สรุปมติที่ประชุม กสท. 23/2556

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ครั้งที่ 23/2556
วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2556 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 
ผู้เข้าร่วมประชุม
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

1.   พันเอก ดร.นที                      ศุกลรัตน์                ประธานกรรมการ
2.   พลโท ดร.พีระพงษ์                มานะกิจ                 กรรมการ
3.   พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์             งามสง่า                  กรรมการ
4.   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย  จิตรภาษ์นันท์          กรรมการ
5.   นางสาวสุภิญญา               กลางณรงค์             กรรมการ
6.   นายฐากร                        ตัณฑสิทธิ์              เลขาธิการ กสทช.
7.   พันตรี โกเมธ                   ประทีปทอง            ผู้ช่วยเลขานุการผู้อำนวยการกลุ่มงานกรรมการกิจการกระจาย                                                                                  เสียงและกิจการโทรทัศน์ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการ กสท.
8.   นางสาวกอกนก                กิจบาลจ่าย             ผู้ช่วยเลขานุการผู้อำนวยการกลุ่มงานอำนวยการภารกิจกระจาย                                                                                เสียงและโทรทัศน์
9.  นางสาวมณีรัตน์                 กำจรกิจการ           ผู้ช่วยเลขานุการผู้อำนวยการกลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 1 – 3
10. นางสาวนนทรี                  เหมทานนท์            ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารระดับต้น กลุ่มงานกรรมการกิจการกระจายเสียง                                                                     และกิจการโทรทัศน์
 
ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม
1.  นายสมบัติ   ลีลาพตะ     ติดภารกิจ      ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์
 
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1.  นางสาวนงลักษณ์  วัชระเกียรติพงษ์        เลขานุการประธาน กสท.
2.  นายกีรติ              อาภาพันธุ์                ผู้อำนวยการกลุ่มงานค่าธรรมเนียมและอัตราค่าบริการในกิจการกระจายเสียง                                                                และกิจการโทรทัศน์
3.  นายสมศักดิ์         สิริพัฒนกุล               ผู้อำนวยการกลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิตอล
4.  นางกนกวรรณ      ศรีชัยชนะ                 พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
5.  นายเมธา            จันทร์หล้าฟ้า              พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6.  นางสาวทิวาพร     ทองเล็ก                    พนักงานปฏิบัติงานระดับกลาง
7.  นายปัญญ์           จันทร์ลออ                 พนักงานตามสัญญาจ้าง
8.  นายวิชิตโชค        อินทร์เอียด                พนักงานตามสัญญาจ้าง
9.  นางสาววันทนีย์     วริยานันทกุล              พนักงานตามสัญญาจ้าง
10.นายเอกนรินทร์      ยุพาพิน                    พนักงานตามสัญญาจ้าง
11.นางสาวพิมพ์ชนก   นาคสวาท                 พนักงานตามสัญญาจ้าง
12.นางนันท์นภัส        ปัญญา                     พนักงานตามสัญญาจ้าง
13.นางสาวภรภัทร      พิริยานสรณ์               พนักงานตามสัญญาจ้าง
 
เริ่มประชุม     09.30 น.
ระเบียบวาระที่ 1    :   เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.   ประธาน กสท. (พันเอก ดร.นที  ศุกลรัตน์) กล่าวเปิดประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
1.1 เมื่อวันที่ 13-14 มิถุนายน 2556 ได้เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Go Digital Workshop: DVB-T2 Implementation ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค กรุงเทพฯ และกล่าวขอบคุณสำนักงาน กสทช. ที่ดำเนินงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
1.2 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2556 ได้เปิดการประชุมกลุ่มย่อย(Focus Group) ต่อ(ร่าง)ประกาศ  กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... ณ โรงแรม เดอะ โกศล กรุงเทพฯ ซึ่งได้รับข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ จึงขอให้สำนักงาน กสทช. นำไปประกอบในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเป็นการทั่วไป
1.3 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556 สำนักงาน กสทช.ได้จัดให้มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเรียงช่องรายการของกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค กรุงเทพฯ อันเป็นการให้ความรู้เพิ่มเติมกับผู้ประกอบการกิจการโทรทัศน์ประเภทที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ และกล่าวขอบคุณสำนักงาน กสทช.ที่ได้ดำเนินการด้วยความเรียบร้อย
2.   กสทช. พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์   งามสง่า แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ได้เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการสร้างเครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ณ โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีผู้เข้าอบรมประมาณ 150 คน เป็นตัวแทนของอัยการ ทหาร ตำรวจ และศุลกากร ซึ่งให้ความสนใจเป็นอย่างดี
3.   กสทช. พลโท ดร.พีระพงษ์   มานะกิจ แจ้งให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
3.1 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 ได้เดินทางไปหารือถึงความร่วมมือทางวิชาการกับทางมหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีความเชี่ยวชาญเรื่อง terrorism และมีผลงานวิจัยที่สามารถนำมาใช้กับคณะอนุกรรมการสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ซึ่งมีความก้าวหน้ามาก และจะทำโครงการเสนอต่อที่ประชุม กสท. ต่อไป
3.2 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ได้เข้าเยี่ยมชมสถานีวิทยุชุมชนที่ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทางรัฐบาลเปิดให้ชนกลุ่มน้อย (คนไทย) ทำการกระจายเสียง ซึ่งตอนนี้ได้บันทึกรายการเพื่อออกอากาศ เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็็็H็นต่างๆ เช่น ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์, เกณฑ์การบังคับใช้เรื่องผังและเนื้อหารายการฯ และการชุมนุมทางการเมือง
4.   กสทช. ผศ. ดร.ธวัชชัย  จิตรภาษ์นันท์ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าเมื่อวันที่ 13-14 มิถุนายน 2556  ได้เป็นประธานเปิดการอบรมวิชาชีพ สำหรับวิทยุชุมชน ที่จังหวัดขอนแก่น 
มติที่ประชุม    ทราบ
ระเบียบวาระที่ 2   :  เรื่องรับรองรายงานการประชุม
     รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่   22/2556 เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2556 (ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กส.))  ที่ประชุมได้พิจารณาร่างรายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ครั้งที่ 22/2556 เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2556 แล้ว เห็นควรแก้ไขมติที่ประชุมของระเบียบวาระที่ 4.2 ข้อ 3. เป็นดังนี้  “3. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับหลักการและข้อเสนอแนะตามข้อ 1 และข้อ 2 กำหนดเป็นประกาศ กสทช. เกี่ยวกับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เพื่อบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ ให้ดำเนินการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขอทดลองประกอบกิจการ ตามข้อ 1 เมื่อร่างประกาศ กสทช. เกี่ยวกับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงดังกล่าวมีผลใช้บังคับทางกฎหมาย” 
มติที่ประชุม   รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 22/2556 เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2556 โดยมีข้อแก้ไข
ระเบียบวาระที่ 3   :  เรื่องเพื่อทราบ
วาระที่ 3.1   :  รายงานการดำเนินงานตามมติ กสท. ครั้งที่ 22/2556 เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2556 (ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.))                  
มติที่ประชุม   ทราบ         
วาระที่ 3.2   :  การประชาสัมพันธ์การยื่นแบบคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงของสถานีวิทยุที่มีการขอขยายระยะเวลาการยื่นขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง (กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 1 (ปส.1)) 
มติที่ประชุม   ทราบ  และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (ปส.1) ไปตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในเอกสารประชาสัมพันธ์  เงื่อนไขของกิจการบริการสาธารณะ และเงื่อนไขของกิจการบริการชุมชนตามข้อสังเกตของ กสทช. สุภิญญา  กลางณรงค์  
วาระที่ 3.3   :  สรุปผลการจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี สำหรับวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 (กลุ่มงานค่าธรรมเนียมและอัตราค่าบริการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (นส.)) 
มติที่ประชุม  ทราบ 
วาระที่ 3.4   :  การเดินทางเข้าร่วมบรรยายในงานสัมมนา ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย  (กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์) 
มติที่ประชุม  ทราบ
ระเบียบวาระที่ 4   :  เรื่องเพื่อพิจารณา
วาระที่ 4.1   :  การพิจารณาคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2556 (กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 1 (ปส.1))
มติที่ประชุม  เห็นชอบตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยมีผู้ได้รับสิทธิทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง รวมจำนวนทั้งสิ้น 93 ราย ดังปรากฏรายชื่อตามบัญชีแนบท้ายเอกสาร 1 
วาระที่ 4.2   :  พิจารณาทบทวนความเห็นต่อความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่และกำหนดระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่ของกิจการโทรทัศน์ (กลุ่มงานการอนุญาตประกอบกิจการ 3 (ปส.3))
มติที่ประชุม   ให้รวมพิจารณากับระเบียบวาระที่ 4.3 ถึงระเบียบวาระที่ 4.6
หมายเหตุ :   กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ ให้ข้อสังเกตและสงวนความเห็นเกี่ยวกับกรณีการออกอากาศคู่ขนาน (Simulcast) ในระบบดิจิตอล โดยได้ทำบันทึกความเห็นประกอบเพิ่มเติมตามที่แนบ
วาระที่ 4.3   :  ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการประกอบกิจการโทรทัศน์สำหรับการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ 
ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของกองทัพบกโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิตอล (จส.))
มติที่ประชุม   ให้รวมพิจารณากับระเบียบวาระที่ 4.2 ระเบียบวาระที่ 4.4  ถึงระเบียบวาระที่ 4.6
วาระที่ 4.4   :  ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการประกอบกิจการโทรทัศน์สำหรับการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิตอล (จส.))
มติที่ประชุม  ให้รวมพิจารณากับระเบียบวาระที่ 4.2 ระเบียบวาระที่ 4.3 ระเบียบวาระที่ 4.5 และระเบียบวาระที่ 4.6
วาระที่ 4.5   :  ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการประกอบกิจการโทรทัศน์สำหรับการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของกรมประชาสัมพันธ์  (กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิตอล (จส.))
มติที่ประชุม   ให้รวมพิจารณากับระเบียบวาระที่ 4.2 ถึงระเบียบวาระที่ 4.4 และระเบียบวาระที่ 4.6
วาระที่ 4.6   :  ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการประกอบกิจการโทรทัศน์สำหรับการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย  (กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิตอล (จส.))
มติที่ประชุม  ให้รวมพิจารณากับระเบียบวาระที่ 4.2 ถึงระเบียบวาระที่ 4.5  ที่ประชุม กสท. ได้รวมพิจารณาเรื่อง 
ความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่และกำหนดระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่ของกิจการโทรทัศน์ ตามระเบียบวาระที่ 4.2 และเรื่องผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการประกอบกิจการโทรทัศน์สำหรับการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของกองทัพบกโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)  
กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ตามระเบียบวาระที่ 4.3 ระเบียบวาระที่ 4.4 ระเบียบวาระที่ 4.5 และระเบียบวาระที่ 4.6  แล้วมีมติ ดังนี้
1.  เห็นชอบผลการพิจารณาการตรวจสอบความชอบด้วยสถานะภาพตามกฎหมาย และความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5)  กองทัพบก สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11)กรมประชาสัมพันธ์ และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย(ไทยพีบีเอส) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่เสนอ โดยพิจารณาถึงประโยชน์สาธารณะ ความจำเป็นของการประกอบกิจการ และการใช้คลื่นความถี่ จึงเห็นควรกำหนดระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่ และการคืนคลื่นความถี่ ดังนี้
1.1 กรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) กองทัพบก  สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) กรมประชาสัมพันธ์ เห็นควรกำหนดระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่เพื่อใช้ในการประกอบกิจการโทรทัศน์ภายใต้บทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 74 โดยกำหนดให้คืนคลื่นความถี่ตามมาตรา 83 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ กสทช. มีมติเห็นชอบการกำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นความถี่ 
ตามที่แจ้งความประสงค์ไว้กับคณะกรรมการ  
1.1.1 ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก(ช่อง 5) กองทัพบก นำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการโทรทัศน์จากรูปแบบเดิมไปสู่การประกอบกิจการโทรทัศน์ บริการสาธารณะ ประเภทที่สอง ตามมาตรา 10
(1) (ข) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ต่อ กสท. เพื่อพิจารณาภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่มีมติ 
โดยแผนดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดของการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต
1.1.2 ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) กรมประชาสัมพันธ์ ตามข้อ 1.1
(2) นำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการโทรทัศน์จากรูปแบบเดิมไปสู่การประกอบกิจการโทรทัศน์ บริการสาธารณะ ประเภทที่สาม ตามมาตรา 10
(3) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ต่อ กสท. เพื่อพิจารณาภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่มีมติ โดยแผนดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดของการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต
1.2 กรณีสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย(ไทยพีบีเอส) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) 
เห็นควรกำหนดระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่เพื่อใช้ในการประกอบกิจการโทรทัศน์ตามมาตรา 88 และกำหนดให้คืนคลื่นความถี่ตามมาตรา 83  วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ภายในระยะเวลาการอนุญาตให้ประกอบกิจการและใช้คลื่นความถี่ที่เหลืออยู่
2. เห็นชอบผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการประกอบกิจการโทรทัศน์สำหรับการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของกองทัพบก บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)  กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) และเพื่อประโยชน์ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลของประเทศไทย และประโยชน์สาธารณะอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควร
2.1 อนุญาตให้กองทัพบก บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เป็นระยะเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ กสท. มีมติ
2.2 เห็นสมควรกำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขในการอนุญาตเพิ่มเติมเฉพาะรายของผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 2.1 ดังนี้
2.2.1  ปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ สำหรับการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ภาคผนวก ก และตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล พ.ศ. 2556 รวมถึงประกาศ กสทช. อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.2.2  ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลเป็นไปตามหมายเลขช่องความถี่วิทยุสำหรับมัลติเพล็กซ์ และเงื่อนไขที่ กสท. กำหนด
2.2.3  เสนอแผนการยุติการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกโดยละเอียดต่อ กสท. เพื่อให้ความเห็นชอบภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้
คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล
2.2.4  การขยายโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ให้ปฏิบัติตามที่ กสท. กำหนด
2.2.5  เพื่อให้ประชาชนที่เปลี่ยนมารับบริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลสามารถรับชมช่องรายการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกที่เคยชมอยู่เดิมได้อย่างต่อเนื่อง ให้ผู้รับใบอนุญาตข้อ 2.1 มีหน้าที่ออกอากาศบริการโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 83 
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ในระบบแอนะล็อกคู่ขนาน (Simulcast) 
ตามมติ กสท. ครั้งที่ 6/2556 วาระที่ 4.9 เรื่องแนวทางการออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกบนโครงข่ายระบบดิจิตอล โดยให้ออกอากาศบริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล แบบรายละเอียดคมชัดสูง (HD) จนกว่าจะยุติการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก ทั้งนี้ ไม่เกินระยะเวลาที่ กสทช. ได้พิจารณากำหนดเวลาคืนคลื่นไว้ตามข้อ 1  
2.3 กรณีที่ กสทช.ปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เพื่อให้มีการใช้งานความถี่อย่างมีประสิทธิภาพหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลตาม 
2.1 จะต้องดำเนินการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์โครงข่ายเพื่อให้บริการให้สามารถใช้งานกับคลื่นความถี่ที่กำหนดในแผนความถี่ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องความเสียหายใด ๆ จาก กสทช. หรือสำนักงาน กสทช.
3. เห็นควรมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำเสนอประเด็นตามข้อ 1 ต่อ กสทช. เพื่อพิจารณา
ให้ความเห็นชอบต่อไป
4. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รวบรวมคำถามเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบกิจการโครงข่ายในระบบดิจิตอล และรายละเอียดต่างๆ ส่งให้คณะกรรมการทุกท่าน
ข้อสังเกต : กสทช. ผศ. ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ให้ข้อสังเกตและสงวนความเห็นเกี่ยวกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และกรมประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับข้อมูลทางการเงิน แผนการขยายโครงข่าย จนกว่าจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ ได้ทำบันทึกความเห็นตามที่แนบ
วาระที่ 4.7  :  นโยบายกำกับดูแลการเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (กสทช. สุภิญญา  กลางณรงค์)
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.โดยกลุ่มงาน ปส. 1-3 รวบรวมหลักเกณฑ์ เงื่อนไขจัดทำเป็นมาตรการสำหรับการกำกับดูแลการประกอบกิจการมิให้มีการดำเนินการอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ด้านเนื้อหาภายใต้การอนุญาตให้บริการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ และบรรจุเป็นวาระ เพื่อให้คณะอนุกรรมการกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ 
พิจารณาให้ความเห็นต่อการจัดทำมาตรการดังกล่าว เพื่อเสนอต่อ กสท. พิจารณากำหนดเป็นนโยบายในภาพรวมต่อไป 
ระเบียบวาระที่ 5   :  เรื่องอื่นๆ
ไม่มี 
เลิกประชุมเวลา   13.10 น.

สร้างโดย  -   (5/4/2559 17:05:21)

Download

Page views: 209