Banner

นายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ

นายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ

กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ประวัติการศึกษา
  • วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาโทรคมนาคม จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (พ.ศ.2515)
  • รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์หรือบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ.2535)

ประวัติการทำงาน
  • ผู้อำนวยการ กองคลัง (พ.ศ.2539)
  • ผู้อำนวยการสถานี โทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 (พ.ศ.2539 - 2540)
  • ผู้อำนวยการ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 (พ.ศ.2540 - 2542)
  • รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (พ.ศ.2542 - 2544)
  • อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (พ.ศ.2544 - 2547)
 กรรมการที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิ 
  • ประธานคณะกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ (พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน)
 คณะกรรมการสภา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ประธานคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์
  • คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • ประธานคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์สมาคมข้าราชการพลเรือน (พ.ศ. 2543)
การอบรมและศึกษาดูงาน
  • หลักสูตรนักบริหารระดับสูง หลักสูตรที่ 1 (นบส. 1) รุ่นที่ 29 สำนักงาน ก.พ.
  • หลักสูตรผู้บริหารกระบวนยุติธรรมระดับสูง กระทรวงยุติธรรม
  • หลักสูตรทัศนศึกษาดูงาน สถานี โทรทัศน์ เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ สถาบัน องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ

วิสัยทัศน์  

          นายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ ได้ แสดงวิสัยทัศน์ว่าในการทำหน้าที่ กทช. ตามอำนาจหน้าที่หลักเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมและอำนาจหน้าที่การกำหนดการจัด สรรคลื่นความถี่ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ในฐานะคณะกรรมการร่วม ที่ประกอบไปด้วย กทช. และ กสช. โดยหยิบปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางข่าวสาร โดยเฉพาะข่าวสารทางดิจิตอล จนทำให้เกิดช่องว่างทางข่าวสาร เนื่องจากการเข้าถึงสายโทรคมนาคมที่ไม่เท่าเทียมกันทั้งโทรศัพท์ธรรมดาและโท รศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ยากจน ทำให้กลุ่มประเทศโออีซีดี ได้เสนอให้มีการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมโดยเพิ่มการเข้าถึงและทำให้การเข้าถ ึงมีราคาถูกลง ในการแก้ปัญหาดังกล่าวในประเทศกำลังพัฒนาไม่ใช่การลดช่องว่างเรื่องปริมาณกา รเข้าถึงในเรื่องดังกล่าวเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงคุณภาพของข่าวสารที่จะมาเสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน กทช. จะต้องส่งเสริมการกระจายการบริการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีอัตราการใช้บริการที่เหมาะสมกับสาธารณะและให้โอกาสการเข้าถึงบริการเป็นพิ เศษสำหรับกลุ่มด้อยโอกาสโดยกำหนดเงื่อนไขการออกใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตต้ องจ่ายเงินชดเชย เมื่อไม่สามารถจัดบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในเมืองและชนบทตามเงื่อนไขที ่กำหนดหรือให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนการส่งเงินคืนรัฐ หรือได้รับมาตรการส่งเสริมอื่นเมื่อมีการให้บริการที่ดีกว่าเงื่อนไขของใบอน ุญาตขณะเดียวกันหน้าที่คณะกรรมการร่วม (กสช.และ กทช.) ต้องสนับสนุนการจัดสรรความถี่และเครือข่ายวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การจัดสัดส่วนและการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนในระดับจังหวัด ปัญหาโทรคมนาคมไทยในปัจจุบัน การจัดสรรคลื่นให้กับผู้ประกอบการมีจำนวนจำกัดเฉพาะราย และเป็นลักษณะให้สัมปทาน จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ความถี่ 800 MHz, 900 MHz จากการจัดสรรความถี่ของ กสท. โทรคมฯ พบว่า มีการเชื่อมโยงสัญญาณเสียงหรือรายการวิทยุระหว่างห้องส่งวิทยุกระจายเสียงไป ยังเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงเพื่อออกอากาศ ทำให้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงในพื้นที่ห่างไกลถูกรบกวนระหว่างสัญญาณส่งร ายการวิทยุกับการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยต้องให้ความสำคัญกับการจัดสรรคลื่นในแง่มุมด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องคือก่ อนที่จะมีการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุแก่ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ต้องมีการตรวจสอบและเฝ้าฟังในช่องความถี่วิทยุที่จัดสรรให้ก่อน ว่ามีการรบกวนในลักษณะใดบ้าง โดยสำนักงาน กทช. จะต้องหมั่นตรวจสอบเฝ้าฟังการใช้ความถี่วิทยุที่ผู้ประกอบการได้รับการจัดสร รไปแล้วและจัดสรรใหม่ว่ามีการใช้คลื่นความถี่วิทยุให้เกิดประโยชน์ไม่ขัดต่อ แผนความถี่วิทยุและคุ้มค่าหรือไม่ หากไม่ใช้ประโยชน์ต้องเรียกเก็บความถี่วิทยุนั้นคืน 
          นอกจากนั้น กทช. มีหน้าที่หลักต้องดำเนินการในฐานะหน่วยงานด้านอำนวยการของรัฐบาลไทย ในกิจการสื่อสารระหว่างประเทศ กับองค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาล และหน่วยงานของต่างประเทศ กทช. จะต้องสร้างความสัมพันธ์อันดี แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจทางด้านการบริหารการจัดการเทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับองค์การระหว่างประเทศ

สร้างโดย  -   (31/1/2559 19:06:48)