สรุปมติที่ประชุม กทช. 3/2552

มติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 3/2552
วันจันทร์ที่ 26 และวันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม  2552  เวลา  9.30  น.
ณ ห้องประชุมชั้น  12  อาคารอำนวยการ สำนักงาน กทช.
 
 
ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1. ขณะนี้ใกล้จะสิ้นเดือนมกราคม 2552  แล้ว ขอให้ สำนักงาน กทช.เร่งรัด งานที่ยังคั่งค้างให้แล้วเสร็จ ก่อนที่ กทช.ชุดนี้ จะพ้นวาระไป
2.  ผู้บริหารของสำนักงาน กทช. ที่มีกำหนดการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ หรือ ต่างจังหวัด ขอให้มีการมอบหมายผู้ปฏิบัติงานแทนในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้งานหยุดชะงัก
มติที่ประชุม  รับทราบตามที่ประธานแจ้ง และมอบหมายให้ สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่  2  :  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 2/2552 วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม 2552
มติที่ประชุม
              
1. รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 2/2552 วันพฤหัสบดีที่ 22  มกราคม 2552  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2. มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นที่ประชุมไปดำเนินการ ต่อไป ดังนี้
2.1 ตรวจสอบประกาศ กทช.และระเบียบ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันและสำนักต่างๆ ที่มีความจำเป็น และสมควรต้องแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสม แล้วเร่งดำเนินการ นำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาโดยด่วน ทั้งนี้ ให้นำเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาตามขั้นตอนก่อน เพื่อความรอบคอบ
2.2  ให้มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ประกอบการ กรณีการติดตั้งสถานี Base Station  บนอาคารสูง ให้จัดทำป้ายประกาศแจ้งให้ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าว และบริเวณใกล้เคียงทราบด้วย
ระเบียบวาระที่  3   :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 2/2552 วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม  2552
มติที่ประชุม
             
1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 2/2552 วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม 2552  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการกรณี บมจ.ทีโอที ได้ยื่นคำขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม  06 และ เลขหมายโทรคมนาคม พิเศษ 4 หลัก  เพื่อนำเสนอ กทช.พิจารณา เนื่องจาก ได้ยื่นขออนุญาตมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว 
ระเบียบวาระที่  4   :  เรื่องเพื่อพิจารณา  
ระเบียบวาระที่  4.1 – 4.7  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.8  :  บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) ขอให้กำหนดมาตรการให้ผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ส่งทราฟฟิก โทรศัพท์ต่างประเทศ ประเภทเสียง Call Termination ชนิด VoIP  เข้ามายังโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนตามประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 :  รทช.ประเสริฐ , กท.(วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม 
             
1.  รับทราบรายงานผลการชี้แจงข้อเท็จจริง กรณี บริษัท พลัสวัน พาวเวอร์ จำกัด ระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ส่งทราฟฟิกโทรศัพท์ต่างประเทศประเภทเสียง Call Termination ชนิด VoIP  เข้ามายังโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น แล้วตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยให้ สำนักงาน กทช.มีหนังสือแจ้ง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น เพื่อทราบต่อไป
2.  เพื่อให้สามารถกำกับดูแลการให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP) เป็นไปอย่างเหมาะสม และเกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ให้บริการทุกฝ่าย จึงมอบหมายให้ สำนักงาน กทช.ไปดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 38/2551 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 โดยให้ติดตามสถานการณ์เรื่อง การให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP) ทุก 6 เดือน โดยเฉพาะรายละเอียดของข้อมูลในเชิงปริมาณ อาทิ  จำนวนผู้ใช้บริการ จำนวน Traffic และรายได้จากการให้บริการ เป็นต้น แล้วประมวลสรุปนำเสนอที่ประชุม กทช. เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการ/หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการให้บริการดังกล่าวให้ เข้าสู่ระบบการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม โดยการปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนของประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ต่อไป
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาจัดทำข้อมูลสรุปภาพรวมกรณีการร้องเรียน ของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ขอให้ กทช.พิจารณา เช่น กรณีข้อร้องเรียนระหว่างผู้ให้และผู้รับสัมปทาน หรือข้อร้องเรียนระหว่างผู้ประกอบการทั้งที่เป็นระหว่างผู้ให้และผู้รับ สัมปทานด้วยกันเอง  โดยให้แยกตามลักษณะของเรื่อง/ประเด็นที่ร้องเรียน แล้วนำเสนอ กทช.เพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  4.9  :  การร้องเรียนผู้ประกอบการที่ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคม : รทช.ประเสริฐ , กท. (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
  เห็นชอบให้สำนักงาน กทช.ดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ที่ให้เป็นแนวทางปฏิบัติ พร้อมหลักการพิจารณาในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้แล้วอย่างละเอียดและ ชัดเจนต่อไปตามบันทึก กทช.สุธรรมฯ ที่ 9/2552 ลงวันที่ 9 มกราคม 2552  เรื่อง ความเห็นต่อการร้องเรียนผู้ประกอบการที่ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและ ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยรวมเรื่องพิจารณาในลักษณะเดียวกัน 2 เรื่องไปในคราวเดียวกัน ได้แก่ เรื่อง ขอให้ กทช.ดำเนินการไต่สวน บมจ.กสท โทรคมนาคม กรณี บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ผู้ดำเนินการทางตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA มีพฤติกรรมกีดกันการแข่งขันโดยการกำหนดอัตราค่าบริการที่ต่ำมากในการส่ง เสริมการขาย ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบจากการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขันการให้บริการโทรคมนาคม และเรื่อง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส  ขอให้ กทช.ดำเนินการไต่สวนกรณี บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด กำหนดอัตราค่าใช้บริการโดยไม่ชอบธรรม โดยมีแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนี้
1. แต่ง ตั้ง กวพ. ที่เป็นองค์คณะผู้รับผิดชอบวินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องเรียน และผู้ถูกร้องตามประกาศ กทช.ว่าด้วย การใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายฯ พ.ศ.2549 เป็น “คณะกรรมการเฉพาะกิจ” เพื่อทำหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงพร้อมเสนอความเห็นตามบทบัญญัติข้อ 12 แห่งประกาศ กทช.เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดฯ พ.ศ.2549
2. ในการดำเนินกระบวนการไต่สวนต่างๆ ให้อาศัยหลักเกณฑ์ว่าด้วยกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงของ กวพ.ตามประกาศ กทช.ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายฯ พ.ศ.2549 โดยอนุโลม
3. ให้พนักงานผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจาก พต.เป็นผู้ช่วยเลขานุการประจำองค์คณะผู้รับผิดชอบ
     ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการทั้งสองเรื่องดังกล่าวตามแนวทางปฏิบัติข้างต้นแล้วเสร็จ ให้รวมเรื่องทั้งสองเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาต่อไปพร้อมความเห็น กวพ.ที่เป็นองค์คณะผู้รับผิดชอบ
ระเบียบวาระที่  4.10  :  การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. (วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552)
มติที่ประชุม
              
1. รับทราบผลงานดำเนินการของสำนักงาน กทช. .ในการสอบถามความเห็นของกรรมการ กทช. แต่ละคน ในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับ 3G
2. เนื่องจากประเด็นเกี่ยวกับวิธีการจัดสรรคลื่นฯ เป็นประเด็นที่มีรายงานผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญแล้ว และได้เคยมีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะมาแล้วในทุกภาคของประเทศ รวมทั้งมีข้อมูลจากประสบการณ์ของประเทศต่างๆ จึงสามารถพิจารณาตัดสินได้ ดังนั้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปจัดทำรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาเพื่อตัดสินในประเด็นเรื่องวิธีการจัดสรรคลื่นว่า สมควรจะใช้วิธีใด เช่น Beauty Contest , Auction , Auction + Pre-qualification หรือ Hybrid , ฯลฯ
3. เนื่องจากเรื่อง 3G  มีประเด็นที่สำคัญที่จะต้องตัดสินใจโดยเร็ว เพราะจะมีผลกระทบต่อการดำเนินการ คือ เรื่อง กำหนดระยะเวลา (Timeline) ของการดำเนินการ ซึ่ง กทช. ต้องตัดสินใจ และเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยในการดำเนินการ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาว่า จะดำเนินการจัดหาผู้เชี่ยวชาญอย่างไร และจะมอบหมายภารกิจให้ผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบในขอบเขตมากน้อยเพียงใด ซึ่งเห็นสมควรพิจารณาตัดสินในการประชุม กทช. ครั้งต่อไป (วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552) เช่นกัน จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. จัดทำข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวกับ  ข้อเสนอแผนการดำเนินการในระยะต่อไปที่ชัดเจน โดยเฉพาะรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษา ขอบเขตข้อกำหนดการทำงานของที่ปรึกษา (TOR / Functional Requirement ที่สำคัญๆ) พร้อมกำหนดกรอบระยะเวลา (Time Line) ในการดำเนินการ เพื่อเสนอที่ประชุม กทช.ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552
4.  สำหรับประเด็นอื่นๆ เช่น ขนาดของคลื่นความถี่ จำนวนของใบอนุญาต คุณสมบัติและเงื่อนไขการอนุญาต ฯลฯ เป็นประเด็นที่จำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติม และมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมให้กว้างและลึกมากขึ้น  จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปวิเคราะห์จัดทำรายละเอียดข้อมูล ด้านต่างๆ เพิ่มเติมให้ครบถ้วนและชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อประกอบการพิจารณาของ กทช.ในการกำหนดรายละเอียดสำหรับการอนุญาตคลื่นความถี่ 3G และเงื่อนไขประกอบการอนุญาต รวมทั้งการกำหนด Pre-qualification แล้วจัดส่งให้ กทช.ทุกท่านพิจารณาเป็นการล่วงหน้าก่อนนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่งในโอกาสต่อไป โดยมีประเด็นที่สำคัญๆ อาทิ
4.1 การวิเคราะห์ข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะความสอดคล้องกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543 ที่กำหนดไว้สรุปได้ว่า การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนและ ประเทศชาติ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมถึงการวิเคราะห์ตามหลักการการกระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงในกิจการ ด้านต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น และชุมชน (Pluralism) ให้เหมาะสม
4.2  การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่จะต้องคำนึงถึงในเรื่องนิยามของ ตลาด โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Market Domination โดย SMP (Significant Market Power)
4.3 การวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นนโยบาย Open Wireless Access และการให้บริการแบบขายส่งบริการ และการให้บริการแบบขายต่อบริการ (Wholesale & Retail Services)
4.4  การวิเคราะห์ผลกระทบการกำกับดูแล (RIA) ตามรูปแบบและขั้นตอนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแลขั้น กลางที่กำหนดในระเบียบ กทช. ว่าด้วยการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแล พ.ศ.2549 สำหรับทางเลือกต่างๆ เป็นต้น 
ระเบียบวาระที่  4.11  :  การขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใบอนุญาตและประเภทใบอนุญาตของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
                 
1. รับทราบผลการวิเคราะห์และความเห็นเบื้องต้น ตามข้อเสนอของสำนักงาน กทช.ในการพิจารณาคำขอการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใบอนุญาต และประเภทใบอนุญาตของ บมจ.ทีโอที ได้แก่
1.1 การพิจารณาปรับเปลี่ยนเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในส่วนของเงื่อนไขทั่วไป โดยใช้เงื่อนไขมาตรฐานแทน และการแก้ไขเงื่อนไขใบอนุญาตในส่วนของเงื่อนไขเฉพาะให้ข้อมูลถูกต้องตามความ เป็นจริง 
1.2 การปรับเปลี่ยนบริการภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ไปอยู่ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง แบบที่สอง และบริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ซึ่งจากจำนวนบริการทั้งหมด 8 กลุ่มบริการ มีเพียง 3 กลุ่มบริการที่สมควรปรับเปลี่ยน คือ
  • กลุ่มบริการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับโครงข่ายหลัก (เฉพาะบริการ WI-Fi)
  • กลุ่มบริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกลุ่ม (Trunk Radio)
  • กลุ่มบริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ใช้จานสายอากาศขนาดเล็กเพื่อให้ บริการแก่บุคคลทั่วไปจำนวนมาก (ISBN และ IP Star)
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปจัดทำรายละเอียดการวิเคราะห์ ข้อมูลเพิ่มเติม แล้วนำกลับมาเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่งใน 2 สัปดาห์ สรุปประเด็นที่สำคัญได้คือ
2.1  การวิเคราะห์ถึงผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการแข่งขันโดยเสรี โดยจัดทำข้อมูลในรูปของตารางแสดงรายละเอียดถึงความสัมพันธ์ และผลการวิเคราะห์ที่ชัดเจนระหว่าง 1)รายการและลักษณะบริการที่ บมจ.ทีโอที เสนอขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใบอนุญาตและประเภทใบอนุญาต 2)กลุ่มบริการ 3 กลุ่มที่สำนักงาน กทช.พิจารณาเห็นควรอนุญาตให้ปรับเปลี่ยน พร้อมหลักเกณฑ์ในการพิจารณาและเหตุผลชี้แจงประกอบ และ3) ผลการวิเคราะห์ในประเด็นผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการแข่งขันว่ามีหรือไม่ อย่างไร กรณีหากกลุ่มบริการ 3กลุ่มดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ปรับเปลี่ยน
2.2 การวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการประกอบกิจการของ บมจ.ทีโอที กรณีหากมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใบอนุญาตและประเภทใบอนุญาตในกลุ่มบริการ 3 กลุ่มข้างต้น (บริการ WI-Fi, Trunk Radio และ ISBN และ IP Star) โดยเฉพาะผลกระทบต่อรายได้จากการให้บริการดังกล่าว ผลกระทบต่อรายได้สุทธิ หรือกำไร-ขาดทุนของบริษัทฯ รวมถึงผลกระทบต่อภาระการจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจากเดิมแบบที่สามเป็นแบบ อื่นๆ
2.3 การวิเคราะห์ผล กระทบต่อการกำกับดูแลของ กทช.และสำนักงาน กทช. จากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว อาทิ ผลกระทบในส่วนของรายได้จากค่าธรรมเนียม เป็นต้น
2.4  การวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงจากการขออนุญาตปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใบ อนุญาตและประเภทใบอนุญาตกับประกาศ กทช.ต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประกาศ กทช. เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการ
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อสังเกตของที่ประชุมเพื่อเร่งดำเนินการศึกษาจัดทำร่างหลักเกณฑ์ Account Separation ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แล้วนำเสนอ กทช.พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.12  :  การขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุเพื่อใช้งานกับเครื่องวิทยุคมนาคมประเภท WiMAX สำหรับใช้ติดต่อสื่อสารในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ( บริษัท เซฟรอน) : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก. (วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552)
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.มีหนังสือเชิญ บริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด  บริษัท ปตท.สำรวจและปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)  และ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  เพื่อหารือถึงแนวทาง และหลักปฎิบัติในการดำเนินการเรื่องนี้ให้ได้ข้อยุติร่วมกันอย่างเหมาะสม แล้วประมวลผลการหารือ พร้อมข้อวิเคราะห์ และความเห็นเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาโดยเร็วอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ โดยมีประเด็นหารือและข้อเสนอแนะที่สำคัญ อาทิ
1. แนวทางและวิธีการที่ถูกต้อง เหมาะสมโดย กทช.เป็นผู้อนุญาตการจัดสรรความถี่วิทยุ และรัฐบาลไทยโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นผู้กำกับดูแลการใช้งานความถี่ ตามขอบเขตอำนาจที่ที่กฎหมายกำหนด
2. การพิจารณากำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาการรบกวนกันของคลื่น ความถี่ (Interference) โดยเฉพาะในเขตระยะห่าง 12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง ซึ่งหากมีการรบกวนเกิดขึ้น ต้องระงับการใช้งาน
3.  การพิจารณาความเหมาะสมทางเทคนิค โดยการทำ Coordination เพื่อให้เกิดการใช้คลื่นความถี่วิทยุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และมิให้เกิดปัญหาการรบกวนกันทั้งในทะเล และบนบก
4. ในการพิจารณากำหนดแนวทาง และหลักปฎิบัติดังกล่าว ควรให้เกิดความชัดเจนและสามารถรองรับกรณีเช่นนี้ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นต้น 
ระเบียบวาระที่  4.13  :  การขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุ 2430 และ 2473.5 MHz สำหรับใช้ติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแท่นปิโตรเลียมในอ่าวไทย : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก. (วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552)
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีของบริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามมติที่ประชุมวาระที่ 4.12 โดยมีหนังสือเชิญ บริษัท ปตท. สำรวจและปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมการประชุมหารือพร้อมกับ บริษัท เชฟรอนฯ และ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ด้วย แล้วประมวลผลการหารือ พร้อมข้อวิเคราะห์ และความเห็นเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาโดยเร็วต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.14  :  บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ขอบริจาคเครื่องวิทยุ  คมนาคม และอุปกรณ์ให้แก่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :  รทช.ประเสริฐฯ, ฉก. (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
  โดย ที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลส จำกัด   ผู้นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ WiMAX ตามที่ บริษัท ทีทีแอนด์ ที จำกัด (มหาชน) รับรองการนำเข้า แล้วไม่นำออกนอกราชอาณาจักร ตามเงื่อนไขใบอนุญาต ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 และเงื่อนไขในใบอนุญาตฯ ประกอบข้อ 26 แห่งประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราว และ เงื่อนไขใบอนุญาต ข้อ 13   ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาของ กทช.ในเรื่องนี้มีความถูกต้อง และรอบคอบมากยิ่งขึ้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นที่ประชุมไปวิเคราะห์รายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนในทาง ปฏิบัติที่ชัดเจน กรณีเมื่อมีการกระทำผิดดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไร รวมทั้งในกรณีหาก บมจ.ทีทีแอนด์ ที ประสงค์จะขอบริจาคเครื่องวิทยุคมนาคม และอุปกรณ์ให้แก่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงตามที่เสนอแล้ว จะต้องดำเนินการในขั้นตอนทางกฎหมายอย่างไรให้ถูกต้อง ตลอดจนวิเคราะห์ถึงผลกระทบทั้งข้อดี และข้อเสียที่จะเกิดขึ้นด้วย แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาโดยด่วนต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.15  :  ข้อเสนอโครงการความร่วมมือและทดสอบการประยุกต์ใช้งานระบบดาวเทียมสื่อสาร WINDS : รทช.ฐากรฯ, กจ.(วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552)
มติที่ประชุม
               
1. อนุมัติในหลักการโครงการความร่วมมือวิจัยและทดสอบการประยุกต์ใช้งานระบบดาว เทียมสื่อสาร WINDS  ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.จัดส่งรายละเอียดข้อเสนอโครงการฯ พร้อมรายงานการประชุมของคณะกรรมการร่วมเพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานตามข้อ ตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงาน กทช.กับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ให้คณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณฯ  พิจารณากลั่นกรอง และเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของที่ประชุม กทช.อีกครั้งหนึ่ง ตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยหลักการบริหารจัดการงบประมาณ (Budget Management) ของ สำนักงาน กทช.
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดำเนินการ เพื่อรวบรวมและจัดทำเอกสารรายงานสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาภายใต้โครงการ ความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักงาน กทช.และ NECTEC  แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. ทราบต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.16  :  ขอรับนโยบายการให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNP) :  รทช.ประเสริฐฯ, กบ.(วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ เช่น ความเหมาะสมในการคิดค่าธรรมเนียมการให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อน ที่ ความสะดวกของผู้ใช้บริการคงสิทธิเลขหมายในการปรับเปลี่ยนค่าย/ผู้ให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น รวมทั้งให้เพิ่มเติมรายละเอียดผลที่ได้จากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น สาธารณะ ซึ่งได้มีการพิจารณาในคณะทำงานศึกษาวิเคราะห์และเตรียมความพร้อมการคงสิทธิ เลขหมาย พร้อมข้อสรุปของคณะทำงานฯ เพื่อประกอบการพิจารณา ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้ง Clearing House แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่งใน 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่
1.  รูปแบบ/วิธีการจัดตั้ง Clearing House จากผลการศึกษาและกรณีตัวอย่างของต่างประเทศ อาทิ การจัดตั้ง ในลักษณะที่เอกชนดำเนินการเอง หรือองค์กรกำกับดูแลเป็นผู้ดำเนินการเอง  หรือดำเนินการร่วมกันทั้งสองฝ่าย  หรือในกรณีการจัดตั้งองค์กรอื่นขึ้นมาดำเนินการแทนภายใต้ความเห็นร่วมกัน ระหว่างเอกชนและองค์กรกำกับดูแล เป็นต้น
2.  จัดทำตารางเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการลงทุนเพื่อดำเนินการจัดตั้ง Clearing House ในแต่ละทางเลือกของรูปแบบ/วิธีการตามข้อ 1
3. แนวทางการบริหารจัดการพร้อมประมาณการค่าใช้จ่าย ค่าMaintenance ภายหลังการจัดตั้ง Clearing House แล้ว
ระเบียบวาระที่ 4.17 – 4.25  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.26  :  การแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณ และติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ  :  ลทช., กลุ่มภารกิจด้านการงบประมาณ (วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552)
มติที่ประชุม
              
1. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณ และติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ (ชุดใหม่) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ เป็นไปตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ให้นำร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณฯ  (ชุดใหม่) ดังกล่าวเสนอ ประธาน กทช.ลงนามต่อไป 
2. เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าตอบแทนของคณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบ ประมาณ และติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ  (ชุดใหม่) ตามข้อ 1 โดยให้เป็นไปตามระเบียบ กทช.ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ.2551 ข้อ 18 (ข) และข้อ 20  และให้พนักงานสำนักงาน กทช.ที่มิใช่ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานนั้นโดยตรง มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมตามข้อ 23  ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ. 2551
3.  เห็นชอบให้คณะกรรมการพิจารณาวิเคราะห์มูลค่างบประมาณ และติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ (ชุดใหม่) ตามข้อ 1 มีวาระการปฎิบัติงานคราวละ 90 วัน ตามข้อ 9 ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการฯ พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ หากเมื่อครบกำหนดวาระการปฎิบัติงานแล้ว ยังคงมีภารกิจที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง ก็ให้นำเสนอที่ประชุมกทช. พิจารณาขยายระยะเวลาของวาระการปฏิบัติงานได้อีกเป็นคราวๆไป
ระเบียบวาระที่  4.27  :  รายงานข้อมูลสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่ถูกรบกวน : รทช.ทศพรฯ, ตว. (วันพฤหัสบดีที่  29  มกราคม 2552)
มติที่ประชุม
              
1.  รับทราบรายงานข้อมูลของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่ถูกรบกวน ระหว่างวันที่ 16 - 31  ธันวาคม 2551  ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
2. มอบ หมายให้ สำนักงาน กทช.จัดส่งรายงานข้อมูลของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่ ถูกรบกวน ระหว่างวันที่ 16-31 ธันวาคม 2551  ให้คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1  :  รายงานการยกเลิกการให้บริการข้อมูล ภาพและเสียงผ่านดาวเทียมภายในประเทศ (VSAT) ของ บริษัท คอมพิวเนท คอร์ปอเรชั่น จำกัด  : รทช.พิทยาพลฯ, กม. (วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552)
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานการยกเลิกการให้บริการ ข้อมูล ภาพและเสียงผ่านดาวเทียมภายในประเทศ (VSAT) ของ บริษัท คอมพิวเนท คอร์ปอเรชั่น จำกัด  ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.2  :  การเดินทางเข้าร่วมประชุมเรื่อง Community Radio Regulation ในวันที่ 30 มกราคม 2552  ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ : รทช.ทศพรฯ, รศ. (วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552)
มติที่ประชุม
  รับทราบการเดินทางของ กทช.สุธรรม และ คณะในการเข้าร่วมประชุมเรื่อง Community Radio Regulation  กับ  Dr.Andrew Taussig ผู้บริหารองค์กร Voice of the Listener & Viewer แห่งประเทศอังกฤษ  ในวันที่ 30 มกราคม 2552  ณ อาคารสถาบัน Royal Society of  Arts กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.3  :  สรุปผลการดำเนินโครงการ ประจำปี 2551 : รทช.ฐากรฯ, ปต.(วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานสถานะความคืบหน้าผลการดำเนิน โครงการ ประจำปี 2551  จำนวน 102 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2551 จำนวน 32 โครงการ  2) โครงการที่กำหนดแล้วเสร็จในปี 2551 แต่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ โดยขอกันเงินเพื่อดำเนินการต่อเนื่องภายในปี 2552 จำนวน 24 โครงการ  3)  โครงการที่มีระยะเวลาการดำเนินงานมากกว่า 1 ปี โดยมีการผูกพันในปีต่อๆ ไป จำนวน 12 โครงการ   4) โครงการที่กำหนดให้แล้วเสร็จในปี 2551 และไม่ได้รับอนุมัติให้กันเงิน จำนวน 10 โครงการ  และ 5) โครงการที่ขอยกเลิก จำนวน 8 โครงการ ตามเอกสารที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.4  :  รายงานการเดินทางเข้าร่วมประชุม 9 th  Annual ECTA   Regulatory Conference 2008 :  กทช.สุธรรมฯ (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
 รับทราบรายงานการเดินทางของ กทช.สุธรรมฯ พร้อมคณะในการเข้าร่วมประชุม 9 th Annual ECTA Regulatory Conference 2008 ตามคำเชิญของ The European Competitive Association(ECTA)  ระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2551 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม  ตามเอกสารที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ ทั้งนี้ ขอให้เพิ่มเติมรายชื่อคณะบุคคลที่ได้เข้าร่วมการประชุมฯ เพื่อให้เอกสารรายงานมีความครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย
ระเบียบวาระที่  5.5  :  รายงานผลการดำเนินงานการจัดให้มีการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและ บริการเพื่อสังคม เดือนพฤศจิกายน 2551 ของ บมจ.ทีโอที : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ. (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานการจัดให้มีการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่ว ถึงและบริการเพื่อสังคม ของ บมจ.ทีโอที ประจำเดือนพฤศจิกายน 2551  ตามเอกสารที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.6  :  การฟื้นฟูกิจการของบริษัท ทีที แอนด์ ที จำกัด (มหาชน) :รทช.พิทยาพลฯ, กม. (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับกระบวนการฟื้นฟูกิจการของบริษัท ทีทีแอนด์ ที จำกัด (มหาชน)  ตามเอกสารที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.7  :  รายงานการประชุมเชิงวิชาการ Gartner Symposium/ITxpo 2008 ณ เมืองซิดนีย์  ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 11-14 พฤศจิกายน 2551  : กทช.เหรียญชัยฯ (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานการเข้าร่วมประชุมเชิง วิชาการ Gartner Symposium/ITxpo 2008 ของ กทช.เหรียญชัย และ คณะ ระหว่างวันที่ 11-14 พฤศจิกายน 2551   ณ เมืองซิดนีย์  ประเทศออสเตรเลีย ตามเอกสารที่ กทช.เหรียญชัย เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.8  :  การดำเนินการตามมติที่ประชุมกรณีการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์เป็น เงินจำนวน 107 บาท : สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลดำเนินงานตามมติที่ประชุมครั้งที่ 48/2551 กรณีนางสาวบุญยืน ศิริธรรม  ร้องเรียนเรื่อง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น เรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์เป็นเงินจำนวน 107 บาท ตามเอกสารที่ สบท.เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ สบท.วิเคราะห์ความเห็นเรื่องนี้เสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาต่อไป 
ระเบียบวาระที่ 6  :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่ 6.1  :  พิธีเปิดโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษา และพัฒนาชนบท เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 : คณะกรมการดำเนินโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาฯ (วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552)
มติที่ประชุม
             
1. รับทราบกำหนดการพิธีเปิดโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษา และพัฒนาชนบท เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จะเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโครงการฯ ณ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ข้าวต้มหลวง อ.เมือง จ.เชียงราย   ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552  ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
2.  มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ และ กทช.ประสิทธิ์ฯ  เป็นผู้แทนของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เข้าร่วมในพิธีตามข้อ 1 โดย กทช.สุธรรมฯ เป็นผู้กราบบังคับทูลถวายรายงาน และ กทช.ประสิทธิ์ฯ เป็นผู้ทูลเกล้าฯถวายของที่ระลึกแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
3.  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นที่ประชุมไปดำเนินการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
3.1 จัดเตรียมคำกราบบังคับทูลถวายรายงานแก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
3.2  ให้สำนักประชาสัมพันธ์ หารือ กทช.ประสิทธิ์ฯ/กทช.สุธรรมฯ เรื่องการจัดแสดงนิทรรศการและการจัดหาของที่ระลึกที่จะทูลเกล้าถวายฯ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมต่อไป 
ระเบียบวาระที่ 6.2  :  การขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ  4 หลัก จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ เลขหมาย 1414  ให้กับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เพื่อใช้งานในโครงการขยายการให้บริการข้อมูลข่าวสารในระบบเดซี่ผ่านระบบ โทรศัพท์อัตโนมัติ  ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ การจัดสรรเลขหมายดังกล่าวเป็นการพิจารณาโดยคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานของ ผู้ใช้บริการเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของสมาคมฯ ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตาเป็นสำคัญ
ระเบียบวาระที่  6.3  :  สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในการดำเนินโครงการ ฝึกอบรมใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนตาบอดทั่วประเทศ : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ. (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2551 )
มติที่ประชุม
             
1. อนุมัติการสนับสนุนงบประมาณภายในกรอบวงเงิน 4,377,200 บาท เพื่อดำเนินโครงการฝึกอบรมใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริม การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอดทั่วประเทศ ของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี 2552 ของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ในรูปแบบของการอุดหนุนงบประมาณโดยตรงให้แก่สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ สอคล้องกับอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของ กทช. และเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551-2553
2.  มอบหมายให้ สำนักงาน กทช.จัดทำบันทึกข้อตกลง (MoU) ร่วมกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายงบประมาณโครงการตามข้อ 1 ร่วมกัน  รวมถึงการกำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการ ทั้งนี้ โดยให้ กทช.ประสิทธิ์ฯ และ กทช.สุชาติฯ พิจารณารายละเอียดของบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้มีความถูกต้องและเหมาะสมอีก ครั้งหนึ่งเพื่อความรอบคอบ ก่อนมีการลงนามต่อไป 
ระเบียบวาระที่  6.4  :  รายงานข้อมูลสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่ถูกรบกวน : รทช.ทศพร , สำนักตรวจสอบการใช้ความถี่วิทยุ (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
             
1.  รับทราบรายงานข้อมูลของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่ถูกรบกวน ระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม 2552  ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
2. มอบหมาย ให้ สำนักงาน กทช.จัดส่งรายงานข้อมูลของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่ ถูกรบกวน ระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม 2552  ให้คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.5  :  ขออนุมัติการเดินทางไปประชุมประสานงานทางวิชาการระหว่างประเทศ และเข้าร่วมสัมมนา WINDS “KIZUNA” Symposium and Workshop 2009  ระหว่างวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ 2552 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น : กทช.ประสิทธิ์ฯ (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552 )
มติที่ประชุม
             
1. รับทราบการเดินทางไปประชุมประสานงานทางวิชาการระหว่างประเทศ และเข้าร่วมสัมมนา WINDS “KIZUNA” Symposium and Workshop 2009  ของ กทช.ประสิทธิ์ และ คณะ ระหว่างวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ 2552 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตามที่ กทช.ประสิทธิ์ฯ เสนอ
2.  อนุมัติให้บุคคลภายนอก (ผศ.ดร.สุภาวดี อร่ามวิทย์ และ ผศ.ดร. นิศาชล ตั้งเสงี่ยมวิสัย) เดินทางไปกับคณะของ กทช.ประสิทธิ์ฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุม และการสัมมนาตามข้อ 1 ตามที่ กทช.ประสิทธิ์ฯเสนอ
3. สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเข้าร่วมการประชุม และการสัมมนาตามข้อ 1 ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2552 ของสำนักงาน กทช. ในโครงการความร่วมมือศึกษาวิจัยและทดสอบการประยุกต์ใช้ดาวเทียม “KIZUNA” ( WINDS Project) โดยให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กทช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติ งาน พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.6  :  การจัดทำเอกสารชี้แจงในกรณีเรื่องที่มีความเห็นแย้งต่อมติที่ประชุม กทช. (วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม 2552)
มติที่ประชุม
              
1. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุม กทช.ไปดำเนินการ โดยให้จัดทำเอกสารวิเคราะห์เป็นรูปเล่มในเรื่องต่างๆทั้งหมดที่มีความเห็น แย้งต่อมติ กทช. ทั้งนี้ โดยให้จัดทำคำชี้แจงเหตุและผลตามหลักวิชาการ และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรายละเอียดของหลักการ และข้อพิจารณาวินิจฉัยของที่ประชุม กทช.ที่ใช้ในการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ  เพื่ออธิบายในแต่ละประเด็นที่แย้งอย่างละเอียดและชัดเจน โดยเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้จัดส่ง กทช.เพื่อใช้ประโยชน์ และเป็นข้อมูลอ้างอิงต่อไป
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติต่อจากนี้ไปว่า สำนักงานฯ ต้องจัดทำเอกสารวิเคราะห์ในกรณีของเรื่องที่มีความเห็นแย้งต่อมติ กทช.พร้อมคำชี้แจงโดยละเอียดจัดส่งให้ กทช.ทุกครั้ง พร้อมทั้งแนบความเห็นแย้งดังกล่าว ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของ กทช.แต่ละคนไว้กับรายงานการประชุมตามที่ระเบียบกำหนดด้วย
หมายเหตุ  ไม่มีเอกสารประกอบวาระ เป็นเรื่อง/ประเด็นที่ที่ประชุม กทช.หยิบยกขึ้นอภิปราย แล้วมีมติในระหว่างการประชุม

สร้างโดย  -   (18/3/2559 17:59:39)

Download

Page views: 56