สรุปมติที่ประชุม กทช. 8/2552

มติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 8/2552
วันพฤหัสบดีที่ 12 และวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการ สำนักงาน กทช.

ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1. หากติดตามข่าวจะพบว่า บริษัท AT&T ที่ดำเนินกิจการโทรคมนาคมในสหรัฐอเมริกา มีการจ้างบุคลากรจำนวน  3,000 คน ในขณะที่ปลายปีที่ผ่านมา บริษัท ทีทีแอนด์ ที จำกัด ปลดพนักงานออกจำนวน 12,000 คน แต่ปีนี้จะจ้างพนักงานเพิ่มอีก 3,000 คน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจการโทรคมนาคม ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในขณะนี้ไม่มากนัก
2.  มีความเป็นห่วงในเรื่ององค์กร ต้องการให้มีการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรของเราให้มากๆ แม้ว่าสำนักงาน กทช. จะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล แต่ถ้าหากไม่สามารถบริหารจัดการภายในองค์กร ให้ดี และมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถเกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรมในการประกอบ กิจการโทรคมนาคมแล้ว ก็จะไม่สามารถประคับประคองกิจการโทรคมนาคมให้อยู่รอดไปได้  จึงขอฝาก ลทช. รทช. รวมถึงผู้อำนวยการสำนัก และผู้บริหารทุกคน ได้พิจารณามอบหมายภารกิจให้พนักงานเพื่อปฏิบัติงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้งให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ที่มีความตั้งใจทำงานด้วย   
3.  ลทช. ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัด สรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ หาก กทช. ท่านใดมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ที่ได้จากประสบการณ์การปฏิบัติที่ผ่านมา ก็ขอให้ฝากข้อคิดเห็นดังกล่าวให้ ลทช. เพื่อประกอบการเสนอความเห็นในคณะกรรมาธิการดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ มีความถูกต้องครบถ้วน สมบูรณ์ มากที่สุด และขอให้ ลทช. รายงานความคืบหน้าในเรื่องนี้ให้ที่ประชุม กทช. ทราบเป็นระยะๆด้วย
มติที่ประชุม  รับทราบตามที่ประธานแจ้ง และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่ 2  :  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 7/2552 วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม  2552
มติที่ประชุม
  รับรองมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 7/2552 วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2552  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช.
มติที่ประชุม
             
1.  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ครั้งที่ 7/2552 วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2552  ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. ประสานงานเพื่อขอรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการประชุมคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ เพื่อนำมาพิจารณาปรับวันประชุม กทช. ให้เหมาะสม ไม่ตรงกัน ทั้งนี้ เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อ ลทช. ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเลขานุการที่ประชุม กทช. ซึ่งเป็นภารกิจหลักให้ได้ตามปกติอย่างเต็มที่พร้อมไปกับการปฏิบัติหน้าที่ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ตามที่ได้รับการแต่งตั้ง 
ระเบียบวาระที่  4   :  เรื่องเพื่อพิจารณา  
ระเบียบวาระที่  4.1 – 4.6  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.7  :  บมจ.กสท โทรคมนาคม ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษที่เพิ่มขึ้น : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
             
1.  รับทราบการชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลักของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่ใช้งานเอง (หมายเลข 1322) และของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (หมายเลข 1678) บจ.ทรู มูฟ (หมายเลข 1331) และ บจ.ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส (หมายเลข 1128) ตามรายละเอียดข้อมูลที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2.  ไม่อนุมัติให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษที่เพิ่มขึ้นตามที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ร้องขอ เนื่องจาก
2.1  เมื่อพิจารณาบทบัญญัติข้อ 93 ของประกาศ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์ในการจัดสรร และบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาต ซึ่งมีภาระหน้าที่ในการชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายฯก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผล ใช้บังคับ ให้ถือว่ายังคงมีหน้าที่ในการชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายฯให้ครบถ้วนต่อไป ดังนั้น บมจ.กสท โทรคมนาคม จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมที่เพิ่มขึ้น
2.2 ประกอบ กับเมื่อพิจารณาโดยหลักกฎหมายแล้ว การพิจารณางดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้ง ซึ่งหากพิจารณาบทบัญญัติของประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมชั่วคราว และประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดสรร และบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 แล้ว มีเพียงบทบัญญัติข้อ 10 และข้อ 82 ตามลำดับ ที่กำหนดให้อำนาจ กทช. ในการพิจารณายกเว้นหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 3 หลัก หรือ 4 หลัก ที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือมิได้ใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ 2 กรณีเท่านั้น  แต่ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจ กทช.ในการพิจารณายกเว้นหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษที่ เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้น กทช. จึงไม่มีอำนาจพิจารณางดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นให้แก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้
ระเบียบวาระที่  4.8  :  การพิจารณาค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นจากการไม่ชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายครบ ตามจำนวนเงินภายในเวลาที่กำหนดของ บมจ.ทีโอที : รทช.ประเสริฐฯ, กบ. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
             
1.  เห็นชอบแนวทางที่ 2 ในการพิจารณาค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นจากการไม่ชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายครบ ตามจำนวนเงินภายในเวลาที่กำหนดของ บมจ.ทีโอที ตามข้อเสนอของสำนักงาน กทช. โดยให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเลขหมายเพิ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 (วันพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ บมจ.ทีโอที ได้รับหนังสือสำนักงาน กทช. ด่วนที่สุดที่ ทช 2100/4856 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2548) ต่อไปจนกว่า บมจ.ทีโอที จะได้ชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมแล้วเสร็จ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เร่งมีหนังสือแจ้ง บมจ.ทีโอที เพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1 โดยเร็วเพื่อให้ยื่นชำระค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ให้อ้างถึงระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลคำพิพากษาศาลปกครองกลางเมื่อเร็วๆนี้ทั้งสองคดีด้วย(ผลคำพิพากษาคดี ปกครองหมายเลขดำที่ 88/ 2550 ระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ฟัองคดี กับ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดี และผลคำพิพากษาคดีปกครองหมายเลขดำที่ 123/ 2550 ระหว่าง บริษัท ทรู มูฟ จำกัด ผู้ฟ้องคดี กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้องคดี (การจัดทำ Office Data และเปิด Translator))
ระเบียบวาระที่  4.9 – 4.18  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่  4.19  :  การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and beyond)  :  รทช.ประเสริฐ ,ปก.
(วัน พฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552 และ วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552 )
มติที่ประชุม
              
1. เห็นชอบให้สำนักงาน กทช.ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาจำนวน 2 ชุดโดยการจัดทำ Short Lists และใช้วิธีการตกลงราคาตามระเบียบ กทช.ว่าด้วยการพัสดุ
2. เห็นชอบกรอบหน้าที่การดำเนินงาน (Terms of Reference : TOR) ของที่ปรึกษาทั้ง 2 ชุดตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ดังนี้
2.1 ที่ปรึกษาชุดที่ 1 คือที่ปรึกษาชุดออกแบบการประมูล (Auction Design)
2.1.1 รับผิดชอบดำเนินการออกแบบและจัดทำรายละเอียดการประมูลคลื่นความถี่ สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMTหรือ 3G and beyond) หรือ Auction Preparation & Auction Design รวมทั้งจัดทำเอกสารเชิญชวนการประมูลหรือ Information Memorandum : IM และดำเนินการอื่นๆตามกระบวนการประมูล
2.1.2 กำหนด ระยะเวลาในการศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับจากวันที่ลงนามในสัญญา และดำเนินการรวมทั้งให้ความช่วยเหลือสำนักงาน กทช.ตลอดกระบวนการประมูล
2.2 ที่ปรึกษาชุดที่ 2 คือ ที่ปรึกษาชุดเศรษฐกิจและนโยบายการกำกับดูแล
2.2.1 รับผิดชอบการศึกษาสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และผลกระทบในแง่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ตลอดจนศึกษาและนำเสนอแนวนโยบาย และแนววิธีการกำกับดูแลประเด็นต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรม
2.2.2 กำหนด ระยะเวลาในการศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือนนับจากวันที่ลงนามในสัญญา
     ทั้งนี้ โดยมีข้อปรับปรุงแก้ไขตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมให้เหมาะสมและ ชัดเจนยิ่งขึ้น สรุปได้ดังนี้
  • ข้อ 5.1 : หัวข้อที่ 2 The Thai Economy ที่ปรึกษาชุด Economic and Regulatory Policy ควรเป็นผู้ดำเนินการ 
    • หัวข้อที่ 6 The License Terms and Condition  ที่ปรึกษาชุด Economic and Regulatory Policy  ควรเป็นผู้ดำเนินการ
  • ข้อ 5.2 : หัวข้อ 1.1 ที่ปรึกษาชุด     Economic  and   Regulatory Policy ควรเป็นผู้ดำเนินการ
    • หัวข้อ 1.3 ที่ปรึกษาชุด Economic and  Regulatory Policy ควรเป็นผู้ดำเนินการ
    • หัวข้อ 3.4 ที่ปรึกษาชุด Economic and  Regulatory Policy ควรเป็นผู้ดำเนินการ
    • หัวข้อ 4.1 ที่ปรึกษาชุด Economic and  Regulatory Policy ควรเป็นผู้ดำเนินการ
    • หัวข้อ 4.3  1) และ 2)  สำนักงาน กทช. ร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญธนาคารโลกควรเป็นผู้ดำเนินการเอง
    • หัวข้อ 5.4 ที่ปรึกษาชุด Economic and  Regulatory Policy ควรเป็นผู้ดำเนินการ
  • สำหรับข้อ 5.1 : หัวข้อที่ 10 Appendices ควรดำเนินการในลักษณะ Joint Work โดยสำนักงาน กทช. เป็นผู้ดำเนินการเอง (อยู่ตรงกลาง) และมีทีมที่ปรึกษาทั้ง 2 ชุดเป็นผู้ให้คำปรึกษา (Give Advise)
  • สำหรับข้อ 5.2 :หัวข้อ 3.1, 3.2, และ 3.3 สำนักงาน กทช. ควรเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยพิจารณาจากผลการศึกษาวิจัย
  • สำหรับ ข้อ 5.2 :หัวข้อ 5.1 ควรดำเนินการในลักษณะ Joint Work โดยสำนักงาน กทช. เป็นผู้ดำเนินการเอง (อยู่ตรงกลาง) และมีทีมที่ปรึกษาทั้ง 2 ชุดเป็นผู้ให้คำปรึกษา (Give Advise)
  • สำหรับข้อ 5.2 :หัวข้อ 4.5 ไม่จำเป็นต้องดำเนินการ
3. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็น และข้อสังเกตเพิ่มเติมของที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการได้อย่าง รอบคอบ เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สรุปได้ดังนี้
3.1 ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาอย่างโปร่งใส และเร่งกระบวนการขั้นตอนทางธุรการต่างๆ ให้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการจัดเตรียมเอกสารเชิญชวน หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอ ตลอดจนเอกสารสัญญาจ้างไว้ให้พร้อม สามารถลงนามได้ทันทีภายหลังการคัดเลือกเสร็จสิ้นตามกระบวนการ
3.2 จัดส่งรายละเอียดหน้าที่การดำเนินงาน (Terms of Reference : TOR) ที่ปรับปรุงแล้วในส่วนของที่ปรึกษาชุดออกแบบการประมูล (Auction Design) ให้ กทช.เศรษฐพรฯ และในส่วนของที่ปรึกษาชุดเศรษฐกิจและนโยบายการกำกับดูแลให้ กทช.สุธรรมฯ ตรวจดูถ้อยคำอีกครั้งหนึ่งเพื่อความรอบคอบก่อนดำเนินการ
3.3 รวบ รวมข้อมูลผลการศึกษาของที่ปรึกษาชุดต่างๆ ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในระยะที่ผ่านมา และได้เคยให้ข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไว้ เพื่อตรวจสอบและประมวลจัดทำเป็นข้อมูลจัดส่งให้ กทช.ว่ามีเรื่องใดที่ทำไว้แล้วบ้าง และ/หรือยังขาดในเรื่องใด รวมทั้งจะต้องทำอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงประกอบการพิจารณาในเรื่อง 3G ต่อไป
3.4 ในระหว่างดำเนินการ ให้สำนักงาน กทช. รายงานความคืบหน้าและ/หรือนำเสนอ กทช.เพื่อหารือเป็นระยะๆ รวมทั้งจัดทำ CPM (Critical Path Method) เสนอ กทช.เพื่อใช้ในการกำกับและติดตามการดำเนินงาน มิให้เกิดความล่าช้าหรือหยุดชะงักได้
4. เห็น ชอบและมอบหมายให้สำนักงาน กทช.ไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดข้อสัญญาในเรื่องความรับผิดของที่ ปรึกษาหากเกิดกรณีความเสียหายขึ้น (Liability) ให้ชัดเจน ทั้งนี้ โดยอาจตรวจสอบการจัดทำร่างสัญญามาตรฐานในการจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ของกระทรวงการคลังเพื่อนำมาปรับใช้ แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.20  :  หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตการให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่าง (International Private Leased Circuit : IPLC) ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง : รทช.ประเสริฐฯ, ปก.(วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
               
1. เนื่องจากรายละเอียดของเนื้อหาร่างประกาศ กทช. เรื่อง การขอรับใบอนุญาตการให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC ) ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ยังมีข้อกำหนดหลายประการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการตามเจตนารมย์และ นโยบายในการเปิดเสรีการให้บริการโครงข่ายเชื่อมต่อออกต่างประเทศ หรือ IPLC  ดังนั้น เพื่อความรอบคอบ จึงขอให้ กทช. รับไปพิจารณาในรายละเอียดของร่างประกาศดังกล่าว แล้วแจ้งความเห็นให้สำนักงาน กทช.เพื่อแก้ไขปรับปรุงร่างประกาศฯใหม่ให้เหมาะสมภายใต้นโยบายการเปิดเสรี IPLC อย่างแท้จริง แล้วนำเสนอ กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่งโดยเร็ว ทั้งนี้ ประเด็นที่สมควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไข และนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติม อาทิ ในข้อ 5.1, 5.2,  5.3 และข้อ 8  วรรคสามที่กำหนดให้จัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อบทวิเคราะห์สำหรับการขอ รับใบอนุญาต ซึ่งอาจเป็นการกำหนดกระบวนการ/ขั้นตอนที่ยุ่งยากเกินความจำเป็น และมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดการลดหรือจำกัดการแข่งขัน รวมทั้ง ควรวิเคราะห์ผลกระทบในแง่บวก และแง่ลบ ต่อผู้ประกอบการรายอื่น รวมถึงผู้ประกอบการที่ให้บริการ IIG  ด้วย เป็นต้น
2.  เพื่อให้ระยะเวลาสอดคล้องพอดีกับการดำเนินการตามข้อ 1 จึงเห็นสมควรอนุมัติให้ขยายระยะเวลาการทดลองทดสอบการให้บริการ IPLC  ต่อเนื่องออกไปอีก 15 วัน จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552
ระเบียบวาระที่  4.21  :  การไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีการให้บริการของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ : คณะกรรมการไต่สวน, กท. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นที่ประชุมไปดำเนินการ รวบรวมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วจึงนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
1. จัดส่งรายละเอียดการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีการให้บริการของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เพื่อพิจารณาให้ความเห็น โดยจัดทำเป็นเอกสารเสนอ กทช.เพื่อประกอบการพิจารณา
2. ให้ตรวจสอบข้อมูลกฎหมายของต่างประเทศในกรณีการกำหนดอัตราค่าบริการ On-net และ Off-net ว่าได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายเช่นเดียวกับมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ หรือไม่ อย่างไร  เพื่อประกอบการพิจารณาของ กทช.     
ระเบียบวาระที่  4.22  :  ตัวชี้วัดของสำนักงาน ประจำปี 2551 : รทช.ฐากรฯ, บค. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม  
            
1.  ที่ประชุมเสียงข้างมาก (ประธาน กทช., กทช.เหรียญชัยฯ, กทช.เศรษฐพรฯ, กทช.ประสิทธิ์ฯ และ กทช.สุชาติฯ) มีมติอนุมัติตัวชี้วัดของสำนักงาน กทช.ประจำปี 2551 ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยให้กำหนดอัตราร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการ เป็นร้อยละ 85 แบ่งเป็น
1.1  ตัวชี้วัดของสำนักงาน กทช. ประจำปี 2551 จำนวน 4 ตัวชี้วัด
1.2  ตัวชี้วัดของ 7 สายงานประจำปี 2551 รวม 40 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย
1.2.1 ตัวชี้วัดสายงานสนับสนุนการปฏิบัติงาน กทช. :  รทช.ฐากรฯ   รับผิดชอบ จำนวน 5 ตัวชี้วัด
1.2.2 ตัวชี้วัดสายงานส่งเสริมการแข่งขัน :รทช.ประเสริฐฯ รับผิดชอบ จำนวน 7 ตัวชี้วัด
1.2.3  ตัวชี้วัดสายงานด้านสนับสนุนเลขาธิการ กทช. : ลทช. รับผิดชอบ จำนวน 5 ตัวชี้วัด
1.2.4 ตัวชี้วัดสายงานพัฒนานโยบายและกฎกติกา : รทช.       พิทยาพลฯ รับผิดชอบ จำนวน 4 ตัวชี้วัด
1.2.5  ตัวชี้วัดสายงานด้านการบริการอย่างทั่วถึง และด้าน    บริหาร : จำนวน 7 ตัวชี้วัด
1.2.6   ตัวชี้วัดสายงานทรัพยากรโทรคมนาคม   :  รทช.    ทศพรฯ รับผิดชอบ จำนวน 6 ตัวชี้วัด
1.2.7   ตัวชี้วัดสายงานด้านกิจการต่างประเทศ : จำนวน 6      ตัวชี้วัด
     อนึ่ง สำหรับที่ประชุมเสียงข้างน้อย (กทช.สุธรรมฯ) มีมติไม่อนุมัติ โดยจะจัดทำบันทึกความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอมาอีกครั้งหนึ่งในภายหลัง
2. มอบ หมายให้สำนักงาน กทช.พิจารณาจัดทำตัวชี้วัดของสำนักงาน กทช.ประจำปี 2552 เสนอ กทช.พิจารณาแต่เนิ่นๆ เพื่อมิให้ล่าช้าเหมือนปี 2551
ระเบียบวาระที่ 4.23  :  การดำเนินการกรณีการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์เป็นเงินจำนวน 107 บาท : สบท. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม 
             
1.  รับทราบการจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนมติที่ประชุมครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ให้ยืนยันมติเดิมโดยให้บริษัทฯคืนเงินค่าต่อคู่สายโทรศัพท์จำนวน 107 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้บริษัทฯ ระงับการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์จากผู้ใช้บริการรายอื่นต่อไป
2.  เมื่อพิจารณาตรวจสอบข้อมูลที่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ได้จัดส่งมาเพิ่มเติมตามข้อ 1 แล้ว ยังไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาทบทวนมติ กทช.ครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 ในกรณีดังกล่าวได้
3.  เห็นชอบการกำหนดแนวทางการกำกับดูแลการเรียกเก็บค่าบริการที่มีลักษณะคล้าย คลึงกันกับกรณีนี้ของผู้ให้บริการรายอื่นตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ โดย กทช.ออกคำสั่งในทางปกครองเพื่อให้การเก็บค่าต่อคู่สายเป็นไปโดยสมมาตรทั้ง ระบบ (Symmetric Regulation) โดยบังคับใช้แก่ผู้ประกอบการทุกรายให้ระงับการเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีนี้โดยทั่วถึงกันด้วย
ระเบียบวาระที่ 4.24  :  รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานปี 2551 ของผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (สพท.) : สพท. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม  
           
1.  รับทราบรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานปี 2551 ของผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (สพท.) ตามเอกสารที่ประธานกรรมการบริหารงานสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (ประธาน กพท.) เสนอ
2. เห็นชอบรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานปี 2551 ของผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (สพท.) ตามข้อ 1
3.  มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารงานสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้
3.1  ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ สพท.ในปี 2552 ขอให้มีการวัดผลสำเร็จของโครงการต่อเนื่องที่มีการอนุมัติในปี 2551 รวมทั้งผลจากการดำเนินการตามข้อแนะนำของคณะกรรมการฯ ด้วย
3.2 ขอให้นำผลการดำเนินงานของ สพท. เผยแพร่ทาง Internet เพื่อประเมินผลการจัดตั้งสถาบันฯ ที่มีต่อสังคมภายนอกด้วย
4. มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นของที่ประชุม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
4.1 ขอให้นำรูปแบบการประเมินผลผู้อำนวยการ สพท.นี้ ไปใช้ในการประเมินผลผู้อำนวยการสถาบันอิสระอื่นๆ ด้วย
4.2 ขอให้เร่งรัดการนำเสนอฐานข้อมูลนักวิจัยเพื่อนำเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาในโอกาสต่อไป
หมายเหตุ  ประชุมเฉพาะ กทช.
ระเบียบวาระที่ 4.25  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.26  :  การอุทธรณ์คำสั่งให้พนักงานของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของสถาบันฯ จำนวน 4 ราย : รทช.ฐากรฯ, บค. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
  เนื่องจากการประเมินผลการทดลองปฏิบัติ หน้าที่ของพนักงาน สบท.เป็นไปโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการประเมินผลการทดลองปฏิบัติ หน้าที่ตามที่ระเบียบ กทช.ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2548 กำหนดแล้ว ประกอบกับผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และคณะกรรมการบริหารงานบุคคลเห็นพ้องต้องกันว่าการประเมินผลในครั้งนี้ สบท.ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ รวมทั้งมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบ กทช.ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2548 ดังนั้น ที่ประชุม กทช.จึงมีมติให้ สบท.จะต้องดำเนินการ ดังนี้
1. คืนสิทธิต่างๆที่พนักงาน สบท.ทั้ง 4 ราย มีสิทธิได้รับตามกฎหมายให้แก่พนักงานดังกล่าวตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้พ้น จากการปฏิบัติหน้าที่ และให้ สบท.ส่งตัวพนักงาน สบท.ทั้ง 4 ราย มาปฏิบัติงานที่ สำนักงาน กทช. โดยให้ได้รับเงินเดือน และใช้อัตราตำแหน่งของ สบท.
2. ในกรณีที่จะให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน สบท. รายใดก็ตามจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขของสัญญา และระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
     ทั้งนี้ มอบหมายให้ ลทช.แจ้งมติข้างต้นให้ สบท.และพนักงานของ สบท.ทั้ง 4 รายทราบต่อไปด้วย
หมายเหตุ  ประชุมเฉพาะ กทช.
ระเบียบวาระที่ 4.27 – 4.29  :  ยังไม่มีการพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.30  :  สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคมดาว เทียมภาคพื้นดินที่สถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดเชียงใหม่ : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
               
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่เรื่องนี้เป็นเอกสิทธิ์ทางการทูตของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ซึ่งได้ดำเนินการถูกต้องตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูต และเพื่อให้เป็นไปตามหลักความเสมอภาคในการปฏิบัติ (Equality) และหลักต่างตอบแทน (Reciprocity) กอปรกับการขออนุญาตจัดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกับกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีนเท่านั้น ดังนั้น  ที่ประชุมจึงมีมติอนุญาตให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้ความถี่ วิทยุ C-band ผ่านดาวเทียม SINO-1
(110.5°) และติดตั้งสถานีภาคพื้นดินประจำที่ ณ สถานกงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดต่อสื่อสารกับกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการอนุญาต อย่างไรก็ดี หากได้รับแจ้งว่ามีปัญหาการรบกวนใดๆ เกิดขึ้น มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ติดต่อประสานงานเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
2. อนุมัติให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อติดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ณ สถานกงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.31  :  การประสานงานความถี่วิทยุกับสาธารณรัฐประชาชนจีน กรณีข่ายดาวเทียม SINOSAT- 3 BSS : ผชช.กม., วท. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
             
1.  เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วน ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดความเสียหาย รวมทั้งเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศไทย จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการโดยด่วนดังนี้
1.1  ให้ติดต่อกับ Radio Regulatory Department, Ministry of Information Industry ของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยด่วนที่สุด เพื่อประสานงานความถี่วิทยุ โดยแจ้งว่าขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาและดำเนินการตามขั้นตอนของ กฎหมาย กระบวนการต่างๆยังไม่สิ้นสุด
1.2  เร่งมีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อขอให้ Authorize แก่ กทช. ในการประสานงานความถี่ต่อไปตามข้อ 1.1 โดยมีสาระสำคัญสรุปว่า โดยที่ปัจจุบันยังไม่มี กสช. ทำหน้าที่ร่วมกับ กทช. เป็นคณะกรรมการร่วม กอปรกับขณะนี้ยังไม่มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯฉบับใหม่ขึ้นมา ขณะเดียวกัน กทช. มีหน้าที่ตามกฎหมายอยู่ส่วนหนึ่งในการประสานงานความถี่ ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงาน กทช. และ กทช. จะดำเนินการร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการประสานงาน ความถี่มาโดยตลอด ดังนั้น ในกรณีนี้ เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทย กทช.จำเป็นต้องเร่งดำเนินการในการประสานงานความถี่ครั้งนี้กับสาธารณรัฐ ประชาชนจีน อย่างไรก็ดี จะเป็นการดำเนินการเฉพาะด้านเทคนิคเท่านั้น ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. แนบหนังสือของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลงวันที่ 14 มกราคม 2552 ให้นายกรัฐมนตรีรับทราบด้วย
2.  นอกจากนี้ ตามนัยมาตรา 63 (7) (10) แห่ง พ.ร.บ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2543 การประสานงานความถี่ เป็นอำนาจของคณะกรรมการร่วม มิใช่อำนาจของ กทช. และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น ในการดำเนินการตามข้อ 1.2 สมควรกราบเรียนนายกรัฐมนตรีในคราวเดียวกันด้วยเพื่อขอหารือ และวินิจฉัยว่า ในการประสานงานความถี่เรื่องนี้ ซึ่งนอกเหนือจากจะมีการประสานงานด้านเทคนิคแล้ว ยังอาจมีการเจรจาในด้านต่างๆ เช่น การเจรจาทางการค้าร่วมด้วย นั้น เป็นประเด็นที่อาจอยู่ในกรอบต้องปฏิบัติตามมาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ 
ระเบียบวาระที่ 5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 5.1  :  การสัมมนาเชิงนโยบาย เรื่อง Meaningful Broadband :  กทช.      เศรษฐพรฯ
มติที่ประชุม
  รับทราบสรุปผลการสัมมนาเชิงนโยบาย เรื่อง Meaningful Broadband เมื่อวันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามเอกสารที่ กทช.เศรษฐพรฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.2  :  ความคืบหน้าในการจัดทำ Office Data และเปิด Translator ให้กับเลขหมายของ บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
             
1.  รับทราบผลความคืบหน้าในการจัดทำ Office Data และเปิด Translator ของ บมจ.ทีโอที ให้กับเลขหมายของ บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์
2.  รับทราบความคืบหน้าในการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่าง บมจ.ทีโอที และ บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์
3.  รับทราบผลของคดีปกครองหมายเลขดำที่ 905/2551 ระหว่าง บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ ผู้ฟ้องคดี และ บมจ.ทีโอที ผู้ถูกฟ้องคดี ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.3  :  รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่ กทช. ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือมอบหมายให้ ลทช. ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ประจำเดือนมกราคม 2552 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.4  :  รวบรวมข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับคดีซึ่ง กทช. สำนักงาน กทช. ลทช. คณะกรรมการ อนุกรรมการ หรือพนักงาน สำนักงาน กทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครอง : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
  รับทราบสถานะของคดีที่ กทช. สำนักงาน กทช. ลทช. คณะกรรมการ อนุกรรมการ หรือพนักงาน สำนักงาน กทช. ถูกฟ้องต่อศาลปกครอง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552  จำนวน 15 คดี ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.5  :  รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการนำร่อง ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ครั้งที่ 2 : รทช.พิทยาพลฯ, ทถ.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานโครงการนำร่องการนำ เทคโนโลยี WiMAX มาใช้เพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารแบบใหม่ระหว่างศูนย์กลางโรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราช กับศูนย์รับ-ส่งปลายทาง ครั้งที่ 2 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.6  :  การขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุสำหรับการติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงข้อมูล ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย : รทช.ประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานการประชุมหารือระหว่าง สำนักงาน กทช. ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ผู้แทนบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และผู้แทนบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เรื่อง การขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุสำหรับการติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงข้อมูลใน การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย เมื่อวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552 ณ ห้องประชุม 2 อาคารอำนวยการ สำนักงาน กทช. ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.7  :  รายงานความคืบหน้าโครงการสนับสนุนการบูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังพญาไท และจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทย : กทช.สุธรรมฯ
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน โครงการสนับสนุนการ บูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังพญาไท และจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งสำนักงาน กทช. ได้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีประจำปี พ.ศ.2551 จำนวนเงิน 15,000,000 บาท ตามเอกสารที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.8  :  รายงานความคืบหน้าการดำเนินตามรายละเอียดการจัดการประชุมทางวิชาการ International Telecommunications Society Symposium 2009 (ITS 2009) : รทช.ฐากรฯ, กจ., สพท.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายละเอียดการจัดประชุมทางวิชาการ International Telecommunications Society Symposium 2009 (ITS 2009) ซึ่งกำหนดจัดในระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 2 –วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2552 ได้แก่ กำหนดการจัดประชุม รายชื่อวิทยากรจากต่างประเทศ และโครงสร้างการบริหารจัดการการประชุมดังกล่าว ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.9  :  รายงานผลการพิจารณา “ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ...” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ของสภาผู้แทนราษฎร ในวาระด่วนที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552 : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
  รับทราบผลการพิจารณา “ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ...” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ของสภาผู้แทนราษฎร ในวาระด่วนที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.10  :  งบการเงินของสำนักงาน กทช. สำหรับไตรมาสที่ 4 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 รทช.ฐากรฯ,คง. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม  
              
1.  รับทราบงบการเงินของสำนักงาน กทช. สำหรับไตรมาสที่ 4 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำเสนองบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบของบริษัท นิลสุวรรณ จำกัด แล้วให้ กทช. พิจารณาก่อนนำส่งให้ สตง. ตรวจสอบต่อไป
2. มอบ หมายให้สำนักงาน กทช. ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการนำเสนองบการเงินของสำนักงาน กทช. ให้ที่ประชุม กทช.ทราบ นั้น นอกเหนือจากรายละเอียดข้อมูลตามเอกสารที่นำเสนอ กทช.เป็นวาระเพื่อทราบตามระเบียบแล้ว ให้พนักงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงต่อที่ประชุมด้วยเพื่อให้เกิดความชัดเจนมาก ยิ่งขึ้นกรณีหาก กทช.มีข้อสงสัยใดๆเพิ่มเติม จะได้ซักถามให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน
3. รับทราบรายงานสถานะการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปี 2551 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 31 ธันวาคม 2551) ของสำนักงาน กทช.ซึ่งเป็นไปตามที่ระเบียบกำหนดไว้ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช.เสนอ (กลุ่มงบประมาณฯ)
ระเบียบวาระที่  5.11  :  รายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ประจำสัปดาห์ที่หนึ่งของเดือนมีนาคม 2552 : สชท.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ประจำสัปดาห์ที่หนึ่งของเดือนมีนาคม 2552 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเสนอ
ระเบียบวาระที่  5.12  :  รายงานผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานด้านบริการของอาเซียน (CCS) : รทช.ทศพรฯ, รศ.
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานด้านบริการของอาเซียน (CCS) ครั้งที่ 57 ระหว่างวันที่ 8-12 กุมภาพันธ์ 2552 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.13  :  การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. .... : ลทช.
มติที่ประชุม
  รับทราบการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. .... จำนวน 45 ท่าน โดยมีนายสรุนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการ กทช. ร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.14  :  รายงานการดำเนินงานเพื่อการสรรหากรรมการกิจการ
โทรคมนาคม แห่งชาติ กรณี กทช. พ้นจากตำแหน่งโดยการจับสลากและลาออก : รทช.พิทยาพลฯ, กม.
มติที่ประชุม
 รับทราบรายงานการดำเนินงานเพื่อการสรรหากรรมการกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ กรณี กทช. พ้นจากตำแหน่งโดยการจับสลากและลาออก โดยกรณี กทช. พ้นจากตำแหน่งโดยการจับสลาก มีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 6 ท่าน กรณี กทช. พ้นจากตำแหน่งโดยการลาออกจำนวน 2 ท่าน ซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาได้มีการพิจารณาไปแล้ว 2 ครั้ง (วันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 และ 6 มีนาคม 2552) ตามเอกสารที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.15  :  รายงานผลการเดินทางไปบรรยายในการอบรม PURC/World Bank International Training Program on Utility Regulation and Strategy ครั้งที่ 25 : กทช.สุธรรมฯ
มติที่ประชุม
  รับทราบรายงานผลการเดินทางไปบรรยายในการอบรม PURC/World Bank International Training Program on Utility Regulation and Strategy ครั้งที่ 25  ระหว่างวันที่ 19 ถึง 20 มกราคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามเอกสารที่ กทช.  สุธรรมฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่  6  : เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  การประสานความร่วมมือกับ PURC, UFL และ World bank ในการจัดตั้ง Regional Anchor institution ที่ประเทศไทย : กทช. สุธรรมฯ (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบการประสานความร่วมมือกับ PURC, UFL และ World Bank เพื่อจัดตั้งสถาบัน Regional Anchor Institution ที่ประเทศไทย ตามโครงการ Global Capacity Building Institution (GCBI) for ICT Regulation ของ INFO Dev, ITU และ World Bank โดยมอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ พบหารือกับ Dr. Tim Kelly ที่ World Bank เพื่อหารือรายละเอียดการจัดตั้งสถาบัน Regional Anchor Institution ที่ประเทศไทยได้ต่อไป ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่  6.2  :  การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 กรณีคณะอนุกรรมการฯ ชุดปัจจุบันหมดวาระการดำรงตำแหน่ง : รทช.พิทยาพลฯ, กม. (วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม  
             
1.  เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการ ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544   ชุดใหม่ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับชุดเดิมที่ได้รับการแต่งตั้งตาม คำสั่งที่ 16/2550 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2550 ยกเว้นอนุกรรมการลำดับที่ 3 ให้ปรับเปลี่ยนจาก รศ.ประเสริฐฯ เป็นนายจักรทิพย์ฯ ผู้เชี่ยวชาญประจำ กทช.แทน ทั้งนี้ โดยมีวาระการดำรตำแหน่ง 2 ปีนับจากวันที่ 16 มีนาคม 2552 ตามข้อ 4 แห่งประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทร คมนาคม พ.ศ.2544
2. มอบหมายให้สำนักงาน กทช. เสนอร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ตามข้อ 1 ให้ประธาน กทช. เพื่อลงนามแต่งตั้งโดยเร็วต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.3  :  การประชุมหารือร่วมกันระหว่างผู้บริหารระดับสูงฝ่ายไทยและฝ่ายลาว : รทช.ทศพรฯ, รศ. (วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
             
1.  อนุมัติในหลักการให้สำนักงาน กทช.เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือร่วมระหว่างผู้บริหารระดับสูงฝ่ายไทยและ ฝ่ายลาว ได้แก่ ประธาน กทช. และ กทช. กับผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายลาว ได้แก่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ / หรือ Vice President ของ NAPT พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย ณ สำนักงาน กทช. ตามที่ สำนักงาน กทช.เสนอ
2.  เนื่องจากการประชุมหารือดังกล่าวยังมิใช่เป็นการประชุม JTC หากแต่เป็นการเดินทางมาเพื่อเข้าเยี่ยมคารวะและทำความรู้จักกันตามธรรมเนียม ปฏิบัติ (Courtesy Call) ในฐานะที่ประเทศลาวได้จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบใหม่ขึ้นเรียกว่า “ The National Authority of Posts and Telecommunications : NAPT ” ทั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ก่อนการประชุม JTC ไทย-ลาว ครั้งที่ 2 ต่อไป ดังนั้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อคิดเห็นที่ประชุม ไปดำเนินการโดยเร็ว ดังนี้
2.1  มีหนังสือแจ้งผู้บริหารระดับสูงของ NAPT ว่า กทช.และสำนักงานฯ ยินดีต้อนรับ และขอเชิญเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ณ สำนักงาน กทช.ในเดือนมีนาคม 2552 นี้
2.2 พิจารณากำหนดวันเวลาของการประชุมให้เหมาะสม  พร้อมจัดทำรายละเอียดของประเด็นที่จะประสานความร่วมมือระหว่างกันให้ชัดเจน แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
2.3  ในการลงนามร่วมกันของทั้งสองฝ่ายในชั้นนี้ นั้น ให้เป็นการลงนามในบันทึกการประชุม (Minutes of the Meeting)  เพื่อรับทราบมติที่ได้เห็นชอบร่วมกันในการจะประสานความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างกันต่อไปในอนาคต
ระเบียบวาระที่  6.4  :  ปฏิทินงบประมาณประจำปี 2553 : กลุ่มภารกิจด้านการงบประมาณ, ลทช. (วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
              
1. เห็น ชอบปฏิทินงบประมาณรายรับ-รายจ่าย ประจำปี 2553 ของสำนักงาน กทช. ตามที่สำนักงาน กทช. ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นที่ประชุมเพื่อปรับปรุงปฏิทินงบประมาณดังกล่าวให้เหมาะ สมในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น แล้วแจ้งเวียนให้ กทช. ทุกท่านทราบต่อไป ได้แก่ การปรับกรอบระยะเวลาการพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายรับ-รายจ่ายประจำปี 2553 ของ กทช. จากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนธันวาคม 2552 ปรับแก้ไขใหม่ให้เร็วขึ้นเป็นเริ่มต้นการพิจารณาของ กทช.ได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552 เพื่อมิให้กระชั้นชิดจนเกินไป รวมทั้งให้สามารถเผื่อเวลาไว้สำหรับให้ทุกสถาบัน/สำนัก/กลุ่มงาน เตรียมความพร้อมและเริ่มต้นดำเนินการต่างๆไว้ได้ก่อนจะเริ่มต้นปีงบประมาณ 2553 ในเดือนมกราคม ต่อไป
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพื่อเตรียมการสำหรับการศึกษาวิเคราะห์เสนอค่าตัว แปรที่เหมาะสม (X - component) ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยหลักการบริหารการจัดการงบประมาณ (Budget  Management) ข้อ 9 วรรคสอง ทั้งนี้ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจของ กทช.ในการจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 (CPI - X) ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจกำลังถดถอย
ระเบียบวาระที่  6.5  :  ร่างพระราชบัญญัติหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ : รทช. พิทยาพลฯ, กม. (วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม 
 มอบหมายให้สำนักงาน กทช.รับข้อคิดเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุมไปวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ เพิ่มเติม ให้มีความชัดเจนและรอบคอบมากยิ่งขึ้น ดังนี้
1. ศึกษาวิเคราะห์ถึงความซ้ำซ้อน และความจำเป็นมากน้อยอย่างไรที่จะต้องมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหมายเลข โทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับนี้
2. ศึกษาวิเคราะห์ถึงบทบาทและอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเลขหมาย โทรคมนาคมตามกฎหมายที่มีอยู่ให้ รอบคอบ และชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่าเป็นของ กทช.หรือหน่วยงานใดอีกหรือไม่ อาทิ การพิจารณาตรวจสอบรายละเอียดตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2543 และ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 รวมทั้งประกาศ กทช.ที่เกี่ยวข้อง
3.  ศึกษาวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติหมายเลข โทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ทั้งในประเด็นด้านกฎหมาย และเทคนิค โดยเฉพาะความชัดเจนในมาตรา 5 (3) ซึ่งน่าจะเป็นอำนาจของ กทช.ที่จะสามารถออกประกาศในเรื่องนี้ได้อยู่แล้ว รวมถึง ในมาตรา 8 ซึ่งสมควรต้องพิจารณาถึงผลกระทบในประเด็นภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามมา ด้วย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติมีรายละเอียดของ เนื้อหาที่เหมาะสมและถูกต้องครบถ้วนมากยิ่งขึ้นหากจำเป็นต้องมีการออกพระราช บัญญัติดังกล่าว
4. รวบรวมและแนบเอกสารข้อมูลความเห็นเดิมที่เกี่ยวข้องในส่วนของสำนักงาน กทช.ที่ได้ไปเข้าร่วมประชุมในเรื่องนี้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
     ทั้งนี้ เนื่องจากเรื่องนี้มีกำหนดระยะเวลาที่ต้องส่งความเห็นให้สำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรี ดังนั้น จึงให้ดำเนินการโดยหารือร่วมกับ กทช.เศรษฐพรฯ และที่ปรึกษากฎหมายประจำ กทช. (พลเอกชูชาติ สุขสงวน) แล้วดำเนินการต่อไปได้
ระเบียบวาระที่  6.6  :  การต่อสัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านเลขหมายโทรคมนาคมประจำสำนักงาน กทช. (นายบุญเสริม อึ้งภากรณ์) : รทช.ฐากรฯ, บค.(วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม 
             
1.  รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้เชี่ยวชาญด้านเลขหมายโทรคมนาคม ประจำสำนักงาน กทช. (นายบุญเสริม อึ้งภากรณ์) ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
2. อนุมัติการต่อสัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านเลขหมายโทรคมนาคม ประจำสำนักงาน กทช. (นายบุญเสริม อึ้งภากรณ์) ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยให้ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กทช. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2548 ข้อ 4 และให้กำหนดเงื่อนไขในสัญญาจ้างเพิ่มเติมด้วยว่าให้สัญญาการจ้างดังกล่าว สิ้นสุดลงเมื่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติพ้นจากตำแหน่ง
หมายเหตุ  ประชุมเฉพาะ กทช.
ระเบียบวาระที่  6.7  :  การจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์ประจำ กทช. (จ้างต่อ 2 ราย จ้างใหม่ 1 ราย) : รทช.ฐากรฯ, บค. (วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบให้สำนักงาน กทช. ดำเนินการต่อสัญญาจ้าง และดำเนินการจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์ประจำ กทช. จำนวน 3 ราย โดยให้ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 30,000 บาท ดังนี้
1.1   ดำเนินการต่อสัญญาจ้างนายวิบูลย์ ศรีสุวรรณธัช เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์ประจำ กทช. อีก 1 ปี นับตั้งแต่สัญญาเดิมสิ้นสุดลง โดยมีหน้าที่เข้าร่วมรับฟังการประชุม กทช.ทุกครั้งเพื่อนำผลการประชุมไปเขียนข่าวหรือบทความประชาสัมพันธ์
1.2  ดำเนินการต่อสัญญาจ้างนายโอภาส เสวิกุล เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์ประจำ กทช. อีก 1 ปี นับตั้งแต่สัญญาเดิมสิ้นสุดลง โดยมีหน้าที่เข้าร่วมรับฟังการประชุม กทช. ทุกครั้งเพื่อนำผลการประชุมไปเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ลงในสื่อหรือสิ่งพิมพ์
1.3   ดำเนินการจ้างนายพงษ์พิพัฒน์ จันทน์หอม เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์ประจำ กทช. เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 โดยมีหน้าที่เขียนข่าว บทความ และเผยแพร่งานต่างๆ ของ กทช. และสำนักงาน กทช. ในสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออื่นๆ
หมายเหตุ  ประชุม เฉพาะ กทช.
ระเบียบวาระที่  6.8  :  การชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีข้อร้องเรียนของนายอายุทธ์ จิรชัยประวิตร : ลทช. (วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
  รับทราบและเห็นชอบด้วยกับคำชี้แจงของ ลทช. ต่อกรณีข้อร้องเรียนของนายอายุทธ์ จิรชัยประวิตร สรุปได้ว่า ลทช.ได้ดำเนินการตามบัญชาของประธาน กทช.ตามที่ กทช.ประสิทธิ์ฯ เสนอให้แต่งตั้งนายอายุทธ์ฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติ กทช.ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุและแต่งตั้งพนักงาน สำนักงาน กทช.มาโดยตลอด มิได้เพิกเฉยหรือละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายอายุทธ์ฯกล่าวหาแต่ ประการใด ตามข้อเสนอของสำนักงาน กทช.
หมายเหตุ  ประชุมเฉพาะ กทช.
ระเบียบวาระที่  6.9  :  แนวทางเกี่ยวกับการปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าร่วมประชุมสัมมนาและดูงานใน ต่างประเทศ : กทช.สุธรรมฯ  (วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้า ร่วมประชุมสัมมนา และ  ดูงานในต่างประเทศ ตามที่ กทช.สุธรรมฯ เสนอ และมอบหมายให้สำนักงาน กทช. รับไปปฏิบัติ โดยให้มีกำหนดระยะเวลา 6 เดือน ดังนี้
1. การเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศหากไม่มีความจำเป็นให้ งดเดินทาง
2. ใน กรณีที่สำนักงาน กทช.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติงาน ในต่างประเทศ ให้ขออนุมัติต่อ กทช.เป็นกรณีๆไป
3. ให้ผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบินลดชั้นการเดินทางตามสิทธิลงมาหนึ่ง ชั้น เว้นแต่เป็นชั้นต่ำสุดอยู่แล้ว โดยให้ถือปฏิบัติจนกว่า กทช.จะมี มติเป็นอื่น
4. ในกรณีที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ ให้ สำนักงาน กทช.แจ้งรายละเอียดของงบประมาณที่ได้รับ รวมทั้ง แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับลดค่าใช้จ่ายตามแนวทาง ข้างต้นว่า สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายของสำนักงาน กทช.เป็น จำนวนเท่าใด
5. ให้ แนวทางการปฏิบัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ กทช.มีมติคือวันที่  13 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป
ระเบียบวาระที่  6.10  :  การคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหาร (ระดับ บ1) : รทช.ฐากรฯ, บค. (วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
             
1.  เห็นชอบร่างประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การคัดเลือกพนักงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบ ริหาร (ระดับ บ1) และร่างคำสั่ง กทช. เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกพนักงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบ ริหาร (ระดับ บ1) ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กทช. ด้านการบริการอย่างทั่วถึง และรองเลขาธิการ กทช. ด้านกิจการระหว่างประเทศ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กทช. นำร่างประกาศ กทช.และร่างคำสั่ง กทช.ข้างต้นเสนอประธาน กทช. เพื่อลงนามโดยเร็วต่อไป
2. อนุมัติให้คณะกรรมการคัดเลือกพนักงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ อำนวยการบริหาร  (ระดับ บ1) ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กทช. ด้านการบริการอย่างทั่วถึง และรองเลขาธิการ กทช. ด้านกิจการระหว่างประเทศ ได้รับค่าตอบแทนเบี้ยประชุม (เฉพาะกรรมการที่มีสิทธิ) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อ 18 และข้อ 23 แห่งระเบียบ กทช. ว่าด้วยวิธีการประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และค่าตอบแทน พ.ศ.2551 
หมายเหตุ                 
1. ประชุมเฉพาะ กทช.
2. กทช.สุธรรมฯ ได้มีบันทึกความเห็นแย้งมติที่ประชุม รายละเอียดปรากฎตามบันทึก  ลงวันที่  27  มีนาคม  2552  ที่แนบ
ระเบียบวาระที่  6.11  :  การพิจารณาค่าธรรมเนียมในการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1900 MHz ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : รทช.ประเสริฐ , ปก. (วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
  เห็นชอบการกำหนดค่าธรรมเนียมในการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1900 MHz ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ตามผลการศึกษาของ Chalmers University  of Technology ประเทศสวีเดน โดยคิดเป็นค่าธรรมเนียมการโอนคลื่นความถี่เท่ากับ 262 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 ของมูลค่าการประเมินคลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในประกาศ กทช.ว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการให้ผู้อื่นร่วมใช้คลื่น ความถี่ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2550 ทั้งนี้ การพิจารณากำหนดค่าธรรมเนียมดังกล่าว เป็นไปด้วยความเหมาะสมตามหลักวิชาการ และข้อเท็จจริงด้านต่างๆ ดังนี้
1. สำนักงาน กทช.ได้มีการศึกษาวิเคราะห์หลักการ หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณตามหลักวิชาการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากลทั้งจากการศึกษาของที่ปรึกษา 3 G, การศึกษาของ Chalmers University  of Technology รวมทั้งการศึกษาของ สถาบัน ENST ประเทศฝรั่งเศส โดยละเอียดเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ
2. จาก การวิเคราะห์อัตรามูลค่าคลื่นความถี่(USD)ต่อMHzต่อประชากรแล้ว นับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศทั่วโลก
3. ได้คำนึงถึงผลกระทบทางลบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหากมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาระของผู้ประกอบการในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
4. มุ่งเน้นการพิจารณาการกำหนดค่าธรรมเนียมที่สามารถสะท้อนถึงมูลค่าทาง เศรษฐกิจของคลื่นความถี่ เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามนโยบายในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่มุ่งเน้นการ ส่งเสริมการแข่งขัน และเกิดบริการใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่จะได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ และในราคาที่สมเหตุสมผล (Affordable)
ระเบียบวาระที่  6.12  :  การโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1900 MHz ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (วาระต่อเนื่อง) : รทช.ประเสริฐฯ, ปก. (วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม 
             
1.  รับทราบผลการประกาศรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่ 1900 MHz ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)โดยวิธีการเผยแพร่ทาง Website ของสำนักงาน กทช. และขอรับความคิดเห็นเป็นเอกสาร ทั้งนี้ ได้เผยแพร่คำเชิญชวนตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 และครบกำหนดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 13 มีนาคม 2552 ซึ่งปรากฎผลว่าไม่มีผู้แสดงความคิดเห็นต่อการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1900 MHz ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
2. อนุมัติการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1900 MHz ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ สำหรับเงื่อนไขในการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ฯ นั้น มอบหมายให้สำนักงาน กทช.ส่งเวียนให้ กทช.ทุกท่านพิจารณาเพื่อความรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง ก่อนดำเนินการต่อไปได้ตามกระบวนการภายหลัง กทช.อนุมัติการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศ กทช.ว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และการให้ผู้อื่นร่วมใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2550 โดยครบถ้วน ถูกต้อง และสมบูรณ์ต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.13  :  การสนับสนุนงบประมาณ การจัดเวทีสาธารณะเรื่อง “ชำแหละร่างกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ : ใครได้ใครเสีย?” จำนวนเงิน 500,000 บาท : รทช.ฐากรฯ, บป. (วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2552)
มติที่ประชุม
 อนุมัติการสนับสนุนงบประมาณแก่ไตรภาคีสมาคม (สมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคไทยและสมาคมสิทธิผู้บริโภค)ในการจัดเวทีสาธารณะ เรื่อง “ ชำแหละร่างกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ : ใครได้ใครเสีย? ” เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท ตามที่สำนักงาน กทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งได้ตั้งงบประมาณไว้ในปี 2552 เป็นเงินจำนวน 50 ล้านบาท

สร้างโดย  -   (18/3/2559 15:50:38)

Download

Page views: 72