สรุปมติที่ประชุม กทช. 43/2552

มติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 43/2552
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2552 เวลา 09.30 น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชา
ติ
 
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1. พล เอกชูชาติ  พรหมพระสิทธิ์                    ประธานกรรมการ
2. นายเหรียญชัย  เรียววิไลสุข                       กรรมการ
๓. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์  ประพิณมงคลการ       กรรมการ
๔. นายสุชาติ  สุชาติเวชภูมิ                            กรรมการ
๕. ศาสตราจารย์ เศรษฐพร  คูศรีพิทักษ์            กรรมการ
๖. รองศาสตราจารย์สุธรรม  อยู่ในธรรม             กรรมการ
๗. นายฐากร  ตัณฑสิทธิ์                                รองเลขาธิการ  รักษาการในตำแหน่ง ลทช.
 
ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 
มีความเป็นห่วงเรื่องงบประมาณ  เพราะขณะนี้ใกล้จะสิ้นปี 2552 และวันที่ 1 มกราคม 2552 จะต้องใช้งบประมาณใหม่ จึงขอให้สำนักงาน กทช.เร่งนำเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ให้ที่ประชุม กทช.พิจารณา โดยด่วน   
มติที่ประชุม
 รับทราบ เรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่ 2  :  เรื่องรับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 42/2552 วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2552
มติที่ประชุม  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 42/2552 วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2552 ตามที่ สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 42/2552 วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2552  
มติที่ประชุม
             
1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 42/2552  วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 25522 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการต่อไป ดังนี้
2.1  ในการรายงานผลการดำเนินงานตามมติในแต่ละเรื่อง นั้น ขอให้ระบุข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า มีประกาศ/ระเบียบ กทช. ใดบ้างที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
2.2  ขอให้คณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม รับไปพิจารณาหาแนวทาง/มาตรการที่เหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อรองรับการจัดสรรเลข หมายพิเศษ 4 หลัก ซึ่งในระยะข้างหน้าอาจไม่เพียงพอ รวมถึงพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับแผนเลขหมายโทรคมนาคมด้วยแล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา   
ระเบียบวาระที่ 4.2 :  การไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีการกำหนดราคาขายบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่เป็นธรรม : คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง, กท.
มติที่ประชุม
           
1. เห็นชอบให้คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงไปดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปตามที่เสนอ ดังนี้
1.1  ให้ยกคำร้องของบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) ตามคำร้องข้อกล่าวหาที่ 3 (พฤติกรรมต้องห้ามตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่ เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 9 (12) เนื่องจากไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสมรู้ร่วมคิดกัน   
1.2  ดำเนินการไต่สวนเพิ่มเติมตามคำร้องข้อกล่าวหาที่ 1 (ประกาศฯ ข้อ 3)
1.3  ดำเนินการไต่สวนเพิ่มเติมตามคำร้องข้อกล่าวหาที่ 2 (ประกาศฯ ข้อ 7) 
1.4   ดำเนินการไต่สวนเพิ่มเติมตามคำร้องข้อกล่าวหาที่ 3 (ประกาศฯ ข้อ 9 (1) และ (5))
1.5  ดำเนินการไต่สวนในประเด็นคำร้องตามข้อ 9 (3) และ (7) ตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันฯ ทั้งนี้ โดยให้ไต่สวนบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ฯ ร่วมกับผู้ถูกร้องทั้งสอง ได้แก่บริษัท ทีทีแอนด์ทีฯ และ บริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ 
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รัข้อสังเกตของที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเรื่องนี้ให้ รอบคอบ และถูกต้องมากยิ่งขึ้นต่อไป เช่น ควรตรวจสอบในรายละเอียดถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท ทีทีแอนด์ทีฯ และบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ฯ ว่าเป็นบริษัทเดียวกันหรือไม่ และควรตรวจสอบข้อมูลทางเทคนิคให้ชัดเจนด้วยว่ากรณีการให้บริการ ADSL นั้น จะต้องมีโครงข่ายจึงจะให้บริการได้ เป็นต้น
ระเบียบวาระที่ 4.3  :  บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ให้ออกหนังสือยืนยันว่าเป็นผู้มีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดียวกับ ผู้รับใบอนุญาตกรณีสิทธิแห่งทาง : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า สิทธิที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน  และการอนุมัติของ กทช.ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมการงานดังกล่าว ดังนั้น จึงมีมติให้สำนักงาน กทช.มีหนังสือแจ้ง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ทราบก่อนดำเนินการ และต้องแจ้งให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม/บมจ.ทีโอที ซึ่งมีสิทธิหน้าที่หลักเห็นชอบหรือ Endorse สิทธิให้แก่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ก่อนส่งเรื่องให้ กทช.ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.4  :  การใช้มาตรการทางกฎหมายกับบริษัท เวิลด์ สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด : รทช.พิทยาพลฯ , กม. 
มติที่ประชุม

1. ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การใช้มาตรการทางกฎหมายในการบริหารจัดการหนี้ค่าตอบแทนฯ และค่าตอบแทนฯ เพิ่ม ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ มีผลบังคับแล้ว และหลังจากมีการจัดตั้งสำนักงาน กทช. โดยเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้คลื่นความถี่ในกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กทช. การใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อออกคำสั่งทางปกครองให้บริษัทฯ ชำระค่าตอบแทนฯ ตามแนวคำพิพากษาปกครองสูงสุด จึงไม่ได้อยู่ในอำนาจของ ลทช. หรือ สำนักงาน กทช. ประกอบกับ สำนักงาน กทช. ไม่ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าตอบแทนฯ และค่าตอบแทนฯ เพิ่มภายหลังจากมีการจัดตั้ง สำนักงาน กทช. ขึ้น ดังนั้น สำนักงาน กทช. จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บริษัทฯ ชำระค่าตอบแทนฯ และค่าตอบแทนฯ เพิ่ม ตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ได้แต่อย่างใด สำหรับกรณีหนี้ค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นก่อนมี กทช. โดยสำนักงาน กทช.ได้รับโอนมาตามกฎหมาย นั้น กทช. มีอำนาจในการติดตามและบังคับชำระหนี้ได้ตามแนวคำพิพากษาปกครองสูงสุดต่อไป
2. ในกรณีการพักใช้เพิกถอนหรือยกเลิกการอนุญาตให้ใช้การอนุญาตให้ใช้ความถี่ วิทยุของบริษัท เวิลด์ สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด และกรณีการโอนคลื่นความถี่ให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช้ผู้รับอนุญาตเข้าใช้แทน นั้น ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากความถี่ที่บริษัท เวิลด์ สตาร์ฯ ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง จึงเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของ กทช. ดังนั้น ที่ประชุมมีมติให้นำส่งเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการวิทยุ กระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.5  :  รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีร้องเรียนการปฏิบัติโดยมิชอบของสมาคมนัก วิทยุสมัครเล่นจังหวัดสมุทรปราการ : รทช.ประเสริฐฯ ,ฉก.
มติที่ประชุม

1. รับทราบรายงานผลการสอบข้อเท็จจริง กรณีร้องเรียนการปฏิบัติโดยมิชอบของสมาคมนักวิทยุสมัครเล่นจังหวัด สมุทรปราการ ในการดำเนินการจัดอบรม และสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ซึ่งสรุปผลได้ว่าไม่ปรากฎพยานหลักฐานที่น่าเชื่อได้ว่าสมาคมฯได้กระทำการโดย มิชอบตามข้อร้องเรียน
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ให้ละเอียดรอบคอบมากยิ่งขึ้นต่อไป ตามแนวทางที่เสนอ โดยในการกำกับดูแลการอบรมและสอบในครั้งต่อๆไป จะต้องเป็นไปอย่างเข้มงวด มิให้เกิดปัญหาใดๆขึ้นได้อีก รวมทั้งกำชับให้สมาคมวิทยุสมัครเล่นต่างๆที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจัด อบรมและสอบต้องปฏิบัติตามระเบียบโดยเคร่งครัด 
3.  อนึ่ง กทช.สุธรรมฯ มีความเห็นยืนยันตามบันทึกความเห็นที่ 404/2552 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 ที่ได้แนบไว้เป็นส่วนหนึ่งของวาระการประชุมแล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ได้รับทราบโดยหากไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใด นอกเหนือไปกว่านี้ สรุปได้ว่า “การกระทำของสมาคมนักวิทยุสมัครเล่นจังหวัดสมุทรปราการเช่นนี้ถือเป็นการขัด กันทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) อย่างชัดแจ้ง และไม่พึงกระทำเข้าข่ายการให้ผลประโยชน์ต่างตอบแทน การปล่อยให้กระทำเช่นนี้ จึงเป็นการสนับสนุนให้เกิดการหาประโยชน์อันมิชอบจากการจัดอบรม และสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของกิจการวิทยุสมัครเล่น  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม”
ระเบียบวาระที่ 4.7  :  การครบวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารงานสถาบัน วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (กพท.) : สพท.
มติที่ประชุม
 โดยที่พิจารณาเห็นว่า ณ ปัจจุบัน ยังคงมีช่วงเวลาอีกระยะหนึ่งก่อนที่คณะกรรมการบริหารงานสถาบันวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 16 มกราคม 2553 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเรื่องนี้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้น ประกอบกับขณะนี้เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน ในชั้นแรกนี้ ที่ประชุมจึงมีมติรับหลักการข้อเสนอการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานสถาบัน วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม แทนกรรมการชุดเดิมที่จะครบวาระในวันที่ 16 มกราคม 2553 ซึ่งเป็นไปตามข้อ 5 แห่งระเบียบ กทช. ว่าด้วยการบริหารงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม พ.ศ. 2549  ตามที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ โดยให้สถาบัน TRIDI นำเสนอเรื่องนี้ให้ที่ประชุม กทช.พิจารณาในช่วงเวลาที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.8  :  การขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่ง ของบริษัท ทีที แอนด์ ที จำกัด (มหาชน) : รทช.ประเสริฐฯ ,ปก.
มติที่ประชุม
  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจาก บริษัท ทีที แอนด์ ที จำกัด (มหาชน) ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ 7.3 ของประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยบริษัทฯ ต้องมีการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย ดังนั้น เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน และถูกต้องต่อกรณีผู้ประกอบกิจการที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เช่น กรมบังคับคดี/ศาลล้มละลายกลาง และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น แล้วประมวลผลเสนอที่ประชุมต่อไปโดยเร็ว
ระเบียบวาระที่ 4.11  :  การแจ้งสิทธิประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ภายใต้มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์  พ.ศ. 2551 : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม
             
1. รับทราบการกำหนดรายชื่อเพิ่มเติมให้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับสิทธิในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ทั้งนี้  โดยให้กำหนดเงื่อนไขในส่วนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีไว้ด้วยว่า “การมีสิทธิประกอบกิจการตามมาตรา 74 จะไม่กระทบต่อสิทธิในการได้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 89.50 เมกะเฮิรตซ์ ในเขตกรุงเทพฯตามที่ได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข” ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เสนอ แล้วนำเสนอประธาน กทช.เพื่อลงนามหนังสือแจ้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพื่อทราบต่อไป
2. มอบหมายให้คณะอนุกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงฯ มีหนังสือแจ้งเวียนหน่วยงานที่ได้รับสิทธิประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ. 2551 ให้รับทราบการประกาศเพิ่มเติมรายชื่อหน่วยงานทั้งสองดังกล่าวที่มีสิทธิ ประกอบกิจการกระจายเสียงฯตามมาตรา 74 ตามมติที่ประชุมข้อ 1 ด้วย รวมทั้งให้เน้นย้ำโดยชัดแจ้งอีกครั้งหนึ่งด้วยว่า สิทธิการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ดังกล่าว ได้รับตามมาตรา 74 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 นั้น เป็นสิทธิตามกฎหมายที่มีอยู่เดิม ดังนั้น ในเรื่องนี้ กทช.จึงมิอาจดำเนินการใดๆ เกินกว่าขอบเขตตามที่กฎหมายกำหนดได้
ระเบียบวาระที่ 4.12 :  การพิจารณาแนวทาง กระบวนการ ขั้นตอน และแบบขึ้นทะเบียนช่องรายการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม
  เห็นชอบแนวทางกระบวนการ การพิจารณาความเหมาะสมในการรับขึ้นทะเบียนช่องรายการ ขั้นตอนระยะเวลาในการยื่นขอขึ้นทะเบียนช่องรายการ และแบบฟอร์มในการขึ้นทะเบียนช่องรายการ รวมทั้งเอกสารประกอบการขอขึ้นทะเบียนช่องรายการ และค่าธรรมเนียมหรือค่าพิจารณาในการขอขึ้นทะเบียนช่องรายการ ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอ โดยให้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ชัดเจน และเหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนี้
1.  แบบความประสงค์ขึ้นทะเบียนช่องรายการ ส่วนที่ 2 ข้อ 2.4 นั้น ให้ปรับแบบการกรอกข้อมูลให้ชัดเจนขึ้น โดยแยกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
  • กลุ่มภายนอกประเทศไทย ซึ่งอาจแยกย่อยเป็น ในระดับโลก ระดับภูมิภาคโลก และระดับประเทศ เป็นต้น
  • กลุ่มภายในประเทศไทย ซึ่งอาจแยกย่อยเป็น กลุ่มจังหวัด จังหวัด อำเภอ และตำบล เป็นต้น
2.  ให้แก้ไขข้อความในหัวข้อ 3.1 วิธีการพิจารณาความเหมาะสมในการรับขึ้นทะเบียนช่องรายการ  ดังนี้
  • ระบุให้ชัดเจนในข้อ 3.1.1) ว่า คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการขอขึ้นทะเบียนช่องรายการ
  • ระบุระยะเวลาในการพิจารณาในข้อ 3.1.2) ให้ชัดเจนว่าภายใน 45 วัน
  • ระบุให้ชัดเจนในข้อ 3.1.3)ว่าคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ เป็นผู้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการขึ้นทะเบียนช่องรายการ  
     อนึ่ง เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ประกอบกับ กทช. ที่ได้รับคัดเลือกใหม่จำนวน 4 คน นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกิจการกระจายเสียงเป็นอย่าง ดี ดังนั้น เพื่อความรอบคอบจึงเห็นควรให้คณะอนุกรรมการฯ นำเรื่องนี้เสนอ กทช.ชุดใหม่เพื่อพิจารณายืนยัน (Ratify) อีกครั้งหนึ่งด้วย ซึ่งอาจมีประเด็นความเห็นเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงได้
ระเบียบวาระที่ 4.13  :  แนวทางดำเนินการออกใบอนุญาตสำหรับเครือข่ายวิทยุมูลนิธิเสียงธรรม เพื่อประชาชน  :  คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม
             
1. โดยที่เครือข่ายวิทยุมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน (จำนวน 117 สถานี) เป็นผู้ดำเนินการในลักษณะการให้บริการวิทยุกระจายเสียงชุมชนอยู่ก่อนวันที่ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) มีผลใช้บังคับ (25 กรกฎาคม 2552) ประกอบกับเมื่อพิจารณาจากเอกสาร และข้อมูลต่างๆของมูลนิธิซึ่งได้ยื่นมาในวันที่ 11 สิงหาคม 2552 เป็นไปโดยครบถ้วน และอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาที่ประกาศ กทช.กำหนดไว้ ตามข้อ 18 ของประกาศที่กำหนดให้แจ้งความประสงค์ต่อคณะกรรมการภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ ดังนั้น ถือได้ว่ามูลนิธิฯ ได้แสดงเจตนาในการแจ้งแสดงความประสงค์ตามบทเฉพาะกาลไว้แล้ว เครือข่ายวิทยุมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน  จึงเป็นผู้มีสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว ตามข้อ 18 วรรคสองแห่งประกาศ  กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2552 เป็นต้นไป
     อนึ่ง เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ประกอบกับ กทช. ที่ได้รับคัดเลือกใหม่จำนวน 4 คน นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกิจการกระจายเสียงเป็นอย่าง ดี ดังนั้น เพื่อความรอบคอบจึงเห็นควรให้คณะอนุกรรมการฯ นำเรื่องนี้เสนอ กทช.ชุดใหม่เพื่อพิจารณายืนยัน (Ratify) อีกครั้งหนึ่งด้วย ซึ่งอาจมีประเด็นความเห็นเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงได้
2.  สำหรับการพิจารณาแนวทางการออกใบอนุญาตให้แก่มูลนิธิเสียงธรรม นั้น ที่ประชุมเห็นว่า เนื่องจากเรื่องศาสนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง และเกิดความรอบคอบมากที่สุด จึงเห็นควรให้คณะอนุกรรมการฯ รับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปตามแนวทาง ดังนี้
  • เนื่องจากกิจการวิทยุชุมชน นั้น โดยเจตนารมย์แล้ว ย่อมหมายถึงการสื่อสารเฉพาะกลุ่มคนแยกตามพื้นที่หรือที่ตั้งของแต่ละชุมชน เป็นสำคัญ (Area-based Community) ดังนั้น กรณีของการกำหนดนิยาม/ขอบเขตในเชิงประเด็น (Issue-based Community) จึงจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมทางเทคนิคให้ชัดเจนก่อนด้วยว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินการต่อไปได้อย่างถูกต้อง
  • ในการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพิจารณาออกหลักเกณฑ์ สำหรับการประกอบกิจการวิทยุชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะด้านศาสนา นั้น ให้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง โดยเชิญทุกภาคส่วน/ทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
  • ให้มีการศึกษาวิจัย (Study/Research Paper) รูปแบบ และแนวทางการบริหารจัดการ และการกำกับดูแลวิทยุชุมชนที่เหมาะสมสำหรับการประกอบกิจการวิทยุชุมชนที่มี ลักษณะเฉพาะด้านในเชิงประเด็น (Issue-based Community) โดยเฉพาะในกรณีเรื่องศาสนาซึ่งมีความแตกต่างไปจากกิจการวิทยุชุมชนโดยทั่วไป ให้ชัดเจน รวมถึงการวิเคราะห์ นโยบายภาครัฐเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีขึ้นระหว่างชุมชน/กลุ่มต่างๆ และข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการคลื่นความถี่ รวมถึงมาตรฐานทางเทคนิคเกี่ยวกับวิทยุชุมชน ทั้งนี้ โดยให้สำนักงาน กทช.รับไปพิจารณาดำเนินการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2553 เพื่อรองรับอย่างเพียงพอ และเป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
หมายเหตุ  กทช.สุธรรม ฯ งดออกเสียง เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า กทช.ทำหน้าที่ Regulator ดังนั้น การกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยเคร่งครัด  (Law Abiding System)            
ระเบียบวาระที่ 4.18 : กรอบหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม
 เห็นชอบในหลักการ กรอบแนวทางดำเนินการการจัดฝึกอบรมผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน ในวงเงินงบประมาณ 50 ล้านบาท ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอ ทั้งนี้ โดยให้คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของที่ประชุมเพื่อปรับปรุงแนวทางดำเนินการในเรื่อง นี้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และนำเข้าสู่กระบวนการและขั้นตอนการจัดทำรายละเอียด เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2553 อย่างเพียงพอตามระเบียบต่อไป ดังนี้
1. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบการกำหนดหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานกลาง (Standardize) สำหรับการฝึกอบรมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งกำกับดูแลและติดตามประเมินผลด้วย 
2. ควรพิจารณาจัดให้มีหลักสูตรการอบรมแก่ผู้อบรม (Training for Trainer)เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการสำคัญที่ตรงกัน ก่อนที่จะเปิดการอบรมให้แก่ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน
3. ควรพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตร โดยจัดแบ่งเนื้อหาเป็นกลุ่มให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบทบาทวิทยุชุมชน  
กลุ่มที่ 2 ความรู้ด้านกฎหมาย และจริยธรรม
กลุ่มที่ 3 ความรู้ด้านเทคนิค
กลุ่มที่ 4 ความรู้เรื่องการอนุญาต การประกอบกิจการ และการกำกับดูแล
4. เพิ่มเติมเนื้อหาของหลักสูตร ได้แก่ Spectrum Management Co-Regulation/ Self Regulation และหลักการกำกับดูแล รวมถึงในประเด็นบทบาทของ วิทยุชุมชนที่มีต่อชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชน ตลอดจนความรู้เรื่องการรบกวน (Interference) และการแก้ปัญหาการรบกวนในเบื้องต้นด้วย  
     อนึ่ง เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ประกอบกับ กทช. ที่ได้รับคัดเลือกใหม่จำนวน 4 คน นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกิจการกระจายเสียงเป็นอย่าง ดี ดังนั้น เพื่อความรอบคอบจึงเห็นควรให้คณะอนุกรรมการฯ นำเรื่องนี้เสนอ กทช.ชุดใหม่เพื่อพิจารณายืนยัน (Ratify) อีกครั้งหนึ่งด้วย ซึ่งอาจมีประเด็นความเห็นเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงได้
ระเบียบวาระที่ 4.20 : แนวทางในการพิจารณาสนับสนุนเงินงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม
 เนื่องจากการขอรับการสนับสนุนงบประมาณของหน่วยงานภายนอกที่ดำเนินการด้าน กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ นั้น เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นกิจกรรมที่อยู่นอกเหนือจากหน้าที่ กทช. โดยเฉพาะการจัดงาน Broadcasting & Contents Expo’ ๐๙ ประกอบกับขณะนี้ คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการ ยกร่างหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกันเอง (Self-Regulation) รวมถึงร่างหลักเกณฑ์ทั่วไปในการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่ประชุมจึงมีมติไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณตามที่ร้องขอมาได้ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มีหนังสือแจ้งมติที่ประชุมข้างต้นให้หน่วยงานภายนอกทั้งหมดดังกล่าวทราบต่อ ไป และให้นำหลักการตามมติข้างต้นใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาต่อไปกรณีหน่วยงาน ต่างๆที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในลักษณะเดียวกันนี้จนกว่าจะมีการตั้ง กสทช.หรือองค์กรใหม่ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต
ระเบียบวาระที่ 4.21  :  ร่างประกาศ กทช.เรื่อง การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเสมือน (Mobile Virtual Network Operator : MVNO) : รทช.ประเสริฐฯ , ปก.
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปตรวจสอบความถูกต้องในประเด็นสำคัญ 2 ประการให้ชัดเจนก่อน แล้วนำเสนอ กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
1. ตรวจสอบคำจำกัดความหรือ Definition ของ Mobile Virtual Network Operator : MVNO ให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งตามที่ระบุไว้ในร่างประกาศฯ ในกรณี Full MVNO ทั้งนี้ ควรตรวจสอบข้อมูลของ ITU ประกอบดูด้วยว่าได้มีการกำหนด Definition ของ MVNO ไว้หรือไม่ อย่างไร เพื่อจะได้กำหนด Definition ของ MVNO ได้อย่างถูกต้อง
2. พิจารณาให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่า การออกร่างประกาศฉบับนี้ ต้องดำเนินการตามประกาศ กทช. เรื่องการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะหรือไม่
ระเบียบวาระที่ 4.24  :  การรับสมัครบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันการใช้และ เชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมครั้งใหม่ : คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลฯ
มติที่ประชุม
               
1. รับทราบรายงานการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ตามที่ คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันการ ใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเสนอ
2.  ให้ยุติการดำเนินการสรรหาบุคคล เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม
3.  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปพิจารณา ดังนี้
  • ให้ศึกษาทบทวนโครงสร้างของ สำนักงาน กทช. และสถาบันต่างๆ (Re-Organization) โดยพิจารณาผลการศึกษาของ ดร.ชัชวลิตฯ ประกอบกับพัฒนาการของระบบการกำกับดูแล และระเบียบที่ กทช.ได้ประกาศไว้ นั้น เนื่องจากโครงสร้างเดิมได้กำหนดขึ้น 5 ปีที่แล้ว ก่อนที่จะมีการปรับกฎระเบียบดังเช่นในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดโครงสร้างเป็นไปตามมติที่ประชุม กทช. และเป็นระบบ (Systematic) โดยจัดสรรคนให้เหมาะสมกับตำแหน่ง  และกำหนดอัตราค่าตอบแทน (Reward) ให้เป็นไปอย่างมีระบบตามมติ กทช.ที่ให้จัดทำสัญญาระยะสั้นพร้อม KPI และจัดทดสอบความรู้ความสามารถเพื่อเข้าสู่ตำแหน่ง รวมถึงจัดเงินเดือนให้เหมาะสมตามผลการทดสอบ โดยแบ่งส่วนระหว่างเงินประจำตำแหน่ง และเงินเดือนพื้นฐาน แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาต่อไป
  • สำหรับการแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันการ ใช้และเชื่อม ต่อโครงข่ายโทรคมนาคมให้สำนักงานฯ จัดทำเอกสาร ข้อเสนอในประเด็นนี้เสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
หมายเหตุ  ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือได้แก่ วาระที่ 4.1, 4.2, 4.6, 4.8 – 4.10, 4.14 –  4.17, 4.19, 4.22, 4.23 และ 4.25 จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที 5.1  :  รายงานผลการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมประจำปี FRATEL ครั้งที่ 7 เรื่อง “ The  Sharing of Infrastructure and Coordination of Public Policy”  ระหว่างวันที่ 19 - 20 พฤศจิกายน 2552 ณ กรุงบรัสเซลส์  ประเทศเบลเยี่ยม : กทช.สุธรรมฯ
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการเดินทางของพนักงาน สำนักงาน กทช.ในการเข้าร่วมประชุมประจำปี FRATEL ครั้งที่ 7 เรื่อง “ The Sharing of Infrastructure   and Coordination of Public Policy”  ระหว่างวันที่ 19 - 20 พฤศจิกายน 2552 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ

สร้างโดย  -   (31/1/2559 14:22:29)

Download

Page views: 73