สรุปมติที่ประชุม กทช. 35/2551

มติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 35/2551
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน  2551  เวลา  9.30  น.
ณ ห้องประชุมชั้น  12  อาคารอำนวยการ สำนักงาน กทช.
 
ระเบียบวาระที่  1  :   เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1. ขณะนี้คณะกรรมการสรรหา กทช. แทน กทช. ที่พ้นจากตำแหน่งทั้งในกรณีจับสลาก และลาออก ได้ดำเนินการสรรหาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งไม่แน่ใจว่าการแต่งตั้ง กทช. ดังกล่าวหรือกฎหมายใหม่อย่างใดจะออกมาก่อนกัน และจะเป็นอย่างไร ดังนั้น จึงขอให้สำนักงาน กทช. ได้เตรียมการโดยเร่งรัดการดำเนินงานที่ยังคั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จในห้วงระยะเวลาที่ กทช.  ชุดนี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่
2. โดยที่สำนักงาน กทช. เป็นองค์กรกำกับดูแลองค์กรแรก จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี จึงขอให้สำนักงาน กทช. ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานโดยเฉพาะเรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาติดต่อ เช่น การยื่นขอใบอนุญาต การนำเข้าอุปกรณ์ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้การประกอบธุรกิจต้องหยุดชะงักและไม่ให้มีเสียงสะท้อนที่ไม่ดีกลับมา
3. ขอให้สำนักงาน กทช. เร่งดำเนินการเรื่องการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานสำนักงาน กทช. เพื่อสนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
มติที่ประชุม  รับทราบตามที่ประธานแจ้ง และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 
ระเบียบวาระที่    2     :  รับรองรายงานการประชุม กทช.
ระเบียบวาระที่   2.1   :   รับรองรายงานการประชุม กทช.

มติที่ประชุม   - ไม่มี –
ระเบียบวาระที่   2.2   :   รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 34/2551 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18กันยายน  2551
มติที่ประชุม              
1.  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 34/2551 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18กันยายน 2551 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ โดยมีข้อแก้ไขดังนี้
1.1  ให้แก้ไขปรับปรุงมติที่ประชุมในวาระ 4.7 ข้อ 1.1 และ 1.2 โดยใช้ข้อความใหม่ ดังนี้
(1)   ข้อ 1.1 ปรับปรุงแก้ไขจากเดิมเป็น “ แก้ไขคำจำกัดความของคำว่า “ใช้คลื่นความถี่แทนที่” ตามข้อ 3 ของประกาศดังกล่าว ให้หมายความรวมถึง “การถอนคืนการใช้คลื่นความถี่” ตามมาตรา 54 ด้วย โดยแก้ไขเป็น “ใช้คลื่นความถี่” หมายความว่า “การถอนคืนการใช้คลื่นความถี่เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตรายอื่นใช้คลื่นความถี่แทนผู้รับใบอนุญาตรายเดิม”
(2)   ข้อ 1.2 ปรับปรุงแก้ไขจากเดิมเป็น “การปรับแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อ 1.1 ควรให้มีความชัดเจนและเข้าใจตรงกันว่า เมื่อมีการยื่นขอใช้คลื่นความถี่แทนที่แล้ว ย่อมมิใช่เป็นเอกสิทธิของผู้ขอใช้คลื่นความถี่แทนที่จะได้รับการจัดสรรโดยอัตโนมัติ แต่เป็นอำนาจของ กทช. ในการใช้ดุลยพินิจเพื่อพิจารณาการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวให้เป็นอย่างเหมาะสมต่อไป”
1.2 ให้แก้ไขปรับปรุงมติในวาระที่ 6.5 ข้อ 2 โดยเพิ่มเติมข้อความ “โดยใช้งบประมาณจากงบกลาง กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น” ต่อท้ายข้อความ “งบประมาณจำนวน 15 ล้านบาท”
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เร่งดำเนินการรวบรวมและประมวลสรุปข้อมูลการสนับสนุนงบประมาณของสำนักงาน กทช. ในกิจกรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ต้น – ปัจจุบัน ทั้งนี้ โดยให้จัดทำเป็นรูปเล่มให้แล้วเสร็จ เพื่อแจกเป็นหนังสือเนื่องในโอกาสวันครบรอบ กทช.4 ปี วันที่ 1 ตุลาคม 2551
ระเบียบวาระที่    3   :   รายงานผลการดำเนินงาน ตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่  34/2551 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน  2551
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการดำเนินงาน ตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่   34/2551 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่    4     :      เรื่องเพื่อพิจารณา   
ระเบียบวาระที่   4.1 – 4.8  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่   4.9    :     การขอความเห็นชอบเพิ่มเติมต่อเอกสารแนบท้ายร่างสัญญาให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระหว่างบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และ บริษัท NTT Communications Corporation จำกัด : ผชช.กม., รทช.  พิทยาพลฯ, กม.

มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบเอกสารแนบท้ายร่างสัญญาให้บริการรับส่งทราฟฟิกไปยังปลายทางแบบพิเศษ (Special Termination Agreement) ระหว่างบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และบริษัท NTT Communications Corporation จำกัด ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1 และให้บริษัทจัดส่งสัญญาดังกล่าวให้แก่ สำนักงาน กทช. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บริษัททำสัญญาเรียบร้อยแล้ว ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกอบข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง การขอความเห็นชอบสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ พ.ศ.2549
 3. เห็นชอบเป็นหลักการให้สำนักงาน กทช.ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไปเพื่อปรับวิธีทำงานให้ทันตามระยะเวลาที่ประกาศกำหนดโดยให้นำเรื่องเสนอ กทช.ทันทีภายใน 7 วันนับแต่วันที่รับเรื่อง และ ให้เสนอกรรมการกลั่นกรองพิจารณาไปพร้อมกันในคราวเดียว เพื่อความรวดเร็วยิ่งขึ้น
ระเบียบวาระที่    4.10   :   การขอความเห็นชอบร่างสัญญาให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท MCI International Inc. : ผชช.กม., รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบร่างสัญญาให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท MCI International Inc. ทั้งนี้ โดยให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเงื่อนไข ข้อตกลง ข้อ 21 Governing Law โดยให้ใช้ข้อความว่า “การดำเนินการใดที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย บัญญัติในลักษณะบังคับให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจะต้องปฏิบัติในการดำเนินการนั้น คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวด้วย” ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1 และดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมายและระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
2.1  ให้จัดส่งสัญญาดังกล่าวให้แก่ สำนักงาน กทช. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บริษัทฯ ทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกอบข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง การขอความเห็นชอบสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ พ.ศ.2549
2.2  ให้ บมจ.ทีโอที ยื่นคำขออนุญาตให้บริการ Paid 800 Service
ระเบียบวาระที่    4.11  :   การขอความเห็นชอบร่างข้อตกลงการให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Service Agreement (ITSA)) ระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท TELIASONERA INTERNATIONAL CARRIER AB :  ผชช.กม., รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบร่างข้อตกลงการให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Service Agreement (ITSA) ระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท TELIASONERA INTERNATIONAL CARRIER AB ทั้งนี้ โดยให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเงื่อนไข ข้อตกลง ข้อ 14.1 Governing Law โดยให้ใช้ข้อความว่า “การดำเนินการใดที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย บัญญัติในลักษณะบังคับให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจะต้องปฏิบัติในการดำเนินการนั้น คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวด้วย” ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1 และให้บริษัทฯ จัดส่งสัญญาดังกล่าวให้แก่สำนักงาน กทช. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บริษัทฯ ทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ตามมาตรา 54 วรรคสอง  แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกอบข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง การขอความเห็นชอบสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ พ.ศ.2549
ระเบียบวาระที่    4.12   :   การขอความเห็นชอบเพิ่มเติมต่อเอกสารแนบท้ายร่างสัญญาให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระหว่างบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และบริษัท Chunghwa Telecom จำกัด : ผชช.กม., รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบเอกสารแนบท้ายร่างสัญญาให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระหว่างบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และบริษัท Chunghwa Telecom จำกัด ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด  เพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1  และให้บริษัทฯ ส่งสัญญาดังกล่าวให้แก่ สำนักงาน กทช. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บริษัทฯ ทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประกอบข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง การขอความเห็นชอบสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ พ.ศ.2549
ระเบียบวาระที่   4.13   :   การทักท้วงการตอบข้อหารือเกี่ยวกับอัตราค่าบริการของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) : ผชช.กม., รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งตอบข้อหารือของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับอัตราค่าบริการของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยให้ยืนยันความเห็นข้อกฎหมายตามมติ กทช. ครั้งที่ 36/2550 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 ซึ่งได้วินิจฉัยอย่างถูกต้องและชัดเจนแล้ว ตามข้อเสนอของสำนักงาน กทช. โดยมิต้องอ้างมติ กทช.
ระเบียบวาระที่    4.14 – 4.19  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่    4.20    :       บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น บจ.ทรู มูฟ  บจ.ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส ขอใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : รทช.ประเสริฐฯ, กบ.

มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติให้ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น  บจ.ทรู มูฟ  และ บจ.ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส ใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ หมายเลข 1678 1331 และ 1128 ตามลำดับต่อไปได้ โดยให้ถือว่าผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย ได้รับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษโดยตรงจาก กทช. ทั้งนี้ โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ กทช.มีมติอนุมัติเป็นต้นไป
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำเรื่อง บมจ.กสท โทรคมนาคม แจ้งขอยกเว้นค่าธรรมเนียมเลขหมายที่เพิ่มขึ้นแยกมาเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่งภายใน 15 วัน ทั้งนี้ โดยมีประเด็นพิจารณาและวิเคราะห์ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ระเบียบวาระที่   4.21  :   การพิจารณาเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก แก่หน่วยงานภาคเอกชน : รทช.ประเสริฐฯ, กบ.
มติที่ประชุม
1.  อนุมัติจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่หน่วยงานภาคเอกชนเพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์จำนวน 5 รายๆละ 1 เลขหมาย ดังนี้
1.1  เลขหมาย 1714 จัดสรรให้บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อใช้อำนวยความสะดวกและให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าผ่านศูนย์ให้บริการ (Call Center) 
1.2  เลขหมาย 1723 จัดสรรให้บริษัท ไพร์ม เนเจอร์ กรุ๊ป จำกัด เพื่อใช้ในกิจการเชิงพาณิชย์ของบริษัทฯ
1.3  เลขหมาย 1724 จัดสรรให้บริษัท นารายณ์ พิซเซอเรีย จำกัด สำหรับใช้เป็นศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) 
1.4  เลขหมาย 1726 จัดสรรให้บริษัท เวชธานี จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการข้อมูลความรู้ด้านการแพทย์ฯ
1.5  เลขหมาย 1732 จัดสรรให้บริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้งานในกิจการต่างๆของบริษัทฯ
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
2.1 เนื่องจากที่ผ่านมา เกิดกรณีมีหน่วยงานภาคเอกชนที่ได้รับอนุมัติเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษแล้ว แต่ไม่แจ้งยืนยันความประสงค์ในการขอใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษตามเงื่อนไขที่กำหนดแต่อย่างใด ดังนั้น เพื่อให้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษซึ่งเป็นทรัพยากรโทรคมนาคมที่มีอยู่อย่างจำกัด สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรพิจารณาหามาตรการ/แนวทางในการกำกับดูแลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ทั้งนี้ โดยอาจพิจารณากำหนดบทลงโทษเพิ่มเติมไว้ในเงื่อนไขการอนุญาต หรือยกเลิกการอนุญาตโดยทันทีหากไม่มีการแจ้งยืนยันโดยเจตนา หรือพิจารณาแก้ไขประกาศ กทช.โดยขยายเวลาจาก 180 วันออกไปอีก เป็น 1 ปี จึงจะสามารถมายื่นขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษใหม่ได้ เป็นต้น 
2.2 ในการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษในเชิงพาณิชย์ นั้น ควรพิจารณาจัดกลุ่มเลขหมายสำหรับแต่ละประเภทของธุรกิจบริการให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ กลุ่มธุรกิจธนาคาร กลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์ หรือกลุ่มธุรกิจประกันภัย เป็นต้น
ระเบียบวาระที่    4.22 – 4.24  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่    4.25    :       รายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะการจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum) ที่ใช้ในการขนส่งและการจราจร ITS : กรรมการศึกษาและเสนอแนะการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ, วท.

มติที่ประชุม              
1.  รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการศึกษาและข้อเสนอแนะการจัดสรรคลื่นความถี่(Spectrum) ที่ใช้ในการขนส่งและการจราจรอัจฉริยะ ( ITS) ในประเทศไทย ในช่วงความถี่ต่างๆ ได้แก่ 433 MHz, 900 MHz, 5.8 GHz, 5.9 GHz, 24GHz, 60-61/63-64 GHz และ 76-81 GHz ตามที่คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำผลการศึกษา และข้อเสนอแนะการจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum) ที่ใช้ในการขนส่งและการจราจร ITS ของคณะกรรมการศึกษาฯ ไปสรุปและวิเคราะห์ความเห็นเพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมต่อไปในแต่ละย่านความถี่ รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการ และห้วงเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการ ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง 
3.  มอบหมายให้คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ รับประเด็นข้อคิดเห็นทางเทคนิคของที่ประชุมไปพิจารณา และดำเนินการอย่างเหมาะสมต่อไป ในการทดลองทดสอบความเป็นไปได้สำหรับประเทศไทยในการใช้งาน MMC (Millimeter Wave Communications) ตามที่คณะกรรมการศึกษาฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้  เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศโดยมีฝนตกชุกซึ่งแตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรป แล้วจึงนำผลที่ได้มาพิจารณากำหนดแนวทาง/หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการใช้งาน MMC ต่อไป
ระเบียบวาระที่    4.26   :   ขยายเวลาการใช้ความถี่วิทยุเพื่อแก้ไขปัญหาคลื่นวิทยุสื่อสารการเดินอากาศถูกรบกวน : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม  เพื่อเป็นการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาคลื่นวิทยุสื่อสารการเดินอากาศถูกรบกวน จึงอนุมัติให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ใช้ความถี่วิทยุ 118.4000  118.7500 119.2500 119.4500 119.6500 121.1000 121.4500 122.0000 122.4500 122.7500 124.1000 125.4000 125.6000  133.0000  และ 133.2000 MHz ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 8 KHz ในกิจการเคลื่อนที่ทางการบิน (Aeronautical Mobile Service) สำหรับใช้ติดต่อสื่อสารควบคุมการจราจรทางอากาศในการนำร่อนอากาศยานลงสู่สนามบิน เป็นระยะเวลา 1ปี ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ รายละเอียดเงื่อนไขการอนุญาตให้เป็นไปตามข้อเสนอของสำนักงาน กทช.
ระเบียบวาระที่  4.27   :   ขออนุมัติกรอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเพื่อจัดให้มีบริการ USO ในระยะที่ 2 (ปี 2551 - 2553) : รทช.นิศกรฯ, ทถ.
มติที่ประชุม              
1.  รับทราบการจัดทำกรอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเพื่อจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ระยะที่ 2 (ปี 2551-2553) และการดำเนินงานร่วมกับที่ปรึกษา ITU ในการให้คำปรึกษาทางวิชาการด้าน USO ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยในหลักการไม่ขัดข้องกับข้อเสนอของสำนักงาน กทช.ในประเด็นเรื่องการกำหนดนิยาม USO และรูปแบบการจัดให้มีบริการ
2. อย่างไรก็ดี สำหรับในประเด็นเรื่องขอบข่าย/ประเภทของผู้ประกอบการที่สมควรสนับสนุนการจัดให้มีบริการ USO โดยการสมทบเงินเข้ากองทุน และในประเด็นเรื่องอัตราการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน นั้น  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปจัดทำข้อวิเคราะห์ในรายละเอียดเชิงเปรียบเทียบเพิ่มเติม รวมถึงปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องต่างๆ ร่วมกับทีมที่ปรึกษา ITU แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ได้แก่
2.1  วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบด้านต่างๆในการจัดเก็บรายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคมเข้ากองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงหลักการต้องไม่เป็นภาระกับผู้ประกอบการเกินสมควร ในกรณีต่างๆ ดังนี้
(1) กรณีผู้รับใบอนุญาต/ผู้ให้บริการ เช่น เก็บจากผู้รับใบอนุญาตทุกรายเท่ากัน หรือเก็บจากผู้รับใบอนุญาตทุกรายแต่ในอัตราที่แตกต่างกันตามแต่ประเภทของใบอนุญาต หรือเก็บเฉพาะจากผู้ให้บริการประเภท Carrier เท่านั้น
(2) กรณีอัตราการจ่ายเงินเข้ากองทุน เช่น เปรียบเทียบในอัตราการจัดเก็บระหว่างอัตราปัจจุบัน 4 % และลดลงเป็น 3 % 2 % หรือ 1 %
2.2  วิเคราะห์ความเหมาะสมในการจัดเก็บหากจะแบ่งผู้รับใบอนุญาตออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ประเภทให้บริการ (Service) และประเภทมีโครงข่าย (Carrier)  
2.3 วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการจัดบริการ USO เช่นขนาดของธุรกิจ (Size of Business) ต้นทุนการซ่อมแซมการเปลี่ยน/ทดแทน หรือการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์โทรคมนาคม ตลอดจนต้นทุนการบริหารจัดการในกรณีที่มีการดำเนินการอยู่เดิมแล้ว นอกเหนือจากต้นทุนในการลงทุนใหม่ เป็นต้น
2.4 วิเคราะห์แนวนโยบาย/แนวทางการส่งเสริม หรือมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจัดให้มีบริการ USO ในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร (Unserviced / Underserviced Area) รวมถึงการพิจารณากำหนด “ระยะปลอดภาระ USO” หรือ Grace  Period ให้แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ในช่วงของการ Roll out เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถมีส่วนร่วมในการจัดให้มีบริการ USO ได้
ระเบียบวาระที่   4.28  :   ข้อเสนอการดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง ITU และ สกทช. ในเรื่อง Rural Communication Access in Thailand : รทช.นิศกรฯ, ทถ.
มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติให้สำนักงาน กทช. ดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) เรื่อง Rural Communication Access in Thailand ตามขอบเขตงาน (TOR) ภายใต้กรอบวงเงิน 15 ล้านบาท (427,335 เหรียญสหรัฐ) ทั้งนี้ โดยให้เบิกจ่ายจากเงินกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะจากบัญชี  “บัญชีกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ” (บัญชีที่1) ในปี 2551
2.  มอบหมายให้ กทช.ประสิทธิ์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง NTC Project Champion โดยมีขอบเขตหน้าที่ในการสั่งการ กำกับ ดูแลและบริหารโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นไปตามกรอบข้อตกลงของโครงการ section d : inputs/Roles and responsibilities of NTC
3. มอบหมายให้ ลทช. เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ (Voluntary Contribution Agreement : VCA) กับผู้แทนของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ รวมถึงการจัดเตรียมพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมต่อไป
ระเบียบวาระที่    4.29 – 4.33  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่    4.34    :       การสนับสนุนการจัดสร้างวัตถุมงคลเนื่องในวโรกาส สมเด็จพระบรมราชินีนาถมีพระชนมายุครบ 75 พรรษา : รทช.ฐากรฯ, ปต.

มติที่ประชุม  รับทราบเรื่องการสนับสนุนการจัดสร้างวัตถุมงคลเนื่องในวโรกาส สมเด็จพระบรมราชินีนาถมีพระชนมายุครบ 75 พรรษา ตามที่ สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ มอบหมายให้ ลทช.มาหารือร่วมกับ กทช.ในเรื่องนี้โดยเร็วอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาตัดสินใจดำเนินการได้อย่างเหมาะสม และถูกต้องต่อไป
ระเบียบวาระที่    4.35  :   ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่    5      :   เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่    5.1   :   รายงานการประชุม APT Policy and Regulatory Forum (PRF-2008) : รทช.จิราพรฯ, กร.

มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการประชุมด้านนโยบายและการกำกับดูแล (APT Policy and Regulatory Forum PRF-2008) ของ กทช.ประสิทธิ์ฯ กทช.เหรียญชัยฯ และพนักงานสำนักงาน กทช. ระหว่างวันที่   26 – 28 พฤษภาคม 2551 ณ สาธารณรัฐมัลดีฟส์ ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่    5.2   :   การเดินทางเข้าร่วมประชุม APSCC 2008 Satellite Conference and Exhibition ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ พร้อมทั้งดูงานห้องปฏิบัติการวิจัยและออกแบบ FPGA chip ของ Single Carrier Wireless System ณ Kyushu Institution of Technology ประเทศญี่ปุ่น : รทช.จิราพรฯ, รศ.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการเดินทางของ กทช.ประสิทธิ์ฯ และคณะในการเข้าร่วมอภิปรายและบรรยายในหัวข้อ “Open Skies Policy Forum” ในการประชุม APSCC 2008 Satellite Conference and Exhibition (APSCC 2008) ซึ่งจัดโดย Asia-Pacific Satellite Communications Council ระหว่างวันที่ 22 – 25 กันยายน 2551 ณ เกาะเจจู สาธารณรัฐเกาหลีใต้ พร้อมทั้งดูงานห้องปฏิบัติการวิจัยและออกแบบ FPGA chip ของ Single Carrier Wireless System ณ Kyushu Institute of Technology ในวันที่ 20 กันยายน 2551 ประเทศญี่ปุ่น ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   5.3   :   รายงานการรับเรื่องร้องเรียนครึ่งเดือนแรกของเดือนกันยายน 2551 : สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการรับเรื่องร้องเรียนครึ่งเดือนแรกของเดือนกันยายน 2551 ของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวนทั้งสิ้น 4 ราย ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขของบริษัทจำนวน 4 ราย ตามเอกสารที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ
ระเบียบวาระที่   5.4   :   ข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (คำขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย) : สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (สชท.)
มติที่ประชุม  รับทราบคำวินิจฉัยคำร้องระหว่างพิจารณาข้อพิพาทที่ 3/2550 ระหว่างบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ร้อง และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกร้อง ฉบับลงวันที่ 16 กันยายน 2551 เรื่อง ข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (คำขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย) ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเสนอ
ระเบียบวาระที่   5.5   :   รายงานผลการเดินทางเข้าร่วมอบรมหลักสูตรด้านสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Workshop on Broadcasting) ภายใต้โครงการประสานความร่วมมือด้านวิชาการระหว่าง กทช. กับองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ComCom ระหว่างวันที่ 21 – 22 สิงหาคม 2551 : กทช.สุธรรมฯ
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการเดินทางของ กทช.สุธรรมฯ พร้อมคณะในการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรด้านสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Workshop on Broadcasting) ภายใต้โครงการประสานความร่วมมือด้านวิชาการระหว่าง กทช. กับองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ComCom ณ เมือง Bienne และเมือง Berne ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 21 – 22 สิงหาคม 2551 ตามเอกสารที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่    5.6   :   รายงานผลการสรรหากรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กทช. (กรณีกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ้นตำแหน่งโดยการจับสลาก) : คณะกรรมการประสานงานเพื่อการสรรหากรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการสรรหากรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กทช. (กรณีกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ้นตำแหน่งโดยการจับสลาก) ซึ่งได้ดำเนินการคัดเลือกผู้สมัครที่สมควรได้รับการเสนอชื่อให้วุฒิสภาพิจารณา จำนวน 6 คน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามเอกสารที่คณะกรรมการประสานงานเพื่อการสรรหากรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ 
ระเบียบวาระที่   6     :   เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่   6.1  :   การคัดเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ : คณะกรรมการกำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ

มติที่ประชุม              
1.  รับทราบผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่ คณะกรรมการกำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ เสนอ
2. รับทราบผลการพิจารณาคัดเลือกบุคคลตามกระบวนการและขั้นตอนที่ระเบียบกำหนดไว้ได้แก่ นายประเสริฐ
ศีลพิพัฒน์ ตามที่คณะกรรมการกำกับการบริหารกองทุนฯ เสนอเพื่อให้ กทช. พิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะต่อไป
3. เห็นชอบการแต่งตั้งให้นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่คณะกรรมการกำกับการบริหารกองทุนฯ เสนอ โดยให้มีระยะเวลาการจ้างคราวละ 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้เพิ่มเติมเงื่อนไขในสัญญาจ้างไว้ด้วยว่า ให้สัญญาจ้างผู้จัดการกองทุนฯ เป็นอันสิ้นสุดลง เมื่อพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ และได้มีการสรรหา และแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลชุดใหม่เรียบร้อยแล้ว หรือเมื่อครบระยะเวลาการจ้าง 3 ปีตามสัญญาจ้างแล้ว หรือเมื่อกรณีใดกรณีหนึ่งถึงก่อน
4.  สำหรับการกำหนดอัตราค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่นของผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะที่สมควรจะได้รับ นั้น เพื่อให้การพิจารณาในประเด็นดังกล่าวเป็นไปด้วยความรอบคอบมากยิ่งขึ้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปตรวจสอบและวิเคราะห์รายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆ เพิ่มเติมแล้วประมวลเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง อาทิ การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบอัตราค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากขนาดของกองทุนที่ใกล้เคียงกัน การวิเคราะห์ถึงภาระความรับผิดชอบของผู้จัดการกองทุนฯ ที่จะต้องบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในด้านต่างๆ ตามที่ระเบียบกำหนดไว้ประกอบด้วย เป็นต้น
ระเบียบวาระที่   6.2   :   การชี้ขาดข้อพิพาทที่ 3/2551 ระหว่างบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) : คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (สชท.)
มติที่ประชุม              
1.  รับทราบคำวินิจฉัย ข้อพิพาทที่ 3/2551 ระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทีที แอนด์ ที จำกัด (มหาชน) ตามที่คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทเสนอ ทั้งนี้ โดยให้แก้ไขถ้อยคำของเอกสารประกอบวาระในหน้า 3 ย่อหน้าที่ 2 บรรทัดที่ 5 จากข้างบน ให้เหมาะสมและถูกต้องยิ่งขึ้นจากคำว่า “คำคัดค้าน” เป็น “คำโต้แย้ง”
2.  ให้รับคำวินิจฉัย ข้อพิพาทที่ 3/2551 ระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทีที แอนด์ ที จำกัด (มหาชน) ตามที่คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทเสนอ ไว้พิจารณาเพื่อจัดทำคำวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ สำนักงาน กทช. ไปจัดทำคำวินิจฉัยชี้ขาด แล้วนำหารือ กทช.สุธรรมฯ เพื่อพิจารณาความครบถ้วนถูกต้องในประเด็นข้อกฎหมายก่อนนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.3   :   การชี้ขาดข้อพิพาทที่ 2/2551 ระหว่างบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ผู้ร้อง และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกร้อง : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบคำชี้ขาดข้อพิพาทที่ 2/2551 ระหว่าง บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และ บริษัท ทรู        คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำร่างคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวเสนอ กทช. สุธรรมฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย (พลเอกชูชาติฯ) พิจารณาความครบถ้วนในประเด็นต่างๆ และความถูกต้องของถ้อยคำทางกฎหมายก่อนนำเสนอ กทช. ทุกท่าน เพื่อลงนามในคำชี้ขาดดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดส่งคำชี้ขาดข้อพิพาทที่ 2/2551 ระหว่าง บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายทราบต่อไป 
ระเบียบวาระที่  6.4    :   ขอรับนโยบายเพื่อการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 : รทช.พิทยาพลฯ, พต.
มติที่ประชุม              
1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานของสำนักงาน กทช. ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในปฏิทินงบประมาณรายรับ - รายจ่าย ประจำปี 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
1.1  การทบทวนเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัดความสำเร็จตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2553) 
1.2  การจัดประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ 2 ปี (พ.ศ.2552 – 2553) และแผนปฏิบัติการประจำปี 2552
1.3  การกำหนดตัวแปรที่เหมาะสมสำหรับค่าภาระต่างๆที่เหมาะสมประจำปีงบประมาณ 2552 และการจัดทำร่างรายงานการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแลขั้นสุดท้าย
1.4  การกำหนดกรอบคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 จำนวนเงิน 4,959.669 ล้านบาท ซึ่งสำนักงาน กทช. ได้ดำเนินการบนพื้นฐานสำคัญ ได้แก่
  • การพิจารณาข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณในภาพรวมประจำปี 2551 วงเงิน 3,746.03 ล้านบาท (หักเงินนำส่งรัฐจำนวน 150 ล้านบาทแล้ว) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 – วันที่ 31 สิงหาคม 2551 ได้เบิกจ่ายเงินรวมยอดผูกพันแล้วเป็นเงิน จำนวน 951.962 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24 คงเหลือ 2,749.068 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 76
  • ผลการดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์และการใช้จ่ายงบประมาณโครงการ รวม 63 โครงการ วงเงิน 1,910.929 ล้านบาท ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2551 ผูกพันและเบิกจ่ายแล้ว เป็นเงิน 463.694 ล้านบาท คงเหลือ 1,447.235 ล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 76
  • การวิเคราะห์ประมาณการรายรับประจำปี 2552 เป็นจำนวนเงิน 3,988.98 ล้านบาท
  • ผลจากการจัดทำแผนปฏิบัติการ 2 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปี 2552
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการตามกระบวนการ และขั้นตอนของปฏิทินงบประมาณรายรับ-รายจ่ายประจำปี 2552 ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดต่อไป โดยให้จัดส่งร่างกรอบงบประมาณรายรับ - รายจ่ายประจำปี 2552 ให้คณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณฯ พิจารณาความเหมาะสม และขอรับนโยบายจาก กทช. เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะในรายละเอียดเสนอต่อ กทช.พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายรับ-รายจ่ายประจำปี 2552 ในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2551 ต่อไป ทั้งนี้ โดยให้คณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณฯ รับประเด็นข้อแนะนำในการจัดทำงบประมาณรายรับ - รายจ่ายประจำปี 2552 ของสำนักงาน กทช.ไปประกอบการพิจารณาด้วย อาทิ
2.1 ในหลักการเป้าหมายสำคัญขององค์กรกำกับดูแลในท้ายที่สุดแล้วคือต้องกำกับดูแลให้น้อยที่สุด ดังนั้น จึงควรพิจารณาปรับลดการใช้จ่ายงบประมาณลงให้เหลือเท่าที่จำเป็น และเหมาะสม รวมทั้งต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของการจัดสรร และแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เหมาะสม และชัดเจน
2.2 ต้องจัดเตรียมงบประมาณประจำปี 2552 เพื่อรองรับภารกิจตามกฎหมาย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ รวมทั้งภารกิจตามบทเฉพาะกาลแห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ.2551
2.3 ในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณลงทุนของแผนงานโครงการ เจ้าของเรื่องจะต้องจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดและเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณฯ โดยตรง รวมทั้งสำนักงาน กทช.ต้องให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณฯ อย่างเต็มที่
2.4 ในการนำเสนอความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณฯ ต่อ กทช. นั้น ขอให้มีการวิเคราะห์และประเมินผลการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2551 พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข รวมถึงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายที่สมควรต้องพิจารณากำหนดเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน กทช.เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
2.5 ในกรณีการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการดำเนินงานของสถาบันอิสระทั้ง 3 สถาบัน นั้น ต้องพิจารณาเท่าที่เหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ ในอนาคตอาจต้องพิจารณาให้สถาบันฯสามารถหารายได้เพื่อพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด
ระเบียบวาระที่    6.5   :   โครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบท  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 : รทช.   นิศกรฯ, ทถ.
มติที่ประชุม              
1. รับทราบรายงานความคืบหน้าการเตรียมดำเนินโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
2. เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการดำเนินโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ระหว่างสำนักงาน กทช. บมจ.ทีโอที มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปพิจารณาความเหมาะสมของถ้อยคำเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อให้มีความสมบูรณ์และถูกต้องมากยิ่งขึ้น อาทิ คำว่า “บมจ.ทีโอที” ควรใช้ชื่อเต็ม และในหน้า 7 ย่อหน้าสุดท้าย บรรทัดแรก ควรตัดคำว่า “คู่สัญญาทั้งสี่ฝ่ายได้อ่าน” ออกจะเหมาะสมกว่าหรือไม่ ทั้งนี้ให้หารือ ผชช.กฎหมาย (พลเอกชูชาติฯ) ด้วยเพื่อความรอบคอบ
3. อนุมัติให้สำนักงาน กทช. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการดำเนินโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ระหว่างสำนักงาน กทช. บมจ.ทีโอที มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 29 กันยายน 2551 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
4. อนุมัติงบประมาณจำนวน 20 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการฯ ในงวดแรกของสำนักงาน กทช. (จากวงเงิน 40 ล้านบาท)โดยเบิกจ่ายจากงบกลางปี 2551 เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 
5.  รับทราบกำหนดการเดินทางเพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดตัวโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ระหว่างวันที่ 28 - 29 กันยายน 2551 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   6.6  :  ขอกันเงินงบประมาณ ปี  2549  ที่จะนำส่งคืนรัฐ : รทช.ฐากรฯ
มติที่ประชุม   ตามที่คณะกรรมการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช.ได้แจ้งส่วนตรวจสอบภายในเพื่อขอมติ กทช.เกี่ยวกับเรื่อง การกันเงินงบประมาณปี 2549 ที่จะนำส่งคืนรัฐไว้ 1 % นั้น ที่ประชุม กทช.จึงมีมติให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการพัฒนา และติดตามการประเมินระบบการควบคุมภายในเป็นผู้พิจารณา แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.ต่อไป
หมายเหตุ   ประชุมเฉพาะ กทช. / ไม่มีเอกสารแจก

สร้างโดย  -   (18/3/2559 16:09:41)

Download

Page views: 64