สรุปมติที่ประชุม กทช. 12/2553

มติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 12/2553
วันพุธที่  12 พฤษภาคม  2553   เวลา  09.30  น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12  อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 

 
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์            ประพิณมงคลการ                ประธานกรรมการ
2.  นายสุชาติ                           สุชาติเวชภูมิ                       กรรมการ 
3.  รองศาสตราจารย์สุธรรม         อยู่ในธรรม                         กรรมการ
4.  นายสุรนันท์                         วงศ์วิทยกำจร                     กรรมการ
5.  พันเอกนที                           ศุกลรัตน์                           กรรมการ
6.  รองศาสตราจารย์พนา            ทองมีอาคม                        กรรมการ
7.  นายพิทยาพล                      จันทนะสาโร                       รทช. รักษาการในตำแหน่ง ลทช.
 
ระเบียบวาระที่  1   :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.  ในวันนี้ รทช. รักษาการในตำแหน่ง ลทช. (รทช.ฐากรฯ) ไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคมสภาผู้แทนราษฎร 
2.  ในการประชุม กทช. ภายใน (Inner) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการแต่งตั้งผู้รักษาการผู้อำนวยการสำนักประชา สัมพันธ์และรักษาการผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรบุคคล โดยที่ประชุมมีมติแต่งตั้ง รทช.พิทยาพลฯ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง และให้ รทช.ประเสริฐฯ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรบุคลากร อีกตำแหน่งหนึ่ง ทั้งนี้ ให้ ลทช. ดำเนินการออกคำสั่งแต่งตั้งตามมติที่ประชุมดังกล่าวโดยดำเนินการให้เป็นไป ตามกระบวนการขั้นตอนโดยด่วนต่อไป

หมายเหตุ               ที่ประชุมได้หยิบยกประเด็นอื่นๆ ขึ้นหารือและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม  ในระหว่างวาระนี้ สรุปได้คือ 
1.  กทช.สุ ธรรมฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือ 60 ปี   พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 5 พฤษภาคม 2553 เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย เนื่องในวันฉัตรมงคลวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 ซึ่งสำนักราชเลขาธิการได้แจ้งว่าทรงโปรด และขอให้ กทช. ทำหนังสือทูลเกล้าฯถวาย ซึ่งจะได้นำหนังสือดังกล่าวไปทูลเกล้าฯ ที่โรงพยาบาลศิริราชในวันพรุ่งนี้
2.  กทช.สุธรรมฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมเพื่อเรียนเชิญ กทช. ทุกท่าน ที่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรม ตามโครงการอบรมความรู้ด้านกฎหมาย ณ มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และโครงการอบรมความรู้ด้านกฎหมาย ณ มหาวิทยาลัย London School of Economics and Political Science (LSE) ประเทศสหราชอาณาจักร โดยขอให้แจ้งความประสงค์ให้ฝ่ายเลขานุการ กทช.สุธรรมฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ กทช. ทุกท่าน
3.  กทช.สุรนันท์ฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการเชิญบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านบุคลากร 3 ราย ให้มาชี้แจงข้อเสนอ ในวันนี้เวลาประมาณ 15.00 น. หาก กทช. ท่านใดไม่ติดภารกิจขอเชิญเข้าร่วม

มติที่ประชุม                
1.  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.  รับ ทราบเรื่องการจัดทำหนังสือ 60 ปี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 5 พฤษภาคม 2553 เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย เนื่องในวันฉัตรมงคลวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 ซึ่งสำนักราชเลขาธิการได้แจ้งว่าทรงโปรด และขอให้ กทช. ทำหนังสือทูลเกล้าฯถวาย ซึ่งจะได้นำหนังสือดังกล่าวไปทูลเกล้าฯ ที่โรงพยาบาลศิริราชในวันพรุ่งนี้ ตามที่ กทช.สุธรรมฯ รายงานให้ที่ประชุมทราบ
3.  รับทราบเรื่องขอเรียนเชิญ กทช. ทุกท่าน ที่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรม ตามโครงการอบรมความรู้ด้านกฎหมาย ณ มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และโครงการอบรมความรู้ด้านกฎหมาย ณ มหาวิทยาลัย London School of Economics and Political Science (LSE) ประเทศสหราชอาณาจักร โดยขอให้แจ้งความประสงค์ให้ฝ่ายเลขานุการ กทช.สุธรรมฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ กทช. ทุกท่าน ตามที่ กทช.สุธรรมฯ รายงานให้ที่ประชุมทราบ
4.  รับทราบเรื่องการเชิญบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านบุคลากร 3 ราย ให้มาชี้แจงข้อเสนอ ในวันนี้เวลาประมาณ 15.00 น. หาก กทช. ท่านใดไม่ติดภารกิจขอเชิญเข้าร่วม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ รายงานให้ที่ประชุมทราบ
 
ระเบียบวาระที่   2  :  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 11/2553 วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม  2553

มติที่ประชุม              
1.  รับรอง มติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 11/2553 วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม  2553  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ โดยมีข้อแก้ไขตามที่ กทช. ขอให้แก้ไข ดังนี้ ยกเว้นมติที่ประชุม วาระที่ 4.3 เรื่อง “ข้อร้องเรียนของนายสุรศักดิ์  วิภาบุษบากร กรณี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  ติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมใกล้บริเวณ ที่พักอาศัยโดยไม่ได้ดำเนินการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้ เครื่องวิทยุคมนาคม”  ให้ค้างการพิจารณารับรอง (Pending) ไว้ก่อน ทั้งนี้ เพื่อความรอบคอบ และถูกต้องภายหลังได้รับทราบ และพิจารณาการรายงานผลการตรวจสอบรายละเอียดข้อมูล และข้อเท็จจริง (Investigate) อย่างชัดเจนของสำนักงาน กทช.แล้ว
1.1 ในหน้า 7 วาระที่ 4.5  ข้อ 2 ให้ตัดคำว่า “มอบหมาย” ออก และแก้ไขชื่อ “คณะกรรมการสิทธิแห่งทาง” ให้ถูกต้อง เป็น “คณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง”
1.2  ในหน้า 15 วาระที่ 6.1 ข้อ 2.2 แก้ไขคำว่า “Expire” ให้ถูกต้อง เป็น “Expiry”
1.3  ในหน้า 20 วาระที่ 6.5 ให้แก้ไขคำว่า “Unify License” ให้ถูกต้องเป็น “Unified License”
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. (รทช.พิทยาพลฯ) ไปเร่งดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดข้อมูล และข้อเท็จจริงให้ชัดเจน (Investigate) เพื่อรายงานให้ กทช. ทราบ/พิจารณาโดยด่วนในการประชุมครั้งต่อไป ในเรื่องดังต่อไปนี้
2.1  เรื่อง “ข้อร้องเรียนของนายสุรศักดิ์  วิภาบุษบากร  กรณี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  ติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมใกล้บริเวณ ที่พักอาศัยโดยไม่ได้ดำเนินการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้ เครื่องวิทยุคมนาคม” ในประเด็นการอนุญาตให้บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  ติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ในขณะที่เกิดกรณีการร้องเรียนขึ้นก่อนหน้านี้
2.2  เรื่อง “การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ  Trunked  Radio ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ”ในประเด็นความล่าช้าในการดำเนินการภายหลังสิ้นสุดระยะเวลาการ  อนุญาต บมจ.กสท โทรคมนาคม  ในการให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Mobile ย่านความถี่ 480 MHz  และ 800 MHz 
 
ระเบียบวาระที่   3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 11/2553  วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม  2553
 

มติที่ประชุม                

1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 11/2553 วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม  2553 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เร่งดำเนินการในเรื่องต่างๆตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทร คมนาคม นำเสนอไว้ในการประชุมหารือร่วมกับ กทช. (การประชุม กทช. Inner ครั้งที่ 5/2553 วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2553) แล้วรายงานผลให้ กทช. ทราบโดยด่วนในการประชุมครั้งต่อไป อาทิ เรื่อง ระบบการโอนสายในการรับเรื่องร้องเรียนของ Call Center 1200 และเรื่อง อัตรากำลังทดแทนพนักงานของ สบท. ที่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงาน กทช. เป็นต้น

ระเบียบวาระที่    4    :  เรื่องเพื่อพิจารณา   
ระเบียบ วาระที่   4.1 :  รายงานผลการดำเนินงานคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ใน  การนำเลขหมายโทรคมนาคมมาจัดสรรเป็นเลขหมายสวย และขอขยายระยะเวลา พร้อมขอปรับรายชื่อคณะกรรมการ : กทช.สุรนันท์ฯ, รทช.ประเสริฐฯ, กบ.


มติที่ประชุม               รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องรายงานผลการดำเนินงานคณะกรรมการศึกษา ความเป็นไปได้ในการนำเลขหมายโทรคมนาคมมาจัดสรรเป็นเลขหมายสวย และขอขยายระยะเวลา พร้อมขอปรับรายชื่อคณะกรรมการ ตามความเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ซึ่งพิจารณาแล้วเป็นดังนี้
1.  รับทราบรายงานการดำเนินการของคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเลขหมาย โทรคมนาคมมาจัดสรรเป็นเลขหมายสวย
2.  ไม่เห็นชอบให้ขยายระยะเวลา และให้ยกเลิกคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเลขหมายโทรคมนาคมมาจัดสรร เป็นเลขหมายสวย 
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เป็นผู้ศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำเลขหมายโทรคมนาคมมาจัดสรรเป็น เลขหมายสวย โดยให้รายงานผลการศึกษาต่อคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม และให้นำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาภายในเดือนพฤษภาคม 2553

ระเบียบวาระที่  4.2  :   งบการเงินของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะสำหรับปีสิ้น สุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 : กทช. สุรนันท์ฯ, สนง.กองทุนฯ

มติที่ประชุม              
1.  รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง งบการเงินของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะสำหรับปีสิ้น สุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ตามความเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบงบการเงินของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อ ประโยชน์สาธารณะสำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ทั้งนี้ โดยมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
1.1 ค่าบำรุงรักษาโทรศัพท์ตามแผน USO ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2  นโยบาย ด้าน USO ของ กทช. ในปัจจุบัน จะส่งผลให้กองทุนฯ มีภาระด้านค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโทรศัพท์ เมื่อหมดโครงการตามแผน USO Phase 1 เป็นเงินประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี (เริ่มปี พ.ศ. 2556) และภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต เมื่อหมดโครงการตามแผน USO Phase 2 เป็นเงินประมาณ 765 ล้านบาทต่อปี (เริ่มปี พ.ศ. 2557) ซึ่งเมื่อดูแนวโน้มเงินรายได้กองทุนในอนาคตน่าจะมีปัญหา
1.2  การใช้เงินกองทุนฯ ในการดำเนินโครงการของหน่วยงานอื่นที่ผ่านมาได้มีนโยบายให้บางหน่วยงานของ กทช. เช่น สถาบัน วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สำนักการบริการอย่างทั่วถึง ใช้เงินของกองทุนฯ ในการทำโครงการต่างๆของตนเอง ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่ควรทบทวนเพราะจะส่งผลให้สำนักงานกองทุนฯ ไม่ได้ดำเนินโครงการของตนเอง ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนฯ ควรเริ่มดำเนินงานของตนเองได้แล้ว โดยกำหนดแผนงานให้เน้นในด้านที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการอย่างทั่วถึง เช่น การสำรวจข้อมูล    เป็นต้น
1.3  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนฯ ปัจจุบันสำนักงานกองทุนฯ มีค่าใช้จ่ายประจำในการดำเนินงาน   ปีละประมาณ 20-25 ล้านบาท โดยเป็นการนำเงินงบประมาณจากส่วนกลางมาใช้ ซึ่งเห็นว่าควรมีนโยบายให้สำนักงานกองทุนฯ นำเงินรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับปีละประมาณ 30 ล้านบาท มาใช้ในการดำเนินงานโดยให้กรรมการบริหารกองทุนเป็น  ผู้กำกับการใช้เงิน ซึ่ง กทช. ควรจะต้องพิจารณากำหนดนโยบายในการบริหารเงินกองทุนควบคู่กันไปด้วย
2.  มอบหมายให้คณะกรรมการกองทุนฯ รับข้อสังเกตของ กทช.สุรนันท์ฯ ทั้ง 3 ข้อข้างต้น รวมทั้งความเห็นของที่ประชุมเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการบริหารจัดการเงินกอง ทุนฯ ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น อาทิ การบริหารจัดการในลักษณะ Endowment Fund เป็นต้น ไปศึกษาวิเคราะห์ และพิจารณาเสนอความเห็นให้ที่ประชุม กทช. พิจารณาใน 1 เดือนต่อไป

ระเบียบวาระที่   4.3  :   ความเห็นของคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม  เรื่องการให้บริการ 3G บนโครงข่าย TOT : กทช.พันเอกนทีฯ , คบท.

มติที่ประชุม              
1. รับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง ความเห็นของคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม  เรื่องการให้บริการ 3G บนโครงข่าย TOT ตามความเห็นของ กทช.พันเอกนทีฯ ที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ซึ่งพิจารณาแล้วเป็นดังนี้
1.1  ให้สำนักงาน กทช. เร่งพิจารณาแบบสัญญาการให้บริการ 3G ของ บมจ.ทีโอที และตรวจสอบสัญญาการให้บริการ 3G ของ บริษัท MVNO ที่เกี่ยวข้อง
1.2  ให้สำนักงาน กทช. เร่งดำเนินการแบบสัญญามาตรฐานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อบังคับใช้เป็นการทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับการบังคับใช้กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
1.3  เร่งดำเนินการประกาศอัตราขั้นสูงของค่าบริการข้อมูล เพื่อรองรับการออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G และใบอนุญาตการให้บริการข้อมูล BWA
1.4  ให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้ง บมจ.ทีโอที ขอให้รายงานคุณภาพการให้บริการ 3G รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค ให้ กทช. ทราบทุกเดือน
2.  มอบอำนาจให้ กทช.สุธรรมฯ เป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแล และพิจารณาสั่งการเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงานตามข้อ 1.1 , 1.2 รวมทั้งการปฏิบัติตามประกาศ กทช.ว่าด้วย การโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการให้ผู้อื่นร่วมใช้คลื่นความถี่ใน กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2550 กรณีของบริษัท MVNO  ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2553  และให้รายงานผลการดำเนินงานดังกล่าวให้ที่ประชุม กทช. ทราบความคืบหน้าด้วย

ระเบียบวาระที่   4.4    :  ขออนุมัติตัวบุคคลและงบประมาณโครงการออกแบบวงจรต้นแบบ (Prototype Design) ของเทคโนโลยี OFDMA และ MIMO เพื่อรองรับเทคโนโลยี WiMAX และ LTE : ประธาน กทช. , ปธ.

มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบโครงการออกแบบวงจรต้นแบบ (Prototype Design) ของเทคโนโลยี OFDMA และ MIMO เพื่อรองรับเทคโนโลยี WiMAX และ LTE ภายใต้ความร่วมมือ (Joint Statement) กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Hokkaido University ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีการพัฒนาความสามารถด้านการผลิต และมีทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) เป็นของตนเอง ตามข้อเสนอของ ดร.อธิวัจน์ เอื่ยมดิลกวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนงานเลขานุการ กทช. ช่วยปฏิบัติงานประธาน กทช. โดยมีค่าใช้จ่ายโครงการฯในกรอบวงเงิน 1,880,000 บาท ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการรวม 6 เดือน แบ่งเป็น 1st Phase : System Level Simulation ระยะเวลา 3 เดือน วงเงินค่าใช้จ่าย 740,000 บาท และ 2nd Phase : Hardware Design in FPGA ระยะเวลา 3 เดือน วงเงินค่าใช้จ่าย 1,140,000 บาท
2.  อนุมัติให้ ดร.อธิวัจน์ เอื่ยมดิลกวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนงานเลขานุการ กทช. ช่วยปฏิบัติงานประธาน กทช. เดินทางไปเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยออกแบบ ณ Hokkaido University ประเทศญี่ปุ่น ตามโครงการในข้อ 1
3.  อนุมัติในหลักการค่าใช้จ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 (1st Phase) จำนวน 740,000 บาท สำหรับการเดินทางไปศึกษาวิจัยออกแบบ ณ Hokkaido University ประเทศญี่ปุ่น ระยะเวลา 3 เดือน ของ ดร.อธิวัจน์ เอื่ยมดิลกวงศ์ ทั้งนี้ ในการเบิกจ่ายงบประมาณจำนวนดังกล่าว ให้เป็นไปตามระเบียบของสำนักงาน กทช. ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ระเบียบวาระที่   4.5   :   การขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ : กทช.สุรนันท์, รทช.ประเสริฐฯ, กบ.

มติที่ประชุม               อนุมัติ การจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่ มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1255 สำหรับใช้งานภารกิจพิเศษในโครงการสถานีจราจรเพื่อสังคม เพื่อรองรับภารกิจของคณะกรรมการอำนวยการจราจรในการเสด็จ พระราชดำเนิน ซึ่งจัดตั้งตามคำสั่งสำนักราชเลขาธิการและจัดตั้งสถานีวิทยุเพื่อการจราจร เพื่อบริการสังคม โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามความเห็นคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ทั้งนี้ โดยให้ได้รับการยกเว้น ค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอและค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ตามข้อ 79 , 80 และ 82 ของประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ

ระเบียบวาระที่   4.6  :   รายงานผลการดำเนินคดีปกครองหมายเลขดำที่ 2070/2550 : รทช.ฐากรฯ, กม.

มติที่ประชุม               รับทราบรายงานผลการดำเนินคดีปกครองหมายเลขดำที่ 2070/2550 ระหว่างนายแดง ศิริธนาทรัพย์ ผู้ฟ้องคดี ประธาน กทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1  ลทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และ กทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ซึ่งศาลได้นั่งพิจารณาคดีครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2553 และศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องในคดีหมายเลขแดงที่ 603/2553 ลงวันที่ 27 เมษายน 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ

ระเบียบวาระที่    4.7   :  การจ้างที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการจัดทำรายงานบัญชีแยกประเภทบริการ (Accounting Separation) ของผู้ประกอบการ : รทช.พิทยาพลฯ, ศฐ.

มติที่ประชุม             รับทราบการดำเนินงานโครงการศึกษา เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางและวิธีการจัดทำรายงานบัญชีแยกประเภทบริการ (Accounting Separation) ของผู้ประกอบการ ซึ่ง กทช. ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการดังกล่าว  ในกรอบวงเงินงบประมาณตลอดอายุโครงการรวม 40.00 ล้านบาท รวมทั้งเห็นชอบขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษาหรือ Term of Reference (TOR) แล้ว ในการประชุม กทช. ครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2551 ตลอดจน กทช. ได้มีมติรับทราบสถานะการดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการฯ และวิธีการจ้างที่ปรึกษา ในการประชุม กทช.ครั้งที่ 5/2553 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2553 ด้วยแล้ว สำหรับแผนการจัดสรรงบประมาณ จะแบ่งจ่ายในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 6 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณปี 2554 จำนวน 20 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณปี 2553 จำนวน 14 ล้านบาท ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ ขอให้สำนักงาน กทช. เร่งดำเนินโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จต่อไป
   
ระเบียบวาระที่   4.8   :  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง บริการขายต่อบริการ ของบริษัท ไวฟาย เน็ตเทค ดอทคอม จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติให้ บริษัท ไวฟาย เน็ตเทค ดอทคอม จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง ประเภทบริการขายต่อบริการอินเทอร์เน็ต (WiFi) โดยกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า การอนุญาตดังกล่าวต้องไม่ใช่การให้บริการ Broadcasting ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับอื่นที่คณะกรรมการไม่มีอำนาจโดยตรง ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  เห็นชอบเป็นหลักการต่อจากนี้ไปว่า กรณีการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง ประเภทบริการขายต่อบริการอินเทอร์เน็ต (WiFi) ให้ถือเป็นการอนุญาตตามกระบวนการภายใต้การออกใบอนุญาตแบบ Automatic License ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เร่งดำเนินการจัดทำประกาศ เรื่อง Unified License ให้แล้วเสร็จใน 14 วัน แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป

ระเบียบวาระที่    4.9  :   การสิ้นสุดการอนุญาต และการยกเลิกบริการของใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่งและใบอนุญาต การให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติที่ประชุม              
1.  รับทราบการแจ้งขอยกเลิกกิจการของผู้รับใบอนุญาตจำนวน 5 ราย และการละทิ้งใบอนุญาตโดยไม่ดำเนินการต่ออายุ/ไม่มีการรายงานผลการดำเนินงาน ของผู้รับใบอนุญาตจำนวน 13 รายในการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง และการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง รวม 18 ราย และเห็นชอบให้สิ้นสุดการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง และการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งของผู้รับใบอนุญาตทั้ง 18 รายดังกล่าว ตามรายละเอียดการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อเสนอของสำนักงาน กทช. ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 9 วรรค 5 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกอบข้อ 6 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต และข้อ 26 ของประกาศ กทช. เรื่อง เงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งผู้รับใบอนุญาตทั้ง 18 ราย ทราบการยกเลิกการอนุญาตต่อไป ซึ่งได้ประสานงานล่วงหน้าตามขั้นตอนแล้ว
2.  อนุญาตให้บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด ยกเลิกการให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ตามที่บริษัทฯ เสนอขอ โดยเมื่อพิจารณารายละเอียดจากการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อเสนอของสำนักงาน กทช. แล้ว เห็นว่า เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถเจรจาเช่าใช้โครงข่ายจาก บมจ กสท โทรคมนาคม และบริษัทอื่นๆอีกหลายแห่งได้ ประกอบกับสถานการณ์ตลาดในการให้บริการด้านนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยมี การแข่งขันสูงส่งผลให้ความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจลดต่ำลง จึงไม่คุ้มค่าในการลงทุน ทั้งนี้ การขอยกเลิกการให้บริการของบริษัทฯ ดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ เนื่องจากยังไม่เปิดให้บริการ ประกอบกับเป็นบริการที่มีผู้ให้บริการหลายราย และมีสินค้าอื่นที่สามารถทดแทนได้ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดทั้งในเชิงอุปสงค์ และอุปทานของบริการด้านนี้ในภาพรวมแต่อย่างใด
3.  โดยที่การขอยกเลิกกิจการ และ/หรือการละทิ้งใบอนุญาตของผู้ประกอบกิจการจำนวน 18 รายนั้น ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเป็นปรากฎการณ์  ที่มีนัยสำคัญต่อตลาดโทรคมนาคมที่อาจเกิดจากปัญหาความอ่อนแอของผู้ให้บริการ โทรคมนาคมรายย่อย หรือเกิดจากปัญหาการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งสมควรต้องมีการสำรวจตรวจสอบข้อเท็จจริง และศึกษาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา และข้อจำกัดการแข่งขันของผู้ประกอบการรายย่อยในการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบ ที่หนึ่ง และการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งให้ทราบอย่างชัดเจน เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม รวมถึงมาตรการช่วยเหลือให้  เกิดความเป็นธรรม และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถแข่งขันได้ ดังนั้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปดำเนินการ ดังนี้
3.1  รับประเด็นความเห็นข้างต้น ไปศึกษาวิเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข/มาตรการช่วยเหลือ และ/หรือส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยในการประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง และการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งที่เหมาะสม แล้วนำเสนอ กทช. พิจารณาใน 14 วัน
3.2  ศึกษาวิเคราะห์กรณี Price Squeeze ควบคู่ไปด้วย ซึ่งการทำ Price Squeeze นั้น อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงราคาขายส่งหรือ Wholesale Price รวมถึงการใช้ Costing Model ในการศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อการกำหนดราคาขายส่งที่เหมาะสม (ราคากลาง) แล้วนำเสนอ กทช. พิจารณาต่อไป
                                  ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามข้อ 3.1 และ 3.2 ให้สำนักงาน กทช. หารือ กทช.สุธรรมฯ และ กทช.สุรนันท์ฯ ด้วย เพื่อนำข้อคิดเห็นที่ได้ประกอบการพิจารณาดำเนินการให้เกิดความถูกต้องและ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ระเบียบวาระที่   4.10  :   บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติที่ประชุม                มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ และ กทช.พันเอกนที เป็นผู้พิจารณาเรื่อง บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามแนวทางที่ กทช. มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช. พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553

ระเบียบวาระที่   4.11  :  บริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติที่ประชุม                 มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ และ กทช.พันเอกนที เป็นผู้พิจารณาเรื่อง บริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามแนวทางที่ กทช. มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช. พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553

ระเบียบวาระ ที่   4.12  :  บริษัท รีช คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ขอประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติมประเภทขายส่งบริการอินเทอร์เน็ต ในบริการย่อยบริการอินเทอร์เน็ตแบบสายเช่า (Leased Line) และบริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP) ภายใต้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติ ที่ประชุม                 อนุมัติให้ บริษัท รีช คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เพิ่มเติมการประกอบกิจการโทรคมนาคม สำหรับบริการขายส่งบริการอินเทอร์เน็ต ในบริการอินเทอร์เน็ตแบบสายเช่า (Leased Line) และบริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP) ภายใต้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. จัดส่งเงื่อนไขการอนุญาตเฉพาะส่วนที่จำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้แก่ บริษัทฯ ถือปฏิบัติต่อไป

ระเบียบวาระที่   4.13  :  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองของบริษัท เอเชีย เทเลพอร์ท จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติที่ประชุม            มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ เป็นผู้พิจารณาเรื่อง การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองของบริษัท เอเชีย เทเลพอร์ท จำกัด ตามแนวทางที่ กทช. มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช. พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553

ระเบียบวาระที่   4.14  :  การตรวจสอบขอบเขตการดำเนินงานของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติที่ประชุม             เพื่อให้การพิจารณาเรื่อง การตรวจสอบขอบเขตการดำเนินงานของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นไปด้วยความรอบคอบ เนื่องจาก  ยังมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบต่อการแข่งขัน จึงมีมติมอบหมายให้ กทช. ทุกท่านรับไปพิจารณาศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงให้สำนักงาน กทช. นำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ในการประชุมครั้งต่อไป

ระเบียบวาระที่    4.15  :  การขอเพิ่มเติมบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือนแบบ Non Facilities Based MVNO :   รทช.ประเสริฐฯ, ปก.

มติที่ประชุม           มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ และ กทช.พันเอกนทีฯ เป็นผู้พิจารณาเรื่อง การขอเพิ่มเติมบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือนแบบ Non Facilities Based MVNO  ตามแนวทางที่ กทช. มีมติเห็นชอบการมอบอำนาจให้ กทช. พิจารณาเรื่องแล้ว ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553

ระเบียบวาระที่   4.21   :  ขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง IP-Based Interconnection : สชท.

มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบการเปลี่ยนสถานที่จัดงานโครงการฝึกอบรม IP-Based Interconnection ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2553 จากกรุงเทพฯ เป็นจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมืองหมายเหตุ เนื่องจาก สถานการณ์ความไม่สงบ จึงยังไม่ได้รับคำตอบแจ้งยืนยันรายชื่อผู้เข้าร่วมจากประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น จำเป็นต้องเลื่อนการฝึกอบรมดังกล่าวออกไปก่อน
2.  เห็นชอบการปรับเปลี่ยนงบประมาณการดำเนินโครงการฝึกอบรม IP-Based Interconnection จากเดิม 1,000,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 1,640,400 บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของ สชท. ประจำปี 2553 หมวดงบประมาณค่าใช้จ่ายการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
3.  เห็นชอบการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พักให้แก่ผู้แทนจาก ASEAN 9 ประเทศ ประเทศละ 1 ทุน และให้ผู้แทนจาก ASEAN Secretariat จำนวน 1 ทุน เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ด้านความมั่นคงและปลอดภัยของ ประเทศไทยและเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเข้าร่วมโครงการจากสมาชิก ASEAN ประเทศต่างๆ
4.  เห็นชอบการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าโรงแรมที่พักของ กทช. และผู้ติดตาม โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักกิจการกรรมการ หมวดค่าใช้จ่ายในการจัดการและบริหารองค์กร รายการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศประจำปี 2553 ที่ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว
5.  เห็นชอบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าโรงแรมที่พักของพนักงาน สำนักงาน กทช. ที่เข้าร่วมโครงการฯ จากงบประมาณของสำนักทรัพยากรบุคคล ประจำปี 2553 ที่ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว

ระเบียบวาระที่   4.22   :   ร่างคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม : รทช.ฐากรฯ, กม.

มติที่ประชุม
              ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ที่ประชุม กทช. ชุดเดิม ได้มีมติในเรื่องดังกล่าวไปในการประชุม กทช.ครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 จึงมีมติให้สำนักงาน กทช. จัดส่งร่างคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้ กทช. ชุดเดิม  ลงนามก่อนจัดส่งให้คู่กรณีดังกล่าวรับทราบต่อไป

หมายเหตุ                   วาระที่ 4.16 – 4.20 ยังมิได้มีการพิจารณา ทั้งนี้ สำนักงาน กทช. จะได้บรรจุในระเบียบวาระการประชุม กทช. ครั้งต่อไป
 
ระเบียบวาระที่   5    :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่   5.1 :  รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 : รทช.ฐากรฯ, กม.


มติที่ประชุม               รับ ทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือมอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ประจำเดือนมีนาคม 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.2    :  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ  (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 25 มีนาคม 2553 ถึง 29 เมษายน 2553) : รทช.พิทยาพลฯ, ศฐ.

มติที่ประชุม               รับ ทราบการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรคมนาคมของผู้ประกอบการ  จำนวน 6 ราย (รายการส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 25 มีนาคม 2553 ถึง 29 เมษายน 2553) ซึ่งเป็นไปตามข้อ 12 ของประกาศ กทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการและการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทร คมนาคม พ.ศ. 2549 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ ดังนี้
1.  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของ บมจ.ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น และ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด
2.  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และ บจ.ทรูมูฟ
3.  การ เรียกเก็บอัตราค่าบริการประเภทใหม่ สำหรับบริการ IP Phone แบบใช้เลขหมาย Video Phone และ SIP Trunk ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ระเบียบวาระที่   5.3   :  รายงานผลการดำเนินการโครงการการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ฉบับที่ 3 ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2552 : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ.

มติที่ประชุม               รับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ฉบับที่ 3 ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2552 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.4  :   รายงานข้อมูลของสถานีวิทยุชุมชน ประจำเดือนมีนาคม 2553 : รทช.ประเสริฐฯ, กท.

มติที่ประชุม               รับทราบรายงานสรุปข้อมูลสถานะความเคลื่อนไหวของวิทยุชุมชนและ ข้อมูลสถิติระดับความเสี่ยงต่างๆที่เกิดจากวิทยุชุมชน โดยเฉพาะในกรณีมีผลกระทบร้ายแรงต่อการรบกวนวิทยุการบิน ประจำเดือนมีนาคม 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.5  :   งบการเงินของสำนักงาน กทช. สำหรับไตรมาสที่ 1 สิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2553 : รทช. ประเสริฐฯ, คง.

มติที่ประชุม                 รับทราบงบการเงินของสำนักงาน กทช. สำหรับไตรมาสที่ 1 สิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2553 ซึ่งเป็นไปตามข้อ 78 ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการรับ การจ่าย และการเก็บรักษาเงิน พ.ศ. 2548 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.6  :   ขอนำข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท : สชท.

มติที่ประชุม               รับทราบและเห็นชอบให้นำเรื่องข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท ตามประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 เพื่อให้คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทเป็นผู้ดำเนินการต่อไป ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ

ระเบียบวาระที่    5.7  :  ขอนำข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) กับบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)) เข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท : สชท.

มติที่ประชุม               รับทราบและเห็นชอบให้นำเรื่องข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) กับบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) เข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท ตามประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 เพื่อให้คณะกรรมการวินิฉัยข้อพิพาทเป็นผู้ดำเนินการต่อไป ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ

ระเบียบวาระที่   5.8  :   การเดินทางศึกษาดูงาน ณ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศสิงค์โปร์ : กทช.สุรนันท์ฯ

มติที่ประชุม                รับทราบการเดินทางของ กทช.สุรนันท์ฯ และคณะรวม 3 ราย ในการเดินทางศึกษาดูงานแผนการให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงแห่งชาติ และด้านการบริการอย่างทั่วถึงสำหรับผู้ด้อยโอกาสกับบริษัท Telstra ณ กรุงแคนเบอร์รา และนครซิดนีย์  ประเทศออสเตรเลีย รวมทั้ง เข้าร่วมชมงาน Tetra World Congress ณ ประเทศสิงค์โปร์ ในระหว่างวันที่ 17-25 พฤษภาคม 2553 ตามเอกสารที่ กทช.สุรนันท์ฯ เสนอ
 
ระเบียบวาระที่  6     :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  อนุมัติทุนการศึกษาระดับปริญญาโท ณ ต่างประเทศ : กทช.สุธรรมฯ


หมายเหตุ               เรื่องนี้ยังมิได้มีการพิจารณา ทั้งนี้ สำนักงาน กทช.จะได้บรรจุในระเบียบวาระการประชุม กทช.ครั้งต่อไป

ระเบียบวาระที่   6.2  :  ขอเพิ่มเติมมติที่ประชุม ครั้งที่ 10/2553 : กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม                  โดย ที่มติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 10/2553 และระเบียบ กทช. ว่าด้วยการพัฒนาบุคลากร พ.ศ. 2551 มิได้ระบุรายละเอียดในส่วนที่มาของแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้สนับสนุนทุนการ ศึกษาระดับปริญญาโทให้กับพนักงานตามสัญญาจ้างส่วนงาน กทช.สุธรรมฯ จำนวน 2 ราย ซึ่ง กทช.ได้มีมติอนุมัติให้ทุนการศึกษาดังกล่าวแล้ว ได้แก่ นางสาวกุลรดา ไชยศรี เข้าศึกษาในระดับนิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย University of California , Berkeley School of Law ประเทศสหรัฐอเมริกา  และนางสาวชนิดา สุปรีดานุวัฒน์  เข้าศึกษาในระดับนิติศาสตร์มหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัย King’s College London สหราชอาณาจักร  จึงเห็นชอบให้เพิ่มเติมมติที่ประชุมดังกล่าว โดยระบุให้สำนักงาน กทช. ส่งเรื่องให้ กทช.บัณฑูรฯ พิจารณาจัดสรรงบสนับสนุนทุนการศึกษาฯ ให้แก่พนักงานทั้ง 2 รายดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ

ระเบียบวาระที่   6.3  :  การจัดทำข้อเสนอเพื่อยื่นขอเป็นเจ้าภาพในการจัดงานสัมมนา 19th ITS Biennial Conference 2012  : คณะกรรมการเตรียมการเพื่อเสนอโครงการจัดตั้งสถาบัน Regional Anchor Institute ที่ประเทศไทย

มติที่ประชุม                
1.  อนุมัติให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการจัดทำ และยื่นข้อเสนอเพื่อขอเป็นเจ้าภาพการจัดงานสัมมนา 19th ITS Biennial Conference 2012 ตามที่คณะกรรมการเตรียมการเพื่อเสนอโครงการจัดตั้งสถาบัน Regional Anchor Institute ที่ประเทศไทย เสนอ
2.  อนุมัติงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินงานจัดทำและยื่นข้อเสนอเพื่อขอเป็น เจ้าภาพการจัดงานสัมมนา 19th ITS Biennial Conference 2012 ในปี 2553 จำนวนเงิน 8,700,000 บาท ตามที่คณะกรรมการเตรียมการฯ เสนอ

ระเบียบวาระที่   6.4  :  โครงการความร่วมมือพัฒนาธุรกิจโทรคมนาคมไทย : กทช.สุธรรมฯ , สพท.

มติที่ประชุม                
1.  เห็นชอบการลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทย โดยเน้นกลุ่มผู้ประกอบการไทย และบริษัทที่อยู่ในตลาดทุนไทย ซึ่งกำหนดระยะเวลาโดยประมาณในสัปดาห์สุดท้ายของ เดือนพฤษภาคม 2553 ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ  

หมายเหตุ                   กำหนดวันลงนามเป็นวันที่ 27 พฤษภาคม 2553 ระหว่างเวลา 13.30 – 14.00 น. ณ  สถาบันวิทยาการตลาดทุน
2.  อนุมัติหลักการกรอบวงเงินสำหรับโครงการความร่วมมือพัฒนาธุรกิจโทรคมนาคม ไทยจำนวน 11.5 ล้านบาท และสำหรับการจัดสัมมนา Training และ Workshop จำนวน 1 ล้านบาทของสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12.5 ล้านบาท โดยใช้จากเงินงบกลางปี 2553 ของสำนักงาน กทช.
                                   ทั้งนี้  สำหรับรายละเอียดของการจัดทำโครงการภายใต้ความร่วมมือและการจัดซื้อจัดจ้าง ที่จำเป็นให้ดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง และให้เป็นไปตามความเห็นร่วมกันของกรรมการทั้งสองฝ่าย (สำนักงาน กทช. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) จะแนะนำ

ระเบียบวาระที่   6.5  :   รายงานความคืบหน้าและค่าใช้จ่ายโครงการปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน ASEAN Secretariat สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม             อนุมัติวงเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน ASEAN Secretariat สาธารณรัฐอินโดนีเซีย จำนวนเงิน 57,208.20   ดอลล่าร์สหรัฐและ 640,000 บาท  ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการปฏิบัติงาน ณ หน่วยงานในต่างประเทศ ของสำนักงาน กทช. ปี 2553 ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ

ระเบียบวาระที่  6.6  :   การสนับสนุนโครงการรำลึกการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ 100 ปี : กทช.สุธรรมฯ

มติที่ประชุม          โดยที่โครงการรำลึกการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครบ 100 ปี เป็นโครงการภายใต้มูลนิธิมหาจักรีสิรินธรเพื่อคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย อันเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กทช. และคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นการเทิดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จ    พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเป็นการรำลึกถึงการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ 100 ปี อีกทั้ง ยังเป็นการกระตุ้นให้เด็ก เยาวชนรุ่นใหม่และประชาชนทั่วไปให้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนให้ความรู้ทางด้านกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติ อนุมัติเงินสนับสนุนโครงการรำลึกการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ครบ 100 ปี จำนวน 10,000,000 บาท โดยใช้งบประมาณจ่ายประจำปี 2553 รายการเงินสนับสนุนของสำนักงาน กทช. ตามที่ กทช.  สุธรรมฯ เสนอ โดยมอบให้มูลนิธิมหาจักรีสิรินธรเพื่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระเบียบวาระที่ 6.7   :  การใช้บริการช่องสัญญาณของดาวเทียมต่างชาติสำหรับโครงการ USO ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : กทช.สุรนันท์ฯ     

มติที่ประชุม              อนุญาตให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สามารถใช้ดาวเทียม Vinasat  ของประเทศเวียดนามในการดำเนินโครงการ USO ได้ ทั้งนี้ โดยให้ใช้ได้เฉพาะ Domestic VSAT ภายใต้กรอบข้อตกลงอาเซียน (ASEAN Framework Agreement) เท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทย ยังมิได้ประกาศใช้นโยบาย Open Sky และให้กำหนดเงื่อนไขด้วยว่าบริษัทฯจะต้องดำเนินการขออนุญาต หรือได้รับการ Endorse หรือรับรองจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ครบถ้วนถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ เสนอ ซึ่งความเห็นของกระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องนี้ ต่างมีความเห็นตรงกันว่า ข้อผูกพันการเปิดเสรีโทรคมนาคมภายใต้กรอบอาเซียนกำหนดให้เฉพาะผู้ให้บริการ ต่างชาติเท่านั้นที่ต้องใช้ดาวเทียมไทยคม แต่ไม่ได้มีผลผูกพันกับผู้ให้บริการที่เป็นคนไทยแต่อย่างใด  โดยหากไม่มีกฎหมายอื่นใดที่ห้ามมิให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม  ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมของต่างชาติแล้ว บริษัทฯ ก็จะสามารถใช้ดาวเทียม Vinasat  ของประเทศเวียดนามได้

ระเบียบวาระที่   6.8   :  แนวนโยบายในการผลักดันการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่และเทคโนโลยีการสื่อสาร ความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access :  BWA)  เพื่อขยายการให้บริการบรอดแบนด์ :  กทช. พันเอกนทีฯ , คณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้ สาย (Broadband Wireless Access : BWA)

มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบในหลักการและแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการ สื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) ย่านความถี่ 2.3 GHz และ 2.5 GHz ตามที่ กทช.พันเอกนทีฯ เสนอ ดังนี้
1.1  ย่านความถี่ 2.3 GHz
1)  เป้าหมาย : เพื่อให้มีผู้ให้บริการ BWA ในประเทศ โดยในเบื้องต้น จะมุ่งเน้นให้ผู้ที่ไดรับการจัดสรรคลื่นความถี่รายเดิมสามารถให้บริการ BWA ได้ โดยกำหนดเงื่อนไขกำกับ ซึ่งมุ่งเน้นที่จะให้ผู้ที่มีความถี่เกินจำนวนที่กำหนด ต้องดำเนินการตามความเหมาะสมในการที่จะให้ผู้รับใบอนุญารายอื่นสามารถใช้ ความถี่ส่วนเกินนั้น ได้แก่ การคืนความถี่ให้แก่ กทช. หรือการดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศ กทช. ว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และการให้ผู้อื่นร่วมใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2550
2) แนวทางการดำเนินการ :
(1) จัดทำร่างประกาศ กทช. เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่รายเดิมจะต้องให้บริการ BWA ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(2) การจัด Focus Group เพื่อหารือ และแสดงความเห็นต่อแนวทางการออกประกาศฯ
(3) การกำหนดเงื่อนไขในการประกอบการอนุญาตให้ผู้ที่ประสงค์ให้บริการ BWA ปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การออกประกาศ เช่น การกำหนดระยะเวลาเริ่มบริการ การกำหนด Spectrum Cap สำหรับผู้ให้บริการแต่ละราย การกำหนดระยะเวลาการคืนความถี่ส่วนเกิน และการอนุญาต รวมถึงมาตรการเยียวยาที่เหมาะสมให้กับหน่วยงานเพื่อความมั่นคง และหน่วยงานที่ไม่ประสงค์จะให้บริการ BWA แต่มีภารกิจที่ยังคงต้องการคลื่นความถี่ไว้ใช้งาน
(4) การจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กทช. (ประมาณเดือนมิถุนายน 2553)
(5) นำ ประกาศ กทช. ลงในราชกิจจานุเบกษา และบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป (ประมาณเดือนกรกฎาคม 2553)
1.2  ย่านความถี่ 2.5 GHz
1)  เป้าหมาย : เพื่อส่งเสริมบริการ Broadband ในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งอาจใช้เกณฑ์อัตราการเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ หรือรายได้ต่อครัวเรือน เป็นปัจจัยการกำหนด และเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐ
2) แนวทางการดำเนินการ :
(1) กำหนดพื้นที่เป้าหมายและลักษณะการดำเนินโครงการ โดยจัดทำเป็นโครงการของ กทช. เพื่อส่งเสริมให้มีบริการ Broadband ตามวัตถุประสงค์ของบริการโดยทั่วถึง และกำหนดพื้นที่เป้าหมายในแต่ละภูมิภาค โดยในระยะแรก จะมุ่งเน้นจังหวัดที่มีอัตราการเข้าถึงบริการ Broadband และมีรายได้หรือกำลังซื้อต่ำสุดประมาณ 15 จังหวัด ทั้งนี้ แต่ละพื้นที่จะกำหนดให้มีผู้ให้บริการจำนวน 1 ราย
(2) การกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้ประกอบการในเชิงพาณิชย์ได้ รวมทั้งเงื่อนไขการดำเนินโครงการอย่างน้อยในประเด็น อัตราขั้นสูงสำหรับค่าใช้บริการ และแผนการขยายพื้นที่การให้บริการที่ครอบคลุม เป็นต้น
(3) การกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดำเนินโครงการ  เช่น ข้อเสนอการขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมที่น้อยที่สุด พื้นที่ให้บริการ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ดำเนินโครงการสามารถขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมใร ส่วนที่ต้องแบกรับภาระด้านต้นทุนได้ รวมถึงสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้ตามความเหมาะสม (Technology Neutral) โดยผู้ดำเนินโครงการต้องรับใบอนุญาตแบบที่สาม และต้องปฏิบัติตามระเบียบ/ประกาศที่ กทช. จะกำหนดในอนาคตด้วย
(4) จัดทำร่างประกาศ กทช. เพื่อกำหนดโครงการเพื่อส่งเสริมให้มี Broadband ในพื้นที่เป้าหมาย โดยเป็นโครงการในลักษณะของบริการโดยทั่วถึง
(5) ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประมาณเดือนมิถุนายน 2553)
(6) กระบวนการคัดเลือกแล้วเสร็จได้ผู้ดำเนินโครงการ (ประมาณเดือนกันยายน 2553)
2.  เห็นชอบให้คณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วย เทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) ดำเนินการประสานงานกับ บมจ.อสมท. เพื่อหาแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี BWA มาใช้สำหรับบริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิกระบบ MMDS ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาอนุญาตได้ เนื่องจากเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อบริการเดิมตามวัตถุประสงค์เดิม โดยแนวทางดำเนินการที่เหมาะสมคือ การจัดทำเป็นข้อตกลงร่วมเพื่อการอนุญาต โดยจะได้จำกัดการใช้ความถี่ของหน่วยงานให้อยู่ภายใต้แผนความถี่วิทยุของ กทช. ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินการเมื่อมีองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ตามกฎหมายในอนาคต อันจะนำไปสู่การอนุญาตให้บริการ BWA รายใหม่ได้ตามเจตนารมณ์
     
ระเบียบวาระที่   6.9  :  ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการเรียกคืนและจัดสรรคลื่นความ ถี่ใหม่สำหรับกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่วิทยุ 2300 – 2400 MHz  : กทช. พันเอกนทีฯ

มติที่ประชุม            รับทราบ และเห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็นของ กทช.พันเอกนทีฯ ที่ได้รับอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นชอบตามแนวทางการเรียกคืนคลื่นความถี่ใหม่สำหรับกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่วิทยุ 2300 – 2400 MHz ตามที่คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการเรียกคืน และจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่สำหรับกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่วิทยุ 2300 – 2400 MHz เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งคู่เจรจา เพื่อให้มีหนังสือยืนยันตามข้อตกลงมายัง กทช. ต่อไป

ระเบียบวาระที่  6.10 :  ขอทดสอบการให้บริการ Broadband Wireless Access (BWA)  ย่านความถี่วิทยุ 2300 – 2400 MHz จากการปรับปรุงโครงข่าย TDMA ของ บมจ.ทีโอที  :    กทช. พันเอกนทีฯ

มติที่ประชุม            รับทราบ และเห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็นของ กทช.พันเอกนทีฯ ที่ได้รับอำนาจจากที่ประชุม กทช. ตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นชอบให้ส่งเรื่อง ขอทดสอบการให้บริการ Broadband Wireless Access (BWA)  ย่านความถี่วิทยุ 2300 – 2400 MHz จากการปรับปรุงโครงข่าย TDMA ของ บมจ.ทีโอที ให้คณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี ไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) เป็นผู้รับผิดชอบต่อไป

ระเบียบวาระที่  6.11  :  การดำเนินการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่   IMT หรือ 3G and Beyond : กทช. พันเอกนทีฯ ,คณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and Beyond

มติที่ประชุม              เห็น ชอบในหลักการกรอบการดำเนินการของคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and Beyond ตามรายละเอียดที่ กทช.พันเอกนทีฯ เสนอ

ระเบียบวาระที่   6.12   :  การแต่งตั้งกรรมการคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ IMT หรือ 3G and Beyond  และกรรมการคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วย เทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access  : BWA) เพิ่มเติม :  กทช. พันเอกนทีฯ

มติที่ประชุม              
1.  อนุมัติให้แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบ กิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and Beyond  จำนวน 5 คน ตามที่ กทช.พันเอกนทีฯ เสนอ ประกอบด้วย
1.1  ดร.รังสรรค์    วงศ์สรรค์
1.2  ดร.ศุภัช    ศุภชลาศัย
1.3  ร.ท.หญิง อัญชลีพร   ชัยชาญกุล
1.4  นายไพรัช    บุญประกอบวงศ์
1.5  นางสาวสุภิญญา   กลางณรงค์
2.  อนุมัติให้แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบ กิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) จำนวน 6 คน ตามที่ กทช.พันเอกนทีฯ เสนอ ประกอบด้วย
2.1  ดร.ณัฐวุฒิ   หนูไพโรจน์
2.2  ดร.ธเนศ   เมฆเจริญ
2.3  ร.ต.คณิน    ทันหะพันธ์
2.4  นางสุนทรี  เซ่งกิ่ง
2.5  นายดำรงค์  วัสโสทก
2.6  นายนันทเกียรติ  สุทธิธรรม
3.  อนุมัติให้กรรมการในคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and Beyond  และกรรมการในคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วย เทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) ที่เป็นบุคคลภายนอกได้รับค่าตอบแทนเบี้ยประชุมตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ข้อ 18 (ข) ในอัตราครั้งละ 8,000 บาท และสำหรับกรรมการที่เป็นพนักงานสำนักงาน กทช. ก็ให้ได้รับค่าตอบแทนเบี้ยประชุมตามที่ระเบียบกทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) กำหนดไว้

ระเบียบวาระที่   6.13   :  การปรับเปลี่ยนพิจารณาโครงสร้างของสำนักงาน กทช. : ประธาน กทช.

มติที่ประชุม                มอบหมายให้ ร/ก ลทช. ไปหารือร่วมกับ รทช. แต่ละคนในฐานะหัวหน้าสายงาน เพื่อพิจารณาปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง (Reorganize) โครงสร้างบุคลากร และหน่วยงานภายในของแต่ละสายงานที่เห็นว่ามีปัญหาอุปสรรคภายใต้โครงสร้างของ สำนักงาน กทช. เดิม ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. เกิดประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองต่อนโยบาย กทช.ให้ได้ผลในทางปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น

หมายเหตุ                   ที่ประชุมได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาในช่วงระหว่างการพิจารณาวาระที่ 4.3 และ 6.6 (ไม่มีเอกสารประกอบวาระ)

สร้างโดย  -   (16/3/2559 18:14:09)

Download

Page views: 130