สรุปมติที่ประชุม กสทช. 26/2554

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ 
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 26/2554
วันพุธที่ 24 สิงหาคม 2554  เวลา  09.30  น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12  อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์           ประพิณมงคลการ      ประธานกรรมการ
2.  รองศาสตราจารย์สุธรรม        อยู่ในธรรม               กรรมการ
3.  นายสุรนันท์                        วงศ์วิทยกำจร           กรรมการ
4.  พันเอก นที                         ศุกลรัตน์                กรรมการ 
5.  รองศาสตราจารย์พนา            ทองมีอาคม            กรรมการ
6.  นายฐากร                             ตัณฑสิทธิ์            รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กทช.ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช.
 
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1.  นายอารักษ์                โพธิทัต                 ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการประชุมและเลขานุการ
2.  นางดวงเดือน              เสวตสมบูรณ์          ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการและติดตามประเมินผล
3.  นายบุญยิ่ง                 โหมดเทศน์            ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนมติและรายงานการประชุม
4.  นางอรุณ                    วงศ์ศิวะวิลาส          ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนงานวาระการประชุม
5.  นางสาวจิรประภา          สุดสาคร                ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6.  นางสาวสุภาวดี             สดศรี                   ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
7.  นางสาวจุฑาสินี            คำบำรุง                 ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
8.  นางสาวกุลรดา             ไชยศร                  พนักงานปฏิบัติการประจำส่วนงาน กทช.สุธรรมฯ

ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
                                       
1.  เมื่อวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. ได้เข้าประชุมชี้แจงเรื่องการให้การสนับสนุนเงินจำนวน 84 ล้านบาท ตามโครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมต่อคณะกรรมาธิการสามัญตรวจสอบประวัติความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กสทช.
2.  ประธาน กทช.ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กสทช. ได้เปิดการสัมมนาหัวข้อ “Policy and Regulations in ICT Development for Mobile and Broadband Diffusion” ซึ่งเป็นการจัดสัมมนาร่วมระหว่าง สำนักงาน กสทช. Waseda University, Japan และ Chalmers University of Technology, Sweden เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา ก็เป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งจะมีการมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ที่เข้าร่วมการสัมมนาครบเต็มเวลา  และได้เปิดการจัดสัมมนาเรื่อง   “Frontier Lightwave Communications” โดยกลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช.  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ National Institution of Information and Communications Technology (NICT) ประเทศญี่ปุ่น
3.  กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า ได้มีหนังสือแจ้งเวียน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทราบ เรื่อง การจัดประชุม 19 th ITS Biennial Conferrence ๒๐๑๒ ซึ่งจะต้องไป announce ที่เมืองบูดาเปสต์ (Budapest) ประทศฮังการี โดยจะต้องรายงานต่อ Board of Director เนื่องจากเป็นกระบวนการที่จะต้องดำเนินการล่วงหน้าก่อนที่จะเริ่มกระบวนการต่อไป ขณะนี้ได้นัดหารือกับคุณคริสตินาฯ ซึ่งเป็น Regulator ของประเทศฮังการีที่มีการดำเนินงานเรื่อง Switch-over จึงจะจัด Special Session เพื่อให้ Regulator ของฮังการีได้หารือกับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. โดยจะเป็นการดำเนินการในลักษณะ Courtesy Visit  ซึ่ง ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าได้หารือกับ Prof. Erik Bohlin ว่าในช่วงวันที่จะ announce ที่ Budapest จะต้องเตรียมอะไรบ้าง ซึ่งได้แจ้งว่าจะต้องเตรียมในส่วนของ Program การดำเนินงาน และเรื่องสถานที่จัดงาน
4.  กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าการจัดประชุม ITS ได้ดำเนินการล่วงหน้ามา 2 ปีแล้ว ซึ่งวันที่ไป propose bid ได้แจ้งรายละเอียดทั้งหมดไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อถึงวันนั้นจะไปยืนยันโดยการประกาศอย่างเป็นทางการ และแจ้งให้รับทราบโดยทั่วกัน เพื่อจัดส่งเอกสารซึ่งต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งปี รวมทั้งจะต้องตั้ง International Panel ซึ่งประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. ได้กล่าวเสริมว่า ควรจะแจ้งบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อขอให้ยืนยันในการเข้าร่วมกับเราในการจัดงานครั้งนี้ ซึ่ง กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยินดีที่จะเข้าร่วม และหากมีช่องทางติดต่ออยู่ใน Webpage ของ กสทช. ก็สามารถ link เข้าไปที่ บมจ.การบินไทย โดยจะมีการจัดช่องทางพิเศษไว้ให้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง
5.  กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้หารือที่ประชุมเรื่องการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพราะขณะนี้วุฒิสภาอยู่ในระหว่างการคัดเลือก กสทช. ซึ่งควรจะต้องเตรียมแผนการดำเนินการรองรับไว้ ในการนี้ กทช. สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้กล่าวเสริมว่า ตามกำหนดการเมื่อวุฒิสภาคัดเลือก กสทช. หาก กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 2 ท่านได้รับการคัดเลือก ก็จะต้องลาออกจากตำแหน่งภายใน 15 วัน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ก็จะมีเหลืออยู่ 3 ท่าน ทำให้ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ดังนั้น จะต้องเร่งพิจารณาเรื่องที่ยังไม่ได้พิจารณาให้เสร็จก่อนที่วุฒิสภาจะมีมติคัดเลือก กสทช. และเพื่อไม่ให้ภารกิจสะดุด อาจมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการในส่วนของงานประจำ โดยใช้อำนาจ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จะได้หรือไม่ มิฉะนั้นจะมี Vacuum ในห้วงระยะเวลาระหว่างรอโปรดเกล้าแต่งตั้ง ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้กล่าวเสริมว่าควรมอบอำนาจให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เพื่อให้ดำเนินงานต่อไปได้จะดีกว่า ทั้งนี้ โดยไม่ดำเนินการเรื่องใหม่ๆ แต่จะดำเนินการในเรื่องที่เป็น Functional  อาทิ การต่ออายุใบอนุญาต  การอนุมัติเลขหมายโทรคมนาคม นอกจากนี้ กทช. สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้หารือเพิ่มเติมว่า ควรให้สำนักงาน กสทช. นำประเด็นเรื่องนี้ไปหารือคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสำนักงาน กสทช. ซึ่งประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. ได้กล่าวเสริมว่า ขอให้หารือทั้งเชิงกฎหมายและเชิงรูปธรรม ซึ่งควรจะได้จัดทำเป็น Lists รายการที่สามารถมอบอำนาจให้ดำเนินการได้ เพื่อให้มีความชัดเจนในการพิจารณา
6.  ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. (นายฐากร  ตัณฑสิทธิ์) ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบเรื่อง การแถลงนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ กสทช. จึงได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. จัดทำบทวิเคราะห์เพื่อนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาต่อไป 
มติที่ประชุม            
1.  รับทราบเรื่องการเข้าประชุมชี้แจงเรื่องการให้การสนับสนุนเงินจำนวน 84 ล้านบาท ตามโครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม และการจัดสัมมนา “Policy and Regulations in ICT Development for mobile and Broadband Diffusion” ซึ่งเป็นการจัดสัมมนาร่วมระหว่าง กสทช.  มหาวิทยาลัย Waseda ประเทศญี่ปุ่น และ Chalmers University of Technology ประเทศสวีเดน และจัดสัมมนาเรื่อง “Frontier Lightwave Communications” ระหว่างกลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม  สำนักงาน กสทช.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ National Institution of Information and Communications Technology (NICT) ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 ตามที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
2.  รับทราบการรายงานความคืบหน้าการเตรียมการการจัดประชุม 19 th ITS Biennial Conferrence ๒๐๑๒ ตามที่กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ
3.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.นำเรื่องการมอบอำนาจ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ที่เหลืออยู่ในห้วงระยะเวลาหลังจากวุฒิสภามีมติคัดเลือก กสทช.แล้ว และอยู่ระหว่างรอพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ไปหารือคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสำนักงาน กสทช. เพื่อขอความเห็นถึงแนวปฏิบัติที่เหมาะสม แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาโดยด่วนต่อไป
 4.  รับทราบเรื่อง การแถลงนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ กสทช. ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. จัดทำบทวิเคราะห์เพื่อนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาตามที่ปฏิบัติหน้าที่ ลสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่  2  :  เรื่องรับรองรายงานการประชุม รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 25/2554   วันพุธที่ 17 สิงหาคม 2554
ระเบียบวาระที่  2  :  รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 25/2554 วันพุธที่ 17 สิงหาคม 2554
 
มติที่ประชุม                
1.  รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 25/2554 เมื่อวันพุธที่ 17 สิงหาคม 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยมีข้อแก้ไข ดังนี้
1.1 แก้ไขข้อความในมติวาระที่ 4.50 ข้อ 1.1) จากเดิม “แต่ต้องไม่เกินสองหมื่นบาทต่อวัน ตามมาตรา 58(2) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการฯ” เป็น “แต่ต้องไม่ต่ำกว่าสองหมื่นบาทต่อวัน ตามมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544”
1.2 ให้ปรับแก้ไขข้อความในมติวาระที่ 4.77 โดยใช้ข้อความใหม่ ดังนี้ “ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่เรื่องการสื่อสารผ่านดาวเทียม นั้น บุคลากรของสำนักงาน กสทช. มีความรู้และมีประสบการณ์อยู่แล้วพอสมควร ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วม กสทช. และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อร่างหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารตามที่เสนอมา ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปพิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อร่างหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารที่เป็นบุคลากรจากสำนักงาน กสทช. ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องดาวเทียม สำหรับบุคลากรจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นั้น สามารถเชิญเข้าร่วมการประชุมตามความจำเป็นและเหมาะสมได้เป็นครั้งคราว ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง”
1.3 ให้ปรับแก้ไขมติที่ประชุมวาระที่ 4.83 – 4.85 ใหม่โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามความเห็นคณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง ทั้งนี้ สำหรับความเห็นของ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ให้ใส่ประกอบกับมติไว้ด้วย ดังนั้น มติที่ประชุมในวาระดังกล่าวที่ปรับปรุงใหม่แล้วจึงมีข้อความเป็นดังนี้     
วาระที่ 4.83
มติที่ประชุม
เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของผู้ประกอบการ จำนวน 5 ราย  ได้แก่  บมจ.ทีโอที  บมจ.กสท โทรคมนาคม  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์  บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ และ บจ.ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำนวน 42 คำขอ 350 เส้นทาง 1 ชุมสาย ตามความเห็นคณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง ซึ่งเป็นการพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
อนึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  มีความเห็นดังนี้
1. เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของผู้ประกอบการ จำนวน 3 ราย  ได้แก่  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์  บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ และ บจ.ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค  จำนวน 34 คำขอ 303 เส้นทาง 1 ชุมสาย
2. สำหรับกรณี บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม นั้นไม่อาจพิจารณาเห็นชอบได้ เนื่องจาก บมจ.ทีโอที ยังไม่มีการยืนยันอำนาจหน้าที่ของ กทช.แต่อย่างใด ส่วนกรณี บมจ.กสท โทรคมนาคม แม้จะมีการยืนยันแต่เห็นว่า ยังไม่เพียงพอที่จะยืนยันอำนาจหน้าที่ของ กทช. ว่าสามารถดำเนินการตามคำขอของ บมจ.กสท โทรคมนาคมได้ 
วาระที่  4.84
มติที่ประชุม
1.  เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของผู้ประกอบการ จำนวน 6 ราย  ได้แก่  บมจ.ทีโอที  บมจ.กสท โทรคมนาคม  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์  บจ.ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค  และ บจ.ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำนวน 64 คำขอ 457 เส้นทาง 23 ชุมสาย ตามความเห็นคณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง ซึ่งเป็นการพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 โดยให้เพิ่มเงื่อนไขว่า ห้ามมิให้นำไปใช้ในกิจการกระจายเสียง ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้น จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุมัติของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมงานดังกล่าว รวมทั้งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กทช.กำหนด โดยเคร่งครัดต่อไป
2.  เห็นชอบแผนผังการตั้งเสาโทรคมนาคม จำนวน 3 คำขอ 7 สถานี ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม เนื่องจาก มีความสอดคล้องกับเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม โดยได้ปฏิบัติตามมาตรฐานสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) และการดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นการกระทบต่อการใช้ประโยชน์ สิทธิของผู้เป็นเจ้าของสิทธิ ความมั่นคงของรัฐ รวมถึงไม่เป็นการกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สุขอนามัย ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน หรือประโยชน์ต่อสาธารณะจนเกินสมควร ตามความเห็นตามความเห็นคณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง
     อนึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  มีความเห็นดังนี้
1.  เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของผู้ประกอบการ จำนวน 4 ราย ได้แก่ บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์, บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์, บจ.ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค และ บจ.ยูไนเต็ด  อินฟอเมชั่น ไฮเวย์) จำนวน 50 คำขอ 318 เส้นทาง 23 ชุมสาย
2.  สำหรับกรณี บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม นั้น ไม่อาจพิจารณาเห็นชอบได้ เนื่องจาก บมจ.ทีโอที ยังไม่มีการยืนยันอำนาจหน้าที่ของ กทช.แต่อย่างใด ส่วนกรณี บมจ.กสท โทรคมนาคม แม้จะมีการยืนยันแต่เห็นว่า ยังไม่เพียงพอที่จะยืนยันอำนาจหน้าที่ของ กทช. ว่าสามารถดำเนินการตามคำขอของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้        
3.  สำหรับกรณีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม มีคำขอตั้งเสาโทรคมนาคมเพื่อขยายพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่CDMAนั้น อาจสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามความตกลงในสัญญาการทำการตลาดและสัญญาเช่า บำรุงรักษาโครงข่ายที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ทำกับ บริษัท  ฮัทชิสันฯ ซึ่งมีประเด็นที่ควรตระหนักถึงในแง่ของการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในปัจจุบันคือ การทำสัญญาฯ นี้ เป็นการดำเนินการประกอบกิจการภายหลังจากพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มีผลใช้บังคับ สัญญาดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติฯ นี้ กอปรด้วยผลตามมาตรา 46 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติฯ ที่บัญญัติว่า “ผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนหรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้” จึงเห็นได้ว่า สัญญาระหว่างบริษัททั้งสอง จึงไม่ต้องด้วยผลแห่งกฎหมายข้างต้น เมื่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายมิได้บัญญัติรับรองหรือก่อให้เกิดสิทธิที่ไม่สามารถทำสัญญาการอนุญาตให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนได้นั้น สัญญาฯ ที่  บมจ.กสท โทรคมนาคม ทำกับบริษัท ฮัทชิสันฯ จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ โดยปราศจากกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่รองรับ เช่นนี้ ประเด็นการยื่นคำขอตั้งเสาโทรคมนาคมของ บมจ.กสท โทรคมนาคม จึงจะถือเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามข้อสัญญาแก่ บริษัท ฮัทชิสันฯ หรือไม่ และสัญญาดังกล่าวถือเป็นสัญญาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เพราะหากเป็นการปฏิบัติตามสัญญาที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะส่งผลให้การปฏิบัตินั้นกลายเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมายเช่นกัน ซึ่งในประเด็นการพิจารณาสัญญาฯ ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บริษัท ฮัทชิสันฯ นี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากหน่วยงานหลายฝ่าย และ กสทช.ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ให้ชัดเจน อย่างไรก็ดี ยังคงมีแนวความเห็นจากหน่วยงานอื่นเป็น 2 แนวทางด้วยกัน กล่าวคือ การประชุมของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เห็นว่าการทำสัญญาดังกล่าวขัดต่อมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 หรืออีกแนวทาง คือ ความเห็นจากสำนักงานอัยการสูงสุด เห็นว่า การกระทำสัญญาดังกล่าวไม่ขัดต่อมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553  แต่อย่างใด ดังนั้น จึงเห็นควรชะลอการพิจารณาอนุมัติในส่วนของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในคำขอตั้งเสาโทรคมนาคมเพิ่มเติมไว้ก่อน จนกว่าคณะกรรมการเฉพาะกิจจะได้พิจารณายืนยันแนวทางต่อไป 
วาระที่  4.85
มติที่ประชุม
1.  เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของผู้ประกอบการ จำนวน 5 ราย  ได้แก่ บมจ.ทีโอที  บมจ.กสท โทรคมนาคม  บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์   บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ และ บจ.ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค  จำนวน 24 คำขอ 215 เส้นทาง 9 ชุมสาย ตามความเห็นคณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง ซึ่งเป็นการพิจารณาคำขอใช้สิทธิตามประกาศ กทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปักหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบใดในการให้บริการโทรคมนาคม (หรือหลักเกณฑ์สิทธิแห่งทาง) และมาตรา 39 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2533 โดยให้เพิ่มเงื่อนไขว่า ห้ามมิให้นำไปใช้ในกิจการกระจายเสียง ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สิทธิที่ได้รับตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นสิทธิเชิงทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงาน ดังนั้น จึงต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบก่อนดำเนินการ และการอนุมัติของ กทช. ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะขัดหรือแย้งกับสิทธิการร่วมงานดังกล่าว รวมทั้งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กทช.กำหนด โดยเคร่งครัดต่อไป
2.  เห็นชอบแผนผังการวางระบบเคเบิลใยแก้วใต้น้ำอ่าวไทย เส้นทางสถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 2 สงขลา - สถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 3 ศรีราชา ชลบุรี ตามโครงการเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอ่าวไทย ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม จำนวน 1 คำขอ 1 เส้นทาง ตามความเห็นคณะอนุกรรมการพิจารณาสิทธิแห่งทาง เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อระบบโทรคมนาคมของประเทศโดยรวม คุณภาพของสัญญาณจะมีความเสถียรมากขึ้น สามารถรองรับปริมาณลูกค้าได้มากขึ้น และบริษัทฯ ได้มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการ อีกทั้งยังไม่ส่งผลกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย ทัศนียภาพ และความมั่นคงของรัฐจนเกินสมควร รวมทั้งบริษัทฯ ได้จัดทำแนวทางการแก้ไขหรือบรรเทาความเสียหายเรียบร้อยแล้ว
อนึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.  มีความเห็นดังนี้
1.  เห็นชอบแผนผังการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของผู้ประกอบการ จำนวน 3 ราย ได้แก่ บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์, บจ.ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ และ บจ.ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค) จำนวน 22 คำขอ 158 เส้นทาง 8 ชุมสาย
2.  สำหรับกรณี บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม นั้นไม่อาจพิจารณาเห็นชอบได้ เนื่องจาก บมจ.ทีโอที ยังไม่มีการยืนยันอำนาจหน้าที่ของ กทช.แต่อย่างใด ส่วนกรณี บมจ.กสท โทรคมนาคม แม้จะมีการยืนยันแต่เห็นว่า ยังไม่เพียงพอที่จะยืนยันอำนาจหน้าที่ของ กทช. ว่าสามารถดำเนินการตามคำขอของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้        
3.  สำหรับกรณีแผนผังการวางระบบเคเบิลใยแก้วใต้น้ำอ่าวไทย เส้นทางสถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 2 สงขลา – สถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 3 ศรีราชา ชลบุรี ตามโครงการเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอ่าวไทยของ บมจ.กสท โทรคมนาคม จำนวน 1 คำขอ 1 เส้นทาง นั้น ไม่อาจเห็นชอบได้ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า “ โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก ทั้งในคดีปกครองหมายเลขดำที่ 1411/2553 หมายเลขดำที่ 1436/2553 หมายเลขดำที่ 1033/2553 หมายเลขดำที่ 2/2554 หมายเลขดำที่ 328/2554 และหมายเลขดำที่   397/2554 เป็นต้น โดยมีประเด็นพิพาทที่สำคัญคือ บมจ.กสท โทรคมนาคม อ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง ซึ่งการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจอันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 เท่านั้น หากยังเห็นว่า การดำเนินการของ กทช. และบทบัญญัติแห่งมาตรา 46 มาตรา 53 และมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ขัดต่อมาตรา 47 วรรคสอง มาตรา 305(1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนี้ หากปรากฏในท้ายที่สุดว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นต้น ผมจึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย อย่างไรก็ดี แม้จะให้มีหนังสือสอบถาม บมจ.กสท โทรคมนาคม มาโดยตลอดถึงความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทช. ในการอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมว่ายังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งได้รับคำยืนยันตามคำกล่าวในคำฟ้องว่า กทช. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานดังกล่าว”
1.4  ให้ปรับแก้ไขมติที่ประชุมวาระที่ 4.89 ใหม่ให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยให้ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาความเหมาะสมของถ้อยคำอีกครั้งหนึ่งด้วย ทั้งนี้ มติที่ประชุมวาระที่ 4.89 ที่ได้ปรับปรุงแก้ไข และผ่านการพิจารณาความเหมาะสมจาก กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เรียบร้อยแล้ว เป็นดังนี้ มติที่ประชุม
1.  โดยที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ได้มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการแล้ว ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และค่าธรรมเนียมซึ่งต้องชำระเป็นรายปีมีความสอดคล้อง และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามมาตรา 45 วรรคสาม กอรปกับเพื่อมิให้เป็นภาระแก่ผู้อยู่ภายใต้การบังคับใช้ของกฎหมาย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและผู้บริโภค รวมถึงเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการบริหารจัดการ และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในทางปฏิบัติที่อาจเกิดจากการใช้ดุลยพินิจเฉพาะรายได้ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบในหลักการการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และค่าธรรมเนียมชำระรายปี ในอัตรา 2% โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
1.1  การกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และค่าธรรมเนียมชำระรายปี  ในอัตรา 2% หมายถึงค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ และค่าธรรมเนียมในการกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคม มิได้รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่น เว้นค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคม ค่าธรรมเนียมค่าเรียกเก็บเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น
1.2  การชำระค่าธรรมเนียมในอัตรา 2% ตามข้อ 1.1 เป็นการชำระแบบ Lump Sum หรือเหมาจ่ายร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย (Gross Revenue) ของผู้รับใบอนุญาต โดยไม่มีการหักลดหย่อนเพิ่มเติมอีกเพื่อลดดุลยพินิจ
1.3  การกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ และค่าธรรมเนียมในการกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคมในอัตรา 2% ตามแนวทางข้างต้นให้มีผลบังคับใช้ทันที สำหรับรายการเรียกเก็บของปีนั้นๆ ที่ถึงกำหนดชำระ แต่ไม่รวมรายการที่ชำระแล้วอันมีลักษณะเป็น fait accompli เมื่อได้มีการออกประกาศอย่างเป็นทางการโดยถูกต้อง และสมบูรณ์ตามกระบวนการและขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปพิจารณาดำเนินการในขั้นตอนรายละเอียดตามแนวทางในข้อ 1 โดยเฉพาะการออกประกาศ หรือการปรับปรุงแก้ไขระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว รวมทั้งการวิเคราะห์รายละเอียดของข้อมูลเพื่อประกอบการดำเนินการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ และการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามมาตรา 45 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาต่อไป”  
1.5  ให้ปรับแก้ไขข้อความในมติวาระที่ 5.9 โดยใช้ข้อความใหม่ ดังนี้ “โดยที่ปัจจุบันเป็นช่วงเวลา (รอยต่อ) ที่กระบวนการสรรหา กสทช. ใกล้เวลาเสร็จตามกำหนดเวลา และ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. กำลังจะหมดวาระการปฏิบัติหน้าที่ลง ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณา งบการเงินของสำนักงาน กสทช. สำหรับไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอมีความถูกต้อง และละเอียดรอบคอบมากยิ่งขึ้นไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการโดยผ่านกระบวนการตรวจรับรองที่มี Auditor เป็นผู้ตรวจรับรอง ให้ถูกต้อง และชัดเจนก่อน แล้วจึงนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ”  
2.  โดยที่รายละเอียดของเรื่องในวาระที่ 6.6  สมควรต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ 9 (5) ของระเบียบ กทช.ว่าด้วยมาตรการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ พ.ศ.2548 ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวต่อไป ตามความเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
ระเบียบวาระที่  3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 25/2554 วันพุธที่ 17 สิงหาคม 2554
ระเบียบวาระที่  3  :   รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 25/2554 วันพุธที่ 17 สิงหาคม 2554 

มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 25/2554 เมื่อวันพุธที่ 17 สิงหาคม 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ  
ระเบียบวาระที่   4  :   เรื่องเพื่อพิจารณา  
กลุ่มเรื่องที่ กทช. เสนอ                            
4.1   รายงานสรุปผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (กรณีศึกษาการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน) : ประธาน กทช., คณะอนุกรรมการวางกรอบปฏิบัติด้านเทคนิคฯ
4.2    การประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในช่วงเปลี่ยนผ่าน : กทช.พนา
กลุ่มเรื่องที่สำนักงานฯ เสนอ                                                                                     
กลุ่มเรื่องกฎหมาย
4.3   ผลการพิจารณาปัญหาการถือหุ้น การครอบงำกิจการ และการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยคนต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคมสภาผู้แทนราษฎร : กม.
4.4     การพิจารณาข้อเสนอของบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด ในการขอแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดในแบบสัญญการให้บริการโทรคมนาคม : กม.
กลุ่มเรื่องใบอนุญาต     
ก. การขอรับใบอนุญาต/การขอขยายระยะเวลา
4.5     บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สองที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง : ปก.
4.6     ขอหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สามของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.7     เงื่อนไขเฉพาะสำหรับใบอนุญาตแบบที่สาม การให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) (วาระต่อเนื่อง): ปก.
4.8      การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่งของบริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด : ปก.
4.9      บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง (บริการโทรศัพท์สาธารณะผ่านโครงข่ายไร้สายโดยใช้ SIM Card) (วาระต่อเนื่อง) : ปก.
4.10    บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม (บริการโทรศัพท์สาธารณะ) (วาระต่อเนื่อง) : ปก.
ข. เรื่องอื่นๆ
4.11   บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แจ้งความประสงค์ขอประกอบกิจการประเภทขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 800 MHz : ปก.
4.12   การกำหนดขอบเขตของการให้บริการเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต (วาระต่อเนื่อง) : ปก.
4.13   การขอขยายระยะเวลาการอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ของ บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด (วาระต่อเนื่อง) : ปก.
4.14   บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตหยุดการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 800 MHz ระบบ AMPS ในสถานีฐาน จำนวน 37 สถานี : ปก.
กลุ่มเรื่องการขอใช้ความถี่วิทยุ/ตั้งสถานีวิทยุ
4.15   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการแก่บริษัท เอ็นเอ็นอาร์ โกลบอลโลจิสติคส์ (ประเทศไทย)) : ฉก.     
4.16   บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุเดิม และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเดิมที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว : ฉก.
4.17   การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและยกเลิกใช้ความถี่วิทยุ (บริษัท น้ำตาลเกษตรไทย จำกัด และ บริษัท เกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล จำกัด) : ฉก.
4.18   การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุและเครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท ขอนแก่น แอลกอฮอล์ จำกัด) : ฉก.
4.19   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท สยามกรกิจ จำกัด) : ฉก.
4.20   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท ฮัลลิเบอร์ตัน เอ็นเนอจี เซอร์วิสเซส อิงค์) : ฉก.
4.21   การอนุญาตให้เอกชนใช้ความถี่วิทยุสำหรับข่ายสื่อสารเฉพาะกิจ
(บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด และบริษัท ก้าวหน้า เพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด) : ฉก.
4.22   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอรับการจัดสรรความถี่วิทยุ X-Band และตั้งสถานี ภาคพื้นดินดาวเทียม SMMS (Small Multi Mission Satellite) HJ-1A เพื่อการวิจัย : ฉก.
4.23   การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ขอขยาย จำนวน 8 เส้นทาง) : ฉก.
4.24   การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 6.7 และ 7.5 GHz (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ขอขยาย จำนวน 3 เส้นทาง) : ฉก.
4.25   สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขออนุญาตจัดสรรคลื่นความถี่ C-band ตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน และรับรองการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม : ฉก.
4.26   การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท ดุสิตแมนเนจเม้นท์ จำกัด) : ฉก
4.27   การเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดในขณะที่ใบอนุญาตหมดอายุ : ฉก. (ครั้งที่ 20/54)
4.28   องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุเดิม จำนวน 3 สถานี ที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว : ฉก.
4.29   การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5.11 และ 15 GHz : ฉก.
4.30   โครงการนำร่องระบบวิทยุสื่อสารในภัยสงคราม มูลนิธิกระจกเงา : ฉก.
4.31   บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์เพื่อบรรเทาความเสียหาย : ฉก.
4.32   การออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคม (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)) : ฉก.
4.33   การจัดอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นให้กับพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. : ฉก.
กลุ่มเรื่องการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม
4.34   การพิจารณาดำเนินการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ : กท.
4.35   ขออนุญาตควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด : พต.
4.36   ร่างระเบียบ กสทช. ว่าด้วยกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการงด หรือระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือ
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันประโยชน์สาธารณะ : กท. 
4.37   การรื้อถอนอุปกรณ์ DSLAM : กท.
กลุ่มเรื่องเลขหมาย
4.38   การพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น : กบ.,คกก.กำหนดค่าปรับทางปกครองฯ
4.39   การชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การใช้เลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ สำหรับบริการเรียกออกต่างประเทศที่ใช้รหัสบริการ : กบ.
4.40   เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ : กบ.
กลุ่มเรื่องการบริหารงานของสำนักงานฯ
4.41   การดำเนินการกรณีพนักงานไม่สามารถเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2554 เนื่องจาก
เงินเดือนเต็มขั้นสูงของตำแหน่ง หรือมีเงินเดือนใกล้เต็มขั้นสูงของตำแหน่ง : บค.(ครั้งที่ 8/54)
4.42    ข้อเสนอโครงการประเมินมูลค่าใบอนุญาตเทคโนโลยี 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz  ของประเทศไทย : ปธ.
4.43   ความเห็นในหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าบริการสาขา Information and Communication Technology Service (ICT) : รศ.
กลุ่มเรื่องวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
4.44   การดำเนินการตามความตกลง Mutual Recognition Arrangement (MRAs)สาขาโทรคมนาคม : กร., วท.
4.45   การเรียกคืนคลื่นความถี่ GSM 1900 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ตว.
4.46   การแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ จำนวน 2 ฉบับ : คณะอนุกรรมการมาตรฐาน กทช., วท.
กลุ่มเรื่อง USO
4.47    มาตรการช่วยเหลือการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ : ศฐ., ทถ., พต., สชท.
4.48   (ร่าง) แผนแม่บทการพัฒนาบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (พ.ศ. 2554 – 2558) : ทถ.
กลุ่มเรื่องกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.49   การทบทวนนโยบายในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : กส.
4.50   นโยบายดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 : กส.
4.51   โครงการทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน : กส.
4.52   การพิจารณาดำเนินการคัดเลือกพนักงานตามสัญญาจ้างเพื่อปฏิบัติงานด้านกิจการ วิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กส.
4.53   ผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการแก่ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และเรื่องหลักเกณฑ์การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของผู้ประกอบกิจการที่ดำเนินการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. .... : กส.
กลุ่มเรื่องสถาบัน
4.54   การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี และการจ่ายค่าตอบแทนประจำปี 2552 ของผู้จัดการกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ: คกก.กำกับการบริหารกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ
4.55   การต่อสัญญาการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มภารกิจเลขานุการกองทุนฯ : บค.
4.56   ระเบียบ กทช. ว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2550 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.57   เงื่อนไขการให้บริการคงสิทธิเลขหมายมีลักษณะที่ขัดต่อกฎหมาย : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.58   โครงการพัฒนาศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคม สำหรับคนพิการและ ผู้สูงอายุ (โครงการต่อเนื่อง) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.59   โครงการสนับสนุนการรับเรื่องร้องเรียนและพัฒนาศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ปี 2554 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.60   บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามมติ กทช. ปฏิบัติ หน้าที่ กสทช. : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
4.61   การร้องเรียนปัญหา SMS เข้าข่ายการพนัน : คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม
4.62    สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ : กลุ่มภารกิจด้านการใช้และเชื่อมต่อฯ
4.63    โครงการความร่วมมือสำรวจตลาดสื่อสารของประเทศไทย ประจำปี 2554 และคาดการณ์ ปี 2555 : กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาฯ
กลุ่มเรื่องเสนอใหม่       
4.64   อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาเกี่ยวกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และการพิจารณาใช้
อำนาจตามมาตรา 74 และมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 : กม.     4.65   การอนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อสนับสนุนโครงการ จำนวน 2 รายการ : งป.
  • โครงการที่หลบภัยสึนามิและศูนย์เรียนรู้ภัยธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติ 80    พรรษา ระยะที่ 2
  • โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) และการศึกษาทางไกล (Tele-education) ภายใต้โครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เพื่อครอบครัวเด็กและเยาชนไทย
4.66   การตรวจสอบภายใน : ปต.
4.67   การพิจารณาทบทวนร่างบันทึกการประชุมระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารกับ กสทช. : กร.
4.68   ค่าตอบแทน คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม : ตว.
4.69   การตรวจสอบการใช้งานคลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคม ย่านความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHz ของกลุ่มบริษัทผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทย : ฉก.
4.70   การขออนุญาตทดลองเสริมจุดบอด การรับโทรทัศน์ในเขตกรุงเทพมหานคร ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) / (วาระต่อเนื่อง) : ฉก., สท.
4.71   บริษัท บีบี คอนเน็ค จำกัด ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สองที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง : ปก.
4.72   บริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จำกัด ผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบ WiFi : ปก.
4.73   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 10/2554 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2554 (สถานีวิทยุ กระจายเสียงชุมชนทุ่งศรีเรดิโอ) : กส.
4.74   การขอยกเลิกการแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง L.K. RADIO คลื่นความถี่ 88.35 MHz : กส.
4.75   การกำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาตตามร่างประกาศคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและการประกอบกิจการชั่วคราวในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ : กส.
4.76   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มี
การบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ครั้งที่ 10/2554 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2554 (จำนวน 10 ราย (15 ใบอนุญาต)) : กส.
4.77   รายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 9/2554
เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2554 (จำนวน 3 ราย 6 ช่องรายการ) : กส.
4.78   รายงานผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้
คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2554 และครั้งที่ 10/2554 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2554 เพื่อออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (จำนวน 8 ราย 13 ใบอนุญาต) : กส.
4.79   รายงานผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (จำนวน 11 ราย 25 ใบอนุญาต) : กส.4.80   การให้ความเห็นระเบียบวาระเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2554 (จำนวน 41 ราย 86 ใบอนุญาต) : กส.
4.81   การแจ้งตอบการขออนุญาตจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง : กส.
4.82   พิจารณาหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) : สบท.
ระเบียบวาระที่   4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่   4.8   :  การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่งของบริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.
 
มติที่ประชุม  อนุมัติการสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ประเภทบริการขายต่อบริการ ของบริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 26 ของประกาศ กทช.เรื่อง เงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม (เงื่อนไขในการอนุญาตใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง) ทั้งนี้ หากบริษัทฯ มีความพร้อมก็สามารถมายื่นขอรับใบอนุญาตใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ       
ระเบียบวาระที่   4.12   :  การกำหนดขอบเขตของการให้บริการเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต (วาระต่อเนื่อง) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การให้บริการ VoIP ของผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง ถึงแม้จะมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการเสียง (Voice) รายเดิมไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศ ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ แต่เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ที่ผู้ใช้บริการจะได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการใช้บริการ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ให้บริการเสียง (Voice) พัฒนาการให้บริการและปรับราคาการให้บริการให้สอดคล้องกับสภาวะการแข่งขัน และแนวนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมแล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบตามความเห็นของสำนักงาน กสทช. โดยเห็นสมควรยังไม่กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมหรือข้อจำกัดสำหรับการเลือกวิธีการเชื่อมต่อกับต่างประเทศของผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง จนกว่าจะปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งดังกล่าวว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ การดำเนินการของผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง เพื่อให้บริการดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศหรือข้อกำหนดของ กสทช. ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. , กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงานฯ เสนอ ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของกรรมการกลั่นกรอง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย อาทิ สมควรจัดให้มีการประเมินผลและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้ง อาจพิจารณาเสนอแนะมาตรการเพื่อส่งเสริม VoIP มากกว่าการกำหนดมาตรการเพื่อกำกับดูแล เป็นต้น
ระเบียบวาระที่  4.13   :  การขอขยายระยะเวลาการอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ของ บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด (วาระต่อเนื่อง) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก. 
มติที่ประชุม  อนุมัติการสิ้นสุดใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองของบริษัท สวัสดีช้อป จำกัด ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 24 (2) (6) (7) ของประกาศ กทช. เรื่อง เงื่อนไขมาตรฐานในการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม เงื่อนไขในการอนุญาตใบอนุญาต การให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง เนื่องจาก บริษัทไม่เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ต ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขการอนุญาต และตามที่ กทช. เคยอนุญาตให้บริษัทขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการออกไปอีก 3 เดือน (ครบกำหนดที่ต้องเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2553) แม้บริษัทจะมีการรายงานผลการดำเนินการทุกเดือน แต่ก็ขาดความชัดเจนว่าสามารถเปิดได้เมื่อใด อีกทั้ง การขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการในครั้งนี้ บริษัทได้ขอขยายระยะเวลาหลังกำหนดเวลาที่ต้องเปิดให้บริการสิ้นสุดลง (วันที่ 5 สิงหาคม 2553) จึงถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 3 ของเงื่อนไขในการอนุญาตใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง และเพื่อให้เป็นการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
     อนึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เห็นว่าควรอนุมัติให้บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด ขยายระยะเวลาการอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง เนื่องจากบริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามในการติดต่อ และแจ้งให้ กสทช. ทราบความคืบหน้าเป็นระยะ และเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล จึงควรผ่อนผันได้ เพื่อให้ผู้ใช้บริการไม่เสียประโยชน์                                   
ระเบียบวาระที่  4.19   :  การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท สยามกรกิจ จำกัด) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.                                   
มติที่ประชุม                
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า กรณีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขอขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม เป็นการขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตแล้ว ก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 2553) และเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิม และยังไม่ถูกยกเลิก นำมาใช้งานซ้ำกับเครื่องวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในกิจการของบริษัท สยามกรกิจ จำกัด โดยการเช่าใช้จาก บมจ.กสท โทรคมนาคม และความถี่วิทยุ 450.450 MHz และ 450.500 MHz เป็นความถี่วิทยุในย่าน 450-455 MHzตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ใช้ความถี่วิทยุในกิจกการประจำที่ (Fixed Service) และกิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) เป็นกิจการหลัก ซึ่งการใช้งานความถี่วิทยุของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ใช้ในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) ดังนั้น การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจึงสอดคล้องกับข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และเป็นการใช้ความถี่วิทยุถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม และไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่น ประกอบกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม  ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันว่าตามบทเฉพาะกาล มาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 บัญญัติให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในฐานะ กสทช. จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กสทช. ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีอำนาจเช่นเดียวกับ กสทช. ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 27 (4) (6) บัญญัติให้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนเป็นการอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นการใช้งานตามปกติเพื่อประโยชน์สาธารณะ
2.  ดังนั้น ผลจากการพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 1 แล้ว ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุส่ง/รับ 450.450 MHz  และ 450.500 MHz ระบบ UHF/FM ความกว้างแถบคลื่นไม่เกิน 16 KHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือแก่บริษัท สยามกรกิจจำกัด ผู้เช่าใช้บริการ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. , กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
2.1  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งการอนุญาต ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขอใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2.2  ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ UHF/FM ชนิดมือถือ กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ ความถี่วิทยุส่ง/รับ 450.450 MHz จำนวน 5 เครื่อง และความถี่วิทยุส่ง/รับ 450.500 MHz จำนวน 4 เครื่อง
2.3  เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2.  ต้องเป็นประเภทผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
2.4  จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.5  บมจ. กสท โทรคมนาคม จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
2.6  ให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว ให้บริษัท สยามกรกิจ จำกัด
      “อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม  ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว  ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย  เป็นต้น จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น” 
ระเบียบวาระที่  4.20  :  การขออนุญาตขยายข่ายสื่อสาร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (บริษัท ฮัลลิเบอร์ตัน เอ็นเนอจี เซอร์วิสเซส อิงค์): ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.                                   
มติที่ประชุม              
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า กรณีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ขอขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม เป็นการขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคม โดยใช้ความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตแล้ว ก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 2553) และเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิม และยังไม่ถูกยกเลิก นำมาใช้งานซ้ำกับเครื่องวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในกิจการของบริษัท ฮัลลิเบอร์ตัน เอ็นเนอจี เซอร์วิสเซส อิงค์ โดยการเช่าใช้จาก บมจ.กสท โทรคมนาคม และความถี่วิทยุส่ง/รับ 165.175 MHz  เป็นความถี่วิทยุในย่าน 156.8375 – 174 MHz  ตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้ใช้ความถี่วิทยุในกิจกการประจำที่ (Fixed Service) และกิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) เป็นกิจการหลัก ซึ่งการใช้งานความถี่วิทยุของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ใช้ในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) ดังนั้น การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจึงสอดคล้องกับข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และเป็นการใช้ความถี่วิทยุถูกต้องตามกิจการโทรคมนาคม และไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่น  ประกอบกับ บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันว่าตามบทเฉพาะกาล มาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553  บัญญัติให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในฐานะ กสทช. จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กสทช. ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีอำนาจเช่นเดียวกับ กสทช. ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 27 (4) (6) บัญญัติให้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่อง วิทยุคมนาคมในกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนเป็นการอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นการใช้งานตามปกติเพื่อประโยชน์สาธารณะ
2.  ดังนั้น ผลจากการพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 1 แล้ว ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ขยายข่ายสื่อสารและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก (Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุส่ง/รับ 165.175 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบคลื่นไม่เกิน 16 KHz เพื่อให้บริการวิทยุคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือแก่ บริษัท ฮัลลิเบอร์ตัน เอ็นเนอจี เซอร์วิสเซส อิงค์ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. , กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอก นทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
2.1  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งการอนุญาต ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขอใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2.2  ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ชนิดมือถือ กำลังส่ง ไม่เกิน 5 วัตต์ จำนวน 10 เครื่อง
2.3  เครื่องวิทยุคมนาคมในข้อ 2.  ต้องเป็นประเภทผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
2.4  จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.5  บมจ.กสท โทรคมนาคม จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
2.6  ให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ติดต่อสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว ให้บริษัท ฮัลลิเบอร์ตัน เอ็นเนอจี เซอร์วิสเซส อิงค์)
      “อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540  สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157  เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย  เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น ”
ระเบียบวาระที่  4.21   :  การอนุญาตให้เอกชนใช้ความถี่วิทยุสำหรับข่ายสื่อสารเฉพาะกิจ (บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด และบริษัท ก้าวหน้า เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด) : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.                                   
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การขออนุมัติให้ บจ.โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น (จังหวัดกาญจนบุรี) และ บจ. ก้าวหน้า  เพาเวอร์ ซัพพลาย (โครงการ 2)   ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมระบบ VHF/FM ชนิดประจำที่ บริษัทละ 1 เครื่อง โดยใช้ความถี่วิทยุ 167.525 MHz ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นการขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุในกิจการวิทยุคมนาคม เพื่อการใช้งานเป็นข่ายสื่อสารเฉพาะกิจ สำหรับการประสานงานการเชื่อมโยง รับ-จ่าย กระแสไฟฟ้าระหว่างสถานีไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกับหน่วยงานที่ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มิใช่การขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุในกิจการโทรคมนาคม เพื่อการประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นแต่อย่างใด และความถี่วิทยุ 167.25 MHz เป็นความถี่วิทยุที่คณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่แห่งชาติ (กบถ.)ได้จัดสรรให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้งานเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารและประสานงานระหว่างสถานีควบคุมการจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กับสถานีไฟฟ้าย่อย การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าว จึงมิใช่การจัดสรรความถี่วิทยุใหม่ แต่เป็นการบริหารความถี่วิทยุที่คณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ได้จัดสรรและกำหนดกรอบการอนุญาตไว้แล้ว รวมทั้งเป็นการใช้คลื่นความถี่เดิมตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.๒๔๙๘ และไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ความถี่วิทยุที่ใช้ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามที่ศาลปกครองมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาและเป็นไปตามมติ กทช. ในการประชุมครั้งที่ 33/2553 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553 ที่กำหนดให้การจัดสรรคลื่นความถี่เป็นเรื่องที่ได้รับอนุญาตมาแล้วก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 2553) และเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิมและยังไม่ถูกยกเลิก ก็สามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นในการต่อใบอนุญาตจะต้องดำเนินการในลักษณะชั่วคราวโดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติให้บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (จังหวัดกาญจนบุรี) ตั้งสถานีฐาน (Base Station) จำนวน 1 สถานี และบริษัท ก้าวหน้าพาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (โครงการ2) ตั้งสถานีฐาน (Base Station) จำนวน 1 สถานี และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก ( Land Mobile Service) โดยให้ใช้ความถี่วิทยุ 167.525 MHz ระบบ VHF/FM ความกว้างแถบความถี่ไม่เกิน 16 KHz ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อใช้ติดต่อประสานงานในการรับ-จ่ายกระแสไฟฟ้ากับสถานีไฟฟ้าบ่อพลอย และวารินชำราบตามลำดับ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไข ดังนี้
1.  ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมระบบ VHF/FM ชนิดประจำที่ กำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ จำนวนบริษัทละ  1 เครื่อง
2.  เครื่องวิทยุคมนาคมตามข้อ 1 ต้องเป็นประเภทผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม (แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2) และเป็นตราอักษรแบบ/รุ่น ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
3.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าว เป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช.ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุ จะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
4.  ให้บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด(จังหวัดกาญจนบุรี) และบริษัทก้าวหน้าเพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (โครงการ2) ชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุตามประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเงินจำนวนบริษัทละ 6,400 บาท  และภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 เป็นเงินจำนวน 448 บาท โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ (แบบ ปท.1.1) พร้อมชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุและภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กสทช. ที่สำนักการคลัง สำนักงาน กสทช.
5.  ให้ระมัดระวังการใช้ความถี่วิทยุเนื่องจากเป็นการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุร่วมกัน
6.  ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตาม กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่ กสทช.กำหนด  หากตรวจสอบพบว่าบริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น (จังหวัดกาญจนบุรี) และบริษัท ก้าวหน้า เพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด (โครงการ 2) ได้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมผิดวัตถุประสงค์หรือมีการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กสทช.จะยกเลิกการอนุญาตทันที
7. ให้บริษัทบริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น (จังหวัดกาญจนบุรี) และบริษัท ก้าวหน้า เพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด (โครงการ 2) ยืนยันการใช้ความถี่วิทยุ 167.525 MHz และยินยอมผูกพันตามเงื่อนไขดังกล่าว เป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากสำนักงาน กสทช. หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้การอนุญาตในครั้งนี้อันสิ้นผล พร้อมทั้งติดต่อสำนักงาน กสทช.เพื่อดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและใบอนุญาตให้ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม
อนึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า การอนุญาตให้เอกชนใช้ความถี่วิทยุสำหรับข่ายสื่อสารเฉพาะกิจ อาจถือเป็นการยินยอมให้ผู้อื่นใช้คลื่นความถี่ที่ไม่สามารถทำได้ตามนัยแห่งมาตรา 46 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 สำหรับกรณีนี้ เห็นควรไม่อนุมัติ และเพื่อให้การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่ต่อไป เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเห็นควรให้สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุในลักษณะเดียวกันทุกฝ่าย ว่าการดำเนินการลักษณะนี้อาจไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อนึ่ง หากผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องการใช้คลื่นความถี่ต่อไป ก็ให้ดำเนินการขอใบอนุญาตโดยตรงกับ กสทช.เพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต  นอกจากนี้ ยังเห็นว่าเป็นกรณีที่เห็นควรให้มีการนำหลักการตามมาตรา 46 มาปรับใช้แก่กรณีกิจการวิทยุคมนาคมด้วย เนื่องจากหลักการดังกล่าวเป็นหลักการซึ่งถือว่าเป็นหัวใจในการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ซึ่งกำหนดให้การใช้คลื่นความถี่ในกิจการต่างๆ จะต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง สอดคล้องกับหลักการที่กำหนดให้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัว โอนให้แก่กันมิได้ ดังนั้น การนำหลักการดังกล่าวมาใช้แก่กรณีกิจการวิทยุคมนาคมจะทำให้การกำกับดูแลกิจการต่างๆ ภายใต้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เป็นไปอย่างสอดคล้องภายใต้บริบททางกฎหมายเดียวกัน อีกทั้งการดำเนินการเช่นนี้ จะอำนวยความสะดวกให้ กสทช. สามารถจัดทำระเบียบผู้ใช้คลื่นความถี่ ป้องกันมิให้เกิดการจัดสรรและออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ซ้ำซ้อน ส่งผลให้การใช้คลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง นอกจากนี้การดำเนินการดังกล่าวยังสามารถลดค่าเช่าทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Rent) ที่เกิดขึ้นด้วย
ระเบียบวาระที่  4.29  :  การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5, 11 และ 15 GHz : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5 ,11 และ 15 GHz เป็นความถี่วิทยุที่ บมจ.ทีโอที ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้วและยังไม่ถูกยกเลิกและมีความสอดคล้องกับประกาศ กทช. ว่าด้วยแผนความถี่วิทยุฯ กิจการประจำที่ความถี่วิทยุย่าน 7.5, 11 และ 15 GHz ซึ่ง การขออนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุในครั้งนี้ บริษัท  แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานตามมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มีความจำเป็นต้องใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวต่อไปอีก เพื่อเชื่อมโยงสัญญาณโครงข่ายวิทยุคมนาคมในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Digital GSM ซึ่งปัจจุบันยังคงให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ประชาชนอยู่ หากไม่อนุญาตขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์ได้ กอปรกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) แจ้งว่ายังคงใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์เดิมติดตั้งใช้งาน ณ สถานีวิทยุคมนาคมเดิมที่ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม และมีรายละเอียดทางด้านเทคนิคเหมือนเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ ดังนั้น การขออนุญาตขยายระยะเวลาในการใช้ความถี่วิทยุครั้งนี้ จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางเทคนิคอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด ดังนั้น  ที่ประชุมจึงมีมติ อนุมัติให้ บมจ.ทีโอที โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุย่าน 7.5, 11 และ 15 GHz ตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการประจำที่ (Fixed Service) จำนวน 4 เส้นทาง เพื่อเชื่อมโยงสัญญาณโครงข่ายวิทยุคมนาคมในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Digital GSM แก่ประชาชนต่อไปอีก จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. , กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ทั้งนี้ การขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
2.  หากการใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวก่อให้เกิดการรบกวนกับข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว บริษัทฯ จะต้องแก้ไขการรบกวนดังกล่าว หรือระงับการใช้งานทันที
3.  บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.  บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันทีเมื่อมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับการจัดสรรความถี่นี้
     “อนึ่ง กรรมการกลั่นกรอง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีความเห็นว่า ได้เคยแสดงความห่วงใยต่อการใช้อำนาจและการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของ กทช. แล้วหลายครั้ง เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต่างได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กทช. จำนวนมาก โดยทั้งสองบริษัทอ้างว่า กทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมและการประกอบกิจการโทรคมนาคม  ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองส่งประเด็นดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหากปรากฏในท้ายที่สุดว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นเหตุให้การกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  มีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น และด้วยผลของคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะมีผลผูกพันทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา เป็นต้น ซึ่งในกรณีดังกล่าว กทช. ได้ถูกทักท้วงจากทั้งสองบริษัทมาโดยตลอด อันมีลักษณะเป็นการกระทำโดยรู้ถึงเหตุแห่งความบกพร่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน และอาจก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายประการอื่นตามมาในภายหลังโดยอัตโนมัติได้ อาทิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น  จึงเห็นว่าการกระทำของ กทช. ที่ยังคงกระทำไปโดยยังไม่ได้รับการยืนยันหรือการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวและถูกทักท้วงเรื่องความบกพร่องของอำนาจเป็นไปโดยประมาท อาจถือเป็นการไม่เคารพซึ่งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏมติที่ประชุม กสทช. อนุมัติให้อนุญาตในวาระที่เกี่ยวกับคำขอหรือคำร้องขอของบริษัททั้งสอง จึงขอไม่รับมติการประชุมที่อนุมัติเกี่ยวกับบริษัททั้งสอง และไม่ขอรับผิดในความผิดใดๆ อันเกิดจากการลงมติในวาระดังกล่าวทั้งสิ้น ” 
ระเบียบวาระที่  4.30  :  โครงการนำร่องระบบวิทยุสื่อสารในภัยสงคราม มูลนิธิกระจกเงา : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ฉก.                                  
มติที่ประชุม  ไม่อนุมัติการสนับสนุนงบประมาณให้กับมูลนิธิกระจกเงาเพื่อดำเนินโครงการนำร่องระบบวิทยุสื่อสารในภัยสงคราม รวมถึงการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับมูลนิธิกระจกเงา ตามที่มูลนิธิฯ เสนอขอ และตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอด้วยตามลำดับ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.  สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) 
ระเบียบวาระที่  4.37  :  การรื้อถอนอุปกรณ์ DSLAM : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), กท. 
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียนของบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) พบว่ามีการรื้อถอนอุปกรณ์ DSLAM ระงับสัญญาณหรือตัดสายเคเบิลตามที่ บมจ. ทีทีแอนด์ที กล่าวอ้าง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานใดที่จะระบุได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้รื้อถอนอุปกรณ์ DSLAM ระงับสัญญาณหรือตัดสายเคเบิล และ บมจ.ทีทีแอนด์ที ได้กล่าวโทษร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อทำการสอบสวนหาบุคคลผู้กระทำความผิดตามที่ บมจ.ทีทีแอนด์ที กล่าวอ้างแล้ว จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนในการสืบสวนสอบสวนหาตัวบุคคลผู้กระทำความผิดเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป และเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคในวงกว้าง ดังนั้น จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (กท.) ประสานงานกับกลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เพื่อพิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวด้วยอีกทางหนึ่ง และดำเนินการตรวจสอบการให้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องดังกล่าวเพื่อกำกับดูแลให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามตรวจสอบสถานะการดำเนินงานในทางคดีตามที่ บมจ.ทีทีแอนด์ที ได้มีการร้องทุกข์ กล่าวโทษไว้แล้วด้วย แล้วประมวลผลการดำเนินการข้างต้นเพื่อรายงานต่อ ที่ประชุมอีกครั้งหนึ่งภายใน 2 สัปดาห์    
ระเบียบวาระที่  4.44  :  การดำเนินการตามความตกลง Mutual Recognition Arrangement (MRAs) สาขาโทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช.   (นายทศพรฯ), กร., วท. 
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบผลการพิจารณาของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เรื่องการดำเนินการตามความตกลง Mutual Recognition Arrangement (MRAs) สาขาโทรคมนาคม และผลการประชุมหารือเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) เรื่อง การดำเนินการตามความตกลง Mutual Recognition Arrangement (MRAs) สาขาโทรคมนาคม ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือแจ้งให้ทราบว่า ข้อตกลง MRA ทั้ง 4 ฉบับ เป็นหนังสือสัญญา ซึ่งจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ดังนั้น จึงต้องดำเนินการจัดทำ MRA ใหม่ให้ชอบด้วยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าวข้างต้น ในการนี้  จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปพิจารณาดำเนินการ เพื่อนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ โดยประสานการดำเนินงานกับหน่วยงาน/กระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อการนี้ ให้เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนที่เหมาะสมด้วย อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นต้น ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
ระเบียบวาระที่  4.46  :  การแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ จำนวน 2 ฉบับ : คณะอนุกรรมการมาตรฐาน กทช., วท.                                   
มติที่ประชุม              
1.  เห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ จำนวน 2 ฉบับ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. , กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช. พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่คณะอนุกรรมการมาตรฐาน กทช. เสนอ
2.  เห็นชอบแนวทางการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไปต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ที่ได้แก้ไข จำนวน 2 ฉบับ ตามที่คณะอนุกรรมการมาตรฐาน กทช. เสนอ ทั้งนี้ ให้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ (RIA) ประกอบด้วย ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) 
ระเบียบวาระที่  4.51  :  โครงการทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน : กส.            
มติที่ประชุม  ไม่สามารถพิจารณาอนุมัติการขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน UHF เพื่อดำเนินโครงการทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดินของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยได้ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า โดยบทเฉพาะกาลตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มิได้กำหนดอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตหรือดำเนินการอย่างใดๆ ในเรื่องโทรทัศน์ระบบดิจิตอลไว้โดยชัดแจ้ง ดังนั้น กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553  จึงไม่มีอำนาจดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ย่านUHFเพื่อการทดสอบทดลองการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดินตามที่โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยร้องขอมาได้ ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์  ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.เสนอ    
ระเบียบวาระที่ 4.72  :บริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จำกัด ผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่ง ขอขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบ WiFi : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายประเสริฐฯ), ปก.             
มติที่ประชุม  อนุมัติให้ บจ.ดีแทค บรอดแบนด์ ขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบ WiFi ย่านความถี่ 2.4 GHz กำลังส่ง e.i.r.p. ไม่เกิน 100 มิลลิวัตต์ ภายใต้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่ง ออกไปจนถึงเดือนกันยายน 2554 ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.  สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้บริษัทฯ เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบ WiFi ภายใต้ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต แบบที่หนึ่ง ภายในเดือนกันยายน 2554
2.  ให้บริษัทฯ จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้ทราบเป็นรายเดือนจนกว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ และหากบริษัทยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ภายในเวลาที่กำหนด สำนักงาน กสทช. จะนำเสนอ ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
ระเบียบวาระที่   4.73  :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว(วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 10/2554 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2554 (สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนทุ่งศรีเรดิโอ) :  กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กส    
มติที่ประชุม  อนุมัติการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จำนวน 1 สถานี (สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนทุ่งศรีเรดิโอ) คลื่นความถี่ 91.75 MHz จังหวัดแพร่ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 8 (4) ของประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยกำหนดให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนตามข้อ 8 (5) ของประกาศดังกล่าว ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.74  :  การขอยกเลิกการแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง L.K. RADIO คลื่นความถี่ 88.35 MHz : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กส. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่อง การขอยกเลิกการแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง L.K. RADIO คลื่นความถี่ 88.35 MHz ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบการขอยกเลิกการแจ้งความประสงค์ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง L.K. RADIO ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ดังนี้
1.  กรณีของนางพัชรกัลยา  มุกดากรรณ์ ที่แสดงเจตนาขอปิดสัญญาณของสถานีวิทยุกระจายเสียง L.K. RADIO เมื่อพิจารณาประกอบกับแนวทางของมติ กทช. ในคราวการประชุมครั้งที่ 36/2553 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีมติให้ผู้แจ้งความประสงค์ฯ สามารถแสดงเจตนายกเลิกการแจ้งความประสงค์ฯ ด้วยตนเองได้ และมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ในการประชุมครั้งที่ 20/2554 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2554 ได้พิจารณาและวางแนวทางว่าการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว จึงเห็นชอบให้สถานีวิทยุกระจายเสียง L.K. RADIO โดยนางพัชรกัลยา  มุกดากรรณ์ ซึ่งเป็นผู้แจ้งความประสงค์ฯ ประเภทบุคคลธรรมดา สามารถปิดสัญญาณของสถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าวได้ เนื่องจากผู้แจ้งความประสงค์แสดงเจตนาอย่างชัดเจนด้วยตนเอง
2.  กรณีการยื่นหนังสือทักท้วงการขอปิดสัญญาณของสถานีวิทยุกระจายเสียง L.K. RADIO จากนายสิชานนท์  ทับเหมือน ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับสถานีวิทยุกระจายเสียง L.K. RADIO จากการตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน ไม่ปรากฎข้อมูลหรือเอกสารที่ยืนยันได้ว่านายสิชานนท์ ทับเหมือน เป็นผู้ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวของสถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าว ประกอบกับการได้รับสิทธิการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของนางพัชรกัลยา  มุกดากรรณ์ ดังนั้น กรณีการยื่นหนังสือทักท้วงดังกล่าว จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะพิจารณาได้ 
ระเบียบวาระที่ 4.75  :  การกำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาตตามร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและการประกอบกิจการชั่วคราวในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กส. 
มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการกำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาตตามร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและการประกอบกิจการชั่วคราวในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นชอบแบบความประสงค์รับใบอนุญาตให้ดำเนินการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (สำหรับบุคคลธรรมดา) และ แบบความประสงค์รับใบอนุญาตให้ดำเนินการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (สำหรับนิติบุคคล)  ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับข้อ 7 (1) ของร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและการประกอบกิจการชั่วคราวในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ต่อไป 
ระเบียบวาระที่  4.76  :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 10/2554 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2554 (จำนวน 10 ราย (15 ใบอนุญาต)) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กส.    
มติที่ประชุม  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 10 ราย (15 ใบอนุญาต) ตามข้อ 7(3) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) โดยกำหนดให้มีการทดลองให้บริการ หรือแพร่กระจายเสียงเป็นเวลา 30 วัน ตามข้อ 7(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น และการขึ้นทะเบียนช่องรายการของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว ทั้งนี้ ตามข้อ ๑๐ ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปากน้ำโพ เคเบิล ทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 40 ช่องรายการ
2.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไชยภัณฑ์ เคเบิ้ลทีวี จำนวน 2 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ
3.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดี.พี.เคเบิลเน็ทเวิร์ค จำนวน 1 ใบอนุญาต / 92 ช่องรายการ
4.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ แอนด์ เอส เคเบิล ทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 30 ช่องรายการ
5.  บริษัท สาครเคเบิล จำกัด จำนวน 4 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ
6.  บริษัท โฮมเคเบิ้ลทีวีหนองคาย จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต / 70 ช่องรายการ
7.  บริษัท โฮมเคเบิ้ลทีวี แอนด์ วีดีโอ 1990 จำกัด จำนวน 2 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ
8.  บริษัท สกลนครเคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 59 ช่องรายการ
9.  บริษัท ซี.เอ.เอส.เคเบิ้ล ทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ
10.บริษัท พี.ที.วี. ชลบุรี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ 
ระเบียบวาระที่   4.77  :  รายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2554 (จำนวน 3 ราย 6 ช่องรายการ) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , อนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์                   
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 3 ราย (6 ช่องรายการ) ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ได้แก่
1.  เทศบาลเมืองลพบุรี 1 ช่องรายการ
2.  สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 1 ช่องรายการ
3.  บจ. กานต์มณี เน็ตเวิร์ค 4 ช่องรายการ 
ระเบียบวาระที่ 4.78  :  รายงานผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2554 และครั้งที่ 10/2554 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2554 เพื่อออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (จำนวน 8 ราย 13 ใบอนุญาต) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , อนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์                
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณ เมื่อสถานีทำการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน (8 ราย 13 ใบอนุญาต) ซึ่งไม่ปรากฎว่ามีการรั่วไหลของสัญญาณตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอ ดังนี้
(1) บริษัท โสภณ เคเบิ้ลที.วี. และสื่อสารพัทยา จำกัด (1 ใบอนุญาต / 63 ช่องรายการ)
(2) บริษัท เคเบิลทีวี (จันทบุรี) จำกัด (4 ใบอนุญาต / 63 ช่องรายการ)
(3) ห้างหุ้นส่วนจำกัด หนองบัวลำภูเคเบิ้ลทีวี (3 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ)
(4) ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพสยามเคเบิลทีวีน่าน (1 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ)
(5) บริษัท นิว เคเบิลทีวี เน็ทเวิร์ค จำกัด (1 ใบอนุญาต / 32 ช่องรายการ)
(6) บริษัท บีเอสทีวี จำกัด (1 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ)
(7) บริษัท พี.เคเบิ้ล ทีวี (สัตหีบ) จำกัด (1 ใบอนุญาต / 74 ช่องรายการ)
(8) บริษัท มิราเคิล เวฟ จำกัด (1 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ)
2.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต จำนวน 8 ราย ตามข้อ 1 ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 7(7) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่   4.79  :   รายงานผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (จำนวน 11 ราย 25 ใบอนุญาต) : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , อนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม              
1.  รับทราบผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณ เมื่อสถานีทำการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 11 ราย (25 ใบอนุญาต) ซึ่งไม่ปรากฎว่ามีการรั่วไหลของสัญญาณตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอ ดังนี้
(1) บริษัท มหาชัย เคเบิลทีวี จำกัด (3 ใบอนุญาต / 62 ช่องรายการ)
(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรินทร์ ทีวี เน็ทเวิคร์ (1 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ)
(3) บริษัท พีทีวี สีชัง เคเบิล จำกัด (1 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ)
(4) ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมายเคเบิ้ลทีวี (1 ใบอนุญาต / 37 ช่องรายการ)
(5) บริษัท ภูเก็ตเคเบิ้ล จำกัด (3 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ)
(6) ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกาะหลักวิทยุโทรทัศน์ (4 ใบอนุญาต / 49 ช่องรายการ)
(7) บริษัท เชียงใหม่ บิลดิ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด (2 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ)
(8) บริษัท อาร์ดี เคเบิ้ล ทีวี จำกัด (3 ใบอนุญาต / 100 ช่องรายการ)
(9) ห้างหุ้นส่วนจำกัด คำรณสื่อสาร (1 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ)
(10) บริษัท หล่มสัก วีซี เคเบิล ทีวี จำกัด (2 ใบอนุญาต / 65 ช่องรายการ)
(11) บริษัท แมคเวิลด์ เน็ทเวิร์ค จำกัด (4 ใบอนุญาต / 81 ช่องรายการ)
2. อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต จำนวน 11 ราย ตามข้อ 1 ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 7 (7) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการพิจารณาขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (จำนวน 11 ราย 25 ใบอนุญาต) ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่ 4.80  :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2554 : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , อนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์                                   
มติที่ประชุม  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 41 ราย (86 ใบอนุญาต) ตามข้อ 7(3) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) โดยกำหนดให้มีการทดลองให้บริการ หรือแพร่กระจายเสียงเป็นเวลา 30 วัน ตามข้อ 7(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น และการขึ้นทะเบียนช่องรายการของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  บจก. เค.พี.พี. เอ็นเตอร์ไพร์ส จำนวน 3 ใบอนุญาต / 92 ช่องรายการ
2.  บจก. เขาย้อยเคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 53 ช่องรายการ
3.  บจก. สแตนดาร์ด ฟอร์จูน จำนวน 3 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ
4.  บจก. เขลางค์นคร เคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ
5.  บจก. ศรีสะเกษ เอส.บี.เอส.อีเลคทริค จำนวน 2 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ
6.  บจก. ซีทีวี เคเบิล เน็ตเวอร์ค จำนวน 1 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ
7.  หจก. เคเบิลองครักษ์ เน็ตเวิร์ค จำนวน 1 ใบอนุญาต / 40 ช่องรายการ
8.  หจก. ภูพญาเลย เคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ
9.  หจก. วี.พี.เคเบิ้ล ทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 32 ช่องรายการ
10. หจก. เจมส์ เคเบิ้ล ทีวี เน็ตเวิร์ค จำนวน 2 ใบอนุญาต / 100 ช่องรายการ
11. หจก. เพชรบุรี เคเบิ้ลทีวี จำนวน 2 ใบอนุญาต / 40 ช่องรายการ
12. หจก. มหาสารคาม เคเบิลทีวี เน็ตเวิร์ค จำนวน 2 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ
13. หจก. เอ็น.ดี.เคเบิ้ลเน็ทเวิร์ค จำนวน 1 ใบอนุญาต / 85 ช่องรายการ
14. หสม. เคเบิล ทีวี เกาะแก้ว จำนวน 2 ใบอนุญาต / 92 ช่องรายการ
15. ดอนเจดีย์เคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 30 ช่องรายการ
16. ชลาลัยเคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 50 ช่องรายการ
17. หจก. ไซเบอร์สตาร์เคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 62 ช่องรายการ
18. บจก. วิสต้า ไลน์ จำนวน 1 ใบอนุญาต / 90 ช่องรายการ
19. หจก. ลำปลายมาศ เคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 40 ช่องรายการ
20. บจก. ดี ดี ที วี จำนวน 2 ใบอนุญาต / 60 ช่องรายการ
21. บจก. แชลเล็นจ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำนวน 1 ใบอนุญาต / 50 ช่องรายการ
22. บจก. โสภณเคเบิ้ล ที.วี. ฉะเชิงเทรา จำนวน 1 ใบอนุญาต / 40 ช่องรายการ
23. บจก. เสียงยนต์อิเล็คทริค จำนวน 10 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ
24. บจก. พนัสนิคม เคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 70 ช่องรายการ
25. บจก. บ่อวิน เคเบิ้ลมหานคร จำนวน 1 ใบอนุญาต / 71 ช่องรายการ
26. บจก. ทีพีเอส เคเบิ้ล ทีวี เน็ตเวิร์ค จำนวน 1 ใบอนุญาต / 66 ช่องรายการ
27. หจก. อีสานเคเบิ้ลทีวี เน็ทเวิร์ค จำนวน 1 ใบอนุญาต / 50 ช่องรายการ
28. หจก. พระอินทร์ เน็ตเวิร์ก เคเบิลทีวี จำนวน 3 ใบอนุญาต / 65 ช่องรายการ
29. หจก. ดีซี อีเลคโทรนิคส์ จำนวน 1 ใบอนุญาต / 85 ช่องรายการ
30. หจก. สกาย ลายน์ เคเบิล จำนวน 3 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ
31. หสม. เคเบิล ทีวี เกาะยาว จำนวน 1 ใบอนุญาต / 92 ช่องรายการ
32. บางปูเบสท์เคเบิล จำนวน 1 ใบอนุญาต / 40 ช่องรายการ
33. บจก. ไลอ้อน สเตทส์ จำนวน 1 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ
34. บจก. เอสเอสทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต / 70 ช่องรายการ
35. บจก. โกลเด้น แชนเนล เคเบิ้ล ทีวี จำนวน 5 ใบอนุญาต / 70 ช่องรายการ
36. บจก. เอ็ม.เอส.เอส.ปทุมธานี เคเบิลทีวี จำนวน 5 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ
37. บจก. แอคซีท จำนวน 4 ใบอนุญาต / 82 ช่องรายการ
38. บจก. เวิล์ดวาย-เคเบิ้ล ทีวี จำนวน 3 ใบอนุญาต / 81 ช่องรายการ
39. หจก. แสงสยามซัพพลาย จำนวน 1 ใบอนุญาต / 64 ช่องรายการ
40. หจก. พหลโยธินคอมมูนิเคชั่น จำนวน 1 ใบอนุญาต / 70 ช่องรายการ
41. บจก. ลั๊คกี้ เคเบิ้ล ทีวี จำนวน 10 ใบอนุญาต / 80 ช่องรายการ                               
ระเบียบวาระที่  4.81   :  การแจ้งตอบการขออนุญาตจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , อนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 
มติที่ประชุม   รับทราบเรื่อง สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อทราบกรณีการขออนุญาตจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง ซึ่งได้ดำเนินการตามแนวทางมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 19/2554 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2554 ในกรณีที่หน่วยงานภาครัฐยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
หมายเหตุ   ระเบียบวาระเพื่อพิจารณาที่เหลืออยู่ทั้งหมดอีกจำนวน 57 เรื่อง สำนักงาน กสทช. จะได้นำเสนอใน
การประชุม กทช. ครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  5   :   เรื่องเพื่อทราบ
5.1  ความคืบหน้าการจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กทช.สุธรรม
5.2     ผลการดำเนินงานโครงการหลักสูตรนักบริหารและกำกับนโยบายสาธารณะ (ด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์) รุ่นที่ 1 : กทช.พนา
5.3     รายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคมประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2554 : ศฐ.
5.4     สัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : กลุ่มภารกิจด้านการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม
5.5     สรุปผลการจัดแสดงโครงการแสดงผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมในต่างประเทศในงานCommunicAsia2011 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า Marina Bay Sandsประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 21- 24 มิถุนายน 2554 : กลุ่มภารกิจด้านวิจัย
และพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
5.6     รายงานผลการตรวจสอบงบการเงินประจำปี 2553 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม : กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม5.7 รายงานผลความคืบหน้าโครงการครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2554 (มกราคม-มิถุนายน 2554) : ปต.
ระเบียบวาระที่  5  :   เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1  :  ความคืบหน้าการจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ : กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
 
มติที่ประชุม   รับทราบความคืบหน้าการจัดทำไปรมาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และระเบียบที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกำหนดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกับผู้ทรงคุณวุฒิจาก University of California, Berkeley, Blanquerna School of Communication และ PCMLP University of Oxford ตามเอกสารที่ กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.2  :  ผลการดำเนินงานโครงการหลักสูตรนักบริหารและกำกับนโยบายสาธารณะ (ด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์) รุ่นที่ ๑ : กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
มติที่ประชุม  รับทราบผลการดำเนินงานของโครงการหลักสูตรนักบริหารและกำกับนโยบายสาธารณะ (ด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์) รุ่นที่ ๑ และรายงานเดี่ยวของนักศึกษาในหลักสูตร ตามเอกสารที่ กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.3  :  รายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคมประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2554 : ปฏิบัติหน้าที่ รองเลขาธิการ กสทช. (นายพิทยาพลฯ), ศฐ. 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคมประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2554 (มกราคม-มีนาคม 2554) ซึ่งสำนักงาน กสทช. จะได้นำไปเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบต่อไป ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 5.4 :  สัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : กลุ่มภารกิจด้านการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม
มติที่ประชุม  รับทราบสัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่ง กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามมติ กทช. ครั้งที่ 41/2551 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 ได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.5  :  สรุปผลการจัดแสดงโครงการแสดงผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมในต่างประเทศในงาน Communic Asia 2011 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า Marina Bay Sands ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2554 : กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
มติที่ประชุม   รับทราบสรุปผลการจัดแสดงโครงการแสดงผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมในต่างประเทศในงาน Communic Asia 2011 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า Marina Bay Sands ประเทศสิงค์โปร์ ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2554 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.6    :   รายงานผลการตรวจสอบงบการเงินประจำปี 2553 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม : กลุ่มภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม 
มติที่ประชุม   รับทราบรายงานผลการตรวจสอบงบการเงินประจำปี 2553 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  5.7   : รายงานผลความคืบหน้าโครงการครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2554 (มกราคม-มิถุนายน 2554) : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช.  (นายฐากรฯ) , ปต. 
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2554 (มกราคม-มิถุนายน 2554) ซึ่งมีจำนวนโครงการที่ดำเนินการรวม 55 โครงการ แยกเป็น โครงการที่ได้รับอนุมัติในปี 2554 จำนวน 18 โครงการ และโครงการต่อเนื่อง จำนวน 37 โครงการ ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  6  :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6  :  เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)

ระเบียบวาระที่  6.3  :   การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) (สถานีวิทยุชุมชนคนแปลงยาว และสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคริสเตียนยะลา) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม            
1.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราวอายุ 1 ปี ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่ สถานีวิทยุชุมชนคนแปลงยาว คลื่นความถี่ 105.75 MHz ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ตามที่ กทช. พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
2.  อย่างไรก็ดี สำหรับกรณีสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคริสเตียนยะลาคลื่นความถี่ 88.00 MHz นั้น ที่ประชุมเสียงข้างมาก (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. , กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) พิจารณาเห็นว่า เนื่องจากสถานที่ตั้งของสถานีฯ อยู่ในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว(Sensitive Area) โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและมั่นใจยิ่งขึ้นต่อการพิจารณาออกใบอนุญาตให้แก่สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคริสเตียนยะลาที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆต่อความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ตามมา จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ คณะทำงานวิทยุชุมชน) เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมในประเด็นดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะมีมติต่อไป 
     อนึ่ง ที่ประชุมเสียงข้างน้อย (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) เห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตทั้ง 2 รายได้ดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนตามประกาศที่เกี่ยวข้องจนครบถ้วนแล้ว จึงเห็นควรอนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราวอายุ 1 ปี ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว 
(วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่ สถานีวิทยุชุมชนคนแปลงยาว คลื่นความถี่ 105.75 MHz และสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนคริสเตียนยะลา คลื่นความถี่ 88.00 MHz ได้ต่อไป ทั้งนี้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการชี้แจงใดๆอีกแต่หากประสงค์จะให้มีการชี้แจงเพิ่มเติม ก็ต้องดำเนินการเหมือนกันทุกรายโดยไม่เลือกปฏิบัติเฉพาะรายใดรายหนึ่ง
หมายเหตุ  กทช.สุธรรมฯ มีบันทึกความเห็นแย้งที่ 627/2554 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2554 ตามเอกสารแนบท้ายรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 6.4   :  การนำเสนอท่าทีต่อระเบียบวาระการประชุมเตรียมการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม (APT Conference Preparatory Group Meeting for WRC-๒๐๑๒-APG2012-5) ครั้งที่ 5 : รสทช.ทศพรฯ
มติที่ประชุม  โดยที่การประชุม APG 2012-5 จะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของ APT ก่อนการประชุม WRC-2012 
เพื่อหาข้อสรุปสุดท้ายในแต่ละวาระการประชุม เพื่อจัดทำร่างความเห็นร่วมของประเทศสมาชิก APT เสนอต่อ   ที่ประชุม WRC-2012 ต่อไป ซึ่งการดำเนินงานในส่วนของประเทศไทยนั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ได้จัดตั้งคณะทำงานเตรียมการสำหรับการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ. 2012 ประกอบด้วยหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจำนวน 21 หน่วยงาน โดยมีผู้แทนสำนักงาน กสทช. เข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้วย 
เพื่อพิจารณาจัดทำร่างเอกสารท่าทีหรือข้อเสนอแนะของประเทศไทยตามวาระการประชุม WRC-2012 ทั้งนี้ โดยคณะทำงานฯ ได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดทำร่างเอกสารท่าทีหรือข้อเสนอแนะของประเทศไทยรวม 6 ข้อเสนอ ดังรายละเอียดตามเอกสารประกอบวาระ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวดำเนินการต่อไปได้ด้วยความเรียบร้อย 
ที่ประชุมจึงมีมติรับทราบร่างเอกสารท่าทีหรือข้อเสนอแนะของประเทศไทยตามที่คณะทำงานดังกล่าวจัดทำตามที่สำนักงาน 
กสทช.เสนอ และมอบหมายให้คณะผู้แทนของสำนักงานฯ ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำร่างความเห็นร่วมของประเทศสมาชิก APT ในการประชุมเตรียมการฯ ครั้งที่ 5 ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและรอบคอบโดยคำนึงถึงผลกระทบต่างๆอย่างรอบด้านด้วยต่อไป 
หมายเหตุ   ระเบียบวาระที่ 6.1 และ 6.2 สำนักงาน กสทช. จะได้นำเสนอให้ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. 
พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป

สร้างโดย  -   (24/2/2559 18:36:58)

Download

Page views: 462