สรุปมติที่ประชุม กสทช. 12/2554
รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 12/2554
วันพุธที่ 27 เมษายน 2554 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
1. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ ประธานกรรมการ
2. นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร กรรมการ
3. รองศาสตราจารย์สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ
4. พันเอก นที ศุกลรัตน์ กรรมการ
5. รองศาสตราจารย์พนา ทองมีอาคม กรรมการ
6. นายพิทยาพล จันทนะสาโร ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช.รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช.
ผู้ไม่เข้าประชุม
1. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ รักษาการในตำแหน่ง เลขาธิการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. ติดราชการ
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1. นายอารักษ์ โพธิทัต ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักการประชุมและเลขานุการ
2. นางดวงเดือน เสวตสมบูรณ์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการและติดตามประเมินผล
3. นายบุญยิ่ง โหมดเทศน์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนมติและรายงานการประชุม
4. นางอรุณ วงศ์ศิวะวิลาส ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนงานวาระการประชุม
5. นางนภาพร เก่งสาร ปฏิบัติหน้าที่พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6. นางสาวสุภาวดี สดศรี ปฏิบัติหน้าที่พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
7. นางสาวจุฑาสินี คำบำรุง ปฏิบัติหน้าที่พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
8. นางสาวณัฐจิรา ขันทอง ปฏิบัติหน้าที่พนักงานปฏิบัติการประจำส่วนงาน กทช.สุธรรมฯ
ผู้ชี้แจง
1. นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการ โทรคมนาคม
ระเบียบวาระที่ 1 : เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1. เรื่องแรกคงเป็นจดหมายที่ กสทช. แสดงความเสียใจในกรณีเกิดอุทกภัย เกิดสึนามิ และเกิดแผ่นดินไหวในเขตโตโฮกุ ประเทศญี่ปุ่น และทางการญี่ปุ่นได้ตอบจดหมายที่แสดงความเสียใจจาก กสทช. มา ผู้ที่ตอบมาคือ Ministry of Internal Affairs and Communication (Mr. Tetsuo Yamakawa, Vice Minister for Policy Coordination)
2. กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบ เรื่องการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับวิทยุชุมชนเชิงประเด็น ที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์จิราพร วิริยะสัมพันธ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านวิทยุชุมชนมาเป็นวิทยากรให้ ภายหลังจากการอภิปรายให้ความรู้แล้ว ได้เปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นเป็นการเฉพาะ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศาสนา กลุ่มสตรีและเด็ก และกลุ่มบุคคลด้อยโอกาส ซึ่งการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี มีผู้เข้าร่วมจำนวนประมาณกว่า 200 คน
มติที่ประชุม
1. รับทราบเรื่องตามที่ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
2. รับทราบเรื่องการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับวิทยุชุมชนเชิงประเด็น ที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 : เรื่องรับรองรายงานการประชุม รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 11/2554 วันพุธที่ 20 เมษายน 2554
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 11/2554 วันพุธที่ 20 เมษายน 2554 โดยมีข้อแก้ไขตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1. ปรับเพิ่มเติมข้อความในมติที่ประชุม หน้า 25 วาระที่ 6.6 เรื่อง การจัดพิมพ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวันฉัตรมงคล (วันที่ 5 พฤษภาคม 2554) ให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้นจากเดิมเป็นดังนี้
มติที่ประชุม รับทราบผลการดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวันฉัตรมงคล (วันที่ 5 พฤษภาคม 2554) เพิ่มเติมจากปี 2553 (พิมพ์ครั้งที่ 2) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทำหนังสือขอพระบรมราชานุญาต ตามที่ กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แจ้งต่อที่ประชุม ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องหนังสือดังกล่าวให้แล้วเสร็จ รวมถึงในส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้เรียบร้อยต่อไป (ไม่มีเอกสารประกอบ)
2. ปรับเพิ่มเติมข้อความในมติที่ประชุม หน้า 25 วาระที่ 6.7 เรื่อง การใช้ตราสัญลักษณ์ครุฑพ่าห์เบื้องล่างมีรูปแตรงอนพระราชทานเป็นเครื่องหมายประจำสำนักงาน กสทช. ให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้นจากเดิมเป็นดังนี้
มติที่ประชุม เพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช. ในช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างเหมาะสม ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงเห็นร่วมกันว่าสมควรใช้ตราสัญลักษณ์ครุฑพ่าห์เบื้องล่างมีรูปแตรงอนพระราชทานเป็นเครื่องหมายประจำสำนักงาน กสทช. ในการปฏิบัติราชการไปได้ก่อน โดยให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งสำนักพระราชวัง ในเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องตามขั้นตอนด้วย แล้วให้นำเสนอ กสทช. ชุดใหม่พิจารณาเมื่อได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มาปฏิบัติหน้าที่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อความถูกต้องและเหมาะสม (ไม่มีเอกสารประกอบ)
ระเบียบวาระที่ 3 : รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 11/2554 วันพุธที่ 20 เมษายน 2554
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 11/2554 วันพุธที่ 20 เมษายน 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อพิจารณา
กลุ่มเรื่องร้องเรียน
4.1 ข้อร้องเรียนของนายวรวุฒิ คงศิลป์ กรณีประสบปัญหาเกี่ยวกับการโทรออกข้ามโครงข่ายจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท กสท โทรคมนาคม (จำกัด) มหาชน โดยบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ผู้ทำการตลาดแทน ไปยัง
โครงข่ายของผู้ให้บริการรายอื่นยาก : สบท.
4.2 ข้อร้องเรียนของนายแพทย์สมศักดิ์ ลิรัฐพงค์ กรณีบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) เปลี่ยนระยะเวลาสัญญาณรอสายของโทรศัพท์พื้นฐานหมายเลข 02 980 1629 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ร้อง เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถใช้
ระบบสัญญาณกันขโมยที่ต้องใช้งานร่วมกับโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวได้ : สบท.
4.3 ข้อร้องเรียนของนายเฉลิมชัย เลี้ยงสกุล กรณีบริษัท ทรู มูฟ จำกัด เรียกเก็บค่า บริการอินเทอร์เน็ตทั้งที่ไม่ได้มีการใช้บริการ : สบท.
4.4 ข้อร้องเรียนของ นายธนกฤต ชาญชนะโรจน์ กรณีต้องการให้บริษัท ทรูมูฟ จำกัดชี้แจงรายละเอียดค่าใช้บริการ : สบท.
4.5 ปัญหาข้อร้องเรียนจากผู้บริโภคกรณีการให้บริการเสริมผ่านมือถือ (Mobile VAS) : สบท.
4.6 ข้อร้องเรียนของนางพนิดา ทรัพยสาร กรณีประสบปัญหาขอสมัครใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) แต่ต้องติดตั้งผ่านทางโครงการหมู่บ้านทาวน์พลัสอ่อนนุช – ลาดกระบัง โดยถูกเรียกเก็บค่าบริการในการติดตั้งประมาณ 4,000 บาท รวมทั้งถูกปฏิเสธคำขอติดตั้งบริการโทรศัพท์พื้นฐานจากเครือข่ายอื่นๆ : สบท.
4.7 ข้อร้องเรียนของนายศุภโชค โตจิราการ กรณีบริษัท เอเชีย ไวร์เลส คอมมูนิเคชั่นจำกัด เปลี่ยนแปลงรายการส่งเสริมการขายโทรศัพท์พีซีที ก่อนครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา : สบท.
4.8 ข้อร้องเรียนของนายประวัย อ่อนแก้ว กรณีบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลเรื่องการคิดค่าบริการของ Internet Sim ไม่ชัดเจนทำให้เกิดความสับสน, บริษัทคิดค่าบริการผิดพลาด, ถูกระงับและยกเลิกบริการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย : สบท.
4.9 ข้อร้องเรียนของนายสิทธิชัย แม้นเจริญ กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสจำกัด (มหาชน) กำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า และระงับสัญญาณโทรศัพท์ในระหว่างการพิจารณาข้อร้องเรียน : สบท.
4.10 ข้อร้องเรียนของนายธเนศ อภิรักษ์ขจรเดช กรณีบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด ไม่ยกเลิกสัญญาใช้บริการอินเทอร์เน็ตตามความประสงค์ของผู้ร้องและเรียกเก็บค่าปรับเนื่องจากยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด : สบท.
4.11 ข้อร้องเรียนของนางพงษ์ทิวา พิทักษ์เวช กรณีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)เรียกเก็บค่าส่วนลดคืนเนื่องจากผู้ร้องใช้สิทธิเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตตามคำโฆษณาของบริษัท : สบท.
4.12 ข้อร้องเรียนของนางสาวสุนันทา ศรีสุวรรณ กรณีไม่สามารถโทรเข้าคอลเซ็นเตอร์ของบริษัท ทรู มูฟ จำกัด เพื่อแจ้งปัญหาการใช้บริการได้ ทำให้ต้องเสียค่าบริการ จำนวนมาก : สบท.
4.13 ข้อร้องเรียนของนายธนาวุฒิ ชื่นกลิ่น กรณีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เรียกเก็บ ค่าบริการภายหลังจากที่ได้ระงับบริการ : สบท.
4.14 การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหา เรื่องร้องเรียนของ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) : สบท.
กลุ่มเรื่องการขอใช้ความถี่วิทยุ/ตั้งสถานีวิทยุ
4.15 การขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ 2360/2454 MHz ในกิจการประจำที่ (Fixed Service) : ฉก.
4.16 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม : ฉก.
4.17 การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท เอ็นเอ็นอาร์ โกลบอล โลจิสติคส์ (ประเทศไทย)) : ฉก.
4.18 การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด) : ฉก.
4.19 การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท ตลาดใหม่แม่กิมเฮง จำกัด) : ฉก.
4.20 การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด(มหาชน)) : ฉก.
4.21 กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ : ฉก.
4.22 การยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตวิทยุคมนาคมที่ออกแทนฉบับเดิมที่หมดอายุอันมีสาเหตุจากความล่าช้าภายในกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาต : ฉก.
4.23 การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (จำนวน 5 เรื่อง) : ฉก.
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม
- องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ขออนุญาต สำรองการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคม
- กรมการทหารสื่อสาร ขออนุญาตใช้และนำเข้าเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์
- กองทัพเรือ ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบ FM จำนวน 3 เครื่อง
4.24 การออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ(บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)) : ฉก.
4.25 โครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : กทช.สุรนันท์, คกก.ฯวิทยุสมัครเล่น, ฉก.
4.26 การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz (บริษัท ทีโอทีจำกัด จำนวน 2 สถานี 1 เส้นทาง) : ฉก.
4.27 การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 7.5 และ 11 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด จำนวน 26 เส้นทาง) : ฉก.
4.28 การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด จำนวน 15 เส้นทาง) : ฉก.
4.29 การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)) : ฉก.
4.30 การขขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม จำนวน 1 เส้นทาง (เส้นทางชุมสายโทรศัพท์บ้านไม้ฝาด – ชุมสายโทรศัพท์ เกาะลันตา) : ฉก.
4.31 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง และรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมให้บริษัท เค.ซี.เอส. (ประเทศไทย) จำกัด : ฉก.
4.32 กรมวังผู้ใหญ่ สำนักพระราชวัง ขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ย่าน VHFจำนวน 2 ความถี่ และขอสนับสนุนเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์สื่อสาร เพื่อใช้งาน ณ วังสระปทุม : ฉก.
4.33 กองทัพเรือ ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบ FM และรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮอทพอยท์เอ็นเตอร์ไพร์ส เพื่อทดแทนเครื่องเดิม : ฉก.
กลุ่มเรื่องใบอนุญาต
ก. การขอรับนโยบาย / การขอรับใบอนุญาต
4.34 การขอเพิ่มบริการอินเทอร์เน็ตแบบ WiFi ภายใต้ใบอนุญาตการให้บริการ อินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ของ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด : ปก.
4.35 บริษัท ทีที เน็ตเวิร์ค อินทิเกรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ขอประกอบกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติม ประเภทการขายส่งบริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.36 ขอรับนโยบายเรื่องการขอรับใบอนุญาตบริการ MVNO (บริการขายส่งและขายต่อบริการ MVNO) (บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด, บริษัท สยาม แอดวานซ์ เน็ทเวิร์คส์ จำกัด และบริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด) : ปก.
4.37 แนวทางการดำเนินการต่อไปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บนโครงข่ายเสมือน (MVNO) : ปก.
4.38 บริษัท ไฟเบอร์นาโน จำกัด ขอเพิ่มเติมจุดเชื่อมต่อวงจรระหว่างประเทศ และ ขอเชื่อมต่อตรงกับผู้ให้บริการต่างประเทศ เพื่อให้บริการ IIG & NIX : ปก.
4.39 บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง (บริการโทรศัพท์สาธารณะ) : ปก.
4.40 บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำกัด ขอรับ ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม (บริการโทรศัพท์สาธารณะ) : ปก.
4.41 การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ประเภทบริการมูลค่าเพิ่มการบันทึกและส่ง (Store-and-Retrieve) เพื่อให้บริการระบบติดตามยานพาหนะ : ปก.
4.42 การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ประเภทบริการมูลค่าเพิ่มการบันทึกและส่ง (Store and Retrieve Value Added Services) เพื่อให้บริการระบบติดตามยานพาหนะ (บริษัท โชคนครา จำกัด) : ปก.
4.43 บริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จำกัด ขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่ง บริการ WiFi ความถี่ย่าน 2.4 GHz กำลังส่ง e.i.r.p ไม่เกิน100 มิลลิวัตต์ : ปก.
ข. การขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการ MVNO / การเพิกถอนใบอนุญาต
4.44 บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO : ปก.
4.45 บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือนแบบ Non Facilities Based MVNO (ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง) : ปก.
4.46 บริษัท เอทูเน็ตเวิร์ค จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เสมือนแบบ Non Facilities Based MVNO (ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง) : ปก.
4.47 บริษัท ไอ – โมบาย พลัส จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO : ปก.
4.48 บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ขอเลื่อนเวลาการเริ่มให้บริการขายต่อบริการ : ปก.
4.49 บริษัท เทเลโกลบัล จำกัด ขอยกเลิกการให้บริการขายส่งบริการและการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MVNO) : ปก.
4.50 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO : ปก.
4.51 บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตให้บริการต่อโดยไม่ยกเลิก ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง (บริการ medium-MVNO) : ปก.
4.52 บริษัท ฟรีคอล จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศเพิ่มเติม (ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง) : ปก.
ค. เรื่องอื่นๆ
4.53 การตรวจสอบการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ระหว่างประเทศ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ของบริษัท สวัสดีช้อป จำกัด : ปก.
4.54 เงื่อนไขเฉพาะสำหรับใบอนุญาตแบบที่สามการให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคล ระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) : ปก.
4.56 การกำหนดขอบเขตของการให้บริการเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.57 วิธีการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : ปก.
4.58 การปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.59 หลักเกณฑ์การนำรายการ CDMA DATA Content มาขอหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม : ปก.
4.60 การตอบข้อหารือสิทธิการใช้คลื่นความถี่ 900 MHz ตามใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.61 ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายในการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมของบริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.62 รายงานผลการดำเนินการและขอขยายระยะเวลาในการเปิดให้บริการของ บริษัท ดีแทค อินเตอร์เนต เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.63 ขอความเห็นชอบการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับ (ร่าง) ประกาศหลักเกณณ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่งพ.ศ. 2554 (Unified License) : ปก.
กลุ่มเรื่องการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม
4.64 การพิจารณาดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ : กท.
4.65 รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อ เสนอมาตรการป้องกันผลกระทบในการให้บริการอันเป็นเหตุมาจากการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) (TT&T) : กท.
กลุ่มเรื่องเลขหมาย
4.66 การพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น : กบ., คกก.กำหนดค่าปรับทางปกครองฯ
4.67 การชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศที่ใช้รหัสบริการ : กบ.
4.68 ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของหน่วยงานรัฐที่ได้รับจัดสรรตามประกาศ กทช. ฉบับเดิม : กบ.
4.69 มาตรการทางกฎหมายกับบริษัท ทรู มูฟ จำกัด กรณีไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด การไต่สวนข้อเท็จจริงที่ 1/2553 : ลสทช., คกก.ศึกษาและกำหนดค่าปรับทางปกครองฯ
4.70 การพิจารณาคำขอรับจัดสรรเลขหมายฯ พิเศษของหน่วยงานเอกชน (บริษัท ชัยโย เอเอ จำกัด และ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด) : กบ.
4.71 บจ.เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต : กบ.
4.72 การขอยกเลิกใช้งานเลขหมายโทรคมนาคม พิเศษ 1757 ของบริษัท วันเวิลด์ เทเลคอมมิวเคชั่นส์ จำกัด : กบ.
กลุ่มเรื่องกฎหมาย
4.73 (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง กระบวนการออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย วิทยุคมนาคมแบบอัตโนมัติ (Automatic License) : วท., ฉก., กม.
4.74 การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม : ฉก.
4.75 บริษัท แอดวานส์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) อุทธรณ์คำสั่ง ลทช. : กม.
4.76 บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด อุทธรณ์คำสั่งเลขาธิการฯ : กม.
4.77 บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ขอให้ดำเนินมาตรการบังคับเด็ดขาด : กม.
4.78 การทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน : กม,. ทถ., ปก., พต., ฉก., กท., วท., และ ศฐ.
4.79 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ขอให้ทบทวน คำสั่ง กทช. ที่ 32/2553 เรื่อง ระบุผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญฯ : พต.
4.80 อุทธรณ์คำสั่ง ลสทช. กรณีกำหนดให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)(บมจ. กสท) ระงับการให้บริการแก่บริษัท ซิพโฟน (ประเทศไทย) จำกัด (บจก. ซิพโฟน) : กม.
4.81 อุทธรณ์คำสั่ง ลทช. ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียด เกี่ยวกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้าตามข้อ 38และข้อ 96 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมาย
โทรคมนาคม พ.ศ. 2551 : กม.
4.82 อุทธรณ์คำสั่งเลขาธิการ กสทช. กรณีกำหนด ให้บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด(มหาชน) ระงับการหยุดการให้บริการวงจรเช่าและการรื้อถอนคู่สายที่ใช้ในการเชื่อมโยงสัญญาณในส่วนที่กระทบต่อการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) : กม.
กลุ่มเรื่องการบริหารงานของสำนักงานฯ
4.83 การตรวจสอบภายในของสำนักงาน กสทช. : ปต.
4.84 การดำเนินการกรณีพนักงานไม่สามารถเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2554 เนื่องจาก เงินเดือนเต็มขั้นสูงของตำแหน่ง หรือมีเงินเดือนใกล้เต็มขั้นสูงของตำแหน่ง : บค.
4.85 การชำระค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and Beyond) : รสทช.ประเสริฐ, คกก.ตรวจและรับมอบงานจ้างที่ปรึกษาฯ
4.86 ข้อเสนอโครงการประเมินมูลค่าใบอนุญาตเทคโนโลยี 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz ของประเทศไทย : ปธ.
4.87 การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของ กทช. ประจำปี 2553 : พต.
4.88 ขอขยายเวลาการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2553) : คณะกรรมการติดตาม ประเมินผลแผนแม่บทฯ
กลุ่มเรื่องวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
4.89 การดำเนินการตามความตกลง Mutual Recognition Arrangement (MRAs)สาขาโทรคมนาคม : กร., วท.
4.90 รายงานการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศ ครั้งที่ 8 : วท.
4.91 การเรียกคืนคลื่นความถี่ GSM 1900 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ตว.
4.92 รายงานผลการศึกษาเทคโนโลยีสำหรับคลื่นความถี่ใช้ร่วมสาธารณะ: คกก.กำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
กลุ่มเรื่องสิทธิแห่งทาง/USO
4.93 การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ เกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และ
มาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. 2544 (กพส. ครั้งที่ 3/2554) (จำนวน 6 ราย 15 คำขอ 231 เส้นทาง 18 ชุมสาย) : พต.
4.94 การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ
เกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (กพส. ครั้งที่ 4/2554) (จำนวน 4 ราย 20 คำขอ 175 เส้นทาง 12 ชุมสาย) : พต.
4.95 ขออนุมัติจัดทำแนวทางการทำความตกลงเพื่อขอใช้สิทธิแห่งทางในการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นในการให้บริการโทรคมนาคม : พต.
4.96 แนวทางการพาดสายโทรคมนาคมผ่านสะพานหรือโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงาน ของรัฐ : พต.
4.97 มาตรการช่วยเหลือการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ : ศฐ., ทถ., พต., สชท.
4.98 วิธีการคิดค่าธรรมเนียม USO เพื่อใช้กำหนดปริมาณภารกิจ USO ที่ต้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553 ของ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม : ทถ.
กลุ่มเรื่องการขอสนับสนุนงบประมาณ
4.99 การขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 5 รายการ : กทช.บัณฑูร
4.100 การขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 2 รายการ : กทช.บัณฑูร
4.101 ขออนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณขอรับการสนับสนุนโครงการที่หลบภัยสึนามิและศูนย์เรียนรู้ภัยธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ระยะที่ 2 : กจ.
4.102 โครงการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบทบาทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อคุณภาพชีวิตชุมชนและความมั่นคงของชาติ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย : ทถ.
4.103 โครงการสร้างสรรค์เยาวชนคนรุ่นใหม่ ผู้มีวินัยใช้ไอซีที (NetGen) : ทถ.
4.104 โครงการเครือข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย WiMAX โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเพื่อการศึกษา : ปก..
4.105 การขอรับการสนับสนุนปฏิบัติการแพทย์, อาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในภาคใต้ : บป.
4.106 แผนดำเนินการให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม(การขอรับการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อและติดตั้งแผง solar cell พร้อมอุปกรณ์) : ทถ.
4.107 ขออนุมัติโครงการเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์ผ่านระบบบรอดแบนด์ไร้สาย ความเร็วสูง (โครงการระยะที่ 2) : ทถ.
4.108 พิจารณาอนุมัติให้บรรจุงบประมาณโครงการ “ส่งเสริม สนับสนุน การเผยแพร่ การดำเนินงานของโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ในแผนงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กสทช.
ประจำปี 2554 : ทถ.
4.109 พิจารณาสนับสนุนโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน ผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) และการศึกษาทางไกล (Tele-education) ภายใต้โครงการเครือข่ายสุขภาพ มารดา และทารก เพื่อครอบครัวเด็กและ เยาวชนไทย : ลสทช., บป., กจ.
4.110 ขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับการดำเนินการกับสถานีวิทยุชุมชนและโทรทัศน์ชุมชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงาน กสทช. : บป.
กลุ่มเรื่องกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.111 การทบทวนนโยบายในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์
4.112 นโยบายดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
: กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
4.113 โครงการทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน: กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
4.114 ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและการประกอบกิจการชั่วคราวในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ครั้งที่ 2 เมื่อวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2553 : กทช.พนา, กส.
4.115 บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว(วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 (จำนวน 6 สถานี) : กทช.พนา, กส.
4.116 บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว(วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 5/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2554 (สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนศูนย์การเรียนรู้ลุ่มน้ำปากพนัง) : กทช.พนา, กส.
4.117 บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว
(กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2554 (จำนวน 9 ราย 22 ใบอนุญาต) : กส.
กลุ่มเรื่องสถาบัน
4.118 การต่ออายุสัญญาการปฏิบัติงานของ นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ตำแหน่งผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : สพท.
4.119 ขออนุมัติหลักการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการยื่นขอรับสิทธิบัตรและดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้อง : สพท.
4.120 การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี และการจ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของ ผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ : คกก.กำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ
4.121 งบการเงินของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 19 ธันวาคม 2553 : สนง.กองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ
4.122 การแต่งตั้งเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกิจการโทรคมนาคมและให้สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเป็นฝ่ายธุรการของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม : คบท.
กลุ่มเรื่องเสนอใหม่
4.123 การทำสัญญาและเงื่อนไขบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท เรียลมูฟ จำกัด : กม.
4.124 ความเห็นประกอบการกำกับดูแลและพิจารณาการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมของบริษัท แพคเน็ท อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) บริษัท เวิล์ดเน็ท แอนด์ เซอร์วิสเซส และบริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ตามที่ได้รับ
มอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. : กม.
4.125 ความเห็นประกอบการกำกับดูแลและพิจารณาการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมตามที่ได้รับมอบอำนาจในคราวการประชุม กทช. ครั้งที่ 12/2553 และการประชุม กทช. ครั้งที่ 31/2553 (บริษัท เอเชีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด และบริษัท สามารถ ไอ – โมบาย จำกัด (มหาชน) : กม.
4.126 การตีความ พ.ร.บ.องค์กรฯ พ.ศ. 2553 เพื่อวางนโยบายการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและค่าธรรมเนียมชำระรายปี : ศฐ.
4.127 การยกเว้นค่าบริการเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของกรมสรรพากร : กบ.
4.128 การยกเลิกเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ : กบ.
4.129 บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : กบ.
4.130 บริษัท ซันฟลาวเวอร์ เทเลคอม จำกัด ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : กบ.
4.131 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานี วิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุเดิม และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเดิมที่ได้รับ อนุญาตไว้แล้ว : ฉก.
4.132 การยืนยันการดำเนินการขอรับใบอนุญาตให้บริการ VSAT ของบริษัทสามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด และบริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.133 บริษัท เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอหารือการให้บริการขายต่อบริการ IP Port ในต่างประเทศ : ปก.
4.134 การขอขยายระยะเวลาการใช้บริการโครงข่ายระบบ GSM 900 MHz เพื่อให้ บริการโทรศัพท์ทางไกลชนบทระบบ Wireless Local Loop : WLL ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.1 : ข้อร้องเรียนของ นายวรวุฒิ คงศิลป์ กรณีประสบปัญหาเกี่ยวกับการโทรออกข้ามโครงข่ายจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท กสท โทรคมนาคม (จำกัด) มหาชน โดยบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ผู้ทำการตลาดแทน ไปยังโครงข่ายของผู้ให้บริการรายอื่นยาก : สบท.
มติที่ประชุม เห็นชอบให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม โดยบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ผู้ทำการตลาดแทน ปรับลดค่าบริการรายเดือนลงเหลือเดือนละ 400 บาท ตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 ให้กับนายวรวุฒิ คงศิลป์ ผู้ร้อง เพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นไปจนกว่าบริษัทฯ จะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้สามารถใช้บริการโทรศัพท์เครือข่ายของบริษัทได้ตามปกติ ตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 53 และประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 13 และข้อ 14 ตามความเห็นของคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.2 : ข้อร้องเรียนของ นายแพทย์สมศักดิ์ ลิรัฐพงค์ กรณี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนระยะเวลาสัญญาณรอสายของโทรศัพท์พื้นฐานหมายเลข 02 980 1629 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ร้อง เป็นเหตุให้ ผู้ร้องไม่สามารถใช้ระบบสัญญาณกันขโมยที่ต้องใช้งานร่วมกับโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวได้ : สบท.
มติที่ประชุม เห็นชอบให้มีหนังสือแจ้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแก้ไขระบบสัญญาณรอสายของโทรศัพท์พื้นฐานหมายเลข 02 980 xxxx ให้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วินาที รวมทั้งแจ้งเพิ่มเติมว่าหากมีการปรับเปลี่ยนสาระสำคัญทางเทคนิค อันเป็นเหตุให้กระทบสิทธิ อันพึงได้รับของผู้บริโภค บริษัทฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก กสทช. ตามนัยข้อ 5 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ตามความเห็นของคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.3 : ข้อร้องเรียนของ นายเฉลิมชัย เลี้ยงสกุล กรณี บริษัท ทรู มูฟ จำกัด เรียกเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ตทั้งที่ไม่ได้มีการใช้บริการ : สบท.
มติที่ประชุม ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ บจ.ทรู มูฟ ไม่ได้แสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงยืนยันความถูกต้องของการเรียกเก็บค่าบริการภายใน 60 วัน ตามข้อ 13 ของประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ และข้อ 22 ของประกาศ กทช.เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบ ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. ให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บจ.ทรู มูฟ เพื่อคืนเงินค่าบริการจำนวน 850 บาท ให้แก่ นายเฉลิมชัย เลี้ยงสกุล และยุติการเรียกเก็บค่าบริการจำนวน 1,647 บาท ทั้งนี้ ตามข้อ 23 ของประกาศ กทช.เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 และให้บริษัทฯ จัดให้มีระบบการขอเปิดใช้บริการแยกประเภท ระหว่าง DATA และ VOICE
2. ให้มีหนังสือแจ้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อออกหนังสือแจ้งบริษัทที่จัดจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ตั้งปิดระบบการใช้บริการ EDGE, GPRS ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้เป็นสถานะเริ่มต้น (Default Setting)
3. ให้สำนักงาน กสทช. แจ้งเตือนผู้บริโภคให้ทราบถึงปัญหาและข้อมูลของปัญหาดังกล่าว
ระเบียบวาระที่ 4.4 : ข้อร้องเรียนของ นายธนกฤต ชาญชนะโรจน์ กรณีต้องการให้บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ชี้แจงรายละเอียดค่าใช้บริการ : สบท.
มติที่ประชุม เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บจ.ทรู มูฟ จัดส่งข้อมูลรายละเอียดการคิดค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายธนกฤต ชาญชนะโรจน์ ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2553 ให้สำนักงาน กสทช. เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยความถูกต้องและเป็นธรรม ทั้งนี้ ตามข้อ 14 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลฯ พ.ศ.2549 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช., กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
ระเบียบวาระที่ 4.5 : ปัญหาข้อร้องเรียนจากผู้บริโภคกรณีการให้บริการเสริมผ่านมือถือ (Mobile VAS) : สบท.
มติที่ประชุม
1. รับทราบรายละเอียดสภาพปัญหาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ผู้บริโภคในกรณีปัญหาจากบริการเสริมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile VAS) ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในการกิจการโทรคมนาคม เสนอ
2. เห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นประกอบด้วยสำนัก/กลุ่มภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาแนวทางและร่างหลักเกณฑ์การให้บริการเสริมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกรบกวนและเพื่อการกำกับดูแล ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 31 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ทั้งนี้ ให้พิจารณาจัดทำโครงสร้าง องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ แล้วนำเสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าวให้ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาโดยเร็วภายใน 7 วัน และให้ ปต. เร่งรัดติดตามการดำเนินการให้แล้วเสร็จตามมติข้างต้นด้วย
ระเบียบวาระที่ 4.6 : ข้อร้องเรียนของ นางพนิดา ทรัพยสาร กรณีประสบปัญหาขอสมัครใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) แต่ต้องติดตั้งผ่านทางโครงการหมู่บ้านทาวน์พลัสอ่อนนุช – ลาดกระบัง โดยถูกเรียกเก็บค่าบริการในการติดตั้งประมาณ 4,000 บาท รวมทั้งถูกปฏิเสธ คำขอติดตั้งบริการโทรศัพท์พื้นฐานจากเครือข่ายอื่นๆ : สบท.
มติที่ประชุม โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะนี้ บมจ.ทีโอที ได้เข้าทำสัญญาให้บริการและดำเนินการติดตั้งบริการโทรศัพท์พื้นฐานให้กับนางพนิดา ทรัพยสาร (ผู้ร้อง) ในอัตราค่าติดตั้งเท่ากับอัตราในช่วงที่ผู้ร้องยื่นขอติดตั้งบริการโทรศัพท์กับบริษัทฯ ครั้งแรก ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2552 (ฟรีค่าติดตั้ง) แล้วภายหลังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้จัดให้มีการไกล่เกลี่ยในเรื่องดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงเห็นชอบให้ยุติเรื่องนี้ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม รายงานต่อ ที่ประชุม และเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาข้อร้องเรียนกรณีทำนองเดียวกันนี้ขึ้นอีก ผู้ให้บริการจะต้องปฏิบัติตามข้อ 6(6) และข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยผู้ให้บริการจะกระทำการที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือกีดกันผู้ขอใช้บริการรายหนึ่งรายใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ และการปฏิเสธมิให้ผู้ใช้บริการรายหนึ่งรายใดเข้าทำสัญญาใช้บริการจะต้องเป็นไปตามเหตุ แห่งการปฏิเสธให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าแล้วเท่านั้น
ระเบียบวาระที่ 4.7 : ข้อร้องเรียนของ นายศุภโชค โตจิราการ กรณีบริษัท เอเชีย ไวร์เลส คอมมูนิเคชั่น จำกัด เปลี่ยนแปลงรายการส่งเสริมการขายโทรศัพท์พีซีที ก่อนครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา : สบท.
มติที่ประชุม เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บริษัท เอเชีย ไวร์เลส คอมมูนิเคชั่น จำกัด เพื่อปฏิบัติตามรายการส่งเสริมการขายเดิมที่มีอยู่กับ นายศุภโชค โตจิราการ (ผู้ร้อง) จนครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม รวมทั้งให้ขยายระยะเวลารายการส่งเสริมการขายเดิมเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือปรับลดค่าบริการลงตามรายการส่งเสริมการขายเดิมให้กับผู้ร้องเรียนและให้บริษัท เอเชีย ไวร์เลส คอมมูนิเคชั่น จำกัด ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ใช้บริการที่ไม่ได้ร้องเรียนมาที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตามความเห็นคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในการกิจการโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.8 : ข้อร้องเรียนของนายประวัย อ่อนแก้ว กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลเรื่องการคิดค่าบริการของ Internet Sim ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสน, บริษัทคิดค่าบริการผิดพลาด, ถูกระงับและยกเลิกบริการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย : สบท.
มติที่ประชุม เห็นชอบตามความเห็นคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในการกิจการโทรคมนาคม เสนอ ดังนี้
1. ให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) คืนเลขหมายโทรคมนาคม หมายเลข 08 1807 xxxx ให้แก่นายประวัย อ่อนแก้ว ผู้ร้องเรียน เนื่องจากบริษัทฯ ยกเลิกบริการหลังจากเรื่องได้เข้าสู่กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการตามประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการแล้ว ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิจะยกเลิกบริการ
2. ในกรณีที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) ไม่สามารถคืนเลขหมายโทรคมนาคมดังกล่าวได้ ให้จัดเลขหมายโทรคมนาคมที่ใกล้เคียงกันทดแทนให้แก่ผู้ร้อง และให้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เปิดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ผู้ร้องและให้ได้รับสิทธิตามแพคเก็จและโปรโมชั่นเดิมในระยะเวลาที่เหลืออยู่นับตั้งแต่วันที่ถูกระงับบริการ เนื่องจากไม่เข้าเหตุแห่งการระงับบริการตามข้อ 28 แห่งประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และตามข้อ 5 ของประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนผู้ใช้บริการ
3. ให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) คืนเงินค่าบริการ GPRS ส่วนที่ผู้ร้องร้องเรียนว่าบริษัทฯ เรียกเก็บไม่ถูกต้องคืนให้แก่ ผู้ร้อง โดยให้บริษัทฯ ยุติการเรียกเก็บค่าบริการที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ ผู้ร้องถูกระงับบริการ เนื่องจากบริษัทฯ มิได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงหรือหลักฐานเพื่อยืนยันความถูกต้องของการคิดค่าบริการ GPRS ตามที่ผู้ใช้บริการร้องเรียนภายใน 60 วัน ตามข้อ 22 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549
4. ให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) แสดงรายละเอียดการคิดค่าบริการ GPRS/EDGE เพิ่มเติมให้ชัดเจน ได้แก่ ข้อแตกต่างของการคิดค่าบริการแบบ Time Base และ Volume Base วิธีการคิดค่าบริการ การคิดค่าบริการในกรณีที่มีการใช้งานคาบเกี่ยวต่อเนื่องระหว่างรอบบิล โดยให้บริษัทฯ แสดงข้อมูลดังกล่าวควบคู่ไปกับการโฆษณาที่บริษัทฯ ได้ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ
ระเบียบวาระที่ 4.9 : ข้อร้องเรียนของนายสิทธิชัย แม้นเจริญ กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้า และระงับสัญญาณโทรศัพท์ในระหว่างการพิจารณาข้อร้องเรียน : สบท.
มติที่ประชุม
1. ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ไม่มีสิทธิ์ ยึดเงินคงเหลือที่ยังอยู่ในระบบของผู้ร้องและไม่มีสิทธิ์ระงับสัญญาณหรือระงับการให้บริการโทรคมนาคมเป็นการชั่วคราว เนื่องจากไม่เข้ากรณีเหตุในการระงับการให้บริการตามข้อ 28 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 38/2553 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553 มีมติว่า การที่ผู้ประกอบการกำหนดระยะเวลาการให้บริการโทรศัพท์แบบเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า ถือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และไม่เข้ากรณีเหตุในการระงับการให้บริการตามข้อ 28 ของประกาศดังกล่าวข้างต้น กอปรกับพิจารณาเห็นว่ามีผู้ประกอบการหลายรายและหลายกรณีได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายในลักษณะเดียวกันนี้ หลายครั้ง ที่ประชุมจึงมีมติ เห็นชอบให้ออกคำสั่งแจ้งผู้ประกอบการ ทุกรายให้ทราบโดยทั่วกันว่า การกระทำในลักษณะดังกล่าวเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
2. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งผู้ให้บริการเพื่อยืนยันมติ กทช. ครั้งที่ 11/2553 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ซึ่งเห็นชอบแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคม อันมีผลให้หลักเกณฑ์เพิ่มเติม ตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 จะถูกบรรจุเพิ่มเติมเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาให้บริการที่ได้รับความเห็นชอบด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ให้บริการทราบและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดโดยเร็วต่อไป
3. โดยที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งมี สบท.เป็นหน่วยงานเลขานุการ เป็นกลไกหลักทำหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบ วินิจฉัย ทั้งในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง รวมทั้งนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้เป็นไปตามกระบวนการหลักเกณฑ์และขั้นตอนตามที่กฎระเบียบกำหนดไว้อยู่แล้ว ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาแก้ไขปัญหาการร้องเรียน และการดำเนินมาตรการเยียวยาความเดือดร้อนให้แก่ผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมตามที่กฎระเบียบกำหนดไว้ สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติ เห็นชอบกรณีข้อร้องเรียนใดที่เป็นการร้องเรียนในประเด็นพื้นฐานทั่วไปที่มีแนวทางการเยียวยาแก้ไขเป็นบรรทัดฐานไว้แล้วทั้งโดยมติ กทช.และกฎระเบียบที่กำหนดไว้ ให้คณะอนุกรรมการฯ มีอำนาจพิจารณาดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าว ต่อไปได้ แล้วนำเสนอ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ทราบ แต่หากผลการพิจารณาเยียวยาข้อร้องเรียนดังกล่าวยังไม่เป็นที่พอใจแก่ผู้เดือดร้อนเสียหาย หรือมีการอุทธรณ์เพื่อให้ได้รับการเยียวยาแก้ไขที่สมควรแก่เหตุยิ่งขึ้นก็ให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม นำเรื่องร้องเรียนนั้นเสนอต่อที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป ทั้งนี้ ในการพิจารณาวินิจฉัยข้อร้องเรียนต่างๆของคณะอนุกรรมการฯ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน และกระบวนการให้ครบถ้วนและถูกต้องสมบูรณ์ ตามที่กฎหมาย/ประกาศ/ระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้
ระเบียบวาระที่ 4.10 : ข้อร้องเรียนของนายธเนศ อภิรักษ์ขจรเดช กรณีบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด ไม่ยกเลิกสัญญาใช้บริการอินเทอร์เน็ตตามความประสงค์ของผู้ร้อง และเรียกเก็บค่าปรับเนื่องจากยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด : สบท.
มติที่ประชุม ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า ผู้ใช้บริการมีสิทธิในการเลิกสัญญาตามกฎหมาย โดยแจ้งให้ผู้ให้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ ตามข้อ 12 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และผู้ให้บริการไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากการเลิกสัญญาดังกล่าว เนื่องจากผู้ให้บริการไม่อาจกำหนดเงื่อนไขอันอาจก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ใช้บริการ หรือเรียกเก็บค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการที่ผู้ใช้บริการเลิกสัญญาก่อนกำหนดมิได้ ตามข้อ 15 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ดังนั้น จึงมีมติเห็นชอบตามความเห็นคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. ให้ บจ.ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต ยกเลิกสัญญาให้บริการกับ นายธเนศ อภิรักษ์ขจรเดช (ผู้ร้องเรียน) โดยไม่ต้องชำระค่าปรับหรือค่าใช้จ่าย อื่นใดทั้งสิ้น ยกเว้นผู้ร้องไม่ยอมคืนเครื่องอุปกรณ์หรืออุปกรณ์ดังกล่าวเกิดความเสียหาย แต่ค่าเสียหายจะต้องไม่เกินกว่าความเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริง และไม่เกินกว่าราคาตลาดของค่าอุปกรณ์ดังกล่าวในขณะนั้น
2. ให้บริษัทฯ ยุติการเรียกเก็บค่าบริการตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นเดือนที่ นายธเนศ อภิรักษ์ขจรเดช (ผู้ร้อง) ได้แสดงเจตนายกเลิกบริการแล้ว
ระเบียบวาระที่ 4.11 : ข้อร้องเรียนของ นางพงษ์ทิวา พิทักษ์เวช กรณี บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เรียกเก็บค่าส่วนลดคืนเนื่องจากผู้ร้องใช้สิทธิเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตตามคำโฆษณาของบริษัท : สบท.
มติที่ประชุม ที่ประชุมพิจารณาว่ากรณีที่ บมจ.ทีโอที อ้างว่า นางพงษ์ทิวา พิทักษ์เวช (ผู้ร้องเรียน) ใช้สิทธิปรับเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต เป็นเหตุให้สัญญาสิ้นสุดลง และเรียกให้ผู้ร้องคืนเงินค่าส่วนลดย้อนหลังให้กับบริษัทฯ นั้น การสิ้นสุดของสัญญาเดิมจะต้องนับตั้งแต่วันที่บริษัทได้ปรับเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ร้องไม่ใช่สิ้นสุดย้อนหลัง เพราะในระหว่างที่ผู้ร้องยังไม่ได้ปรับเพิ่มความเร็ว ผู้ร้องก็ยังคงใช้ความเร็วอินเทอร์เน็ตในอัตรา 4 Mbps/512 kbps ตามสัญญาเดิม ดังนั้น การที่ บมจ.ทีโอที เรียกเก็บค่าส่วนลดคืนจากผู้ร้องย้อนหลังตั้งแต่เดือน เมษายน 2553 – พฤษภาคม 2553 ทั้งที่ความเร็ว ที่ผู้ร้องใช้บริการคือ 4 Mbps/512 kbps ตามรายการส่งเสริมการขายเดิมจึงไม่เป็นธรรมและไม่มีเหตุให้บริษัทเรียกเก็บได้ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. ให้ บมจ.ทีโอที ปรับเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตให้นางพงษ์ทิวา พิทักษ์เวช (ผู้ร้อง) เป็น 6Mbps/512 kbps และยุติการเรียกเก็บค่าส่วนลดคืนจากผู้ร้อง
2. ให้บริษัทฯ คืนเงินค่าบริการล่วงหน้าตามจำนวนเดือนที่เหลืออยู่ที่ได้รับชำระไว้ล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยให้กับนางพงษ์ทิวา พิทักษ์เวช (ผู้ร้อง)
ระเบียบวาระที่ 4.12 : ข้อร้องเรียนของ นางสาวสุนันทา ศรีสุวรรณ กรณีไม่สามารถโทรเข้า คอลเซ็นเตอร์ ของบริษัท ทรู มูฟ จำกัด เพื่อแจ้งปัญหาการใช้บริการได้ ทำให้ต้องเสียค่าบริการจำนวนมาก : สบท.
มติที่ประชุม
1. เห็นชอบให้เลขาธิการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. มีคำสั่งแจ้ง บจ.ทรูมูฟ เพื่อแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐานและคุณภาพบริการตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ตามข้อ 7 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียง ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
2. มอบหมายให้สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม มีหนังสือแจ้ง บจ.ทรูมูฟ เพื่อคืนเงินจำนวน 100 บาท ให้แก่ นางสาวสุนันทา ศรีสุวรรณ (ผู้ร้อง) และให้บริษัทฯ จัดหมายเลขพิเศษเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อแจ้งปัญหาได้ (เฉพาะในเวลาทำการ) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ระเบียบวาระที่ 4.13 : ข้อร้องเรียนของนายธนาวุฒิ ชื่นกลิ่น กรณีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เรียกเก็บค่าบริการภายหลังจากที่ได้ระงับบริการ : สบท.
มติที่ประชุม เห็นชอบให้ยุติเรื่องการร้องเรียนของ นายธนาวุฒิ ชื่นกลิ่น กรณีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เรียกเก็บค่าบริการภายหลังจากที่ได้ระงับบริการ เนื่องจากบมจ.ทีโอที ยินยอมปฏิบัติตามในการคืนเงินส่วนต่างของค่าบริการในส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการจริงให้แก่ผู้ร้อง ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม รายงานต่อ ที่ประชุม
ระเบียบวาระที่ 4.14 : การพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) : สบท.
มติที่ประชุม เห็นชอบหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. และ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.15 : การขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ 2360/2554 MHz ในกิจการประจำที่ (Fixed Service) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ 2360/2545 MHz ในกิจการประจำที่ (Fixed Service) ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดยบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นการขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งาน ก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 2553) รวมถึงมิใช่คลื่นความถี่ลักษณะเดียวกับความถี่ย่าน 2.1 GHz ที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งคุ้มครอง ตลอดจนเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิมและยังไม่ถูกยกเลิก ซึ่งเป็นไปตามมติ กทช. ครั้งที่ 33/2553 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553 ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติ ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดยบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ 2360/2545 MHz ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 830 kHz ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลระบบควบคุมและระบบความปลอดภัยระหว่างแท่นหลุมผลิตไปยังแท่นปฏิบัติการ ได้จนถึงวันที่ 11 กันยายน 2554 โดยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที่เมื่อมี คำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขยายระยะเวลาในการใช้ความถี่วิทยุในครั้งนี้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
ระเบียบวาระที่ 4.19 : การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท ตลาดใหม่แม่กิมเฮง จำกัด)
หมายเหตุ
1. เรื่องนี้ที่ประชุมได้มีการพิจารณา และอภิปรายอย่างกว้างขวางถึงประเด็นข้อกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกรณีที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้องศาลปกครองว่า กทช.ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งคดียังอยู่ระหว่างรอคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด และยังมีการฟ้องร้องในประเด็นเดิมต่อเนื่องมาเรื่องๆ อีก อย่างไรก็ดี กรณีเรื่องนี้เป็นการใช้อำนาจของ กทช. ภายใต้ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ประกอบกับมติที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ครั้งที่ 6/2554 เห็นชอบกำหนดแนวทางการดำเนินการขออนุญาตเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมตามพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ไว้แล้วว่า กรณีบริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐสามารถยื่นขออนุญาต ได้โดยตรง โดยให้มีหนังสือแจ้งหน่วยงานรัฐที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบด้วย ดังนั้น กรณีเรื่องนี้ ทางบริษัท ตลาดใหม่แม่กิมเฮง จำกัด ก็มายื่นขออนุญาตต่อ กทช. ได้เองโดยตรง หรืออีกนัยหนึ่ง Third Party สามารถมายื่นขออนุญาตได้โดยตรง รวมถึงการขออนุญาตให้ใช้ความถี่ซึ่งเป็นความถี่เดิม ซึ่ง กทช. ก็มีอำนาจที่จะสามารถอนุญาตให้ใช้ได้
2. นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาและอภิปรายในประเด็นข้อกฎหมายตามมาตรา 46 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ที่กำหนดว่าผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนหรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้ ซึ่งแม้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะได้รับอนุญาตไว้แล้วอยู่เดิม แต่กรณีนี้อาจเข้าข่ายตามมาตรา 46 วรรคสองดังกล่าว และยิ่งไปกว่านั้น หาก Third Party หรือบริษัทเป็นผู้ให้บริการแล้ว บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ก็จะเปรียบเสมือน Broker หรือคนกลาง ซึ่งก็จะเข้าข่ายการกระทำในลักษณะ Sub-license ได้เช่นกัน
3. อย่างไรก็ดี ที่ประชุมยังไม่มีข้อสรุปเป็นมติที่ประชุมสุดท้ายที่ชัดเจน ในเรื่องนี้ โดยเห็นว่า กทช. ควรต้องพิจารณากำหนดเป็นแนวทาง/หลักการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ความถี่ที่มีลักษณะของการใช้งาน โดย Third Party ให้ชัดเจนก่อน เพื่อให้สำนักงาน กสทช. ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติที่ถูกต้องได้ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.25 : โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , คณะอนุกรรมการกำกับและพัฒนากิจการวิทยุสมัครเล่น, ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม อนุมัติในหลักการโครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. โดยคณะอนุกรรมการกำกับและพัฒนากิจการวิทยุสมัครเล่น จัดทำรายละเอียดโครงการ และงบประมาณ เสนอให้คณะอนุกรรมการงบประมาณกลั่นกรองก่อนนำเสนอ ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาต่อไป ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
ระเบียบวาระที่ 4.65 : รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อเสนอมาตรการป้องกันผลกระทบในการให้บริการอันเป็นเหตุมาจากการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) (TT&T) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กท.
มติที่ประชุม
1. รับทราบข้อเท็จจริงและผลกระทบเกี่ยวกับการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ตามที่คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อเสนอมาตรการป้องกันผลกระทบในการให้บริการอันเป็นเหตุมาจากการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) เสนอ
2. เห็นชอบในหลักการในการแก้ไขปรับปรุงประกาศ กทช. ที่เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้รับใบอนุญาต ตามข้อเสนอแนะที่สำนักงาน กสทช.เสนอ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยให้สำนักงานฯ นำร่างประกาศที่แก้ไขแล้ว เสนอที่ประชุม กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เพื่อพิจารณาต่อไป ได้แก่
2.1 ประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง
2.2 ประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง
2.3 ประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม
2.4 ประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต
2.5 ประกาศ กทช. เรื่องเงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
ระเบียบวาระที่ 4.68 : ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของหน่วยงานรัฐที่ได้รับจัดสรร ตามประกาศ กทช. ฉบับเดิม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ จาก กทช. ก่อนประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ ได้รับการยกเว้นตามข้อ 82(1) (2) (3) และหรือลดหย่อนเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษรายเดือน ตามข้อ 82(5) ของประกาศฯ ดังกล่าว ซึ่งได้ดำเนินการสอดคล้องตามมติ กทช. ครั้งที่ 39/2553 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553 แล้ว และให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับลดหย่อนมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ มีผลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.70 : การพิจารณาคำขอรับจัดสรรเลขหมายฯ พิเศษของหน่วยงานเอกชน (บริษัท ชัยโย เอเอ จำกัด และ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม อนุมัติจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่เอกชน จำนวน 2 ราย ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1. จัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ให้แก่ บริษัท ชัยโย เอเอ จำกัด จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1735
2. จัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ ให้แก่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1736
ทั้งนี้ ให้บริษัททั้ง 2 ราย ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 โดยเคร่งครัดต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.71 : บจ.เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐาน สำหรับให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตแบบใช้เลขหมายโทรศัพท์ให้แก่ บจ. เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำนวน 2,000 เลขหมาย ได้แก่ 06 0001 7000 ถึง 06 0001 8999 ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคมฯอย่างไรก็ดี ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการตอบข้อหารือเรื่องนี้ในประเด็นความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทาง/หลักเกณฑ์การอนุญาตการประกอบกิจการของดาวเทียมต่างชาติ กรณีหากบริษัทฯ มีการนำเลขหมายดังกล่าวไปใช้ให้บริการในกิจการที่ยังไม่ได้รับอนุญาต (บริการ VoIP ผ่านดาวเทียม) จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 2/2554 ซึ่งหากแจ้งตอบมาชัดเจนในข้อหารือดังกล่าวเมื่อใดแล้ว ให้สำนักงานฯ พิจารณาและดำเนินการต่อไปได้ แต่หากมีประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องและมีนัยสำคัญเพิ่มเติม ให้เร่งนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาโดยเร็วก่อนดำเนินการ
ระเบียบวาระที่ 4.72 : การขอยกเลิกใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 1757 ของบริษัท วันเวิลด์ เทเลคอมมิวเคชั่นส์ จำกัด : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม อนุมัติให้ยกเลิกการใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 1757 ของบริษัท วันเวิลด์ เทเลคอมมิวเคชั่นส์ จำกัด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป ตามข้อ 75(1) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 โดยให้บริษัทฯ ชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษที่ค้างชำระพร้อมค่าธรรมเนียม ที่เพิ่มขึ้นตามข้อ 80(2) ข้อ 83 และข้อ 85 ของประกาศดังกล่าว จนกว่าจะชำระครบถ้วน ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม และความเห็นกรรมการกลั่นกรองตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.73 : (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง กระบวนการออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมแบบอัตโนมัติ (Automatic License) : วท., ฉก., กม.
มติที่ประชุม เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง กระบวนการออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมแบบอัตโนมัติ (Automatic License) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่ สำนักงาน กสทช.เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำร่างประกาศดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ แล้วนำผลการรับฟังความคิดเห็นมาเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อพิจารณาอีกครั้งก่อนออกเป็นประกาศต่อไป ตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
ระเบียบวาระที่ 4.79 : บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ขอให้ทบทวนคำสั่ง กทช. ที่ 32/2553 เรื่อง ระบุผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญฯ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), พต.
มติที่ประชุม เห็นชอบตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) กรณีการขอทบทวน คำสั่ง กทช. ที่ 32/2553 เรื่อง ระบุผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละตลาดที่เกี่ยวข้อง และให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญปฏิบัติตามมาตรการเฉพาะที่กำหนดของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น โดย ที่ประชุม กทช. ได้มีคำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ในการประชุม กทช. ครั้งที่ 23/2553 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2553 จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการแจ้งมติดังกล่าวให้บริษัททั้งสามรับทราบต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.93 : การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรกของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (กพส. ครั้งที่ 3/2554) (จำนวน 6 ราย 15 คำขอ 231 เส้นทาง 18 ชุมสาย) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), พต.
มติที่ประชุม เห็นชอบตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ในการพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรกของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (กพส. ครั้งที่ 3/2554) (จำนวน 6 ราย 15 คำขอ 231 เส้นทาง 18 ชุมสาย) ดังนี้
1. เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ของผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวม 4 ราย (บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ บจ.ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค และ บจ.ซิมโฟนี คอมมูนิเคชั่น) จำนวน 10 คำขอ 50 เส้นทาง 17 ชุมสาย และกำหนดเงื่อนไขตามความเห็นคณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.) ซึ่งเป็นการขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 โดยให้เพิ่มเงื่อนไขว่าห้าม มิให้นำไปใช้ในกิจการกระจายเสียง ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้น จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุมัติของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมงานดังกล่าว รวมทั้งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กทช. กำหนด โดยเคร่งครัดต่อไป
2. อย่างไรก็ดี กรณี บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม เนื่องจากบริษัทฯ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองว่า กทช. ไม่มีอำนาจกระทำการ จึงให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือสอบถามบริษัททั้ง 2 แห่งก่อนว่าจะยืนยันตามคำฟ้องหรือไม่
3. สำหรับกรณีการติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคมของบริษัท อคิวเมนท์ จำกัด กับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง เพื่อขยายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย จำนวน 26 จุด ในจังหวัดนนทบุรี เห็นว่าเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นครั้งแรก และอาจจะมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าเป็นการ ใช้สิทธิตามมาตรา 39 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ โดยลำพังหรือไม่ เพราะเป็นกรณีคาบเกี่ยว เรื่อง Active Element ซึ่งจะต้องพิจารณาตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกอบด้วย ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ขอความเห็นจากสถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม และคณะกรรมการ Infrastructure Sharing เพื่อประมวลความเห็นประกอบ การนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. โดยด่วนต่อไป
4. รับทราบผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.) ครึ่งปีหลัง ปี 2553 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2553) ตามที่คณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทางเสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.94 : การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรกของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (กพส. ครั้งที่ 4/2554) (จำนวน 4 ราย 20 คำขอ 175 เส้นทาง 12 ชุมสาย) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), พต.
มติที่ประชุม เห็นชอบตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ในการพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรกของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (กพส. ครั้งที่ 4/2554) (จำนวน 4 ราย 20 คำขอ 175 เส้นทาง 12 ชุมสาย) ดังนี้
1. เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของ การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม รวม 3 ราย (บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ และ บจ.ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์) จำนวน 16 คำขอ 169 เส้นทาง 11 ชุมสาย และกำหนดเงื่อนไขตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.) ซึ่งเป็นการขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสาหรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 โดยให้เพิ่มเงื่อนไขว่าห้ามมิให้นำไปใช้ในกิจการกระจายเสียง ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้น จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุมัติของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมงานดังกล่าว รวมทั้งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กทช. กำหนด โดยเคร่งครัดต่อไป
2. สำหรับกรณี บมจ.ทีโอที ยังไม่พิจารณา เนื่องจาก บมจ.ทีโอที ได้ยื่นฟ้อง กทช. ว่าไม่มีอำนาจกระทำการ เนื่องจากไม่มีองค์กรตามมาตรา 47 หลายคดี จึงให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือสอบถามบริษัทฯ ก่อนว่าจะยืนยันตามคำฟ้องหรือไม่
ระเบียบวาระที่ 4.106 : แผนดำเนินการให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการ เพื่อสังคม (การขอรับการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อและติดตั้งแผง solar cell พร้อมอุปกรณ์) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), ทถ.
มติที่ประชุม ไม่อนุมัติให้การสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อและติดตั้งแผง Solar cell ที่ใช้ในโครงการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมระยะที่ 1 ตามประกาศ USO เนื่องจากเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ บมจ.ทีโอที ไม่สามารถขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ และไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักออกจากวงเงินงบประมาณในการดำเนินการ USO ประจำปี 2553 ได้ ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการดำเนินการ USO ประจำปี 2553 ข้อ 1.4 และข้อ 2 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.115 : บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 (จำนวน 6 สถานี) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ
มติที่ประชุม อนุมัติให้ออกใบอนุญาตแก่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จำนวน 6 สถานี ตามข้อ 8(4) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวน ตามข้อ ๘(๕) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1. สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน 106 FM กรีนเรดิโอ คลื่นความถี่ 106.00 MHz จังหวัดสุรินทร์
2. สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนอุบลคนเหล่าเสือฮักแพง คลื่นความถี่ 91.75 MHz จังหวัดอุบลราชธานี
3. สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเพื่อประชาชนคนบ้านไผ่ คลื่นความถี่ 97.75 MHz จังหวัดขอนแก่น
4. สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนเมืองกันทรลักษ์ คลื่นความถี่ 106.00 MHz จังหวัดศรีสะเกษ
5. สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคนทัพทัน หลุยส์ เรดิโอ คลื่นความถี่ 97.25 MHz จังหวัดอุทัยธานี
6. สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคณะสงฆ์บ้านค่าย คลื่นความถี่ 98.50 MHz จังหวัดระยอง
ระเบียบวาระที่ 4.116 : บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 5/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2554 (สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนศูนย์การเรียนรู้ลุ่มน้ำปากพนัง) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กส.
มติที่ประชุม อนุมัติให้ออกใบอนุญาตแก่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนศูนย์การเรียนรู้ลุ่มน้ำปากพนัง คลื่นความถี่ 103.25 MHz จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามข้อ 8(4) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวน ตามข้อ 8(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.117 : บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้ คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2554 (จำนวน 9 ราย 22 ใบอนุญาต) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กส.
มติที่ประชุม อนุมัติให้ออกใบอนุญาตแก่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 9 ราย 22 ใบอนุญาต ตามข้อ 7(3) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) โดยกำหนดให้มีการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นระยะเวลา 30 วัน ตามข้อ 7(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้นและการขึ้นทะเบียนช่องรายการของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1. บริษัท พี.เคเบิ้ล ทีวี (สัตหีบ) จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต/ 74 ช่องรายการ
2. บริษัท โพนพิสัย เคเบิ้ลทีวี แอน์ วิชั่น จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต/ 59 ช่องรายการ
3. บริษัท มิราเคิล เวฟ จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ
4. ห้างหุ้นส่วนจำกัด นาสาร อีเลคโทรนิคส์ จำนวน 1 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ
5. บริษัท ทิพย์เคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 2 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ
6. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล นครปฐมเคเบิ้ลทีวี จำนวน 7 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ
7. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สนามจันท์ เคเบิ้ลทีวี จำนวน 7 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ
8. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ พี ดี เทเลวิชั่น จำนวน 1 ใบอนุญาต/ 50 ช่องรายการ
9. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท่าพระเคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต/ 80 ช่องรายการ
ระเบียบวาระที่ 4.124 : ความเห็นประกอบการกำกับดูแลและพิจารณาการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมของบริษัท แพคเน็ท อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) บริษัท เวิล์ดเน็ท แอนด์ เซอร์วิสเซส และบริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุม กทช. : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมของบริษัท แพคเน็ท อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) บริษัท เวิล์ดเน็ท แอนด์ เซอร์วิสเซส และบริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 และมติ กทช. ครั้งที่ 31/2553 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการให้เป็นไปตามมติข้างต้นตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.125 : ความเห็นประกอบการกำกับดูแลและพิจารณาการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมตามที่ได้รับมอบอำนาจในคราวการประชุม กทช. ครั้งที่ 12/2553 และการประชุม กทช. ครั้งที่ 31/2553 (บริษัท เอเชีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด และบริษัท สามารถ ไอ – โมบาย จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาการตรวจแบบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมของบริษัท เอเชีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด และ บริษัท สามารถ ไอ – โมบาย จำกัด (มหาชน) ตามความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 และมติ กทช. ครั้งที่ 31/2553 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการให้เป็นไปตามมติข้างต้นตามความเห็น กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.127 : การยกเว้นค่าบริการเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของกรมสรรพากร : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม และความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ที่เสนอ โดยกรณีคำขอลดอัตราค่าใช้บริการ เลขหมาย 1161 ของผู้ใช้บริการในอัตราครั้งละ 3 บาท เท่ากันทั่วไทย ของกรมสรรพากร นั้น ไม่เข้าข่ายตามมาตรา 57 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 โดยหากกรมสรรพากรประสงค์ให้ผู้ใช้บริการโทรเข้าโดยไม่เสียค่าบริการ กรมสรรพากรสามารถใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 1800 ซึ่งเป็นบริการเลขหมายโทรฟรี (Free Phone Service) และเป็นบริการโทรศัพท์นำกลุ่มเรียกเก็บเงินปลายทางแทนได้ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งมติดังกล่าวให้กรมสรรพากรทราบต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.128 : การยกเลิกเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม อนุมัติให้ยกเลิกหมายเลขโทรคมนาคมพิเศษ หมายเลข 1856 ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2554 ตามข้อ 75(1) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.129 : บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่ บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด จำนวน 1 เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1741 ทั้งนี้ โดยให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ให้ครบถ้วน ตามความเห็นของคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.130 : บริษัท ซันฟลาวเวอร์ เทเลคอม จำกัด ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม ไม่อนุมัติจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 4 หลัก ให้แก่ บริษัท ซันฟลาวเวอร์ เทเลคอม จำกัด เนื่องจากรายละเอียดฐานะการเงินและ ผลดำเนินการรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทฯ ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2553 ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของผลประกอบการและแผนทางธุรกิจของบริษัทฯ ได้ จึงถือว่าเอกสารหลักฐานของบริษัทฯ ไม่สอดคล้องตามข้อ 53(3)(4) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ตามความเห็นของคณะกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
หมายเหตุ ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลืออยู่ทั้งหมดอีกจำนวน ๙๙ เรื่อง สำนักงาน กสทช. จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 : เรื่องเพื่อทราบ
5.1 รายงานผลการปฏิบัติงานของ นางรังสิมา เจริญศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม 2554 : ประธาน กทช.
5.2 รายงานความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องร้องเรียน/ร้องขอให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช./สำนักงาน กสทช. พิจารณาตรวจสอบดำเนินการ/ไต่สวนข้อเท็จจริงของ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ระหว่างวันที่ 1 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 : ลสทช.
5.3 รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 : กม.
5.4 รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ ประจำปี 2553 ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลฯ : ปต.
5.5 รายงานการเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเศรษฐกิจจุลภาค (Micro) : ปธ.
5.6 การขอยกเว้นการนำส่งรายละเอียดวิธีการคำนวณอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมของบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด : สชท.
5.7 สัญญาการให้บริการวงจรเช่าระหว่าง บริษัท ทีทีแอนด์ แอนด์ที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) : สชท.
5.8 รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการ กสทช. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 – 31 มีนาคม 2554 : สพท.
5.9 รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2552 : สชท.
5.10 รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 1/2553 : สชท.
5.11 รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของ คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2553 : สชท.
5.12 รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 3/2553 : สชท.
ระเบียบวาระที่ 5.1 : รายงานผลการปฏิบัติงานของ นางรังสิมา เจริญศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม 2554 : ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของ นางรังสิมา เจริญศิริ ที่ปรึกษาประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม 2554 ตามเอกสารที่ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.2 : รายงานความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องร้องเรียน/ร้องขอให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. /สำนักงาน กสทช. พิจารณาตรวจสอบดำเนินการ /ไต่สวนข้อเท็จจริงของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม พ.ศ. 2554 : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ)
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องร้องเรียน / ร้องขอให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. / สำนักงาน กสทช. พิจารณาตรวจสอบดำเนินการ / ไต่สวนข้อเท็จจริงของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ระหว่างวันที่ 1 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งมีเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น จำนวน 40 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ 37 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 3 เรื่อง ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.3 : รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2554 : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ประจำเดือนมีนาคม 2554 จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย บริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด และบริษัท ทริปเปิลทรี โกลบอลเน็ท จำกัด ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.4 : รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ ประจำปี 2553 ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลฯ : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), ปต.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานการติดตามตรวจสอบและประเมินผลของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. (คตป.) ระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2553 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.5 : รายงานการเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเศรษฐกิจจุลภาค (Micro) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานการเข้าร่วมประชุมของ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ) และคณะ ในการเข้าร่วมประชุมชี้แจงกับคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเศรษฐกิจจุลภาค (Micro) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554 ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข 201 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 2 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.6 : การขอยกเว้นการนำส่งรายละเอียดวิธีการคำนวณอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมของบริษัท ดีแทค เนทเวร์ค จำกัด : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบการขอยกเว้นการนำส่งรายละเอียดวิธีการคำนวณอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมของ บริษัท ดีแทค เนทเวร์ค จำกัด ซึ่งกทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว ทั้งนี้ ตามมติ กทช. ครั้งที่ 41/2551 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.7 : สัญญาการให้บริการวงจรเช่า ระหว่าง บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบสัญญาการให้บริการวงจรเช่า ระหว่าง บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)กับบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว ทั้งนี้ ตามมติ กทช. ครั้งที่ 41/2551 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.8 : รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการ กสทช. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 – 31 มีนาคม 2554 : สพท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการ กสทช. ของปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 – 31 มีนาคม 2554 ทั้งนี้ ตามข้อ 8 ของระเบียบ กทช. ว่าด้วยการมอบอำนาจของ ลทช. ให้ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนในสถาบันเฉพาะทาง พ.ศ. 2554 ตามเอกสารที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.9 : รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2552 : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2552 ระหว่าง บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.10 : รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 1/2553 : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 1/2553 ระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.11 : รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2553 : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 2/2553 ระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.12 : รายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 3/2553 : สชท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าในกระบวนพิจารณาประจำเดือนมีนาคม 2554 ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ประจำข้อพิพาทที่ 3/2553 ระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 67 ตามเอกสารที่สถาบันการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม เสนอ
ระเบียบวาระที่ 6 : เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่ 6.1 : ขอมติที่ประชุม กทช.ฯ เพื่ออนุมัติบุคคลภายนอกเข้าร่วมการอบรมความรู้ด้านกฎหมายฯ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ : กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม อนุมัติให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมการอบรมความรู้ด้านกฎหมายฯ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี่ย์ โดยมีผู้แทนจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำนวน 5 คน ผู้แทนจาก ศาลปกครอง จำนวน 5 คน ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ สำหรับการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อการนี้ ให้เป็นไปโดยเหมาะสมและประหยัด อย่างไรก็ดี สำหรับกรณี เป็นผู้บริหารระดับสูงระดับอธิบดีศาลขึ้นไป ให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิตามที่ระเบียบกำหนด ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ของสำนักงาน กสทช. ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 6.2 : รายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สบท. (นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา)
มติที่ประชุม รับทราบรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคม ตามที่นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม รายงานให้ที่ประชุมทราบ รวม 2 เรื่อง ได้แก่
1. มาตรการเกี่ยวกับ Pre-paid phone Card ได้แก่
1.1 เรื่องการกำหนดวันหมดอายุ ซึ่งการกำหนดให้ไม่หมดอายุจะเป็นภาระทางธุรกิจของผู้ให้บริการ ทางเลือกที่เหมาะสมคือ การกำหนดวันหมดอายุขั้นต่ำที่ยอมรับได้ทุกฝ่าย โดยอาจให้ผู้ให้บริการเสนอการประเมินผลกระทบ หรือ Impact Assessment เพื่อประกอบการพิจารณา
1.2 เรื่อง การคืนเงิน ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ยืนยันมาโดยตลอดในเรื่องนี้ว่า แม้จะครบอายุแล้วก็ตาม ก็ต้องคืนเงินไม่มีสิทธิยึดไว้ ซึ่งบริษัทได้โต้แย้งเรื่องการหักค่าใช้จ่าย อาทิ ค่าส่วนแบ่งรายได้ แต่มีกรณีตัวอย่างในประเทศเยอรมนี ศาลแห่งเมืองเคียล เมืองหลวงของรัฐชเลสวิก โฮลสไตน์ มีคำสั่งให้บริษัทคืนเงินโดยห้ามหักค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้ ในการดำเนินงานจะต้องหารือผู้ประกอบการทั้งหมดใน 2 ประเด็น ได้แก่ การยอมรับวันหมดอายุขั้นต่ำ และการคืนเงินโดยหัก/ไม่หักค่าธรรมเนียม ซึ่งหากการกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำที่เหมาะสม การคืนเงินอาจจะไม่เป็นปัญหา
2. การยุติการเรียกเก็บค่าบริการต่อคู่สายโทรศัพท์ 107 บาท กรณีผิดนัดชำระค่าบริการ ขณะนี้ทุกบริษัทยืนยันว่า ได้ยุติ/ยกเลิกการเรียกเก็บค่าบริการต่อคู่สายโทรศัพท์แล้ว แต่ยังมีความสับสนของผู้บริโภค กรณีค่าบำรุงรักษาคู่สายหรือเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งทาง บมจ. ทีโอที เรียกเก็บ แต่ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องที่บริษัทมีต้นทุนในการบำรุงรักษาโครงข่าย โดยที่คำสั่ง กทช. จะไม่ครอบคลุมไปถึงเรื่องค่าบำรุงรักษาเลขหมายหรือคู่สายด้วย
หมายเหตุ ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ขอให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม รายงานความคืบหน้าให้กับที่ประชุมทราบโดยไม่มีเอกสารประกอบวาระ
สร้างโดย - (1/3/2559 17:54:22)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 303