ศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ
ศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ
ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ประวัติการทำงาน ตำแหน่งรับราชการ (พ.ศ.2544 - 2546)
- นายกสมาคมศิษย์เก่าทรัพย์สินทางปัญญา
- ศาสตราจารย์ระดับ 10 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประธานสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยไฟฟ้าสื่อสาร ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- Core Team Leader ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม) พ.ศ.2540
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) พ.ศ.2543
เหรียญราชอิสริยาภรณ์
- เหรียญจักรพรรดิ์มาลา พ.ศ. 2544
กรรมการที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิ (พ.ศ.2556)
- กรรมการฝ่ายวิชาการ รัฐสภา
- กรรมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- ประธานอนุกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ ICT เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อตุสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
- กรรมการศึกษาความเหมาะสมโครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท กับหมู่บ้าน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
ประสบการณ์ด้านกิจการโทรคมนาคม
- ที่ปรึกษาการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจของ ทศท.
- กรรมการตรวจรับการศึกษาแปรสภาพของกระทรวงคมนาคมและ กสท.
- วิทยากรให้ ทศท. ในหลักสูตรอบรมผู้บริหาร ทศท.
วิสัยทัศน์
- ศ.ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ แสดงวิสัยทัศน์โทรคมนาคมไว้ว่า “กำกับดูแลและส่งเสริมกิจการโทรคมนาคมให้เป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจแล ะสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน ให้กิจการ โทรคมนาคมสามารถแข่งขันอย่างเสรี มีประสิทธิผลและเป็นธรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน”
- ธรรมชาติของธุรกิจโทรคมนาคม มีการแข่งขันสูง มีการลงทุนมาก มีวัฏจักรของอายุ ผลิตภัณฑ์สั้นมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ดังนั้น กทช. พึงมีนโยบายที่สามารถสนับสนุนธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศให้ปรับตัวเจริญก้าวหน ้าและแข็งแกร่ง เพื่อสามารถแข่งขันกับต่างชาติและเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและประชาชน
นอกจากนี้ ได้เสนอนโยบายภาพรวมแล้ว ยังได้เสนอนโยบายหลักอีก ๔ ประการเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จและภาระหน้าที่ของ กทช. คือ
- นโยบายด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศและ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในเวทีการค้าโลก ซึ่งมีทั้งแผนเชิงรุก เช่น มีส่วนร่วมในกิจการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศส่งเสริมการลงทุนโครงข่ายและโครงสร้างพื้นฐานไปต่างประเ ทศ พัฒนาให้ไทยเป็นฮับ Hub ในภูมิภาค เป็นต้น และแผนเชิงรับ เช่น เสนอแนะนโยบายการถือหุ้น การควบรวมและการได้มาของบริษัทข้ามชาติในไทย สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ผลิตในประเทศไทย ฯลฯ
- นโยบายอุตสาหกรรม ICT ในประเทศและเพิ่มขีดความสามารถให้สามารถแข่งขันได้ในขณะที่เปิดเสรีในปี 2549 โดยเสนอ 5 เรื่อง ที่กทช. ควรดำเนินการ เช่น ส่งเสริมให้เกิดการผลิตทดแทนนำเข้า และสร้างแรงจูงใจในการส่งออก สนับสนุนผู้ประกอบการให้บริการโทรคมนาคมข้ามชาติผ่าน ดาวเทียมสื่อสารและให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยลดค่าบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะธุรกิจที่เกี่ยวกับด้าน ICT มีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคมที่สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นในประเท ศได้ เช่น อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
- นโยบายหลักสเปกตรัมและแผนการจัดสรรความถี่ ซึ่ง กทช. ควรศึกษาวิเคราะห์และทำแผนการจัดความถี่ที่อ้างอิงกับตลาดอย่างแท้จริง โดยให้พิจารณาจากคำแนะนำของสหภาพ โทรคมนาคมระหว่างประเทศ และวัฒนธรรมไทยและแนวทางที่กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ดำเนินมา
- นโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สังคมและการศึกษา เช่น เปิดโอกาสใช้อินเทอร์เน็ตฟรีแก่ประชาชนและนักศึกษาในชนบทก่อน และขยายต่อไปจนครบทุกตำบลหมู่บ้านและอำเภอ, จัดสรรความถี่เพื่อการศึกษาและปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เป็นต้น
สร้างโดย - (31/1/2559 19:01:25)