4.6  :  กระบวนการและขั้นตอนและการมอบหมายให้กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่ ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ งดหรือระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันประโยชน์สาธารณะ : รทช.ประเสริฐฯ, กท.
มติที่ประชุม
1.  เห็นชอบร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ งดหรือระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันประโยชน์สาธารณะ ซึ่งได้แก้ไขตามความเห็น  กรรมการกลั่นกรองเรียบร้อยแล้วตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. นำเสนอประธาน กทช. ลงนาม และนำร่างระเบียบฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามขั้นตอนเพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
2.  มอบหมายให้ ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ งดหรือระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันประโยชน์สาธารณะ ต่อไป 
ระเบียบวาระที่ 4.7  :  การกำหนดค่าปรับทางปกครองกรณีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ข้อมูลชี้แจงเพิ่มเติมต่อข้อสังเกต กทช. รศ.สุธรรมฯ) : รทช.ประเสริฐฯ, กบ., คกก.ศึกษาและกำหนดค่าปรับทางปกครองฯ (30/2553)
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบข้อมูลชี้แจงเพิ่มเติมของคณะกรรมการศึกษาและกำหนดค่าปรับทางปกครองฯต่อความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ เพิ่มเติมกรณีการพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
2.  อย่างไรก็ดี โดยที่ขณะนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนได้เริ่มเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงแล้ว และในวันที่ 15 มกราคม 2554 จะเปิดให้บริการได้เต็มที่แบบ Full Scale ดังนั้น หากครบกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่สามารถให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ Full Scale แล้ว ให้สำนักงาน กทช. นำเรื่องนี้เสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง                             
ระเบียบวาระที่ 4.8  :  หลักเกณฑ์การจัดสรรเลขหมายฯ เป็นกรณีพิเศษ (เลขหมายสวย) : กทช.สุรนันท์ฯ, รทช.ประเสริฐฯ, กบ. (32/2553)
มติที่ประชุม เห็นชอบในหลักการของหลักเกณฑ์การจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม เป็นกรณีพิเศษ (เลขหมายสวย) ซึ่งสำนักงาน กทช. ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแล้วตามความเห็นของคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม และความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ขอให้ กทช. ไปพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง หากไม่มี กทช. ท่านใดแก้ไข หรือมิใช่การแก้ไขในสาระสำคัญ ให้สำนักงาน กทช. นำไปดำเนินการเพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการจัดสรรเลขหมายฯ เป็นกรณีพิเศษ (เลขหมายสวย) ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.9  :  แต่งตั้งคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม (เพิ่มเติม) : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. (35/2553)
มติที่ประชุม                  
1.  มอบหมายให้ กทช.สุรนันท์ฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมของบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม (เพิ่มเติม) จำนวน 2 ราย และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการในการแต่งตั้งคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม (เพิ่มเติม) ดังกล่าวให้เรียบร้อยตามขั้นตอนต่อไป  ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ 14 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551
2.  อนุมัติให้คณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ได้รับค่าตอบแทนค่าเบี้ยประชุมในอัตราครั้งละ 8,000 บาท ตามข้อ 18(1) (ข) ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.10  :  การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรทางสังคม และบริษัทเอกชน กรณีจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษเดิมที่รับคืนจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. (35/2553)
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรทางสังคม และบริษัทเอกชน กรณีจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษเดิมที่รับคืนจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ และ กทช.สุรนันท์ฯ) พิจารณาเห็นว่า โดยที่ศาลปกครองได้เคยมีคำตัดสินว่าเรื่องเลขหมายโทรคมนาคมทั้งหมด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กทช. ดังนั้น เรื่องนี้จึงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ กทช.ประกาศกำหนดไว้ โดยข้อ 93 ของประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายฯ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาต ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ที่ได้รับการจัดสรรเลขหมายฯ และผู้ที่ได้รับการจัดสรรเลขหมายฯ พิเศษ โดยชอบด้วยกฎหมายก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ซึ่งมีภาระหน้าที่ในการชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายฯ ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาต ผู้ประกอบกิจการฯ หรือผู้ที่ได้รับการจัดสรรเลขหมายฯ และผู้ที่ได้รับการจัดสรรเลขหมายฯ พิเศษดังกล่าวยังคงมีหน้าที่ในการชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายฯ ให้ครบถ้วนต่อไป ดังนั้น จึงเป็นข้อยกเว้นว่าผู้ที่มีหน้าที่ในการชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายฯ อยู่ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ (24 ตุลาคม 2551) ยังคงต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะครบถ้วน ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมเพิ่ม (ถ้ามี) ตามประกาศเดิมด้วย  ทั้งนี้ ภาระการชำระค่าธรรมเนียมตามบทยกเว้นนี้ จะคำนวณไปถึงวันที่ประกาศ กทช. ฉบับใหม่ใช้บังคับแล้วจึงถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อัตราฉบับใหม่ต่อไป (ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายประจำ กทช. (พลเอก  ชูชาติ  สุขสงวน)             
ระเบียบวาระที่ 4.11  :  บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. (37/2553)
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1303 สำหรับให้บริการข้อมูลข่าวสารและให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ตามความเห็นคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ทั้งนี้ ให้ บสย. ดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์จัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 โดยเคร่งครัดต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.12  :  ขอเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตและเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการ BWA : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก. (29/2553)
มติที่ประชุม เห็นชอบให้สำนักงาน กทช. ถอนเรื่อง ขอเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตและเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้งานคลื่นความถี่ในกิจการ BWA ออกจากวาระการพิจารณาไปก่อนในขณะนี้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พันเอกนทีฯ) ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ เนื่องจากปัจจุบันยังอยู่ระหว่างรอคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ดังนั้น ในการดำเนินการใดที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่ จึงควรต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ และระมัดระวัง
ระเบียบวาระที่  4.13  :  บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด ขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ไมโครเวฟ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติม (ให้บริการโครงข่ายคลื่นความถี่) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. (33/2553)
มติที่ประชุม โดยที่ที่ประชุมส่วนใหญ่ (ประธาน กทช., กทช.สุชาติฯ, กทช.พนาฯ และ กทช.พันเอกนทีฯ) พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีบริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด ขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ไมโครเวฟ เพื่อใช้ในการประกอบการกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติม (ให้บริการโครงข่ายคลื่นความถี่) นั้น เป็นการใช้คลื่นความถี่ในเชิงพาณิชย์ จึงมิใช่ในกรณียกเว้นหากกระทบต่อประโยชน์สาธารณะโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ตามมติหลักการที่ กทช. ให้ไว้ในการประชุม กทช.ครั้งที่ 33/2553 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553 อันเนื่องมาจากรอคำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุดที่ยังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น จึงยังไม่สามารถพิจารณาอนุญาตให้ได้ โดยจะไม่มีการพิจารณาอนุญาตการจัดสรรคลื่นความถี่เพิ่มเติม ที่ประชุมจึงมีมติไม่อนุมัติการจัดสรรคลื่นความถี่ไมโครเวฟให้แก่บริษัท ซุปเปอร์ บอร์ดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด อนึ่ง กทช.สุธรรมฯ มีความเห็นเช่นเดียวกันว่าไม่สามารถอนุมัติให้ได้ ทั้งนี้ โดยมีประเด็นที่มีนัยด้านการแข่งขัน เนื่องจากคำพิพากษาฎีกาว่าสัญญาบางส่วนที่ DPC ทำกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส อาจกระทบรายได้ของ บมจ.ทีโอที ตามกฎหมาย 
ระเบียบวาระที่  4.14  :  การตรวจสอบการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม บริการอินเทอร์เน็ต   เกตเวย์ระหว่างประเทศ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ของบริษัท สวัสดีช้อป จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. (30/2553)
มติที่ประชุม เนื่องจากยังขาดข้อมูลความเห็นกรรมการกลั่นกรองที่ให้ไว้แล้วในเรื่องนี้ ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปรวบรวมข้อมูลความเห็นกรรมการกลั่นกรองทุกท่านมาให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อน แล้วจึงนำเรื่องนี้เสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.18  :  บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาเหตุผลในการขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ของบริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด แล้ว เห็นว่าเป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง เงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ดังนั้น จึงมีมติอนุมัติให้บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการดังกล่าวออกไปอีก 90 วันนับจากวันที่ 28 ตุลาคม 2553 ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ รวมทั้งให้บริษัทฯ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานให้ทราบทุกเรื่อง
ระเบียบวาระที่  4.22  :  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ของบริษัท สยามเทเลคอมแอค แซส จำกัด (วาระที่ 4.27 ครั้งที่ 31/2553) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ของ บริษัท สยาม  เทเลคอมแอคแซส จำกัด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ กทช.สุรนันท์ฯ กทช.พันเอก นทีฯ และ กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้ว อนุมัติให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแก่บริษัท สยามเทเลคอมแอคแซส จำกัด ประเภทบริการแพ็กเก็จสวิทซ์ (Private Packet Switched Service) และบริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ใช้จานสายอากาศขนาดเล็ก เพื่อให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคลภายในประเทศ (VSAT) โดยมีระยะเวลาการอนุญาต 5 ปี  พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขการอนุญาต เช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของกรรมการกลั่นกรอง(กทช.สุธรรมฯ กทช.สุรนันท์ฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ที่สำคัญ ได้แก่ ให้สำนักงาน กทช. กำกับดูแลให้เป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 และให้จัดทำเงื่อนไขและวิธีการในการกำกับดูแลผู้มีอำนาจเหนือตลาดในกรณีที่บริษัทแม่ของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด ตลอดจนเงื่อนไขในเรื่องความเป็นธรรม ความสมเหตุสมผลและไม่เลือกปฏิบัติ (Fair, Personable and Non Discriminatory : FRAND) และเงื่อนไขในการห้ามมิให้มีผู้บริหารและพนักงานร่วมกัน (Structural Separation) ทั้งนี้ ให้นำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาภายใน 14 วัน (กทช.สุธรรมฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) รวมทั้ง ให้สำนักงาน กทช. ยึดแนวปฏิบัติเดิมของ กทช. เรื่องดาวเทียม ซึ่งหากเป็นกรณีการพิจารณาอนุญาต อันเป็นเรื่องการใช้อำนาจผูกพันตามหลักทางปกครอง หากผู้ข้ออนุญาตดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ขั้นตอนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ก็ย่อมมีอำนาจผูกพันเพียงประการเดียวว่าต้องอนุญาต (กทช.สุรนันท์ฯ) 
ระเบียบวาระที่ 4.23  :  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ของบริษัท โอทาโร จำกัด (วาระที่ 4.36 ครั้งที่ 31/2553) : กทช.สุธรรมฯ, กทช.สุรนันท์ฯ, กทช.พนาฯ, กทช. พันเอก นทีฯ, รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ของบริษัท โอทาโร จำกัด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ  กทช.สุรนันท์ฯ  กทช.พนาฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาแล้ว อนุมัติให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ประเภทบริการโครงข่ายเส้นใยแก้วนำเสนอ (Flash Optic) ในส่วนที่เป็นการเข้าถึงผู้ใช้บริการ (Access Network) เพื่อให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มแก่บริษัท โอทาโร จำกัด โดยมีระยะเวลาการอนุญาต 15 ปี ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้
1.  ให้วิเคราะห์เพิ่มเติมเรื่องการให้บริการแก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะเข้าข่ายการให้บริการใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 3 หรือไม่ (กทช.สุรนันท์ฯ)
2.  ให้มีหนังสือแจ้งบริษัทฯ เพื่อขอให้มีหนังสือยืนยันความเป็นนิติบุคคลไทย (กทช.พันเอก นทีฯ) พร้อมยืนยันการให้บริการเฉพาะ ISP เท่านั้น โดยชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งก่อนเปิดให้บริการ (กทช.สุรนันท์ฯ)
3.  ให้มีหนังสือแจ้งกระทรวงพาณิชย์เพื่อขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมายต่อไป (กทช.สุธรรมฯ) 
ระเบียบวาระที่ 4.24  :  ความเห็นประกอบการกำกับดูแลและพิจารณาการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามที่ได้รับมอบอำนาจในคราวการประชุม กทช. ครั้งที่ 12/2553 และการประชุม กทช. ครั้งที่ 31/2553 : กทช. สุธรรมฯ
(1)  การพิจารณาตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมของบริษัท ตรีเพชร อีซูซุ เซลล์ จำกัด
(2)  การพิจารณาตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตแบบ VOIP ของบริษัท สามารถ อินโฟเนต จำกัด (จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ สัญญาแบบที่ 1–คำขอใช้บริการ  สัญญาแบบที่ 2-ใบสมัครขอใช้บริการ และสัญญาแบบที่ 3-สัญญาบริการระบบ SIP Trunk)
(3) การพิจารณาตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมของบริษัท ไทยเทรดเน็ท จำกัด (จำนวน 4 ฉบับ) ได้แก่ สัญญาแบบที่ 1-คำขอใช้บริการ สัญญาแบบที่ 2-ใบสมัครขอใช้บริการ  สัญญาแบบที่ 3-สัญญาบริการระบบ SIP Trunk และสัญญาแบบที่ 4-สัญญาให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศในรูปแบบของเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต Voice over Internet Protocol-VOIP)
(4)  การพิจารณาตรวจแบบสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ ๑ ของบริษัท อินโฟเน็ต จำกัด (จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
1.  สัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ต ADSL WOW by speedy (Postpaid)  
2.  สัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ต Connect 200 (Postpaid)
3.  สัญญาการให้บริการสายวงจรเช่าความเร็วสูง และ
4.  สัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ต Surf Unlimited 350)
(5) การพิจารณาตรวจแบบสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 1 ของบริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค จำกัด
(6) การพิจารณาตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของบริษัท  ไออีซีเทคโนโลยี จำกัด (จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1.  สัญญาให้บริการโทรคมนาคม (เงื่อนไขทั่วไป)
2.  สัญญาให้บริการโทรคมนาคม (เงื่อนไขเฉพาะบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ความเร็วสูง 3G) และ
3.  คู่มือการใช้งาน
(7) การพิจารณาข้อเสนอของบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด  ในการขอแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดในแบบสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม  
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง ความเห็นประกอบการกำกับดูแล และพิจารณาการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามที่ได้รับมอบอำนาจในคราวการประชุม กทช. ครั้งที่ 12/2553 และการประชุม กทช. ครั้งที่     31/2553 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) ซึ่งได้พิจารณาดำเนินการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วสรุปได้ ดังนี้
1.  เห็นชอบการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมของ บจ.ตรีเพชร อีซูซุเซลล์ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของกรรมการกลั่นกรองไปพิจารณาดำเนินการต่อไปดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ
2.  เห็นชอบการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตแบบ VOIP ของบริษัท สามารถ อินโฟเนต จำกัด (จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ สัญญาแบบที่ 1 – คำขอใช้บริการ  สัญญาแบบที่ 2 - ใบสมัครขอใช้บริการ และสัญญาแบบที่ 3 - สัญญาบริการระบบ SIP Trunk) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของกรรมการกลั่นกรองไปพิจารณาดำเนินการต่อไปดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ
3.  เห็นชอบการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมของบริษัท ไทยเทรดเน็ท จำกัด (จำนวน 4 ฉบับ) ได้แก่ สัญญาแบบที่ 1-คำขอใช้บริการ สัญญาแบบที่ 2-ใบสมัครขอใช้บริการ  สัญญาแบบที่ 3-สัญญาบริการระบบ SIP Trunk สัญญาแบบที่ 4-สัญญาให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศในรูปแบบของเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต Voice over Internet Protocol-VOIP) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของกรรมการกลั่นกรองไปพิจารณาดำเนินการต่อไปดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ
4.  เห็นชอบการตรวจแบบสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 1 ของบริษัท อินโฟเน็ต จำกัด (จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
  • สัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ต ADSL WOW by speedy (Postpaid)  
  • สัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ต Connect ๒๐๐ (Postpaid)
  • สัญญาการให้บริการสายวงจรเช่าความเร็วสูง และ
  • สัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ต Surf Unlimited 350) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของกรรมการกลั่นกรองไปพิจารณาดำเนินการต่อไปดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ
5.  เห็นชอบการตรวจแบบสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 1 ของบริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค จำกัด ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของกรรมการกลั่นกรองไปพิจารณาดำเนินการต่อไปดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ
6.  เห็นชอบการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของบริษัท ไออีซีเทคโนโลยี จำกัด (จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
  • สัญญาให้บริการโทรคมนาคม (เงื่อนไขทั่วไป)
  • สัญญาให้บริการโทรคมนาคม (เงื่อนไขเฉพาะบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ความเร็วสูง 3G) และ
  • คู่มือการใช้งาน ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของกรรมการกลั่นกรองไปพิจารณาดำเนินการต่อไปดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ
7.  กรณีข้อเสนอของบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด ในการขอแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดในแบบสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม โดยที่ประชุม กทช. ได้มีมติตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ให้บริษัทฯ ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงสัญญาให้ถูกต้องและสอดคล้องกับประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 จึงเห็นควรยืนยันความเห็นเดิมตามมติข้างต้น เนื่องจากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันอาจทำให้ข้อกำหนดของแบบสัญญาการให้บริการโทรคมนาคมที่ฟังเป็นที่ยุติแล้วนั้น เปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ แต่โดยเหตุที่บทบัญญัติในข้อ 1 ของประกาศ กทช. ดังกล่าวกำหนดให้กิจการโทรคมนาคมตามลักษณะและประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง และแบบที่สอง ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการกำหนดอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคม ตามประกาศ กทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการและการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 จึงเห็นควรให้แก้ไขเพิ่มข้อความดังต่อไปนี้ “อัตราค่าบริการและค่าธรรมเนียมที่บริษัทฯ เรียกเก็บจะต้องเป็นอัตราที่บริษัทฯ ได้แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบแล้ว รวมถึงได้เผยแพร่เป็นการทั่วไป ณ ที่ทำการและเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ รับรองว่าจะไม่เรียกค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสัญญานี้” ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งบริษัทฯ ว่าหากการกำหนดราคาของบริษัทฯ กระทบสิทธิของประชาชนผู้บริโภคหรือประโยชน์สาธารณะอย่างมีนัยสำคัญ กทช. สงวนสิทธิที่จะเข้ามาพิจารณากำกับดูแลการกำหนดราคาดังกล่าวได้
ระเบียบวาระที่ 4.25  :  การพิจารณาสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 3 รายการ : กทช.บัณฑูรฯ, คณะกรรมการพิจารณางบประมาณฯ
  • โครงการวิจัยและเผยแพร่ผลงานเรื่อง “ผลประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศจากการพัฒนาระบบ 3G อย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย”
  • โครงการจัดตั้งศูนย์ TRS (Telecommunications Relay Service)
  • โครงการ “สารศิลป์...สิปปหมู่สัญจร”
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยงานต่างๆ ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณฯ ตามที่ กทช.บัณฑูรฯ เสนอ และตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
1)  โครงการวิจัยและเผยแพร่ผลงานเรื่อง “ผลประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศจากการพัฒนาระบบ 3G อย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย”  ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จำนวนเงิน 2.60 ล้านบาท ซึ่งในชั้นนี้ ข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเพื่อประกอบการพิจารณา นั้น ทางคณะกรรมการพิจารณางบประมาณฯ ยังมิได้รับ อย่างไรก็ดี เห็นควรจะเบิกจ่ายได้จากโครงการการดำเนินการอนุญาตบริการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (BWA) วงเงินงบประมาณจำนวน 41,829,250 บาท ซึ่งได้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ไว้แล้วต่อไป
2)  โครงการจัดตั้งศูนย์ TRS (Telecommunications Relay Service) โดยกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ)  มีความเห็นว่า ควรให้ปรับรูปแบบ วิธีการ และงบประมาณในการดำเนินการจากเดิมที่กำหนดให้มีการผูกพันงบประมาณในวงเงินจำนวน 279,690,396 บาท ระยะเวลา 5 ปี เป็น การดำเนินโครงการนำร่องระยะเวลา 1 ปี ภายใต้กรอบวงเงินจำนวน 49,928,512 บาท และเพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินไปได้สำเร็จลุล่วง จึงให้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของสำนักงาน กทช. ประจำปี 2554 เนื่องจากองค์กรอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านจาก กทช. เป็น กสทช. อันจะเป็นผลให้การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนฯ มีความไม่แน่นอน อนึ่ง สำหรับการดำเนินงานด้าน USO ในปี 2554 นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง จึงเห็นชอบให้ใช้ประกาศ USO ของปี 2553 เป็นการชั่วคราวไปก่อนจนกว่าจะมีแผน USO ฉบับใหม่
3)  โครงการ “สารศิลป์...สิปปหมู่สัญจร” เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณางบประมาณฯ เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ  พระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่มีพระชนมมายุ 7 รอบ จึงควรได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเฉลิมพระเกียรติฯ ก่อนที่จะเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.26  :  การแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อขยายสิทธิการทดลองออกอากาศชั่วคราว : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อขยายสิทธิการทดลองออกอากาศชั่วคราวตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นควรอนุมัติแนวทางการแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อขยายสิทธิการทดลองออกอากาศชั่วคราว ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ดังนี้
1.  จัดทำหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งความประสงค์ตามบทเฉพาะกาล ข้อ 18 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ไว้แล้วก่อนวันที่ 24 สิงหาคม 2552 ดำเนินการแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงาน กทช. ส่วนกลาง และสำนักงาน กทช. ส่วนภูมิภาค เพื่อรับเอกสารการขยายสิทธิฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากสำนักงาน กทช.
2.  การแสดงตนภายหลังวันที่ 20 สิงหาคม 2553 ผู้แจ้งความประสงค์ ตามข้อ 1 ต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อเจ้าหน้าที่
3.  เมื่อครบกำหนด ตามข้อ 4.1 หากผู้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนยังไม่ได้ดำเนินการแสดงตนให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการชะลอสิทธิการทดลองออกอากาศไปจนกว่าผู้แจ้งความประสงค์ได้ปฏิบัติตามข้อ 1 และข้อ 2 โดยครบถ้วน และผู้แจ้งความประสงค์จะต้องมาแสดงตนที่สำนักงาน กทช. ส่วนกลางเท่านั้น
ทั้งนี้ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการฯ มอบหมายมีหน้าที่ปรับปรุงสถานภาพการทดลองออกอากาศ และรายงานผลการดำเนินงานให้ กทช. ทราบต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.27  :  การพิจารณาเรื่องอุทธรณ์ของสถานีวิทยุชุมชน รักเชียงใหม่ 51 คลื่นความถี่ 92.50 MHZ จังหวัดเชียงใหม่ : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การพิจารณาเรื่องอุทธรณ์ของสถานีวิทยุชุมชน รักเชียงใหม่ 51 คลื่นความถี่ 92.50 MHz จังหวัดเชียงใหม่ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นควรให้ดำเนินการเรื่องอุทธรณ์ของสถานีวิทยุชุมชน รักเชียงใหม่ 51 คลื่นความถี่ 92.50 MHz จังหวัดเชียงใหม่ ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ดังนี้
1.  กรณีที่สถานีวิทยุชุมชน รักเชียงใหม่ 51 คลื่นความถี่ 92.50 MHz จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ทดลองออกอากาศชั่วคราวซึ่งมีสถานะถูกดำเนินคดีที่มีความผิดเกี่ยวพันกับการได้รับอนุญาตในการดำเนินกิจการหรือทดลองออกอากาศวิทยุชุมชนชั่วคราว ซึ่งควรต้องให้การดำเนินคดีดังกล่าวมีผลเป็นยุติเสียก่อน จึงจะสามารถรวบรวมข้อมูล พยาน และหลักฐานประกอบการพิจารณาให้ใบอนุญาตหรือให้ขยายสิทธิทดลองออกอากาศ ดังนั้น ในกรณีนี้จึงเห็นควรให้ชะลอสิทธิการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวต่อไป และยังไม่เห็นควรให้มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้แสดงความประสงค์จนกว่าคดีที่สถานีวิทยุชุมชน รักเชียงใหม่ 51 ถูกดำเนินคดีโดยกองกำลังจังหวัดเชียงใหม่จะได้ยุติ
2.  เห็นควรจัดทำหนังสือแจ้งให้สถานีวิทยุชุมชนรักเชียงใหม่ 51 ทราบผลการพิจารณาให้ชะลอการทดลองออกอากาศชั่วคราวและยังไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงผู้แสดงความประสงค์ไปจนกว่าการถูกดำเนินคดีจากกองกำลังจังหวัดเชียงใหม่จะยุติเสียก่อน โดยให้สถานีวิทยุชุมชนรักเชียงใหม่ 51 หยุดดำเนินการออกอากาศภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณา ทั้งนี้ หากมีผลของคดียุติเป็นประการใดแล้วจึงจะพิจารณาให้ดำเนินการทดลองออกอากาศอีกครั้งหนึ่ง
3.  เมื่อครบกำหนด 15 วันตามข้อ 2 เห็นควรขอความร่วมมือจากสำนักงาน กทช. ส่วนภูมิภาคดำเนินการตรวจสอบการออกอากาศ หากตรวจสอบแล้วพบว่าสถานีวิทยุชุมชนดังกล่าวยังมีการออกอากาศ เห็นควรรวบรวมข้อมูล พยาน หลักฐานเพื่อนำเสนอ กทช. พิจารณาเพิกถอนสิทธิการทดลองออกอากาศชั่วคราวต่อไป
4.  หากมีการขออุทธรณ์ของสถานีวิทยุชุมชนที่มีลักษณะเช่นเดียวกับแนวทางที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น เห็นควรเสนอให้ กทช. มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการฯ มอบหมายพิจารณาการขออุทธรณ์ได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการกำกับดูแลผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวให้อยู่ในความเรียบร้อย ไม่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ และให้รายงานผลการดำเนินการให้ กทช. ทราบทุกระยะ ทั้งนี้ หากมีกรณีอื่นนอกเหนือจากหลักการดังกล่าวข้างต้น ให้คณะอนุกรรมการฯ นำเสนอแนวทางต่อ กทช. พิจารณาเป็นรายกรณีไป 
ระเบียบวาระที่  4.28   :   การแจ้งตอบสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) ในประเด็นแนวทางการปฏิบัติการทดลองออกอากาศชั่วคราว : กทช.พนาฯ, กส. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การแจ้งตอบสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) ในประเด็นแนวทางการปฏิบัติการทดลองออกอากาศชั่วคราว ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยเห็นชอบร่างหนังสือแจ้งตอบสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) ต่อข้อซักถามใน 4 ประเด็นตามที่มีหนังสือสอบถามมาดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ ทั้งนี้ แนวทางการแจ้งตอบดังกล่าวเป็นไปตามหลักการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) 
ระเบียบวาระที่ 4.29  :   การแจ้งตอบสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) ในประเด็นการจัดทำประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : กทช.พนาฯ, กส. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การแจ้งตอบสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) ในประเด็นการจัดทำประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยเห็นชอบร่างหนังสือแจ้งตอบสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) ต่อข้อซักถามใน 4 ประเด็นตามที่มีหนังสือสอบถามมา ดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ ทั้งนี้ แนวทางการแจ้งตอบดังกล่าวเป็นไปตามหลักการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) 
ระเบียบวาระที่  4.30   :  คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : สถานีวิทยุชุมชนคนรักหนองบัว : กทช.พนาฯ, กส. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ สรุปได้ว่า ไม่ควรพิจารณาออกใบอนุญาตให้สถานีวิทยุชุมชนคนรักหนองบัว เนื่องจากอาจนำไปสู่การไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของชุมชนได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตลอดจนการครอบงำการประกอบกิจการที่อาจเกิดขึ้นได้โดยอนาคต เนื่องจากการถือครองคลื่นความถี่เพื่อดำเนินการโดยกลุ่มคนหนึ่งกลุ่มคนใด 
ระเบียบวาระที่  4.31   :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 16 ราย (39 ใบอนุญาต) : กทช.พนาฯ, กส. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 16 ราย (39 ใบอนุญาต) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นควรอนุมัติให้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 16 ราย 39 ใบอนุญาต ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 7 (3) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) โดยกำหนดให้มีการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นเวลา 30 วัน ตามข้อ 7(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1.  บริษัท เอสเอ็มพี เคเบิล เน็ตเวิร์ค จำกัด                      จำนวน  11  ใบอนุญาต
2.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  พังโคนเคเบิ้ลทีวี                            จำนวน  1    ใบอนุญาต 
3.  บริษัท บี.พี.ที.วี. โทรทัศน์ทางสายบางพระ จำกัด          จำนวน  1    ใบอนุญาต
4.  บริษัท บิ๊ก บี.เค.เค เคเบิ้ลทีวี จำกัด                            จำนวน  5    ใบอนุญาต
5.  บริษัท อาร์ดี เคเบิลทีวี จำกัด                                    จำนวน  3    ใบอนุญาต
6.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอสพีเคเบิลทีวี                               จำนวน  1    ใบอนุญาต
7.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดร เคเบิ้ลทีวี                                จำนวน  1    ใบอนุญาต
8.  บริษัท วิวออน เคเบิ้ล จำกัด                                      จำนวน  1    ใบอนุญาต
9.  บริษัท ซัน มัลติมีเดีย ซิสเต็ม จำกัด                           จำนวน  1    ใบอนุญาต
10.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น ซี เคเบิ้ล ทีวี                            จำนวน  1    ใบอนุญาต
11.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท่าหลวง แซทเทิลไลท์                     จำนวน  1    ใบอนุญาต
12.บริษัท ที.เอ.เค.(123) จำกัด                                     จำนวน  3    ใบอนุญาต
13.ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางเสร่ เคเบิ้ล ทีวี                           จำนวน  1    ใบอนุญาต
14.บริษัท ดวง ภัค เคเบิ้ล ทีวี จำกัด                                จำนวน  1    ใบอนุญาต
15.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีทีซี เคเบิลทีวี เนทเวิร์ค                  จำนวน  1    ใบอนุญาต
16.บริษัท เคซีแอล เคเบิล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด                จำนวน  6    ใบอนุญาต 
ระเบียบวาระที่  4.32   :   รายงานการตรวจสอบขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการตรวจสอบขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 1 ช่องรายการ ได้แก่ ช่องรายการ Universal Channel ของบริษัท ทริปเปิลที เน็ตเวิร์ค จำกัด ทั้งนี้ ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.33   :   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จำนวน 12 สถานี : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จำนวน 12 สถานี ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นชอบตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยอนุมัติให้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 12 สถานี ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 8(4) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยกำหนดให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนตามข้อ 8(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนนัสเซอร์ เรดิโอ คลื่นความถี่ 99.25 MHz จังหวัดยะลา
2.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน ชุมชนคริสเตียนยะลา คลื่นความถี่ 88.00 MHz จังหวัดยะลา
3.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน คนรักษ์สุขภาพ (อสม.) บรรพตพิสัย คลื่นความถี่ 87.50 MHz จังหวัดนครสวรรค์
4.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสวนธรรมร่วมใจ คลื่นความถี่ 91.50 MHz จังหวัดยโสธร
5.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนจันเสน คลื่นความถี่ 98.00 MHz จังหวัดนครสวรรค์
6.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนอำเภอแก่งคอย คลื่นความถี่ 90.50 MHz จังหวัดสระบุรี
7.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนแวงน่าง คลื่นความถี่ 96.75 MHz จังหวัดมหาสารคาม
8.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนพุทธธรรม คลื่นความถี่ 105.50 MHz จังหวัดนครราชสีมา
9.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนรัตนบุรี คลื่นความถี่ 91.75 MHz จังหวัดสุรินทร์
10.สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสัจจะ คลื่นความถี่ 106.50 MHz จังหวัดชัยภูมิ
11.สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน ชุมชนคนรักเดช คลื่นความถี่ 93.75 MHz จังหวัดอุบลราชธานี
12.สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน สถานีวิทยุประชาสังคม คลื่นความถี่ 103.50 MHz จังหวัดอุบลราชธานี 
ระเบียบวาระที่  4.34   :   ความคืบหน้าการดำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสื่อภาคประชาชนสู่มาตรฐาน โดยสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง ความคืบหน้าการดำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสื่อภาคประชาชน สู่มาตรฐาน โดยสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งตอบสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) เพื่อซักซ้อมความเข้าใจต่อการ การดำเนินการทดลองออกอากาศวิทยุบริการทางธุรกิจตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอความเห็นไว้ ดังรายละเอียดของร่างหนังสือแจ้งตอบปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ  
ระเบียบวาระที่   4.35  :   การแจ้งตอบหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กทช.พนาฯ, กส. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การแจ้งตอบหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งตอบหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดฉะเชิงเทรา องค์การบริหารส่วนตำบลกลางดง และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 
ระเบียบวาระที่  4.36    :   แนวทางการดำเนินการต่อสถานีวิทยุชุมชนซึ่งเป็นผู้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนที่อยู่ในสถานะการชะลอสิทธิการทดลองออกอากาศชั่วคราว : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง แนวทางการดำเนินการต่อสถานีวิทยุชุมชนซึ่งเป็นผู้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนที่อยู่ในสถานะการชะลอสิทธิการทดลองออกอากาศชั่วคราวตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ดังนี้
1.  สถานีวิทยุชุมชนที่ถูกชะลอสิทธิการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว เนื่องจากถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการออกอากาศวิทยุกระจายเสียง เห็นควรให้ระงับการออกอากาศจนกว่าคดีจะยุติเสียก่อน จึงจะรวบรวมข้อมูล เอกสาร และพยานหลักฐาน เพื่อพิจารณาให้ขยายสิทธิในการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว
2.  สถานีวิทยุชุมชนที่ถูกชะลอสิทธิการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว เนื่องจากมีการร้องเรียนอันเนื่องมาจากเกิดการรบกวนคลื่นความถี่ หรือร้องเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาสาระในการดำเนินการออกอากาศเห็นควรดำเนินการ ดังนี้
1)  แจ้งเตือนให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขการรบกวนคลื่นความถี่ หรือเนื้อหารายการภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งเตือน พร้อมทั้งรายงานผลการปรับปรุงแก้ไขมายังคณะกรรมการ หากสถานีได้ดำเนินการแก้ไขและจัดทำหนังสือชี้แจงการแก้ไข ปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบให้คณะทำงานฯ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการขยายสิทธิทดลองออกอากาศชั่วคราวต่อคณะอนุกรรมการฯ และ กทช. ภายใน 30 วันทำการ
2)  หากภายหลังจากการดำเนินการตาม 1) แล้ว ยังปรากฏว่าสถานีฯ ดังกล่าวยังมีกรณีที่ขัดต่อเงื่อนไขการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) อยู่ ให้ฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมข้อมูล เอกสาร และพยานหลักฐานเพื่อให้คณะทำงานฯ จัดทำความเห็นเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ กทช. ให้พิจารณาระงับการออกอากาศชั่วคราวของสถานีวิทยุชุมชนดังกล่าว 30 วัน เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขก่อนดำเนินการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ โดยให้สำนักงาน กทช. ส่วนภูมิภาค ดำเนินการตรวจสอบ หากยังพบว่ามีการดำเนินการที่ขัดต่อขอบเขตและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) หรือมีการร้องเรียนซ้ำอีก เห็นควรรวบรวมข้อมูล เอกสาร และพยานหลักฐานเพื่อเสนอความเห็นให้พิจารณาเพิกถอนสิทธิในการทดลองออกอากาศชั่วคราว
3.  สถานีวิทยุชุมชนที่ถูกชะลอสิทธิการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว เนื่องจากเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน เห็นควรให้ทำหนังสือแจ้งเพื่อให้สถานีวิทยุชุมชนดังกล่าวจัดส่งเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด เห็นควรแจ้งให้จัดส่งเอกสารอีกครั้งภายใน 15 วัน และหากยังไม่ดำเนินการจัดส่งเอกสารให้ครบถ้วนหรือมิได้มีการชี้แจงเหตุแห่งการไม่สามารถจัดส่งเอกสารได้ ให้ฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐานเพื่อให้คณะทำงานฯ จัดทำข้อเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ และ กทช. เพื่อพิจารณาระงับการออกอากาศชั่วคราวไปจนกว่าสถานีวิทยุชุมชนดังกล่าวจะจัดส่งเอกสารหลักฐานมาครบถ้วนแล้ว
4.  กรณีการแจ้งตอบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสอบถามเกี่ยวกับแนวทางดำเนินการต่อสถานีวิทยุชุมชนที่แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุชุมชน โดยมีสถานะถูกชะลอสิทธิการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว จึงเห็นควรพิจารณาแนวทางการแจ้งตอบ ดังนี้
1)  กรณีสถานีวิทยุชุมชนซึ่งถูกดำเนินคดี ซึ่งขณะนี้อยู่ในสถานภาพการชะลอการขยายสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว และได้นำเสนอต่อ กทช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการระงับการออกอากาศชั่วคราวไปจนกว่าผลการดำเนินคดีจะเป็นที่ยุติ และเมื่อผลการพิจารณาเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบโดยเร็วต่อไป
2)  ปัจจุบันมีสถานีวิทยุชุมชนที่แจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน และมีสถานภาพการเป็นผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว จำนวน 273 สถานี
3)  กรณีเสาอากาศซึ่งเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ถูกอายัดไว้เป็นของกลางในการดำเนินคดี จึงไม่สามารถใช้ในการออกอากาศได้
4)  การร้องทุกข์กล่าวโทษความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 เลขาธิการ กทช. หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 สามารถดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษได้ ทั้งนี้ กรณีที่ปรากฏความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ยังมิได้มีการกำหนดให้ผู้ใดมีอำนาจในการร้องทุกข์กล่าวโทษได้ 
ระเบียบวาระที่   4.37   :   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 3 ราย (5 ใบอนุญาต) : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 3 ราย (5 ใบอนุญาต) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วอนุมัติให้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 3 ราย 5 ใบอนุญาตตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ดังนี้
1.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  เจทีวี มีเดีย                                  จำนวน  1    ใบอนุญาต 
2.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิชชุกรเคเบิลทีวี                             จำนวน  1    ใบอนุญาต
3.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด เพชรบูรณ์ เคเบิ้ลทีวี                        จำนวน  3    ใบอนุญาต 
ระเบียบวาระที่  4.38   :   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จำนวน 13 สถานี : กทช.พนาฯ, กส.           
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จำนวน 13 สถานี ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วอนุมัติให้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 13 สถานี ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 8 (4) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยกำหนดให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนตามข้อ 8(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนตำบลหนองรี  คลื่นความถี่ 103.75 MHz จังหวัดชลบุรี
2.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเกษตรกรชาวไร่อ้อยดวงตะวัน คลื่นความถี่ 93.50 MHz จังหวัดนครราชสีมา
3.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อการสื่อสารทางสังคม คลื่นความถี่ 100.25 MHz จังหวัดสมุทรสาคร
4.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนราษฎร์พัฒนา คลื่นความถี่ 98.75 MHz จังหวัดกรุงเทพฯ
5.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนโพธิบัลลังก์ คลื่นความถี่ 103.75 MHz จังหวัดราชบุรี
6.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนเมืองลี้ คลื่นความถี่ 103.75 MHz จังหวัดลำพูน
7.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบ้านนา คลื่นความถี่ 97.50 MHz จังหวัดนครนายก
8.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนภูซาง เรดิโอ คลื่นความถี่ 102.75 MHz จังหวัดพะเยา
9.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนโพนทอง คลื่นความถี่ 102.75 MHz จังหวัดร้อยเอ็ด
10.สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนตำบลตะเคียนเตี้ย คลื่นความถี่ 102.25 MHz จังหวัดชลบุรี
11สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนชีวิต ไลฟ เอฟ เอ็ม (Life F.M.) คลื่นความถี่ 96.75 MHz จังหวัดฉะเชิงเทรา
12.สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน คลื่นใสวัยหวานต้นภัยเอดส์ คลื่นความถี่ 88.00 MHz จังหวัดนครราชสีมา
13.สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนสะแกราชสัมพันธ์ คลื่นความถี่ 94.75 MHz จังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวาระที่   4.39   :   คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : สถานีวิทยุชุมชนคนแปลงยาว : กทช.พนาฯ, กส. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : สถานีวิทยุชุมชนคนแปลงยาว ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วอนุมัติให้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่สถานีวิทยุชุมชนคนแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา คลื่นความถี่ 105.75 MHz เนื่องจากการถูกดำเนินคดีของสถานีฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ได้สิ้นสุดลงแล้ว ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 8(4) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยกำหนดให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนตามข้อ 8(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น
ระเบียบวาระที่  4.40   :   ร่างเอกสารขอบเขตงานโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงที่มุ่งเน้นในเชิงประเด็น ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 : กทช.พนาฯ, กส. 
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง ร่างเอกสารขอบเขตงานโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงที่มุ่งเน้นในเชิงประเด็น ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบร่างเอกสารขอบเขตงานโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงที่มุ่งเน้นในเชิงประเด็น ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ในวงเงินงบประมาณ 1.75 ล้านบาท และให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการได้ต่อไปตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
2.  รับทราบข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยให้ดำเนินการขยายขอบเขตการศึกษาให้ครอบคลุมกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ทุกประเภทที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ด้วย 
ระเบียบวาระที่  4.41   :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) (จำนวน 10 ราย 21 ใบอนุญาต) : กทช.พนาฯ, กส. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) (จำนวน 10 ราย 21 ใบอนุญาต) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วอนุมัติให้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 10 ราย 21 ใบอนุญาตตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ดังนี้
1.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรินทร์ทีวีเน็ทเวิคร์                          จำนวน  1  ใบอนุญาต
2.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ที.ที. เคเบิล                                  จำนวน  1  ใบอนุญาต 
3.  บริษัท พี.ที.วี. โทรทัศน์ทางสายศรีราชา จำกัด              จำนวน  1  ใบอนุญาต
4.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด คำรณสื่อสาร                                  จำนวน  1  ใบอนุญาต
5.  บริษัท ไฮ-เทค เคเบิล เทเลวิชั่น จำกัด                        จำนวน  9  ใบอนุญาต
6.  บริษัท แมคเวิลด์ เน็ทเวิร์ค จำกัด                               จำนวน  3  ใบอนุญาต
7.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด คลองหาดเคเบิ้ลทีวี                         จำนวน  1  ใบอนุญาต
8.  บริษัท บ้านอำเภอเคเบิ้ล ทีวี จำกัด                             จำนวน  2  ใบอนุญาต
9.  บริษัท สามพราน เคเบิ้ล ทีวี จำกัด                             จำนวน  1  ใบอนุญาต
10.ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านไร่เคเบิ้ลทีวี                             จำนวน  1  ใบอนุญาต 
ระเบียบวาระที่  4.42    :     รายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 2 ช่องรายการ : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ของบริษัท ทริปเปิลที เน็ตเวิร์ค จำกัด จำนวน 2 ช่องรายการ ได้แก่ ช่องรายการ Kidsco Channel และช่องรายการ Animex ของบริษัท ทริปเปิลที เน็ตเวิร์ค จำกัด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่เห็นควรนำเสนอผลการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการดังกล่าวให้ กทช. ทราบก่อนประกาศรายชื่อผู้ผ่านการขึ้นทะเบียนช่องรายการตามกระบวนการต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.43    :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว  (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จำนวน 9 สถานี : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จำนวน 9 สถานี ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วอนุมัติให้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอจำนวน 9 สถานี ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ ๘(๔) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยกำหนดให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนตามข้อ 8(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสถานีประชาชน คลื่นความถี่ 104.25 MHz จังหวัดนครราชสีมา
2.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน คนเมืองหละปูน คลื่นความถี่ 90.25 MHz จังหวัดลำพูน
3.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน คนนาข่ารักษ์สุขภาพ คลื่นความถี่ 97.00 MHz จังหวัดหนองคาย
4.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน คริสเตียนเพื่อคนครบุรี คลื่นความถี่ 104.25 MHz จังหวัดนครราชสีมา
5.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน พระพุทธศาสนาแห่งชาติและสังคม วัดหลวงพ่อนาค คลื่นความถี่ 101.75 MHz จังหวัดอุดรธานี
6.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน วิทยุเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา มูลนิธิอาภิธัมมิกวิชชาลัย คลื่นความถี่ 101.00 MHz จังหวัดลำพูน
7.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน พระพุทธศาสนาแห่งชาติและสังคม วัดพระพุทธบาทตากผ้าสาขาลี้  คลื่นความถี่ 103.25 MHz จังหวัดลำพูน
8.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน พระพุทธศาสนาแห่งชาติและสังคม วัดพระพุทธบาทตากผ้า คลื่นความถี่ 106.00 MHz จังหวัดลำพูน
9.  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน เพื่อความมั่นคงตำบลนาอุดม คลื่นความถี่ 106.25 MHz จังหวัดร้อยเอ็ด 
ระเบียบวาระที่ 4.44   :   คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : สถานีวิทยุมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชนคลื่นความถี่ 103.25 MHz : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : สถานีวิทยุมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชนคลื่นความถี่ 103.25 MHz ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ดังนี้
1.  เห็นชอบแนวทางการพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนชั่วคราวของมูลนิธิเสียงธรรมตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยให้มีหนังสือแจ้งมูลนิธิเสียงธรรมฯ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามประกาศ กทช. ใน 4 ประเด็น ได้แก่
1)    รูปแบบการออกใบอนุญาต
2)    แหล่งที่มาของรายการ
3)    การมีส่วนร่วมของชุมชน และ
4)   ความหลากหลายของผังรายการ และรูปแบบเนื้อหารายการ
2.  เห็นควรมีหนังสือหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นการออกใบอนุญาตสำหรับวิทยุชุมชนเชิงประเด็นว่าจะสามารถดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ได้หรือไม่ด้วยอีกทางหนึ่ง
3.  มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ แจ้งรายงานผลการดำเนินโครงการศึกษาเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียงชุมชนเชิงประเด็นให้ กทช.ทราบ และนำเสนอร่างเอกสารขอบเขตงานให้ที่ประชุม กทช. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการตามกระบวนการพัสดุ เพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ กรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) มีความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า เห็นควรให้พิจารณาอย่างจริงจังในความเป็นไปได้ของการจัดหาเกณฑ์การอนุญาตให้มีวิทยุชุมชนเชิงประเด็น 
ระเบียบวาระที่  4.45   :  การขอเปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชน วทท. เสียงเสรี คลื่นความถี่ 94.00 เมกะเฮิรตซ์ จังหวัดตาก : กทช.พนาฯ, กส. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขอเปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชน วทท.เสียงเสรี คลื่นความถี่ 94.00 เมกะเฮิรตซ์ จังหวัดตาก ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้ว อนุมัติให้สถานีวิทยุชุมชน วทท. เสียงเสรี เปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชนฯ จากคลื่น 94.00 MHz เป็น 96.00 MHz ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เนื่องจากการดำเนินการออกอากาศในความถี่ 96.00 เมะเฮิรตซ์ ไม่มีสถานีวิทยุชุมชนใดในเขตพื้นที่จังหวัดตาก ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวในการแพร่คลื่นออกอากาศ และจากการตรวจสอบพบว่าคลื่นดังกล่าวไม่รบกวนต่อข่ายสื่อสารทั้งกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการวิทยุคมนาคม ทั้งนี้ ให้มีหนังสือแจ้งสถานีวิทยุชุมชน วทท. เสียงเสรี ดำเนินการปรับปรุงการแพร่คลื่นให้เป็นไปตามมาตรฐาน Rec.ITU-R SM 1268-1 และมิได้เกิดการรบกวนคลื่นความถี่อื่น
ระเบียบวาระที่  4.46   :  มาตรการและแนวทางการดำเนินการต่อสถานีวิทยุชุมชนซึ่งเป็นผู้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน ที่ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคม : กทช.พนาฯ, กส. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง มาตรการและแนวทางการดำเนินการต่อสถานีวิทยุชุมชนซึ่งเป็นผู้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน ที่ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์สรุปได้ว่า ให้สำนักงาน กทช. แจ้งต่อสถานีวิทยุชุมชนตลาดบางบัวทอง เพื่อดำเนินการนำเครื่องวิทยุคมนาคมไปปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ก่อนนำเครื่องไปใช้ทดลองออกอากาศชั่วคราวตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่ กทช.ประกาศกำหนดต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากบัดนี้คดีความผิดตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ได้ยุติลงแล้ว
ระเบียบวาระที่  4.48   :  การขยายเวลาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย : สพท. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบการขยายเวลาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย ระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สมาคมสมองกลฝังตัวไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน2554 เนื่องจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวซึ่งมีอายุ 3 ปีได้ครบอายุแล้ว ตามที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.49  :  ขอความเห็นชอบอนุมัติจ่ายเงินให้โครงการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กับระบบสาธารณสุข จังหวัดร้อยเอ็ด : สนง.กองทุนฯ 
มติที่ประชุม  เห็นชอบอนุมัติจ่ายเงินงบประมาณในวงเงินไม่เกิน 12 ล้านบาทให้แก่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กับระบบสาธารณสุข จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 4 ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการบริหารและกำกับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 ตามที่สำนักงานกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ เสนอ                              
ระเบียบวาระที่  4.51  :  รายงานผลการดำเนินงานคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) : คกก.เพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงฯ 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) ในการอนุญาตบริการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (BWA) ตามที่คณะกรรมการฯ เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.3 GHz ทราบทุกรายว่า ขณะนี้กระบวนการขั้นตอนการจัดสรรคลื่นความถี่อยู่ระหว่างการพิจารณาในข้อกฎหมายให้รอบคอบอันสืบเนื่องจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 379/2553 ลงวันที่ 23 กันยายน 2553 ทั้งนี้ เมื่อมีความคืบหน้าประการใดแล้ว จะได้แจ้งให้ทราบต่อไป ตามที่คณะกรรมการฯ เสนอ
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อทราบคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 379/2553 ลงวันที่ 23 กันยายน 2553 ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ความถี่ย่าน 2.5 GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่ร่วมระหว่างกิจการโทรคมนาคม และกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 
ระเบียบวาระที่  4.52   :  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบตามความเห็นคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม โดยอนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ให้แก่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อใช้งานเป็นการชั่วคราวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 – ตุลาคม 2554 จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1104 เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางให้คำปรึกษาเบื้องต้นและเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ SME และเพื่อให้การพัฒนาศักยภาพของ SME ตามความเห็นของคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ทั้งนี้ ให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ชำระค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอ (ข้อ 79) และค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษรายเดือน ได้รับการลดหย่อนร้อยละ 50 ตามข้อ 82 (5) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 ต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.53   :   บริษัท ซิฟโฟน (ประเทศไทย) จำกัด ขอคืนเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต และเลขหมาย Signaling Point Code (SPC) : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บริษัท ซิฟโฟน (ประเทศไทย) จำกัด ขอคืนเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต และเลขหมาย Signaling Point Code (SPC) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบตามความเห็นคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคมโดยอนุมัติให้บริษัท ซิฟโฟน (ประเทศไทย) จำกัด ส่งคืนเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานสำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต แบบใช้เลขหมายโทรศัพท์ จำนวน 2,000 หมายเลข (06 0001 0000 - 06 0001 1999) และเลขหมาย Signaling Point Code (SPC) จำนวน 4 ค่า ทั้งนี้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป 
ระเบียบวาระที่  4.55   :   กระทรวงสาธารณสุข ขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง กระทรวงสาธารณสุข ขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ  กทช.พนาฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าการขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารวิทยุคมนาคมของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีนี้เป็นการขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุที่เคยได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุอยู่ก่อนแล้ว สำหรับกิจการที่มิใช่เชิงพาณิชย์ (Non-Commercial Use) เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในราชการและรักษาพยาบาล ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น จึงเห็นควรอนุญาตให้กระทรวงสาธารณสุขขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมได้ตามที่มีหนังสือร้องขอตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
1.  อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Invoice) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารในราชการและรักษาพยาบาล ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยให้ใช้ความถี่วิทยุระบบ VHF/FM ความถี่วิทยุ 152.250  153.875  154.925  154.975  155.125  155.175  155.375  155.475  155.675  155.725  และ 155.775  ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 KHz เครื่องวิทยุคมนาคม ชนิดมือถือ กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ จำนวน 29 เครื่อง ชนิดประจำที่ กำลังส่งไม่เกิน 45 วัตต์ จำนวน 13 เครื่อง และชนิดเคลื่อนที่ กำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ จำนวน 18 เครื่อง
2.  อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุข ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและความถี่วิทยุ ตามข้อ 1 เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารราชการและรักษาพยาบาลตามรายละเอียดลักษณะทางเทคนิคของสถานีวินทยุคมนาคมและรายละเอียดการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่สำนักงาน กทช. เสนอ โดยมีเงื่อนไขการอนุญาตดังนี้
2.1 เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2 ต้องเป็นประเภทผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษร แบบ/รุ่น ที่ผ่านการรับรองตัวอย่างเครื่องวิทยุคมนาคมแล้ว
2.2 ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่ กทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.3 ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันทีเมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุนี้ 
ระเบียบวาระที่  4.56   :   การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ (องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 ราย) : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ (องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 ราย) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ กทช.พนาฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาอนุมัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 แห่ง ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ 162.125  162.150 162.175  162.225  162.475  162.525  162.575  162.650  162.775  162.825 และ 162.975 MHz ตามประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ความถี่วิทยุ มิใช่การจัดสรรความถี่วิทยุใหม่ แต่เป็นการบริหารความถี่วิทยุที่คณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ได้จัดสรรและกำหนดกรอบการอนุญาตไว้แล้ว ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ความถี่วิทยุที่ใช้ในการประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามที่ศาลปกครองมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา ทั้งนี้ เป็นไปตามมติ กทช. ในการประชุมครั้งที่ 33/2553 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553 ที่กำหนดให้การจัดสรรคลื่นความถี่เป็นเรื่องที่ได้รับอนุญาตมาแล้วก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 253) และเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิม และยังไม่ถูกยกเลิก ให้ดำเนินการต่อไปได้ในลักษณะชั่วคราว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ อบต.หนองระเวียง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา  อบต.บางขุนทอง อ.ตากใบ จ.นราธิวาส  อบต.พรสำราจ  อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์  อบต.บ่อใหญ่ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม และ อบต.โพนงาม อ.คำชะฮี จ.มุกดาหาร ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุฯ ข้างต้น เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 โดยกำหนดเงื่อนไขให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตไว้เดิม รวมทั้งให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันทีเมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม
ระเบียบวาระที่  4.57    :   การขอใช้ความถี่วิทยุ และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (ม.มหิดล) : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขอใช้ความถี่วิทยุ และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (ม.มหิดล) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ กทช.พนาฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาแล้ว อนุมัติให้มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้คลื่นความถี่ เพื่อภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัยภายในสถานศึกษา เป็นไปตามมติคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ครั้งที่ 8/2528 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2528 ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 2553) และเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิม และยังไม่ถูกยกเลิก ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตั้งสถานีประจำที่ โดยมีกำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) และใช้ความถี่วิทยุชนิดมือถือระบบ VHF/FM ความถี่วิทยุ 142.9750 MHz ความกว้างแถบความถี่ 16 KHz กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ จำนวน 5 เครื่อง ทั้งนี้ โดยให้มีรายละเอียดของเงื่อนไขการอนุญาตเป็นไป ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.58   :  การขออนุญาตขยายระยะเวลาและเปลี่ยนแปลงการใช้ความถี่วิทยุข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม (บมจ.ทีโอที) : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขออนุญาตขยายระยะเวลาและเปลี่ยนแปลงการใช้ความถี่วิทยุข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม (บมจ.ทีโอที) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ กทช.พนาฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาแล้ว อนุญาตให้ บมจ.ทีโอที ขยายระยะเวลาและเปลี่ยนแปลงการใช้ความถี่วิทยุจาก 6393-6397.5/4168-4172.5 ของดาวเทียมไทยคม-1A เป็น 5954-5958.5/3729-3733.5 MHz ของดาวเทียมไทยคม 5 ตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน จำนวน 5 สถานี เพื่อใช้ในการถวายบริการโทรศัพท์ส่วนพระองค์ผ่านดาวเทียมแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศา นุวงศ์ ตลอดจนการให้บริการแก่บุคคลสำคัญ ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียดของเงื่อนไขการอนุญาตเป็นไปตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.60  :  การอนุญาตให้ใช้สัญญาณเรียกขาน และหมายเลข MMSI (บริษัท กุลนที จำกัด และ บ.ทอป สยามมารีน 3 จำกัด) : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การอนุญาตให้ใช้สัญญาณเรียกขาน และหมายเลข MMSI (บริษัท กุลนที จำกัด และ บ.ทอป สยามมารีน 3 จำกัด) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ กทช.พนาฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเป็นดังนี้        
1.  อนุมัติให้เรือ กัลกุล 1 (GUNKUL 1) ของบริษัท กุลนที จำกัด ใช้สัญญาณเรียกขาน HSB4531 และหมายเลข MMSI 567 412 000 เป็นการชั่วคราว ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ เพื่อการติดต่อสื่อสาร และรักษาความปลอดภัยในขณะเดินเรือกลับประเทศไทย
2.  อนุมัติให้เรือ ไกรราช ดิกนิที (KRAIRATCH DIGNITY) ของ บริษัท ทอป สยามมารีน 3 จำกัด ใช้สัญญาณเรียกขาน HSB4370 และหมายเลข MMSI 567 382 000 เป็นการชั่วคราว ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ เพื่อการติดต่อสื่อสาร และรักษาความปลอดภัยในขณะเดินเรือกลับประเทศไทย  
ระเบียบวาระที่  4.61   :  กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ กทช.พนาฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาเห็นว่า การขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว มิใช่เป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ดังนั้น จึงเห็นควรอนุมัติให้กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ ตั้งสถานีเคลื่อนที่ (Mobile Service) จำนวน ๑ สถานี และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) โดยให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF-UHF/AM-FM ชนิดเคลื่อนที่ ตราอักษร Rohde & Schwarz แบบ/รุ่น XM6513D ความถี่วิทยุ 270.500 ระบบ VHF/AM กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ (AM) และความถี่วิทยุ 333.700 ระบบ UHF/AM กำลังส่งไม่เกิน 20 วัตต์ (FM) ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 6 KHz รวมจำนวน 2 เครื่อง เพื่อใช้ในการพัฒนาต้นแบบระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (TDL : Tactical Data Link) ในภารกิจเพื่อความมั่นคงของรัฐของกองทัพอากาศ ณ กองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
1.1  เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว จะต้องเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ผ่านการตรวจยืนยันคุณสมบัติหรือลักษณะทางเทคนิคจากสำนักงาน กทช.
1.2  ต้องปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่ กทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.3  ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันทีเมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุนี้
1.4  ให้บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ เพื่อส่งมอบให้กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ ใช้งานตามที่ได้รับอนุญาต โดยให้ติดต่อสำนักงาน กทช. เพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว
2.  มอบหมายให้ประธาน กทช. เป็นผู้ลงนามในใบอนุญาตให้นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม ตามข้อ 1.3  ให้แก่บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด 
ระเบียบวาระที่  4.62   :  บริษัท สยามเทลเทค จำกัด ขออนุญาตนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์เพื่อการสาธิตทดลองขีดความสามารถในการทำงาน : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บริษัท สยามเทลเทค จำกัด ขออนุญาตนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์เพื่อการสาธิตทดลองขีดความสามารถในการทำงาน ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ กทช.พนาฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตให้บริษัท สยามเทลเทค จำกัด นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์เพื่อการสาธิตทดลองขีดความสามารถในการทำงานของเครื่องวิทยุคมนาคมให้กับกรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ กองทัพเรือ ดังนี้
1.  อนุมัติให้บริษัท สยามเทลเทค จำกัด ทำการสาธิต ทดลองขีดความสามารถในการทำงานของเครื่องวิทยุคมนาคมให้กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ กองทัพเรือ
2.  อนุมัติให้บริษัท สยามเทลเทค จำกัด นำเข้า และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตราอักษร Rockwell Collins รุ่น 72184 จำนวน 2 เครื่อง และรุ่น ARC-210/RT-8105 จำนวน 1 เครื่อง และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เพื่อการสาธิต ทดลองขีดความสามารถในการทำงาน ให้กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2553 – 15 มีนาคม 2554 ณ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ  โดยมีเงื่อนไขการอนุญาตตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
2.1 ให้นำเครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าวไปใช้ในการสาธิต ณ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2554 เท่านั้น
2.2 จะต้องติดตั้งเครื่องวิทยุคมนาคมในห้องปฏิบัติการที่มีการป้องกันการแพร่กระจายคลื่นออกมาด้านนอก และห้ามติดตั้งและใช้งานภายนอกอาคาร
2.3 บริษัทฯ ต้องได้รับใบอนุญาตให้ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมจาก กทช. ก่อนการนำเครื่องวิทยุคมนาคมไปใช้งานเพื่อการสาธิต
2.4 ห้ามนำเครื่องวิทยุคมนาคมไปใช้งานเพื่อการติดต่อสื่อสารอื่นใด นอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
2.5 ให้ดำเนินการส่งเครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว ออกนอกราชอาณาจักรภายในวันที่ 30 มีนาคม 2554
2.6 ต้องปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่ กทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 
ระเบียบวาระที่   4.63   :   การขออนุญาตสำรองการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคม : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขออนุญาตสำรองการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ กทช.พนาฯ และ กทช.พันเอก นทีฯ) ซึ่งพิจารณาเห็นว่าเป็นการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมในราชการ เพื่อสำรองใช้งานทดแทนเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุมัติให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม และให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 7.5 GHz แล้ว แก่ บมจ.ทีโอที กอรปกับเป็น กรณีที่ บมจ.ทีโอที ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุตั้งแต่ พ.ศ.2538 จึงเป็นกรณีที่ได้รับสิทธิอยู่ก่อน (Acquired Right) ดังนั้น จึงเห็นควรอนุญาตสำรองการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคมตามที่ บมจ.ทีโอที มีหนังสือร้องขอ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
1.  อนุมัติให้ บมจ.ทีโอที ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมตราอักษร NEC รุ่น 5000S โดยมีรายละเอียดเครื่องวิทยุคมนาคม/อุปกรณ์ที่ขออนุญาตปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ ทั้งนี้ เพื่อสำรองการใช้งานทดแทนเครื่องวิทยุคมนาคมของสถานีวิทยุคมนาคมในเส้นทางที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz แล้ว ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  อนุมัติให้บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมตราอักษร NEC รุ่น 5000s เพื่อส่งมอบให้ บมจ.ทีโอที สำรองการใช้งานตามข้อ 1 ต่อไป           
ระเบียบวาระที่  4.64    :   การขอยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ของ บริษัท เลนโซ่ ดาต้าคอม จำกัด และบริษัท พลัสวัน พาวเวอร์ จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขอยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ของ บริษัท เลนโซ่ ดาต้าคอม จำกัด และบริษัท พลัสวัน พาวเวอร์ จำกัด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช.  กทช.สุชาติฯ  กทช.สุธรรมฯ กทช.สุรนันท์ฯ  กทช.พนาฯ และ กทช.บัณฑูรฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วอนุมัติให้ยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ของ บริษัท เลนโซ่ ดาต้าคอม จำกัด และบริษัท พลัสวัน พาวเวอร์ จำกัด ทั้งนี้ ตามข้อ 26 ของเงื่อนไขการอนุญาต ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง เนื่องจากเห็นว่า การขอยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งของ บริษัท เลนโซ่ ดาต้าคอม จำกัด และบริษัท พลัสวัน พาวเวอร์ จำกัด จะไม่ส่งผลกระทบ/ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายต่อผู้ใช้บริการ เนื่องจากมีการถ่ายโอนลูกค้าไปยังผู้ให้บริการรายอื่นเรียบร้อยแล้วตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.65   :   การขอขยายเวลาการใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.5 GHz ในโครงการนำร่องฯ ของ มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งระงับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการ IMT ย่าน 2.1 GHz เป็นการชั่วคราว และคลื่นความถี่ดังกล่าวเป็นคลื่นความถี่ที่มีลักษณะเดียวกัน ดังนั้น กทช.จึงยังไม่สามารถพิจารณาอนุมัติให้มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (มูลนิธิ รพร.) ขยายเวลาการใช้ความถี่วิทยุ ย่าน 2.5 GHz (2500 – 2520 MHz) ในการดำเนินโครงการนำร่องการนำเทคโนโลยี WiMAX มาใช้เพื่อสร้างช่องทางสื่อสารระบบใหม่ระหว่างศูนย์กลางโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกับสถานบริการ รับ-ส่งปลายทางต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 ตามที่มูลนิธิฯ ร้องขอได้ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทราบมติข้างต้นต่อไป 
ระเบียบวาระที่   4.68    :   โครงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)ไปสู่โรงเรียนวังไกลกังวลและโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ.
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง โครงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ไปสู่โรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) ซึ่งพิจารณาแล้ว อนุมัติให้การสนับสนุนงบประมาณจัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)ไปสู่โรงเรียนวังไกลกังวล และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จำนวน 44 แห่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา ภายในกรอบวงเงิน 59 ล้านบาท ทั้งนี้ โดยมอบเงินให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อดำเนินการเอง ทั้งนี้ โดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของสำนักงาน กทช. ประจำปี 2554 
ระเบียบวาระที่  4.69  :  ผลกระทบของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมฯ ต่อการจัดการ USO : กทช.สุรนันท์ฯ, คกก.กำหนดนโยบายการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมฯ
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และเพื่อบริการสังคม เกี่ยวกับผลกระทบของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ต่อการจัดการ บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและเพื่อบริการสังคม (USO) ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ เสนอ
2.  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง ผลกระทบของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมฯ ต่อการจัดการ USO ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นควรทบทวนแนวทางการดำเนินการที่ยังคงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 โดยกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับสิทธิลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกราย เนื่องจากขณะนี้มีการจัดเก็บในอัตรา ๒% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย แล้วยังคงเหลือจากการใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ซึ่ง กทช. ต้องนำส่งรัฐบาลต่อเนื่องทุกปี 
ระเบียบวาระที่  4.70  :   การปรับปรุงแผนการดำเนินงานการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน   โดยทั่วถึง (USO) ภายใต้แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 2 : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ.
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การปรับปรุงแผนการดำเนินงานการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง (USO) ภายใต้แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 2 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบให้ชะลอการจัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดำเนินการ USO ด้วยวิธีการประมูลแข่งขันมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนสู่พื้นที่ชนบท รวมทั้งการดำเนินโครงการนำร่องเพื่อทดลองจัดให้มีบริการโทรศัพท์ระดับครัวเรือนด้วยวิธีการประมูลแข่งขัน จำนวน 20,000 ครัวเรือนเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และเพื่อบริการสังคม ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   4.71  :   ขออนุมัติงบประมาณจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (USO NET) โดยเบิกจ่ายงบประมาณจากกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง ขออนุมัติงบประมาณจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (USO NET) โดยเบิกจ่ายงบประมาณจากกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ) ซึ่งพิจารณาแล้วอนุมัติการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (USO NET) วงเงิน 14,600,000 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี โดยเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. เนื่องจากองค์กรอยู่ในระหว่างช่วงการเปลี่ยนผ่านจาก กทช. เป็น กสทช. 
ระเบียบวาระที่  4.72  :  การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรกของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 : รทช.พิทยาพลฯ, พต. 
มติที่ประชุม   เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรกของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 จำนวน 4 ราย (บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ บจ.ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค และ บจ.ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์) จำนวน 10 คำขอ 45 เส้นทาง 1 ชุมสาย  และกำหนดเงื่อนไขตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.) ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง ซึ่งพิจารณาเห็นว่าเป็นการขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสาหรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 โดยให้เพิ่มเงื่อนไขว่า ห้ามมิให้นำไปใช้ในกิจการกระจายเสียง ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้น จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุมัติของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมงานดังกล่าว รวมทั้งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กทช.กำหนด โดยเคร่งครัดต่อไป  
ระเบียบวาระที่  4.73   :   ผลการยืนยันผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz : รทช.พิทยาพลฯ, ศฐ., คณะประสานงานผู้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาต
มติที่ประชุม  รับทราบผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ของคณะประสานงานผู้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาต (สถาบันการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)  ซึ่งวินิจฉัยว่า บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด  บริษัท ดีแทค อินเตอร์เนต เซอร์วิส จำกัด และบริษัท เรียล มูฟ จำกัด มีคุณสมบัติครบถ้วน และถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในประกาศ IMT ย่าน 2.1 GHz (อาทิ ข้อกำหนดในการถือครองหุ้น และการมีอำนาจควบคุมระหว่างกันของผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ 5.2)และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ กทช.และสำนักงาน กทช. ได้ระงับการดำเนินการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประกาศดังกล่าวไปแล้วโดยทันทีนับตั้งแต่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 379/2553 ลงวันที่ 23 กันยายน 2553 ทุเลาการบังคับการดำเนินการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่  IMT ย่าน 2.1 GHz ให้ กทช.และสำนักงาน กทช. ระงับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่  IMT ย่าน 2.1 GHz เป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด 
หมายเหตุ  ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือได้แก่ วาระที่ 4.15 - 4.17, 4.19 - 4.21,  4.47, 4.50, 4.54, 4.59, 4.66, 4.67, และ 4.74 จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ครั้งต่อไป 
ระเบียบวาระที่  5    :   เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1  :   รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่ กทช. ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต หรือมอบหมายให้ ลทช. ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ประจำเดือนตุลาคม 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.2  :   รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 : รทช.ฐากรฯ, กม.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประจำเดือนตุลาคม 2553 จำนวน 2 ราย ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
1.  บริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด
2.  บริษัท ทริปเปิลทรี โกลบอลเน็ท จำกัด 
ระเบียบวาระที่  5.3   :   รายงานสรุปผลการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ค.ศ.2010 (Plenipotentiary Conference 2010) ระหว่างวันที่ 4 – 22 ตุลาคม 2553 ณ เมือง Guadalajara ประเทศเม็กซิโก : รทช.ทศพรฯ, กร. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานสรุปผลการเข้าร่วมประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ค.ศ.2010 (Plenipotentiary Conference 2010) ระหว่างวันที่ 4 – 22 ตุลาคม 2553 ณ เมือง Guadalajara ประเทศเม็กซิโกของ รทช.ทศพรฯ และคณะ ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.4    :   รายงานข้อเท็จจริงของความล่าช้าในการพิจารณาข้อโต้แย้งการกำหนดเงื่อนไขการประกอบกิจการดาวเทียมของ บมจ. กสท โทรคมนาคม : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานข้อเท็จจริงของความล่าช้าในการพิจารณาข้อโต้แย้งการกำหนดเงื่อนไขการประกอบกิจการดาวเทียมของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.5   :   การอนุญาตให้ ITU นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “Inclusive e-Services and e-Applications for Communities” : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม  รับทราบการอนุญาตให้ ITU นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อใช้ในการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “Inclusive e-Services and e-Applications for Communities”ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่   22 – 26 พฤศจิกายน 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   5.6   :  รายงานการรับเรื่องร้องเรียนประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ครึ่งเดือนแรก : สบท. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการรับเรื่องร้องเรียนประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ครึ่งเดือนแรก ของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม มีจำนวนเรื่องร้องเรียน 207 เรื่อง ได้แก่ เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 8 เรื่อง และเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการจำนวน 199 เรื่อง ตามเอกสารที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ 
ระเบียบวาระที่   5.7   :   รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 5/2551 : สชท. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 5/2551 ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับ บมจ.ทีโอที ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.8   :  รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 6/2551 : สชท. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 6/2551 ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ ๖๗ ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ 
ระเบียบวาระที่    5.9   :   รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2552 : สชท. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2552 ระหว่าง  บจ.ดิจิตอล โฟน กับ บมจ.ทีโอที ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.10   :    รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 1/2553 : สชท. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 1/2553 ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับ บจ.ทรู มูฟ ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ  
ระเบียบวาระที่   5.11   :    รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2553 : สชท.
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2553 ระหว่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ กับ บมจ.ทีที แอนด์ที ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ ๖๗ ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.12  :  รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 3/2553 : สชท. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 3/2553 ระหว่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.13   :  รายงานการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม : รทช.ประเสริฐฯ, สบท
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม ในประเด็น กรณีปัญหาการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเรียกเก็บค่าบริการภายหลัง (Post paid) แบบจดทะเบียน และโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (Prepaid) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 และสรุปผลการดำเนินการของสำนักงาน กทช. ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ                                  
ระเบียบวาระที่  5.14   :  รายงานผลการเข้าร่วมการประชุม GILF ครั้งที่ 3 และการประชุม GSR ครั้งที่ 10 : รทช.ทศพรฯ, กร. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการเข้าร่วมการประชุม Global Industry Leaders Forum (GILF) ครั้งที่ 3 และการประชุม Global Symposium for Regulators (GSR) ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 9 – 12 พฤศจิกายน 2553 ณ สาธารณรัฐเซเนกัล ของคณะผู้แทนสำนักงาน กทช. ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.15  :  รายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคมประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2553 : รทช.พิทยาพลฯ, ศฐ.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคมประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ตามประกาศ กทช. เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการ และการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549  ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. ประมวลสรุปรายงานดังกล่าวข้างต้นเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบต่อไป       
ระเบียบวาระที่   5.16   :    รายงานการเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการเปิดให้บริการคงสิทธิ เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่หน่วยงานต่างๆ มีหนังสือแจ้งมา และเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประกอบด้วย AIS, CAT, DTAC, TOT และ True Move ได้เปิดแถลงการณ์ให้สัมภาษณ์ผ่านผู้สื่อข่าวว่า จะเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  6   :    เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1   :    ผลการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. : คณะกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณฯ

มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ อยู่ในระหว่างการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ก่อนนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร รูปแบบ และวิธีการดำเนินงาน ตลอดจนการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบในช่วงเปลี่ยนผ่านดังกล่าว กอรปกับเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและมิให้การปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. ต้องหยุดชะงักลง ที่ประชุมจึงมีมติดังนี้
1.  อนุมัติกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. จำนวนเงิน 3,641.65 ล้านบาท ซึ่งได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณากลั่นกรองของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 แล้ว และเป็นไปตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยหลักการบริหารจัดการงบประมาณ พ.ศ. 2551 (Budget Management)
2.  อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณตามข้อ 1 เฉพาะรายการค่าใช้จ่ายที่จำเป็น วงเงินจำนวน  2,128.527 ล้านบาท ได้แก่
2.1 รายจ่ายพื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่ง ( Essential Need ) จำนวน 1,426.640 ล้านบาท ประกอบด้วย
1)    รายจ่ายสำหรับการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช. จำนวนเงิน 977.593 ล้านบาท
2)    โครงการที่ผูกพันสัญญา จำนวน 13 โครงการ จำนวนเงิน 449.046 ล้านบาท
2.2 ค่าภาระต่างๆ ที่เหมาะสม เฉพาะรายจ่ายการดำเนินงานอื่นๆ จำนวน 701.887 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายในส่วนของสถาบันอิสระ ทั้ง 3 สถาบัน นั้น ให้ใช้จ่ายได้เฉพาะกรณีที่เป็นงบประจำไปก่อน
     ทั้งนี้ สำหรับรายการค่าใช้จ่ายในส่วนที่เหลือจากกรอบงบประมาณตามข้อ 1  อีกจำนวน 1,513.123 ล้านบาท ได้แก่ ค่าใช้จ่ายโครงการที่เลื่อนการดำเนินงานและโครงการใหม่ ค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการร่วม เงินจัดสรรเข้ากองทุน และเงินงบกลางกรณีฉุกเฉินและจำเป็น นั้น กทช. จะได้นำมาพิจารณาโดยรวมอีกครั้งหนึ่งเพื่อความเหมาะสมภายหลังจาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว อนึ่ง สำหรับการใช้จ่ายเงินในปี 2554 ในส่วนของเงินกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะที่ผูกพันมา นั้น ให้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของสำนักงาน กทช. ประจำปี 2554 แทนก่อน เพื่อลดผลกระทบในช่วงเปลี่ยนผ่าน มิให้โครงการต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการต้องหยุดชะงักลง สำหรับในปีถัดไปนับจากนั้น จึงกลับมาเบิกจ่ายงบประมาณโครงการส่วนที่เหลือจากเงินกองทุนฯ อีกครั้งหนึ่ง หรือเมื่อมีการจัดตั้งกลไก และการวางระบบการบริหารจัดการกองทุนตาม พ.ร.บ. องค์กรฯ ฉบับใหม่เรียบร้อยแล้ว 
ระเบียบวาระที่  6.2   :   อุทธรณ์คำสั่ง ลทช. ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการชำระค่าปรับทางปกครองในอัตราวันละ 166,666.67 บาท กรณีไม่ดำเนินการจัดให้มีบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ผู้ใช้บริการ : รทช.ฐากรฯ, กม. 
มติที่ประชุม                  
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่ากรณีที่ผู้ประกอบการ 6 ราย (บมจ.ทีโอที  บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส  บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น  บจ.ทรูมูฟ และ บจ.ดิจิตอลโฟน) ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ลทช. ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการชำระค่าปรับทางปกครองในอัตราวันละ 166,666.67 บาท กรณีไม่ดำเนินการจัดให้มีบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ผู้ใช้บริการ นั้น เหตุผล ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายตามที่ผู้อุทธรณ์กล่าวอ้างนั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าการกำหนดค่าปรับทางปกครองของ ลทช. นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย กอปรกับขณะนี้ผู้ประกอบการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเรื่องค่าปรับการบริการคงสิทธิเลขหมาย โดยศาลมีคำสั่งยกคำขอให้คุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติยืนตามคำสั่ง ลทช.
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ตามมติข้อ 1 ไปยังผู้ประกอบการทั้ง 6 รายต่อไป 
ระเบียบวาระที่  6.3   :  การจัด Workshop on Next Generation of IPTVServices and Experiment in Thailand : ประธาน กทช., รทช.พิทยาพลฯ, กจ. 
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัด Workshop on Next Generation of IPTVServices and Experiment in Thailand ในวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กทช. และ The Global Information & Telecommunication Institute, Graduate School of Global Information & Telecommunication Studies มหาวิทยาลัยวาเซดะ ภายในกรอบวงเงิน 200,000 บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2553 ตามโครงการความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ (กิจกรรมความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวาเซดะ) ของสำนักกิจการกรรมการ ทั้งนี้ โดยเชิญบุคลากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมสนับสนุนทางวิชาการ ตามที่ประธาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  6.4   :   การจัดการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายป้องกันการผูกขาด โดย Professor Samuel R. Miller จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ : กทช.สุธรรมฯ          
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายป้องกันการผูกขาด โดย Professor Samuel R. Miller จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ระหว่างวันที่ 23 – 24 กุมภาพันธ์ 2554 ภายในกรอบวงเงิน 674,500 บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักกิจการกรรมการ ตามที่ กทช.   สุธรรมฯ เสนอ 
ระเบียบวาระที่  6.5   :   รายงานความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างประกาศ กทช. ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. .... : กทช.สุธรรมฯ,คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างประกาศ กทช. ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. .... 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบรายงานความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างประกาศ กทช. ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะที่เป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างประกาศ กทช. ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะที่เป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. .... เสนอ
2.  เห็นชอบแนวทางการดำเนินการต่อร่างประกาศ กทช. ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะที่เป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. ....  ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวต่อไป รวมถึงการดำเนินการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในช่วงต้นปี 2554  ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3.  อนุมัติในหลักการงบประมาณสำหรับการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างประกาศ ตามข้อ 2 ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ประสานงานกับ กทช. สุธรรมฯ ในรายละเอียดของงบประมาณค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนต่อไป 
ระเบียบวาระที่  6.6   :   การดำเนินงานโครงการ “กทช. สร้างผู้ประกอบการชั้นเลิศในธุรกิจโทรคมนาคม” และการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (Creative Entrepreneurship Development Institute, Bangkok University : CEDI) :  กทช.สุธรรมฯ,รทช.พิทยาพลฯ, กจ.
มติที่ประชุม                
1.  อนุมัติโครงการ “กทช. สร้างผู้ประกอบการชั้นเลิศในธุรกิจโทรคมนาคม” ภายในกรอบวงเงิน 10 ล้านบาท ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  เห็นชอบร่างขอบเขตการดำเนินงานโครงการ “กทช. สร้างผู้ประกอบการชั้นเลิศในธุรกิจโทรคมนาคม” ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยให้ระบุเงื่อนไขในร่างขอบเขตการดำเนินงานด้วยว่า หากผู้ประกอบการดำเนินการไม่ครบตามเป้าหมายที่กำหนด ให้สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (Creative Entrepreneurship Development Institute, Bangkok University : CEDI) ส่งคืนเงินงบประมาณส่วนที่ไม่ได้ใช้คืนให้สำนักงาน กทช. ภายใน 90 วันทำการ
3.  เห็นชอบการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (Creative Entrepreneurship Development Institute, Bangkok University : CEDI) และสำนักงาน กทช. ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักกิจการกรรมการเป็นผู้ดำเนินการ
4.  มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สำนักการอนุญาตประกอบกิจการ และสำนักกิจการกรรมการ เป็นตัวแทนของสำนักงาน กทช. ในการจัดตั้งคณะกรรมการร่วม เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเข้ารับการอบรมและจำแนกประเภทของผู้ประกอบการกับหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งร่วมกันปรับปรุงหลักสูตรในการอบรมร่วมกับสถาบัน CEDI 
ระเบียบวาระที่  6.7  :   การดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้าใจโดยใช้สื่อวิทยุชุมชน : กทช. พันเอก นทีฯ 
มติที่ประชุม                  
1.  อนุมัติโครงการเสริมสร้างความเข้าใจโดยใช้สื่อวิทยุชุมชน ภายในกรอบวงเงิน 5,511,400 บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายปี 2553 ของกลุ่มงานเลขานุการคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ โดยให้กันเงินงบประมาณดังกล่าวเพื่อเบิกจ่ายไว้ 1 ปี ตามที่ กทช.พันเอก นทีฯ เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ กทช. มีมติอนุมัติ 
ระเบียบวาระที่  6.8  :   การเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม The 29th International Training Program on Utility Regulation and Strategy ระหว่างวันที่ 10-21 มกราคม 2554 ณ มลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา : กทช.พันเอกนทีฯ 
มติที่ประชุม   อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม The 29th International Training Program on Utility Regulation and Strategy ระหว่างวันที่ 10-21 มกราคม 2554 ณ มลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา จาก ร.ท.คณิน   ทันหะพันธ์ (กรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย) เป็น นายณัฐจักร  ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา (อนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์) ตามที่ กทช.พันเอก นทีฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่  6.9  :   โครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : กทช.พันเอก นทีฯ, รทช. พิทยาพลฯ, กจ.
มติที่ประชุม                  
1.  อนุมัติการดำเนินโครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามที่ กทช.พันเอก นทีฯ เสนอ
2.  อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน 84 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามข้อ 1 โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายปี 2554 ของสำนักงาน กทช. ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป 
ระเบียบวาระที่  6.10  :   ขอให้บรรจุโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ICT เพื่อเยาวชน ไว้ในงบประมาณประจำปี 2554 : กทช.สุรนันท์ฯ 
มติที่ประชุม                
1.  อนุมัติการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ICT เพื่อเยาวชน ในการช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสารสนเทศหรือช่องว่างทางดิจิทัล ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญในแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ เสนอ
2.  อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน 112 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามข้อ 1 โดยให้บรรจุไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. ต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.11   :  โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน : กทช.พนาฯ, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์, กส.
มติที่ประชุม   เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงาน กทช. และสถาบันการศึกษา 10 แห่ง (มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง  มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) ตามโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน วงเงินงบประมาณรวม 49.50 ล้านบาท ภายใต้กรอบหลักสูตรฝึกอบรมผู้ดำเนินการวิทยุกระจายเสียงชุมชนที่ กทช. มีมติเห็นชอบแล้ว ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ เสนอ          
ระเบียบวาระที่  6.12  :   การยกร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กทช.พนาฯ, กส.
มติที่ประชุม                
1.  เห็นชอบกรอบแนวทางการดำเนินงาน (Action Plan) การเตรียมการจัดทำร่างแผนปฏิบัติงานของคณะกรรมการยกร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ เสนอ
2.  เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยมีวาระการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าภารกิจการจัดทำแผนแม่บทดังกล่าวจะแล้วเสร็จ ตามที่ กทช.พนาฯ เสนอ ทั้งนี้ โดยให้กรรมการได้รับค่าตอบแทนค่าเบี้ยประชุมตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3.  อนุมัติในหลักการการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ตามข้อ 2 ทั้งนี้ โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 และตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป 
ระเบียบวาระที่  6.13  :   การขอรับจัดสรรคลื่นความถี่ ย่านความถี่วิทยุ HF ระบบเตือนภัยพิบัติอุตุนิยมวิทยาทะเลสำหรับเรดาห์ตรวจวัดคลื่นในทะเล CODAR ในราชการของกรมอุตุนิยมวิทยา : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.             
มติที่ประชุม  โดยที่คลื่นความถี่ย่านความถี่วิทยุ HF ที่กรมอุตุนิยมวิทยาขอรับจัดสรรในครั้งนี้เป็นคลื่นความถี่ที่มีการกำหนดประเภทกิจการไว้แล้วในตารางกำหนดความถี่วิทยุแห่งชาติ ซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขจัดทำไว้ตั้งแต่ปี 2542 กอปรกับการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าวเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ให้หน่วยงานของรัฐเพื่อการตรวจเฝ้าระวังภัย การป้องกันภัยธรรมชาติ และการเตือนภัยพิบัติทางทะเล ซึ่งมิใช่บริการเพื่อแสวงหากำไรในเชิงพาณิชย์ หากแต่เป็นบริการสาธารณะที่รัฐมีหน้าที่จะต้องจัดให้บริการแก่ประชาชน กอรปกับกรณีดังกล่าวเข้าข่ายตามมติหลักการที่ กทช. ให้ไว้ในการประชุม กทช.ครั้งที่ 33/2553 ข้อ 1.3 “ไม่มีการพิจารณาอนุญาตการจัดสรรคลื่นความถี่เพิ่มเติม ยกเว้นกรณีที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้  ให้นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม กทช.เป็นกรณีๆ ไป” ที่ประชุมพิจารณาแล้วจึงมีมติเห็นชอบตามผลการพิจารณาของกรรมการกลั่นกรอง ดังนี้
1.  อนุมัติจัดสรรความถี่วิทยุให้กรมอุตุนิยมวิทยา จำนวน 2 ช่องความถี่ ได้แก่ ย่านความถี่วิทยุ 4372.00 – 4397.00 KHz ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 25 KHz และย่านความถี่วิทยุ 13922.00 – 13997.00 KHz ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 75 KHz
2.  อนุมัติให้กรมอุตุนิยมวิทยา ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมประเภทสถานีประจำที่ (Fixed Station) จำนวน 6 สถานี ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการประจำที่ (Fixed Service) และใช้ความถี่วิทยุโดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
2.1 ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวเป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 หรือให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองทันทีเมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม
2.2 ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานเพื่อความมั่นคงของรัฐ และจะต้องไม่ก่อให้เกิดการรบกวนการใช้ความถี่วิทยุของหน่วยงานเพื่อความมั่นคงของรัฐ
2.3 เมื่อแผนปฏิบัติการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่สำหรับหน่วยงานเพื่อความมั่นคงของรัฐบังคับใช้แล้ว กรมอุตุนิยมวิทยา จะต้องปรับเปลี่ยนไปใช้ความถี่วิทยุอื่นให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามที่กำหนด
2.4 จะต้องปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่ กทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
3.  ให้กรมอุตุนิยมวิทยายืนยันการยินยอมผูกพันตามเงื่อนไขในข้อ 1 – 2 เป็นหนังสือภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กทช. หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้การอนุญาตในครั้งนี้เป็นการสิ้นผล
4.  อนุมัติให้บริษัท เมทลิงค์ อินโฟ จำกัด นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม ประเภทเครื่องเรดาร์วัดคลื่น CODAR ตราอักษร SEASONDE รุ่น Long-Range จำนวน 2 ชุด และรุ่น Standard จำนวน 4 ชุด พร้อมอุปกรณ์ เพื่อส่งมอบให้กรมอุตุนิยมวิทยา ใช้งานตามที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว
ระเบียบวาระที่  6.14   :   ขออนุมัติดำเนินการแผนประชาสัมพันธ์ : รทช.ฐากรฯ           
มติที่ประชุม   อนุมัติให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการแผนประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประกอบกิจการโทรคมนาคมของ กทช. ที่ได้กำหนดขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และประเทศชาติ อาทิ การประกอบกิจการโทรคมนาคมของคนต่างด้าว การถือหุ้นไขว้ การมีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ การส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในเรื่องการหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อโทรคมนาคม เป็นต้น ในลักษณะเป็นบทความและสัมภาษณ์ออกอากาศผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุโทรทัศน์ ภายในกรอบวงเงิน 30 ล้านบาท โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณยุทธศาสตร์ประชาสัมพันธ์ประจำปี 2553 ที่มีวงเงินอยู่จำนวน 120 ล้านบาท ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดทำรายละเอียดของโครงการแต่ละเรื่องให้ชัดเจน โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ กทช.สุธรรมฯ และ กทช.บัณฑูรฯ ก่อนดำเนินการให้เป็นตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยการพัสดุ และระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป        
ระเบียบวาระที่  6.15   :   การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ จำนวน 11 รุ่น : รทช.ทศพรฯ, วท. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ตามประกาศ กทช. เรื่อง ระเบียบสำหรับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ โดยสำนักงาน กทช. ซึ่งกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ กทช.พันเอก นทีฯ และ กทช.พนาฯ) ได้พิจารณาแล้วเห็นชอบการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ จำนวน 11 รุ่น ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
1.  การจดทะเบียนเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ใบจดทะเบียนเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ และออกหมายเลขการจดทะเบียนเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (Registration Number) จำนวน 2 รุ่น ให้แก่
1)  บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด ตราอักษร SHURE รุ่น  MX 690=-R13
2)  บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด ตราอักษร SHURE รุ่น  MX 890=-R13
2.  การรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (Approval Certificate) และออกหมายเลขการรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (Approval Number) จำนวน 5 รุ่น ให้แก่
1)  บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ตราอักษร i-mobile รุ่น  i-mobile S390
2)  บริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตราอักษร TWZ รุ่น TD33
3)  บริษัท มาสเตอร์ เทคโนคอม จำกัด ตราอักษร MASTER รุ่น MT802
4)  บริษัท โมเดิร์น เทคโนโลยี โมบาย จำกัด ตราอักษร MTM รุ่น M10
5)  บริษัท ดีโมบาย (ประเทศไทย) จำกัด ตราอักษร OKER รุ่น 620
3.  การทดสอบเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์รายงานผลการทดสอบ (Test Report) เครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ จำนวน 1 รุ่น ให้แก่ บริษัท ดิจิตอล รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลทิ่ง จำกัด ตราอักษร KENWOOD รุ่น NX-300S-E
4.การทดสอบและรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์รายงานผลการทดสอบ (Test Report) เครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ พร้อมใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (Approval Certificate) และออกหมายเลขการรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (Approval Number) จำนวน 3 รุ่น ให้แก่
1)  บริษัท ซูเล็ค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตราอักษร ZULEX รุ่น  ZT-1000
2)  บริษัท จี เนท อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ตราอักษร  G Net รุ่น G237
3)  บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด ตราอักษร acer รุ่น S120
ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ประธาน กทช. เป็นผู้ลงนามในการดำเนินงานตามข้อ 1 ต่อไป

สร้างโดย  -   (31/1/2559 14:05:54)

Download

Page views: 463