สรุปมติที่ประชุม กทช. 12/2552

ระเบียบวาระการประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 12/2552
วันพุธที่ 8 และวันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน  2552
เวลา  9.30  น. และ 14.00 น. 
ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 
ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
เนื่องจากสัปดาห์หน้า จะเป็นวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขอฝากสำนักงาน กทช. ช่วยเตือนพนักงาน และลูกจ้าง ว่ามีความเป็นห่วง เรื่องการเดินทางของพนักงาน และลูกจ้าง ของสำนักงาน กทช. ที่จะเดินทางไปต่างจังหวัด ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง เมาไม่ขับ และดูแลตนเองให้ดี เพื่อเดินทางกลับมาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความปลอดภัย
มติที่ประชุม  รับทราบตามที่ประธานแจ้ง และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่ 2  :  เรื่องรับรองมติที่ประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1  :  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 11/2552 วันพุธที่ 1 เมษายน  2552 
มติที่ประชุม
  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 11/2552 วันพุธที่ 1 เมษายน  2552 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ โดยมีการแก้ไขข้อความในวาระที่ 6.4 ข้อ 2 ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จากเดิม “...และเนื่องจากบุคคลภายนอกทั้งสองดังกล่าวเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่อาวุโสแล้ว ...”  แก้ไขเป็น “....และเนื่องจาก รศ.ดร.สุธี ฯเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่อาวุโสแล้ว ...” 
ระเบียบวาระที่  3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช.  ครั้งที่ 11/2552 วันพุธที่ 1 เมษายน 2552
มติที่ประชุม
               
1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 11/2552 วันพุธที่ 1 เมษายน  2552  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รวบรวมและประมวลวิเคราะห์รายละเอียดข้อมูลสถานการณ์การลงทุนตาม Roll out Plan ของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตประเภทต่างๆในภาพรวมไปแล้วว่า จะส่งผลต่อตลาดโทรคมนาคมมากน้อยอย่างไร รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น การจ้างงาน ทั้งนี้ ขอให้สายงาน/รทช.ผู้รับผิดชอบสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ให้แล้วเสร็จเสนอ กทช.โดยเร็วต่อไป
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา   
ระเบียบวาระที่  4.1 – 4.2  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.3  :  โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ และมหาวิทยาลัยวาเซดะ แห่งประเทศญี่ปุ่น : กทช.สุธรรมฯ (วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
             
1.  รับทราบรายงานการเดินทางของคณะผู้แทนสำนักงาน กทช. ในการเข้าร่วมหารือและเจรจาข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กทช. และมหาวิทยาลัยวาเซดะ แห่งประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 18 – 21 กุมภาพันธ์ 2552 ณ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ
2.  เห็นชอบกรอบข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยให้จัดทำในลักษณะ Joint Statement ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและมหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น 
3. มอบหมายให้สำนัก งาน กทช.โดยเลขาธิการ กทช. เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งตรวจสอบและปรับแก้ไข Format ให้ถูกต้องโดยแก้ไขผู้ลงนามตอนท้ายของร่างข้อตกลงจากเดิมเป็น “Office of NTC”  ตลอดจนประสานงานเพื่อกำหนดวัน เวลาในพิธีลงนาม Joint Statement ให้เหมาะสมและเรียบร้อยต่อไปด้วย
ระเบียบวาระที่  4.4  :  โครงการให้ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยวาเซดะ แห่งประเทศญี่ปุ่น : กทช.สุธรรมฯ(วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
             
1.  เห็นชอบการให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทจำนวน 2 ทุนและปริญญาเอกจำนวนไม่เกิน 2 ทุน ภายใต้ความความร่วมมือทางวิชาการ (Joint Statement) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยวาเซดะ แห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษาต่อในสถาบัน Graduate School of Asia-Pacific Studies (GSAPS) แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น ในปีการศึกษา 2553 ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.ตั้งงบประมาณเพื่อรองรับทุนการศึกษาดังกล่าวในปีงบประมาณ 2553 ต่อไปด้วย
2. เห็นชอบรายละเอียดข้อกำหนดคุณสมบัติทั่วไปสำหรับผู้มีสิทธิเข้ารับการคัด เลือกเพื่อรับทุนการศึกษาตามข้อ 1 โดยมีข้อแก้ไขเพิ่มเติมกรณีคุณสมบัติทั่วไปสำหรับบุคคลภายนอกให้เหมาะสมยิ่ง ขึ้น รวมทั้งเงื่อนไขการรับทุนการศึกษา ดังนี้
2.1  กรณีคุณสมบัติทั่วไปสำหรับบุคคลภายนอก ข้อ ข) ให้ตัดคุณวุฒิการศึกษาสาขา “นิติศาสตร์” ออก และเพิ่มคุณวุฒิการศึกษาสาขา ”วิศวกรรมโทรคมนาคม” เช่นเดียวกับคุณสมบัติสำหรับบุคลากรภายในสำนักงาน กทช. รวมทั้ง ให้ตัดคำว่า “หรือสาขาอื่นที่เทียบเท่า” ออกด้วย
2.2   กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนด้วยว่า “พนักงาน/บุคคลภายนอก ที่ได้รับทุนการศึกษา นั้น เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะต้องกลับมาปฏิบัติงานที่สำนักงาน กทช.”
ระเบียบวาระที่  4.5  :  การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการงดหรือระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกรณีที่มี เหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันประโยชน์สาธารณะ : รทช.ประเสริฐฯ, กท. ( วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณา ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นต่างๆเพิ่มเติม รวมทั้งจัดทำรายละเอียดข้อมูล และข้อเสนอเพื่อพิจารณาที่ชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น แล้วจึงเสนอให้ที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ที่สำคัญ ได้แก่ 
1. ประมวลรายละเอียดข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา โดยจัดทำเป็นตารางแสดงการเปรียบเทียบข้อคิดเห็นต่อร่างประกาศฯ ในประเด็นต่างๆ ระหว่างข้อคิดเห็นที่ได้รับจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ข้อคิดเห็นจากการพิจารณาของ กทช. และข้อคิดเห็นของสำนักงาน กทช.
2. จัดทำข้อเสนอให้ กทช.พิจารณาโดยการเปรียบเทียบให้เห็นระหว่างร่างประกาศฯ เดิมก่อนการแก้ไขปรับปรุง กับร่างประกาศฯที่ได้แก้ไขปรับปรุงจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแล้ว เพื่อที่ กทช.จะสามารถพิจารณาตัดสินใจในประเด็นต่างๆได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
3. ใน รายละเอียดของร่างประกาศฯ ควรต้องพิจารณากำหนดบุคคลผู้ใช้อำนาจภายใต้ขอบเขตและ Definition ที่ชัดเจน รวมทั้งความหมาย/คำจำกัดความของคำว่า “เหตุฉุกเฉิน” นั้น ควรพิจารณากำหนดให้เป็นไปตามที่รัฐบาลมีการประกาศตาม พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ  รวมถึงคำว่า “เหตุจำเป็น” ควรพิจารณากำหนดให้เป็นไปตามที่มีการประกาศ ใช้ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติตามมาได้
4. นอกจากนี้อาจกำหนดนิยาม “กรณีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็น” ให้เป็นไปตามมาตรา 63 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ ซึ่งมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันประโยชน์สาธารณะ รวมถึงอาจพิจารณาทางเลือกโดยให้การออกประกาศดังกล่าว เป็นเพียงประกาศเพื่อขยายความคำว่า “เหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น” เนื่องจากมาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ ได้กำหนดกรอบ/ขอบเขตกรณีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นไว้กว้าง เป็นต้น 
ระเบียบวาระที่ 4.6  :  ผลการดำเนินการของคณะเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป : รทช.พิทยาพลฯ, รศ.( วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
             
1.  รับทราบผลการศึกษา และข้อเสนอแนะของคณะเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ในเรื่องข้อเสนอของสหภาพยุโรป (EU)  ที่เกี่ยวข้องกับ Trade in Service สาขาโทรคมนาคมภายใต้กรอบอาเซียน-สหภาพยุโรป ตามที่คณะเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรปในสาขาโทรคมนาคมเสนอ
2. เห็นชอบด้วยกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีฯ ในเรื่องข้อเสนอของสหภาพยุโรป (EU) ที่เกี่ยวข้องกับ Trade in Service สาขาโทรคมนาคมภายใต้กรอบอาเซียน-สหภาพยุโรป ตามที่เสนอ ทั้งนี้ โดย Position ในเบื้องต้น เห็นว่า รูปแบบและแนวทางการเจรจาร่วมกันในนามของกลุ่มประเทศ ASEAN จะส่งผลดีและเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลได้มากกว่าการเจรจาแบบทวิภาคี
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. แจ้งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 2 รวมทั้งให้สำนักงานฯ และคณะเจรจาฯ รับข้อคิดเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรอง ได้แก่ การติดตามผลการประชุมที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนตั้งรับ และการศึกษานโยบาย และผลกระทบที่การเจรจาความตกลงดังกล่าวจะมีต่อการเจรจากับประเทศอื่น รวมไปถึงการเจรจารอบอื่นด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป และขอให้ Update ข้อมูลสถานะการปฏิบัติตามกฎระเบียบในเรื่องต่างๆของสำนักงาน กทช.ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันด้วย
ระเบียบวาระที่ 4.7 – 4.9  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.10  :  การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง บริษัท เพย์ เน็ตเวอร์ค จำกัด (เดิม บริษัท ไอเพลย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด) : ผชช.กม., รทช.ประเสริฐฯ, ปก. (วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
             
1.  รับทราบการเปลี่ยนชื่อ นิติบุคคล จากบริษัท บริษัท ไอเพลย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็น บริษัท เพย์ เน็ตเวอร์ค จำกัด ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ
2.  เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้บริษัท เพย์ เน็ตเวอร์ค จำกัด  จะขาดการต่ออายุใบอนุญาตนานถึง 165 วัน แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขครั้งแรกของบริษัทฯ ประกอบกับบริษัทฯ ได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปแล้ว และโดยที่ปัจจุบัน ประเทศอยู่ระหว่างประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการรายย่อย และเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ที่ประชุมจึงมีมติต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ของบริษัท เพย์ เน็ตเวอร์ค จำกัด มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี ตามแนวทางและหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตแบบ Automatic License ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยให้นับอายุใบอนุญาตต่อเนื่องจากใบอนุญาตเดิม ทั้งนี้ ให้บริษัทฯ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบ/ประกาศ กทช.ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเงื่อนไขการอนุญาตอย่างเคร่งครัดต่อไปด้วย  
ระเบียบวาระที่  4.11  :  การขอข้อมูลผู้ใช้บริการโทรคมนาคมของบริษัท ทริปเปิลที โกลบอลเน็ท จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. (วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  ที่ประชุมได้พิจารณาและวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวแล้ว มีมติสรุปได้คือ การที่บริษัท ทริปเปิลที โกลบอลเน็ท จำกัด  มีความประสงค์จะขอข้อมูล ชื่อและที่อยู่ของลูกค้า จากผู้ให้บริการโทรคมนาคมภายในประเทศ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้าเองโดยตรง นั้น สามารถดำเนินการได้ โดยถือเป็นการดำเนินการตามข้อ 24 และ ข้อ 25 แห่งประกาศ กทช.ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ซึ่งได้ให้/ประกันสิทธิแก่ผู้รับใบอนุญาตที่ให้บริการโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศไว้แล้ว ดังนั้น การให้ข้อมูลที่เข้าข่ายตามบทบัญญัติแห่งประกาศข้างต้น จึงไม่ถือเป็นการขัดต่อประกาศ กทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว สิทธิความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม 
ระเบียบวาระที่  4.12  :  เงื่อนไขในการอนุญาตใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.(วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
             
1. อนุมัติเงื่อนไขเฉพาะรายบริการในการอนุญาตใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สามของ บมจ. กสท โทรคมนาคม เพิ่มเติมจากเดิมตามรายละเอียดที่สำนักงาน กทช. เสนอ ประกอบด้วยกลุ่มบริการดังต่อไปนี้
1.1 บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกลุ่ม (Private Radio Service)
1.2 บริการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมโดยไม่มีสถานีแม่ข่ายเป็นของตนเอง
1.3 บริการ รับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (Satellite Uplink/Downlink service) จากสถานีแม่ข่าย
1.4 บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ใช้จานสายอากาศขนาดเล็ก เพื่อให้บริการแก่บุคคลทั่วไปจำนวนมาก (Public Very Small Aperture Terminal Service : VSAT)
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.หารือ กทช.สุธรรมฯ ถึงการใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและถูกต้องในรายละเอียดของเงื่อนไขที่ปรับเพิ่ม เติมดังกล่าวด้วย รวมทั้งรับข้อคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อประกอบการดำเนินการต่อไป อาทิ
2.1  กรณี “บริการรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม” ให้ใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องว่า “บริการรับส่งสัญญาณเป็น Transmission Platform” 
2.2  ในกรณีของการเพิ่มเติมบริการที่เข้าข่ายเป็นกิจการด้านกระจายเสียง ต้องดำเนินการตามที่กฎหมายการประกอบกิจการกระจายเสียงกำหนดไว้ อย่างไรก็ดี กรณีบริการรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม นั้น เป็นการประกอบกิจการตามสิทธิที่ได้รับมาแต่เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 74 ได้ให้สิทธิในการประกอบกิจการนั้นได้ต่อไป
2.3 กรณีการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมต้องระบุรายละเอียดของ เงื่อนไขเกี่ยวกับขอบเขตการใช้งานและการให้บริการให้สมบูรณ์ ถูกต้อง และชัดเจน ทั้งนี้ เนื่องจากอาจมีกรณีการใช้ดาวเทียมต่างชาติด้วย
ระเบียบวาระที่ 4.13  :  การขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม ของบริษัท ซุปเปอร์ ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต จำกัด : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม  อนุมัติให้บริษัท ซุปเปอร์ ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต จำกัด ได้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ได้แก่ บริการเครือข่ายสื่อสารบรอดแบนด์ (Broadband Network Service) และบริการเข้าถึงเครือข่ายบรอดแบนด์ (Broadband Network Access Service)  โดยกำหนดอายุใบอนุญาต 10 ปี ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการัดให้มีบริการพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมด้วยตาม ข้อเสนอของบริษัทฯที่ได้แจ้งไว้
ระเบียบวาระที่  4.14  :  การสิ้นสุดการอนุญาตของผู้รับใบอนุญาต : รทช.ประเสริฐ, ปก.
มติที่ประชุม
             
1. รับทราบการยกเลิกกิจการและสิ้นสุดการอนุญาต กรณีไม่มีผู้ใช้บริการของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต ประกาศ กทช. เรื่องเงื่อนไขในการอนุญาต ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสายอิน เทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง เงื่อนไขในการอนุญาต ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง และเงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม จำนวน 5 ราย (7 ใบอนุญาต)  ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ดังนี้
1.1 บริษัท ซาวน์เวล์ล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ขอยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ต ที่มีโครงข่ายของตนเอง
1.2 บริษัท มัลติมีเดียเทคโนโลยี จำกัด ขอยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง
1.3 บริษัท เด่นอุดมวิศวกรรม จำกัด ขอระงับการดำเนินการชั่วคราวใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง
1.4 บริษัท ซิมเบิลเน็ตเวอร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขอยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ตามที่สำนักงานฯ เสนอ
1.5 บริษัท แอดวานซ์ เทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด ขอยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง
2. อนุมัติการยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ตามที่บริษัทฯ เสนอขอ เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีแผนการดำเนินการกับผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสม จนปัจจุบันไม่มีผู้ใช้บริการแล้ว จึงไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด
ระเบียบวาระที่ 4.15  :  ขอให้แต่งตั้งกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่เพิ่ม : คณะกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่, รทช.ทศพรฯ, ตว. (วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบการแต่งตั้ง พ.อ.ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ เป็นกรรมการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่แทน นายดิเรก เจริญผล ผู้เชี่ยวชาญประจำ กทช.ที่ลาออกไป 
ระเบียบวาระที่ 4.16  :  คำให้การในคดีฟ้องเพิกถอนกระบวนการวินิจฉัยข้อพิพาทที่ 1/2551 และคำชี้ขาดข้อพิพาทที่ 1/2551 : รทช.พิทยาพลฯ, กม.(วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
               
1. เห็นชอบให้สำนักงาน กทช. มีบันทึกคำชี้แจงถึงพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบสำนวนคดีปกครองหมายเลขดำที่ 1777/2551 ระหว่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้ฟ้องคดีกับ กทช. ผู้ถูกฟ้องคดี และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (TAC) ผู้ถูกฟ้องคดีร่วม เพื่อขอให้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การต่อศาลปกครองในคดีดังกล่าวต่อไป ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ โดยให้เพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ตามความเห็นของ ผชช.กฎหมายประจำ กทช.และความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง สรุปได้ดังนี้
1.1 ชี้แจงในประเด็นที่ True กล่าวอ้างว่า กทช. มีอำนาจในการวินิจฉัยตีความเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของ True ตามสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนระหว่าง TOT กับ True โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ของ กทช.
1.2 ชี้แจงในเรื่องอำนาจและสถานะของ กวพ. ให้ชัดเจนตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายประจำ กทช. (พลเอกชูชาติสุขสงวน) เสนอ
1.3 ชี้แจงโดยให้เน้นข้อกฎหมายตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นฐานแห่งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะเป็นผู้ได้รับอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาจาก บมจ.ทีโอที ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ และเงื่อนไขที่ กทช. กำหนดบนพื้นฐานของหลักการแข่งขันโดยเสรีและอย่างเป็นธรรมและให้ถือว่ามี สิทธิหน้าที่และความรับผิดเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติดัง กล่าว
     ทั้งนี้ ให้สำนักงานฯ ยกร่างบันทึกคำชี้แจงแล้วนำเสนอ กทช.สุธรรมฯ เพื่อพิจารณาความครบถ้วนและความถูกต้องของถ้อยคำทางกฎหมายก่อนจัดส่งให้ พนักงานอัยการผู้รับผิดชอบสำนวนคดีโดยด่วนต่อไป
2. สำหรับในประเด็นเรื่องของความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการและคำชี้ขาดข้อ พิพาทของ กทช.รวมถึงการให้เหตุผลในประเด็นที่ กทช.และ กวพ.ไม่เรียก TOT เข้ามาเป็นคู่กรณีฝ่ายที่สามในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท นั้น มีอยู่ในคำให้การของพนักงานอัยการครบถ้วนแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นนี้อีก
ระเบียบวาระที่ 4.17  :  การมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแทนคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 : รทช.ประเสริฐฯ (คณะทำงานพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงก่อนมีคำสั่งเพิกถอนหรือพักใช้ใบอนุญาตใน กิจการวิทยุคมนาคม), กม.(วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
             
1. เห็นชอบการมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแทนคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประกาศ กทช.เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่กระทำความผิด โดยมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการใช้ความถี่วิทยุ ผู้อำนวยการศูนย์ตรวจสอบการใช้ความถี่วิทยุ  และหัวหน้าสถานีตรวจสอบการใช้ความถี่วิทยุ พิจารณาโทษด้วยการตักเตือนด้วยวาจา และการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยให้สำนักงาน กทช. จัดทำคำสั่งการมอบหมายตามมติดังกล่าวเสนอประธาน กทช. ลงนามต่อไป
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการเพื่อให้เกิดความชัดเจนและ รอบคอบในทางปฏิบัติต่อไปด้วย โดยพิจารณากำหนดแบบฟอร์มการบันทึก/รายงานการว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจาเพื่อ เป็นเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ โดยอาจใช้แนวทางเดียวกับการมอบอำนาจกรณีการประกอบกิจการโทรคมนาคม 
ระเบียบวาระที่  4.18  :  การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 : รทช.พิทยาพลฯ, กม.(วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
 มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการเพื่อ วิเคราะห์เสนอ กทช.ให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่าจะมีประเด็นใดบ้างที่สมควรนำมาพิจารณาเพื่อ แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 หรือสมควรกำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ ทั้งนี้ โดยมีประเด็นความเห็นที่สำคัญ อาทิ
1. เรื่องการบริหารคลื่นความถี่ การจัดสรรคลื่นความถี่ การอนุญาตและการกำกับดูแลกิจการวิทยุคมนาคม ได้โอนอำนาจมาเป็นของ กทช.ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543 แล้ว
2. เรื่องการกำหนดมาตรฐาน และลักษณะพึงประสงค์ทางเทคนิคของเครื่องวิทยุและอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่ ในกิจการโทรคมนาคม และวิทยุคมนาคมได้โอนอำนาจมาเป็นของ กทช.ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2543 และ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 แล้ว
3. เรื่องการกำกับดูแลเครื่องวิทยุและอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่เพื่อ กิจการวิทยุคมนาคมที่ต้องมีใบอนุญาตให้ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้ายังคงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 โดยมิได้ระบุไว้ใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2543 และ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
4. เรื่องการกำกับผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่ต้องได้รับใบอนุญาตเป็น พนักงานวิทยุสมัครเล่น และพนักงานวิทยุประจำเรือ ยังคงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
นอกจากนี้ ที่ประชุมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมในประเด็นอื่นๆ ได้แก่ 1) การอำนวยความสะดวกในการทดลองทดสอบ และ2) กรณีเครื่องวิทยุคมนาคมในยุคหน้า (NGN) หรือ Convert Service User Generated Network รวมทั้ง DAB และ DUB ที่สมควรนำไปศึกษาพิจารณาประกอบการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ด้วย
ระเบียบวาระที่ 4.19  :  วิเคราะห์การออกประกาศ กทช. เรื่อง กำหนดนิติบุคคลตามมาตรา 5(2) แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 : รทช.พิทยาพลฯ, กม.(วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นที่ประชุมไปวิเคราะห์ความเหมาะสมและถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ในการออกประกาศ กทช. เรื่อง กำหนดนิติบุคคลตามมาตรา 5(2) แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ที่กำหนดให้สำนักงาน กทช.เป็นนิติบุคคลตามมาตรา 5(2) แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคมฯ ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมตาม มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคมฯ ซึ่งโดยหลักแห่งความเสมอภาคของการกำกับดูแลแล้ว ไม่สมควรมีการยกเว้นหรือสมควรยกเลิกการยกเว้น ทั้งนี้ โดยให้วิเคราะห์ในประเด็นนี้ร่วมไปกับเรื่อง การแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.20  :  การพิจารณาแก้ไขบทเฉพาะกาลของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 : รทช.   พิทยาพลฯ, กม. (วันพุธที่  8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
               
1.  ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า การกำหนดบทเฉพาะกาล ข้อ 36 แห่งประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549  เป็นบทบังคับชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหา และสิ้นผลบังคับเมื่อปัญหาหมดไป ซึ่งมีความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปตามหลักการของกฎหมายแล้ว ประกอบกับกรณีปัญหาความเดือดร้อนจนเป็นเหตุให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมี หนังสือร้องขอมานั้น ไม่เกี่ยวข้องกับข้อ 36 แห่งประกาศ กทช.ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุหรือความจำเป็นใดที่จะต้องแก้ไขหรือยกเลิก ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติไม่ต้องแก้ไขบทเฉพาะกาล ข้อ 36 แห่งประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549  ตามที่เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร้องขอ 
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือแจ้งเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่ารับทราบเรื่องตามที่ร้องขอ และเพื่อทราบมติตามข้อ 1 พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียด และความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการต่างๆ ของ กทช. และสำนักงาน กทช. เพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าวที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับนโยบายตามข้อคิดเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ไปพิจารณาปรับปรุงการดำเนินการเพื่อให้การทำงานแล้วเสร็จลุล่วงได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้สำนักกฎหมายทำงานร่วมกับสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมใน กรณีของงานพิจารณาสัญญาต่อไปด้วย
ระเบียบวาระที่ 4.21  :  การยกเลิกการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ : รทช. พิทยาพลฯ, กม. (วันพุธที่  8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปวิเคราะห์และจัดทำรายละเอียด ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของ กทช.ในเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน รอบคอบ และครบถ้วน ถูกต้องมากยิ่งขึ้น แล้วจึงนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีประเด็นที่สำคัญ อาทิ
1. จัดทำข้อมูลการลำดับเหตุการณ์ความเป็นมา (Chronology) ของเรื่องนี้ให้เห็นภาพรวมได้ครบถ้วน และชัดเจน เช่น บริษัทได้รับอนุญาตเมื่อใด การชำระค่าตอบแทนความถี่เป็นเท่าใด อย่างไร รวมถึงค่าความถี่ที่ต้องชำระเพิ่มเติม สถานะของหนี้ที่เกิดขึ้นมีจำนวนหนี้คงค้างเป็นเท่าใดและสถานะการชำระหนี้ที่ ผ่านมาจนถึงขณะนี้เป็นอย่างไร โดยแบ่งแยกหนี้ตามห้วงเวลาก่อนมี พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และภายหลังมี พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ เป็นต้น
2. วิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการหนี้ว่าสมควรต้องดำเนินการ อย่างไร รวมทั้งการวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อบังคับใช้กฎหมายกับบริษัท เวิลด์ สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด เช่น การยกเลิกใบอนุญาต หรือ การพักใบอนุญาตชั่วคราว
3. การวิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยแยกประเด็นให้ชัดเจน เช่น การประกอบกิจการของบริษัท เวิลด์ สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นกิจการในการให้บริการด้านกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ดังนั้น การยกเลิกการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุจึงมิใช่หน้าที่หรืออยู่ในอำนาจของ กทช. รวมถึงการประกอบกิจการของบริษัท เวิลด์ สตาร์ฯ จะเข้าข่ายตามมาตรา 75 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น 
ระเบียบวาระที่  4.22 - 4.28  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.29  :  หนังสือประมวลคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้และเชื่อมต่อโครง ข่ายโทรคมนาคม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ : กทช.สุธรรมฯ, รทช.พิทยาพลฯ, กม. (วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบการจัดพิมพ์หนังสือประมวลคำ วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับไปดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวต่อไปในจำนวนที่เหมาะสมภายใต้ กรอบวงเงิน 600,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแลการประกอบ กิจการโทรคมนาคมไทย สำหรับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้สนใจ ตลอดจนพนักงานสำนักงาน กทช. ใช้เป็นคู่มือในการพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายอันเกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ตาม กฎหมายต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.30  :  ร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยเครื่องแบบปฏิบัติการและเครื่องแบบประจำสำนักงานของสำนักงานคณะ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ....  : รทช.ฐากรฯ, บค.  (วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบร่างระเบียบ กทช. ว่าด้วยเครื่องแบบปฏิบัติการและเครื่องแบบประจำสำนักงานของสำนักงานคณะ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 3)  พ.ศ. .... ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำร่างระเบียบฯเสนอประธาน กทช. ลงนามต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้พนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์/สถานีตรวจสอบการใช้ความถี่ วิทยุ มีเครื่องแบบแขนยาวสำหรับแต่งกายเพื่อเข้าร่วมรับเสด็จในงานพระราชพิธีและ งานพิธีที่สำคัญอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม และสอดรับกับเครื่องแบบสีกากีแขนยาวของทางราชการ
ระเบียบวาระที่ 4.31 – 4.38  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.39  :  แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐภายใต้บทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ (วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิ ในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐภายใต้บทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ เสนอ โดย :
1. ให้มีหนังสือแจ้งสิทธิกรมประชาสัมพันธ์ ตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ทั้งนี้ โดยประธาน กทช.เป็นผู้ลงนาม
2. ให้ มีหนังสือแจ้งสิทธิส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ทั้งนี้ โดยประธาน กทช.เป็นผู้ลงนาม
ระเบียบวาระที่ 4.40  :  ร่างประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการแก่ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ   (วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
               
1. เพื่อให้การพิจารณาตัดสินใจของ กทช. ในเรื่องนี้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเกิดความรอบคอบมากที่สุด จึงเห็นสมควรให้รอผลการพิจารณา/ความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน ซึ่งสำนักงาน กทช.ได้มีหนังสือขอหารือไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 แล้วจึงนำเสนอ กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความแน่ชัดในการใช้อำนาจของ กทช.ตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ว่าจะไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 47 และ มาตรา 305 (1)
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.เร่งติดตามความคืบหน้าการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาตามที่ได้มี หนังสือขอหารือไป เพื่อนำผลมา ประกอบการพิจารณาในเรื่องนี้โดยเร็วต่อไป 
ระเบียบวาระที่ 4.41  :  ร่างประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของผู้ประกอบกิจการ ที่ดำเนินการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ... : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ   ( วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
             
1. เพื่อให้การพิจารณาตัดสินใจของ กทช. ในเรื่องนี้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเกิดความรอบคอบมากที่สุด จึงเห็นสมควรให้รอผลการพิจารณา/ความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน ซึ่งสำนักงาน กทช.ได้มีหนังสือขอหารือไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 แล้วจึงนำเสนอ กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความแน่ชัดในการใช้อำนาจของ กทช.ตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ว่าจะไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 47 และ มาตรา 305 (1)
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.เร่งติดตามความคืบหน้าการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาตามที่ได้มี หนังสือขอหารือไป เพื่อนำผลมา ประกอบการพิจารณาในเรื่องนี้โดยเร็วต่อไป 
ระเบียบวาระที่ 4.42  :  แนวทางการแจ้งตอบหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งใบอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา ได้หมดอายุลงภายหลังพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ   ( วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบหลักการการแจ้งตอบหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งใบอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา ได้หมดอายุลงภายหลังพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ ตามแนวทางที่ 1 ที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอ ทั้งนี้ โดยเป็นการแจ้งสิทธิในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของส่วน ราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 เช่นกัน
ระเบียบวาระที่ 4.43  :  ร่างประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) และร่างมาตรฐานทางเทคนิค กทช.ผว.001 - 2552 กิจการบริการชุมชน (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ฉบับชั่วคราว : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ (วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบในหลักการร่างประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) และร่างมาตรฐานทางเทคนิค กทช.ผว.001 - 2552 กิจการบริการชุมชน (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ฉบับชั่วคราว แบบแสดงความประสงค์ขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาต ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการเพื่อปรับปรุงราย ละเอียดด้านเทคนิคเพิ่มเติมให้เหมาะสมและถูกต้อง ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งในประเด็นข้อคิดเห็นอื่นๆ และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะให้เป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบ/ประกาศ ที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ได้ต่อไป ที่สำคัญ อาทิ
1. ให้พิจารณานำข้อเสนอร่างแผนความถี่โครงการทดลองสถานีวิทยุชุมชนตามที่ เสนอมาไปปรับปรุง และจัดทำเป็นแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ชั่วคราวสำหรับกิจการวิทยุกระจายเสียง ชุมชนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2. ในข้อ 8 (2) ของร่างประกาศฯ ให้ระบุเพิ่มเติมด้วยว่า “เป็นไปตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2543” ด้วย (ที่เสนอมาระบุเพียง “กฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม” เท่านั้น)
3. สำหรับรายละเอียดด้านเทคนิค ต้องกำหนด Frequency Deviation ไว้ด้วย รวมถึงความกว้างของแถบคลื่นเพื่อมิให้เกิดการรบกวนกัน ตลอดจนรายละเอียดลักษณะพึงประสงค์ของเครื่องส่งด้วย เป็นต้น
4. นอกจากนี้ มีข้อสังเกตเพิ่มเติมจาก กทช.สุธรรมฯ ได้แก่ 1) ควรมุ่งเน้นวัตถุประสงค์/เจตนารมย์ของการสนับสนุนกิจการวิทยุชุมชนให้มีความ เข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ถูกครอบงำจากนายทุน 2) ร่างประกาศฯ มีลักษณะเป็นแบบราชการเกินไป อาจดำเนินการได้ไม่สะดวกเท่าที่ควร และ3) ควรมีการ Subsidy จากรัฐหรืออาจมีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ รวมถึงการ Training ด้านต่างๆ เป็นต้น 
ระเบียบวาระที่ 4.44 – 4.46  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.47  :  ร่างประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ  (วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบในหลักการร่างประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศดังกล่าวให้ เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้นในประเด็นต่างๆ ก่อนนำไปจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้อง ต่อไป อาทิ
1. ในข้อ 2 ของร่างประกาศฯ ควรเพิ่มเติมการแบ่งระดับของกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ที่มีการ บอกรับสมาชิกอีก 1 ระดับได้แก่ ระดับภูมิภาค จากเดิมที่กำหนดไว้อย่างน้อยเป็นระดับชาติ และระดับท้องถิ่นเท่านั้น
2. ควรกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมในการประกอบกิจการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
3. กรณีการจัดทำสัญญากับประชาชนในการให้บริการกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่น ความถี่ที่มีการบอกรับสมาชิก นั้น ควรต้องกำหนดให้เป็นสัญญามาตรฐาน
4. ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตาม ระเบียบ/ประกาศ กทช.ที่จะออกต่อไปในอนาคตไว้ด้วย (Subject to Future Regulation)
5. ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขกรณีมีสถานการณ์เหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น (Emergency)  ผู้รับใบอนุญาตต้องดำเนินการแจ้งข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชน และควรกำหนดเรื่องช่องรายการเพื่อทำหน้าที่ออกอากาศทวนสัญญาณรายการของสถานี วิทยุโทรทัศน์ที่มีการแพร่ภาพออกอากาศเป็นการทั่วไป (Must Carry) ไว้ในหลักเกณฑ์ด้วย
6. ให้กำหนดเป็น ข้อปฏิบัติ(Requirement) สำหรับผู้รับใบอนุญาตต้องดำเนินกระบวนการ Reporting ด้วย (Reporting Requirement) เป็นต้น
ระเบียบวาระที่  4.48  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.49  :  แนวทางการแจ้งตอบหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่ขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ   (วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบหลักการแจ้งตอบหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่ขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวคือ “กรณีการขอใช้คลื่นความถี่เพื่อใช้ดำเนินการหรือประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งตามบทเฉพาะกาลแห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดให้ กทช. มีอำนาจอนุญาตให้ดำเนินการเฉพาะแก่ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนและ กิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่เท่านั้น ดังนั้น กทช. จึงมิอาจพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้” ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ดำเนินการทางธุรการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.50  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 5  :  เรื่องเพื่อทราบ 
ระเบียบวาระที่ 5.1  :  รายงานผลการประชุมประสานงานความถี่ดาวเทียมในระดับหน่วยงานโทรคมนาคม ระหว่างมาเลเซียและไทย ครั้งที่ 5 : รทช.ทศพรฯ, วท., กร.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการประชุมประสานงานความถี่ดาวเทียมใน ระดับหน่วยงานโทรคมนาคมระหว่างมาเลเซียและไทย ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่  25-26 มีนาคม 2552 ณ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิง พาวเวอร์ กรุงเทพฯ ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.2  :  รายงานผลการดำเนินงานการจัดให้มีการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและ บริการเพื่อสังคม เดือนมกราคม 2552 ของ บมจ.ทีโอที : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานการจัดให้มีการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่ว ถึงและบริการเพื่อสังคม ของ บมจ.ทีโอที ตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การจัดให้มีการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม 3 ข้อ คือ ประกาศฯข้อ 2.1  2.5 และ 2.6 ประจำเดือนมกราคม 2552 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.3  :  แจ้งกำหนดการจัด Ministerial Programme 2010 ของ GSMA Mobile World Congress : รทช.ทศพร , รศ.
มติที่ประชุม
  รับทราบกำหนดการจัด Ministerial Programme 2010 ของ GSMA Mobile World Congress  ระหว่างวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2553 ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.4  :  ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 178/2552 เรื่อง ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) เปิดให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศโดยให้รหัส 005 ผ่านโครงข่ายของบริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำกัด) : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
  รับทราบความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 178/2552 เรื่อง ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) เปิดให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศโดยให้รหัส 005 ผ่านโครงข่ายของบริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำกัด) ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.5  :  ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 179/2552 เรื่อง ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่เกิดจากการที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) นำโครงข่ายโทรคมนาคมไปเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรคมนาคมของผู้ให้บริการราย อื่น) : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
  รับทราบความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 179/2552 เรื่อง ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่เกิดจากการที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) นำโครงข่ายโทรคมนาคมไปเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรคมนาคมของผู้ให้บริการราย อื่น) ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.6  :  การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ประกอบการใน เดือนมีนาคม 2552 (ระหว่างวันที่ 21 – 31 มีนาคม 2552) : รทช.พิทยาพลฯ, ศฐ.
มติที่ประชุม
  รับทราบการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ประกอบการใน เดือนมีนาคม 2552 (ระหว่างวันที่ 21 – 31 มีนาคม 2552) จำนวน 3 รายการ ประกอบด้วย 1) อัตราค่าบริการโทรศัพท์พื้นฐานของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น 2) อัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บจ.ทรูมูฟ  3) อัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของ บจ.ทริปเปิลที โกลบอล เน็ท ซึ่งดำเนินการตามข้อ 12 ของประกาศ กทช. เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการและการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าใน กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  6  :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  การแก้ไขปรับปรุงระเบียบ สพท. สำนักงาน กทช. จำนวน 4 ฉบับ : สพท. ( วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
             
1.  เนื่องจากสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (สพท.) มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องกับนักวิจัย และผู้รับทุนการศึกษาจากทุนสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาบุคลากรทาง ด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสถาบันวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรมโทรคมนาคม สำนักงาน กทช. จำนวน 4 ฉบับ ตามที่ สพท.เสนอ ดังนี้
  • ระเบียบสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สำนักงาน กทช. ว่าด้วยการอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พ.ศ.2551 
  • ระเบียบสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สำนักงาน กทช. ว่าด้วยการติดตามประเมินผล และการจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พ.ศ.2551
  • ระเบียบสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สำนักงาน กทช. ว่าด้วยการให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยบุคลากรโทรคมนาคมและเทคโนโลยีทีเกี่ยวข้อง พ.ศ. 2551
  • ระเบียบสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สำนักงาน กทช. ว่าด้วยการรักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและการจัดสรรผลประโยชน์อันเกิดจาก ผลการวิจัย พ.ศ.2551
     ทั้งนี้ การให้ความเห็นชอบข้างต้น เป็นการอนุมัติโดยมีเงื่อนไขว่า หากระเบียบ สพท.ทั้ง 4 ฉบับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับระเบียบกลางของ กทช. ว่าด้วยการบริหารงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม พ.ศ. ... เมื่อมีผลใช้บังคับแล้ว ให้ สพท.ปรับปรุงแก้ไขระเบียบ สพท.ทั้ง 4 ฉบับนี้ให้สอดคล้องกับระเบียบกลางของ กทช.ดังกล่าวต่อไป
2.  เห็นควรให้สำนักงาน กทช.แถลงข่าว/จัดทำ Press Releaseในเรื่องนี้ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับรู้อย่างกว้างขวางด้วย
ระเบียบวาระที่  6.2  :  คำวินิจฉัยข้อพิพาทที่ 3/2550 ระหว่างบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส    คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : องค์คณะในคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทประจำข้อพิพาทที่ 3/2550, สชท. (วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
               
1. รับทราบรายงานกระบวนพิจารณาข้อพิพาทที่ 3/2550 ระหว่างบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ผู้ร้อง) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (ผู้ถูกร้อง) ขององค์คณะในคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 3/2550 ตามที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม  เสนอ
2. ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าในการพิจารณาคำวินิจฉัยข้อพิพาทที่ 3/2550 ระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ผู้ร้อง) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (ผู้ถูกร้อง) เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณาดำเนินการด้วยความรอบคอบ และเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดข้อมูลประกอบการพิจารณาอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะข้อมูลจากการศึกษาวิเคราะห์การกำหนดอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครง ข่ายฯ ที่เหมาะสม และชัดเจน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ เกี่ยวข้อง ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติดังนี้
2.1 รับคำวินิจฉัยข้อพิพาทที่ 3/2550 ระหว่างบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ผู้ร้อง) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (ผู้ถูกร้อง) ขององค์คณะในคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทประจำข้อพิพาทที่ 3/2550 ไว้พิจารณา 
2.2 มอบหมายให้ สชท.ไปพิจารณาจัดทำรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและชัดเจนแล้ว จึงนำเสนอที่ประชุมเพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง
3. เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ กทช.จะต้องใช้ความรอบคอบเป็นอย่างมากในการพิจารณาตัดสินใจภายใต้ความพร้อมใน รายละเอียดของข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วนเพียงพอ จึงมอบหมายให้ สชท.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการโดยนัดหมาย กทช.เพื่อชี้แจง/อธิบายรายละเอียดของเรื่องนี้ให้ กทช.ได้รับทราบและเข้าใจไว้ก่อนด้วย
ระเบียบวาระที่  6.3  :  การเข้าร่วมอบรมภายใต้ความร่วมมือกับ Central Radio Management Office (CRMO) ของสาธารณรัฐเกาหลี : รทช.ทศพรฯ, รศ. (วันพุธที่  8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  อนุมัติให้ นายองอาจ เรืองรุ่งโสม  ผู้อำนวยการสำนักการอนุญาตประกอบกิจการเข้าร่วมการอบรมหลักสูตร Telecommunication Policy in Convergence Era ภายใต้ความร่วมมือกับ Central Radio Management Office (CRMO) ของสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 22 – 29 เมษายน 2552 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ในการดำเนินการใดและการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยให้เป็นไปด้วยความประหยัดและเหมาะสมตามนโยบายรัฐบาลที่ กทช. ได้มีมติเป็นแนวทางทางปฏิบัติแล้วเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552
ระเบียบวาระที่ 6.4  :  ขอแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดสรรคลื่นความถี่ สำหรับกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) : กทช.ประสิทธิ์ฯ (วันพุธที่  8 เมษายน 2552) 
มติที่ประชุม
  อนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการ  Broadband Wireless Access (BWA) ตามที่ กทช.ประสิทธิ์ฯ เสนอ โดย กทช.เศรษฐพรฯ ขอถอนตัวจากที่ปรึกษา สำหรับค่าตอบแทนเบี้ยประชุมรวมทั้งสิทธิในการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดิน ทางไปปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ และฝ่ายเลขานุการ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กทช. ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.5  :  การชำระค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1900 MHz ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : รทช.ประเสริฐฯ,ปก.(วันพุธที่ 8 เมษายน 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบในหลักการการแสดงเจตจำนงการชำระค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่ 1900 MHz ของ บมจ.ทีโอที ซึ่งแจ้งขอผ่อนชำระค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1900 MHz เป็นจำนวน 3 งวด ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. ไปวิเคราะห์รายละเอียดข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่างๆให้ชัดเจนตามประกาศ กทช.ว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2550  อาทิ วิธีการชำระค่าธรรมเนียม การนำส่งรายได้ค่าธรรมเนียม  แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาต่อไป

สร้างโดย  -   (18/3/2559 14:02:45)

Download

Page views: 59