สรุปมติที่ประชุม กทช. 40/2552

มติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 40/2552
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552 เวลา 09.30 น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1. พล เอกชูชาติ                  พรหมพระสิทธิ์        ประธานกรรมการ
2. นายเหรียญ ชัย               เรียววิไลสุข             กรรมการ
3. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์       ประพิณมงคลการ      กรรมการ
4. นายสุชาติ                      สุชาติเวชภูมิ            กรรมการ
5. ศาสตราจารย์เศรษฐพร     คูศรีพิทักษ์              กรรมการ 
6. นายสุรนันท์                    วงศ์วิทยกำจร           เลขาธิการ กทช. 
ผู้ไม่เข้าประชุม
1. รองศาสตราจารย์สุธรรม     อยู่ในธรรม             ไปต่างประเทศ
 
ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1. ระเบียบงานสารบรรณของ สำนักงาน กทช. ขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่ ขอให้ สำนักงาน กทช.ไปพิจารณาเรื่องการไหลเวียนของเอกสาร เมื่อรับเอกสารมาแล้วอย่าให้หยุดชะงัก  จะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง หากยังไม่แก้ไข ก็จะเป็นปัญหาไปเรื่อยๆ  ซึ่งท่านที่ปรึกษาประธาน กทช. ก็กำลังจัดทำระบบเอกสารอยู่ โดยผมจะขอหารือ ลทช. และ รทช. ในโอกาสต่อไป
2. ขณะนี้การจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้พนักงานสำนักงาน กทช.ในอัตรา 1 ต่อ 1 ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ปรากฎว่ามีพนักงาน และ ลูกจ้างบางคน นำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น  เล่นเกมส์ จึงขอฝาก รทช.ที่กำกับดูแลสำนักฯ ได้กรุณาตักเตือน ไม่ให้ใช้เวลาปฏิบัติงานไปเล่นเกมส์   
มติที่ประชุม              
1. รับทราบตามที่ประธานแจ้ง และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปจัดทำระเบียบการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และ ระบบการทำงาน ในลักษณะ Online ทั้งนี้ เพื่อให้การกำกับดูแลและการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ระเบียบวาระที่ 2  :  เรื่องรับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 39/2552 วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2552
มติที่ประชุม
               
1. รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 39/2552 วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รวบรวมรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมของการประกอบกิจการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยให้ตรวจสอบความถูกต้องกับข้อมูลของผู้รับใบอนุญาตและผู้ประกอบการ และนำเสนอที่ประชุมเพื่อทราบต่อไป
ระเบียบวาระที่  3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่  39/2552 วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2552 
มติที่ประชุม
 รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 39/2552 วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา   
ระเบียบวาระที่  4.8  :  (ร่าง) ประกาศ กทช. เรื่อง แผนปฏิบัติการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ประจำปี 2553 (วาระต่อเนื่อง) : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ.
มติที่ประชุม

1. อนุมัติร่างประกาศ กทช. เรื่อง แผนปฏิบัติการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ประจำปี 2553
2. อนุมัติให้ใช้ประมาณการกรอบรายได้ในกรณี Base Case เป็นหลักการคำนวณปริมาณเงินค่า USO ของผู้รับใบอนุญาต ช่วง 6 ตุลาคม 2552 – 31 ธันวาคม 2553 เพื่อกำหนดปริมาณงาน/จำนวนพื้นที่เป้าหมายของแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553
3. รับทราบการคำนวณการกำหนดราคากลาง เพื่อใช้คำนวณต้นทุนในการดำเนินการ USO ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
4. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เป็นผู้พิจารณาและมีอำนาจตัดสินใจดำเนินการในขั้นตอนที่เป็นรายละเอียด เช่น การเจรจาตกลงแบ่งภารกิจและพื้นที่เป้าหมายของผู้รับใบอนุญาตแต่ละราย ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนที่สำนักงาน กทช. จะเสนอแผน USO ของผู้รับใบอนุญาตให้ที่ประชุม กทช. พิจารณาอนุมัติ
5. อนุมัติในหลักการในประเด็นต่างๆ เพิ่มเติม ดังนี้
  • ให้ผู้รับใบอนุญาตที่เลือกทำ  USO  สามารถมอบหมาย (Outsource) ให้ผู้ประกอบการายอื่นดำเนินการจัดให้มีบริการตามข้อ 3 ของแผนปฏิบัติการ แทนผู้รับใบอนุญาตทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้ผู้รับใบอนุญาตจัดส่งข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในส่วนที่ให้ บุคคลอื่นดำเนินการแทนเสนอที่ประชุม กทช. เป็นรายกรณี ทั้งนี้ หากลักษณะงานที่มอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการแทนเป็นลักษณะการประกอบ กิจการโทรคมนาคมที่ต้องได้รับใบอนุญาต ผู้รับมอบหมายนั้นจะต้องเป็นผู้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ตามลักษณะและประเภทของบริการโทรคมนาคม และให้ผู้รับใบอนุญาตที่เลือกทำ USO และผู้ที่รับ Outsource ไปดำเนินการ ต้องรับผิดชอบต่อ กทช. ร่วมกัน
  • กรณีที่สำนักงาน กทช.ได้ติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของ Universal Service Provider สำหรับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 แล้วพบว่ามูลค่าการดำเนินงาน USO ต่ำหรือสูงกว่าวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการ ต้องนำเข้าหรือชดเชยโดยกองทุนฯ
ระเบียบวาระที่ 4.9  :  แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูง อายุ (วาระต่อเนื่อง) : สบท.
มติที่ประชุม
             
1. รับทราบข้อมูลการตรวจสอบความซ้ำซ้อนในการดำรงตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการ แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้ สูงอายุ ที่เป็นบุคคลภายนอก จำนวน 3 ท่าน (นายต่อศักดิ์  เสลานนท ผศ.ดร.สุภาวดี  อร่ามวิทย์  และ ผศ.ธนารัตน์  ชลิดาพงษ์) ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ สำหรับการเบิกค่าตอบแทนเบี้ยประชุมให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 โดยเคร่งครัด 
2. เห็นชอบการแต่งตั้งพนักงานสำนักการบริการอย่างทั่วถึง (นายวเรศ บวรสิน ผู้บริหารระดับต้น) และสำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม (นายสมศักดิ์  สิริพัฒนากุล  ผู้บริหารระดับต้น) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์โทร คมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุเพิ่มเติม ตามที่ กทช.ประสิทธิ์ฯ และ อวท. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.17  :  บริษัท ทริปเปิลทีโกลบอลเน็ท จำกัด ขอเปลี่ยนเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 102 : รทช.ประเสริฐฯ, กบ.
มติที่ประชุม
  เห็นชอบให้บริษัท ทริปเปิลทีโกลบอลเน็ท จำกัด ชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 3 หลัก สำหรับบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ หมายเลขที่ 2 ได้แก่ หมายเลข 002 ตามข้อ 99 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ในอัตรา 200,000 บาท/เลขหมาย/เดือน นับแต่วันที่ กทช. มีมติอนุมัติ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่ 4.18  :  การยืนยันการใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 1715 ของกระทรวงวัฒนธรรม (Re-assign) : รทช.ประเสริฐฯ, กบ.
มติที่ประชุม
 อนุมัติให้กระทรวงวัฒนธรรม ใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ หมายเลข 1715 ที่ได้รับจัดสรรจาก บมจ.ทีโอที (ก่อนมี กทช.) ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยให้ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษรายเดือนในอัตราร้อยละ 50 ตามข้อ 82(5) ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. จัดทำมาตรการกำกับในกรณีไม่ปรับเปลี่ยนการใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษต่อไป สำหรับการเสนอขอปรับเปลี่ยนเลขหมายเป็น 1265 นั้น ให้สำนักงาน กทช. สำรองเลขหมาย และนำเสนอ กทช. พิจารณาเมื่อครบ 2 ปีอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.19  :  (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ : รทช.ทศพรฯ, คกก.จ้างที่ปรึกษาฯ, วท.
มติที่ประชุม

1. รับทราบสรุปสาระสำคัญ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตามที่ที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (บริษัท InterConnect Communications ร่วมกับบริษัท LS Telecom และบริษัท KPMG ภูมิไชย) เสนอ
2. มอบหมายให้ที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ รับข้อคิดเห็นที่ประชุมไปแก้ไขปรับปรุง (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ โดยเพิ่มเติมข้อความที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อให้แผนแม่บทดังกล่าวมีความครบถ้วนและถูกต้อง ก่อนนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาต่อไป ดังนี้
  • ในส่วนของอารัมภบท และวัตถุประสงค์ให้เน้นเหตุผลในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ เนื่องจากบทบัญญัติตาม มาตรา 40 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมาตรา 47 มาตรา 48 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รวมทั้งในมาตรา 63 ของ พ.ร.บ.องค์จัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543 ที่กำหนดให้คณะกรรมการร่วม ซึ่งประกอบด้วย กทช. และ กสช. หรือ กสทช. ที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับใหม่ เป็นผู้จัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ แต่ในการดำเนินการครั้งนี้จะจัดทำเฉพาะในส่วนของกิจการโทรคมนาคม 
  • ให้เพิ่มข้อความให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 47 วรรคสี่ เรื่อง มาตรการป้องกันมิให้มีการควบรวม การครองสิทธิรวมสื่อ หรือการครอบงำระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเอง หรือโดยบุคคลอื่นใด และมาตรา 48 เรื่อง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการโทรคมนาคม มิได้ ฯลฯ
  • ให้เพิ่มเติมเรื่องการประสานงานข่ายความถี่ดาวเทียม (Satellite) เพื่อให้ครบถ้วน
  • ในบทที่ 4 กลยุทธ์ที่จะเร่งจัดตั้ง กสทช. ไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กทช. ขอให้ไปพิจารณาทบทวน
  • ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ จะต้องมีรายละเอียดที่เสนอให้เห็นว่าจะมีกลยุทธ์หรือมาตรการอย่างไรบ้างที่ จะบริหารงานความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะได้อย่างไร รวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวกับ Public Protection อาทิ กรณีเหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น
3. ในประเด็นร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าโดยที่รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และฉบับพุทธศักราช 2550 รวมทั้ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ได้กำหนดให้คณะกรรมการร่วม กสช. และ กทช. หรือ กสทช. ที่กำลังจะเกิดขึ้นตามกฎหมายไทย เป็นผู้จัดทำตารางกำหนดคลื่นความถี่ ดังนั้น กทช. จึงไม่มีอำนาจในการจัดทำตารางกำหนดคลื่นความถี่เองได้ จึงเห็นควรใช้ตารางกำหนดคลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคมที่กำหนดโดย ITU ไปพลางก่อน ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ระเบียบวาระที่  4.20  :  การปรับปรุงแก้ไขประกาศ กทช. เรื่องแผนความถี่วิทยุกิจการ BWA ย่านความถี่วิทยุ 2500 - 2690 MHz : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
               
1. ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้หน่วยงานที่ดำเนินโครงการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ยังคงสามารถสามารถดำเนินโครงการโดยใช้คลื่นความถี่ 2500 – 2520 MHz ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงการในอนาคตที่ กทช. อาจเห็นสมควรอนุญาตได้ในระหว่างที่การดำเนินการเกี่ยวกับการ Re-farming ยังไม่แล้วเสร็จ และยังไม่มีองค์กรอิสระซึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนั้น ที่ประชุม จึงมีมติเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุง ประกาศ  กทช. เรื่องแผนความถี่วิทยุกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่วิทยุ 2500 - 2690 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) โดยให้ยกเลิกประกาศฉบับเดิม และแก้ไขข้อความให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ให้นำร่างประกาศ กทช. เรื่องแผนความถี่วิทยุกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่วิทยุ 2500 - 2690 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) เสนอประธาน กทช. เพื่อลงนามก่อนนำลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาตามขั้นตอนต่อไป
2. ให้สำนักงาน กทช. กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุเป็นการชั่วคราว และเงื่อนไขในการอนุญาต ดังนี้
  • หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาต
    • การใช้คลื่นความถี่ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ด้านการสาธารณสุข การศึกษาและการวิจัยพัฒนา ความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่แสวงหากำไร
    • ระยะเวลาการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นการชั่วคราว กำหนดให้ไม่เกินคราวละ 1 ปี
    • หากกทช. มีการ Re-farming จะต้องหยุดดำเนินการ โดยไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ได้
    • การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Neutral Technology)
  • เงื่อนไขในการอนุญาต
    • การใช้คลื่นความถี่ต้องเป็นลักษณะโครงการความร่วมมือกับสำนักงาน กทช. เพื่อร่วมใช้คลื่นความถี่ โดยหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทาง วิชาการกับสำนักงาน กทช. ก่อนเริ่มดำเนินโครงการ
    • ข้อกำหนดทางเทคนิคต้องเป็นไปตามที่ กทช. ประกาศกำหนด และเครื่องวิทยุคมนาคมที่นำมาใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ กทช. กำหนด และต้องได้รับใบอนุญาตวิทยุคมนาคมที่เกี่ยวข้องจาก กทช.
    • กทช. สงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนคลื่นความถี่ที่อนุญาตให้ใช้ในกรณีที่มีความจำ เป็น
    • หากการใช้ความถี่วิทยุก่อให้เกิดการรบกวนกับข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาต อยู่ก่อนแล้ว ผู้ได้รับอนุญาตต้องเป็นผู้แก้ไขการรบกวน หรือระงับการใช้งานทันที
    • การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราวนี้ ไม่ถือเป็นภาระผูกพันต่อ กทช. ทั้งการจัดสรรคลื่นความถี่อื่นทดแทน และการเรียกร้องค่าเสียหายหรือเงินชดเชย อันเนื่องมาจากการไม่ต่ออายุการอนุญาต
ระเบียบวาระที่ 4.23  :  บมจ.กสท โทรคมนาคม ขอขยายระยะเวลาการดำเนินงานการจัดให้มีบริการ โทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ.
มติที่ประชุม
 ที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดของข้อเท็จจริงและเหตุผลประกอบในการขอขยาย ระยะเวลาการดำเนินงานการจัดให้มีบริการ โทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ตามข้อ 2.1, 2.2, 2.4 และ 2.5 ของประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและเพื่อ สังคม เห็นว่า บมจ.กสท โทรคมนาคม มิได้จงใจให้เกิดความล่าช้าหรือละเลยไม่ใส่ใจในการเร่งรัดดำเนินการตามภาระ หน้าที่ แต่เนื่องจากปัญหาความล่าช้าในกระบวนการขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุผ่านดาว เทียม และปัญหาความล่าช้าในส่วนของการจัดให้มีโทรศัพท์สาธารณะด้วยเทคโนโลยี CDMA เป็นเหตุสุดวิสัยที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อจัดให้มีบริการ USO ให้แล้วเสร็จได้ทันตามกำหนดเวลาได้ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขยายระยะเวลาการดำเนินงานการจัดให้มีบริการ โทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
1. ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดให้มีโทรศัพท์สาธารณะออกไปอีกเป็นระยะ เวลา 2 เดือน จากวันที่ 5 ตุลาคม 2552 เป็นวันที่ 4 ธันวาคม 2552 เนื่องจากมีความจำเป็นต้องรอการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 4,066 เลขหมาย
2. ให้ขยายระยะเวลาการจัดให้มีโทรศัพท์สาธารณะ และโทรศัพท์ประจำที่ จำนวน 143 จุด หรือ 286 เลขหมาย ที่ใช้เทคโนโลยีสื่อสารผ่านดาวเทียมออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่ผ่านดาวเทียม เนื่องจากรอการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ความถี่ผ่านดาวเทียมจาก กทช.
ระเบียบวาระที่ 4.26  :  แต่งตั้งกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมแทนตำแหน่งที่ลา ออก : สบท.
มติที่ประชุม
  เห็น ชอบการแต่งตั้ง ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง นักวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมแทน ดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ กรรมการที่ลาออก ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1  :  รายงานผลการประชุม ณ ประเทศออสเตรเลีย : กทช.เหรียญชัยฯ
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการประชุมประสานงาน โครงการเครือข่ายวิชาการกับองค์กรกำกับดูแลต่างประเทศ การประชุมและศึกษาดูงานเรื่องการบริหารจัดการคลื่นความถี่ และการกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้คลื่นความถี่ (Spectrum Management and Spectrum Pricing) และการบริการอย่างทั่วถึง (USO) ของ กทช.เหรียญชัยฯ และคณะ ระหว่างวันที่ 7 – 16 สิงหาคม 2552 ณ ประเทศออสเตรเลีย ตามเอกสารที่ กทช.เหรียญชัยฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.2  :  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ (รายการส่งเสริม การขายระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม 2552 ถึง 6 พฤศจิกายน 2552) : รทช.พิทยาพลฯ, ศฐ.
มติที่ประชุม
 รับทราบการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ประกอบการ (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม 2552 ถึง 6 พฤศจิกายน 2552) จำนวน 4 ราย ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส  บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น  บจ.ทรูมูฟ และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.3  :  รายงานความก้าวหน้าและสถานะการดำเนินคดีปกครองที่ กทช., สำนักงาน กทช., ลทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานสำนักงาน กทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครองประจำเดือนตุลาคม 2552 : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานความก้าวหน้าและสถานะการดำเนินคดีปกครองที่ กทช., สำนักงาน กทช., ลทช., คณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานสำนักงาน กทช., ถูกฟ้องต่อศาลปกครองประจำเดือนตุลาคม 2552 จำนวน 21 คดี ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่ 5.4  :  รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2552 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 3/2550 : สชท.
มติที่ประชุม
  รับทราบความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2552 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทประจำข้อพิพาทที่ 3/2550 ระหว่าง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ซึ่งดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 67 ตามที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.5  :  รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2552 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 5/2551 : สชท.
มติที่ประชุม
  รับทราบความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2552 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทประจำข้อพิพาทที่ 5/2551 ระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม  และ บมจ.ทีโอที ซึ่งดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 67 ตามที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.6  :  รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2552 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 6/2551  : สชท.
มติที่ประชุม
  รับทราบ ความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2552 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทประจำข้อพิพาทที่ 6/2551 ระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส ซึ่งดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 67 ตามที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.7  :  รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม ๒๕๕๒  ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 1/2552 : สชท.
มติที่ประชุม
  รับทราบความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนตุลาคม 2552 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทประจำข้อพิพาทที่ 1/2552 ระหว่าง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ ๖๗ ตามที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.8  :  รายงานผลการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
 รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่ กทช. ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือมอบหมายให้ ลทช. ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ประจำเดือนกันยายน 2552 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  6  :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง ประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
  อนุมัติให้ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง ประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือนแบบ Non Facilities Based MVNO – Thin MVNO ซึ่งอยู่ภายใต้ใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง  โดยกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตดังนี้
1. ผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องซื้อบริการสำเร็จรูป (เลขหมาย และ Airtime) จากผู้ให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อนำมาให้บริการต่อในนามของตนเอง โดยผู้ให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นผู้จัดทำ SIM Card ให้กับผู้บริการขายต่อบริการ
2. ผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องมีฐานข้อมูล (Database) เพื่อจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขหมายโทรคมนาคม ในการใช้บริการ
3. ผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องมี/ หรือเช่าใช้ระบบ รับชำระค่าบริการ (Billing) เพื่อรองรับการจัดทำใบแจ้งหนี้ให้กับผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ จะต้องมีรายงานการตรวจสอบ Audit จากผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาต
4. ผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Engagement) ใดๆ ในการบริหารจัดการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
5. ผู้ให้บริการขายส่งบริการ และบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ไม่ใช่ผู้ให้บริการต้นน้ำ ซึ่งมีโครงข่ายเป็นของตนเอง จะต้องรับผิดชอบในคุณภาพของบริการไม่ต่างจากผู้ให้บริการต้นน้ำเช่นกัน
6. ผู้ให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องจัดทำข้อเสนอแบบ Non Discrimination สำหรับการให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Wholesale)
7. ผู้ให้บริการขายส่ง บริการ และบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องไม่ให้บริการ media ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และห้ามนำไปให้บริการ Media & Entertainment หรือในลักษณะ Broadcast
8. กรณีเพิ่มเติมอุปกรณ์ในการให้บริการให้แจ้งคณะกรรมการเพื่อทราบ และพิจารณา
9. ผู้ให้บริการขายส่งบริการ และบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องรายงานผลการดำเนินการให้คณะ กรรมการทราบทุก 6 เดือน
10. ผู้ให้บริการขายส่งบริการ และบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องจัดทำ Account Separation
11. ให้แจ้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณี MVNO ที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) คาดว่าจะดำเนินการนั้น หากมีมูลค่าเกินหนึ่งพันล้านบาท และร่วมดำเนินการกับหน่วยงานรัฐ จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
ระเบียบวาระที่  6.2  :  บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง ประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ : รทช.ประเสริฐ ฯ , ปก.
มติที่ประชุม
 อนุมัติให้ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง ประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือนแบบ Non Facilities Based MVNO – Medium MVNO ซึ่งอยู่ภายใต้ใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง โดยกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตดังนี้
1. ผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องซื้อบริการสำเร็จรูป (เลขหมาย และ Airtime) จากผู้ให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อนำมาให้บริการต่อในนามของตนเอง โดยผู้ให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นผู้จัดทำ SIM Card ให้กับผู้บริการขายต่อบริการ
2. ผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องมีฐานข้อมูล (Database) เพื่อจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขหมายโทรคมนาคม ในการใช้บริการ
3. ผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องมี หรือเช่าใช้ระบบรับชำระค่าบริการ (Billing) เพื่อรองรับการจัดทำใบแจ้งหนี้ให้กับผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ จะต้องมีรายงานการตรวจสอบ Audit จากผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาต
4. ผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Engagement) ใดๆ ในการบริหารจัดการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
5. ผู้ให้บริการขายส่งบริการ และบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ไม่ใช่ผู้ให้บริการต้นน้ำ ซึ่งมีโครงข่ายเป็นของตนเอง จะต้องรับผิดชอบในคุณภาพของบริการไม่ต่างจากผู้ให้บริการต้นน้ำเช่นกัน
6. ผู้ให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องจัดทำข้อเสนอแบบ Non Discrimination สำหรับการให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Wholesale)
7. ผู้ให้บริการขายส่งบริการ และบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องไม่ให้บริการ media ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และห้ามนำไปให้บริการ Media & Entertainment หรือในลักษณะ Broadcast
8. กรณีเพิ่มเติมอุปกรณ์ในการให้บริการให้แจ้งคณะกรรมการเพื่อทราบ และพิจารณา
9. ผู้ให้บริการขายส่งบริการ และบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องรายงานผลการดำเนินการให้คณะ กรรมการทราบทุก 6 เดือน
10.  ผู้ให้บริการขายส่งบริการ และบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องจัดทำ Account Separation
11.  ให้แจ้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณี MVNO ที่บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด คาดว่าจะดำเนินการนั้น หากมีมูลค่าเกินหนึ่งพันล้านบาท และร่วมดำเนินการกับหน่วยงานรัฐ จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
ระเบียบวาระที่  6.3  :  บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด ขออนุญาตให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแบบถาวร และเพิ่มจุดเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
  อนุมัติให้ บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สามสำหรับการบริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแบบถาวร เพียงใบเดียว โดยกำหนดระยะเวลาการอนุญาต 15 ปี และเพิ่มจุดเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1. ให้บริการ IPLC ทางภาคพื้นดิน (Land Cable) ตามที่เคยได้รับอนุญาตให้ ทดลอง/ทดสอบ ให้บริการ จำนวน 2 จุด ได้แก่
  • จุดเชื่อมต่อด่านปาดังเบซาร์ ตำบลปาดังเบซาร์  อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา
  • จุดเชื่อมต่อด่านจังโหลน ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 
2. อนุมัติให้บริษัทฯ เพิ่มจุดเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เพื่อบริการโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ จำนวน 3 จุด ได้แก่
  • จุดเชื่อมต่อด่านชายแดนมิตรภาพไทย-ลาว จังหวัดหนองคาย
  • จุดเชื่อมต่อด่านช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • จุดเชื่อมต่อด่านตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 
     ทั้งนี้ โดยให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้บริษัทฯ ดำเนินการตามประกาศ/กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี เท่าเทียม และเป็นธรรม ทั้งที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (อาทิ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีอำนาจเหนือตลาด (SMP) การกำหนดนิยามตลาด (Market Definition) การร่วมใช้โครงข่าย (Infrastructure Sharing) Essential Facility การแบ่งแยกข้อมูลทางบัญชี การควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น ตลอดถึงกฎเกณฑ์ที่ กทช. จะประกาศกำหนดต่อไปในอนาคต สำหรับค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศ กทช. ที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวาระที่ 6.4  :  การขอรับใบอนุญาตบริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) ของบริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
 อนุมัติให้ บริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม เพียงใบเดียว โดยมีระยะเวลา 15 ปี สำหรับการให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) ภาคพื้นดิน เส้นทางกรุงเทพมหานครฯ ถึงจุดเชื่อมต่อที่ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จ.สงขลา ตามที่เคยได้รับอนุญาตให้ทดลอง/ทดสอบ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้บริษัทฯ ดำเนินการตามประกาศ/กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่าง เสรี  เท่าเทียม และเป็นธรรม ทั้งที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (อาทิ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีอำนาจเหนือตลาด (SMP) การกำหนดนิยามตลาด (Market Definition) การร่วมใช้โครงข่าย (Infrastructure Sharing) Essential Facility  การแบ่งแยกข้อมูลทางบัญชี การควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม  เป็นต้น  ตลอดถึงกฎเกณฑ์ที่  กทช. จะประกาศกำหนดต่อไปในอนาคต สำหรับค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศ กทช. ที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวาระที่ 6.5  :  การสรรหาเลขาธิการ กทช. : กทช.ประสิทธิ์ฯ, กจ.
มติที่ประชุม
  รับทราบข้อเสนอการสรรหาเลขาธิการ กทช. ตามที่ กทช.ประสิทธิ์ฯ เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. นำเรื่องดังกล่าวเสนอที่ประชุม กทช. (เฉพาะ) พิจารณาในครั้งต่อไป
หมายเหตุ  การประชุม กทช. (เฉพาะ)
ระเบียบวาระที่ 6.6  :  การอนุญาตให้วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จัดการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุคมนาคมประเภทจำกัดเขต เดินเรือทะเล และประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุคมนาคมประเภททั่วไปประจำเรือ ตามหลักเกณฑ์และหลักสูตรการอบรมและสอบที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กำหนด : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม
  อนุมัติให้วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จัดการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุคมนาคมประเภทจำกัดเขต เดินเรือทะเล (Restricted Operator’s Certificate : ROC) และประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุคมนาคมประเภททั่วไปประจำเรือ (General  Operator’s Certificate : GOC)  ให้กับนักเรียน นักศึกษา และ  ผู้ที่มีความสนใจทั่วไป ตามหลักเกณฑ์และหลักสูตรการอบรมและสอบที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กำหนด ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 6.7  :  บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ขอเพิ่ม ขอบเขตการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกลุ่ม (Trunked Radio) ระบบ Analog/ Digital : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม

1. อนุมัติ การเพิ่มพื้นที่ให้บริการเพิ่มเติมตามที่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ยื่นขอ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ได้แก่
  • สนามบินทั่วประเทศ (จำนวน 27 แห่ง)
  • พื้นที่ผลิต เก็บ และขนส่งเชื้อเพลิง
     ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุ คมนาคม สำหรับผู้ใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคมที่ต้องดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ การผลิต จัดเก็บ ดูแลรักษาระบบ และขนส่งเชื้อเพลิง ของ บมจ.ปตท. และบริษัทในเครือ ให้สามารถขอรับใบอนุญาตได้
2. อนุมัติให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ขยายขอบเขตการให้บริการข่ายสื่อสารระบบ Trunked Radio ตามคำขอภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองที่ได้รับอนุญาตไปแล้ว รวมทั้งการจัดหาเครื่องวิทยุคมนาคมในการให้บริการตามรายละเอียดที่ได้ผ่าน การพิจารณาของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้ว
3. เห็น ชอบให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการอนุญาตประกอบกิจการ ให้สอดคล้องกับมติที่ประชุม กทช. ตามข้อ 1 และ 2

สร้างโดย  -   (31/1/2559 14:25:58)

Download

Page views: 106