สรุปมติที่ประชุม กทช. 19/2552

มติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 19/2552 (นอกสถานที่)
วันพฤหัสบดีที่ 4  มิถุนายน  2552  เวลา  10.00  น.
ณ โรงแรม รอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา
 
ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.  ขณะนี้ย่างเข้าเดือนมิถุนายนแล้ว สิ่งที่ กทช.ได้ให้นโยบายกับ สำนักงาน กทช. เช่น  เรื่องการกำกับดูแลเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ต่างๆ การดำเนินการตามมติ กทช. ตลอดจนในเรื่องการบริหารจัดการภายใน นั้น ก็ขอให้สำนักงาน กทช. เร่งรัดดำเนินการให้เรียบร้อยด้วย
2.  เรื่องการจัดสร้างห้องสมุด สำนักงาน กทช. ซึ่งยังไม่ได้ดำเนินการ ขอให้มีการเริ่มต้นเพราะเป็นเรื่องที่ กทช. ได้มีนโยบายให้ดำเนินการตั้งแต่ กทช. เริ่มเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ หรือเรื่องการสร้างอาคารสำนักงาน กทช. ก็ขอให้มีการเร่งรัดดำเนินงาน เพื่อเป็นที่ระลึกกรรมการ กทช. ชุดแรก และเพื่อวางรากฐานให้กับ สำนักงาน กทช. ก่อนที่ กทช. ชุดนี้จะพ้นวาระไป 
มติที่ประชุม  รับทราบตามที่ประธานแจ้ง และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่ 2  :  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 18/2552 วันพุธที่  27 พฤษภาคม 2552 
มติที่ประชุม
 รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 18/2552 วันพุธที่  27 พฤษภาคม 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 18/2552 วันพุธที่  27  พฤษภาคม  2552 
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 18/2552 วันพุธที่  27  พฤษภาคม  2552  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา   
ระเบียบวาระที่  4.1  :  การจ่ายเงินค่าตอบแทนประจำปี 2551 : รทช.ฐากรฯ, บค.       
มติที่ประชุม
  อนุมัติให้สำนักงาน กทช. ว่าจ้างหน่วยงานภายนอก ที่มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานซึ่งได้รับการยอมรับ และมีผลงานในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐเข้าประเมินผลงาน ของ สำนักงาน กทช. ประจำปี 2551 ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยมีกำหนดระยะเวลาดำเนินการประมาณ 1 เดือนซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2552  แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.2  :  ขอรับนโยบายการกำหนดตัวชี้วัดของสำนักงาน กทช. ปี 2552 :  รทช.ฐากรฯ, บค.
มติที่ประชุม
  เพื่อให้เกิดความรอบคอบและถูกต้องตามขั้นตอน จึงมอบหมายให้สำนักงาน นำเรื่องนี้เสนอกรรมการกลั่นกรองพิจารณาแล้วจึงนำกลับมาเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ โดยให้รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางประกอบการดำเนินการเรื่อง นี้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป ได้แก่
1. ในการดำเนินการจัดทำตัวชี้วัดของสำนักงาน กทช.ประจำปี 2552 ควรกำหนดกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 2553
2. ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช.ประจำปี 2552 ก็ควรใช้แนวทางเดียวกับปี 2551 ตามที่ กทช. ได้มีมติไปแล้วในวาระที่ 4.1 โดยว่าจ้างหน่วยงานภายนอกเป็นผู้ดำเนินการ
3. ในกรณีตัวชี้วัดของสายงาน รทช.ทศพรฯ ที่กำหนดไว้ นั้น บางอย่างในทางปฏิบัติอาจกระทำได้ยาก เช่น “อัตราร้อยละความสำเร็จของระดับความพอเพียงในการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุ” จึงควรพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.3  :  ขอรับนโยบายการดำเนินงานและการจัดทำงบประมาณประจำปี 2553 : รทช.ฐากรฯ, งป. ,พต., คง.
  • ทบทวนเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัดความสำเร็จตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2553)
  • ทิศทางและกรอบการจัดทำงบประมาณประจำปี 2553
มติที่ประชุม             
1. รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม  ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2553) ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ  (ข้อมูล ณ ไตรมาสที่ 1/2552)  
2.  โดยที่ปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไม่อยู่ในภาวะปกติ ประกอบกับสถานการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะยังคงมีแนวโน้มต่อเนื่องไปในปี 2553 ดังนั้น ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ของสำนักงาน กทช. จึงควรกำหนดทิศทางและกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายให้มีความเหมาะสมและสอดคล้อง โดยให้เป็นไปด้วยความประหยัด เกิดประสิทธิภาพในการใช้จ่าย และมิให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมในภาพรวมและการปฏิบัติงานของ สำนักงาน กทช. ดังนี้
2.1  เห็นชอบประมาณการรายรับประจำปี 2553 ของสำนักงาน กทช. ภายใต้กรอบวงเงินประมาณ 3,000 – 3,600  ล้านบาท ตามScenario 2 (Normal Case) ที่เสนอ ทั้งนี้ โดยให้รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อประกอบการพิจารณาทางเลือกในการประมาณ การรายรับให้เหมาะสมยิ่งขึ้นด้วยภายใต้สมมุติฐานการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ประกอบการลดลงจากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 1.5
2.2 อนุมัติกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ของสำนักงาน กทช. ในวงเงินเท่ากับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552  (Zero Growth) จำนวนประมาณ 2,800  ล้านบาท โดยให้ใช้ค่าผันแปรที่เหมาะสม (ค่า x)  เท่ากับปี 2552 เช่นเดียวกัน
2.3 ในหลักการของการจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ควรกำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายงบประมาณที่สามารถปรับเพิ่มได้ระหว่างปีตามความ เหมาะสมและจำเป็น  และสำหรับกรณีของกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ให้สามารถพิจารณาปรับทบทวนความเหมาะสมได้ในช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ของ ครึ่งปีหลัง (กรกฎาคม-ธันวาคม) ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดได้
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนเป้า หมาย ยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัดความสำเร็จตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2553) และเพื่อเป็นนโยบายการดำเนินงานของสำนักงาน กทช.ในปี 2553 รวมถึงเพื่อใช้เป็นหลักการและทิศทางในการจัดทำรายละเอียดงบประมาณประจำปี 2553 ให้เหมาะสม สรุปได้ดังนี้
3.1 เนื่องจากยังมีภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องเช่น ในเรื่องการก่อสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  พิพิธภัณฑ์ และอาคารสำนักงาน กทช. หลังใหม่ ดังนั้น จึงควรพิจารณาจัดเตรียมงบประมาณในปี 2553 เพื่อรองรับการดำเนินงานในส่วนนี้ไว้ให้พร้อมด้วย
3.2  มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง รวมถึงการพิจารณากำหนดอัตรากำลังที่เหมาะสมโดยเร่งดำเนินการในเรื่องโครงการ Early Retirement ให้มีผลโดยเร็ว โดยกำหนดเป็นเป้าหมายให้ชัดเจนในปี 2553 ตลอดจนพนักงานทุกคนควรมีการริเริ่มจัดทำบัญชีเพื่อบันทึกการปฏิบัติงานของตน เองในแต่ละวันด้วย เพื่อใช้ประกอบการประเมินผลตาม KPI ที่กำหนด
3.3 ให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมาย การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ ที่ กทช. ประกาศกำหนด (Enforcement) โดยพิจารณาจัดหาบุคลากรให้กับงานกำกับดูแลอย่างพอเพียง โดยเฉพาะบุคลากรด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ ในชั้นแรกหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจการออกหลักเกณฑ์และใบอนุญาตจะต้อง ติดตามและกำกับดูแลให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาต แต่หากผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตาม ในขั้นตอนต่อไปจึงส่งให้หน่วยกำกับดูแลดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่ บัญญัติไว้ต่อไป นอกจากนี้ ควรจัดซื้อจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อใช้ในการกำกับดูแลให้มีความพร้อมที่ จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย
3.4 ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารความถี่วิทยุและการตรวจเฝ้าฟัง ควรเพิ่มเติมเรื่องระบบความถี่หลักไว้ด้วย
3.5 ควรมุ่งเน้นการดำเนินงานในเรื่องโครงข่ายยุคหน้า (NGN) โดยเฉพาะเรื่อง  Broadband Integration โดยการกำหนดมาตรการจูงใจ (Broadband Incentive) เพื่อให้มีการแข่งขันมากขึ้น ตลอดจนในเรื่องโครงข่ายเฉพาะกิจในกรณีฉุกเฉิน/ภัยพิบัติ เพื่อให้สามารถใช้งานแทน/ร่วมกับโครงข่ายทั่วไปได้
3.6 ในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection) จะต้องเน้นการทำงานเชิงรุก (Pro-active) ให้มากขึ้น เพื่อดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้บริการและลดปัญหาการร้องเรียน โดยการจัดอบรมให้ความรู้และทำความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการถึงหน้าที่ความรับ ผิดชอบ และแนวทางปฏิบัติ/กระบวนการที่ถูกต้อง (Best Practice) กรณีเกิดข้อพิพาทขึ้น (Dispute) รวมถึงต้องเร่งการประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ บริโภค โดยเฉพาะช่องทางการร้องเรียนที่มีอยู่ การใช้สิทธิตามกฎหมาย ทั้งนี้ โดยพิจารณาเดินทางไปจัดประชุมชี้แจงในภูมิภาคซึ่งอาจประสานความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยและสถาบันศึกษาต่างๆ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์
3.7  ต้องเร่งดำเนินการในเรื่อง Number Portability ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งยังคงเหลือประเด็นสำคัญในเรื่อง Clearing House ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ รทช.ประเสริฐฯ หารือร่วมกับ กทช.สุธรรมฯ และ กทช.ประสิทธิ์ฯ เพื่อจัดทำรายละเอียดเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาตัดสินใจ
4.  ในฐานะที่เป็นองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม และมีหน้าที่ตามมาตรา 51 ในการให้ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ดังนั้น กทช. จึงควรจัดทำความเห็นเสนอต่อรัฐบาลในเรื่องที่มีความสำคัญและอยู่ในความสนใจ ของสาธารณชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้รัฐบาลพิจารณากำหนดเป็นนโยบายแห่งชาติต่อไป เช่น อาจจะพิจารณาเสนอนโยบายเรื่อง Broadband หรือเรื่อง การลงทุนโครงข่ายหลักด้านโทรคมนาคม (NGN) เป็นต้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ประสานงานกับกรรมการ กทช. แต่ละคน เพื่อดำเนินการต่อไปด้วย
5.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ส่งกรอบงบประมาณประจำปี 2553 และนโยบายการดำเนินงานปี 2553 ตามมติที่ประชุมในข้อ 2 และ 3 ให้คณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณและติดตามการใช้จ่ายเงินงบ ประมาณ ใช้เป็นกรอบและแนวทางการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ของสำนักงาน กทช.ตามขั้นตอนต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.4  :  โครงสร้างองค์กรของสำนักงาน กทช. : รทช.ฐากรฯ, บค.
มติที่ประชุม
  โดยที่ขณะนี้สภาพแวดล้อมของสำนักงาน กทช. ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากห้วงระยะเวลาที่ทำการศึกษาในเรื่องนี้ไว้ อาทิ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2550 การตรากฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฉบับใหม่ การประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเจรจาการค้าแบบทวิภาคีและ พหุภาคี และมาตรการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น  ประกอบกับในระยะยาว จำเป็นต้องรอความชัดเจนของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่  และนโยบายของ กทช. ชุดใหม่ที่จะมาจากการสรรหา กทช. แทนตำแหน่ง กทช. ที่ลาออกและจับสลาก จำนวน 4 ท่าน  ดังนั้น ในชั้นนี้ เห็นสมควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานในเรื่อง โครงสร้างองค์กรของสำนักงาน กทช. ดังนี้
1. ให้คงใช้โครงสร้างองค์กรปัจจุบันไปก่อนโดยในระยะสั้นเน้นการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้า อย่างไรก็ดี ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมโครงสร้างในส่วนใด ให้นำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาได้
2. ในระหว่างที่รอความชัดเจน ให้สำนักงาน กทช.หารือ กทช.แต่ละท่านเพื่อขอรับนโยบายและข้อคิดเห็นต่างๆ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมในปัจจุบันและปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติ งาน โดยให้สำนัก สถาบัน และหน่วยงานต่างๆ ในสังกัด ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนี้ด้วย เพื่อประสานรวบรวมแนวคิดทั้งหมดแล้วประมวลจัดทำข้อเสนอโครงสร้างองค์กรของ สำนักงาน กทช. ใหม่ให้เหมาะสมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แล้วนำเสนอ กทช.พิจารณาต่อไป
3. มอบหมายสำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพื่อใช้เป็นแนวทางประกอบการดำเนินการต่อไป ดังนี้
3.1 ในการศึกษาจัดทำโครงสร้างองค์กร สำนักงาน กทช. จะต้องศึกษาว่า โครงสร้างสำนักงานในปัจจุบันได้ดำเนินการใช้ครบถ้วนหรือยัง มีปัญหาในภาพรวม และปัญหาของแต่ละสำนักอย่างไรบ้าง รวมทั้งต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่า Input หรือปัจจัยแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างนั้น คืออะไร รวมถึงการนำนโยบาย กทช.และสภาพข้อเท็จจริงของปัญหาอุปสรรคที่พบ มาประกอบกันแล้วนำเข้าสู่กระบวนการ (Process) วิเคราะห์เพื่อให้ได้โครงสร้างที่รองรับภารกิจต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ต้องกำหนดความคาดหวัง (Expectations) ที่มีต่อองค์กรในอนาคตไว้ด้วย เพื่อจัดทำกรอบแผนหรือ Blue Print ของการดำเนินงานที่ชัดเจนให้ไปสู่ความสำเร็จตามความคาดหวังดังกล่าวต่อไปใน ระยะข้างหน้า
3.2 การพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะต้องเน้นก่อนในระยะสั้น เช่น  งานด้านการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement)  โดยเฉพาะเมื่อมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ และส่งผลกระทบทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ  สำหรับงานในระยะต่อไป เช่น งานด้านต่างประเทศ การร้องเรียน การวินิจฉัยข้อพิพาท  การดูแลผู้บริโภค  งานด้านทรัพยากรโทรคมนาคมทั้งที่เป็นความถี่ และโครงข่าย รวมทั้งงานด้าน Competition และ Broadband เป็นต้น 
3.3 ควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้มีลักษณะที่เอื้อต่อการทำงานเชิงรุก โดยลดรูปแบบโครงสร้างการทำงานในแนวดิ่งลง และเพิ่มรูปแบบโครงสร้างการทำงานในแนวราบให้มากขึ้น 
3.4 จัดทำรายละเอียดโครงการ  Early Retirement เสนอ กทช.พิจารณา ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้ว จะได้ทราบถึงจำนวนบุคลากรที่เหลืออยู่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณากำหนดโครงสร้างที่เหมาะสมต่อไปได้ 
ระเบียบวาระที่ 4.5  :  จัดตั้งสำนักบริหารและจัดการเลขหมายโทรคมนาคม และจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบการบริหารจัดการและการใช้เลขหมายโทรคมนาคม :รทช.ประเสริฐ, กบ.     
มติที่ประชุม 
 มอบหมายให้สำนักงาน กทช.นำเรื่อง จัดตั้งสำนักบริหารและจัดการเลขหมาย โทรคมนาคม และจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบการบริหารจัดการและการใช้เลขหมายโทรคมนาคม เสนอ กทช.พิจารณาในโอกาสต่อไป
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
 -ไม่มี-
ระเบียบวาระที่  6  :   เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  การเข้าร่วมอบรมหลักสูตร Broadcasting in Convergence Era และหลักสูตร Media & Contents in Convergence Era ภายใต้ความร่วมมือกับ Central Radio Management Office (CRMO) ของสาธารณรัฐเกาหลี : รทช.ทศพรฯ, รศ.
มติที่ประชุม
  อนุมัติใน หลักการให้ส่งพนักงาน สำนักงาน กทช. จำนวน 4  ราย เข้ารับการอบรมหลักสูตรภายใต้ความร่วมมือกับ Central Radio Management Office (CRMO)  ของสาธารณรัฐเกาหลี  ดังนี้
1. อรศ. (นางสาวภานุพร ภัทรโชค) เข้าอบรมในหลักสูตร  Broadcasting in Convergence Era  ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2552 – 1 กรกฎาคม 2552 
2. อก ร. (นางสาววัจนา ชื่นทองคำ) นางสาววีร์ธิมา ชินธรรมมิตร และนางสาวศุภลักษณ์ ด่านไพบูลย์  เข้าอบรม Media & Contents in  Convergence Era ระหว่างวันที่ 23 – 30 กันยายน 2552  สำหรับกรณี นางสาววีร์ธิมา ชินธรรมมิตร และ นางสาวศุภลักษณ์ ด่านไพบูลย์  ให้สำนักงาน กทช.ประสานงาน CRMO ว่าหากสำนักงาน กทช. ประสงค์จะส่งพนักงานที่มิใช่ ผู้บริหารเข้าร่วมการอบรมเพิ่มเติม จะกระทำได้หรือไม่โดย สำนักงาน กทช. จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง หากกระทำได้ก็อนุมัติค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้าร่วมการอบรมของ นางสาววีร์ธิมา  ชินธรรมมิตร และนางสาวศุภลักษณ์ ด่านไพบูลย์ และ    ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือได้รับต่ำกว่าสิทธิของ  อรศ. และ อกร. ทั้งนี้  โดยเบิกจ่ายจากงบค่าใช้จ่ายใน การจัดการและบริหารองค์กร ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของพนักงานสำนักงาน กทช.
ระเบียบวาระที่ 6.2  :  ขอขยายเวลาการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการเฉพาะกิจไต่สวนข้อเท็จจริง (กรณี AIS ร้องเรียนว่า บมจ.กสท โดย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส กำหนดอัตราค่าใช้บริการโดยไม่ชอบธรรม และกรณี AIS DTAC และTrue Move ร้อง CAT มีพฤติกรรมกีดกันการแข่งขันโดยการกำหนดอัตราค่าบริการที่ต่ำมากในการส่ง เสริมการขาย) : คณะกรรมการเฉพาะกิจไต่สวนข้อเท็จจริง (สชท. , พต.)
มติที่ประชุม
             
1.  อนุมัติให้ขยายระยะเวลาในการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการเฉพาะกิจไต่สวน ข้อเท็จจริง กรณี บมจ.แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส ร้องเรียนว่า บมจ.กสท โทรคมนาคม โดย บจ. ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เวส มัลติมีเดีย กำหนดอัตราค่าใช้บริการโดยไม่เป็นธรรม  และกรณี บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และ บจ. ทรู มูฟ  ร้องเรียนว่า บมจ.กสท โทรคมนาคม  โดย บจ. ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เวส มัลติมีเดีย  ผู้ดำเนินการทางการตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA  มีพฤติกรรมกีดกันการแข่งขัน โดยการกำหนดอัตราค่าบริการที่ต่ำมากในการส่งเสริมการขาย ออกไปอีกมีกำหนด  30 วัน ตามที่คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง เสนอ  ทั้งนี้ โดยให้จัดทำเอกสารข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานและประเด็นไต่สวน พร้อมเหตุผลที่ขอขยายเวลา ส่งให้ กทช.ทุกท่านเพิ่มเติมให้ชัดเจนด้วย
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
2.1   พิจารณาปรับปรุงกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยดำเนินการ ให้เป็นไปตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
2.2  กระบวนการสอบสวน ไต่สวนข้อเท็จจริง ให้จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน มีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจน และมอบหมายพนักงานสำนักงาน กทช. ที่รับผิดชอบเป็นรายบุคคลให้ชัดเจน อาทิ การจัดทำสำนวนคดี
2.3  ในการเสนอขอขยายเวลาการไต่สวนข้อเท็จจริง ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติ โดยจะต้องเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาของ กทช. เป็นอย่างน้อยทุกครั้ง ดังนี้
  • รายละเอียดปฏิทินการปฏิบัติงาน   
  • ประเด็นการไต่สวนข้อเท็จจริง 
  •  ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา  
  • เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องขอเสนอขยายระยะเวลาการไต่สวนข้อเท็จจริง 
2.4  ให้มีการใช้อำนาจตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เพื่อให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดในการจัดส่งเอกสาร หรือให้ถ้อยคำแก่คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง
2.5  ในการแต่งตั้งพนักงานสำนักงาน กทช. เพื่อปฎิบัติหน้าที่ใน คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงฯ ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับ ภารกิจความรับผิดชอบ
2.6  การกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จใน 30 วันตามคำสั่งสำนักงาน กทช. นั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
ระเบียบวาระที่  6.3  :  ขอขยายเวลาการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง ครั้งที่ 2 (กรณี ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) ขอให้ไต่สวนการกระทำและพฤติกรรมของบริษัท ทีที แอนด์ที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีที แอนด์ที ซับสไคร์เบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด เรื่องการกำหนดราคาขายบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่เป็น ธรรม : คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง (กท.)
มติที่ประชุม
             
1. อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการไต่สวนข้อเท็จจริงครั้งที่ 2  กรณี บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน)  ขอให้ไต่สวนการกระทำและพฤติกรรมของบริษัท  ทีที แอนด์ที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีที แอนด์ที ซับสไคร์เบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด  เรื่องการกำหนดราคาขายบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ไม่เป็นธรรม ออกไปอีก 30 วัน ตามที่คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงฯ เสนอ ทั้งนี้ โดยให้จัดทำเอกสารข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานและประเด็นไต่สวน พร้อมเหตุผลที่ขอขยายเวลา ส่งให้ กทช.ทุกท่านเพิ่มเติมให้ชัดเจนด้วย
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.นำข้อคิดเห็นของที่ประชุมตามมติในวาระที่ 6.2 ไปพิจารณาดำเนินการสำหรับในกรณีนี้เช่นเดียวกันด้วย   
ระเบียบวาระที่  6.4  :  การจ้างที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) : รทช.ประเสริฐฯ , คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา , ปก.
มติที่ประชุม
             
1.  รับทราบผลการพิจารณาคัดเลือกที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่ฯ    สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และที่ปรึกษาโครงการศึกษาด้านเศรษฐกิจและแนวทางการกำกับดูแล  สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาได้เจรจาต่อรองเงื่อนไขด้านราคาและราย ละเอียดต่างๆ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับรายอื่นๆแล้ว เห็นว่า บริษัท NERA  มีความเหมาะสมที่จะจ้างเป็นบริษัทที่ปรึกษา ทั้ง 2 โครงการ เนื่องจากสามารถปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขสัญญาเรื่องความรับผิดของที่ปรึกษา (Liability) ตามรูปแบบสัญญามาตรฐานราชการ รวมทั้งเป็นผู้เสนอราคาที่เหมาะสมที่สุด   
2.  อนุมัติการจ้างบริษัท NERA ในกรอบวงเงินรวม 27 ล้านบาท (รวม VAT และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ) ให้เป็นที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่ฯ สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (วงเงิน 15 ล้านบาท) และเป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาด้านเศรษฐกิจและแนวทางการกำกับดูแล สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT  หรือ 3G and beyond) (วงเงิน 12 ล้านบาท) ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเสนอ ทั้งนี้ สำหรับงบประมาณส่วนที่เพิ่มเติมของโครงการศึกษาด้านเศรษฐกิจและแนวทางการ กำกับดูแลฯ ให้ ลทช. พิจารณานำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดทำแผนการดำเนินงานและกรอบระยะเวลา (Time Frame) การประมูลคลื่นความถี่ (IMT หรือ 3G and beyond) เสนอที่ประชุม กทช.ต่อไป   
ระเบียบวาระที่  6.5  :  การสัมมนา AIBD/ITU Regional Seminar on Digital Terrestrial Television Broadcasting – Making the Right Choices  :  รทช.ทศพรฯ,รศ.
มติที่ประชุม
  อนุมัติให้ นางสาววีร์ธิมา  ชินธรรมมิตร  ผู้ช่วยเลขานุการ ส่วนงาน กทช.สุธรรม  และ นางสาวศุภลักษณ์  ด่านไพบูลย์  พนักงานตามสัญญาจ้าง ร่วมในคณะของ กทช.สุธรรม  ในการเข้าร่วมสัมมนา AIBD/ITU Regional Seminar on Digital Terrestrial Television Broadcasting – Making the Right Choices ระหว่างวันที่ 14 – 16 มิถุนายน 2552  ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมีค่าใช้จ่าย จำนวน 259,600 บาท  ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2552  ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของ กทช. ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ

สร้างโดย  -   (18/3/2559 11:08:17)

Download

Page views: 69