สรุปมติที่ประชุม กทช. 13/2550

มติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 13/2550
วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2550 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการ สำนักงาน กทช.
 


ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  พลเอกชูชาติ   พรหมพระสิทธิ์   ประธานกรรมการ
2.  นายเหรียญชัย  เรียววิไลสุข  กรรมการ
3.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์    ประพิณมงคลการ กรรมการ
4.  นายสุชาติ   สุชาติเวชภูมิ  กรรมการ
5.  นายสุรนันท์   วงศ์วิทยกำจร  เลขาธิการ กทช.
 
ระเบียบวาระที่ 1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
     ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบ  ดังนี้
1. เนื่องจากในวันที่ 17 เมษายน 2550 รัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ ขอให้ ผชพ.ฐากรฯ ประสานงานเรื่องการเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แทนพระองค์ ซึ่งกำหนดการเข้าเฝ้ายังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ขอให้สำนักงาน กทช. แจ้ง กทช. ที่จะเข้าเฝ้าให้เตรียมพร้อมเรื่องการแต่งกาย และเดินทางไปเข้าเฝ้าโดยพร้อมเพรียงกัน
2. กทช.ประสิทธิ์ฯ แจ้งว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะมาหารือสำนักงาน กทช. จึงขอให้สำนักงาน กทช. เตรียมข้อมูลในส่วนที่สำนักงาน กทช. สนับสนุนการดำเนินงานของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ไว้ให้พร้อม ทั้งนี้ ให้ประสานรายละเอียดในการเตรียมข้อมูลกับ กทช.ประสิทธิ์ ด้วย
3. กทช.สุธรรมฯ ได้มีหนังสือขอให้สำนักงาน กทช. ตรวจสอบงานในหน้าที่ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่ยังคั่งค้างอยู่ โดยให้เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
4. ขอให้สำนักงาน กทช. จัดทีมงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ กทช. ได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อให้มาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป
มติที่ประชุม  รับทราบตามที่ประธานแจ้ง  และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 
ระเบียบวาระที่ 2  :  รับรองรายงานการประชุม
- ไม่มี - 
ระเบียบวาระที่ 3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 12/2550 วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2550
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 12/2550 วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2550 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.1  :  การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ไทย- มาเลเซีย เรื่อง Consumer Protection และ Consumerism and Distributive Trade : รศ.
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพื่อประมวลสรุปเป็นความเห็นแจ้งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ต่อไปตามที่ได้ขอข้อคิดเห็นต่อร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) ไทย – มาเลเซีย เรื่อง Consumer Protection และ Consumerism and Distributive Trade เพิ่มเติมมา ทั้งนี้ โดยมีประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ
1. การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ไทย – มาเลเซีย เรื่อง Consumer Protection และ Consumerism and Distributive Trade สำนักงาน กทช. จะถือนโยบายรัฐบาลเป็นหลัก
2. ในภาพรวมเห็นว่า การจัดทำบันทึกความตกลงดังกล่าว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการส่งเสริมความร่วมมือ เพื่อการส่งเสริมการค้าและการดำเนินธุรกิจระหว่างกันในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
3. ในเรื่อง Settlement of Disputes นอกเหนือจากการใช้ช่องทางการระงับข้อพิพาทผ่านทาง Diplomatic Channels แล้ว สามารถนำกลไกคณะกรรมการร่วม JTC ไทย – มาเลเซีย รวมทั้งกลไกและกฎหมายภายในที่มีรองรับอยู่แล้วในเรื่องการคุ้มครองผู้ใช้บริการมาใช้ได้
4. ให้แยกเรื่อง Intellectual Property Rights ใน Article 6 ออกจาก MOU ดังกล่าว
5. ในต่างประเทศมีหน่วยงานรับผิดชอบดูแลเรื่อง Disputes Settlement อย่างชัดเจน แต่ของประเทศไทย นั้น ยังไม่มี เป็นต้น
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.2 การยุติการจ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : กม.
มติที่ประชุม    
1. บมจ. ทีโอที มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมที่มีอยู่ก่อน พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ใช้บังคับให้แก่สำนักงาน กทช. ตามความเห็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของ กทช. สรุปได้ว่า เนื่องจาก บมจ.ทีโอที มีสถานภาพเป็นบริษัท (มหาชน) ที่ประกอบกิจการโทรคมนาคมธรรมดาที่รัฐถือหุ้น 100 % เท่านั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ใดๆในฐานะ Regulator อีกต่อไป จึงต้องอยู่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันในการประกอบกิจการโทรคมนาคมเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ และถือเป็นผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการฯ ซึ่งนอกจากจะอยู่ภายใต้กฎหมายนี้แล้ว ยังต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กทช.กำหนดบนพื้นฐานของหลักการแข่งขันโดยเสรีเป็นธรรม รวมถึงมาตรา 78 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายหลัก ได้กำหนดเช่นกันว่า “การประกอบกิจการโทรคมนาคมขององค์การโทรศัพท์ฯ.....ให้อยู่ในกำกับดูแลของ กทช. และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตาม พ.ร.บ.นี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่ กทช.กำหนด”

2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการ โดยหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของ กทช. (พล.อ.ชูชาติฯ) ดังนี้
2.1 มีหนังสือแจ้ง บมจ. ทีโอที เพื่อทราบผลการพิจารณาตามข้อ 1 ทั้งนี้โดยให้แจ้งเฉพาะหลักการของกฎหมาย เพื่อสื่อให้ บมจ. ทีโอที ทราบและปฏิบัติ โดยไม่ควรให้ความเห็นในรายละเอียด ซึ่งอาจเปิดประเด็นการโต้แย้งอื่นได้
2.2 มีหนังสือแจ้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อทราบผลการพิจารณาตามข้อ 1 โดยมีรายละเอียดที่ชี้แจงให้เห็นถึงขั้นตอนในทางปฏิบัติของ กทช. รวมทั้งชี้ประเด็นโดยชัดเจนทั้งกฎหมาย ประกาศ และระเบียบที่เกี่ยวข้องที่รองรับอำนาจ กทช.เพื่อหักล้างข้อโต้แย้งของ บมจ.ทีโอที
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อสังเกตของที่ประชุมในการจัดทำเอกสารรวบรวมข้อมูลความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของ กทช.ที่ได้ให้ไว้ในกรณีต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและอ้างอิง สามารถใช้ประกอบการชี้แจงในเรื่องนั้นๆได้อย่างถูกต้อง
หมายเหตุ   กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.3  :  บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพิกเฉยไม่ดำเนินการจัดทำ Office Data และเปิด Translator : กม. 
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการ ดังนี้
1. มีหนังสือถึงศาลปกครอง,บมจ.ทีโอที และบจ. ทรู มูฟ เพื่อสอบถามให้ได้รับทราบข้อมูลอย่างเป็นทางการถึงความคืบหน้าในการปฏิบัติตามมาตรการเยียวยาชั่วคราว กรณี บมจ.ทีโอที เพิกเฉยไม่ดำเนินการจัดทำ Office Data และเปิด Translator ให้แก่เลขหมายโทรคมนาคมที่ บจ. ทรู มูฟ ได้รับการจัดสรรจาก กทช. ซึ่งในการดำเนินการเรื่องนี้ของ กทช.ได้มีคำวินิจฉัยกรณีบมจ.ทีโอที อุทธรณ์คำสั่ง ลทช.แล้ว เพื่อประมวลเสนอ กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
2. ให้สำนักงานฯถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไปในการนำเสนอข้อมูลประกอบการพิจารณาเรื่องใดๆ ให้มีการลำดับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และต้องมีการติดตามสถานการณ์ของเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดด้วย
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.4  :  สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้รับอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาตามประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 : กม.
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.มีหนังสือตอบ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) และ บมจ.ทีโอที ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายประจำ กทช. โดยมีสาระสำคัญสรุปได้คือ
1 ให้มีหนังสือแจ้งตอบ AIS ว่า บริษัทฯมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาตามประกาศ กทช.ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายฯ เช่นเดียวกับ บมจ.ทีโอที ทั้งนี้ เนื่องจาก บริษัทฯเป็นผู้สวมสิทธิ์ในฐานะที่ได้รับสิทธิ์ตามสัญญาจาก บมจ.ทีโอทีในการบริหารจัดการดูแลโครงข่ายซึ่งเป็นการมีโครงข่ายโดยข้อเท็จจริง แต่โดยที่การใช้โครงข่ายฯจะต้องเป็นไปตามสัญญาที่มีต่อกัน และผลของสัญญาย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิใช่อำนาจของ กทช.ที่จะเข้าไปแทรกแซงอำนาจคู่สัญญาหรืออำนาจศาลเกี่ยวกับการตีความสิทธิและหน้าที่ที่เกิดขึ้นตามสัญญา
2. ให้มีหนังสือแจ้งตอบ บมจ.ทีโอที ว่า บมจ.DTAC และ บจ.ทรูมูฟ เป็นผู้สวมสิทธิในฐานะที่ได้รับสิทธิตามสัญญาร่วมการงานในการบริหารจัดการดูแลโครงข่ายฯซึ่งจะต้องปฏิบัติตามประกาศ กทช.ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายฯ แต่หาก บมจ.ทีโอที พิจารณาเห็นว่าบริษัททั้งสองรายไม่มีสิทธิให้เชื่อมต่อโครงข่ายฯกับรายอื่นได้ ดังนั้น เมื่อคู่สัญญาไม่อาจตกลงกันได้ ย่อมเกิดข้อพิพาท ซึ่งจะต้องระงับโดยวิธีการตามที่กำหนดไว้ในสัญญาโดยทางอนุญาโตตุลาการ หรือศาลแล้วแต่กรณี แต่ไม่ใช่อยู่ในอำนาจของ กทช.ที่จะเข้าไปแทรกแซง ทั้งนี้ กทช.ในฐานะผู้ให้ใบอนุญาตก็จะต้องกำกับดูแลให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามประกาศ กทช.ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.5  :  ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ :คณะกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ
มติที่ประชุม    
1. เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ

2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ประสานงานกับคณะกรรมการฯ เพื่อปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมก่อนเสนอประธาน กทช.ลงนามเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ในประเด็นที่สำคัญๆ ได้แก่
2.1 ให้ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมในการกำหนดเรื่องการถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ไว้ในประกาศฉบับนี้ด้วย รวมทั้งให้ตรวจสอบองค์ประกอบคณะกรรมการฯซึ่งเดิมมีผู้แทนของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติร่วมเป็นคณะกรรมการฯ แต่รายชื่อองค์ประกอบในหน้า ก ขาดหายไป
2.2 เพิ่มเติมข้อความในข้อ 12 ให้ครอบคลุมดังนี้ “ ในกรณีที่หน่วยงานเพื่อความมั่นคงของรัฐที่ใช้คลื่นความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่อยู่ในตารางกำหนดคลื่นความถี่....เพื่อพิจารณาเป็นกรณีไป ”
2.3 ปรับปรุงรูปแบบ ถ้อยคำ และ Format ของร่างประกาศฯ ให้ถูกต้อง อาทิ ถ้อยคำและรูปแบบในข้อ 15 และ 16
3. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานฯ จัดทำเอกสารเผยแพร่การดำเนินงานของเรื่องนี้ซึ่งเป็นผลงานที่สำคัญของ กทช.ให้ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณะชนได้รับทราบอย่างกว้างขวางต่อไป
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.6  :  การประชุม PRF และการประชุมหารือระหว่างนักลงทุนและการหารือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับหน่วยงานกำกับดูแลในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก : กร.
มติที่ประชุม    
1. เห็นชอบการเข้าร่วมประชุม APT Regulatory – Industry Dialogue and Investment Dialogue ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการ ดังนี้
2.1 ประสาน กทช. แต่ละท่าน เพื่อสอบถามความประสงค์ในการเข้าร่วมประชุมดังกล่าวให้ชัดเจน และเตรียมการตามขั้นตอนให้เรียบร้อยต่อไป
2.2 จัดเตรียมยกร่างเอกสารโดยหารือร่วมกับ กทช.เหรียญชัยฯ ในการนำเสนอต่อที่ประชุมฯ ภายใต้หัวข้อการหารือใน Session 2 และ3 เกี่ยวกับบทบาทและนโยบายของ Regulator ในการส่งเสริมการลงทุน และตอบสนองความต้องการของนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.7  :  การขออนุญาตขยายเวลาการใช้ความถี่วิทยุ ของกรมการปกครอง : ฉก.
     เนื่องจากมีจำนวนเรื่องเสนอ กทช.พิจารณาค่อนข้างมาก การหยิบยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาจึงเป็นไปตามความเหมาะสม และความจำเป็นเร่งด่วนก่อน สำหรับเรื่องนี้ จะได้มีการบรรจุเป็นวาระเพื่อเสนอ กทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่งในการประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.8  :  การตรวจพิจารณาหลักเกณฑ์การคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม : ชบ.
     
เนื่องจากมีจำนวนเรื่องเสนอ กทช.พิจารณาค่อนข้างมาก การหยิบยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาจึงเป็นไปตามความเหมาะสม และความจำเป็นเร่งด่วนก่อน สำหรับเรื่องนี้ จะได้มีการบรรจุเป็นวาระเพื่อเสนอ กทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่งในการประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.9  :  การขยายระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการพิจารณาแบบและเงื่อนไขของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม : กทช.สุธรรมฯ
มติที่ประชุม  อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการพิจารณาแบบและเงื่อนไขของสัญญาให้บริการโทรคมนาคมออกไปอีก 1 เดือน เพื่อให้สามารถพิจารณาสัญญาให้บริการโทรคมนาคมที่ส่งมายังสำนักงาน กทช.ทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายน 2550 ตามที่ กทช.สุธรรม เสนอ ทั้งนี้ โดยให้ได้รับค่าตอบแทนค่าเบี้ยประชุมตามระเบียบฯ ต่อไปด้วย
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.10  :  ข้อเสนอโครงการเรื่อง“การปรับเปลี่ยนจากโครงข่ายดั้งเดิมเป็นโครงข่ายไอพี” : กทช.ประสิทธิ์ฯ
มติที่ประชุม    
1. เห็นชอบโครงการเรื่อง “การปรับเปลี่ยนจากโครงข่ายดั้งเดิมเป็นโครงข่ายไอพี” ตามข้อเสนอของคณะผู้ศึกษาวิจัยจากศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการ ดังนี้
2.1 ประสานงานกับคณะผู้ศึกษาวิจัยฯ เพื่อปรับปรุงวัตถุประสงค์และขอบเขตการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของที่ประชุม โดยเพิ่มเติมให้ครอบคลุม และครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยเพื่อสนับสนุนงานของ กทช. ในการกำหนดนโยบาย และการกำกับดูแล NGN ในอนาคตด้วย
2.2 ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบพัสดุฯ โดยรอบคอบ
2.3 พิจารณากำหนดหน่วยงานที่เหมาะสมเพื่อรับผิดชอบโครงการดังกล่าวให้ชัดเจน รวมทั้งพิจารณาแหล่งงบประมาณที่จะใช้เพื่อการนี้อย่างเหมาะสมต่อไป
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.11  :  การแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (กพท.) : กพท.
    
เนื่องจากมีจำนวนเรื่องเสนอ กทช.พิจารณาค่อนข้างมาก การหยิบยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาจึงเป็นไปตามความเหมาะสม และความจำเป็นเร่งด่วนก่อน สำหรับเรื่องนี้ จะได้มีการบรรจุเป็นวาระเพื่อเสนอ กทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่งในการประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.12  :  ร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยการอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พ.ศ.... : กพท.
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ส่งร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยการอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พ.ศ.... ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของ กทช. พิจารณาให้ความเห็นก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความรอบคอบและถูกต้อง แล้วนำเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.13  :  ร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยการติดตามประเมินผล และการจ่ายค่าตอบแทน การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พ.ศ.... : กพท.
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ส่งร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยการติดตามประเมินผล และการจ่ายค่าตอบแทน การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พ.ศ.... ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของ กทช. พิจารณาให้ความเห็นก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความรอบคอบและถูกต้อง แล้วนำเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.14  :  ร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยการให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยแก่บุคลากรโทรคมนาคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ... : กพท.
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ส่งร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยการให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยแก่บุคลากรโทรคมนาคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.... ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของ กทช. พิจารณาให้ความเห็นก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความรอบคอบและถูกต้อง แล้วนำเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 4.15  :  ร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยการรักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการจัดสรรผลประโยชน์อันเกิดจากการวิจัย : กพท.
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ส่งร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยการรักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการจัดสรรผลประโยชน์อันเกิดจากการวิจัย ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของ กทช. พิจารณาให้ความเห็นก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความรอบคอบและถูกต้อง แล้วนำเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าประชุมจึงงดออกเสียง
ระเบียบวาระที่ 5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 5.1  :  การเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แทนพระองค์ :กลุ่มภารกิจด้านวิชาการฯ 

มติที่ประชุม  รับทราบกำหนดการเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แทนพระองค์ ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.2  :  สรุปเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการใช้บริการโทรคมนาคม ตามมาตรา 45 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 : ชบ.
มติที่ประชุม  รับทราบการสรุปข้อมูลกรณีเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายของปี พ.ศ.2548, 2549 และเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2550 จำนวน 251 เรื่อง ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.3  :  รายงานผลการดำเนินการของ สกทช.(สำนักกฎหมาย) : กม.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กทช. และรายงานเรื่องที่สำนักงาน กทช. หารือหรือชี้แจงต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักกฎหมาย ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.4  :  รายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ ในรอบเดือนธันวาคม 2549 – กุมภาพันธ์ 2550 : คณะกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐ ในรอบเดือนธันวาคม 2549 – กุมภาพันธ์ 2550 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.5  :  สรุปผลการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เรื่อง ร่างหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง : พต.
มติที่ประชุม  รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เรื่อง ร่างหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2550 ณ อาคารหอประชุม ชั้น 2 สำนักงาน กทช. เพื่อนำสรุปผลการรับฟังตามเอกสารที่เสนอ เผยแพร่ผ่าน website ของ กทช. ให้สาธารณชนทราบต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5.6  :  การเข้าร่วมการประชุมกลุ่มศึกษาที่ 13 ของสำนักงานมาตรฐานโทรคมนาคมสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ : กร.
มติที่ประชุม  รับทราบการอนุมัติของสำนักงาน กทช. ให้นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน ผู้บริหารระดับต้น สำนักวิศวกรรมฯ เข้าร่วมการประชุมกลุ่มศึกษาที่ 13 เรื่อง Next Generation Network (NGN) ระหว่างวันที่ 18 – 27 เมษายน 2550 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.7  :  รายงานการหารือร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ เรื่อง ความคืบหน้าโครงการความ ร่วมมือทางวิชาการระหว่างสหภาพยุโรปและคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติด้านการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม : กทช.สุธรรมฯ
มติที่ประชุม  รับทราบผลการหารือร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ เรื่อง ความคืบหน้าโครงการความ ร่วมมือทางวิชาการระหว่างสหภาพยุโรปและคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติด้านการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2550 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ตามเอกสารที่ กทช. สุธรรมเสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.8  :  รายงานความคืบหน้าการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม : กทช.สุธรรม
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานในการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และคณะกรรมการสรรหาสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมซึ่งได้จัดให้มีการประชุมครั้งแรกขึ้นในวันอังคารที่ 27 มีนาคม 2550 ดังรายละเอียดตามเอกสารที่ กทช. สุธรรมฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.9  :  ประธาน กทช. เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองระหว่างการประชุม ITU/APT NGN Planning : กร.
มติที่ประชุม  รับทราบหนังสือจากองค์การโทรคมนาคมแห่งเอเซียและแปซิฟิก (APT) แสดงความขอบคุณประธาน กทช. และสำนักงาน กทช. ในการเป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองระหว่างการประชุม ITU/APT NGN Planning ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.10  :  การประชุม ITU Forum of the Regional Working Group on Private Sector Issues : Asia & Pacific Region “Promoting Low Cost Access to the Unconnected” : กร.
มติที่ประชุม  รับทราบการเดินทางของพนักงานสำนักงาน กทช. จำนวน 4 รายไปเข้าร่วมการประชุม ITU Forum of the Regional Working Group on Private Sector Issues : Asia & Pacific Region “Promoting Low Cost Access to the Unconnected” ในระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน 2550 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.11  :  รายงานการเข้าร่วมประชุม IEICE Oversea Section และการประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้เข้าร่วมนานาชาติ ICTIR 2007 : กทช.ประสิทธิ์
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการเข้าร่วมประชุม IEICE Oversea Section และการประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้เข้าร่วมนานาชาติ ICTIR 2007 ตามเอกสารที่กทช. ประสิทธิ์ฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่ 6  :  เรื่องอื่นๆ(ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 6.1  :  บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติม : กลุ่มภารกิจด้านบริหารเลขหมาย

มติที่ประชุม  อนุมัติกลุ่มเลขหมายโทรคมนาคมสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จะจัดสรรให้แก่ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น รายละ 150 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 300 กลุ่ม (จำนวน 3,000,000 หมายเลข) เพื่อนำไปใช้ในการให้บริการในโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ กทช.ได้มีมติอนุมัติในหลักการให้จัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมของบริษัททั้งสองรายละ 1,500,000 เลขหมายแล้วในการประชุม กทช.ครั้งที่ 12/2550 วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2550
หมายเหตุ  กทช.เศรษฐพรฯ ไปต่างประเทศ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมจึงงดออกเสียง

สร้างโดย  -   (25/3/2559 11:15:40)

Download

Page views: 42