สรุปมติที่ประชุม กทช. 29/2553

 มติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
  ครั้งที่ 29/2553
วันจันทร์ที่ 13 และวันพุธที่ 15 กันยายน 2553
     เวลา  09.30 น. 
  ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์           ประพิณมงคลการ            ประธานกรรมการ
2.  นายสุชาติ                          สุชาติเวชภูมิ                   กรรมการ 
3.  นายสุรนันท์                        วงศ์วิทยกำจร                 กรรมการ
4.  พันเอกนที                          ศุกลรัตน์                       กรรมการ  (เข้าร่วมประชุมเฉพาะวันที่ 13 กันยายน                                                                                                2553 / ไปราชการศาลปกครองวันที่ 15 กันยายน 2553)
5.  นายบัณฑูร                         สุภัควณิช                      กรรมการ
6.  รองศาสตราจารย์พนา           ทองมีอาคม                    กรรมการ(เข้าร่วมประชุมเฉพาะวันที่ 13 กันยายน 2553 / ไป                                                                                    ราชการศาลปกครองวันที่ 15 กันยายน 2553)
7.  นายฐากร                          ตัณฑสิทธิ์                      รองเลขาธิการ กทช. รักษาการในตำแหน่ง เลขาธิการ กทช.                                                                                    (เข้าร่วมประชุมเฉพาะวันที่ 13 กันยายน 2553)ไปราชการ                                                                                        ศาลปกครองวันที่ 15 กันยายน 2553
8.  นายทศพร                         เกตุอดิศร                       รองเลขาธิการ กทช. รักษาการในตำแหน่ง เลขาธิการ กทช.                                                                                   (เข้าร่วมประชุมเฉพาะวันที่ 15 กันยายน 2553)
 
 
 
ระเบียบวาระที่  1   :      เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)
 
1.  วันนี้ศาลปกครองได้มีคำพิพากษารวม 2 คดี ได้แก่ คดีหมายเลขดำที่ 1653/2550 บมจ. ทีโอที โดยนายประมวลฯ ฟ้อง กทช. เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ ลทช. เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 2 และคดีหมายเลขดำที่  1523/2550 บมจ. ทีโอที โดยนายประมวลฯ ฟ้อง กทช. เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1  ลทช. เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 2 และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น เป็นผู้ถูกฟ้องคดีร่วม ซึ่งศาลปกครองได้มีคำพิพากษายกฟ้องทั้ง 2 คดี รายละเอียดทั้งหมดมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องประกาศ ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ซึ่งมีรายละเอียดมาก ขอให้สำนักงาน กทช. สำเนาคำพิพากษาของศาลปกครองส่งให้ กทช. ทุกท่านได้รับทราบ และศึกษาเพราะจะเป็นบรรทัดฐานที่ดีมากเพื่อการอ้างอิง และยึดถือเป็นหลักประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.  ในสัปดาห์หน้าจะไม่มีการประชุม กทช. เนื่องจาก กทช.ทุกท่านจะไปอยู่กันที่ เอวาซอน รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเข้าร่วมในกระบวนการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G ซึ่ง กทช. จะเลือกพักที่ เอวาซอนฯ หรือที่อื่นในพื้นที่ใกล้เคียงก็ตามแต่อัธยาศัย สำหรับกรณีที่ท่านมีภารกิจจำเป็นเร่งด่วนจะต้องเดินทางกลับกรุงเทพฯ ก็ขอให้แจ้งประธาน กทช.หรือ กทช.ท่านอื่นทราบ และ/หรือจะมอบหมายให้ใครเป็นผู้แทนก็ขอให้แจ้งให้ได้รับทราบด้วยในกรณีหากจะต้องมีการประชุมตัดสินใจเรื่องเร่งด่วน
3.  วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 6 ปีของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้มีการปรึกษาหารือกับ กทช.สุชาติฯ และกทช. ท่านอื่นๆ ว่าควรจะมีพิธีทางศาสนา ซึ่งก็เห็นด้วย หรือควรจะมีจัด Event เช่น การออกใบอนุญาตประกอบด้วยจะเหมาะสมหรือไม่ อย่างไรก็ดี ในปีนี้ ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าไม่ต้องมีพิธีพราหมณ์ ควรจะมีเฉพาะพิธีสงฆ์ก็เพียงพอ โดยให้เชิญอดีตผู้บริหารของกรมไปรษณีย์โทรเลข และอดีตผู้บริหารของ กทช. เข้าร่วม สำหรับบุคคลภายนอกไม่ต้องเชิญ และจัดเลี้ยงอาหารกลางวันให้แก่พนักงาน กทช. สำหรับการจัดกิจกรรมของสำนักงาน กทช. ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ก็ขอให้สำนักงาน กทช. พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
4.  สำหรับการประชุม กทช. (ต่อเนื่อง) ในวันนี้ รทช.ฐากรฯ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช. ต้องไปรับฟังคำพิพากษาที่ศาลปกครองทั้งสองคดีตามที่ได้แจ้งไปแล้วข้างต้น จึงได้มอบหมายให้ รทช.ทศพรฯ ทำหน้าที่ในการประชุมแทน
 
หมายเหตุ                ที่ประชุมได้มีการหยิบยกประเด็นเรื่องอื่นๆ มาหารือเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้

5.  เนื่องจากในช่วงเวลาที่มีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่อำเภอ ปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างวันที่ 20 – 24 กันยายน 2553 นั้น กทช. ทุกท่านจะพอมีเวลาอยู่บ้าง ดังนั้น จึงควรมีการนัดหารือร่วมกันในเรื่อง การกำหนดแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานเพื่อจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 สำหรับให้สำนักงาน กทช.ใช้เป็นกรอบ และทิศทางในการจัดทำรายละเอียดแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. ต่อไป ในการนี้ กทช.บัณฑูรฯ จึงขอรับไปเตรียมการกับทีมงานงบประมาณ เพื่อจัดการหารือในเรื่องงบประมาณปี 2554 ในช่วงเวลาระยะดังกล่าว ที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อไป
 
มติที่ประชุม            
1.  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.  เห็นชอบการนัดหารือร่วมกันของ กทช. ทุกท่านในห้วงระยะเวลาที่มีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ในเรื่อง การกำหนดแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานสำหรับให้สำนักงาน กทช.ใช้เป็นกรอบ และทิศทางในการจัดทำรายละเอียดแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กทช. ต่อไป โดยมอบหมายให้ กทช.บัณฑูรฯ รับไปเตรียมการกับทีมงานงบประมาณเพื่อจัดการประชุมหารือดังกล่าวต่อไป
 
ระเบียบวาระที่    2  :     รับรองรายงานการประชุม กทช. ครั้งที่ 28/2553 วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2553
 
มติที่ประชุม                 มอบหมายให้ กทช. ทุกท่านพิจารณารายงานการประชุม กทช. ครั้งที่  28/2553 วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2553 โดยมีกำหนดระยะเวลา 7 วัน หากครบกำหนดแล้ว ไม่มี กทช. ท่านใดขอแก้ไขให้ถือว่าที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 28/2553 วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2553 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
 
ระเบียบวาระที่   3    :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช.
ระเบียบวาระที่  3.1  :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 27/2553 วันพุธที่ 1 กันยายน 2553
 
มติที่ประชุม            รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 27/2553 เมื่อวันพุธที่ 1 กันยายน 2553 ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
 
 
ระเบียบวาระที่   3.2   :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 28/2553 วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2553
 
มติที่ประชุม              รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 28/2553 เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2553 ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
 
ระเบียบวาระที่  4      :    เรื่องเพื่อพิจารณา   
ระเบียบวาระที่  4.1   :   ความคืบหน้าการดำเนินการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz (วาระต่อเนื่อง) : กทช.พันเอก นทีฯ, คณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond, รทช.ประเสริฐฯ, ปก. (วันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2553)

 
1.  เรื่องการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz : กทช.พันเอก นทีฯ, คณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond, รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
 
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบและเห็นชอบผลการตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องในคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต ทั้ง 3 ราย (บจ.แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค  บจ.ดีแทค อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส และ บจ.เรียลมูฟ) ตามข้อ 5 และข้อ 6 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ของสถาบันการศึกษา 4 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ศูนย์บริการวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย) ตามที่คณะกรรมการ 3G เสนอ ทั้งนี้ ให้ถือว่าภายหลังจากมีการประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 3G แล้ว ให้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นกระบวนการประมูลคลื่นความถี่ 3G
2.  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นที่ประชุมไปดำเนินการให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น ดังนี้
2.1  ให้สำนักงาน กทช. แจ้งสถาบันการศึกษาทั้ง 4 แห่งตามข้อ 1  เพื่อยืนยันผลการตรวจสอบว่าผู้ขอรับใบอนุญาตทั้ง 3 ราย   มีคุณสมบัติครบถ้วนและถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542
2.2  ให้สำนักงาน กทช.แจ้งสถาบันการศึกษาทั้ง 4 แห่ง ตามข้อ 1 เพื่ออธิบายในรายละเอียดของข้อสังเกตเพิ่มเติม และยืนยันให้ชัดเจนถึงเหตุผลเกี่ยวกับกรณีความเป็นนิติบุคคลต่างด้าวของบริษัทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในหนังสือยืนยันตามข้อ 2.1 ด้วยว่า การตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของบริษัททั้งสาม ซึ่งเป็นผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz แล้วผ่านเกณฑ์ของ กทช. ที่ประกาศกำหนดไว้ทุกประการ ดังนั้น กรณีความเป็นนิติบุคคลต่างด้าวของบริษัทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือจากประกาศ กทช. ดังกล่าว และเป็นผลจากความบกพร่องของกฎหมายที่กำหนดให้พิจารณาเพียงจำนวนหุ้นที่ถือตามหลักฐานทางทะเบียนผู้ถือหุ้นต่อกันเพียงสองชั้นเท่านั้น ตามมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542
2.3  เพื่อความชัดเจนและรอบคอบ ให้สำนักงาน กทช. เตรียมการพิจารณากำหนดแนวทาง/มาตรการรองรับในเรื่องความเป็นนิติบุคคลต่างด้าวของบริษัทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตไว้ด้วย (Damage Management)  
 
 
2.   เรื่อง  แนวทางการดำเนินการเพื่อการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz (วาระต่อเนื่อง) : กทช.พันเอก นทีฯ, คณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond, รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
 
มติที่ประชุม                 อนุมัติแนวทางการดำเนินการเพื่อการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ตามที่ กทช.พันเอก นทีฯ เสนอ ดังนี้
1.  เห็นชอบร่างประกาศรายชื่อ ผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ตามที่เสนอ
2.  เห็นชอบการกำหนดชุดคลื่นความถี่ที่จะให้อนุญาต ซึ่งไม่มีนัยสำคัญหรือผลในเชิงการแข่งขัน ตามที่เสนอ ได้แก่
2.1  คลื่นความถี่ชุดที่ 1 ช่วงความถี่วิทยุ 1920-1935 MHz คู่กับ 2110-2125 MHz
2.2  คลื่นความถี่ชุดที่ 2  ช่วงความถี่วิทยุ 1935- 1950 MHz คู่กับ 2125-2140 MHz
3.  เห็นชอบการแก้ไขหลักปฏิบัติการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ซึ่งคณะกรรมการ 3G ได้แก้ไขปรับปรุงตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 24/2553 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2553 ในข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 13 และภาคผนวก ข รวมทั้ง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเริ่มการประมูลในวันแรกจากเดิมเวลา 13.00 น.เป็น 9.00 น.ให้ตรงกับเวลาพิธีการเปิดประมูลอย่างเป็นทางการที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 20 กันยายน 2553 ในข้อ 13(1)ตามที่ กทช.พันเอก นทีฯ เสนอต่อที่ประชุม ทั้งนี้ ให้เพิ่มเติมการปรับเปลี่ยนกำหนดเวลาดังกล่าวในเอกสารประกอบวาระหน้า 3 ข้อ 5.3 ให้ครบถ้วนด้วย
4.  เห็นชอบคู่มือการปฏิบัติตนสำหรับผู้เข้าร่วมการประมูล ตามที่เสนอ ทั้งนี้ ขอให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของที่ประชุมเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ อาทิ เห็นควรจัดให้มีการบันทึกผลการปฏิบัติงานในแต่ละวันของเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลภายหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน และประมวลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการประมูลได้อย่างเหมาะสมในครั้งต่อไป ตลอดจนควรรวบรวมรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมเบอร์โทรศัพท์จัดส่งให้ กทช. ทุกท่านทราบ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ควรมีการพิจารณา กทช. ที่สมควรได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประสานงานหลักไว้ให้ชัดเจน ได้แก่ กทช.พันเอก นทีฯ และ กทช.อีกท่านหนึ่งสำรองไว้กรณี กทช.พันเอก นทีฯ ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เช่น กทช.พนาฯ เป็นต้น
5.  เห็นชอบแผนการรักษาความปลอดภัย ในการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ตามที่เสนอ ทั้งนี้ ขอให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของที่ประชุมเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ อาทิ ควรต้องมีการส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่ และ รปภ. ของโรงแรม เพื่อทำ Classification ให้ชัดเจน รวมทั้งขยะสำนักงานที่เป็นกระดาษใช้แล้ว ต้องมีการเก็บทำลายให้เรียบร้อยด้วย เป็นต้น
6.  เห็นชอบการแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการ 3G เพิ่มเติมจำนวน 3 ราย ตามที่เสนอ ได้แก่ 
6.1  พลเอกสุเจตน์  วัฒนสุข                อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
6.2  พลตำรวจเอกชาญชิต เพียรเลิศ       อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
6.3  พลตำรวจโทพงษ์สันต์ เจียมอ่อน      ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๗
 
ระเบียบวาระที่ 4.2   :   ผลกระทบจากหลักเกณฑ์ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรทัศน์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz : ประธาน กทช. (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)
 
มติที่ประชุม              รับทราบกรณี บมจ.กสท โทรคมนาคม มีหนังสือที่ กสท รก.(กร.)/1273 ลงวันที่ 3 กันยายน 2553 ให้ กทช.พิจารณาทบทวน และแก้ไขหลักเกณฑ์ ในข้อ 13.6.3 ของประกาศ IMT รวมทั้งหลักเกณฑ์การร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ที่กระทบต่อสิทธิของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ตามสัญญาสัมปทาน ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
 
ระเบียบวาระที่   4.6    :   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 5 ราย : กทช.พนาฯ, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)
  • บริษัท ไทยซุ่น เคเบิ้ล ที.วี. จำกัด             จำนวน  13  ใบอนุญาต
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด แซท.ทีวี                      จำนวน  1     ใบอนุญาต
  • บริษัท เค.พี.พี. ราไวย์ จำกัด                   จำนวน  1     ใบอนุญาต
  • บริษัท ขอนแก่นเคเบิ้ลเน็ทเวิร์ค จำกัด        จำนวน  1     ใบอนุญาต
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด หลังสวนเคเบิลทีวี           จำนวน  1     ใบอนุญาต
                            
มติที่ประชุม                 อนุมัติการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 5 ราย (17 ใบอนุญาต) ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ เสนอ ได้แก่
1.  บริษัท ไทยซุ่น เคเบิ้ล ที.วี. จำกัด             จำนวน  13 ใบอนุญาต
2.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด แซท.ทีวี                      จำนวน  1   ใบอนุญาต
3.  บริษัท เค.พี.พี. ราไวย์ จำกัด                   จำนวน  1   ใบอนุญาต
4.  บริษัท ขอนแก่นเคเบิ้ลเน็ทเวิร์ค จำกัด        จำนวน  1   ใบอนุญาต
5.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด หลังสวนเคเบิลทีวี          จำนวน  1   ใบอนุญาต
 
ระเบียบวาระที่   4.7   :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน จำนวน 9 สถานี : กทช.พนาฯ, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนท้องถิ่น อ.เชียงแสน คลื่นความถี่ 89.00 MHz จ.เชียงราย
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนรักษ์ถิ่นตรัง คลื่นความถี่ 93.00 MHz จ.ตรัง
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนวัดเสาธง คลื่นความถี่ 93.25 MHz   จ.พระนครศรีอยุธยา
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิต คลื่นความถี่ 95.00 MHz จ.นครราชสีมา
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนวัดอุทัยทิศ คลื่นความถี่ 96.00 MHz  จ.มหาสารคาม
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสื่อภาคประชาชน คลื่นความถี่ 99.25 MHz  กรุงเทพฯ
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนหลักสี่ คลื่นความถี่ 101.25 MHz   จ.สมุทรสาคร
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนพนมสารคาม คลื่นความถี่ 103.75 MHz จ.ฉะเชิงเทรา
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนคนหนองหญ้าไซ คลื่นความถี่ 107.50 MHz จ.สุพรรณบุรี
 
มติที่ประชุม                อนุมัติให้ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนท้องถิ่น อ.เชียงแสน คลื่นความถี่ 89.00 MHz จังหวัดเชียงราย  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนรักษ์ถิ่นตรัง คลื่นความถี่ 93.00 MHz จังหวัดตรัง สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนวัดเสาธง คลื่นความถี่ 93.25 MHz จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิต คลื่นความถี่ 95.00 MHz จังหวัดนครราชสีมา สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนวัดอุทัยทิศ คลื่นความถี่ 96.00 MHz จังหวัดมหาสารคาม สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสื่อภาคประชาชน คลื่นความถี่ 99.25 MHz กรุงเทพฯ  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนหลักสี่ คลื่นความถี่ 101.25 MHz จังหวัดสมุทรสาคร  สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนพนมสารคาม คลื่นความถี่ 103.75 MHz จังหวัดฉะเชิงเทรา และสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนคนหนองหญ้าไซ คลื่นความถี่ 107.50 MHz จังหวัดสุพรรณบุรี ทำการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวน ตามข้อ 8(5) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ทั้งนี้ หากไม่ปรากฏผลการรบกวน ให้คณะอนุกรรมการฯ เสนอความเห็นต่อที่ประชุม กทช. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่สถานีทั้ง 9 สถานีข้างต้นต่อไป ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ เสนอ
 
  
ระเบียบวาระที่    4.8    :   การขอรับการสนับสนุนโครงการต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 8 รายการ : กทช.บัณฑูรฯ (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)

1.  การสนับสนุนการบูรณะปรับปรุงพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถานและสนับสนุนการทำแบบก่อสร้างซ่อมแซมห้องต่างๆ ในพระราชวังพญาไท จำนวน 3.61 ล้านบาท
2.  การสนับสนุนโครงการ “คนค้นคนอวอร์ด ครั้งที่ 2” จำนวน 1.5 ล้านบาท
3.  แผนงานประชาสัมพันธ์ “สำนักงาน กทช.” ผ่านรายการองค์กร...เกื้อแผ่นดิน จำนวน 0.90 ล้านบาท
4.  การสนับสนุนโครงการ “กบจูเนียร์ ปี 2” “กบตัวน้อยตามรอยเท้าพ่อ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา จำนวน 5 ล้านบาท
5.  สื่อประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุ 93.5 MHz จำนวน 5.00 ล้านบาท
6.  การสนับสนุนโครงการหนังสือสำหรับเยาวชนเฉลิมพระเกียรติ จำนวนอยู่ระหว่าง 0.10 – 1.00 ล้านบาท
7.  การบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย จำนวน 0.10 ล้านบาท
8. โครงการจัดทำระบบวิจัยรายการโทรทัศน์ผ่านระบบ Web TV จำนวน 9.90 ล้านบาท
 
มติที่ประชุม                 เห็นชอบผลการพิจารณาความเหมาะสมของรายการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 8 รายการ ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ตามที่ กทช.บัณฑูรฯ เสนอ ดังนี้
1.  ในรายการที่ 1 การสนับสนุนการบูรณะปรับปรุงพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถานและสนับสนุนการทำแบบก่อสร้างซ่อมแซมห้องต่างๆ ในพระราชวังพญาไท จำนวน 3.61 ล้านบาท คณะกรรมการพิจารณางบประมาณฯ เห็นควรให้การสนับสนุนงบประมาณได้ เนื่องจาก กทช.ได้เคยมีมติเห็นชอบสนับสนุนมาแล้ว กอปรกับวัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกับระเบียบว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2551  จึงเห็นชอบให้การสนับสนุน โดยให้เจียดจ่ายจากงบประมาณแหล่งอื่นที่ได้จัดสรรไปแล้ว ประจำปี 2553
2.  รายการที่ขอรับการสนับสนุน ลำดับที่ 2 – 6 เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับระเบียบว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2551 จึงไม่เห็นควรให้การสนับสนุน 10 ล้านบาท เนื่องจากวัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกับระเบียบว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2551 ข้อ 5(3) จึงเห็นชอบให้การสนับสนุน โดยให้เจียดจ่ายจากงบประมาณแหล่งอื่นที่ได้จัดสรรไปแล้ว ประจำปี 2553
4.  โครงการจัดทำระบบวิจัยรายการโทรทัศน์ผ่านระบบ Web TV จำนวน 9.90 ล้านบาท เนื่องจากเป็นโครงการที่จะต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งไม่สอดคล้องกับระเบียบว่าด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กทช. และสำนักงาน กทช. พ.ศ.2551 จึงเห็นชอบให้ส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พิจารณาความเหมาะสม และเบิกจ่ายจากงบประมาณในส่วนของกิจการกระจายเสียงที่คณะอนุกรรมการฯ ได้รับจัดสรรไว้แล้วประจำปี 2553 ต่อไป
    
ระเบียบวาระที่    4.10     :   การจัดทำข้อมูล Individual Action Plan (IAP) ของไทยในปี 2553 ภายใต้กรอบเอเปค : รทช. ทศพรฯ, กร. (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)
 
มติที่ประชุม                 อนุมัติให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาในแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (Individual Action Plan : IAP) ของไทยประจำปี 2553 ภายใต้กรอบเอเปค ใน chapter 3 (b : 3) : Communication Services : Telecommunications ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ได้พิจารณาแล้ว ให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศทราบ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอต่อไป
 
  
ระเบียบวาระที่    4.42    :  การพิจารณาอนุมัติหลักการโครงการใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2553 : รทช.ฐากรฯ,
รทช. ประเสริฐฯ, งป. (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)

 
มติที่ประชุม                
1.  เห็นชอบเป็นหลักการให้สำนักงาน กทช. ถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินการโครงการภายใต้กรอบแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ของสำนักงาน กทช. ที่ได้รับอนุมัติจาก กทช.แล้ว ดังนี้
1.1  กรณีโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก กทช.แล้ว ให้สำนักงาน กทช. ดำเนินงานโครงการ และเบิกจ่ายงบประมาณตามวงเงินที่ได้รับจัดสรรภายใต้กรอบแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553   ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยไม่ต้องนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาอีก
1.2  กรณีโครงการที่ กทช. เห็นชอบในหลักการ แต่ยังไม่มีรายละเอียดในสาระสำคัญของโครงการที่ชัดเจน ที่สำคัญได้แก่ หลักการและเหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ งบประมาณและแหล่งเงิน ตลอดจนวิธีดำเนินการ ความพร้อมและความเหมาะสมโครงการ ข้อดี-ข้อเสีย รวมทั้งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จะต้องนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาอนุมัติอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไปดำเนินการและเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้กรอบแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.  เห็นชอบในหลักการโครงการใหม่ประจำปีงบประมาณ 2553 จำนวน  5 โครงการ วงเงินลงทุนทั้งโครงการรวมทั้งสิ้น 83,780,000 บาท โดยใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 25,956,000 บาท ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยให้สำนักงาน กทช. ไปพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการข้างต้นตามมติที่ประชุมในข้อ 1 แล้วแต่กรณีต่อไป ได้แก่
2.1  โครงการศึกษาและเสนอแนะหลักเกณฑ์มาตรฐาน และคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมทางข้อมูลสำหรับงบประมาณปี 2553 วงเงินทั้งโครงการ 12,000,000 บาท โดยใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 12,000,000 บาท (กจ.)
2.2  โครงการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการด้านการเงิน การบัญชีและรายได้ วงเงินทั้งโครงการ 7,000,000 บาท โดยใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 3,000,000 บาท (คง.) 
2.3 โครงการพัฒนาระบบติดตามโครงการและบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เชิงยุทธศาสตร์ วงเงินทั้งโครงการ 28,600,000 บาท โดยใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 5,720,000 บาท (ปก.) 
2.4  โครงการจัดซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงแบบรวมศูนย์การจัดการ (Storage Virtualization) วงเงินทั้งโครงการ 26,180,000 บาท โดยใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 5,236,000 บาท (ปก.)
2.5  โครงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบการออกประกาศ กทช. ด้านการส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม วงเงินทั้งโครงการ 10,000,000 บาท โดยใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 10,000,000 บาท (พต.)
 
หมายเหตุ                ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือ ได้แก่ วาระที่ 4.3, 4.4, 4.9, และ 4.11 – 4.41 จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ครั้งต่อไป  
 

ระเบียบวาระที่    5     :   เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่   5.1   :   คำสั่งศาลปกครองกลางไม่รับคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา : รทช.ฐากรฯ, กม.

 
มติที่ประชุม               รับทราบศาลปกครองกลางมีคำสั่งลงวันที่ 30 สิงหาคม 2553 ไม่รับคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 1113/2553 ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และพวกรวม 3 คน ในข้อพิพาทขอให้เพิกถอนมติ กทช. ในการประชุมครั้งที่   8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 กรณีใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พิจารณาให้ผู้ฟ้องดำเนินการจัดให้มีบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2553 และขอให้เพิกถอนคำสั่งเลขาธิการ กทช. เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
 

ระเบียบวาระที่   5.2    :   รายงานผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 (จังหวัดมหาสารคาม) : รทช.ฐากรฯ, คณะกรรมการดำเนินโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือฯ
 
มติที่ประชุม                รับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 (จังหวัดมหาสารคาม) ฉบับที่ 7 (เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2553) ตามเอกสารที่คณะกรรมการดำเนินโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือฯ เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   5.3    :   รายงานผลการดำเนินการโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบทฯ ครั้งที่ 9 และ 10 ระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม 2552 และเดือนมกราคม ถึงมีนาคม 2553 : รทช.ฐากรฯ, คณะกรรมการดำเนินโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาในชนบทฯ ฉบับที่ 9 (เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2552) และฉบับที่ 10 (เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2553)
 
มติที่ประชุม                 รับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบทเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา  5 ธันวาคม 2550 (จังหวัดเชียงราย) ฉบับที่ 9 (เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2552) และฉบับที่ 10 (เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2553) ตามเอกสารที่คณะกรรมการดำเนินโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาในชนบทฯ เสนอ
 

ระเบียบวาระที่    5.4   :   ข้อมูลประกอบการชี้แจงผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ประจำปี 2552  ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฉบับเพิ่มเติม : รทช.พิทยาพลฯ, พต.
 
มติที่ประชุม                 รับทราบการจัดทำข้อมูลประกอบการชี้แจงผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ประจำปี 2552 ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฉบับเพิ่มเติม ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ราคาค่าบริการโทรคมนาคม (Pricing) การแยกส่วนโครงข่าย (Unbundling) และการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   5.5     :   การปฏิบัติภายใต้มาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 18/2553 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2553 : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.
 
มติที่ประชุม                 รับทราบแนวทางการปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. ในการตรวจสอบการขออนุญาตตั้งสถานีของผู้ประกอบการภายใต้มาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่        18/2553 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่    5.6    :   การทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างผู้ประกอบการ : สชท.
 
มติที่ประชุม                 เพื่อให้เกิดความถูกต้อง และเหมาะสมตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ) จึงมอบหมายให้สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม นำเรื่อง การทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างผู้ประกอบการ (การทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท แอดวานซ์   อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)) เสนอที่ประชุม กทช. เป็นเรื่องเพื่อพิจารณาต่อไป
 
ระเบียบวาระที่    5.7    :  การขอใช้เครือข่ายร่วม (National Roaming) กับผู้มีอำนาจเหนือตลาด : สชท.
 
มติที่ประชุม                เพื่อให้เกิดความถูกต้อง และเหมาะสมตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง(กทช.สุธรรมฯ) จึงมอบหมายให้สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม นำเรื่อง การขอใช้เครือข่ายร่วม (National Roaming) กับผู้มีอำนาจเหนือตลาด เสนอที่ประชุม กทช. เป็นเรื่องเพื่อพิจารณาต่อไป
 

ระเบียบวาระที่   6      :   เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่   6.1   :   ขออนุมัติเชิญผู้แทนต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Two-WayRadio Technology : รทช.ทศพรฯ, รศ. (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)

 
มติที่ประชุม            
1.  อนุมัติให้สำนักงาน กทช. เชิญผู้แทนซึ่งเป็นวิศวกรจากราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และ สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม ประเทศละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 8 คน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Two-Way Radio ระหว่างวันที่ 27 - 29 กันยายน 2553 ณ สำนักงาน กทช. ทั้งนี้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเข้าร่วมการประชุม จำนวน 422,000 บาท ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  อนุมัติงบประมาณเพื่อจัดเลี้ยงรับรองวิทยากร และสร้างสัมพันธไมตรีพร้อมมอบของที่ระลึกแก่วิทยากร ภายในกรอบเงินงบประมาณ 40,000 บาท ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายตามข้อ 1 และ 2 ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2553 ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมของสำนักความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและสำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. (รทช.ทศพรฯ) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ซึ่งควรจัดให้มี Panel Discussion ระหว่างผู้แทนประเทศเพื่อนบ้านกับ กทช. หรือสำนักงาน กทช. ด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์/ข้อมูล ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานร่วมกันในอนาคตต่อไปตามข้อคิดเห็นของที่ประชุม
 
ระเบียบวาระที่   6.2     :   ผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเรื่อง การอนุญาตให้บริการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Broadband Wireless Access (BWA) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)
 
มติที่ประชุม              
1.  รับทราบสรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเรื่อง การอนุญาตให้บริการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Broadband Wireless Access (BWA) ในย่านความถี่ 2300 - 2400 เมกกะเฮิรตซ์ พ.ศ. .... ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) แล้วตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  เห็นชอบและมอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กทช. เรื่อง การอนุญาตให้บริการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Broadband Wireless Access (BWA) ในย่านความถี่ 2300 - 2400 เมกกะเฮิรตซ์ พ.ศ. .... ตามข้อ 1 ไปพิจารณาทบทวน และตรวจสอบข้อมูล เพื่อปรับปรุงร่างประกาศ กทช. ดังกล่าว แล้วนำไปจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะอีกครั้งหนึ่งตามที่เสนอ ทั้งนี้ โดยให้รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อประกอบการดำเนินการให้เหมาะสม และถูกต้องยิ่งขึ้นต่อไปด้วย ดังนี้
2.1  ให้ระบุเหตุผลและคำอธิบายของสำนักงาน กทช. ในแต่ละประเด็น กรณีที่เห็นว่าควรคงเนื้อหาตามร่างเดิมไว้ให้ชัดเจน
2.2  ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า กทช. ได้มีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับ BWA ให้ บมจ.ทีโอที ในช่วงคลื่นความถี่ใด (คลื่นความถี่ 2.3 GHz - 2.5 GHz หรือ 2.6 GHz) และมีอายุการอนุญาตกี่ปี ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาดำเนินการเรื่องนี้เกิดความถูกต้อง ตรงกัน
 
ระเบียบวาระที่   6.3    :   กรอบแนวทางในการกำหนดเงื่อนไขในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง (USO) สำหรับผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่ IMT-2000 ย่าน 2.1 GHz : กทช.สุรนันท์ฯ (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)
 
มติที่ประชุม            
1.  เห็นชอบกรอบแนวทางในการกำหนดเงื่อนไขในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง (USO) สำหรับผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่ IMT-2000 ย่าน 2.1 GHz ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ เสนอ ทั้งนี้ โดยมีขอบเขตในการดำเนินการ ดังนี้
1.1  ผู้รับใบอนุญาตฯ มีหน้าที่จัดให้มีบริการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ (ตามหลักเกณฑ์ที่ กทช.กำหนด) ด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ปลายทาง (Downlink) ได้ไม่น้อยกว่า 2 Mbps โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลา 60 เดือน นับจากวันที่ติดตั้งแล้วเสร็จ ทั้งนี้ให้รวมถึงการจัดให้มีอุปกรณ์ปลายทางที่เกี่ยวข้องตามที่ กทช.กำหนด
1.2  ผู้รับใบอนุญาตฯ จะต้องดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ปลายทาง (Downlink) ได้ไม่น้อยกว่า 2 Mbps ครอบคลุมโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ได้รับมอบหมายจาก กทช.
1.3  ขอบเขตภาระความรับผิดชอบในการจัดให้มีบริการภายใต้เงื่อนไขข้างต้น ของผู้รับใบอนุญาตฯ แต่ละราย อยู่ที่ร้อยละ 4 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากการประกอบกิจการโทรคมนาคมในแต่ละปี
2.  เห็นชอบแนวทางความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กทช. และกระทรวงศึกษาธิการ ในการนำข้อมูล-เนื้อหา ด้านการศึกษาในโครงการ MOE Plaza เพื่อใช้เป็นสื่อสนับสนุนในการให้บริการด้านการศึกษาแก่โรงเรียน และเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูงที่ได้ลงทุนไป ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ เสนอ 
3.  เพื่อให้ขอบเขตการดำเนินงานเกิดความชัดเจน และมิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการดำเนินโครงการภายใต้กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างคุ้มค่า เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมถึงเกิดการบูรณาการในการดำเนินการเรื่องนี้ได้อย่างแท้จริง จึงเห็นควรต้องเริ่มต้นการดำเนินการด้วยความชัดเจน โดยการชี้แจงให้กระทรวงศึกษาธิการทราบถึงขอบเขตการดำเนินงานในส่วนของ กทช. ที่จะมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องการสร้างโครงข่าย และจุดเชื่อมต่อสัญญาณเพื่อให้บริการ BWA (Access Point) พร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้รับผิดชอบด้าน Content ทั้งหมด
4.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการการดำเนินงานด้าน USO ประสบความสำเร็จได้ต่อไปในอนาคต อาทิ
4.1  การพิจารณากำหนดแนวทาง รูปแบบ และวิธีการที่เหมาะสมในการประสาน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (Coordination, Monitoring & Evaluation) และเป็นระบบ โดยอาจให้มีกลไกในรูปของคณะกรรมการร่วมระหว่างสำนักงาน กทช. กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับผิดชอบในเรื่องนี้อย่างชัดเจน
4.2  การพิจารณากำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะบริการโทรศัพท์สาธารณะ ที่ได้ลงทุนไปในการดำเนินงาน USO ระยะที่ ๑ ซึ่งกำลังจะมีภาระค่าใช้จ่ายในการ Maintenance จำนวนมากเกิดขึ้น
4.3  การศึกษาวิเคราะห์ในภาพรวม เพื่อจัดทำเค้าโครง/แผนการบริหารจัดการการดำเนินงานด้าน USO (USO - Macro Framework & Plan) ที่มีการบูรณาการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนโดยเฉพาะบทบาทของหน่วยงานระดับท้องถิ่น และชุมชนในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบการดูแลรักษาการใช้งานเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ
 
ระเบียบวาระที่  6.4   :   การจัดพิธีการเนื่องในโอกาสครบ 6 ปี คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2553   : รทช.ทศพรฯ, บป. (วันพุธที่ 15 กันยายน 2553)
 
มติที่ประชุม            
1.  เห็นชอบการจัดพิธีการ และการจัดงานเนื่องในโอกาสครบ 6 ปี คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2553 โดยให้มีพิธีการทางศาสนาเฉพาะพิธีสงฆ์ และเชิญผู้บริหารที่เป็นอดีต กทช. และผู้บริหารกรมไปรษณีย์โทรเลขเดิมมาร่วมงาน โดยไม่ต้องเชิญบุคคลภายนอก ทั้งนี้ ให้จัดงานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่พนักงาน สำนักงาน กทช.ด้วย
2.  สำหรับการจัดกิจกรรมวันสถาปนาสำนักงาน กทช. ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 มอบหมายให้สำนักงาน กทช. พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป        

สร้างโดย  -   (9/3/2559 15:22:52)

Download

Page views: 82