Banner

ศาสตราจารย์ เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์

ศาสตราจารย์ เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์

กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

วัน เดือน ปี เกิด:  31 กรกฎาคม พ.ศ. 2484

ประวัติการศึกษา
  • รัฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2508)
  • พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ.2511)
  • M.A. (University of Florida) ทุนรัฐบาลตามความต้องการของกรมไปรษณีย์โทรเลข (พ.ศ.2515)
  • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (หลักสูตร ปรอ.7)
ประวัติการทำงาน
  • อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ.2511 - 2515)
  • โอนมารับราชการที่กรมไปรษณีย์โทรเลข และดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ (พ.ศ.2515)
    • เลขานุการกรม, ผู้อำนวยการกองแผนงาน
    • ผู้อำนวยการสำนักบริหารความถี่วิทยุ, รองอธิบดี
  • อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข (พ.ศ.2540 - 2544)
เกียรติคุณพิเศษ
  • ศาสตราจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (พ.ศ.2539)
  • ประกาศนียบัตรนักวิจัยดีเยี่ยมจากสภาวิจัยแห่งชาติ 2 ฉบับ (พ.ศ.2522 และ 2525)
  • บุคคลดีเด่นด้านโทรคมนาคมของสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2543)
การอบรมและศึกษาดูงาน
  • หลักสูตร Telecommunication Management ณ ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2528)
  • หลักสูตร Telecommunication Planning and Decision Making (USTTI) (พ.ศ.2529)
  • หลักสูตร Telecommunication Planning and Decision Making (USTTI) (พ.ศ.2529)
  • หลักสูตร Telecommunication Regulator สหราชอาณาจักร (พ.ศ.2536)
ประสบการณ์อื่น ๆ ที่สำคัญ
  • กรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.)
  • กรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.)
  • กรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
  • หัวหน้าคณะผู้แทน, และผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศด้านโทรคมนาคมของ ITU, INTELSAT, WTO, APEC
  • ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจยกร่าง กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
วิสัยทัศน์

          ศาสตราจารย์พิเศษ “ เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์” ได้แสดงวิสัยทัศน์ ไว้ว่า “จากแนวโน้มของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็วของเทคโนโลยีโทรคมนาคมแบบดิจิตอล ได้ก่อให้เกิดบริการโทรคมนาคมใหม่ๆ อย่างการให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำลังก้าวไปสู่ยุคที่สาม (3G) และจะทำให้มีการใช้คลื่นวิทยุมากขึ้น” วิสัยทัศน์ส่วนหนึ่งของ เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข  
          การพัฒนาของเทคโนโลยีโทรคมนาคมจาก Multimedia ไปสู่ Multiservice จะเป็นความยากลำบากในการแยกประเภทกิจการในการออกกฎข้อบังคับ การอนุญาตและการกำกับดูแลกิจการด้านการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโทรคมนาคมจากร ะบบการผูกขาด ไปเป็นระบบการแข่งขันเสรี ตามพันธะขององค์การค้าโลก จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ กติกาในการแข่งขัน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผูกขาดต้องถูกยกเลิก และมีการตรากฎหมายให้มีการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศ 
          ในช่วงที่กิจการโทรคมนาคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาปฏิรูปตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญฯ ได้เกิดสูญญากาศโทรคมนาคม ทำให้กิจการโทรคมนาคมไม่มีการพัฒนาและเกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการ เพราะขาดการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังเกิดปัญหาเรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคมและการแปรสัญญาร่วมการงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชน เกิดปัญหาการกระจายบริการโทรคมนาคมไม่ทั่วถึงและเท่าเทียมและผู้ใช้บริการไม ่ได้รับความคุ้มครอง 
           เพื่อให้ กทช. เป็นองค์กรที่มีเกียรติและได้รับความไว้วางใจ จากผู้ที่อยู่ในวงการทั้งในและนอกประเทศ จะต้องมีระบบบริหารงานที่ทันสมัย, ยึดหลักความโปร่งใส, มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน, มีความเชี่ยวชาญ, ความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพและมีคุณธรรมโดยจะต้องส่งเสร ิมการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ อีกทั้ง กทช. จะต้องให้การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศสิ่งที่ กทช. ต้องดำเนินการภายในหนึ่งปี คือการจัดทำกฎระเบียบเพื่อเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีเป็นธรรม, การสร้างกลไกคุ้มครองผู้บริโภค, เรื่องอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเชื่อมต่อโครงข่าย โทรคมนาคม, การเตรียมการเปิดเสรีโทรคมนาคม และการป้องกันการครอบงำกิจการและป้องกันการผูกขาด ภายใน 3 ปี 
        กทช. จะต้องพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับการอนุญาตและการกำกับดูแลให้เหมาะสมทันสมัย,มีการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะและส่ง เสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม สำหรับระยะภายใน5ปีกทช.จะต้องทำกลไกความร่วมมือทั้งจากภาครัฐเอกชน และต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

สร้างโดย  -   (31/1/2559 22:19:28)