สรุปมติที่ประชุม กสทช. 02/2554
รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 2/2554
วันพุธที่ 12 มกราคม 2554 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
1. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ ประธานกรรมการ
2. นายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ กรรมการ
3. รองศาสตราจารย์สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ
4. นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร กรรมการ
5. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ รักษาการในตำแหน่ง เลขาธิการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช.
ผู้ไม่เข้าประชุม
1. พันเอกนที ศุกลรัตน์ ติดภารกิจไปต่างประเทศ
2. รองศาสตราจารย์พนา ทองมีอาคม ติดภารกิจไปต่างจังหวัด
3. นายบัณฑูร สุภัควณิช ติดภารกิจ
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กทช.
1. นายอารักษ์ โพธิทัต ผู้บังคับบัญชา กช.
2. นางดวงเดือน เสวตสมบูรณ์ ผู้บังคับบัญชา ปต.
3. นายบุญยิ่ง โหมดเทศน์ ผู้บังคับบัญชา ส่วนมติและรายงานการประชุม
4. นางอรุณ วงศ์ศิวะวิลาส ผู้บังคับบัญชา ส่วนงานวาระการประชุม
5. นางสาวกานต์ชนา เกตุสุวรรณ พนักงาน กสทช.
6. นางสาวสุภาวดี สดศรี พนักงาน กสทช.
7. นางสาวจุฑาสินี คำบำรุง พนักงาน กสทช.
8. นางสาวจอย รักษาพราหมณ์ พนักงานปฏิบัติการประจำส่วนงาน กทช.สุธรรมฯ
ระเบียบวาระที่ 1 : เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1. ประธาน กทช.ได้ทำหนังสือความเห็นแย้งมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่แล้ว โดยยืนยันด้วยหนังสือซึ่งมีความยาวประมาณ 3 หน้า ท่านกรรมการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทุกท่านคงได้รับ เพราะมีการเวียนหนังสือให้ทราบแล้ว จึงขออ่านคร่าวๆ อีกครั้งหนึ่งดังนี้ “ ผมในฐานะประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. มีความเห็นแย้งต่อมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554 โดยให้บันทึกความเห็นแย้งพร้อมทั้งเหตุผลไว้ในรายงานการประชุมดังกล่าวดังนี้
1.) ขอยืนยันว่าโดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ประธาน กทช. มาปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และมีเหตุผลประมาณ 3 หน้า
2.) โดยที่ผมมีฐานะเป็นประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. โดยผลของกฎหมายจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการใดๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเคร่งครัด มิฉะนั้นอาจเข้าข่ายการกระทำที่เป็นการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้ ทั้งนี้ ขอให้ที่ประชุมรับทราบ และนำความเห็นแย้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการประชุมตามข้อ 33 วรรค 3 ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยข้อบังคับประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2548 และขอให้ ลทช. แนบความเห็นแย้งนี้ไว้กับรายงานการประชุมด้วย ”
2. เมื่อวานนี้ประธาน กทช. ได้ไปพบกับอัยการสูงสุด (ท่านจุลสิงห์ฯ) ซึ่งท่านได้กล่าวว่า มาตรา 80 ที่เป็นผลพวงให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเป็น กสทช. และ กทช. นั้นมีประธาน กทช. ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมา ผลพวงจากนี้ ก็เป็นประธาน กสทช. ไปทำหน้าที่อย่างเดียวกันให้ครบองค์ของ กสทช. ส่วนเรื่องของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ขอให้กระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะเป็นเรื่องกิจการโทรคมนาคมเป็นหลัก ซึ่งก็จะหาทางออกว่าจะต้องไปทางไหน เมื่อวานก็ได้โทรศัพท์หารือเรื่องกองทุนฯ ไปที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
3. ประธานแจ้งว่า กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ขอลาประชุม เนื่องจากจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้สำนักงาน กสทช. เขต 7 จังหวัดนครราชสีมา เขต 10 จังหวัดพิษณุโลก เขต 6 จังหวัดขอนแก่น เขต 8 จังหวัดอุดรธานี เขต ๙ จังหวัดเชียงใหม่ และเขต 3 จังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ 8 – 15 มกราคม 2554
หมายเหตุ รักษาการเลขาธิการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. ได้เรียนชี้แจงเรื่อง เพิ่มเติมให้ที่ประชุมทราบ พร้อมทั้งที่ประชุมได้มีการอภิปรายในประเด็นต่างๆ เพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
4. รักษาการเลขาธิการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบความคืบหน้าในเรื่องที่สำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือขอหารือไปยังสำนักงาน ปปช. เรื่อง การยื่นบัญชีทรัพย์สินของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แจ้งว่าจะนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการ ปปช. คาดว่าจะเป็นวันพรุ่งนี้ (วันที่ 13 มกราคม 2554) ผลการหารือเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบโดยด่วน ซึ่ง กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. อาจจะต้องเตรียมการยื่นไว้ก่อน เพราะในวันที่ 20 มกราคม 2554 จะครบกำหนด 1 เดือน และจากการประสานงานกับรองเลขาธิการ ปปช. ทราบว่าจะแจ้งให้ทราบก่อนวันที่ 20 มกราคม 2554 นอกจากนี้ ได้เรียนชี้แจงเพิ่มเติมกรณีการส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาการขอใช้พระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นของประธาน และกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และกรรมการร่วมฯ สำหรับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในระหว่างที่ยังไม่มี กสทช. ไปพลางก่อน ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการจัดส่งเรียบร้อยแล้ว และ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้ตรวจความถูกต้องของถ้อยคำให้แล้ว ซึ่งประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ได้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ขอให้ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ประสานงานกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้เรียบร้อยต่อไป
5. กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ขอให้สำนักงาน กสทช. แนบบันทึกความเห็นแย้งของประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ไว้กับรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554 และเห็นว่าควรแนบบันทึกดังกล่าวส่งไปพร้อมกับหนังสือสำนักงาน กสทช. ที่จะหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย ทั้งนี้ จะได้เห็นภาพเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างครบถ้วน อย่างไรก็ดี ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ขอให้นำเรื่องนี้เสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาและมีมติอีกครั้งหนึ่งในการประชุมครั้งต่อไปเมื่อ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ที่ยังติดภารกิจในวันนี้สามารถเข้าประชุมได้พร้อมเพรียงกันเพื่อลงมติว่าจะมีหนังสือสอบถามไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือไม่ และ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ก็ได้กล่าวเสริมว่า เพื่อให้มีความชัดเจนควรจะถามหน่วยงานทางกฎหมายให้เกิดความรอบคอบ เป็นการ Safe ทุกคน เพื่อจะได้เป็นข้อมูลสำหรับการประชุมครั้งต่อไป ในการนี้ กทช.สุชาติฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้กล่าวเสริมด้วยว่า ท่านมีที่ปรึกษาทำความเห็นมายังท่านแล้ว ท่านจะทำหนังสือถึงเลขาธิการ กทช. ผมคิดว่าจะต้องเป็นมติคราวหน้าก็ต้องมาดูอีกที เพราะมันเกี่ยวพันที่ท่านมีความเห็น ผมก็ไปดูรายละเอียดอีกที ถ้าผมจำได้คราวที่แล้ว ทุกท่านก็พยายาม Safe ท่านประธาน ท่าน กทช.สุรนันท์ฯ ก็พูดออกระเบียบรองรับ และยังมีต่อไปนอกจากระเบียบและยังไปหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะฉะนั้น คราวหน้าต้องมาดูมติพวกนี้อีกครั้งหนึ่งว่าใครจะเห็นด้วยหรือใครจะไม่เห็นด้วย ๒ แนวทางนี้ บางคนอาจจะเห็นด้วย Safe เรื่องรับรองนี้ ท่านประธานก็ไม่รู้ว่า ความหมายประธานที่จะเข้าสู่ตำแหน่งนี้ต้องมีรับรองหรือไม่ ต้องให้ชัดตัวนี้อีกเหมือนกัน คือจะได้คุยให้ชัด แล้วเราก็มีมติไป เพราะผมก็จะถามนักกฎหมายเหมือนกัน ซึ่งจริงๆ ผมยังมีความรู้สึกว่าในเมื่อประธานรับรองคนเดียว ก็ชัดเจน คล้ายๆ รับผิดชอบคนเดียว ผมก็คิดว่า ผมก็คงไม่มีส่วนกับท่านแล้วขึ้นศาล ผมคิดอย่างนั้น ผมขอไปสอบถามที่ปรึกษาอีกครั้งเพื่อจะลงความเห็น เพราะมันสืบเนื่องกับท่าน กทช.สุธรรมฯ ก็หวังดีด้วย คือทุกท่านหวังดีกับประธาน ก็มีส่วนทุกคน เพราะฉะนั้นท่านประธานก็ต้องรอวันให้ครบ 6 คน นอกจากนี้ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าเพื่อสบายใจ เพราะท่านประธานได้ไปหารืออย่างไม่เป็นทางการกับสำนักงานอัยการสูงสุด ก็ถามเพิ่มเติมไปได้ไหม สำนักอัยการสูงสุดด้วย ก็เรื่องเดียวกัน เรื่องที่คุยกันอยู่ ไหนๆ ถามกฤษฎีกาก็ถามอัยการสูงสุด เพื่อจะได้อย่างน้อยจะได้มีข้อคิดเห็นเปรียบเทียบด้วยก็ได้ อันนั้นก็เป็นทางออกอย่างหนึ่ง เพื่อให้ท่านประธานได้สบายใจ เพราะท่านประธานได้หารืออย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว ถ้าเรามีเป็นทางการก็ยิ่งดี ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้กล่าวเสริมว่าต้องทางการ เพราะว่ามิฉะนั้นก็อ้างชื่อกันไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นทางการเวลาเกิดปัญหาขึ้น เพราะว่าปลายเดือนนี้จะเริ่มกระบวนการสรรหาแล้ว ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นจะได้เคลียร์ ทำไมผมถึงต้องมีเป็นลายลักษณ์อักษรคือมันชัดเจน ไม่งั้นท่านลองคิดภาพมันมี Case หลาย Case ที่กรรมการร่วมรับผิดชอบด้วย แม้ว่าไม่ได้อยู่ที่ประชุม หรือไม่ได้โหวต มี case เยอะแยะ คือมันมี Case เยอะแยะที่เราไป Training กัน อันนี้เป็น Case ในศาลปกครอง เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ของผมไม่มีอะไร ผมเคลียร์แล้ว เพราะผมมีหนังสือ ผมเข้าใจว่าบันทึกเก็บไว้ในรายงานการประชุมแล้ว มีลายลักษณ์อักษรจบก็ง่าย คราวหน้ามาคุยอีกทีว่าจะเป็นกรณีที่เราคิดว่ามีปัญหาทางกฎหมายหรือไม่
มติที่ประชุม
1. รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ รวมทั้งบันทึกความเห็นแย้งมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554 ของประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. อย่างไรก็ดี เนื่องจาก ปัญหาเรื่องอำนาจตามกฎหมายเป็นเรื่องใหญ่ ประกอบกับในการประชุมวันนี้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 2-3 ท่านยังติดภารกิจทั้งในและต่างประเทศ ไม่สามารถเข้าประชุมได้ ที่ประชุมจึงเห็นควรให้มีการพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในการประชุมครั้งต่อไปเมื่อ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เข้าประชุมได้โดยพร้อมเพรียงกัน ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แนบบันทึกความเห็นแย้งของประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ไว้กับรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554
2. รับทราบรายงานความคืบหน้าการหารือสำนักงาน ปปช. เรื่อง การยื่นบัญชีทรัพย์สินของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และการจัดส่งเรื่องขอใช้พระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นของประธาน และกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และกรรมการร่วมฯ ตามที่รักษาการเลขาธิการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ
3. มอบหมายให้ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ประสานงานกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเรื่อง การยื่นบัญชีทรัพย์สินของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และการจัดส่งเรื่องขอใช้พระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นของประธาน และกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และกรรมการร่วมฯ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้เรียบร้อยต่อไป
ระเบียบวาระที่ 2 : เรื่องรับรองรายงานการประชุม
2.1 รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 40/2553
วันพุธที่ 29 ธันวาคม 2553
2.2 รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554 วันพุธที่ 5 มกราคม 2554
ระเบียบวาระที่ 2.1 : รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 40/2553 วันพุธที่ 29 ธันวาคม 2553
มติที่ประชุม
1. รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 40/2553 วันพุธที่ 29 ธันวาคม 2553 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ยกเว้นวาระที่ 6.23 เรื่อง ขอสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 84 พรรษา ทั้งนี้ โดยมีข้อแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนี้
1.1 ให้แก้ไขคำผิดในวาระที่ 4.17 จากเดิมคำว่า “20,000 บาท” เป็น “20,000 เลขหมาย”
1.2 ให้แก้ไขถ้อยคำในวาระที่ 5.2 โดยตัดคำว่า “ ร่าง” ออก จากเดิม “ รับทราบการจัดทำร่างหนังสือ... ” เป็น “ รับทราบการจัดทำหนังสือ... ” พร้อมทั้งให้เพิ่มเติมข้อความไว้ด้วยว่า “ โดยให้ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ร่วมกันเพื่อช่วยพิจารณา และกำกับดูแลการดำเนินการในเรื่องการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่นี้ให้มีความรอบคอบและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นด้วยต่อไป ”
2. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แนบบันทึกความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ที่ 1/2554 ลงวันที่ 3 มกราคม 2554 เรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเปลี่ยนผ่านตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ไว้กับรายงานการประชุมครั้งที่ 40/2553 วาระเร่งด่วนเรื่องที่ 2 ด้วย พร้อมทั้งรับความเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาจัดทำขั้นตอนกระบวนการทำงานและกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการพิจารณาอนุมัติและการออกใบอนุญาตเครื่องวิทยุคมนาคมทุกประเภทตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 แล้วนำเสนอให้ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทราบ
3. เนื่องจากปัจจุบัน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ได้ประกาศใช้บังคับอย่างเป็นทางการแล้ว ประกอบกับมีประเด็นข้อกฎหมายที่ต้องระมัดระวังในทางปฏิบัติของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านระหว่างที่ยังไม่มี กสทช. ดังนั้น จึงมอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เป็นกรรมการกลั่นกรองวาระเรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านกิจการวิทยุกระจายเสียง และกิจการวิทยุโทรทัศน์เพิ่มเติมด้วยอีก ๒ ท่าน ตามข้อเสนอของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
ระเบียบวาระที่ 2.2 : รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554 วันพุธที่ 5 ธันวาคม 2553
มติที่ประชุม
1. รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554 วันพุธที่ 5 มกราคม 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ยกเว้นวาระเร่งด่วนที่ 1 เรื่อง การพิจารณากรณีการทำหน้าที่ประธาน กสทช. ของประธาน กทช. ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ซึ่ง กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทุกท่านจำเป็นต้องพิจารณาหารือเรื่องนี้ในที่ประชุมโดยพร้อมเพรียงกันอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากยังมีความเห็นในการตีความข้อกฎหมายที่แตกต่างกันอยู่
2. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปหารือกับ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อพิจารณาประกาศ/ระเบียบ กทช. ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของสำนักงาน กสทช. โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างองค์กร และตำแหน่งของบุคลากร ให้สามารถนำมาใช้บังคับได้อย่างเหมาะสมในระหว่างที่ยังไม่มี กสทช. โดยไม่ขัดหรือแย้งตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่ 3 : รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช.
3.1 รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 40/2553 วันพุธที่ 29 ธันวาคม 2553
3.2 รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554 วันพุธที่ 5 มกราคม 2554
ระเบียบวาระที่ 3.1 : รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 40/2553 วันพุธที่ 29 ธันวาคม 2553
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 40/2553 วันพุธที่ 29 ธันวาคม 2553 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 3.2 : รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554 วันพุธที่ 5 มกราคม 2554
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 1/2554 วันพุธที่ 5 มกราคม 2554 ตามที่สำนักงาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อพิจารณา
กลุ่มเรื่องที่กรรมการกลั่นกรองมีความเห็นตรงกัน
4.1 การพิจารณาจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษให้แก่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ
ระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) : รทช.ประเสริฐ, กบ.
4.2 บจ.เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต: กทช.สุรนันท์, กบ.
4.3 รายงานการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแลขั้นสุดท้ายเพื่อยกเลิก
กฎระเบียบ และประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลข :ฉก.
กลุ่มเรื่องที่ กทช. เสนอ
4.4 การขอสนับสนุนงบประมาณโครงการจัดทำระบบวิจัยรายการโทรทัศน์ผ่าน
ระบบ Web TV :กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์, กส.
4.5 โครงการจัดจ้างที่ปรึกษาวิจัยภารกิจของกสทช. ในเชิงเปรียบเทียบและเชิงความเหมาะสมฯ : กทช.บัณฑูร , กจ.
4.6 การแถลงข่าว และการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป ต่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 :กทช.สุธรรมฯ
กลุ่มเรื่องที่มอบอำนาจ กทช. พิจารณาตามมติ กทช. ครั้งที่ 8/2553
4.7 ความจำเป็นในการกำกับดูแลการให้บริการรับส่งข้อความสั้น (Short Message Service : SMS) เป็นการเฉพาะ (วาระที่ 4.24 ครั้งที่ 31/2553) : ปก.
4.8 การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สองของ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด (วาระที่ 4.35 ครั้งที่ 31/2553) : ปก.
4.9 การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ของ บริษัทสามารถคอมมิวนิเคชั่นเซอร์วิส จำกัด (วาระ 6.12 ครั้งที่ 11/2553) : ปก. ปก.
4.10 การปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของ
บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.20 ครั้งที่ 31/2553) : ปก.
4.11 การอนุญาตประกอบกิจการ และการขอเพิ่มบริการของ บจ. วิน วิน เน็ตคอร์ปอเรชั่น (วาระที่ 4.22 ครั้งที่ 31/2553) : ปก.
4.12 การขอหารือการขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต ของ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (วาระที่ 4.23 ครั้งที่ 31/2553) : ปก.
4.13 เงื่อนไขการประกอบกิจการดาวเทียมของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.19 ครั้งที่ 31/2553) : ปก.
4.14 เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามสำหรับบริการสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT (รหัสบริการ 3-2-9.1) ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.26 ครั้งที่ 31/2553) : ปก.
4.15 เพิ่มเติมเงื่อนไขการประกอบกิจการดาวเทียมของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.32 ครั้งที่ 31/2553) : ปก.
4.16 การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.34 ครั้งที่ 31/2553) : ปก.
กลุ่มเรื่องที่ต้องเสนอที่ประชุม กทช. พิจารณาร่วมกัน
4.17 การแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านประชาสัมพันธ์ : ปส.
4.18 ขอรับทราบนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และขอปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 :คบท.
4.19 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในส่วนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม :สบท.
4.20 ข้อร้องเรียนของนางสาวพรเพ็ญ อร่ามเวชวรนันท์ กรณีผู้ร้องใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้าของ บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวเลส มัลติมีเดีย
จำกัด มีความประสงค์ต้องการยกเลิกการใช้บริการและประสงค์ให้บริษัทคืนเงินคงเหลือในระบบ : สบท. (39/2553)
4.21 บทวิเคราะห์ความเห็นของนักวิชาการจากการจัดเสวนาวิชาการ เรื่อง “ค่าโทรเมืองไทยถูกได้กว่านี้” : ศฐ, สชท., สบท.
4.22 การดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 32/2553 (ข้อเสนอแนะของ คตป. ในกรณีที่สำนักงาน กทช. จะดำเนินการ Restructure องค์กร) :คกก.ติดตามและประเมินผลฯ
4.23 (ร่าง) โครงการทุนการศึกษา NTC Scholarship ประจำปี 2554 : สพท.
4.24 รับทราบการอนุมัติโครงการรับทุนส่งเสริมและสนับสนุนห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา ปี 2553 และการอนุมัติโครงการรับทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ปี 2553 เพิ่มเติม (2) : สพท.
4.25 โครงการดำเนินการศึกษาและเสนอแนะหลักเกณฑ์มาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคม (Quality of Service:QoS) ประเภทเสียง (Voice) :กจ.
4.26 แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. .... ฉบับใหม่ : กม.
4.27 บริษัท แอดวานส์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) อุทธรณ์คำสั่ง ลทช.: กม.
4.28 รายงานผลการศึกษาเทคโนโลยีสำหรับคลื่นความถี่ใช้ร่วมสาธารณะ
: คกก.กำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
4.29 การตรวจสอบการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่าย
เป็นของตนเอง ของบริษัท สวัสดีช้อป จำกัด : ปก.
4.30 เงื่อนไขเฉพาะสำหรับใบอนุญาตแบบที่สามการให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคล ระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC): ปก.
4.31 บริษัท ทีที เน็ตเวิร์ค อินทิเกรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ขอประกอบกิจการ
โทรคมนาคมเพิ่มเติม ประเภทการขายส่งบริการอินเทอร์เน็ต: ปก. (38/2553)
4.32 โครงการเครือข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย WiMAX โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเพื่อการศึกษา : ปก.
4.33 บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด แจ้งเปลี่ยนกรรมการบริษัท: ปก.
4.34 การกำหนดขอบเขตของการให้บริการเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต: ปก.
4.35 วิธีการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : ปก.
4.36 การปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.37 การขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุย่าน C-band ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม (บ. เอส ที ซี เน็ทเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด) : ฉก.
4.38 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุคมนาคมประเภททั่วไปประจำเรือ (GOC) และประเภทจำกัดเขตการเดินเรือทะเล (ROC) : ฉก
4.39 กรมป่าไม้ ขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่เพิ่มเติม ย่าน UHF จำนวน 4 ความถี่:ฉก.
4.40 กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงสัญญาณ: ฉก.
4.41 การชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศ ที่ใช้รหัสบริการ : กบ.
4.42 การขอส่งคืนเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ บมจ.ทีโอที : นายประเสริฐ, กบ.
4.43 การพิจารณาดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ : กท.
4.44 รายงานการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศ ครั้งที่ 8 : วท.
ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.1 : การพิจารณาจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษให้แก่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) : นายประเสริฐฯ, กบ.
มติที่ประชุม อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษให้แก่ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1289 (สำหรับภารกิจพิเศษ) สำหรับการจัดตั้งโครงการพัฒนาศูนย์สมาชิกสัมพันธ์ (CRM Call Center) โดยให้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอตามข้อ 79 และค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษรายเดือน ตามข้อ 82(1) ตามความเห็นคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขการใช้งานตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.2 : บจ.เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต : กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กบ.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บจ.เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า ยังอาจมีประเด็นที่ บจ.เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จะนำเลขหมายโทรคมนาคม จำนวน 2,000 เลขหมาย ที่ขอรับการจัดสรรไปใช้ในกิจการที่ยังไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับแจ้งผลการหารือจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือเร่งรัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อขอทราบผลการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากครบกำหนดระยะเวลา 14 วันแล้ว ยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาของกระทรวงฯ ก็ให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องนี้เสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.3 : รายงานการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแลขั้นสุดท้ายเพื่อยกเลิกกฎระเบียบ และประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลข : นายประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง รายงานการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแลขั้นสุดท้ายเพื่อยกเลิกกฎระเบียบ และประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลข ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแลขั้นสุดท้าย การยกเลิกกฎระเบียบ และประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและร่างประกาศ กทช./ ประกาศสำนักงาน กทช. ที่มีการปรับปรุงแก้ไข ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.4 : การขอสนับสนุนงบประมาณโครงการจัดทำระบบวิจัยรายการโทรทัศน์ผ่านระบบ Web TV : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์, กส.
มติที่ประชุม ไม่สนับสนุนงบประมาณโครงการจัดทำระบบวิจัยรายการโทรทัศน์ผ่านระบบ Web TV ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วไม่สนับสนุนงบประมาณโครงการจัดทำระบบวิจัยรายการโทรทัศน์ผ่านระบบ Web TV ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ เนื่องจาก
1. คราวการประชุม กทช. ครั้งที่ 43/2552 เมื่อวันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2552 ได้มีมติเป็นหลักการเกี่ยวกับการขอรับการสนับสนุนงบประมาณของหน่วยงานภายนอกที่ดำเนินการด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ว่าเป็นกิจกรรมที่อยู่นอกเหนือจากหน้าที่ กทช. ซึ่งไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณตามที่ร้องขอมาได้ และใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาต่อไปในกรณีที่หน่วยงานต่างๆ ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในลักษณะเดียวกันนี้ จนกว่าจะมีการตั้ง กสทช. หรือองค์กรใหม่ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ ที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต ทำให้การขอรับการสนับสนุนงบประมาณฯ ดังกล่าวอาจไม่มีความสอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามบทเฉพาะกาล มาตรา 78 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่จะสามารถกระทำได้ในปัจจุบันด้วย
2. แม้ว่าการศึกษาวิจัยด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์มีส่วนช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ อย่างไรก็ตาม ควรมีการวางแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานศึกษาวิจัยในภาพรวมก่อน ตลอดจนความพร้อมของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานหรือสถาบัน ที่จะเข้ามาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความครอบคลุมไม่ซ้ำซ้อน และสามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถรองรับการดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในอนาคตได้
3. เมื่อพิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการและรูปแบบการจัดทำโครงการดังกล่าวแล้วพบว่า เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลการรับชมรายการ และมีการกำหนดระเบียบวิธีการวิจัย (Methodology) โดยการสำรวจพฤติกรรม เช่น ช่วงเวลาในการรับชม ระยะเวลาในการรับชม ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดว่าเป็นการวิจัยคุณภาพ และวิเคราะห์เนื้อหารายการ (Content Analysis) ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาจึงเห็นว่า การวิจัยและประเมินผลกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการกำกับดูแลตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ควรจะมีการดำเนินการและนำเสนอให้ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.5 : โครงการจัดจ้างที่ปรึกษาวิจัยภารกิจของ กสทช. ในเชิงเปรียบเทียบและเชิงความเหมาะสมฯ : กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., นายพิทยาพลฯ, กจ.
มติที่ประชุม อนุมัติโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาวิจัยภารกิจของ กสทช. ในเชิงเปรียบเทียบและเชิงความเหมาะสมฯ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 17 ล้านบาท ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณฯ ตามที่ กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ โดยให้ปรับขอบเขตการศึกษา (TOR) ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยตัดข้อ 3.3 ในส่วนของการ เยี่ยมชมองค์กรที่มีลักษณะเดียวกับ กสทช. จากประเทศชั้นนำจาก 3 ทวีปออก และปรับปรุงกรอบวงเงินงบประมาณโครงการฯ ใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการปรับลดขอบเขตการศึกษา (TOR) ในส่วนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. บรรจุรายการค่าใช้จ่ายโครงการดังกล่าวไว้ในแผนงบประมาณ ปี 2554 ของสำนักกิจการกรรมการ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.6 : การแถลงข่าว และการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป ต่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., นายพิทยาพลฯ, กจ.
มติที่ประชุม
1. อนุมัติการแถลงข่าว และการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป ต่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ภายในกรอบวงเงิน 20,500,000 บาท ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยให้รับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วยในการปรับรูปแบบของการจัดกิจกรรมให้เป็นไปในลักษณะเชิงบวกมากยิ่งขึ้น โดยชี้ให้เห็นถึงความความสำคัญของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และกระบวนการดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น
2. อนุมัติให้จัดจ้างออกาไนเซอร์ ในการดำเนินกิจกรรมตามข้อ 1 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.7 : ความจำเป็นในการกำกับดูแลการให้บริการรับส่งข้อความสั้น (Short Message Service : SMS) เป็นการเฉพาะ (วาระที่ 4.24 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่อง ความจำเป็นในการกำกับดูแลการให้บริการรับส่งข้อความสั้น (Short Message Service : SMS) เป็นการเฉพาะแล้วเห็นว่า โดยหลักการแล้ว บริการในลักษณะดังกล่าว ควรต้องพิจารณารูปแบบของการกำกับดูแลที่เป็น Open Access Right หรือ การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับใบอนุญาตต้องเปิดให้ผู้ให้บริการ SMS สามารถเข้าถึงได้ทุกเครือข่าย อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมายังไม่มีการกำกับดูแลการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับบริการรับส่งข้อความสั้น (SMS) แต่โดยที่การให้บริการรับส่งข้อความสั้น (SMS) เป็นเรื่องสำคัญและส่งผลกระทบในวงกว้าง ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้มีการศึกษาในรายละเอียดถึงผลกระทบเกี่ยวกับการให้บริการรับส่งข้อความสั้น (Short Message Service : SMS) ให้ชัดเจนก่อนโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 - 3 เดือน แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.8 : การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สองของ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด (วาระที่ 4.35 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สองของ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นชอบการสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ของบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 2 วรรคสอง ของเงื่อนไขใบอนุญาต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญอันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนประเภทใบอนุญาต และทำให้บริษัทฯ ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแบบที่สอง สำหรับปี 2553
ระเบียบวาระที่ 4.9 : การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ของ บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (วาระ 6.12 ครั้งที่ 11/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
1. เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ของบริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า สิทธิในการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมนั้นถือว่าเป็นสิทธิโดยชอบของผู้ประกอบการ แต่ในกรณีนี้การที่ บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นอยู่ใน บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด ในสัดส่วน 99.99% ถือได้ว่าเป็นเจ้าของเดียวกัน การอนุญาตดังกล่าวจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในเชิงโครงสร้างความเป็นเจ้าของ อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม และไม่เป็นไปตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดฯ พ.ศ.2549 จึงไม่ควรให้ผู้ประกอบการรายเดียวกันได้รับอนุญาตประกอบกิจการสำหรับบริการประเภทเดียวกัน ดังนั้น หากประสงค์จะให้บริษัทที่ได้รับสัญญาสัมปทานอยู่เดิมได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่น ก็เห็นควรยกเลิกสัญญาสัมปทานเสียและได้รับสิทธิ หน้าที่ ภายใต้กฎและระเบียบ กทช. ทั้งนี้ ตามนัยแห่งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีที่บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) เป็นโจทก์ฟ้องบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คดีหมายเลขแดงที่ อ.353/2551
2. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด เพื่อรับทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1 และให้ยืนยันรายชื่อบริษัทที่จะดำเนินการขอใบอนุญาตให้บริการ VSAT เพื่อให้เป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดฯ พ.ศ.2549 ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.10 : การปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.20 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้ว มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อขอให้รายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุ IN-band Migration พร้อมชี้แจงรายละเอียดว่าในการทดลองมีการจัดเก็บค่าบริการหรือไม่ รวมทั้งการประเมินข้อดี-ข้อเสียของการทดลอง ก่อนประมวลสรุปเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.11 : การอนุญาตประกอบกิจการ และการขอเพิ่มบริการของ บริษัท วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด (วาระที่ 4.22 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม โดยที่บริษัท วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด ไม่สามารถเปิดให้บริการพหุสื่อความเร็วสูง (Public Broadband Multimedia) ผ่านโครงข่าย Access Network ความถี่ 2.4 GHz ภายในระยะเวลาที่กำหนด (2 ปี นับแต่ได้รับอนุญาต) และไม่รายงานผลการดำเนินการทุกเดือน รวมทั้งบริษัทฯ ได้แจ้งขอขยายการเปิดให้บริการมายังสำนักงาน กทช. หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 3 ของประกาศ กทช. เรื่อง เงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งเห็นควรบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยให้ดำเนินกระบวนการทางปกครองเพื่อให้มีคำสั่งสิ้นสุดใบอนุญาตต่อไป พร้อมทั้งเรียกคืนคลื่นความถี่ 2.4 GHz เนื่องจากยังไม่ปรากฏการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว
ระเบียบวาระที่ 4.12 : การขอหารือการขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (วาระที่ 4.23 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
1. ที่ประชุมเสียงข้างมาก (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุชาติฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) มีมติไม่อนุมัติให้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แก่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า สวทช. เป็นหน่วยงานของรัฐ และการดำเนินการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเครือข่ายความเร็วสูงของ สวทช. มีลักษณะเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐโดยทั่วไป ที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน ซึ่งเป็นการขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 84 ที่กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยจะไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค
2. สำหรับที่ประชุมเสียงข้างน้อย (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเครือข่ายความเร็วสูงของ สวทช. มีลักษณะเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการสำหรับหน่วยงานภาครัฐโดยทั่วไป จำเป็นต้องขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต
3. ที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติให้คืนเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง จำนวน 5,000 บาท ตามประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต พ.ศ.2551 ที่ สวทช. ได้ชำระไว้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 เนื่องจาก กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ไม่สามารถยกเว้นกฎ ระเบียบ นอกเหนือจากที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และจำเป็นต้องใช้หลัก Competitive Neutrality กล่าวคือใช้กฎ ระเบียบ บังคับอย่างเท่าเทียมกัน
ระเบียบวาระที่ 4.13 : เงื่อนไขการประกอบกิจการดาวเทียมของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.19 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม โดยที่ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญเกี่ยวกับความชัดเจนของนโยบายรัฐบาลที่จะเปิดให้ดาวเทียมต่างชาติเข้ามาให้บริการ ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาเรื่องนี้เป็นไปด้วยความรอบคอบและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเร่งรัดและติดตามขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยืนยันว่ารัฐบาลยินยอมให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ใช้ INMARSAT (International Maritime Organization) พร้อมทั้งให้ชี้แจง Legal Barrier ของ INMARSAT โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็น Commercial Service ให้ชัดเจนก่อน แล้วประมวลผลเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาต่อไป ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
ระเบียบวาระที่ 4.14 : เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามสำหรับบริการสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT (รหัสบริการ 3-2-9.1) ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.126 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในฐานะผู้แทนของประเทศ เพื่อเร่งรัดและติดตามผลการพิจารณานโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้สิทธิในการประกอบกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมโดยใช้ดาวเทียมของต่างชาติ และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ดาวเทียมก่อนนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.15 : เพิ่มเติมเงื่อนไขการประกอบกิจการดาวเทียมของ บมจ.กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.32 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในฐานะผู้แทนของประเทศ เพื่อเร่งรัดและติดตามผลการพิจารณานโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้สิทธิในการประกอบกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมโดยใช้ดาวเทียมของต่างชาติ และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ดาวเทียมก่อนนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.16 : การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.34 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อขอให้ยืนยันเหตุผลเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทช. ตามที่ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เนื่องจากหาก บมจ.กสท โทรคมนาคม เห็นว่าอำนาจของ กทช. ยังไม่มีความชัดเจน การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตควรรอจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา แล้วประมวลเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ระเบียบวาระที่ 4.21 : บทวิเคราะห์ความเห็นของนักวิชาการจากการจัดเสวนาวิชาการ เรื่อง “ค่าโทรเมืองไทยถูกได้กว่านี้” : นายพิทยาพลฯ, ศฐ., สชท., และ สบท.
มติที่ประชุม เพื่อให้ผลการศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องนี้สะท้อนข้อเท็จจริงในภาพรวมของอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยได้ชัดเจนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงเห็นควรมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (ศฐ., สชท. และ สบท.) รับ
ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.1 : การพิจารณาจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษให้แก่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) : นายประเสริฐฯ, กบ.
มติที่ประชุม อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษให้แก่ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1289 (สำหรับภารกิจพิเศษ) สำหรับการจัดตั้งโครงการพัฒนาศูนย์สมาชิกสัมพันธ์ (CRM Call Center) โดยให้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอตามข้อ 79 และค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษรายเดือน ตามข้อ 82(1) ตามความเห็นคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขการใช้งานตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.2 : บจ.เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต : กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กบ.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง บจ.เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า ยังอาจมีประเด็นที่ บจ.เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จะนำเลขหมายโทรคมนาคม จำนวน 2,000 เลขหมาย ที่ขอรับการจัดสรรไปใช้ในกิจการที่ยังไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับแจ้งผลการหารือจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงมอบหมายให้สำนักงาน กทช. มีหนังสือเร่งรัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อขอทราบผลการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากครบกำหนดระยะเวลา 14 วันแล้ว ยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาของกระทรวงฯ ก็ให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องนี้เสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.3 : รายงานการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแลขั้นสุดท้ายเพื่อยกเลิกกฎระเบียบ และประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลข : นายประเสริฐฯ, ฉก.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง รายงานการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแลขั้นสุดท้ายเพื่อยกเลิกกฎระเบียบ และประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลข ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบจากการกำกับดูแลขั้นสุดท้าย การยกเลิกกฎระเบียบ และประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและร่างประกาศ กทช./ ประกาศสำนักงาน กทช. ที่มีการปรับปรุงแก้ไข ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.4 : การขอสนับสนุนงบประมาณโครงการจัดทำระบบวิจัยรายการโทรทัศน์ผ่านระบบ Web TV : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์, กส.
มติที่ประชุม ไม่สนับสนุนงบประมาณโครงการจัดทำระบบวิจัยรายการโทรทัศน์ผ่านระบบ Web TV ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วไม่สนับสนุนงบประมาณโครงการจัดทำระบบวิจัยรายการโทรทัศน์ผ่านระบบ Web TV ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ เนื่องจาก
1. คราวการประชุม กทช. ครั้งที่ 43/2552 เมื่อวันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2552 ได้มีมติเป็นหลักการเกี่ยวกับการขอรับการสนับสนุนงบประมาณของหน่วยงานภายนอกที่ดำเนินการด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ว่าเป็นกิจกรรมที่อยู่นอกเหนือจากหน้าที่ กทช. ซึ่งไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณตามที่ร้องขอมาได้ และใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาต่อไปในกรณีที่หน่วยงานต่างๆ ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในลักษณะเดียวกันนี้ จนกว่าจะมีการตั้ง กสทช. หรือองค์กรใหม่ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่ ที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต ทำให้การขอรับการสนับสนุนงบประมาณฯ ดังกล่าวอาจไม่มีความสอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามบทเฉพาะกาล มาตรา 78 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่จะสามารถกระทำได้ในปัจจุบันด้วย
2. แม้ว่าการศึกษาวิจัยด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์มีส่วนช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ อย่างไรก็ตาม ควรมีการวางแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานศึกษาวิจัยในภาพรวมก่อน ตลอดจนความพร้อมของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานหรือสถาบัน ที่จะเข้ามาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความครอบคลุมไม่ซ้ำซ้อน และสามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถรองรับการดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในอนาคตได้
3. เมื่อพิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการและรูปแบบการจัดทำโครงการดังกล่าวแล้วพบว่า เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลการรับชมรายการ และมีการกำหนดระเบียบวิธีการวิจัย (Methodology) โดยการสำรวจพฤติกรรม เช่น ช่วงเวลาในการรับชม ระยะเวลาในการรับชม ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดว่าเป็นการวิจัยคุณภาพ และวิเคราะห์เนื้อหารายการ (Content Analysis) ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาจึงเห็นว่า การวิจัยและประเมินผลกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการกำกับดูแลตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ควรจะมีการดำเนินการและนำเสนอให้ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.5 : โครงการจัดจ้างที่ปรึกษาวิจัยภารกิจของ กสทช. ในเชิงเปรียบเทียบและเชิงความเหมาะสมฯ : กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., นายพิทยาพลฯ, กจ.
มติที่ประชุม อนุมัติโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาวิจัยภารกิจของ กสทช. ในเชิงเปรียบเทียบและเชิงความเหมาะสมฯ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 17 ล้านบาท ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณฯ ตามที่ กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ โดยให้ปรับขอบเขตการศึกษา (TOR) ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยตัดข้อ 3.3 ในส่วนของการ เยี่ยมชมองค์กรที่มีลักษณะเดียวกับ กสทช. จากประเทศชั้นนำจาก 3 ทวีปออก และปรับปรุงกรอบวงเงินงบประมาณโครงการฯ ใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการปรับลดขอบเขตการศึกษา (TOR) ในส่วนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. บรรจุรายการค่าใช้จ่ายโครงการดังกล่าวไว้ในแผนงบประมาณ ปี 2554 ของสำนักกิจการกรรมการ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.6 : การแถลงข่าว และการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป ต่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., นายพิทยาพลฯ, กจ.
มติที่ประชุม
1. อนุมัติการแถลงข่าว และการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป ต่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ภายในกรอบวงเงิน 20,500,000 บาท ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยให้รับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วยในการปรับรูปแบบของการจัดกิจกรรมให้เป็นไปในลักษณะเชิงบวกมากยิ่งขึ้น โดยชี้ให้เห็นถึงความความสำคัญของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และกระบวนการดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น
2. อนุมัติให้จัดจ้างออกาไนเซอร์ ในการดำเนินกิจกรรมตามข้อ 1 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.7 : ความจำเป็นในการกำกับดูแลการให้บริการรับส่งข้อความสั้น (Short Message Service : SMS) เป็นการเฉพาะ (วาระที่ 4.24 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่อง ความจำเป็นในการกำกับดูแลการให้บริการรับส่งข้อความสั้น (Short Message Service : SMS) เป็นการเฉพาะแล้วเห็นว่า โดยหลักการแล้ว บริการในลักษณะดังกล่าว ควรต้องพิจารณารูปแบบของการกำกับดูแลที่เป็น Open Access Right หรือ การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับใบอนุญาตต้องเปิดให้ผู้ให้บริการ SMS สามารถเข้าถึงได้ทุกเครือข่าย อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมายังไม่มีการกำกับดูแลการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับบริการรับส่งข้อความสั้น (SMS) แต่โดยที่การให้บริการรับส่งข้อความสั้น (SMS) เป็นเรื่องสำคัญและส่งผลกระทบในวงกว้าง ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้มีการศึกษาในรายละเอียดถึงผลกระทบเกี่ยวกับการให้บริการรับส่งข้อความสั้น (Short Message Service : SMS) ให้ชัดเจนก่อนโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 - 3 เดือน แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.8 : การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สองของ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด (วาระที่ 4.35 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สองของ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นชอบการสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ของบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 2 วรรคสอง ของเงื่อนไขใบอนุญาต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญอันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนประเภทใบอนุญาต และทำให้บริษัทฯ ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแบบที่สอง สำหรับปี 2553
ระเบียบวาระที่ 4.9 : การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ของ บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (วาระ 6.12 ครั้งที่ 11/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
1. เห็นชอบผลการพิจารณา เรื่อง การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ของบริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า สิทธิในการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมนั้นถือว่าเป็นสิทธิโดยชอบของผู้ประกอบการ แต่ในกรณีนี้การที่ บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นอยู่ใน บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด ในสัดส่วน 99.99% ถือได้ว่าเป็นเจ้าของเดียวกัน การอนุญาตดังกล่าวจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในเชิงโครงสร้างความเป็นเจ้าของ อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม และไม่เป็นไปตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดฯ พ.ศ.2549 จึงไม่ควรให้ผู้ประกอบการรายเดียวกันได้รับอนุญาตประกอบกิจการสำหรับบริการประเภทเดียวกัน ดังนั้น หากประสงค์จะให้บริษัทที่ได้รับสัญญาสัมปทานอยู่เดิมได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่น ก็เห็นควรยกเลิกสัญญาสัมปทานเสียและได้รับสิทธิ หน้าที่ ภายใต้กฎและระเบียบ กทช. ทั้งนี้ ตามนัยแห่งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีที่บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) เป็นโจทก์ฟ้องบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คดีหมายเลขแดงที่ อ.353/2551
2. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด เพื่อรับทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1 และให้ยืนยันรายชื่อบริษัทที่จะดำเนินการขอใบอนุญาตให้บริการ VSAT เพื่อให้เป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดฯ พ.ศ.2549 ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.10 : การปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.20 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้ว มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อขอให้รายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุ IN-band Migration พร้อมชี้แจงรายละเอียดว่าในการทดลองมีการจัดเก็บค่าบริการหรือไม่ รวมทั้งการประเมินข้อดี-ข้อเสียของการทดลอง ก่อนประมวลสรุปเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.11 : การอนุญาตประกอบกิจการ และการขอเพิ่มบริการของ บริษัท วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด (วาระที่ 4.22 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม โดยที่บริษัท วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด ไม่สามารถเปิดให้บริการพหุสื่อความเร็วสูง (Public Broadband Multimedia) ผ่านโครงข่าย Access Network ความถี่ 2.4 GHz ภายในระยะเวลาที่กำหนด (2 ปี นับแต่ได้รับอนุญาต) และไม่รายงานผลการดำเนินการทุกเดือน รวมทั้งบริษัทฯ ได้แจ้งขอขยายการเปิดให้บริการมายังสำนักงาน กทช. หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 3 ของประกาศ กทช. เรื่อง เงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งเห็นควรบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยให้ดำเนินกระบวนการทางปกครองเพื่อให้มีคำสั่งสิ้นสุดใบอนุญาตต่อไป พร้อมทั้งเรียกคืนคลื่นความถี่ 2.4 GHz เนื่องจากยังไม่ปรากฏการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว
ระเบียบวาระที่ 4.12 : การขอหารือการขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (วาระที่ 4.23 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม
1. ที่ประชุมเสียงข้างมาก (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุชาติฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) มีมติไม่อนุมัติให้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แก่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า สวทช. เป็นหน่วยงานของรัฐ และการดำเนินการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเครือข่ายความเร็วสูงของ สวทช. มีลักษณะเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐโดยทั่วไป ที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน ซึ่งเป็นการขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 84 ที่กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยจะไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค
2. สำหรับที่ประชุมเสียงข้างน้อย (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเครือข่ายความเร็วสูงของ สวทช. มีลักษณะเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการสำหรับหน่วยงานภาครัฐโดยทั่วไป จำเป็นต้องขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต
3. ที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติให้คืนเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง จำนวน 5,000 บาท ตามประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต พ.ศ.2551 ที่ สวทช. ได้ชำระไว้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 เนื่องจาก กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ไม่สามารถยกเว้นกฎ ระเบียบ นอกเหนือจากที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และจำเป็นต้องใช้หลัก Competitive Neutrality กล่าวคือใช้กฎ ระเบียบ บังคับอย่างเท่าเทียมกัน
ระเบียบวาระที่ 4.13 : เงื่อนไขการประกอบกิจการดาวเทียมของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.19 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม โดยที่ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญเกี่ยวกับความชัดเจนของนโยบายรัฐบาลที่จะเปิดให้ดาวเทียมต่างชาติเข้ามาให้บริการ ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาเรื่องนี้เป็นไปด้วยความรอบคอบและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเร่งรัดและติดตามขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยืนยันว่ารัฐบาลยินยอมให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ใช้ INMARSAT (International Maritime Organization) พร้อมทั้งให้ชี้แจง Legal Barrier ของ INMARSAT โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็น Commercial Service ให้ชัดเจนก่อน แล้วประมวลผลเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาต่อไป ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
ระเบียบวาระที่ 4.14 : เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามสำหรับบริการสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT (รหัสบริการ 3-2-9.1) ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.126 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในฐานะผู้แทนของประเทศ เพื่อเร่งรัดและติดตามผลการพิจารณานโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้สิทธิในการประกอบกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมโดยใช้ดาวเทียมของต่างชาติ และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ดาวเทียมก่อนนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.15 : เพิ่มเติมเงื่อนไขการประกอบกิจการดาวเทียมของ บมจ.กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.32 ครั้งที่ 31/253) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในฐานะผู้แทนของประเทศ เพื่อเร่งรัดและติดตามผลการพิจารณานโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้สิทธิในการประกอบกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมโดยใช้ดาวเทียมของต่างชาติ และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ดาวเทียมก่อนนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่ 4.16 : การให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจระบบ Trunked Radio ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม (วาระที่ 4.34 ครั้งที่ 31/2553) : นายประเสริฐฯ, ปก.
มติที่ประชุม มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อขอให้ยืนยันเหตุผลเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทช. ตามที่ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เนื่องจากหาก บมจ.กสท โทรคมนาคม เห็นว่าอำนาจของ กทช. ยังไม่มีความชัดเจน การดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตควรรอจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา แล้วประมวลเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ระเบียบวาระที่ 4.21 : บทวิเคราะห์ความเห็นของนักวิชาการจากการจัดเสวนาวิชาการ เรื่อง “ค่าโทรเมืองไทยถูกได้กว่านี้” : นายพิทยาพลฯ, ศฐ., สชท., และ สบท.
มติที่ประชุม เพื่อให้ผลการศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องนี้สะท้อนข้อเท็จจริงในภาพรวมของอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยได้ชัดเจนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงเห็นควรมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (ศฐ., สชท. และ สบท.) รับ ความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปศึกษา วิเคราะห์เพิ่มเติมข้อมูลผู้ประกอบการรายอื่นๆ (นอกเหนือจากของ DTAC)รวมทั้งประเด็นการให้บริการ VAS (Value Added Service) ประกอบด้วยในเรื่อง “ค่าโทรเมืองไทยถูกได้กว่านี้” ตามที่เสนอมา แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
หมายเหตุ ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือ ได้แก่ วาระที่ 4.17 - 4.20 และ 4.22 - 4.44 จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งต่อไป ความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปศึกษา วิเคราะห์เพิ่มเติมข้อมูลผู้ประกอบการรายอื่นๆ (นอกเหนือจากของ DTAC)รวมทั้งประเด็นการให้บริการ VAS (Value Added Service) ประกอบด้วยในเรื่อง “ค่าโทรเมืองไทยถูกได้กว่านี้” ตามที่เสนอมา แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
หมายเหตุ ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลือ ได้แก่ วาระที่ 4.17 - 4.20 และ 4.22 - 4.44 จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 : เรื่องเพื่อทราบ
5.1 รายงานการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 – 2553) : คณะกรรมการฯแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฯ
5.2 รายงานผลการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการมาตรฐาน กทช. (15 กันยายน – 14 ธันวาคม 2553):คกก.มาตรฐาน กทช., รทช.ทศพร, วท.
5.3 รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 5/2551:สชท.
5.4 รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 6/2551:สชท.
5.5 รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2552:สชท.
5.6 รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 1/2553:สชท.
5.7 รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2553:สชท.
5.8 รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 3/2553:สชท.
5.9 รายงานข้อมูลของสถานีวิทยุชุมชนประจำเดือนพฤศจิกายน 2553:กท.
5.10 รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กทช. ประจำเดือน พฤศจิกายน 2553 : ปต.
5.11 รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 : กม.
5.12 รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 : กม.
5.13 รายงานผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำ กสทช.บัณฑูร สุภัควณิช : กทช.บัณฑูร
5.14 การปฏิบัติตามประกาศ กทช. กรณีเกิดภัยพิบัติ : กท.
ระเบียบวาระที่ 5 : เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที 5.1 : รายงานการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2553) : คณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฯ
มติที่ประชุม รับทราบรายงานการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 ระยะ 2 ปีครึ่ง (1 เมษายน 2551 – 30 มิถุนายน 2553) ตามเอกสารที่คณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฯ เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.2 : รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการมาตรฐาน กทช. (15 กันยายน – 14 ธันวาคม 2553) : คกก.มาตรฐาน กทช., นายทศพรฯ, วท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการมาตรฐาน กทช. ช่วง 3 เดือนแรก (15 กันยายน – 14 ธันวาคม 2553) ตามเอกสารที่คณะกรรมการมาตรฐาน กทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.3 : รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 5/2551 : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 5/2551 ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับ บมจ.ทีโอที ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.4 : รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 6/2551 : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 6/2551 ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.5 : รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2552 : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2552 ระหว่าง บจ.ดิจิตอล โฟน กับ บมจ.ทีโอที ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.6 : รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 1/2553 : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 1/2553 ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม กับ บจ.ทรู มูฟ ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.7 : รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2553 : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2553 ระหว่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ กับ บมจ.ทีที แอนด์ที ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.8 : รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 3/2553 : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 3/2553 ระหว่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.9 : รายงานข้อมูลของสถานีวิทยุชุมชนประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 : นายประเสริฐฯ, กท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานสรุปข้อมูลสถานะความเคลื่อนไหวของวิทยุชุมชนและข้อมูลสถิติระดับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากวิทยุชุมชน โดยเฉพาะในกรณีที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการรบกวนวิทยุการบิน ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.10 : รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กทช. ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 : เลขาธิการ กสทช., ปต.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กทช. ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.11 : รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 : เลขาธิการ กสทช., กม.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 จำนวน 2 ราย ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1. บริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด
2. บริษัท ทริปเปิลทรี โกลบอลเน็ท จำกัด
ระเบียบวาระที่ 5.12 : รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 : เลขาธิการ กสทช., กม.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่ กทช. ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต หรือมอบหมายให้ ลทช. ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.13 : รายงานผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำ กทช.บัณฑูร สุภัควณิช : กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาประจำ กทช.บัณฑูร สุภัควณิช ประจำเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน 2553 ได้แก่ นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ และนายพหล จินดากุล ตามเอกสารที่ กทช.บัณฑูรฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.14 : การปฏิบัติตามประกาศ กทช. กรณีเกิดภัยพิบัติ : นายประเสริฐฯ, กท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการดำเนินการของผู้รับใบอนุญาต ตามเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตข้อ 15 ของประกาศ กทช. เรื่อง เงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียง ข้อ 5 กรณีเกิดอุทกภัย ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 6 : เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
6.1 ขออนุมัติงบประมาณโครงการประจำปี 2554 สำหรับโครงการความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศ และโครงการฝึกงานกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านกระจายเสียงด้านสื่อและการหลอมรวมในต่างประเทศ : กจ.
6.2 ขออนุมัติการเดินทางบุคคลภายนอก : กทช.สุธรรม
6.3 การคัดเลือกและจัดซื้อภาพวาดของศิลปิน : กทช.สุรนันท์
6.4 โครงการสนับสนุนผู้ที่มีอัจฉริยภาพด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนภารกิจของ กทช. : กจ.
ระเบียบวาระที่ 6.1 : ขออนุมัติงบประมาณโครงการประจำปี 2554 สำหรับโครงการความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศ และโครงการฝึกงานกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านกระจายเสียง ด้านสื่อและการหลอมรวมในต่างประเทศ : นายพิทยาพลฯ, กจ.
มติที่ประชุม อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 จำนวน 15,735,500 บาท เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศ และโครงการฝึกงานกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านกระจายเสียง ด้านสื่อและการหลอมรวมในต่างประเทศ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1. โครงการความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศ จำนวน 10,674,500 บาทโดยแยกออกเป็น
1.1 กิจกรรมที่ 2 ความร่วมมือทางวิชาการ และการจัดอบรม King’s College London, UK จำนวน 10,000,000 บาท
1.2 กิจกรรมที่ 4 ความร่วมมือทางวิชาการ และการจัดการอบรมด้านโทรคมนาคมกับ University of California, Berkeley จำนวน 674,500 บาท
2. โครงการฝึกงานกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านกระจายเสียง ด้านสื่อและการหลอมรวมในต่างประเทศ จำนวน 5,061,000 บาท
ระเบียบวาระที่ 6.2 : ขออนุมัติการเดินทางบุคคลภายนอก : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม อนุมัติให้บุคคลภายนอก (อธิบดีศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง (นายไมตรี สุเทพากุล) และผู้พิพากษา และเลขานุการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง (นางสาวปาริชาต มั่นสกุล) เข้าร่วมการอบรมระดับสูง (Advance Course) หลักสูตร Broadcasting and Media Regulation ระหว่างวันที่ 7 – 11 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ประเทศสเปน ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยเบิกจ่ายจากค่าใช้จ่ายตามกรอบวงเงิน จำนวน 5,061,000 บาท
ระเบียบวาระที่ 6.3 : การคัดเลือกและจัดซื้อภาพวาดของศิลปิน : กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม อนุมัติการจัดซื้อภาพวาดของศิลปินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิธารศิลป์รักษ์จิตรกร จำนวน 14 ภาพ จำนวนเงิน 4,100,000 บาท เพื่อนำเงินรายได้ไปช่วยเหลือสังคมในโอกาสต่างๆ หรือในกรณีหากเกิดสาธารณภัยที่รุนแรง ซึ่งที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้เคยมีมติอนุมัติในหลักการไว้แล้วในการประชุมครั้งที่ 38/2553 วันที่ 1 ธันวาคม 2553 ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 6.4 : โครงการสนับสนุนผู้ที่มีอัจฉริยภาพด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนภารกิจของ กทช. : นายพิทยาพลฯ, กจ.
มติที่ประชุม เห็นชอบให้โครงการสนับสนุนผู้ที่มีอัจฉริยภาพด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนภารกิจของ กทช. เป็นโครงการประจำที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวต่อไปจำนวน 5,180,000 บาท ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
สร้างโดย - (4/3/2559 16:10:26)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 169