สรุปมติที่ประชุม กสท. 16/2555

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ครั้งที่ 16/2555
วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2555 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ


ผู้เข้าร่วมประชุม
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

1. พันเอก ดร.นที                      ศุกลรัตน์               ประธานกรรมการ
2. พลโท ดร. พีระพงษ์               มานะกิจ                กรรมการ
3. พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์             งามสง่า                 กรรมการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย  จิตรภาษ์นันท์         กรรมการ
5. นางสาวสุภิญญา                    กลางณรงค์            กรรมการ
6. นายประเสริฐ                        อภิปุญญา              เลขานุการรองเลขาธิการ กสทช.
7. นางสาวมณีรัตน์                    กำจรกิจการ            ผู้ช่วยเลขานุการ
8. นางสาวกอกนก                    กิจบาลจ่าย             ผู้ช่วยเลขานุการรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานอำนวยการ                                                                        ภารกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์
9. นางสาวนนทรี                     เหมทานนท์              ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้บริหารระดับต้น 
 
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.                                        
1. นายสมศักดิ์       สิริพัฒนากุล          รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์ และวิทยุใน                                                         ระบบดิจิตอล
2. นายสมบัติ        ลีลาพตะ               รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์
3. นางปริตา         วงศ์ชุตินาท            รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานมาตรฐานและเทคโนโลยีกระจายเสียงและ                                                    โทรทัศน์
4. นางรมิดา         จรินทิพย์พิทักษ์      รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแลตนเอง
5. นายพสุ            ศรีหิรัญ                รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรกิจการ                                                            กระจายเสียงและโทรทัศน์
6. นายภูษิต          มุ่งมานะกิจ           ผู้บริหารระดับต้น
7. นายภูมิภัส         พลการ                พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
8. นายสุภัทรสิทธิ์   สวนสุข                พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
9. นางสาววรณัน     บุญอภิรักษา         พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
10.นางสาวทิวาพร   ทองเล็ก               พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
11.นางสาวนารีรัตน์  เมธีกุล                 พนักงานตามสัญญาจ้าง
 
เริ่มประชุม                   09.40 น.
ระเบียบวาระที่ 1            เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

1. ประธาน กสท. (พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์) เปิดประชุม และแจ้งที่ประชุมทราบดังนี้
1.1 ประธาน กสท. (พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์) มีกำหนดการเดินทางศึกษาดูงานต่างประเทศตามข้อกำหนดของการศึกษาในหลักสูตรวิทยาลัยตลาดทุน ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2555 ดังนั้น หากในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีภารกิจสำคัญ หรือมีความจำเป็นต้องจัดประชุมเป็นการเร่งด่วน ขอให้กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ทั้ง 4 ท่าน พิจารณาเลือกกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ท่านใดท่านหนึ่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน กสท. ทั้งนี้ สำหรับในวันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2555 ซึ่งจะมีการแถลงผลการดำเนินงานของ กสท. ในช่วง  6 เดือนที่ผ่านมา ขอให้ กสท. พลโท ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน กสท. เพื่อแถลงผลการดำเนินงานดังกล่าว
1.2 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555 มีการประชุมร่วมระหว่างคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล และคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งการประชุมดังกล่าวแสดงถึงความคืบหน้าในการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลตามแนวนโยบายการกำหนดมาตรฐานการรับส่งสัญญาณวิทยุในระบบดิจิตอลของ กสท.
1.3 ขอให้เร่งรัดเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาตสำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ โดยจัดทำร่างหลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน
2. กสท. พลโท ดร. พีระพงษ์  มานะกิจ แจ้งที่ประชุม ดังนี้
2.1 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555 (ช่วงบ่าย) ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการเป็นครั้งแรก โดยได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่ค้างการพิจารณาจำนวนประมาณ 60 เรื่อง จากการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ทำให้ได้ทราบว่ากระบวนการรับเรื่องร้องเรียนยังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน เนื่องจากมีเรื่องร้องเรียนเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้สืบค้นรายละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณา และเรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ดาวเทียม ซึ่งทางฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ จะจัดทำระเบียบวาระเพื่อนำเสนอ กสท. พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป นอกจากนี้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ ไม่มีความชำนาญในเรื่องผังรายการและเนื้อหารายการ ดังนั้น จึงขอหารือกับที่ประชุมเพื่อจะขอเชิญเจ้าหน้าที่จากกรมประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาช่วยสนับสนุนข้อมูลและให้คำปรึกษาเพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 สำหรับการให้ข้อมูลต่อสาธารณะ เห็นควรชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการในการพิจารณา ให้ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ได้รับทราบข่าวสารสามารถเข้าใจและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน
3. กสท. พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์ งามสง่า แจ้งที่ประชุมเกี่ยวกับการจัดอบรมหลักสูตร การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555 ณ จังหวัดหนองคาย ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการชั่วคราวของวิทยุกระจายเสียง นอกจากนี้ ยังได้รับคำชมเชยและคำขอบคุณจากผู้เข้าร่วมการอบรมว่าได้รับประโยชน์จากการอบรม และทำให้มีความเข้าใจในข้อกฎหมาย   เพิ่มมากขึ้น
4. กสท. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ แจ้งที่ประชุม ดังนี้
4.1 วันนี้ (วันที่ 30 เมษายน 2555) จะเดินทางไปดูงานที่บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (สำนักงาน อย.)โดยจะมีการหารือเกี่ยวกับการเผยแพร่ภาพทางโทรทัศน์ดาวเทียม หากผลการหารือเป็นอย่างไรจะแจ้งที่ประชุม กสท. เพื่อทราบต่อไป
4.2 เมื่อวันที่ 26 – 27 เมษายน 2555 กสท. สุภิญญา กลางณรงค์ และ กสท. ผศ.ดร. ธวัชชัย     จิตรภาษ์นันท์ ได้เดินทางไปจังหวัดภูเก็ต เพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการสถานีวิทยุ 1 ปณ. ในการให้บริการประชาชนกรณีภัยพิบัติ โดยจะสรุปผลการหารือพร้อมแนวทางการจัดทำร่างประกาศฯ กรณีภัยพิบัติ เสนอที่ประชุม กสท. อีกครั้งหนึ่ง

มติที่ประชุม              ทราบ
 
ระเบียบวาระที่ 2         เรื่องรับรองรายงานการประชุม
รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 15/2555 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2555

มติที่ประชุม               รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 15/2555 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2555 โดยมีข้อแก้ไข
1. ระเบียบวาระที่ 4.5 เห็นควรเพิ่มเติมมติที่ประชุมเป็นดังนี้
“1. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.แจ้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประสานไปยังบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้ระงับการเผยแพร่ออกอากาศการโฆษณาผลิตภัณฑ์เอนไซม์เจนิฟู๊ด ซันคลาร่า และเกร๊กคู ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้พิจารณาไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
2. ให้แจ้งระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เอนไซม์เจนิฟู๊ด ซันคลาร่า และเกร๊กคู ไปยังผู้ประกอบกิจการช่องดาวเทียม ผู้ประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (เคเบิลทีวี) ที่ได้มาขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงาน กสทช. รวมไปถึงสถานีโทรทัศน์ที่เป็นผู้ประกอบกิจการรายเดิม ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้พิจารณาไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. กรณีที่พบว่ามีการโฆษณาในลักษณะที่มีเนื้อหาเข้าข่ายโอ้อวดเกินจริง และฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมีสถานภาพอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดี โดยผลทางคดียังไม่ถึงที่สิ้นสุด เห็นควรกำหนดเป็นหลักการให้พิจารณาระงับการออกอากาศโฆษณาที่มีลักษณะดังกล่าวไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด”
2. ระเบียบวาระที่ 1  ข้อ 3 (1) ให้ปรับแก้เป็น “วันที่ 26 เมษายน 2555 จะเดินทางร่วมกับ กสท. ผศ.ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ เพื่อประชุมและหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และส่วนงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดภูเก็ต เพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการสถานีวิทยุ 1 ปณ. ในการให้บริการประชาชนกรณีภัยพิบัติ รวมถึงการรับฟังแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลบริหารจัดการในช่วงภัยพิบัติเพื่อนำมาพิจารณาจัดทำร่างประกาศฯ ต่อไป”
 
ระเบียบวาระที่ 3         เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 3.1      รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กสท. ครั้งที่ 15/2555 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2555

                   
มติที่ประชุม              ทราบ
 
ระเบียบวาระที่ 3.2      รายงานการประชุมร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่มีมาตรฐานในระดับสากลในต่างประเทศ ณ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 8 – 19 เมษายน 2555 (กลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์)
                   
มติที่ประชุม              ทราบ
 
ระเบียบวาระที่ 3.3     สรุปการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง “การส่งเสริมการรวมกลุ่ม ระหว่าง กสทช. กับ ผู้ประกอบการด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์” (กลุ่มงานพัฒนาองค์กรวิชาชีพ)
                   
มติที่ประชุม              ทราบ
 
ระเบียบวาระที่ 4         เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.1      ร่างบันทึกข้อตกลง เรื่อง การกำกับดูแลโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรือมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (MOU)(กสทช.สุภิญญาฯ /กลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์)

                       
มติที่ประชุม               เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลง เรื่อง การกำกับดูแลโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรือมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (MOU) โดยรองเลขาธิการ กสทช. จะเป็นผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ดังกล่าว ในฐานะปฏิบัติการแทน เลขาธิการ กสทช. พร้อมทั้งจะมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ร่วมเป็นพยาน นอกจากนี้ เห็นควรเชิญประธาน กสทช. และ กสทช. ท่านอื่นเข้าร่วมเป็นพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ดังกล่าวด้วย
 
ระเบียบวาระที่ 4.2      การระงับการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) (กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 1)
                       
มติที่ประชุม              เห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงบริการชุมชน โดยให้ชะลอการรับและพิจารณาแบบคำขอใบอนุญาตตามประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ทั้งนี้ จนกว่าการประกาศกำหนดแผนความถี่วิทยุพร้อมหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จหรือจนกว่า กสท. จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และมอบหมายให้แจ้งผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตฯ เพื่อทราบ พร้อมทั้งให้เร่งรัดจัดทำมาตรการชั่วคราวของกิจการวิทยุกระจายเสียงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
 
ระเบียบวาระที่ 4.3        การเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการพัฒนาวิชาชีพกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กลุ่มงานพัฒนาองค์กรวิชาชีพ)
    
ระเบียบวาระที่ 4.4        การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการส่งเสริมและกำกับดูแลการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กลุ่มงานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแลตนเอง)

มติที่ประชุม                เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการส่งเสริมและกำกับดูแลการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ดังนี้
1. ให้ ดร. พัฒนาพร  โกวพัฒนกิจ  พ้นจากการเป็นอนุกรรมการ โดย กสท. ผศ.ดร. ธวัชชัยฯ รับรองและยืนยันว่าการให้พ้นจากการเป็นอนุกรรมการดังกล่าว ไม่ส่งผลให้เกิดประเด็นปัญหาในอนาคต
2. ให้ นายคัมภีร์  สิทธิโห  พ้นจากการเป็นอนุกรรมการ โดย กสท. พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์ฯ รับรองและยืนยันว่าการให้พ้นจากการเป็นอนุกรรมการดังกล่าว ไม่ส่งผลให้เกิดประเด็นปัญหาในอนาคต
3. ให้ นางชฎาพร  ศรีคชา เป็นอนุกรรมการ ซึ่งได้ลาออกจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) แล้ว และจากการตรวจสอบปรากฏว่าไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามมาตรา 7 ข (1) – (11) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
4. ให้ ดร. เขมรัฐ  เถลิงศรี เป็นอนุกรรมการ โดยจากการตรวจสอบปรากฏว่าไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามมาตรา 7 ข (1) – (11) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
                ทั้งนี้ให้รวบรวมองค์ประกอบ/รายชื่ออนุกรรมการ พร้อมรายละเอียดข้อมูลประวัติ และคุณสมบัติของอนุกรรมการดังกล่าว เสนอให้ที่ประชุม กสทช. พิจารณาอนุมัติและมอบหมายให้ กสท. เป็นผู้ดำเนินการแต่งตั้งต่อไป โดยอ้างมติของ กสทช. ครั้งที่อนุมัติ และในการลงนามนั้นให้ผู้ลงนามระบุด้วยว่าปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน กสทช.
 
ระเบียบวาระที่ 4.5            การพิจารณามาตรฐานการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลตามแนวนโยบายการกำหนดมาตรฐานการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ของ กสท. (กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิทัล (จส.) /กลุ่มงานมาตรฐานและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ (ทส.) และกลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.))
มติที่ประชุม   
1. เห็นชอบในหลักการตามผลการประชุมร่วมของคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล และคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งพิจารณาความสอดคล้องของมาตรฐานวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอลกับแนวนโยบายการกำหนดมาตรฐานการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลของ กสท. สรุป ดังนี้
1.1 มาตรฐาน DVB-T2 มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกว่ามาตรฐานอื่นๆ ดังต่อไปนี้
(1) ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยี และความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ในอนาคตเพื่อรองรับกับการพัฒนาของเทคโนโลยี อันอาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชน
(2) การใช้คลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน (Spectrum Efficiency)
(3) จำนวนช่องรายการโทรทัศน์ควรมีมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาการในกิจการโทรทัศน์ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
(4) จำนวนช่องรายการโทรทัศน์มีมากเพียงพอที่จะจัดสรรให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน มีช่องทางในการประกอบกิจการสื่อสารมวลชน เพื่อส่งเสริมการแข่งขันและโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะที่มาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
(5) นโยบายภาครัฐ พันธกรณีระหว่างประเทศ และความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน
1.2 มาตรฐาน ISDB-T มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกว่ามาตรฐานอื่นๆ คือ การรองรับการพัฒนาการให้บริการรูปแบบต่างๆ รวมถึง Emergency Warning System : EWS
1.3 มาตรฐาน DVB-T2 และมาตรฐาน ISDB-T มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกว่ามาตรฐานอื่นๆ คือ ความสามารถในการรองรับบริการได้หลากหลาย รวมถึง บริการที่มีความคมชัดมาตรฐาน (Standard Definition) และบริการที่มีความคมชัดสูง (High Definition)
1.4 มาตรฐาน DVB-T2 และมาตรฐาน DTMB มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกว่ามาตรฐานอื่นๆ คือ มีการใช้งานมากเพียงพอที่จะนำไปสู่การผลิตจำนวนมาก (Economy of Scale) ที่จะส่งผลต่อราคาของอุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Set-Top-Box : STB) และเครื่องรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (integrated Digital Television : iDTV) ทำให้มีราคาที่เหมาะสมและไม่เกิดภาระแก่ประชาชนเกินควร
                      อนึ่ง ที่ประชุมมีความเห็นเพิ่มเติมจากผลการพิจารณาร่วมของคณะอนุกรรมการดังกล่าวในประเด็นต่างๆ ดังนี้
(1) ประเด็นเรื่องการใช้งานมากเพียงพอที่จะนำไปสู่การผลิตจำนวนมาก (Economy of Scale) ที่ประชุมเห็นควรให้ความสำคัญกับแนวโน้มการใช้งานมากเพียงพอที่จะส่งผลต่อราคาของอุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลและเครื่องรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ปัจจุบันมาตรฐาน DVB-Tเป็นมาตรฐานที่มีจำนวนการใช้งานมาก และในส่วนผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ ในประเด็นนี้ ที่ประชุมเห็นว่ามาตรฐาน DVB-T มีระดับการประเมินอยู่ในระดับดีมาก เช่นเดียวกับมาตรฐาน DTMB และ DVB-T2
(2) ประเด็นเรื่องนโยบายภาครัฐ พันธกรณีระหว่างประเทศ และความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ ในประเด็นนี้เห็นว่า มาตรฐาน DVB-T2 ซึ่งได้รับการรับรองตามข้อตกลงของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน (AMRI) อยู่ในระดับดีมาก ส่วนมาตรฐาน DVB-T อยู่ในเกณฑ์พอใช้  ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นต่างจากผลการประชุมคณะอนุกรรมการฯ โดยเห็นว่ามาตรฐาน DVB-T มีระดับการประเมินอยู่ในระดับดี เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่ได้รับการรับรองตามข้อตกลงของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน (AMRI) เช่นกัน
2. เห็นชอบรับรองให้มาตรฐาน DVB-T2 เป็นมาตรฐานการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน (Digital Terrestrial Television) ของประเทศไทย เพื่อนำไปกำหนดในแผนการปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลซึ่งจะเป็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ ประเด็นนโยบายการรองรับการพัฒนาการให้บริการรูปแบบต่างๆ รวมถึง Emergency Warning System : EWS ที่ประชุมเห็นว่ามาตรฐาน  ISDB-T มีความสอดคล้องกับนโยบายนี้ในระดับดีมาก แต่มาตรฐานอื่นก็สามารถรองรับระบบ Emergency Warning System : EWS ได้ ดังนั้น แม้ว่าที่ประชุมไม่ได้รับรองมาตรฐาน ISDB-T แต่ก็ควรกำหนดให้มาตรฐานที่ได้รับการรับรองต้องมีระบบ Emergency Warning System : EWS และต้องมีมาตรการอื่นเพิ่มเติมในเรื่อง Emergency Warning System และมีการสร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนเพื่อให้มีความพร้อมกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้
3. เห็นชอบแนวทางดำเนินการ
3.1 เพื่อให้การดำเนินการรับรองมาตรฐานการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ดิจิตอลภาคพื้นดิน (Digital Terrestrial Television) ก่อนนำไปกำหนดในแผนการปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ตามมติข้อ 1 และ 2 สอดคล้องกับแนวนโยบายรัฐบาล จึงเห็นควรให้นำเสนอมติที่ประชุมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ก่อนเผยแพร่ข้อมูลพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมดต่อสาธารณะ ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นทุกกระบวนการแล้วให้นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุม กสทช. เพื่อทราบ และเปิดเผยมติที่ประชุมต่อสาธารณะ ทั้งนี้ การดำเนินการให้เป็นไปตามระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ และมติที่เกี่ยวข้อง
3.2 มอบหมายให้คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล เร่งรัดจัดทำแผนการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอลโดยเร็ว โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ และดำเนินกระบวนการที่เกี่ยวข้องด้วยความโปร่งใส เป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน
3.3 เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ที่ประชุมเห็นควรให้กำชับมิให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลหรือผลการประชุมจนกว่าจะได้มีการสรุปและดำเนินการในทุกกระบวนการโดยครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อได้ผ่านการรับทราบของคณะรัฐมนตรีก่อนแล้วเสร็จ

หมายเหตุ                  ระเบียบวาระนี้ได้ผ่านการรับรองแล้ว ตามบันทึกของประธาน กสท. ลงวันที่ 30 เมษายน 2555
 
ระเบียบวาระที่ 5         เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่ 5.1      การขอรับจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียง เพื่อกิจการขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) (กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ)


มติที่ประชุม              เห็นชอบตามหลักการและความเห็นของคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงบริการสาธารณะ โดยให้สำนักงาน กสทช. แจ้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ว่ายังไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงฯ ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาประกาศหลักเกณฑ์ว่าด้วยการพิจารณาอนุญาตให้ประกอบกิจการและการใช้คลื่นความถี่ และแผนความถี่วิทยุเพื่อประกอบการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อให้บริการกระจายเสียงแก่ผู้ได้รับอนุญาต
 
ระเบียบวาระที่ 5.2        การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบรายชื่อคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติงานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสทช. พลโท ดร. พีระพงษ์ฯ/ฝ่ายเลขานุการ)
                   
มติที่ประชุม                 เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติงานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ดังนี้
1. คณะอนุกรรมการพัฒนาวิชาชีพกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เปลี่ยนจาก “พลเอก ดร.ธงชัย เกื้อสกุล” เป็น “ดร. วิชัย พยัคฆโส” โดย กสท. พลโท ดร. พีระพงษ์ฯ รับรองและยืนยันว่าการให้ พลเอก ดร. ธงชัย เกื้อสกุล พ้นจากการเป็นอนุกรรมการดังกล่าว ไม่ส่งผลให้เกิดประเด็นปัญหาในอนาคต
2 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง เปลี่ยนจาก “ดร.วิชัย พยัคฆโส” เป็น   “นายศักดิ์ดา แสงสนิท” โดย กสท. พลโท ดร. พีระพงษ์ฯ รับรองคุณสมบัติของ นายศักดิ์ดา แสงสนิท ว่าไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามมาตรา 7 ข (1) – (11) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553     โดยให้รวบรวมองค์ประกอบ/รายชื่ออนุกรรมการ พร้อมรายละเอียดข้อมูลประวัติ และคุณสมบัติ   ของอนุกรรมการดังกล่าว เสนอให้ที่ประชุม กสทช. พิจารณาอนุมัติและมอบหมายให้ กสท. เป็นผู้ดำเนินการแต่งตั้งต่อไป โดยอ้างมติของ กสทช . ครั้งที่อนุมัติ และในการลงนามนั้นให้ผู้ลงนามระบุด้วยว่าปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน กสทช.
 
ระเบียบวาระที่ 5.3           เรื่อง หลักการและแนวปฏิบัติการศึกษาดูงานต่างประเทศของ กสท.
มติที่ประชุม  ยังไม่พิจารณารับรองมติที่ประชุมระเบียบวาระที่ 5.3

 
 เลิกประชุมเวลา           11.10 น.

สร้างโดย  -   (12/4/2559 11:35:03)

Download

Page views: 95