สรุปมติที่ประชุม กทช. 11/2553

มติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 11/2553
วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2553  เวลา 09.30 น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12  อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์              ประพิณมงคลการ                  ประธานกรรมการ
2.  นายสุชาติ                             สุชาติเวชภูมิ                         กรรมการ 
3.  รองศาสตราจารย์สุธรรม           อยู่ในธรรม                           กรรมการ
4.  นายสุรนันท์                           วงศ์วิทยกำจร                       กรรมการ
5.  พันเอกนที                             ศุกลรัตน์                             กรรมการ
6.  นายบัณฑูร                            สุภัควณิช                            กรรมการ
7.  รองศาสตราจารย์พนา              ทองมีอาคม                          กรรมการ
8.  นายพิทยาพล                        จันทนะสาโร                         รทช. รักษาการในตำแหน่ง ลทช.

ระเบียบวาระที่   1   :   เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 
 
                                   ในการประชุมภายใน (Inner) เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ( 30 เมษายน 2553)  มีการเสนอขั้นตอนการสรรหา ลทช. โดยเห็นชอบให้เชิญบริษัทชั้นนำมาเป็นผู้ช่วยในการสรรหา ลทช. ซึ่งเข้าใจว่าจะสามารถดำเนินการ ประกาศได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2553 และกระบวนการสรรหาจะเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนมิถุนายน 2553
 
มติที่ประชุม               รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ระเบียบวาระที่   2      :  รับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่   2.1   :  รับรองรายงานการประชุม กทช.  ครั้งที่ 10/2553  วันพุธที่ 28  เมษายน 2553
 

มติที่ประชุม               รับรอง รายงานการประชุม กทช.  ครั้งที่ 10/2553  วันพุธที่ 28 เมษายน 2553  ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ  โดยมีข้อแก้ไขตามที่ กทช.ขอให้แก้ไข ในวาระที่ 6.3 – 6.6  และ วาระ 6.8 – 6.10  โดยแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำ จากเดิม  “รับทราบผลการพิจารณา”  เป็น “ รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณา....”   
  
ระเบียบวาระที่   2.2   :  ขอรับนโยบายการรับรองรายงานการประชุมในช่วงที่เปลี่ยนผ่าน (รับรองรายงานการประชุม กทช.   ครั้งที่ 3/2553  วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์  2553  และครั้งที่ 4/2553  วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์  2553)

มติที่ประชุม                มอบหมายให้ กทช. 3 ท่าน ที่ดำรงตำแหน่ง กทช. ในห้วงระยะเวลาดังกล่าว และยังคงปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน ได้แก่ ประธาน กทช.  กทช.สุชาติฯ  และ กทช.สุธรรมฯ เป็นผู้พิจารณารับรองรายงานการประชุม กทช. ครั้งที่ 3/2553  วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 และครั้งที่ 4/2553 วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์  2553  และให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กทช.  ว่าด้วยข้อบังคับการประชุม กทช. พ.ศ. 2548  และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป 

ระเบียบวาระที่   3   :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 10/2553  วันพุธที่ 28  เมษายน 2553
 
มติที่ประชุม              
1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช.  ครั้งที่ 10/2553     วันพุธที่ 28 เมษายน 2553  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ      
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีการมอบอำนาจ กทช. พิจารณาเรื่องตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 ต่อไป ดังนี้
2.1  มอบหมายให้ รทช. ในฐานะหัวหน้าสายงานรับผิดชอบเรื่องที่  ที่ประชุม กทช. มอบอำนาจให้ กทช. ท่านใดท่านหนึ่งเป็นผู้พิจารณา จะต้องประสานงานกับ กทช. ท่านนั้น เพื่อนัดหมายประชุมหารือเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และนำเสนอที่ประชุม
2.2  กรณีที่ที่ประชุม กทช. มอบอำนาจให้ กทช. มากกว่า 1 ท่านเป็นผู้พิจารณาเรื่องให้   รทช. ในฐานะหัวหน้าสายงานรับผิดชอบเรื่องนั้นๆ  ต้องประสานงานกับ กทช.ที่ได้รับมอบอำนาจทุกท่าน    เพื่อนัดหมายประชุมหารือเรื่องดังกล่าวด้วย
2.3  มอบ หมายให้สำนักงาน กทช. โดยสำนักการประชุมและเลขานุการ เตรียมความพร้อมในเรื่องบุคลากรเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อรองรับการจัดทำมติที่ประชุมในระหว่างการประชุมเสนอ กทช.พิจารณาตรวจแก้ไข และสามารถรับรองได้แล้วเสร็จทันทีในการประชุม   แต่ละครั้ง
3.  มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ พิจารณาจัดทำร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. .... แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.โดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ โดยรับข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย เช่น การกำหนดระยะเวลาให้สำนักงาน กทช. ต้องดำเนินการตามมติ กทช.ให้แล้วเสร็จใน 7 วัน นั้น ในบางเรื่องอาจต้องใช้เวลาเกิน 7 วัน และหากไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จใน 7 วันได้ ให้จัดทำรายงานเสนอเพื่อชี้แจงเหตุผล

ระเบียบวาระที่    4      :  เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบ วาระที่   4.1   :  รายงานผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อ ประโยชน์สาธารณะประจำปี 2552 : กทช.สุรนันท์ฯ, สำนักงานกองทุนฯ 


มติที่ประชุม              รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง รายงานผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อ ประโยชน์สาธารณะประจำปี 2552  ตามความเห็น กทช.สุรนันท์ฯ  ที่ได้รับมอบอำนาจจาก   ที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบภายในของสำนักงานกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อ ประโยชน์สาธารณะประจำปี 2552 โดยให้สำนักงานกองทุนฯ ปรับปรุงการบริหารจัดการและการดำเนินงานต่างๆ ตามข้อสังเกตของสำนักงาน เอ.เอ็ม.ที-เซอร์วิสเซส ที่ตั้งไว้

ระเบียบวาระที่   4.2     :   การประเมินผลการดำเนินงานของผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ ในระยะเวลา 1 ปี  : กทช.สุรนันท์ฯ, คกก.กองทุนฯ 

มติที่ประชุม               รับ ทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การประเมินผลการดำเนินงานของผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ    ในระยะเวลา 1 ปี ตามความเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบให้ รศ.ประเสริฐ  ศีลพิพัฒน์  ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการกองทุนฯ ตามสัญญาต่อไป ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับการบริหารกองทุนฯ
 
ระเบียบวาระที่   4.3  :  ข้อร้องเรียนของนายสุรศักดิ์  วิภาบุษบากร  กรณี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  ติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมใกล้บริเวณ ที่พักอาศัยโดยไม่ได้ดำเนินการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้ เครื่องวิทยุคมนาคม : สบท.

มติที่ประชุม            มติอยู่ระหว่างรอการพิจารณา

ระเบียบวาระที่  4.4   :  โครงการอบรมความรู้ด้านกฎหมายฯ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา :  กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติให้บุคคลภายนอกจากศาลยุติธรรมจำนวนไม่เกิน 3 ท่าน เข้าร่วมการอบรมโครงการอบรมความรู้ด้านกฎหมายฯ  ณ คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา   ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ
2.  อนุมัติในหลักการสำหรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมการอบรม ที่ เป็นบุคคลภายนอกตามข้อ 1  โดยเทียบสิทธิตามตำแหน่งของแต่ละ ท่าน และให้สำนักงาน กทช. จัดทำรายละเอียดการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป  

ระเบียบวาระที่   4.5   :    การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม   (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง)  และมาตรา 39 วรรคแรก  ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544  : รทช.พิทยาพลฯ, พต. 

มติที่ประชุม                
1.  เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 5 ราย (บมจ.กสท โทรคมนาคม  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์  บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด  บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด  และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส) จำนวน 38 คำขอ  180 เส้นทาง  10 ชุมสาย และกำหนดเงื่อนไขตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.) ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ  ซึ่งเป็นการขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสาหรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม และมาตรา ๓๙ วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544  โดยให้เพิ่มเงื่อนไขว่า ห้ามมิให้นำไปใช้ในกิจการกระจายเสียง  ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน  ดังนั้น จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุมัติของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมการงานดังกล่าว  รวมทั้งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กทช.กำหนด โดยเคร่งครัดต่อไป
2.  ให้คณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปติดตามตรวจสอบข้อมูล และประเมินผลในทางปฏิบัติจริงว่าภายหลังผู้ประกอบการได้รับความเห็นชอบจาก กทช.แล้ว สามารถดำเนินการได้ตามแผนผังที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง   แล้วประมวลวิเคราะห์ความเห็น เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อที่ประชุม กทช. เพื่อทราบ/พิจารณา

ระเบียบวาระที่   4.6  :   บริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด ขอขยายกำหนดระยะเวลาการเริ่มให้บริการสำหรับบริการ VoIP ภายใต้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่ง  :  รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
  
มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติให้บริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด  ขยายกำหนดระยะเวลาการเริ่มให้บริการเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต (VoIP) ภายใต้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่ง  ออกไปเป็นวันที่ 1 พฤษภาคม 2553  ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ  ทั้งนี้ โดยให้บริษัทฯ เริ่มให้บริการภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2553  เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544  ซึ่งกำหนดให้ ลทช. มีอำนาจสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน หรือแก้ไขปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด  ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. ติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการ หากบริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการยกเลิกใบอนุญาตดังกล่าวต่อไป
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดทำข้อมูลภาพรวมผลกระทบต่อตลาดการให้บริการ  VoIP ภายใต้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่ง ภายหลังจากที่ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. แล้วว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร รวมถึงให้ตรวจสอบข้อมูลการเริ่มเปิดให้บริการ VoIP ของผู้ประกอบการว่ามีจำนวนกี่รายที่สามารถเปิดได้ภายใน 3 เดือนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ และมีจำนวนกี่รายที่ไม่สามารถเริ่มเปิดให้บริการได้ภายใน ๓ เดือน แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.ในการประชุมครั้งต่อไป
  
ระเบียบวาระที่   4.7   :   การขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง บริการมูลค่าเพิ่มการบันทึกและส่ง ของบริษัท คาร์พาส อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติที่ประชุม               อนุมัติให้ บริษัท คาร์พาส อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง เพื่อให้บริการมูลค่าเพิ่มการบันทึกและส่ง  (Store - and - Retrieve Value - Added Service)  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ  ทั้งนี้ โดยกำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมที่นำมาให้บริการต้องได้รับใบอนุญาตวิทยุ คมนาคมที่เกี่ยวข้องด้วย และกำหนดเป็นเงื่อนไขเฉพาะว่ากรณี กทช. พิจารณาเห็นว่าบริษัทฯ มีการดำเนินงานที่เข้าข่ายการประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สอง หรือมีผู้ร้องเรียนและพิสูจน์ได้ สำนักงาน กทช. จะปรับเปลี่ยนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นแบบที่สอง ให้ถูกต้องตามสภาพข้อเท็จจริงต่อไป
 
ระเบียบวาระที่    4.8  :  การเปลี่ยนแปลงกรรมการของ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติที่ประชุม             รับทราบกรณีการเปลี่ยนแปลงกรรมการของ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ  ซึ่งบริษัทฯ ได้แจ้งยืนยันการไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติของนิติบุคคลตามที่กำหนดไว้ในพระราช บัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และคุณสมบัติของกรรมการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทร คมนาคม พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกฎ หรือคำสั่งของ กทช. ที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบวาระที่    4.9    :  การถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน กรณี บริษัท แอดวานซ์   อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  ถือครองหุ้นใน บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, กท.

มติที่ประชุม              
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การถือครองหุ้นของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด เข้าองค์ประกอบการกระทำหรือพฤติกรรมต้องห้าม ตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่ เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549  ซึ่งบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จะต้องมีหนังสือแจ้ง กทช. เพื่อขออนุญาต  แต่เนื่องจากการกระทำของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  ยังไม่ปรากฏความเสียหายที่ชัดเจน  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้ง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๘ ของประกาศดังกล่าวข้างต้น ต่อไป   
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการตรวจสอบว่ามีผู้ประกอบการรายอื่นที่มี การดำเนินการในทำนองเดียวกับกรณีตามข้อ 1 หรือไม่ หากมีให้แจ้งเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าวต่อไปด้วย  ทั้งนี้ เพื่อมิให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการเลือกปฏิบัติเฉพาะราย
   
ระเบียบวาระที่    4.10  :   รายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณี  บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  กระทำการอันมีลักษณะเป็นการผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ  และบริษัท ดีแทค เนทเวร์ค จำกัด  ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศโดยผิดเงื่อนไขใบอนุญาตและใช้เลขหมายโทร คมนาคมที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร  : รทช.ประเสริฐฯ, กท.

มติที่ประชุม               เห็น ชอบให้นำเรื่อง รายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  กระทำการอันมีลักษณะเป็นการผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ  และบริษัท ดีแทค เนทเวร์ค จำกัด  ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศโดยผิดเงื่อนไขใบอนุญาตและใช้เลขหมายโทร คมนาคมที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรไปพิจารณาในการประชุม กทช. ภายใน (Inner)  ในวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2553  ต่อไป  ทั้งนี้ ขอให้มีเจ้าหน้าที่สำนักงาน กทช. มา standby เพื่อเตรียมชี้แจงรายละเอียดต่อที่ประชุมด้วย

ระเบียบวาระที่   4.11   :  การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ จำนวน 4 คณะ  :  สพท.

มติที่ประชุม               มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เชิญคณะกรรมการบริหารงานสถาบันวิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพื่อร่วมประชุมหารือกับ กทช. ให้ได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ และภารกิจความรับผิดชอบในการดำเนินงานที่ผ่านมาของคณะกรรมการฯ ในการประชุม กทช. สัปดาห์หน้า ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในเรื่องการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ  จำนวน 4 คณะ ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมยิ่งขึ้น
     
ระเบียบวาระที่   4.12   :  พิจารณาต่ออายุสัญญาว่าจ้าง ของที่ปรึกษา กพท. (นายจำรัส  ตันตรีสุคนธ์)    :  สพท.
 
มติที่ประชุม              มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เชิญคณะกรรมการบริหารงานสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพื่อร่วมประชุมหารือกับ กทช. เช่นเดียวกับวาระเรื่องที่ 4.11 ในการประชุม กทช. สัปดาห์หน้า ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในเรื่อง การพิจารณาต่ออายุสัญญาว่าจ้างของที่ปรึกษา กพท. (นายจำรัส  ตันตรีสุคนธ์) ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมยิ่งขึ้น
 
ระเบียบวาระที่   4.13   :  การร้องทุกข์กล่าวโทษผู้กระทำความผิดกรณีการเผยแพร่คลิปเสียง ที่อ้างว่าเป็นเสียงของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี  :  กลุ่มงานสำนักเลขานุการคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ

มติที่ประชุม               เนื่องจากที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า มีประเด็นข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจการกำกับดูแลการกระทำความผิดตามมาตรา 7 และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงมีมติเห็นชอบให้ส่งเรื่อง การร้องทุกข์กล่าวโทษผู้กระทำความผิดกรณีการเผยแพร่คลิปเสียงที่อ้างว่าเป็น เสียงของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ให้คณะอนุกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงฯ พิจารณาให้ความเห็น แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
 
ระเบียบวาระที่    5     :   เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบ วาระที่   5.1  :   รายงานผลการสอบทานงบการเงินและงบการเงินของ สบท. ประจำปี 2552  ครั้งที่ 2/2552  ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552  :  สบท.


มติที่ประชุม               รับทราบรายงานผลการสอบทานงบการเงินและงบการเงินของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ประจำปี 2552 ครั้งที่ 2/2552  ณ  วันที่ 31 ธันวาคม 2552  ตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2550 ตามเอกสารที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ   อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา การจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม มีลักษณะเป็นแบบ Block Grant โดยคิดเป็นอัตราร้อยละของรายได้ของสำนักงาน กทช. ในแต่ละปี ซึ่งคงที่และตายตัวไม่ยืดหยุ่นหรือสอดคล้อง  ตามสถานการณ์  จึงสมควรพิจารณาถึงวิธีการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ระเบียบวาระที่  5.2  :   รายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้ประกอบการ ประจำปี 2552  : สบท.

มติที่ประชุม             รับทราบรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้ประกอบการ    ปี 2552  รวมทั้งสิ้น 18 ราย  จากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทั้งสิ้น 234 ราย  ซึ่งมีเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น จำนวน 98,398 เรื่อง  ตามเอกสารที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ  ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ สบท. รับข้อสังเกตุของที่ประชุมไปพิจารณาเพิ่มเติมข้อมูลการรายงานผลฯ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในครั้งต่อไป  โดยให้นำเสนอถึงผลการดำเนินการในเรื่องร้องเรียนแต่ละหมวดเรื่อง ว่าได้แก้ไขไปแล้วอย่างไรบ้างให้เห็นภาพชัดเจนด้วย

ระเบียบวาระที่   5.3   :   การสรรหาคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ชุดใหม่  :       สบท. 

มติที่ประชุม               รับ ทราบกำหนดครบวาระของคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (คบท.) ในวันที่ 22 สิงหาคม 2553 และการเริ่มกระบวนการสรรหาคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทร คมนาคมชุดใหม่ ตามเอกสารที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.4   :   การประชุมคณะทำงานพิเศษสำหรับกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (STF) ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่วิทยุ ตามบริเวณชายแดนไทย – มาเลเซีย ( JTC)  ครั้งที่ 18  : รทช.ทศพรฯ, รศ.

มติที่ประชุม               รับทราบการเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมคณะทำงานพิเศษสำหรับกิจการวิทยุกระจาย เสียงและวิทยุโทรทัศน์ (STF)  ครั้งที่ 3  (The 3rd  Special Task Force for Broadcasting –STF)  ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2553  และการประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่วิทยุ ตามบริเวณชายแดนไทย – มาเลเซีย (JTC)  ครั้งที่ 18  (The 18th  Joint Technical Committee on Coordination and Assignment of Frequencies along Thailand –Malaysia Common Border Meeting-JTC) ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2553  ณ โรงแรม Hilton Hua Hin Resort & Spa  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.5  :  แจ้งรายละเอียดการเดินทางเพิ่มเติมเพื่อเดินทางหารือกับ Dr.Andrea Millwood- Hargrave  ณ กรุงลอนดอน  สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2553  และการเข้าร่วมสัมมนา  IBA’s 21 st  Annual Communication and Competition Law Conference   ณ เมือง Barcelona  ประเทศสเปน  ระหว่างวันที่ 17-18  พฤษภาคม 2553  :  กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม               รับทราบรายละเอียดการเดินทางเพิ่มเติม เพื่อเดินทางหารือกับ Dr.Andrea Millwood- Hargrave  ณ กรุงลอนดอน  สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2553  และการเข้าร่วมสัมมนา IBA’s 21 st  Annual Communication and Competition Law Conference  ณ เมือง Barcelona ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2553  และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมศึกษาของสถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 10 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน  ระหว่างวันที่ 19-23 พฤษภาคม 2553 ตามที่ กทช.สุธรรม เสนอ
 
ระเบียบวาระที่  6     :   เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :   การดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 8/2553  เรื่องการมอบอำนาจให้พิจารณาเรื่อง  :  กทช.สุธรรมฯ

1.  เรื่อง แนวทางการดำเนินการเพื่อบริหารงานสถานีวิทยุกระจายเสียง  1 ปณ. (วาระ 4.1)
2.  เรื่อง  ข้อหารือในการปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549  การให้ความเห็นชอบร่างสัญญาให้บริการโทรคมนาคมประเภทบริการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ จำนวน 13 ฉบับ (วาระ 4.2)
3.  เรื่อง การตรวจสัญญาตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 (วาระ 4.3)
4.  เรื่อง การใช้มาตรการทางกฎหมายกรณีผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ประกาศ กทช. เรื่อง การขอความเห็นชอบสัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ทำกับ รัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. 2549 (วาระ 4.4)
1.   เรื่อง    แนวทางการดำเนินการเพื่อบริหารงานสถานีวิทยุกระจายเสียง  1 ปณ. (วาระ 4.1)

มติที่ประชุม                รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ  ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้ว มอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดส่งเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. รวม 4 รายการให้ กทช.สุธรรมฯ ภายในเวลา 14 วัน เพื่อพิจารณาดำเนินการโดยเร่งด่วนต่อไป  ทั้งนี้ ให้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ดังนี้
1.1  สัญญาการจัดรายการร่วมสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. รวมถึงสัญญาที่เกี่ยวข้องทุกฉบับนับแต่มีการจัดทำสัญญาในสมัยกรมไปรษณีย์ โทรเลข จนถึงปัจจุบัน     
1.2  รายนามผู้รับผิดชอบการจัดทำสัญญา การต่อสัญญา และยกเลิกสัญญา
1.3  รายนามกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง
1.4  รายงานผลการปฏิบัติการตามสัญญา 
2.  เรื่อง  ข้อหารือในการปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549  การให้ความเห็นชอบร่างสัญญาให้บริการโทรคมนาคมประเภทบริการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ จำนวน 13 ฉบับ (วาระ 4.2)

มติที่ประชุม               รับ ทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ  ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วมีคำสั่งดังต่อไปนี้
2.1 การกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำในการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบเติม เงิน ตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของ สัญญาโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์  เคลื่อนที่ไม่มีสิทธิกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำอันมีลักษณะเป็นการ บังคับให้ผู้ ใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่ได้รับ อนุญาต  ทั้งนี้ ตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐาน ของสัญญาโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 เว้นแต่ ผู้ประกอบการจะ ได้รับอนุญาตจาก กทช. ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ สบท. จะ ได้กำหนดขึ้นตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุม กทช. ครั้งที่  36/2551
2.2  การกำหนดวันหมดอายุของบัตรเติมเงินในบริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (Expiry Date) 1 ปี   ผู้ประกอบการอาจกำหนดวันหมดอายุของบัตรเติมเงินได้ แต่เมื่อพ้นกำหนดวันหมดอายุแล้ว ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องคืนเงินตามมูลค่าที่เหลืออยู่ให้แก่ผู้ใช้บริการ เนื่องจากเงินดังกล่าวถือเป็นสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้ใช้บริการที่ต้องได้ รับคืนพร้อมดอกเบี้ย ตามข้อ 34 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ประกอบกับมาตรา 391 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.3  การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิระงับการให้บริการ โทรคมนาคมชั่วคราว ดังนี้
(ก) ตาม ข้อ 25 แห่งประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ผู้ให้บริการจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำหรือขั้นสูงที่ยอมให้ผู้ใช้บริการระงับ การใช้บริการชั่วคราวได้ แต่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้
                                  ดังนั้น ผู้ให้บริการจึงสามารถกำหนดระยะเวลาขั้นสูงในการระงับการใช้บริการชั่วคราว ไม่เกิน 30 วันตามที่เสนอมาได้ แต่จะเรียกเก็บค่ารักษาเลขหมายหรือค่าธรรมเนียมใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ ผู้ให้บริการไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่ารักษาเลขหมายจากผู้ใช้บริการเนื่อง จากนอกจากจะขัดต่อประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้ว การชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการโทรคมนาคมตามกฎหมาย ที่จะต้องชำระให้แก่ กทช. มิใช่ภาระหน้าที่อันผลักไปยังผู้บริโภค ประกอบกับปัจจุบัน กทช. ได้จัดทำประกาศหลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNP) การเก็บค่ารักษาเลขหมายจากผู้บริโภคยิ่งไม่สามารถที่จะนำมาใช้ได้ 
(ข) ผู้ ให้บริการไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขในการระงับการใช้บริการชั่วคราวต้องมีระยะ ห่างกันในแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า ๓ เดือนได้ เนื่องจากประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ไม่ได้ให้อำนาจให้กระทำได้ และ กทช. ไม่มีอำนาจที่จะอนุมัติการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว
2.4  การยกเว้นการบังคับใช้ประกาศมาตรฐานสัญญากับสัญญาให้บริการที่ผู้ใช้ บริการเป็นผู้ประกอบกิจการขนาดใหญ่ ไม่อนุมัติยกเว้นการบังคับใช้ประกาศ กทช. กับสัญญาที่ผู้ใช้บริการเป็นผู้ประกอบกิจการขนาดใหญ่ เพี่อให้ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ เป็นมาตรฐานเดียวกัน และป้องกันปัญหาในการถกเถียงหรือตีความในภายหลังว่ากิจการใดถือเป็นผู้ ประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่ได้รับการยกเว้นในการจัดทำสัญญาไม่ต้องเป็นไปตาม ประกาศ กทช. ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นผู้ให้บริการอาจขออนุญาตต่อ กทช. เป็นกรณีๆ ไป
2.5  การคืนเงินค่าบริการในส่วนที่ผู้ใช้บริการเติมเข้ามาในระบบ แต่ยังไม่ได้ใช้บริการ และประสงค์จะขอยกเลิกการใช้บริการ เนื่องจากมีภาระต้องนำส่งส่วนแบ่งรายได้ที่ได้รับจากการจำหน่ายบัตรเติมเงิน ส่วนหนึ่งให้กับ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ตามข้อตกลงที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ไม่สามารถคืนค่าบริการดังกล่าวได้ เมื่อได้พิจารณาแล้ว มีคำสั่งว่าผู้ประกอบการไม่สามารถหักค่าส่วนแบ่งรายได้หรือเงินค่าภาษีที่ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมายหรือตามสัญญา ออกจากเงินที่จะต้องชำระคืนให้แก่ผู้บริโภคได้ เนื่องจากเมื่อสัญญาเลิกกันผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องชำระเงินที่ค้างอยู่ ที่ผู้ให้บริการคืนให้แก่ผู้ใช้บริการตามข้อ 34  ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 แต่สำหรับเงินที่ผู้ประกอบการได้ชำระให้กับ บมจ. ทีโอที  และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ผู้ให้สัมปทาน หรือ ภาระเงินภาษีที่จ่ายไปล่วงหน้านั้น เป็นภาระหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องไปดำเนินการไล่เบี้ย ขอคืนหรือขอลดหย่อนตามกฎหมายต่อไป มิใช่นำมาหักออกจากเงินที่ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับคืน
2.6  การให้ความเห็นชอบร่างสัญญาให้บริการโทรคมนาคมประเภทบริการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ จำนวน 13 ฉบับ เห็นชอบการตรวจสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 13 ฉบับ ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเร็วต่อไป  
3.  เรื่อง การตรวจสัญญาตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของ สัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 (วาระ 4.3)

มติที่ประชุม               รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ  ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นชอบการตรวจสัญญาการให้บริการโทรคมนาคมของ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ   ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. แจ้งให้บริษัทฯ ดำเนินการแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมายและประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาโทรคมนาคม พ.ศ. 2549  ตามข้อเสนอของ สบท. โดยเร็วต่อไป
4.  เรื่อง  การใช้มาตรการทางกฎหมายกรณีผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง การขอความเห็นชอบ สัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ ทำ กับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือ บุคคลที่อยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. 2549 (วาระที่ 4.4)

มติที่ประชุม                 รับ ทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ  ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นชอบให้ดำเนินการ ตามที่เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดทำระเบียน (listing/Roster)  ผู้รับใบอนุญาตที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ หลักเกณฑ์ คำสั่ง หรือมติที่ประชุม กทช. เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการกำกับดูแลและพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป ทั้งนี้ ให้ ลทช. ออกคำสั่งไปยังสำนักที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรายการตามระเบียนดังกล่าวให้ แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน พร้อมทั้งส่งรายนามเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตั้งแต่ระดับรองเลขาธิการในสาย งานจนถึงพนักงานผู้รับผิดชอบให้ กทช.สุธรรมฯ และถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยเคร่งครัด

ระเบียบวาระที่   6.2   :   การดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช.  ครั้งที่ 9/2553   เรื่องการมอบอำนาจให้พิจารณาเรื่อง การแก้ไขร่างระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้งาน คอมพิวเตอร์และการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  :  กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม               รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การแก้ไขร่างระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการใช้งาน คอมพิวเตอร์และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการ ดังนี้
1.  ให้เพิ่มข้อความกำหนดให้มีการเข้ารหัส (encryption) สำหรับข้อมูลที่เป็นความลับไว้ในร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยการใช้งานคอมพิวเตอร์และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยี สารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตสามารถเข้าถึง สับเปลี่ยน หรือแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว
2.  ให้แบ่งแยกระหว่าง close access และ open access ไว้ในร่างระเบียบให้ชัดเจน แม้ว่าในข้อ 5 วรรคสอง ของร่างระเบียบฯ จะกำหนดให้ผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตตามที่ ลทช. ประกาศกำหนดสามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงาน กทช. ได้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการใช้ดุลยพินิจของ ลทช. ภายหลังจากที่ระเบียบฯ มีผลใช้บังคับอย่างไรก็ดี ด้วยเนื้อหาส่วนใหญ่ของร่างระเบียบฯ มีลักษณะเป็นการจำกัดหรือควบคุมการใช้งานมากกว่าการส่งเสริมและรักษาความ มั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  จึงให้ผู้รับผิดชอบเข้าพบ กทช.สุธรรมฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขร่างระเบียบฯ ดังกล่าวโดยเร็วต่อไป

ระเบียบวาระที่   6.3   :  การดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช.  ครั้งที่ 9/2553   เรื่องการมอบอำนาจให้พิจารณาเรื่อง การกำหนดค่าสัมปทานเป็นต้นทุนของการคิดค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทร คมนาคม :  กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม                 รับ ทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การกำหนดค่าสัมปทานเป็นต้นทุนของการคิดค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทร คมนาคมตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วไม่เห็นชอบให้นำค่าสัมปทานคิดรวมเป็นต้นทุนในการกำหนดอัตรา ค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายตามลักษณะของ LRIC  เนื่องจากจะก่อให้เกิดการบิดเบือนราคาและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค  กล่าวคือ หากผู้ประกอบการนำค่าสัมปทานมาคิดรวมเป็นต้นทุนในการเชื่อมต่อโครงข่ายแล้ว ผลักภาระต้นทุนดังกล่าวไปยังผู้บริโภคโดยการคิดคำนวณเป็นต้นทุนในการกำหนด อัตราค่าบริการ ย่อมก่อให้เกิดการบิดเบือนราคาจากต้นทุนที่แท้จริง ท้ายที่สุดแล้วผลกระทบจะตกอยู่กับผู้บริโภคซึ่งจะต้องแบกรับภาระอัตราค่า บริการที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากความซ้ำซ้อนของต้นทุนและการบิดเบือนราคาดัง กล่าว

ระเบียบวาระที่   6.4   :   บริษัท สวัสดีช้อบ  ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการ ชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง และบริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม  :  กทช.สุธรรมฯ
 
มติที่ประชุม               รับทราบและเห็น ชอบผลการพิจารณาเรื่อง บริษัท สวัสดีช้อบ ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการ ชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง และบริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม  ตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วอนุมัติให้ บริษัท สวัสดีช้อบ จำกัด ขยายระยะเวลาเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสาย อินเทอร์เน็ตแบบที่สอง และบริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม  ออกไปอีก 3 เดือน นับแต่วันที่ กทช.มีมติ เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค  เนื่องจากบริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามในการดำเนินการและรายงานความคืบหน้ามายังสำนักงาน กทช. มาโดยตลอด จึงเห็นควรผ่อนผันให้  ทั้งนี้ มอบหมายให้ ลทช. บังคับทางปกครองตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544  สั่งการให้บริษัทฯ ปฏิบัติให้ถูกต้องโดยรายงานแจ้งผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทุกเดือนและให้ เปิดให้บริการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด 

ระเบียบวาระที่   6.5   :  การขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใบอนุญาตและประเภทใบอนุญาตของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  :  กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม               รับ ทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใบอนุญาตและ ประเภทใบอนุญาตของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  ตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วดังนี้
1.  เห็นชอบการปรับเปลี่ยนใบอนุญาตให้เป็นไปตามเงื่อนไขมาตรฐาน ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างผู้รับใบอนุญาตฯ และเห็นชอบการแก้ไขเงื่อนไขใบอนุญาตในส่วนของเงื่อนไขเฉพาะเพื่อให้ข้อมูล ถูกต้องตามความเป็นจริง
2.  เห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนบริการภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการแบบที่สาม ไปอยู่ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง แบบที่สอง และบริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง จำนวน 5 รายบริการ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ  ได้แก่ บริการ Wi-Fi, บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เฉพาะกลุ่ม ระบบ Common Base Radiotelephone (CBR) , บริการ  Internet Data Center, บริการระบบสื่อสารเพื่อบริการธุรกิจผ่านดาวเทียม (ISBN) และบริการขายต่อบริการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม IP Star  ทั้งนี้  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เร่งรัดจัดทำหลักเกณฑ์ Unified License  ให้แล้วเสร็จและนำเสนอต่อที่ประชุม กทช. โดยเร็วต่อไป

ระเบียบวาระที่   6.6   :   เงื่อนไขในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประเภทบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)     :  กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม                รับ ทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องเงื่อนไขในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม ประเภทบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  ตามความเห็นของ  กทช.สุธรรมฯ  ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วดังนี้
1.  อนุมัติการแก้ไขปรับปรุงเงื่อนไขในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ สาม  ประเภทบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บริษัท  ทีโอที จำกัด (มหาชน)  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ  เพื่อปรับปรุงเงื่อนไขในการอนุญาตให้สอดคล้องกับมติ กทช. ที่เกี่ยวข้องกับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz  บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 MHz  และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1900 MHz  และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond
2.  มอบหมายให้ รทช.ประเสริฐฯ รายงานความคืบหน้าผลการดำเนินการเรื่อง  In-Band migration  และให้นำเสนอกระบวนการการบังคับทางปกครองในกรณีผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตาม เงื่อนไขในการอนุญาต เสนอต่อที่ประชุม กทช. ภายใน 14 วัน  

ระเบียบวาระที่   6.7   :   การขอเพิ่มบริการขายต่อบริการภายใต้ใบอนุญาตแบบที่หนึ่งในบริการที่ซ้ำ ซ้อนกับใบอนุญาตแบบที่สาม  ของ บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด  :  กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม               รับ ทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการขอเพิ่มบริการขายต่อบริการภายใต้ใบ อนุญาตแบบที่หนึ่ง  ในบริการที่ซ้ำซ้อนกับใบอนุญาตแบบที่สาม ของ บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด  ตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ  ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วเป็นดังนี้
1.  เห็นชอบให้ บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด  ประกอบกิจการขายต่อบริการอินเทอร์เน็ต และบริการ PSTN แบบบริการโทรศัพท์ธรรมดา ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง เนื่องจากเป็นสิทธิที่พึงมีในการประกอบกิจการ โดยมีเงื่อนไขให้บริษัทฯ จัดส่งสัญญาที่แสดงถึงการซื้อหรือจัดหาบริการมาจากผู้ให้บริการขายส่ง พร้อมด้วยหลักฐานอื่นที่สามารถแสดงจำนวนที่ซื้อราคาขายส่งจากผู้ให้บริการ ขายส่ง (Wholesale price) ที่ชัดเจน
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ตรวจสอบการให้บริการและการบัญชีของบริษัทฯ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการแข่งขัน หรือในกรณีที่มีประเด็นข้อสงสัยว่ามีผลเป็นการทำ Margin Squeeze หรือ Transfer pricing  ให้สำนักงาน กทช.เสนอ กทช. เพื่อพิจารณาทบทวนเป็นกรณีๆ ไปตามความเหมาะสม

ระเบียบวาระที่   6.8   :  การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ  Trunked  Radio  ของบริษัท  กสท  โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)   :   กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม                รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การให้บริการวิทยุคมนาคม เฉพาะกิจ ระบบ  Trunked  Radio  ของ บริษัท  กสท  โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  ตามความเห็นของ  กทช.สุธรรมฯ  ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วเป็นดังนี้
1.  กรณีการขอขยายระยะเวลาให้บริการเดิมที่ บมจ. กสท โทรคมนาคม  ได้รับอนุญาตให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Mobile ย่านความถี่ 800 MHz  ที่ บมจ. กสท โทรคมนาคม  ใช้ประกอบกิจการ  พิจารณาเห็นว่า กรณีนี้เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตสำหรับใบอนุญาตแบบที่สาม ตามมาตรา  9 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกอบกับข้อ 4.2 แห่งประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กำหนดให้การออกหรือต่ออายุใบอนุญาตสำหรับผู้ที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ เดิมจะออกหรือต่ออายุใบอนุญาตให้ไม่เกินคราวละหนึ่งปี แต่เนื่องจากข้อเท็จจริง บมจ.กสท โทรคมนาคม  สิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Mobile ย่านความถี่ 800 MHz  ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2551  จึงให้สำนักงาน กทช. แต่งตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงอันเนื่องมาจากความล่าช้าดังกล่าว และรายงานที่ประชุม กทช. ภายใน 14 วัน
2. กรณีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม  ประสงค์ดำเนินการแทน บมจ. UCOM หลังอายุสัญญาร่วมการงานสิ้นสุดลง สำหรับการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Mobile ย่านความถี่ 480 MHz และ 800 MHz พิจารณาแล้ว ไม่อนุญาตให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ให้บริการแทน บมจ. UCOM หลังอายุสัญญาร่วมการงานสิ้นสุดลง ด้วยกรณีนี้มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสัญญาสัมปทานตลอดจนกระบวนการในการ เปลี่ยนถ่ายอำนาจการกำกับดูแลจากเดิมมาเป็นของ กทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543  การที่ กทช. ออกเงื่อนไขเฉาะรายบริการ บริการวิทยุเฉพาะกิจระบบ Trunked Mobile โดยกำหนดระยะเวลาการใช้คลื่นวิทยุในส่วนที่ดำเนินการโดย บมจ. UCOM  ถึงวันที่ ๖ พฤษภาคม 2551 เป็นการออกใบอนุญาตบนพื้นฐานของสัญญาสัมปทานซึ่ง กทช. ทำหน้าที่เพียงเพื่อรับรองสัญญาสัมปทานตามมาตรา 80 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. การประกอบการกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544  ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เท่านั้น  เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงจึงถือเป็นอันยุติสิทธิการได้รับอนุญาตให้ใช้ คลื่นนั้น  ดังนั้น การขอใช้คลื่นความถี่ย่าน 480 MHz และ 800 MHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Mobile ในกรณีนี้จึงมิใช่การขอขยายเวลา หากแต่เป็นการขออนุญาตรับการจัดสรรคลื่นความถี่ ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544  ซึ่ง กทช. มีหน้าที่ตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และต้องดำเนินการในลักษณะที่มีการกระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่งถึงในกิจการ ด้านต่างๆ ให้เหมาะสมแก่ทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการดังต่อไปนี้
3.1  ประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ 480 MHz และ 800 MHz (Spectrum Value) และจัดทำแผนการดำเนินการเสนอที่ประชุม กทช. ภายใน 14 วัน
3.2  ทำ Spectrum Impact Assessment (SIA) ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 25 และเสนอแนวนโยบายว่าด้วยการแข่งขันที่เหมาะสมในกิจการดังกล่าว
3.3  ในกรณีที่มีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Value)  หรือพบว่า  มี Demand มากกว่า Supply ก็ให้ดำเนินการจัดสรรคลื่นโดยการเปิดประมูลเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ รายใหม่เข้าสู่ตลาดได้
4.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. แต่งตั้งบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็น คณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงอันเนื่องมาจากความล่าช้าในการปฏิบัติงานของ ทั้งสองกรณีดังกล่าวข้างต้น และรายงานต่อที่ประชุม กทช. ภายใน 14 วัน

ระเบียบวาระที่   6.9   :  การตอบข้อสงสัยของ นายพรชัย  มีมาก  และ  นายชวลิต  วุฒิวรรธนะ เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทช. ในการจัดสรรคลื่นความถี่  :  กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม               รับ ทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการตอบข้อสงสัยของ นายพรชัย  มีมาก  และ นายชวลิต  วุฒิวรรธนะ  เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทช. ในการจัดสรรคลื่นความถี่  ตามความเห็นของ  กทช.สุธรรมฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้ว มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจแก่ประชาชนว่านโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่น ความถี่โทรคมนาคม เป็นข้อมูลสาธารณะที่เปิดเผยเป็นการทั่วไป และการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. ในการอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ และการประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่  ที่กฎหมายกำหนด

ระเบียบวาระที่   6.10  :   การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายต่อบริการ  :  กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม              
1.  รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายต่อ บริการ  ตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ  ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วรับทราบผลการวิเคราะห์พฤติกรรมของ บริษัท บีที สยาม จำกัด  บริษัท เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด  และ บริษัท เค ดี ดี ไอ (ประเทศไทย) จำกัด  ว่ามิได้เป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด และใช้อำนาจทางการตลาด ที่ไม่เป็นธรรมอันจะมีผลต่อการแข่งขันในลักษณะครอบงำกิจการ หรือกีดกันการแข่งขันในการเป็นผู้รับใบอนุญาตขายต่อบริการ ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดทำข้อวิเคราะห์ในประเด็นผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ 100% นำเสนอที่ประชุม กทช. เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการผูกขาดโดยต่างชาติ โดยเร็วต่อไป

ระเบียบวาระที่   6.11   :  การกำกับการปฏิบัติงานการเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNP)  :  กทช.สุรนันท์ฯ

มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติแผนการดำเนินงานเพื่อเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์  เคลื่อนที่  ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ  เสนอ 
2.  อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยให้ตัดรายชื่อ กทช.สุชาติฯ ที่ปรึกษาออก  สำหรับค่าตอบแทนค่าเบี้ยประชุมให้ได้รับสิทธิตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  ทั้งนี้ ให้ยกเลิกคำสั่ง กทช. ที่ 03/2553  เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่  ลงวันที่ 26 มกราคม 2553
3.  อนุมัติในหลักการกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการตามแผนการดำเนินงาน เพื่อเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามข้อ 1  จำนวน 61,698,000 บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณกลางประจำปีงบประมาณ 2553 ของสำนักงาน กทช. ทั้งนี้ ให้จัดส่งรายละเอียดแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินงานดังกล่าวให้ กทช.บัณฑูรฯ  พิจารณาความเหมาะสมในภาพรวม แล้วนำเสนอความเห็นต่อที่ประชุม กทช. อีกครั้งหนึ่ง  สำหรับกรณีรายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ให้จัดทำรายละเอียดแผนการเบิกจ่ายเสนอประธาน กทช. อนุมัติโดยเร็วต่อไปได้
4.  เนื่องจากขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ของสำนักงาน กทช. อยู่ จึงขอให้ กทช. ทุกท่านได้ยืนยันกรณีรายการค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็น รวมถึงกรณีหากมีแผนงาน/โครงการใหม่ ที่จะต้องดำเนินการในปี 2553  ให้ กทช.บัณฑูรฯ ทราบ  เพื่อพิจารณาบรรจุไว้ในงบประมาณปี 2553 โดยด่วนต่อไป

ระเบียบวาระที่   6.12  :   บริษัท  สามารถคอมมิวนิเคชั่น จำกัด    ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเอง (วาระที่ 4.20  ครั้งที่ 8/2553)  :  กทช.สุรนันท์ฯ

มติที่ประชุม               เนื่อง จากยังมีประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับกรณีการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดในบริการ VSAT เนื่องจาก บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น จำกัด    กับบริษัท สามารถเทลคอม ซึ่งเป็นบริษัทแม่ มีการให้บริการ VSAT เหมือนกัน ซึ่งควรจะได้มีการพิจารณาในประเด็นดังกล่าวด้วยความรอบคอบ มิให้เกิดผลกระทบต่อการแข่งขันขึ้นได้ในภายหลังหากอนุญาตให้บริษัทได้รับใบ อนุญาตดังกล่าว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ กทช.สุรนันท์ฯ  นำเรื่อง บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น จำกัด  ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเอง  ไปหารือ กทช.สุธรรมฯ ในประเด็นดังกล่าว ก่อนนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

ระเบียบวาระที่   6.13   :   การนำส่งรายได้จากค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1900 MHz ระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  :  กทช.สุรนันท์ฯ

มติที่ประชุม              รับ ทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การนำส่งรายได้จากค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1900 MHz  ระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)   ตามความเห็นของ กทช. สุรนันท์ฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากเวลาได้ล่วงเลยมานานมากแล้ว และเงินที่ได้รับเป็นเงินรายได้ของปีที่แล้ว ประกอบกับเป็นเงินรายได้จากคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติ จึงควรนำส่งเงินทั้งหมดคืนให้แก่รัฐบาล และโครงการที่สำนักงาน กทช. รวบรวมมาเป็นโครงการที่เกิดขึ้นแล้ว และได้เบิกงบประมาณไปแล้ว  จึงไม่จำเป็นต้องหักค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ระเบียบวาระที่   6.14   :  ร่างระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการจ้างที่ปรึกษา ผู้ปฏิบัติงานเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. ....  : กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม               เห็นชอบร่างระเบียบ กทช.ว่าด้วยการจ้างที่ปรึกษา ผู้ปฏิบัติงาน เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ   พ.ศ. .... ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ โดยมีข้อแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นตามความเห็นที่ประชุมในเรื่องการ จัดทำบันทึกการปฏิบัติงานของที่ปรึกษา โดยให้รายงาน กทช. ที่เสนอแต่งตั้งทุกเดือน และให้กรรมการท่านนั้นแจ้งต่อ กทช. ทราบทุก 3 เดือน  รวมทั้งในประเด็นค่าตอบแทนของพนักงานสำนักงาน กทช. ที่มาปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการ หรือปฏิบัติงานประจำ กทช.ท่านใดท่านหนึ่ง ให้ได้รับเงินเดือนตามอัตราเดิม ตลอดจนแก้ไขคำว่า “ประธานกรรมการ” เป็น “ประธาน” ให้ตรงกันทั้งฉบับ และเพิ่มคำว่า “พ.ศ. 2550” หลังคำว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ในหน้าแรกให้ถูกต้องครบถ้วน ก่อนเสนอประธาน กทช. ลงนามต่อไป ทั้งนี้ สำหรับรายละเอียดการกำหนดเงินเดือน นั้น กทช.จะหารือร่วมกันในการประชุม กทช. (Inner) ในวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2553 ต่อไป

ระเบียบวาระที่  6.15   :  การเผยแพร่ข้อมูลสถิติโทรคมนาคม  :  กทช.สุรนันท์ฯ

มติที่ประชุม              รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลสถิติโทรคมนาคม ตามความเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ  ที่ได้รับมอบอำนาจจาก ที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553  ซึ่งพิจารณาแล้ว เป็นดังนี้
1.  เห็นชอบให้เผยแพร่ข้อมูลภาพรวมของกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย ที่จัดทำโดยศูนย์ข้อมูลสถิติและวิจัยเศรษฐกิจโทรคมนาคม สำนักพัฒนานโยบายและกฎกติกา แก่บุคคลทั่วไปผ่านเว็บไซต์ของสำนักงาน กทช.
2.  การเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงาน กทช. ควรจะมีการบริหารจัดการให้เกิดความถูกต้องและมีความเป็นเอกภาพ รวมถึงจะต้องเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของสำนักงาน กทช.ด้วย จึงเห็นควรมอบหมายให้รองเลขาธิการฯ ที่กำกับดูแลสำนักประชาสัมพันธ์ (ปส.) ทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลกำกับเว็บไซต์ของสำนักงาน กทช.  ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็น KPI ด้วย

ระเบียบวาระที่   6.16   :   แนวความคิดและวิสัยทัศน์การอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่  IMT  หรือ  3G and beyond  :  กทช.พันเอกนทีฯ

มติที่ประชุม                 เห็น ชอบแนวความคิด เป้าหมายที่พึงประสงค์ และวิสัยทัศน์ในการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond  ตามที่เสนอ  โดยให้รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมในประเด็นต่างๆ ไปพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม   อาทิ  เรื่อง การให้บริการที่เท่าเทียมกันโดยการกำหนดพื้นที่ (Coverage) การให้ความสำคัญกับระเบียบ/ประกาศของ กทช. ที่มีอยู่ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดอัตราขั้นสูงหรือ Ceiling Price Regulation  ตลอดจนการพิจารณาเพิ่มเรื่อง “Broadband และเรื่อง HSPA และ LTE ”  ไว้ในวิสัยทัศน์ด้วย  โดยแนวคิด เป้าหมายที่พึงประสงค์และวิสัยทัศน์ที่จะใช้เป็นกรอบแนวความคิดในการกำหนด กระบวนการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT  หรือ 3G and beyond  ทั้งหมด

ระเบียบวาระที่   6.17   :   ร่างคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม  :  รทช.  ฐากรฯ , กม.

มติที่ประชุม               เห็น ชอบให้นำเรื่องร่างคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น  กับ บมจ.กสท โทรคมนาคม  เสนอที่ประชุม กทช. ภายใน (Inner)  เพื่อพิจารณาในวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2553 ต่อไป
   
ระเบียบวาระที่   6.18   :   คำสั่งกำหนดวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกและกำหนดวันฟังคำพิพากษาในคดีปกครอง หมายเลขดำที่ 1947/2550 : รทช.ฐากรฯ , กม.

มติที่ประชุม               มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่สำนักงาน กทช. เป็นผู้เข้าร่วมและแถลงข้อเท็จจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีครั้งแรก และการรับฟังคำพิพากษาแทน กทช. ในคดีปกครองหมายเลขดำที่ 1947/2550 ระหว่างนายโอภาส อรรณพพรชัย  ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ผู้ถูกฟ้องคดี  ในวันอังคารที่ 11 พฤษภาคม 2553 และวันพุธที่ 9 มิถุนายน 2553  แล้วรายงานผลให้ กทช.ทราบ

ระเบียบวาระที่   6.19   :   ITU  Regional office for Asia and Pacific  เข้าเยี่ยมคารวะคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ : รทช.ทศพรฯ, กร. 

มติที่ประชุม               รับทราบการเข้าเยี่ยมคารวะ กทช. ของ  Dr. Eun-Ju Kim,  Head of  ITU  Regional Office for Asia and the Pacific และคณะ  ในโอกาสที่ประธาน กทช. ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธาน กทช. และแสดงความยินดีกับ กทช. ท่านใหม่ 4 ท่าน  รวมทั้งได้นำเสนอภาพรวมบทบาทการดำเนินงานของ ITU ที่ผ่านมาในภูมิภาคนี้ และความร่วมมือกับหน่วยงานด้านกิจการโทรคมนาคมต่างๆ ของประเทศไทย ตลอดจนแผนการดำเนินงาน และโครงการจัดฝึกอบรมของ ITU ในปี 2554  รวมถึงได้นำเสนอถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากความร่วมมือที่ผ่านมาด้วยดีกับสำนักงาน กทช. ซึ่ง ITU หวังว่าจะเสริมสร้างและขยายความร่วมมือในเรื่องต่างๆ กับ กทช.และสำนักงาน กทช. อย่างต่อเนื่องให้มากขึ้น นอกจากนี้ ITU ยังได้เชิญ กทช. เข้าร่วมการจัดประชุมสัมมนาระดับโลก เช่น WTDC-10 และ PP-10 ที่ประเทศเม็กซิโก รวมทั้งการประชุมสัมมนาในระดับภูมิภาค เช่น ที่ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม และมาลดิฟส์ เป็นต้น

หมายเหตุ                 คณะผู้บริหารของ ITU ที่เข้าพบ กทช. ในครั้งนี้ ประกอบด้วย :
1.  Dr. Eun-Ju Kim  Head, ITU Regional Office for Asia and      the Pacific
2.  Mr. Sameer Sharma Senior Advisor
3.  Mr. Ashish Narayan Advisor
4.  Mr. Wisit Atipayakoon Specialist in Telecommunication  Infrastructure Development

สร้างโดย  -   (17/3/2559 11:32:46)

Download

Page views: 204