สรุปมติที่ประชุม กสทช. 16/2554

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ 
   คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ   
  ครั้งที่ 16/2554  วันพุธที่  25  พฤษภาคม  2554 เวลา  09.30  น. 
  ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ผู้เข้าประชุม
 
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์              ประพิณมงคลการ               ประธานกรรมการ
2.  นายสุรนันท์                           วงศ์วิทยกำจร                    กรรมการ
3.  พันเอก นที                            ศุกลรัตน์                          กรรมการ 
4.  รองศาสตราจารย์พนา              ทองมีอาคม                       กรรมการ
5.  นายฐากร                              ตัณฑสิทธิ์                        รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่                                                                                                เลขาธิการ กสทช.
 
ผู้ไม่เข้าประชุม
1.  รองศาสตราจารย์สุธรรม           อยู่ในธรรม                        ไปราชการต่างประเทศ
 
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1.  นายอารักษ์                      โพธิทัต                        ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการประชุมและเลขานุการ
2.  นางดวงเดือน                    เสวตสมบูรณ์                 ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการและติดตามประเมินผล
3.  นายบุญยิ่ง                       โหมดเทศน์                   ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนมติและรายงานการประชุม
4.  นางอรุณ                          วงศ์ศิวะวิลาส                 ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนงานวาระการประชุม
5.  นางสาวจิรประภา                สุดสาคร                       ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6.  นางสาวสุภาวดี                   สดศรี                          ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
7.  นางสาวจุฑาสินี                  คำบำรุง                        ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
 
ระเบียบวาระที่   1         :    เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่   1         :    เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

 
                จากการที่ได้มีหนังสือเข้ามา โดยเฉพาะคดีปกครอง เมื่อวานนี้มีเรื่องขอขยายเวลา 5 คดี ในหลักการขยายเวลาครั้งแรกก็คงได้ ครั้งที่สองไม่ให้เด็ดขาด   ขอฝากปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. เอาใจใส่ดูแลเรื่องคดีปกครอง เพราะเมื่อวานมี  5 เรื่องเข้ามาเป็นเรื่องฟ้องเกี่ยวกับ MNP Mobile Number Portability ซึ่งก็ไม่รู้ว่าศาลจะพิจารณารวมเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ แต่จะต้องทำคำให้การแก้คำฟ้องไป 5 คดี และในช่วงบ่ายมีการสัมมนาเรื่อง Wireless Cloud Service and ROF Technologies
                                         
หมายเหตุ                      กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีเรื่องแจ้งต่อที่ประชุมทราบเพิ่มเติม รวมทั้ง รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานในส่วนของสำนักงาน กสทช. ให้ที่ประชุมทราบ สรุปได้ ดังนี้
1.  กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้รายงานผลการเข้าร่วมประชุมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เรื่อง Strengthening  Digital Broadcasting Experience ที่กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งเป็นการนำเสนอประสบการณ์ของต่างประเทศและเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงรูปแบบการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบใหม่ (Digital Switch over) และ Architecture ของโครงข่าย ในภาพรวมเป็นการประชุมที่มีประโยชน์ โดยมีบุคลากรของสำนักงาน กสทช. ไปทั้งหมด  9 คน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Engineer และการบริหารจัดการ รวมทั้งในส่วนที่ทำ Study ให้ นอกจากนี้ ยังมีจากองค์กรอื่นๆ หน่วยงานอิสระ และหน่วยงานภาคประชาชน โดยกรมประชาสัมพันธ์ไปเข้าร่วม 11 คนในช่วงครึ่งหลัง สำหรับในส่วน กสทช. ไปเข้าร่วมในครึ่งแรก ประชุม  2 วัน แล้วก็เดินทางกลับ แต่การประชุมยังมีต่ออีก 3 วัน และกลุ่มผู้แทนจาก Thai PBS มีระดับกรรมการนโยบายไป 3 คน และระดับผู้ใหญ่กับเจ้าหน้าที่อีกหลายคน โดยทีม Thai PBS ไปสังเกตการณ์ เพราะจะจัดงานร่วมกับ ITU ในปีหน้า สิ่งที่ได้จากการไปครั้งนี้ คือ เรื่อง Digital Switch Over เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะช้าไม่ได้ เพราะประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นเวียดนามมีการขยับขยายกันครั้งใหม่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ควรจะเริ่มตั้งกรรมการศึกษาให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ถึงแม้จะไม่ได้ Switch Over ในขณะนี้ แต่ระยะยาวควรจะเตรียมการ เพื่อที่เมื่อมีคณะกรรมการที่มีอำนาจเต็มเข้ามาจะได้ดำเนินการได้เร็ว และในอีกส่วนหนึ่งก็จากการหารือนอกรอบได้ทราบว่า รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายองอาจ  คล้ามไพบูลย์) มีนโยบายชัดเจนเรื่อง Switch Over และได้สั่งให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการในเรื่องนี้ จึงเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องอยู่ในขอบเขตอำนาจของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ถ้าปล่อยให้ฝ่ายอื่นถลำไปมาก ก็จะเป็นเรื่องที่จะแก้ไขยาก และสิ่งที่เกิดขึ้นจะกลายเป็น กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทำอะไรไม่ได้เลย
2.  กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ได้จัดทำ (ร่าง) กรอบการพิจารณากรณี บมจ. กสท โทรคมนาคม   บจ. บีเอฟเคที (ประเทศไทย) และ บจ. เรียลมูฟ ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจ เพื่ออธิบายให้สังคมทราบว่ากระบวนการทางสัญญาไม่ใช่เรื่องของ กทช. แต่กระบวนการกำกับดูแลเป็นเรื่องของ กทช. ซึ่งจะได้นำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา และจะขอให้ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. สั่งการให้สำนักงาน กสทช. เตรียมการเรื่องการแถลงข่าว ซึ่ง กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เห็นด้วยที่จะให้แถลงข่าว แต่มีประเด็นให้เตรียมข้อมูลเพิ่มเติมโดยเฉพาะในเรื่องของกรอบระยะเวลา และกระบวนการที่จะต้องดำเนินการ เพื่อชี้แจงแก่สื่อมวลชนได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
3.  ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. (นายฐากรฯ) ได้รายงานเรื่องคดีปกครองกรณีนาย   สุพงษ์ฯ ฟ้องเรื่องการกำกับดูแลดาวเทียมให้ที่ประชุมทราบว่า  ศาลปกครองได้นัดพิจารณาคดีเมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2554  ที่ผ่านมา เป็นการนัดฟังคดีครั้งแรก ซึ่งตุลาการผู้แถลงคดีได้อ่าน คำวินิจฉัยยกฟ้อง เนื่องจากอำนาจในการฟ้องของผู้เสียหายไม่มี และอำนาจในการกำกับดูแลเรื่องดาวเทียมเป็นอำนาจของ กทช. โดยให้รอคำพิพากษาอีกครั้งหนึ่ง ในการนี้ ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. ได้กล่าวเสริมว่า ตุลาการศาลปกครองเจ้าของคดีแถลงตาม ตัวบทกฎหมายตั้งแต่สมัยก่อน เรื่องสัมปทานดาวเทียมสื่อสาร ตั้งแต่  รุ่นก่อน และค่อยๆ ไล่มาจนมีการแก้ไขเรื่องสัญญา และมองว่าเรื่องแรก  ผู้ฟ้องไม่เป็นผู้เสียหาย ศาลจึงเห็นยกฟ้องในคดีนี้ แต่ตุลาการศาลกล่าวเรื่องการมีสิทธิใน Slot ดาวเทียม ซึ่งเป็นของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แต่ถ้าเป็นในช่วงก่อนหน้านั้นยังไม่ชัดเจน และในปัจจุบันเป็นหน้าที่ของ กสทช. แต่ในวันที่ 10 มิถุนายน 2554 คำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
 
มติที่ประชุม                  
1.  รับทราบเรื่องตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.  รับทราบเรื่องผลการเข้าร่วมประชุมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เรื่อง Strengthening Digital Broadcasting Experience ที่กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสำคัญและการเตรียมการเพื่อรองรับเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ
3.  รับทราบเรื่อง (ร่าง) กรอบการพิจารณากรณี บมจ. กสท โทรคมนาคม   บจ. ทีเอฟเคที (ประเทศไทย) และ บจ. เรียลมูฟ ตามที่ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. จัดเตรียมการแถลงข่าวในช่วงเวลา 11.30 น. ให้เรียบร้อย
4.  รับทราบรายงานเรื่องคดีปกครองกรณีนายสุพงษ์ฯ ฟ้องเรื่องการกำกับดูแลดาวเทียม ซึ่งตุลาการผู้แถลงคดีได้อ่านคำวินิจฉัยยกฟ้อง โดยให้รอคำพิพากษาอีกครั้งหนึ่ง ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ     
 
ระเบียบวาระที่    2       :   เรื่องรับรองรายงานการประชุม
2.1     รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 14/2554  วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554
2.2     รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 15/2554  วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2554

ระเบียบวาระที่  2   : รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ระเบียบวาระที่ 2.1 : รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 14/2554 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554 มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 14/2554 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ และหาก กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ท่านใดมีข้อแก้ไข ขอให้แจ้งสำนักงาน กสทช.เพื่อแก้ไขภายใน 7 วันตามที่ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. แจ้งต่อที่ประชุม ระเบียบวาระที่ 2.2 : รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 15/2554 วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2554 มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 15/2554 วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยมีข้อแก้ไขให้ตัดข้อความ “ ระหว่างวันที่ 6-9 มิถุนายน 2554 ” ในวาระที่ 6.1 ออก ตามที่สำนักงาน กสทช. ขอแก้ไข และหาก กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ท่านใดมีข้อแก้ไข ขอให้แจ้งสำนักงาน กสทช.เพื่อแก้ไขภายใน ๗ วันตามที่ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. แจ้งต่อที่ประชุม

ระเบียบวาระที่  3       :     รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
3.1     รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 14/2554  วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554
3.2     รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 15/2554  วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2554

ระเบียบวาระที่  3      :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
ระเบียบวาระที่  3.1   :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่   14/2554  วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554

 
มติที่ประชุม              รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 14/2554  วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   3.2      :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่   15/2554 วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2554
 
มติที่ประชุม                รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 15/2554 วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ

ระเบียบวาระที่  4         :    เรื่องเพื่อพิจารณา  
กลุ่มเรื่องที่ กทช. เสนอ
4.1     การอนุมัติงบประมาณตามแผนดำเนินการ USO : กทช.สุธรรม
4.2     การดำเนินการ USO หลังจาก พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับ : กทช.สุรนันท์, ทถ.
4.3     โครงการศึกษาดูงานที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่มีมาตรฐานในระดับสากล CommunicaAsia2011 Enterprise IT 2011 : กทช.พนา
 กลุ่มเรื่องที่สำนักงานฯ เสนอ
 กลุ่มเรื่องกฎหมาย
4.4     การตีความ พ.ร.บ.องค์กรฯ พ.ศ. 2553 เพื่อวางนโยบายการกำหนดค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและค่าธรรมเนียมชำระรายปี : ศฐ.
4.5     การบังคับใช้คำสั่ง กทช. ที่ 11/2553 เรื่อง ให้ใช้อัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อ โครงข่ายโทรคมนาคมเป็นอัตราอ้างอิง และคำสั่งการกำหนดอัตราค่าตอบแทน การเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นชั่วคราว : กม., สชท., ศฐ.
4.6     ผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 ฉบับ : กม.
กลุ่มเรื่องใบอนุญาต     
ก.  การขอรับใบอนุญาต/การขอขยายระยะเวลา
4.7     รายงานผลการดำเนินการและขอขยายระยะเวลาในการเปิดให้บริการของ บริษัท ดีแทค อินเตอร์เนต เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.8     บริษัท เอฟทีทีเอ็กซ์ อินฟรา (พัทยา) จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการ สำหรับบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ภายใต้ใบอนุญาตประกอบ กิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง : ปก.
4.9     บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตให้บริการต่อโดยไม่ยกเลิก ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง (บริการ medium-MVNO) : ปก.
4.10   การขอขยายระยะเวลาการใช้บริการโครงข่ายระบบ GSM 900 MHz เพื่อให้บริการโทรศัพท์ทางไกลชนบทระบบ Wireless Local Loop : WLL ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
ข. เรื่องอื่นๆ
4.11   การตรวจสอบการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ระหว่างประเทศ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่าย เป็นของตนเอง ของบริษัท สวัสดีช้อป จำกัด : ปก.
4.12   เงื่อนไขเฉพาะสำหรับใบอนุญาตแบบที่สามการให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ  (International Private Leased Circuit : IPLC) : ปก.
4.13   บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด แจ้งเปลี่ยนกรรมการบริษัท : ปก.
4.14   การกำหนดขอบเขตของการให้บริการเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.15   วิธีการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม : ปก.
4.16   การปรับปรุงประกาศ กทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคมและใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต : ปก.
4.17   หลักเกณฑ์การนำรายการ CDMA DATA Content มาขอหักลดหย่อน ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม : ปก.      
4.18   การตอบข้อหารือสิทธิการใช้คลื่นความถี่ 900 MHz ตามใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.19   ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายในการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมของบริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.20   ขอความเห็นชอบการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับ (ร่าง) ประกาศหลักเกณณ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง พ.ศ. 2554 (Unified License) : ปก.
4.21   โครงการเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอ่าวไทย ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด  (มหาชน) : ปก.
กลุ่มเรื่องการขอใช้ความถี่วิทยุ/ตั้งสถานีวิทยุ
4.22   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท เอ็นเอ็นอาร์ โกลบอล โลจิสติคส์ (ประเทศไทย)) : ฉก.
4.23   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด) : ฉก.
4.24   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท ตลาดใหม่แม่กิมเฮง จำกัด)  : ฉก.
4.25   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด(มหาชน)) : ฉก.
4.26   กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ : ฉก.
4.27   การยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตวิทยุคมนาคมที่ออกแทนฉบับเดิมที่หมดอายุ อันมีสาเหตุจากความล่าช้าภายในกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาต : ฉก.
4.28   การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (จำนวน 5 เรื่อง) : ฉก.
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินและ
 นำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม
- องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ขออนุญาต  สำรองการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคม
- กรมการทหารสื่อสาร ขออนุญาตใช้และนำเข้าเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์
- กองทัพเรือ ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบ FM จำนวน 3 เครื่อง4
4.29      การออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)) : ฉก.
4.30   บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุเดิม และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเดิมที่ได้รับ อนุญาตไว้แล้ว : ฉก.
4.31   การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด จำนวน 2 สถานี 1 เส้นทาง) : ฉก.
4.32   การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 7.5 และ 11 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด จำนวน 26 เส้นทาง) : ฉก.         
4.33   การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด จำนวน 15 เส้นทาง) : ฉก.
4.34   การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)) : ฉก.
4.35   การขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม  จำนวน 1 เส้นทาง (เส้นทางชุมสายโทรศัพท์บ้านไม้ฝาด – ชุมสายโทรศัพท์ เกาะลันตา) : ฉก.
4.36   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง และรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมให้บริษัท เค.ซี.เอส. (ประเทศไทย) จำกัด : ฉก.
4.37   การขออนุญาตใช้ย่านความถี่วิทยุ 7.5 GHz และตั้งสถานีวิทยุคมนาคมของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (จำนวน 1 เส้นทาง) : ฉก.
4.38   กองทัพเรือ ขออนุญาตใช้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบ FM และรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮอทพอยท์เอ็นเตอร์ไพร์ส เพื่อทดแทนเครื่องเดิม : ฉก.
4.39   การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและยกเลิกใช้ความถี่วิทยุ (บริษัท น้ำตาลเกษตรไทย จำกัด และ บริษัทเกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล จำกัด) : ฉก.
4.40   การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุและเครื่องวิทยุ คมนาคม (บริษัท ขอนแก่น แอลกอฮอล์ จำกัด) : ฉก.
กลุ่มเรื่องการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม
4.41   การพิจารณาดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการ โทรศัพท์สาธารณะ : กท.
4.42   ขออนุญาตควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด : พต.
กลุ่มเรื่องเลขหมาย
4.43   การพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น : กบ., คกก.กำหนดค่าปรับทางปกครองฯ
4.44   การชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศที่ใช้รหัสบริการ : กบ.    
4.45   มาตรการทางกฎหมายกับบริษัท ทรู มูฟ จำกัด กรณีไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด การไต่สวนข้อเท็จจริงที่ 1/2553 : ลสทช., คกก.ศึกษาและกำหนดค่าปรับ ทางปกครองฯ      
4.46   หลักเกณฑ์การใช้รหัสแสดงเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Network Code – MNC)     
4.47   การยกเลิกเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ หมายเลข 1376 ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี : กบ.
4.48   การใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของสำนักงานเทศบาลนครตรัง : กบ.
4.49   การพิจารณาคำขอรับจัดสรรเลขหมายฯ พิเศษของ บมจ. เอส ซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น : กบ.            
กลุ่มเรื่องการบริหารงานของสำนักงานฯ
4.50   การตรวจสอบภายในของสำนักงาน กสทช. : ปต.         
4.51   การดำเนินการกรณีพนักงานไม่สามารถเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2554 เนื่องจาก เงินเดือนเต็มขั้นสูงของตำแหน่ง หรือมีเงินเดือนใกล้เต็มขั้นสูงของตำแหน่ง : บค.
4.52   การชำระค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and Beyond) : รสทช.ประเสริฐ, คกก.ตรวจและรับมอบงานจ้างที่ปรึกษาฯ               
4.53    ข้อเสนอโครงการประเมินมูลค่าใบอนุญาตเทคโนโลยี 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz  ของประเทศไทย : ปธ.
4.54   ขอขยายเวลาการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บท กิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2553) : คณะกรรมการติดตาม ประเมินผลแผนแม่บทฯ  
4.55   โครงการนำร่องในการพัฒนาบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงในพื้นที่การให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ระยะที่ 1 : ทถ.
4.56   โครงการพัฒนาต้นแบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาการศึกษาและบริการสุขภาพ : ทถ.
4.57   การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฯ : พต.
กลุ่มเรื่องวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
4.58   การดำเนินการตามความตกลง Mutual Recognition Arrangement (MRAs)  สาขาโทรคมนาคม : กร., วท.
4.59   รายงานการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศ ครั้งที่ 8 : วท.
4.60   การเรียกคืนคลื่นความถี่ GSM 1900 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ตว.
4.61   รายงานผลการศึกษาเทคโนโลยีสำหรับคลื่นความถี่ใช้ร่วมสาธารณะ : คกก.กำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
4.62   โครงการทูลเกล้าถวายระบบสื่อสาร เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา (5 รอบ) : ตว.
4.63   (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและ อุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เรื่อง เครื่องโทรศัพท์สาธารณะ : วท. 
กลุ่มเรื่องสิทธิแห่งทาง/USO
4.64   ขออนุมัติจัดทำแนวทางการทำความตกลงเพื่อขอใช้สิทธิแห่งทางในการใช้ประโยชน์ ในที่ดินหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นในการให้บริการโทรคมนาคม : พต.
4.65   แนวทางการพาดสายโทรคมนาคมผ่านสะพานหรือโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงาน ของรัฐ : พต.
4.66   มาตรการช่วยเหลือการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ : ศฐ., ทถ., พต., สชท.
4.67   วิธีการคิดค่าธรรมเนียม USO เพื่อใช้กำหนดปริมาณภารกิจ USO ที่ต้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ USO ประจำปี 2553 ของ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม : ทถ.
4.68   ต่ออายุการดำรงตำแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.) : พต.
กลุ่มเรื่องการขอสนับสนุนงบประมาณ
4.69   การขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ จำนวน 5 รายการ : กทช.บัณฑูร
4.70   การขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการต่างๆ  จำนวน 2 รายการ : กทช.บัณฑูร
4.71   ขออนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณขอรับการสนับสนุนโครงการที่หลบภัยสึนามิและศูนย์เรียนรู้ภัยธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ระยะที่ 2 : กจ.
4.72   โครงการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบทบาทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อคุณภาพชีวิตชุมชนและความมั่นคงของชาติ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย : ทถ.
4.73   โครงการสร้างสรรค์เยาวชนคนรุ่นใหม่ ผู้มีวินัยใช้ไอซีที (NetGen) : ทถ.     
4.74   โครงการเครือข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย WiMAX โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เพื่อการศึกษา : ปก..
4.75   ขออนุมัติงบประมาณดำเนินการโครงการ ประจำปี 2554 (จำนวน 4 โครงการ) : ปส.
4.76   ขออนุมัติโครงการเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์ผ่านระบบบรอดแบนด์ไร้สาย ความเร็วสูง (โครงการระยะที่ 2) : ทถ.   4.77   พิจารณาอนุมัติให้บรรจุงบประมาณโครงการ “ส่งเสริม สนับสนุน การเผยแพร่การดำเนินงานของโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ในแผนงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กสทช.ประจำปี 2554 : ทถ.
4.78   พิจารณาสนับสนุนโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ชุมชน ผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) และการศึกษาทางไกล (Tele-education) ภายใต้โครงการเครือข่ายสุขภาพ มารดา  และทารก เพื่อครอบครัวเด็กและ เยาวชนไทย : ลสทช., บป., กจ.
4.79   ขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับ การดำเนินการกับสถานีวิทยุชุมชนและโทรทัศน์ชุมชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงาน กสทช. : บป.
กลุ่มเรื่องกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.80   การทบทวนนโยบายในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
4.81   นโยบายดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
 : กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
4.82   โครงการทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน : กทช.พนา, คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
4.83   ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและการประกอบกิจการชั่วคราวในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ครั้งที่ 2 เมื่อวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2553 : กทช.พนา, กส.
กลุ่มเรื่องสถาบัน
4.84   การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี และการจ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของ ผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ : คกก.กำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ    
4.85   งบการเงินของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 19 ธันวาคม 2553 : สนง.กองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ
4.86   การต่อสัญญาการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มภารกิจเลขานุการกองทุนฯ : บค.
4.87   การแต่งตั้งเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมและให้สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เป็นฝ่ายธุรการของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.88   การต่ออายุสัญญาการปฏิบัติงานของ นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ตำแหน่งผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : สพท.
4.89   การต่อสัญญาปฏิบัติงานรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : สพท.
4.90   การประเมินผลคณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) : กลุ่มภารกิจด้านการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม
กลุ่มเรื่องเสนอใหม่
4.91   ผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บริษัท ทรู มูฟ จำกัด จำนวน 2 ฉบับ  : กม.
4.92   การขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ 2.5 GHz ในโครงการนำร่องเพื่อสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาฯ ของ NECTEC : ปก.
4.93   การขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ ย่าน 470 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)  : ปก.
4.94   บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่นส์ แอนด์ เซลส์ จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการ สำหรับบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ภายใต้ใบอนุญาตประกอบ กิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง : ปก.
4.95   การใช้คลื่นความถี่ 2.5 GHz ในโครงการพัฒนาระบบต้นแบบและสร้างกำลัง คนด้านเครือข่ายไร้สายของ ม.เกษตรศาสตร์ : ปก.
4.96   แนวทางการดำเนินการกรณีการขอรับใบอนุญาตวิทยุคมนาคมสำหรับการปรับปรุง โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ HSPA ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) : ปก.
4.97   การสิ้นสุดการอนุญาต ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง : ปก.
4.98   การจัดสรรคลื่นความถี่ทดแทนและยกเลิกการใช้ความถี่วิทยุ กรณีจัดสรร คลื่นความถี่วิทยุซ้ำระหว่างสำนักราชเลขาธิการกับกรมสอบสวนคดีพิเศษและกรมการสื่อสารทหารกับสำนักงานศาลยุติธรรม : ฉก.          
4.99   ขอความอนุเคราะห์งบประมาณสนับสนุนการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ i-CREATe 2011 : ปธ.
4.100    (ร่าง) ประกาศ กสทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและ อุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ เรื่องเครื่องโทรศัพท์ประจำที่, (ร่าง) ประกาศ กสทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์สำหรับ
คนพิการและผู้สูงอายุ เรื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่และร่างแผนการดำเนินการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ : คณะอนุกรรมการจัดมาตรฐานผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ, วท.
4.101  การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือ เดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบ ใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (กพส. ครั้งที่ 8/2554) : คณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง, พต.
4.102    เงื่อนไขการให้บริการคงสิทธิเลขหมายมีลักษณะที่ขัดต่อกฎหมาย : สบท.
4.103    โครงการพัฒนาศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคม สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (โครงการต่อเนื่อง) : สบท.
4.104    โครงการสนับสนุนการรับเรื่องร้องเรียนและพัฒนาศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคม ปี 2554 : สบท.

ระเบียบวาระที่   4      :      เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่   4.5   :      การบังคับใช้คำสั่ง กทช. ที่ 11/2553 เรื่อง ให้ใช้อัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นอัตราอ้างอิง และคำสั่งการกำหนดอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นชั่วคราว : กม. , สชท. , ศฐ.

 
มติที่ประชุม             ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเพื่อให้การใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มิให้ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบจากการดำเนินการ เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวสิ้นผล ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบแนวทางการขยายระยะเวลาการบังคับใช้คำสั่ง กทช. ที่   11/2553 เรื่อง ให้ใช้อัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นอัตราอ้างอิง และคำสั่งการกำหนดอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นชั่วคราวออกไปตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ เพื่อให้มีความชัดเจนในการใช้ดุลพินิจตามมาตรา 25  และมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 จนกว่าผลการศึกษาการกำหนดอัตราค่าตอบแทนใหม่ตามโครงการศึกษาเพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางวิชาการเกี่ยวกับการกำกับดูแลโทรคมนาคมในแง่มุมเศรษฐศาสตร์และการเงิน (Economic and Financial Consulting Service for Regulation of Telecommunication) จะแล้วเสร็จและ/หรือจนกว่า กสทช. ใหม่จะมารับหน้าที่
 
ระเบียบวาระที่   4.6     :  ผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บริษัท  แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 ฉบับ : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ), กม.
 
มติที่ประชุม                  
1.  เห็นชอบผลการพิจารณาร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการภายหลัง (Post paid) และร่างสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (Pre paid) ของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามมติ ที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 และมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 31/2553 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส เพื่อแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมาย และประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และตามความเห็นกรรมการกลั่นกรองตามที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีมติเห็นชอบผลการพิจารณาแล้วตามข้อ 1 ต่อไป
                                               
ระเบียบวาระที่   4.8    :   บริษัท เอฟทีทีเอ็กซ์ อินฟรา (พัทยา) จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการสำหรับบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่หนึ่ง : ปฏิบัติหน้าที่  รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก.
 
มติที่ประชุม               อนุมัติให้ บจ. เอฟทีทีเอ็กซ์ อินฟรา (พัทยา) ขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Non-facility based MVNO – Thin MVNO ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง โดยให้บริษัทฯ เริ่มให้บริการภายใน 3 เดือนนับแต่ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีมติ และให้บริษัทฯ สรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้ทราบเป็นรายเดือนจนกว่าจะเปิดให้บริการได้ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
 
ระเบียบวาระที่    4.24     :   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่ บริษัท ตลาดใหม่แม่กิมเฮง จำกัด)) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                 ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าโดยที่ บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันว่าตามบทเฉพาะกาล มาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 บัญญัติให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในฐานะ กสทช. จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กสทช. ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีอำนาจเช่นเดียวกับ กสทช. ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 27 (4) (6) บัญญัติให้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งการขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่ บริษัท ตลาดใหม่แม่กิมเฮง จำกัด) เป็นการใช้งานตามปกติเพื่อประโยชน์สาธารณะ และเป็นไปตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 140.750 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบคลื่นไม่เกิน 16 kHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือแก่บริษัท ตลาดใหม่แม่กิมเฮง จำกัด ผู้เช่าใช้บริการ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.   กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.   กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) และเป็นไปตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2554 วาระที่ 6.1 ข้อ 2 ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งการอนุญาต ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขอใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
2.  ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ชนิดมือถือ กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง
3.  เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2 ต้องเป็นประเภทที่ผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
4.  บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5.  บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
6.  ให้ บริษัทฯ ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าวให้บริษัท ตลาดใหม่แม่กิมเฮง จำกัด
                      อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฎข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม   ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157       เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย  เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น
 
หมายเหตุ                     ความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ข้างต้นสรุปจากบันทึก กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่  394/2554 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 วาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ที่มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แก้ไขมติที่ประชุมในวาระนี้ โดยสรุปสาระสำคัญของบันทึกความเห็นดังกล่าว ใส่ไว้ท้ายมติให้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย 
 
 
ระเบียบวาระที่    4.25      :  การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ     (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าโดยที่ บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันว่าตามบทเฉพาะกาล มาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 บัญญัติให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในฐานะ กสทช. จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กสทช. ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีอำนาจเช่นเดียวกับ กสทช. ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 27 (4) (6) บัญญัติให้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งการขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)) เป็นการใช้งานตามปกติเพื่อประโยชน์สาธารณะ และเป็นไปตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498  ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุส่ง/รับ 155.625/149.625 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบคลื่นไม่เกิน 16 kHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือแก่บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ผู้เช่าใช้บริการ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) และเป็นไปตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2554 วาระที่ 6.1 ข้อ 2 ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไข ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งการอนุญาต ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขอใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
2.  ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ชนิดมือถือ กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง
3.  เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2 ต้องเป็นประเภทที่ผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท ๒) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
4.  บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5.  บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
6.  ให้ บริษัทฯ ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าวให้บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
                  อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฎข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคมภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย   เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น
 
หมายเหตุ                    ความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ข้างต้นสรุปจากบันทึก กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่   394/2554 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 วาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ที่มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แก้ไขมติที่ประชุมในวาระนี้ โดยสรุปสาระสำคัญของบันทึกความเห็นดังกล่าว ใส่ไว้ท้ายมติให้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย 
 
ระเบียบวาระที่    4.29     :  การออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                 อนุมัติให้ใบอนุญาตวิทยุคมนาคมให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 MHz (เทคโนโลยีระบบ CDMA 800) ที่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม จำนวน 437 ฉบับ ตามที่ บมจ. กสท โทรคมนาคม ร้องขอ เนื่องจากเห็นว่า กทช. มีอำนาจในการกำกับดูแลคลื่นความถี่อย่างต่อเนื่องมาจนถึงมีกฎหมายฉบับใหม่บังคับ (พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 95) และมีอำนาจตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ที่จะออกคำสั่งอนุญาตให้ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) และเป็นไปตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2554 วาระที่ 6.1 ข้อ 2
         อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฎข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคมภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น    ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157   เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย   เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น
 
หมายเหตุ                  ความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ข้างต้นสรุปจากบันทึก กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่  394/2554 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 วาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ที่มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แก้ไขมติที่ประชุมในวาระนี้ โดยสรุปสาระสำคัญของบันทึกความเห็นดังกล่าว ใส่ไว้ท้ายมติให้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย 
 
ระเบียบวาระที่    4.31      :  การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz (บริษัท  ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 สถานี 1 เส้นทาง) : ปฏิบัติหน้าที่    รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz เป็นความถี่วิทยุที่ บมจ. ทีโอที ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้วและยังไม่ถูกยกเลิก และมีความสอดคล้องกับประกาศ กทช. ว่าด้วยแผนความถี่วิทยุ กิจการประจำที่ ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz ลงวันที่ 20 กันยายน 2550 ถือเป็นการใช้คลื่นความถี่ถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม ซึ่งการขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุในครั้งนี้ เพื่อใช้เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างชุมสายในการให้บริการโทรศัพท์แก่ประชาชน ไม่ใช่เป็นการขยายขอบเขตการให้บริการใหม่ และหากไม่อนุญาตให้ บมจ. ทีโอที ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์ได้   ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ.ทีโอที ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz จำนวน ๒ สถานี เพื่อใช้เป็นสื่อสัญญาณเชื่อมโยงชุมสายในการให้บริการโทรศัพท์แก่ประชาชน ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.   กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) และเป็นไปตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่  9/2554 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2554 วาระที่ 6.1 ข้อ 2 ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าว จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
2.  หากการใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวก่อให้เกิดการรบกวนความถี่ข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว บริษัทฯ จะต้องแก้ไขการรบกวนดังกล่าวหรือระงับการใช้งานทันที
3.  บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.  บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฎข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม   ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540  สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย  เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น
 
หมายเหตุ              ความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ข้างต้นสรุปจากบันทึก กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่  394/2554 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 วาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ที่มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แก้ไขมติที่ประชุมในวาระนี้ โดยสรุปสาระสำคัญของบันทึกความเห็นดังกล่าว ใส่ไว้ท้ายมติให้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย 
 
ระเบียบวาระที่    4.32     :  การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7  7.5 และ 11 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 26 เส้นทาง) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากความถี่วิทยุย่าน 6.7 7.5 และ 11 GHz เป็นความถี่วิทยุที่ บมจ. ทีโอที ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุจากกรมไปรษณีย์โทรเลขตามแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการวิทยุคมนาคมเชื่อมโยงประจำที่อยู่ก่อนแล้วและยังไม่ถูกยกเลิก และมีความสอดคล้องกับประกาศ กทช. ว่าด้วยแผนความถี่วิทยุ กิจการประจำที่ ความถี่วิทยุย่าน 6.7 7.5 และ 11 GHz ลงวันที่ 20 กันยายน 2550 ถือเป็นการใช้คลื่นความถี่ถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม ซึ่งการขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุในครั้งนี้ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานตามมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 แจ้งว่ามีความจำเป็นต้องใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวต่อไปอีก เพื่อใช้เชื่อมโยงโครงข่ายวิทยุคมนาคมในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Digital GSM หากไม่อนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์ได้ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ.ทีโอที โดย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7, 7.5 และ 11 GHz ตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการประจำที่ (Fixed Services) จำนวน ๒๖ เส้นทาง เพื่อใช้เชื่อมโยงโครงข่ายวิทยุคมนาคมในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM 900 ตามความเห็นกรรมการกลั่น (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.   กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.  พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) และเป็นไปตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่  9/2554 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2554 วาระที่ 6.1 ข้อ 2 ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวได้ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
2.  หากการใช้ความถี่วิทยุเกิดการรบกวนกับข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว บมจ.ทีโอที จะต้องแก้ไขการรบกวนดังกล่าว หรือระงับการใช้งานทันที
3.  บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.  บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันทีเมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฎข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม   ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย   เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น
 
หมายเหตุ                ความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ข้างต้นสรุปจากบันทึก กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่  394/2554 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 วาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ที่มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แก้ไขมติที่ประชุมในวาระนี้ โดยสรุปสาระสำคัญของบันทึกความเห็นดังกล่าว ใส่ไว้ท้ายมติให้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย 
 
ระเบียบวาระที่   4.33     :  การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 15 เส้นทาง) : ปฏิบัติหน้าที่   รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากการขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz เป็นความถี่วิทยุที่ บมจ. ทีโอที ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้วและยังไม่ถูกยกเลิก และมีความสอดคล้องกับประกาศ กทช. ว่าด้วยแผนความถี่วิทยุ กิจการประจำที่ ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz ลงวันที่ 20 กันยายน 2550 ถือเป็นการใช้คลื่นความถี่ถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม ซึ่งการขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุในครั้งนี้ บมจ. ทีทีแอนด์ที ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานตามมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 แจ้งว่ามีความจำเป็นต้องใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวต่อไปอีก เพื่อใช้เชื่อมโยงโครงข่ายวิทยุคมนาคมในการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ในเขตภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันยังคงให้บริการโทรศัพท์ประจำที่แก่ประชาชนอยู่ หากไม่อนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์ได้ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ.ทีโอที โดย บมจ.ทีทีแอนด์ที ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz ตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการประจำที่ (Fixed Services) จำนวน 15 เส้นทาง เพื่อใช้เชื่อมโยงโครงข่ายวิทยุคมนาคมในการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ในเขตภูมิภาค ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.  กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) และเป็นไปตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2554 วาระที่ 6.1 ข้อ 2 ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวได้ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2554  ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2.  หากการใช้ความถี่วิทยุเกิดการรบกวนกับข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว บมจ.ทีโอที จะต้องแก้ไขการรบกวนดังกล่าว หรือระงับการใช้งานทันที
3.  บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.  บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันทีเมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฎข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม   ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540  สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157   เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย   เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น
 
หมายเหตุ                    ความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ข้างต้นสรุปจากบันทึก กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่  394/2554 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 วาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ที่มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แก้ไขมติที่ประชุมในวาระนี้ โดยสรุปสาระสำคัญของบันทึกความเห็นดังกล่าว ใส่ไว้ท้ายมติให้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย 
 
ระเบียบวาระที่   4.34       :  การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
มติที่ประชุม                  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากการขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz เป็นความถี่วิทยุที่ บมจ. ทีโอที ได้จัดสรรจากกรมไปรษณีย์โทรเลขตามแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการวิทยุคมนาคมเชื่อมโยงประจำที่อยู่ก่อนแล้วและยังไม่ถูกยกเลิก และมีความสอดคล้องกับประกาศ กทช. ว่าด้วยแผนความถี่วิทยุ กิจการประจำที่ ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz ลงวันที่ 20 กันยายน 2550 ถือเป็นการใช้คลื่นความถี่ถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม ซึ่งการขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุในครั้งนี้ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานตามมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 แจ้งว่ามีความจำเป็นต้องใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวต่อไปอีก เพื่อใช้เชื่อมโยงโครงข่ายวิทยุคมนาคมในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Digital GSM หากไม่อนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์ได้ ดังนั้น  ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ.ทีโอที โดย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz คู่ความถี่ 7470/7624 และ 7526/7680 MHz ตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการประจำที่ (Fixed Services) จำนวน 3 เส้นทาง เพื่อใช้เชื่อมโยงโครงข่ายวิทยุคมนาคมในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Digital GSM ตามความเห็นกรรมการกลั่น (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) และเป็นไปตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2554 วาระที่ 6.1 ข้อ 2 ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวได้ไม่เกินวันที่ 31 มกราคม 2555  ทั้งนี้  การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2.  หากการใช้ความถี่วิทยุเกิดการรบกวนกับข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว บมจ.ทีโอที จะต้องแก้ไขการรบกวนดังกล่าว หรือระงับการใช้งานทันที
3.  บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.  บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันทีเมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฎข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม   ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย   เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น
 
หมายเหตุ                    ความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ข้างต้นสรุปจากบันทึก กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่   394/2554 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 วาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ที่มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แก้ไขมติที่ประชุมในวาระนี้ โดยสรุปสาระสำคัญของบันทึกความเห็นดังกล่าว ใส่ไว้ท้ายมติให้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย 
 
ระเบียบวาระที่   4.35     :  การขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม  จำนวน 1 เส้นทาง (เส้นทางชุมสายโทรศัพท์บ้านไม้ฝาด-ชุมสายโทรศัพท์เกาะลันตา) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
 
 
มติที่ประชุม                ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz เป็นความถี่วิทยุที่ บมจ. ทีโอที ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้วและยังไม่ถูกยกเลิก และมีความสอดคล้องกับประกาศ กทช. ว่าด้วยแผนความถี่วิทยุ กิจการประจำที่ ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz ลงวันที่ 20 กันยายน 2550 ถือเป็นการใช้คลื่นความถี่ถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม ซึ่งการขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz ตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) โดยใช้เครื่องวิทยุคมนาคมสำรองที่ได้รับอนุญาตแล้ว ถือว่าเป็นการขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุเพื่อการขยายเครือข่ายให้บริการ สำหรับการใช้ความถี่วิทยุเชิงพาณิชย์ (Commercial Use) และมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อข้อกำหนดและคุณลักษณะทางเทคนิค หรือเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเกินไปกว่าเดิม ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ.ทีโอที ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมสำรอง ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz (คู่ความถี่ ส่ง/รับ 7442/7596  7498/7652 และ 7554/7708 MHz) ที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) จำนวน 1 เส้นทาง (เส้นทางชุมสายโทรศัพท์บ้านไม้ฝาด-ชุมสายโทรศัพท์เกาะลันตา) เพื่อใช้เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างชุมสายในการให้บริการโทรศัพท์แก่ประชาชน ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.   กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) และเป็นไปตามมติ ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2554 วาระที่ 6.1 ข้อ 2 ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งการอนุญาต ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
2.  หากการใช้ความถี่วิทยุเกิดการรบกวนกับข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว บมจ.ทีโอที จะต้องแก้ไขการรบกวนดังกล่าว หรือระงับการใช้งานทันที
3.  บมจ.ทีโอที ต้องปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.  ให้ บมจ.ทีโอที ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นขอรับใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
5.  บมจ.ทีโอที จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันทีเมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
                 อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นสรุปได้ว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฎข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม   ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย  เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น
 
หมายเหตุ                  ความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ข้างต้นสรุปจากบันทึก กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม) ที่  394/2554 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2554 เรื่อง ความเห็นประกอบวาระการประชุม กสทช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 วาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม ที่มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แก้ไขมติที่ประชุมในวาระนี้ โดยสรุปสาระสำคัญของบันทึกความเห็นดังกล่าว ใส่ไว้ท้ายมติให้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย 
 
ระเบียบวาระที่   4.47   :  การยกเลิกเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ หมายเลข 1376 ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ  (นายประเสริฐฯ) ,กบ.
 
มติที่ประชุม               อนุมัติการยกเลิกเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษหมายเลข 1376 ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ( เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษที่รับคืนจาก บมจ.ทีโอที) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน  2554  เป็นต้นไป โดยให้สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี ชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ตามข้อ 79 ข้อ 80 และข้อ 82(5) ประกอบข้อ 93 ของประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่กรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   4.48   :  การใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษของสำนักงานเทศบาลนครตรัง :ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ) ,กบ.
 
มติที่ประชุม                  
1.  อนุมัติให้ยกเลิกเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ หมายเลข 1132 และ 1559 ของสำนักงานเทศบาลนครตรัง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2554 ทั้งนี้ ตามข้อ 75 (1) ของประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่กรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) เสนอ
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งสำนักงานเทศบาลนครตรังเพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1 และให้ยื่นชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษรายเดือนหมายเลข 1559 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 – วันที่ 16 เมษายน 2554 (กรณีการจัดสรร เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษที่รับคืนจาก บมจ. ทีโอที) ทั้งนี้ ตามข้อ 80 ข้อ 82 (5) (7) ประกอบข้อ 93 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551
 
ระเบียบวาระที่   4.62    :  โครงการทูลเกล้าถวายระบบสื่อสาร เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา (๕ รอบ) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายทศพรฯ), ตว.
 
มติที่ประชุม               เห็นชอบในหลักการโครงการทูลเกล้าถวายระบบสื่อสาร เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา (5 รอบ) ตามความเห็นที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปพิจารณาจัดทำรายละเอียดเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อพิจารณาอนุมัติการดำเนินงานโครงการฯ ต่อไปอีกครั้งหนึ่ง
 
ระเบียบวาระที่   4.68    :  ต่ออายุการดำรงตำแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), พต.
 
มติที่ประชุม                อนุมัติการต่ออายุการดำรงตำแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง (กพส.) ออกไปเพื่อปฏิบัติราชการต่อไปในช่วงระหว่างการสรรหาและแต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เสียประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้อง/ผู้ใช้บริการ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ จนกว่า กสทช. ชุดใหม่จะได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่
 
ระเบียบวาระที่   4.72    :  โครงการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบทบาทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อคุณภาพชีวิตชุมชนและความมั่นคงของชาติ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), ทถ. 
 
มติที่ประชุม                โดยที่ปัจจุบัน พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้มีผลบังคับใช้แล้ว และโดยผลของกฎหมายฉบับใหม่ดังกล่าวส่งผลให้กลไกและกระบวนการดำเนินงานของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะตามกฎหมายฉบับเดิมต้องสิ้นผลลง  กอปรกับขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการสรรหาเพื่อแต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่โดยสมบูรณ์ จึงยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น ในขณะนี้จึงยังไม่อาจพิจารณาการสนับสนุนงบประมาณโครงการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบทบาทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อคุณภาพชีวิตชุมชนและความมั่นคงของชาติ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ตามที่เสนอขอมาได้ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อรับทราบตามมติข้างต้น และขอส่งเรื่องคืนต่อไป อย่างไรก็ดี หากทางมหาวิทยาลัยฯประสงค์ และยืนยันจะขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการตามโครงการดังกล่าว ก็ให้พิจารณาเสนอเรื่องมาได้ในโอกาสต่อไป
 
ระเบียบวาระที่   4.73    :  โครงการสร้างสรรค์เยาวชนคนรุ่นใหม่ ผู้มีวินัยใช้ไอซีที (NetGen) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), ทถ.
 
มติที่ประชุม                  เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณจำนวน 4 ล้านบาทในการดำเนินโครงการสร้างสรรค์เยาวชนคนรุ่นใหม่ ผู้มีวินัยใช้ไอซีที (NetGen) ตามที่เสนอขอมาได้อย่างเหมาะสมและรอบคอบมากยิ่งขึ้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปตรวจสอบรายละเอียดค่าใช้จ่ายโครงการ และกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมภายใต้โครงการดังกล่าวว่าเป็นครูจำนวน 60 คน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงคิดเป็นเงินจำนวน ๖๖,๖๖๖.- บาทต่อคน หรือกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนจำนวนประมาณ 1,800 คน รวมถึงตรวจสอบสถานะโครงการอีกครั้งหนึ่งด้วยว่าได้ดำเนินการไปแล้วหรือยัง เนื่องจากเอกสารโครงการที่เสนอมาได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการโครงการฯ ไว้ในเดือนมีนาคม – สิงหาคม 2554 แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาโดยเร็วอีกครั้งหนึ่ง
                                               
ระเบียบวาระที่   4.74    :  โครงการเครือข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย WiMAX โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเพื่อการศึกษา : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก.
 
มติที่ประชุม                  เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 379/2553 ลงวันที่ 23 กันยายน 2553 ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระงับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz เป็นการชั่วคราว ซึ่งผลของคำสั่งดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ในช่วงที่จะนำไปใช้งาน เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ลักษณะเดียวกัน จึงควรต้องรอจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ดังนั้น ในขณะนี้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงยังไม่อาจพิจารณาอนุมัติโครงการเครือข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย WiMAX โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเพื่อการศึกษาได้ ตามความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช., กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช., กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเพื่อการศึกษา เพื่อทราบตามมติข้างต้นต่อไป
 
ระเบียบวาระที่   4.76    :  ขออนุมัติโครงการเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์ผ่านระบบบรอดแบนด์  ไร้สายความเร็วสูง (โครงการระยะที่ ๒) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), ทถ.
 
มติที่ประชุม                 โดยที่ปัจจุบัน พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้มีผลบังคับใช้แล้ว และโดยผลของกฎหมายฉบับใหม่ดังกล่าวส่งผลให้กลไกและกระบวนการดำเนินงานของกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะตามกฎหมายฉบับเดิมต้องสิ้นผลลง  กอปรกับขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการสรรหาเพื่อแต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่โดยสมบูรณ์ จึงยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมถึงสมควรต้องดำเนินการจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และแผนการจัดให้มีการบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึงและการบริการเพื่อสังคมให้แล้วเสร็จก่อน เพื่อมิให้ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ดังนั้น  จึงยังไม่อาจพิจารณาการสนับสนุนงบประมาณโครงการเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์ผ่านระบบ บรอดแบนด์ ไร้สายความเร็วสูง (โครงการระยะที่ 2) ในขณะนี้ได้ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อรับทราบตามมติข้างต้น และขอส่งเรื่องคืนต่อไป อย่างไรก็ดี หากทางศูนย์ฯ ประสงค์ และยืนยันจะขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการตามโครงการดังกล่าว ก็ให้พิจารณาเสนอเรื่องมาได้ในโอกาสต่อไป
 
ระเบียบวาระที่   4.92   :   การขอขยายระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ 2.5 GHz ในโครงการนำร่องเพื่อสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาฯ ของ NECTEC : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก.
 
มติที่ประชุม                เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 379/2553 ลงวันที่ 23 กันยายน 2553 ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระงับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz เป็นการชั่วคราว ซึ่งผลของคำสั่งดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ในช่วงที่ NECTEC ขอมา เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ลักษณะเดียวกัน จึงควรรอจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ดังนั้น ในขณะนี้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงยังไม่อาจพิจารณาอนุมัติให้ NECTEC ใช้คลื่นความถี่ 2.5 GHz (2500-2520 MHz) ในโครงการนำร่องเพื่อสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ในบริบทของชุมชนชนบทด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ภายใต้โครงการไอทีวัลเลย์แม่ฮ่องสอนเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ได้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง NECTEC ทราบตามมติข้างต้นต่อไป
 
ระเบียบวาระที่    4.95    :  การใช้คลื่นความถี่ 2.5 GHz ในโครงการพัฒนาระบบต้นแบบและสร้างกำลังคนด้านเครือข่ายไร้สายของ ม.เกษตรศาสตร์ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก.
 
มติที่ประชุม                  เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 379/2553 ลงวันที่ 23 กันยายน 2553 ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระงับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz เป็นการชั่วคราว ซึ่งผลของคำสั่งดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ในช่วงที่จะนำไปใช้งาน เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ลักษณะเดียวกัน  จึงควรรอจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ดังนั้น ในขณะนี้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงยังไม่อาจพิจารณาอนุมัติให้ ม.เกษตรศาสตร์ ใช้ความถี่วิทยุย่าน 2.5 GHz (2500-2520 MHz) ในโครงการพัฒนาระบบต้นแบบและสร้างกำลังคนด้านเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network Prototype and Man Power Development) ได้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. กทช. สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  และ กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง ม.เกษตรศาสตร์ ทราบตามมติข้างต้นต่อไป
 
ระเบียบวาระที่   4.96    :  แนวทางการดำเนินการกรณีการขอรับใบอนุญาตวิทยุคมนาคมสำหรับการปรับปรุงโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ HSPA ของบริษัท  โทเทิ่ล  แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก.
 
มติที่ประชุม                ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่า โดยที่กรณีการขอรับใบอนุญาตวิทยุคมนาคมสำหรับการปรับปรุงโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ HSPA ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นสิทธิของบริษัทฯ ตามกฎหมายที่บริษัทฯ นั้นมีอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานตามนัยมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และเป็นไปตามมติ กทช. ครั้งที่ 29/2551 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 และมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 6/2554 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ได้รับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม จำนวน 720 เครื่อง โดยใช้ความถี่วิทยุ 839.0-849.0 MHz คู่กับ 884.0-894.0 MHz ณ สถานีฐานที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว (จำนวน 1,220 สถานี) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ โดยบริษัทฯ ต้องแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานรับทราบ (Notify) ตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รวมทั้งให้สำนักงาน กสทช. กำหนดเป็นเงื่อนไขการอนุญาตดังกล่าวให้ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานอย่างเคร่งครัดด้วย
                                            
ระเบียบวาระที่   4.97    :  การสิ้นสุดการอนุญาต ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง (บริษัท เซอร์วิส อินเตอร์เนชั่นแนล โฟน จำกัด) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ปก.
 
มติที่ประชุม                  อนุมัติการสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่งของบริษัท เซอร์วิส อินเตอร์เนชั่นแนล โฟน จำกัด กรณีไม่มีผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ ตามข้อ 26(3) ของประกาศ กทช. เรื่อง เงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.  กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) และให้สำนักงาน กสทช. ประกาศรายชื่อผู้รับใบอนุญาตที่สิ้นสุดการอนุญาตในเว็บไซด์สำนักงาน กสทช. ให้ทราบเป็นการทั่วไป ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   4.101    :  การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือ เดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา ๓๙ วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (กพส. ครั้งที่ 8/2554) : คณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง, พต.
                                     
มติที่ประชุม               เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือ เดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา ๓๙ วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม จำนวน 4 ราย (บมจ. ทีโอที  บมจ. กสท โทรคมนาคม  บจ. ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจนซ์ และ บจ. ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาเห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของผู้ประกอบการ จำนวน 2 ราย ได้แก่ บจ. ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจนซ์ และ บจ. ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำนวน 8 คำขอ 40 เส้นทาง 3 ชุมสาย ทั้งนี้ เป็นไปตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทางเสนอ
 
หมายเหตุ                   ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลืออยู่ทั้งหมดอีกจำนวน ๗๙ เรื่อง สำนักงาน กสทช. จะได้นำเสนอในการประชุม กทช. ครั้งต่อไป

ระเบียบวาระที่   5       :  เรื่องเพื่อทราบ
5.1.    การปฏิบัติตามคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 3/2553 : กม.
5.2     รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 : กม.
5.3     การประชุม Luxemborg Satellite Conference : กร.

ระเบียบวาระที่   5       :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่   5.1    :  การปฏิบัติตามคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ที่ 3/2553 : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ),  กม.

 
มติที่ประชุม               รับทราบผลการปฏิบัติตามคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 3/2553 ระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม ผู้ร้อง กับ บมจ. ทีโอที ผู้ถูกร้อง ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   5.2   :  รายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ),  กม.
 
มติที่ประชุม                 รับทราบรายงานผลการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประจำเดือนเมษายน 2554 จำนวน 2 ราย บจ. ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส และ บจ. ทริปเปิลทรี โกลบอลเน็ท ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
 
ระเบียบวาระที่   5.3    :  การประชุม Luxemborg Satellite Conference : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายทศพรฯ),  กร.
 
มติที่ประชุม                รับทราบรายงานผลการเข้าร่วมประชุม Luxemborg Satellite Conference ของประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. พร้อมคณะ ระหว่างวันที่ 27 – 29 เมษายน 2554 ณ กรุงลักเซมเบิร์ก ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ

ระเบียบวาระที่    6     :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่    6     :  เรื่องอื่นๆ

 
ระเบียบวาระที่   6.1    :  (ร่าง) กรอบการพิจารณา กรณี บมจ. กสท โทรคมนาคม  บจ.บีเอฟเคที (ประเทศไทย) และ บจ.เรียลมูฟ  : กทช. พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
 
มติที่ประชุม              เห็นชอบการกำหนดกรอบการพิจารณาการทำสัญญาดำเนินธุรกิจกรณี บมจ. กสท โทรคมนาคม  บจ. บีเอฟเคที (ประเทศไทย) และ บจ. เรียลมูฟ ตามที่ กทช. นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  การทำสัญญาระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม กับ บจ. บีเอฟเคที (ประเทศไทย) และการทำสัญญาระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม  กับ บจ. เรียลมูฟ ไม่อยู่ในขอบเขตการพิจารณาของ กสทช. เนื่องจากสัญญาดังกล่าวเป็นการทำสัญญาภายใต้กฎหมายแพ่งระหว่างเอกชนกับเอกชน ไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบหรือกำกับดูแลของ กสทช. ทั้งนี้ การตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กสทช. ไม่มีสิทธิไปยกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โดย กสทช. จะทำหน้าที่กำกับดูแลเฉพาะในกรณีเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.
2.  การดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ได้แก่ การกำกับดูแลให้เป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และประกาศ กทช. เรื่อง การประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการและการขายต่อบริการ
3.  ประเด็นการมอบคลื่นความถี่ให้ บจ. บีเอฟเคที (ประเทศไทย) หรือ บจ. เรียลมูฟ เข้ามาบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนหรือเข้ามาเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทน จะเป็นการกระทำที่ขัดต่อมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หรือไม่ ซึ่งสำนักงาน กสทช. จะต้องวิเคราะห์ความหมายและขอบเขตของมาตรา 46 ทั้งในแง่ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย การแข่งขัน และผลกระทบจากการกำกับดูแล (RIA) เพื่อสร้างความชัดเจนในการกำกับดูแลการประกอบกิจการทั้งกรณีของ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ทั้งนี้ ยังรวมถึงการเช่าโครงข่ายเพื่อให้บริการหรือขายต่อบริการ (MVNO) ซึ่งการกำหนดกรอบดังกล่าวจะต้องจัดให้มีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะก่อนด้วย
 
หมายเหตุ                   ในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 เมื่อวันที่  8 มิถุนายน 2554 กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แจ้งว่าไม่รับรองมติในวาระนี้ และได้มีความเห็นต่อมติดังกล่าวตามเอกสารการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 ในวาระที่ 6.1 เรื่องความเห็นส่วนตนต่อมติที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 16/2554 ระเบียบวาระที่ 6.1  
 
ระเบียบวาระที่   6.2    :  คดีปกครองหมายเลขดำที่ 777/2554 : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ),  กม.
 
มติที่ประชุม                  
1.  มอบหมายให้ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. หรือสำนักงาน กสทช. (กรณีหากขัดข้อง) เป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขดำที่ 777/2554 ระหว่าง  บจ. ดิจิตอล โฟน ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลทช. ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
2.  เห็นชอบแนวทางการจัดทำคำให้การคดีปกครองหมายเลขดำที่  777/2554 ระหว่าง  บจ. ดิจิตอล โฟน ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลทช. ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการทางคดีต่อไป ทั้งนี้ ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้รับผิดชอบคดีตามข้อ 1
 
หมายเหตุ                    ในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แจ้งว่าขอไม่รับเป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขดำที่ 777/2554 เนื่องจากขณะนี้มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวนมากแล้ว
 
 
ระเบียบวาระที่   6.3    :  คดีปกครองหมายเลขดำที่ 792/2554 : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ),  กม.
 
มติที่ประชุม                  
1.  มอบหมายให้ กทช.สุธรรม ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. หรือสำนักงาน กสทช. (กรณีหากขัดข้อง) เป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขดำที่ 792/2554 ระหว่าง บมจ. ทีโอที ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลทช. ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2  
2.  เห็นชอบแนวทางการจัดทำคำให้การคดีปกครองหมายเลขดำที่  792/2554 ระหว่าง บมจ. ทีโอที ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลทช. ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการทางคดีต่อไป ทั้งนี้ ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้รับผิดชอบคดีตามข้อ 1
 
หมายเหตุ                    ในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แจ้งว่าขอไม่รับเป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขดำที่ 792/2554 เนื่องจากขณะนี้มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวนมากแล้ว
 
ระเบียบวาระที่   6.4    : คดีปกครองหมายเลขดำที่ 778/2554 : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ),  กม.
 
มติที่ประชุม                  
1.  มอบหมายให้ กทช.สุธรรม ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. หรือสำนักงาน กสทช. (กรณีหากขัดข้อง) เป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขดำที่ 778/2554 ระหว่าง บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลทช. ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2  
2.  เห็นชอบแนวทางการจัดทำคำให้การคดีปกครองหมายเลขดำที่   778/2554 ระหว่าง บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลทช. ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการทางคดีต่อไป ทั้งนี้ ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้รับผิดชอบคดีตามข้อ 1
 
หมายเหตุ                    ในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แจ้งว่าขอไม่รับเป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขดำที่ 778/2554 เนื่องจากขณะนี้มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวนมากแล้ว
 
ระเบียบวาระที่  6.5    :  คดีปกครองหมายเลขดำที่ 793/2554 : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ),  กม.
 
มติที่ประชุม                  
1.  มอบหมายให้ กทช.สุธรรม ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. หรือสำนักงาน กสทช. (กรณีหากขัดข้อง) เป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขดำที่ 793/2554 ระหว่าง บจ. ทรู มูฟ ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลทช. ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2  
2.  เห็นชอบแนวทางการจัดทำคำให้การคดีปกครองหมายเลขดำที่  793/2554 ระหว่าง บจ. ทรู มูฟ ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลทช. ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการทางคดีต่อไป ทั้งนี้ ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้รับผิดชอบคดีตามข้อ 1
 
หมายเหตุ                   ในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 17/2554 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แจ้งว่าขอไม่รับเป็นผู้รับผิดชอบคดีปกครองหมายเลขดำที่ 793/2554 เนื่องจากขณะนี้มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวนมากแล้ว

สร้างโดย  -   (29/2/2559 17:51:32)

Download

Page views: 242