Banner

รองศาสตราจารย์ สุธรรม อยู่ในธรรม

รองศาสตราจารย์ สุธรรม อยู่ในธรรม

กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ประวัติการศึกษา
  • ปริญญาตรี น.บ. เกียรตินิยม สาขาวิชากฏหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • LL.M. สาขาวิชากฎหมาย จาก Harvard Law School
  • Post LL.M. สาขาวิชากฎหมาย จาก New York University
ประวัติการทำงาน (พ.ศ.2542 - 2547)
  • ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและพลังงาน
  • รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองคณบดีวิจัยและสารสนเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองคณบดีวางแผน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองผู้อำนวยการ/วิชาการ ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์ประจำ ผู้ช่วยอธิการบดี สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นักเรียนทุนรัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
การฝึกอบรมดูงาน
  • Legal Framework Necessary for Economic Development
  • South Western legal Foundation U.S.A.
  • Law & Economic Development
  • U. of Victoria/CU ประเทศแคนนาดา/ไทย
  • Settlement of International Dispute สถาบัน UNCTAD Institute ประเทศไทย
วิสัยทัศน์

          รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม นำเสนอหลักการทั่วไปว่าด้วย ระบบกำกับดูแลที่ดี กทช. ต้องมีขอบเขตและกฎเกณฑ์กำกับผู้มีอำนาจ ด้วยความเป็นอิสระของดงค์กร มีการใช้อำนาจโดยชอบ และมีกระบวนการวิธีที่ ชัดเจน ถูกต้องเชื่อถือได้ และผู้ใช้อำนาจนั้นเป็นผู้ใช้ รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม นำเสนอหลักการทั่วไปว่าด้วย ระบบกำกับดูแลที่ดี กทช. ต้องมีขอบเขตและกฎเกณฑ์กำกับผู้มีอำนาจ ด้วยความเป็นอิสระของดงค์กร มีการใช้อำนาจโดยชอบ และมีกระบวนการวิธีที่ ชัดเจน ถูกต้องเชื่อถือได้ และผู้ใช้อำนาจนั้นเป็นผู้ใช้วิชาอย่างเที่ยงตรง 

          กทช. ต้องจัดทำแนวทางหลักเกณฑ์ตามมาตรา 51 ใน พ.ร.บ. ประกอบกิจการฯ พ.ศ. 2544 โดยใช้หลัก co-regulation เพราะโครงสร้างตลาดของไทยในปัจจุบันยังเป็นมรดกของการตักตวงผลประโยชน์ผูกขา ด ในขณะที่หลักดังกล่าวมีข้อดีที่เป็นหลักเกณฑ์ที่กำกับมิให้ องค์กรกำกับดูแล อิสระลุแก่อำนาจหรือใช้อำนาจโดยไม่ฟังเสียงจากผู้ที่ได้หรือเสียประโยชน์จาก ความเปลี่ยนแปลงของกฎเกณฑ์ จะช่วยลดต้นทุนในระยะยาวในการปรับปรุงเข้าสู่การแข่งขันที่เป็นธรรม และสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการสร้างกฎเกณฑ์ ด้านความโปร่งใส กทช.ต้องวางกฎเกณฑ์ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูล กฎระเบียบและที่มาของรายงานการประชุมและเอกสารต้นร่าง 

          จากการที่ กทช. มีภาระที่ต้องสร้างกฎเกณฑ์ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าเรื่อง ดังนั้นการนำหลักนี้มาใช้จะทำให้ กทช. ทุกคนต้องระมัดระวังในการปฏิบัติงาน โดยเสนอให้มีการตัดสินพิจารณาเป็นแบบองค์คณะ แต่กรรมการที่ไม่เห็นด้วยมีสิทธิ์ทำความเห็นแย้งหรือความเห็นประกอบด้วยเหตุ ผลเชิงวิชาการ การพึ่งหลักการและหลักกฎหมายจะทำให้สามารถตรวจสอบและถ่วงดุล กทช. และการจะถูกครอบงำโดยเสียงข้างมากได้ กทช. ต้องพร้อมที่จะแก้ไขเมื่อเกิดข้อบกพร่อง ซึ่งเป็นหลักการใหม่ที่องค์กรกำกับดูแลสมัยใหม่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้าง ความน่าเชื่อถือ 

          จากการที่กฎหมายโทรคมนาคมปลดการผูกขาดออกจากรัฐและให้มีการแข่งขัน เพื่อการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมให้แก่ประชาชน ดังนั้นการใช้อำนาจออกอนุบัญญัติหรือใช้ ดุลยพินิจ กทช. จะละเลยมติทางสังคมมิได้เป็นอันขาด จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจของ กทช. 

          การมีส่วนร่วมจะเน้นเป็นการเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการรายใหม่ร่วมทำกฎเกณฑ์ กับ ผู้ประกอบการรายเก่าได้อย่างถูกต้องชอบธรรมและมีความจำเป็นต้องดูแลผู้อ่อนแ อและอำนาจต่อรองต่ำเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่าความพยายามผลักดันให้ผู้ประกอ บการเดิมแข่งขันกันเองอย่างเป็นธรรมและจะมีผลให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาดตักตวงป ระโยชน์ได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีอำนาจแข่งขัน เพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าตลาดได้ กทช. พึงออกกฎเพื่อคุ้มครองและพัฒนาศักยภาพผู้ที่เสียประโยชน์จากการแข่งขันให้ได ้ประโยชน์จากการเปิดตลาดเสรี โดยเฉพาะผู้ที่ห่างไกลและรายได้น้อย

สร้างโดย  -   (31/1/2559 19:09:29)