สรุปมติที่ประชุม กสท. 4/2557

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ครั้งที่ 4/2557
วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557
ณ ห้องประชุม ชั้น 25 อาคารเอ็กซิมแบงค์
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 


ระเบียบวาระที่ 1                 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2                 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์  ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557
ระเบียบวาระที่ 3                   เรื่องเพื่อทราบ
3.1   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กสท. ครั้งที่ 3/2557
: ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)
3.2   รายงานสรุปผลการตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำปี พ.ศ. 2556 : กลุ่มงานกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ดส.)
3.3  การเดินทางเข้าร่วมงาน ITU Asia-Pacific Centres of Exellence Training Digital Broadcasting Technologies : CI) ระหว่างวันที่ 4 – 8 กุมภาพันธ์ 2557 ณ เมืองนิวเดลีและเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย : ส่วนงาน กสทช.สุภิญญา  กลางณรงค์
 
ระเบียบวาระที่ 4                   เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1  การพิจารณาคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ระหว่างวันที่ วันที่ 18 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2557
: กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 1 (ปส.1)
4.2  การอนุมัติผังรายการหลักประจำปี 2557 ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 : กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3 (ปส.3)
4.3  การขอยกเลิกการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ สำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ของผู้รับอนุญาต จำนวน 3 ราย 3 ช่องรายการ : คณะอนุกรรมการกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่/ กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 2 (ปส.2)
4.4  การพิจารณาคำร้องขอย้ายที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียงพิจิตรเรดิโอ คลื่นความถี่ 96.50 MHz จังหวัดพิจิตร : กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 1 (ปส.1)
4.5  รายงานผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่วิทยุบริเวณชายแดนไทย – มาเลเซีย (JTC) ครั้งที่ 24 ในประเด็นด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กลุ่มงานมาตรฐานและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ (ทส.)
4.6   กรอบแนวทางการพิจารณาทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม สำหรับโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล : คณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ กลุ่มงานมาตรฐานและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ (ทส.)
4.7  การออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกบนโครงข่ายระบบดิจิตอล ในช่วงการออกอากาศคู่ขนาน (Simucast) : กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิทัล (จส.)/ กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)
4.8  ผลการเลือกหมายเลขลำดับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ : กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิตอล (จส.) กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.) กลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.)
4.9  การพิจารณากิจการโทรทัศน์ระบบ DVB-T/H บนคลื่นความถี่ UHF ช่อง 58 ระหว่างบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท อินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจีเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) : คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)/ กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3 (ปส.3)
4.10  การพิจารณาการให้บริการโทรทัศน์ ประเภทบอกรับเป็นสมาชิกระบบ MMDS ระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) : คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ คณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.11 การพิจารณาการดำเนินโครงการให้บริการส่งวิทยุโทรทัศน์ ประเภทบอกรับสมาชิกระบบ MMDS ระหว่างกรมประชาสัมพันธ์ กับบริษัท เวิลด์ สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด : คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)/ กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3 (ปส.3)
4.12 บทวิเคราะห์การพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่และกำหนดระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ของกิจการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด) : คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)/ กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3 (ปส.3)
4.13  เรื่องร้องเรียนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ กรณีขอให้ตรวจสอบรายการถ่ายทอดสดการชุมนุมมวลมหาประชาชน ช่อง Blue sky : กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บส.) เลขานุการคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ
4.14  เรื่องร้องเรียนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ กรณีรายการเจ้าแม่จอมแฉและรายการแฉคดี ช่อง HOT TV ออกอากาศเนื้อหารายการไม่เหมาะสม : กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บส.) เลขานุการคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ
4.15  ขอเสนอแนะของกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา ต่อแนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ : กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บส.) เลขานุการคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ
4.16  ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการโฆษณาและการตลาดต่อสิทธิทางวัฒนธรรม : กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงฯ (รส.)
4.17  กำหนดวันยกเลิกการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ :กลุ่มงานค่าธรรมเนียมและอัตราค่าบริการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (นส.)
4.18  อำนาจของ กสท. และ กทค. ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 : กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)
4.19  การปรับปรุงประกาศ กสทช. เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และมอบหมายให้ปฏิบัติการแทน กสทช. ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)
4.20  การขยายระยะเวลาและการทบทวนองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการในภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ : กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)
4.21   การแก้ไของค์ประกอบของคณะอนุกรรมการส่งเสริมบริการด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์อย่างทั่วถึง : กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)
4.22   การแก้ไของค์ประกอบของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชนรบกวนการบิน : กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)
4.23   ขอขยายอายุและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะทำงานเพื่อรวบรวมคำวินิจฉัยศาลปกครอง : กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)
4.24   แต่งตั้งคณะทำงานทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บส.) เลขานุการคณะอนุกรรมการบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.25   การส่งบุคลากรเข้าร่วม ABU Digital Broadcasting Symposium 2014 ระหว่างวันที่ 4 – 7 มีนาคม ณ ประเทศ มาเลเซีย : กลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.)
4.26 ร่างประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์กำกับดูแลการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จำนวน 2 ฉบับ : กลุ่มงานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแลตนเอง (สส.)
 
ระเบียบวาระที่ 5                   เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
 
ผู้เข้าร่วมประชุม
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

1. พันเอก ดร.นที                         ศุกลรัตน์                ประธานกรรมการ
2. พลโท ดร.พีระพงษ์                   มานะกิจ                 กรรมการ
3. พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์               งามสง่า                   กรรมการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย    จิตรภาษ์นันท์           กรรมการ
5. นางสาวสุภิญญา                      กลางณรงค์              กรรมการ
6. นายสมบัติ                              ลีลาพตะ                  ผู้ช่วยเลขานุการปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมาย                                                                                     กระจายเสียงและโทรทัศน์   เลขานุการ กสท.รักษาการ รอง                                                                                   เลขาธิการ กสทช. ภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์
7. พันตรี โกเมธ                         ประทีปทอง               ผู้ช่วยเลขานุการผู้อำนวยการกลุ่มงานกรรมการกิจการกระจาย                                                                                   เสียงและกิจการโทรทัศน์
8. นางสาวมณีรัตน์                     กำจรกิจการ               ผู้ช่วยเลขานุการผู้อำนวยการกลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ                                                                               1 – 3
9. นางสาวกอกนก                     กิจบาลจ่าย                 ผู้ช่วยเลขานุการผู้อำนวยการกลุ่มงานอำนวยการภารกิจกระจาย                                                                               เสียงและโทรทัศน์
 
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1. นางสาวนงลักษณ์               วัชระเกียรติพงษ์      เลขานุการประธาน กสท.
2. นายสมศักดิ์                      สิริพัฒนากุล            ผู้อำนวยการกลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิทัล
3. นางรัตนากร                      ทองสำราญ             ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและ                                                                              กิจการโทรทัศน์
4. นายกีรติ                          อาภาพันธุ์               ผู้อำนวยการกลุ่มงานค่าธรรมเนียมและอัตราค่าบริการในกิจการกระจาย                                                                      เสียงและกิจการโทรทัศน์
5. นางรมิดา                        จรินทิพย์พิทักษ์        ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแลตนเอง
6. นางปริตา                        วงศ์ชุตินาท              รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานมาตรฐานและเทคโนโลยีกระจายเสียง                                                                          และโทรทัศน์
7. นายพสุ                          ศรีหิรัญ                   รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรกระจาย                                                                          เสียงและโทรทัศน์
8. นางสาวจิตติมา                ศุภเกษม                  พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
9.  นางกนกวรรณ                ศรีชัยชนะ                 พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
10. นางสาวกฤติพร              ศรียะพันธ์                 พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
11. นายตรี                         บุญเจือ                     พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
12. นางธันยพร                   เปาทอง                    พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
13. นางสาวกัณธิมา             วุฒิชาติ                     พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
14.  นางสาวทิวาพร             ทองเล็ก                    พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
15.  นางสาวสมพร              อมรชัยนพคุณ             พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
16.  นางนันท์นภัส              ปัญญา                      พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
17.  นายเมธา                   จันทร์หล้าฟ้า               พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
18.  นางสาวนันทพันธ์         โอบนิธิหิรัญ                พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
19.  นางสาวมณีนุช            อ่อนกัน                       พนักงานปฏิบัติการระดับต้น
20.  นางสาวมาริน่า            สายนุ้ย                       พนักงานปฏิบัติการระดับต้น
21.  นายอภิชาต               ดำรงสันติสุข                 พนักงานปฏิบัติการระดับต้น
 
เริ่มประชุม                       09.30 น.
 
ระเบียบวาระที่ 1               เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

1.   ประธาน กสท. (พันเอก ดร.นที  ศุกลรัตน์) กล่าวเปิดประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ตามที่สำนักงาน กสทช. ได้จัดการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติและได้ประกาศรับรองผลการประมูลไปแล้วนั้น ในการนี้ได้มีการจัดให้ผู้ชนะการประมูลแจ้งการเลือกหมายเลขลำดับใน วันที่ 24 มกราคม 2557 และในวันที่ 27 มกราคม 2557 ได้ประกาศหมายเลขลำดับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โดยได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไปแล้วด้วยดี
2.   กสทช. พ.ต.อ.ทวีศักดิ์  งามสง่า แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2557 ได้ไปเป็นประธานเปิดงานอบรมโครงการอบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายและหลักเกณฑ์      การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ณ สุโขทัย เทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย
 
มติที่ประชุม                     ทราบ
 
ระเบียบวาระที่ 2               เรื่องรับรองรายงานการประชุม
รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557 (ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กส.))
 
มติที่ประชุม                     รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557 โดยมีข้อแก้ไข ดังนี้
1. แก้ไขรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม โดยให้นำชื่อ พลโท ดร.พีระพงษ์  มานะกิจ  กรรมการ ออก
2. เพิ่มเติมข้อความต่อไปนี้ท้ายรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้
 “ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม
1. พลโท ดร.พีระพงษ์  มานะกิจ                  ติดภารกิจ”
3.  แก้ไขเพิ่มเติม มติที่ประชุม ระเบียบวาระที่ 4.3 ข้อ 2 เป็นดังนี้
“2.  ให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ สำหรับการให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ สำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (โทรทัศน์ดาวเทียม) ทุกรายว่า มีการนำช่องรายการที่ไม่ได้รับอนุญาตออกอากาศหรือไม่”
4.  แก้ไขข้อความ “กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตจำนวน 3 ใบอนุญาต...” ของ มติที่ประชุม ระเบียบวาระที่ 4.5 ข้อ 1.3 เป็น “กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตจำนวน 2 ใบอนุญาต...”
 
ระเบียบวาระที่ 3                          เรื่องเพื่อทราบ
วาระที่ 3.1                                  รายงานการดำเนินงานตามมติ กสท. ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557 (ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.))
                               
มติที่ประชุม                              ทราบ
               
วาระที่ 3.2                               รายงานสรุปผลการตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำปี พ.ศ. 2556 (กลุ่มงานกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ดส.))
 
มติที่ประชุม                          ทราบ
 
วาระที่ 3.3                           การเดินทางเข้าร่วมงาน ITU Asia-Pacific Centres of Exellence Training Digital Broadcasting Technologies : CI) ระหว่างวันที่ 4 – 8 กุมภาพันธ์ 2557 ณ เมืองนิวเดลีและเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย (ส่วนงาน กสทช.สุภิญญา  กลางณรงค์)
 
มติที่ประชุม                       ถอน
  
ระเบียบวาระที่ 4                 เรื่องเพื่อพิจารณา
วาระที่ 4.1                         การพิจารณาคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ระหว่างวันที่ 18 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2557 (กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 1 (ปส.1))
 
มติที่ประชุม                       เห็นชอบตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยมีผู้ได้รับสิทธิทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง รวมจำนวนทั้งสิ้น 89 ราย ดังปรากฏรายชื่อตามบัญชีแนบท้ายเอกสารแนบ 1 ทั้งนี้ ให้มีระยะเวลาทดลองประกอบกิจการ 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต
 
วาระที่ 4.2                          การอนุมัติผังรายการหลักประจำปี 2557 ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556(กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3 (ปส.3))
 
มติที่ประชุม                       อนุมัติผังรายการหลักประจำปี 2557 ของสถานีวิทยุกระจายเสียงทหารเรือ จำนวน 15 สถานี 21 ความถี่ และสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร ระบบ AM ความถี่ 1386 KHz ก่อนดำเนินการออกอากาศ
 
วาระที่ 4.3                        การขอยกเลิกการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ สำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ของผู้รับอนุญาต จำนวน 3 ราย 3 ช่องรายการ (คณะอนุกรรมการกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่/ กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 2 (ปส.2))
 
มติที่ประชุม         
1.   อนุญาตให้ บริษัท ย๊าค จำกัด  บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด และบริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่นส์ จำกัด ยกเลิกการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เพื่อให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ สำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ช่องรายการ Shop 77 สิ้นสุดการออกอากาศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 ช่องรายการ Trace Sports สิ้นสุดการออกอากาศในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 และช่องรายการ AMARIN active TV สิ้นสุดการออกอากาศในวันที่ 31 มกราคม  2557 ตามลำดับ รวมจำนวน 3 ช่องรายการ และให้บริษัท ทั้ง 3 แจ้งผลการดำเนินการมายังสำนักงาน กสทช. ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่หยุดการให้บริการ
2.   มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. โดย ปส.2 ทำบันทึกแจ้ง  นส. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียมต่อไป
 
วาระที่ 4.4                      การพิจารณาคำร้องขอย้ายที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียงพิจิตรเรดิโอ คลื่นความถี่ 96.50 MHz จังหวัดพิจิตร (กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 1 (ปส.1))
 

มติที่ประชุม                    อนุมัติให้ย้ายที่ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงพิจิตรเรดิโอ คลื่นความถี่ 96.50 MHz จากที่เดิม เลขที่ 321/7 หมู่ที่ 1 ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ไปยัง เลขที่ 329 หมู่ที่ 1 ตำบลไผ่ท่าโพ   อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร (ละติจูด : 16°16’55’’ N ,ลองจิจูด 100°14’53’’ E) โดยมีเงื่อนไขดังนี้
(1) การย้ายที่ตั้งของสถานีจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อสำนักงาน กสทช. ได้รับผลการตรวจสอบเครื่องส่งว่าเป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิคที่คณะกรรมการกำหนด และต้องตรวจสอบเครื่องส่งให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กสทช.
(2) เมื่อสถานีย้ายที่ตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เห็นควรให้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไขประกอบการอนุญาตให้ย้ายที่ตั้งสถานี ดังนี้
(2.1)  ความถี่ที่ใช้ออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงพิจิตรเรดิโอ ต้องเป็นความถี่เดิมที่ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการ คือ 96.50 MHz
(2.2)  ความสูงของสายอากาศไม่เกิน 60 เมตร โดยวัดจากพื้นดินที่ตั้งสายอากาศถึงจุดสูงสุดของสายอากาศ กำลังคลื่นพาห์ (Carrier Power) ของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงตามที่ผู้ผลิตประกาศ ต้องมีค่าไม่เกิน 500 วัตต์ พื้นที่กระจายเสียงมีรัศมีไม่เกิน 20 กิโลเมตร และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่ใช้สำหรับการทดลองประกอบกิจการ ต้องได้รับการทดสอบมาตรฐานทางเทคนิค จากสำนักงาน หรือห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้ลงทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบกับสำนักงาน กสทช. เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กสทช.
(2.3)  ความเข้มของสัญญาณ(Field Strength)วัดที่ระยะทาง 20 กิโลเมตรทางอากาศจากที่ตั้งสายอากาศมีค่าไม่เกิน 54 dBµv/m โดยวิธีการวัดความเข้มสัญญาณให้เป็นไปตาม Recommendation ITU-R SM.378           
(2.4) สถานีวิทยุกระจายเสียงควรมีเครื่องปรับระดับความแรงสัญญาณ (Limiting Amplifier หรือ Audio Limiter) เพื่อลดผลกระทบจากการแพร่นอกแถบ
(2.5)  หากปรากฏภายหลังว่าการตั้งสถานีก่อให้เกิดการออกอากาศรบกวนคลื่นความถี่กับสถานีวิทยุกระจายเสียงตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2555 หรือสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ที่ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับสิทธิในการประกอบกิจการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ หรือกิจการวิทยุทางการบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ หรือกิจการโทรคมนาคมหรือกิจการวิทยุคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สถานีที่ยื่นคำร้องขอย้ายที่ตั้งสถานีดังกล่าว จะต้องดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือระงับการแพร่กระจายคลื่นความถี่ที่ก่อให้เกิดการรบกวน ทันทีที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กสทช.
(2.6) เมื่อได้รับอนุมัติให้ย้ายที่ตั้งสถานีแล้วภายใน 30 วัน ผู้ยื่นคำร้องขอย้ายที่ตั้งสถานีดังกล่าว ต้องจัดส่งภาพถ่ายสถานี เสาอากาศและสายอากาศ ห้องส่ง ของที่ตั้งสถานีใหม่และกรณีที่ตั้งสถานีใหม่มิใช่สถานที่ที่ผู้ยื่นคำร้องมีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินที่ตั้งสถานีหรือสายอากาศ ให้จัดส่งเอกสาร หนังสือ หรือสัญญาเช่า หรือเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตั้งสถานีและสายอากาศ โดยมีระยะเวลาเช่าหรือให้ใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี มายังสำนักงาน กสทช. ส่วนกลางเพื่อยืนยันการอนุญาตให้ตั้งสถานี
                              
วาระที่ 4.5                           รายงานผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่วิทยุบริเวณชายแดนไทย – มาเลเซีย (JTC) ครั้งที่ 24 ในประเด็นด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กลุ่มงานมาตรฐานและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ (ทส.))
 
มติที่ประชุม     
1.   ทราบรายงานผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคว่าด้วยการประสานและจัดสรรความถี่วิทยุบริเวณชายแดนไทย – มาเลเซีย (JTC) ครั้งที่ 24 ในประเด็นด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
2.   เห็นชอบบันทึกความตกลงร่วม (Agree Minutes) ในส่วนของ “Working Group 1 (Broadcasting Services) ของการประชุมดังกล่าวในประเด็นด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
 
วาระที่ 4.6                             กรอบแนวทางการพิจารณาทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม สำหรับโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (คณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ กลุ่มงานมาตรฐานและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ (ทส.))
 
มติที่ประชุม         
1.   เห็นชอบต่อกรอบแนวทางการพิจารณาทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคมสำหรับโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ดังนี้
1.1   ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และเงื่อนไขการใช้ความถี่วิทยุตามประกาศ กสทช.
1.2   การตั้งสถานีวิทยุคมนาคมจะต้องไม่สร้างความสับสนและภาระในการปรับทิศทางของสายอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์ของประชาชน
1.3   สถานีหลัก (Main Station) สถานีเสริม (Additional station) และสถานีเสริมสำหรับการรับสัญญาณแบบ Portable Indoor (PI Gap Filler) ของแต่ละโครงข่ายในทุกเขตบริการ จะต้องสอดคล้องกับแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ข้อเสนอแนะทางเทคนิคของคณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับการทดลองระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ รวมทั้งจะต้องอยู่บนที่ตั้งเดียวกัน และต้องออกอากาศบนระบบสายอากาศเดียวกัน
1.4   สถานีเสริมสำหรับการรับสัญญาณแบบ Portable Indoor (PI Gap Filler) จะต้องเป็นสถานีวิทยุคมนาคมซึ่งเป็นโครงข่ายแบบความถี่เดียว (Single Frequency Network, SFN) ร่วมกับสถานีหลักหรือสถานีเสริมของเขตบริการนั้น โดยพื้นที่ครอบคลุมจะต้องไม่เกินจากพื้นที่ครอบคลุมของสถานีวิทยุคมนาคมซึ่งเป็นสถานีหลักหรือสถานีเสริมของเขตบริการนั้นด้วย นอกจากนี้ต้องเป็นสถานีวิทยุคมนาคมที่มี  กำลังต่ำ
1.5   การพิจารณากำลังส่งออกอากาศ (ERP) ของสถานีวิทยุคมนาคมต้องพิจารณาจากกำลังส่งออกอากาศสูงสุดตามแผนความถี่วิทยุเป็นหลัก และอาศัยข้อเสนอแนะทางเทคนิคของคณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับการทดลองระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลรวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศประกอบ ทั้งนี้ ให้ถือเป็นกำลังส่งออกอากาศ (ERP) สูงสุดที่สามารถอนุญาตได้ ในกรณีสายอากาศซึ่งเป็นโพลาไรเซชันแบบผสม (Mixed Polarization) ให้พิจารณาจากผลรวมของกำลังส่งออกอากาศจากโพลาไรเซชันแบบแนวนอน (Horizontal Polarization) และกำลังส่งออกอากาศจากโพลาไรเซชันแบบแนวตั้ง (Vertical Polarization)
1.6   คุณลักษณะทางเทคนิคของสถานีวิทยุคมนาคมและพื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณจะต้องสอดคล้องกับแผนความถี่วิทยุ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อสถานีวิทยุคมนาคมอื่น
2.   มอบหมายให้คณะทำงานด้านเทคนิคสำหรับการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล และคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หาข้อสรุปในประเด็นดังต่อไปนี้
2.1   การกำหนดที่ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมทั้งสถานีหลักและสถานีเสริมร่วมกัน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายและสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน และเป็นไปตามกรอบแนวทางในข้อ 1.3 โดยกำหนดลำดับความสำคัญและเร่งด่วนดังนี้
(1) สถานีหลัก (Main Station)
(2) สถานีเสริม (Additional Station)
(3) สถานีเสริมสำหรับการรับสัญญาณแบบ Portable Indoor (PI Gap Filler)
2.2   การกำหนดแผนการติดตั้งโครงข่าย (Deployment Schedule) ให้สอดคล้องกัน ทุกโครงข่าย โดยแบ่งออกเป็นเฟสของการติดตั้ง ทั้งนี้ ให้อาศัยลำดับความสำคัญและเร่งด่วนตามข้อ 2.1
3. ให้สำนักงาน กสทช. แจ้งแนวทางตามข้อ 1 ให้ผู้ประกอบกิจการเพื่อให้บริการโครงข่าย
ทุกรายทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด
 
วาระที่ 4.7                        การออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกบนโครงข่ายระบบดิจิตอล ในช่วงการออกอากาศคู่ขนาน (Simucast) (กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิทัล (จส.)/ กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.))
 
มติที่ประชุม         
1. เห็นชอบแนวทางการออกอากาศคู่ขนาน (Simulcast) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.1   อนุญาตให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) ใช้คลื่นความถี่ในการออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกคู่ขนานบนโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของกรมประชาสัมพันธ์ ในหมายเลขช่องความถี่วิทยุสำหรับมัลติเพล็กซ์ที่ 1 ตามตารางแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของประเทศ ทั้งนี้การออกอากาศคู่ขนานจะสิ้นสุดเมื่อมีการยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อก
1.2   อนุญาตให้สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5)  ใช้คลื่นความถี่ในการออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกคู่ขนานบนโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของกองทัพบก  ในหมายเลขช่องความถี่วิทยุสำหรับมัลติเพล็กซ์ที่ 2 ตามตารางแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของประเทศ ทั้งนี้การออกอากาศคู่ขนานจะสิ้นสุดเมื่อมีการยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อก
1.3   อนุญาตให้สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9) และสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี   ช่อง 3 (ช่อง 3) ใช้คลื่นความถี่ในการออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกคู่ขนานบนโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในหมายเลขช่องความถี่วิทยุสำหรับมัลติเพล็กซ์ที่ 3 ตามตารางแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของประเทศ ทั้งนี้การออกอากาศคู่ขนานจะสิ้นสุดเมื่อเริ่มต้นการแพร่ภาพออกอากาศของกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการธุรกิจ
1.4   อนุญาตให้สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย (ไทยพีบีเอส) ใช้คลื่นความถี่ในการออกอากาศ  ช่องรายการโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกคู่ขนานบนโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ในหมายเลขช่องความถี่วิทยุสำหรับมัลติเพล็กซ์ที่ 4   ตามตารางแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของประเทศ ทั้งนี้การออกอากาศคู่ขนานจะสิ้นสุดเมื่อมีการยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อก
1.5   อนุญาตให้สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7) ใช้คลื่นความถี่ในการออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกคู่ขนานบนโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของกองทัพบก ในหมายเลขช่องความถี่วิทยุสำหรับมัลติเพล็กซ์ที่ 5 ตามตารางแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของประเทศ ทั้งนี้การออกอากาศคู่ขนานจะสิ้นสุดเมื่อเริ่มต้นการแพร่ภาพออกอากาศของกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการธุรกิจ
2.   ให้สำนักงาน กสทช. แจ้งผู้ประกอบกิจการฯ สำหรับให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภท ที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ทุกรายทราบตามข้อ 1. เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
วาระที่ 4.8                             ผลการเลือกหมายเลขลำดับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ (กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิตอล (จส.) กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.) กลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.))
 
มติที่ประชุม         
1.  ทราบผลการเลือกหมายเลขลำดับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ
2.  เห็นชอบให้ผู้รับใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551  สิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปตามข้อ 8 ของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นแพร่ภาพออกอากาศกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลแล้ว 30 วัน
3.  ให้สำนักงาน กสทช.แจ้งคำสั่งเป็นการเฉพาะตามข้อ 2 ให้ผู้รับใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่เกี่ยวข้องทุกราย
4.  กรณีกองทัพบก กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย ซึ่งต้องมีการออกอากาศคู่ขนาน (Simucast) ตามมติ กสท.ครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2556 ระเบียบวาระที่ 4.9 นั้น ต้องปฏิบัติตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป 
5. ให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งกองทัพบก กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ทราบและดำเนินการตามข้อ 4. ด้วย
 
วาระที่ 4.9                         การพิจารณากิจการโทรทัศน์ระบบ DVB-T/H บนคลื่นความถี่ UHF ช่อง 58 ระหว่างบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท อินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจีเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)/ กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3 (ปส.3))
 
มติที่ประชุม         
1. เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และสำนักงาน กสทช. ดังนี้
1.1   สัญญาระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท อินเตอร์เนชั่นเนิล
เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นการให้บริการโทรทัศน์ประเภทอื่นนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตอยู่เดิม ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. ตามกฎหมาย ดังนั้น สัญญาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
1.2   ให้ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแก้ไขการใช้งานคลื่นความถี่ช่อง 58 ความถี่วิทยุ 766 – 774 MHz ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาต ตามนัย มาตรา 44   แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
1.3   ให้ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) คืนคลื่นความถี่ UHF ช่อง 58 ภายใน 5 ปี
ตามระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่ของสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9)  ที่ กสทช. ได้มีมติครั้งที่
7/2556 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม  2556  ระเบียบวาระที่ 5.5
2. ให้สำนักงาน กสทช. นำข้อเสนอตาม 1 เสนอต่อที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
3. ให้สำนักงาน กสทช. แจ้งผลการพิจารณาของที่ประชุม กสทช. ตามข้อ 2 ให้ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ทราบด้วย
 
หมายเหตุ :                         รับรองมติที่ประชุมระเบียบวาระที่ 4.9 เพื่อนำไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
วาระที่ 4.10                         การพิจารณาการให้บริการโทรทัศน์ ประเภทบอกรับเป็นสมาชิกระบบ MMDS ระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน)  (คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ คณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์)
 
มติที่ประชุม                       เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และสำนักงาน กสทช. ดังนี้
1.   ให้เสนอคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช.เพื่อวินิจฉัยประเด็น ข้อกฎหมาย ดังนี้
1.1   การคิดคำนวณเงินลงทุน ที่ บมจ. ทรู วิชั่นส์ ตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนที่มีรายได้จากการโฆษณาให้แก่ บมจ. อสมท อีก เป็นเงินร้อยละ 6.5 ของรายได้จากการโฆษณาทั้งหมดแต่ละปีก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งค่าตอบแทนดังกล่าวไม่อาจกำหนดได้เป็นการล่วงหน้า และมิได้มีข้อกำหนดเป็นการประกันรายได้ขั้นต่ำไว้ จึงมีกรณีต้องพิจารณาว่า การคำนวณเงินลงทุนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 จะต้องนำส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นวงเงินลงทุนตามโครงการหรือไม่ อย่างไร
1.2   การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฯ ครั้งที่ 3 ฉบับลงวันที่ 8 ตุลาคม 2552 มีประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยว่า การที่ บมจ. อสมท ดำเนินการแก้ไขข้อกำหนดในสัญญาฯ ให้ บมจ. ทรู วิชั่นส์ สามารถหารายได้จากการโฆษณาได้นั้น เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อมาตรา 75 และมาตรา 23 ประกอบ มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการฯ พ.ศ. 2551 หรือไม่ 
2.  ให้สำนักงาน กสทช. เสนอที่ประชุม กสท.เพื่อพิจารณาอีกครั้งเมื่อคณะอนุกรรมการ
ที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช.ได้วินิจฉัยตามประเด็นตามข้อ 1 แล้ว
3.  ในระหว่างการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาและความจำเป็นในการใช้
คลื่นความถี่  ให้ บมจ. ทรู วิชั่นส์ เสนอมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการต่อสำนักงาน กสทช. ไม่น้อยกว่า 180 วันก่อนวันที่สัญญาสิ้นสุดลง(วันที่ 30 กันยายน  2557)  เพื่อมิให้ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบจากการยุติการให้บริการดังกล่าว
4.  กรณีที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตนำเข้าอุปกรณ์เพื่อการทดลองและทดสอบสำหรับให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก บนคลื่นความถี่ MMDS ด้วยเทคโนโลยี BWA ถือเป็นการขออนุญาตเพื่อการทดลองหรือทดสอบสำหรับให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ซึ่งจะต้องพิจารณาอนุญาตตามประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราว ซึ่งกำหนดให้ต้องใช้คลื่นความถี่ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ  ดังนั้น เมื่อคลื่นความถี่     2500 – 2690 MHz ถูกกำหนดตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ให้ใช้ในกิจการโทรคมนาคม กสท. จึงไม่อนุญาตให้ทดลองทดสอบและนำเข้าอุปกรณ์เพื่อการทดลองหรือทดสอบสำหรับให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก บนคลื่นความถี่ MMDS ด้วยเทคโนลียี BWA ตามที่ขอ
5.  ให้สำนักงาน กสทช. แจ้งผลการพิจารณาตามข้อ 4 ให้ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ทราบด้วย
 
วาระที่ 4.11                          การพิจารณาการดำเนินโครงการให้บริการส่งวิทยุโทรทัศน์ ประเภทบอกรับสมาชิกระบบ MMDS ระหว่างกรมประชาสัมพันธ์ กับบริษัท เวิลด์ สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด (คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)/ กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3 (ปส.3))
 
มติที่ประชุม                       เห็นชอบข้อเสนอของคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์  คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และสำนักงาน กสทช. ดังนี้
1   สัญญาเข้าร่วมและดำเนินโครงการให้บริการส่งวิทยุโทรทัศน์ประเภทบอกรับเป็นสมาชิกระบบ MMDS ระหว่างกรมประชาสัมพันธ์ กับบริษัท เวิลด์ สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด  สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 ย่อมไม่มีผลผูกพันอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีผล
ใช้บังคับ  จึงไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิประกอบกิจการตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการฯ พ.ศ. 2551 และสิทธิในการใช้คลื่นความถี่วิทยุ 2504 – 2512 2512 – 2520 และ 2520 – 2528 MHz จึงไม่จำต้องตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาดังกล่าว
2. เหตุแห่งความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่วิทยุ 2504 – 2512 2512 – 2520 และ 2520 – 2528 MHz ของกรมประชาสัมพันธ์ได้สิ้นสุดลงแล้วตามข้อ 1. ดังนั้น กรมประชาสัมพันธ์จึงต้องคืนคลื่นความถี่วิทยุ 2504 – 2512 2512 – 2520 และ 2520 – 2528 MHz มายังสำนักงาน กสทช.  เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ.2555) ต่อไป
3.  ให้สำนักงาน กสทช. นำข้อเสนอตามข้อ 1 และข้อ 2 เสนอต่อที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
4.  ให้สำนักงาน กสทช. แจ้งผลการพิจารณาของที่ประชุม กสทช. ตามข้อ 3 ให้  กรมประชาสัมพันธ์ ทราบด้วย
 
หมายเหตุ :                     รับรองมติที่ประชุมของระเบียบวาระที่ 4.11 เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
วาระที่ 4.12                             บทวิเคราะห์การพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่และกำหนดระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ของกิจการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด) (คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์/ กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.)/ กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3 (ปส.3))
 
มติที่ประชุม                        เห็นชอบบทวิเคราะห์การพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่และกำหนดระยะเวลาการ
ถือครองคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ของกิจการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี
ช่อง 3 (บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด) ดังนี้
1.   การเข้าทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีระหว่างบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
2.   อายุสัญญาร่วมดำเนินกิจการมีระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่ วันที่ 26 มีนาคม 2533 และจะสิ้นสุดในวันที่ 25 มีนาคม 2563 จึงเป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2555)
ในยุทธศาสตร์การคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ ข้อ 8.2.1 ที่กำหนดว่า กรณีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่นำคลื่นความถี่ไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดย กสทช. แล้ว ให้คืนคลื่นความถี่เมื่อสิ้นสุดอายุการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา
3.  ให้สำนักงาน กสทช. เสนอต่อที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
 
หมายเหตุ :                        รับรองมติที่ประชุมของระเบียบวาระที่ 4.12 เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการ   ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
วาระที่ 4.13                       เรื่องร้องเรียนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ กรณีขอให้ตรวจสอบรายการถ่ายทอดสดการชุมนุมมวลมหาประชาชน ช่อง Blue sky (กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บส.) เลขานุการคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ)
 
มติที่ประชุม                       ทราบ
 
วาระที่ 4.14                       เรื่องร้องเรียนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ กรณีรายการเจ้าแม่จอมแฉและรายการแฉคดี ช่อง HOT TV ออกอากาศเนื้อหารายการไม่เหมาะสม (กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บส.) เลขานุการคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ)
 
มติที่ประชุม         
1.   ทราบ
2.   ให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังบริษัท ฮอท เน็ทเวิร์ค จำกัด  ให้ระมัดระวังในการออกอากาศ
 
วาระที่ 4.15                        ข้อเสนอแนะของกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา ต่อแนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ (กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บส.) เลขานุการคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ)
 

มติที่ประชุม                       เห็นชอบร่างหนังสือแจ้งตอบคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
 
วาระที่ 4.16                       ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการโฆษณาและการตลาดต่อสิทธิทางวัฒนธรรม  (กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงฯ (รส.))
 
มติที่ประชุม                      มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. โดย มส. นำไปพิจารณา วิเคราะห์พร้อมความเห็น แล้วนำเสนอต่อที่ประชุม กสท. เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
 
วาระที่ 4.17                      กำหนดวันยกเลิกการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กลุ่มงานค่าธรรมเนียมและอัตราค่าบริการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (นส.))
 
มติที่ประชุม                     กำหนดเป็นหลักการให้วันยกเลิกการประกอบกิจการ(วันสิ้นสุดการออกอากาศ) เป็นดังนี้
1. กรณีคำร้องขอยกเลิกการประกอบกิจการมิได้ระบุวันที่จะยกเลิกการประกอบกิจการ(วันสิ้นสุดการออกอากาศ) ไว้  ให้ถือวันที่ที่ประชุม กสท. มีมติ  เป็นวันที่ผู้ประกอบกิจการยกเลิกการประกอบกิจการ (วันสิ้นสุดการออกอากาศ)
2. กรณีคำร้องขอยกเลิกการประกอบกิจการระบุวันที่จะยกเลิกการประกอบกิจการ(วันสิ้นสุดการออกอากาศ) ไว้ในคำร้องขอ ให้ผู้ประกอบกิจการยกเลิกการประกอบกิจการ (สิ้นสุดการออกอากาศ) ตามวันที่ระบุไว้ในคำร้องขอนั้น  เว้นแต่วันที่ระบุไว้ในคำร้องขอถึงก่อนวันที่ที่ประชุม กสท. มีมติ  ให้ถือวันที่ที่ประชุม กสท. มีมติ  เป็นวันยกเลิกการประกอบกิจการ(วันสิ้นสุดการออกอากาศ)”
 
วาระที่ 4.18                    อำนาจของ กสท. และ กทค. ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 (กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.))
 

มติที่ประชุม         
1.   เห็นชอบต่อบทวิเคราะห์และความเห็นของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับอำนาจในการกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ของ กสท. และ กทค. ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.   ให้เสนอผลการวิเคราะห์และความเห็นตามข้อ 1 ต่อที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาต่อไป
 
วาระที่ 4.19                    การปรับปรุงประกาศ กสทช. เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และมอบหมายให้ปฏิบัติการแทน กสทช. ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.))
 

มติที่ประชุม         
1.   เห็นชอบแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมอบหมายให้ปฏิบัติการแทน กสทช. ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2556 ดังนี้
1.1 ให้แต่งตั้ง ลสทช. และ รสทช. ภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และมอบหมายให้ปฏิบัติการ แทน กสทช. ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2556
1.2 ให้แต่งตั้ง อปส.1 พนักงานปฏิบัติการระดับสูง (ก1) ของ ปส.1 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการแทน กสทช.ตามข้อ 10 วรรคท้าย และข้อ 32 วรรคหนึ่ง ของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2556
2.   เห็นชอบให้ปรับปรุงประกาศ กสทช. ว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
3.   ให้สำนักงาน กสทช. นำเสนอต่อที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาขอความเห็นชอบต่อไป
 
หมายเหตุ :                       รับรองมติที่ประชุมของระเบียบวาระที่ 4.19 เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการ   ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
วาระที่ 4.20                       การขยายระยะเวลาและการทบทวนองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการในภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.))
 
มติที่ประชุม         
1.   เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของคณะอนุกรรมการฯ จำนวน 18 คณะ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ออกไปอีก 1 ปี นับตั้งแต่วันที่  8 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นไป (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบท้าย 2)
2.   เห็นชอบให้แก้ไของค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ จำนวน 7 คณะ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบท้าย 3)
 
หมายเหตุ :                        รับรองมติที่ประชุมของระเบียบวาระที่ 4.20 เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการ   ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
วาระที่ 4.21                       การแก้ไของค์ประกอบของคณะอนุกรรมการส่งเสริมบริการด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์อย่างทั่วถึง (กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.))
 
มติที่ประชุม         
1.   อนุมัติให้ พล.ต.ท.นเรศ  นันทโชติ พ้นจาก อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการส่งเสริมบริการด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์อย่างทั่วถึง
2.   อนุมัติให้แต่งตั้ง นายอรรถวุฒิ  วิกิจเศรษฐ เป็นอนุกรรมการฯ แทน พล.ต.ท.นเรศ      นันทโชติ
3.   มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เสนอต่อที่ประชุม กสทช. เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
 
หมายเหตุ :                        รับรองมติที่ประชุมของระเบียบวาระที่ 4.21 เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการ   ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
วาระที่ 4.22                       การแก้ไของค์ประกอบของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชนรบกวนการบิน (กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.))
 
มติที่ประชุม         
1.   อนุมัติให้ขยายระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชนรบกวนการบิน ออกไปอีก 1 ปี
2.   อนุมัติให้ พล.ท.สุรวัช  บุตรวงศ์ พ้นจากการเป็นอนุกรรมการฯ
3.   อนุมัติให้แต่งตั้ง พ.ต.ท.อัครวุฒิ์  หลิมรัตน์ เป็นอนุกรรมการฯ แทน พล.ท.สุรวัช  บุตรวงศ์
 
หมายเหตุ :                       รับรองมติที่ประชุมของระเบียบวาระที่ 4.22 เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการ  ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
วาระที่ 4.23                       ขอขยายอายุและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะทำงานเพื่อรวบรวมคำวินิจฉัยศาลปกครอง (กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (มส.))
 
มติที่ประชุม         
1.   อนุมัติให้ขยายอายุคณะทำงานเพื่อรวบรวมคำวินิจฉัยศาลปกครอง  ออกไปอีก 3 เดือน นับตั้งแต่วันครบวาระ
2.  อนุมัติให้ ผศ. คณาธิป  ทองรวีวงศ์ พ้นจากการเป็นผู้ทำงาน
3.  อนุมติให้แต่งตั้ง รศ.ดร.สุมาลี  วงศ์วิทิต เป็นผู้ทำงาน แทน  ผศ. คณาธิป  ทองรวีวงศ์
 
วาระที่ 4.24                       แต่งตั้งคณะทำงานทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บส.) เลขานุการคณะอนุกรรมการบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์)
 
มติที่ประชุม                     อนุมัติให้แต่งตั้งคณะทำงานทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยให้ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ตามความเห็นในที่ประชุม กสท. แล้วดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป (รายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย 4)
 
วาระที่ 4.25                    การส่งบุคลากรเข้าร่วม ABU Digital Broadcasting Symposium 2014 ระหว่างวันที่ 4 – 7 มีนาคม ณ ประเทศ มาเลเซีย (กลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.))
 
มติที่ประชุม                   อนุมัติให้ส่งบุคลากรที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้เข้าร่วม ABU Digital Broadcasting Symposium 2014 ระหว่างวันที่ 4 – 7 มีนาคม ณ ประเทศ มาเลเซีย
1.  นายโฆษิต  เลาหวิโรจน์  พนักงานปฏิบัติการระดับสูง กลุ่มงานมาตรฐานและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ (ทส.)
2.  นายชินประภา  ปิ่นแก้ว  พนักงานปฏิบัติการระดับต้น กลุ่มงานมาตรฐานและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ (ทส.)
3.  นางสาวรพีพร  บัวหอม  พนักงานปฏิบัติการระดับต้น กลุ่มงานมาตรฐานและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ (ทส.)
4.  นางสาวพิมพ์ชนก  นามสวาท  พนักงานปฏิบัติการระดับต้น กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิทัล
5.  นายนพคุณ  ยะวัน  พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์เคลื่อนที่ และโทรทัศน์ในระบบไอพี
6.  นายชาญณรงค์  มหาราต  พนักงานปฏิบัติการระดับสูง กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 2
7.  นายมัทฐิชัย  พับบรรจง  พนักงานปฏิบัติการระดับต้น กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3
 
วาระที่ 4.26                       ร่างประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์กำกับดูแลการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จำนวน 2 ฉบับ (กลุ่มงานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับ      ดูแลตนเอง (สส.))
 
มติที่ประชุม         
1.   เห็นชอบในหลักการตาม ร่าง ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้องในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน พ.ศ. .... และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาและกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อแก้ไขผลที่เกิดจากพฤติกรรมอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ....
2. มอบหมายทีมที่ปรึกษาโครงการฯ  นำร่างประกาศ กสทช. ตามข้อ 1 เข้าหารือกับคณะกรรมการ กสท.แต่ละท่านเพื่อพิจารณาปรับปรุงและ/หรือเพิ่มเติมประเด็นต่าง ๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์    แล้วเสนอต่อที่ประชุม กสท.ในการประชุมคราวถัดไป (วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์  2557)
 
หมายเหตุ                         รับรองมติที่ประชุมของระเบียบวาระที่ 4.26 เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
วาระที่ 4.27                     การเดินทางเข้าร่วมงาน ITU Asia-Pacific Centres of Exellence Training Digital Broadcasting Technologies และประชุมกับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคระหว่างประเทศ (Consumer International : CI) ระหว่างวันที่ 4 – 8 กุมภาพันธ์ 2557 ณ เมืองนิวเดลีและเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย (ส่วนงาน กสทช.สุภิญญา  กลางณรงค์)
 
มติที่ประชุม         
1.   เห็นชอบให้ผู้มีรายชื่อดังต่อไปนี้เป็นผู้ติดตามในการเดินทางเข้าร่วมงาน ITU Asia-Pacific Centres of Exellence Training Digital Broadcasting Technologies  และประชุมกับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคระหว่างประเทศ (Consumer International : CI) ระหว่างวันที่ 4 – 8 กุมภาพันธ์ 2557 ณ เมือง
นิวเดลีและเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย
1.1  นายสุเทพ  วิไลเลิศ  ผู้ช่วยเลขานุการ กสทช.สุภิญญาฯ
1.2  นางพลินี  เสริมสินสิริ  ผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช.สุภิญญาฯ
2.  เห็นชอบให้นายตรี  บุญเจือ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (รส.) เป็นผู้ติดตามในการเดินทางไปร่วมประชุม กับ CI ณ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557
3. ให้สำนักงาน กสทช. รวบรวมสถิติการเดินทางไปเข้าร่วมประชุม อบรม หรือศึกษาดูงานต่างประเทศของพนักงานและลูกจ้าง สังกัด ภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ เสนอต่อที่ประชุม กสท.
เพื่อทราบ"
 
หมายเหตุ :                      รับรองมติที่ประชุมของระเบียบวาระที่ 4.27 เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการ  ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
ระเบียบวาระที่ 5                เรื่องอื่นๆ
                                          ไม่มี
                               
เลิกประชุมเวลา                 13.40 น.
 

สร้างโดย  -   (4/4/2559 15:33:38)

Download

Page views: 432