สรุปมติที่ประชุม กสทช. 31/2554

รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ 
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 31/2554
วันพุธที่  5  ตุลาคม  2554  เวลา  09.30  น.
ณ  ห้องประชุม ชั้น 12  อาคารอำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ผู้เข้าประชุม
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

1.  ศาสตราจารย์ประสิทธิ์       ประพิณมงคลการ    ประธานกรรมการ
2.  รองศาสตราจารย์สุธรรม    อยู่ในธรรม             กรรมการ
3.  นายสุรนันท์                    วงศ์วิทยกำจร          กรรมการ
4.  รองศาสตราจารย์พนา       ทองมีอาคม             กรรมการ
5.  นายฐากร                       ตัณฑสิทธิ์              ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช.
 
เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช.
1.  นายอารักษ์                 โพธิทัต                     ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักการประชุมและเลขานุการ
2.  นางดวงเดือน                เสวตสมบูรณ์             ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการและติดตามประเมินผล
3.  นายบุญยิ่ง                   โหมดเทศน์               ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนมติและรายงานการประชุม
4.  นางอรุณ                      วงศ์ศิวะวิลาส            ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนงานวาระการประชุม
5.  นางสาวจิรประภา           สุดสาคร                   ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
6.  นางสาวสุภาวดี              สดศรี                      ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง
7.  นางสาวจุฑาสินี             คำบำรุง                    ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
8.  นางสาวภัทรพันธ์           ไพบูลย์                    ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง
 
ระเบียบวาระที่  1  :  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1. มีการประชุมคณะทำงานอยู่ 2 เรื่อง คือ การประชุมเรื่องแนวทางปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลเรื่องการติดตั้ง WiFi ในสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ สถานที่ศึกษา และการประชุมเรื่องการฟื้นคืนสู่สภาพเดิมของการบริการกิจการโทรคมนาคมหลังจากเกิดอุทกภัย นอกจากนี้ขอให้ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้แจ้งเรื่องการไปร่วมประชุมสัมมนาที่จังหวัดอุบลราชธานีให้ที่ประชุมทราบด้วย
2. กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบเรื่องการจัดประชุมสัมมนานักจัดรายการวิทยุชายแดนว่าได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดรายการเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการจัดรายการที่บางครั้งกระทบต่อความรู้สึกหรือก่อให้เกิดความบาดหมางของ   พี่น้องประชาชนประเทศข้างเคียง รวมทั้งขอให้ผู้จัดรายการได้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและความรู้สึกที่ดีระหว่างกัน ในการจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัดมาร่วมพิธีเปิดการประชุมสัมมนา และมีอาจารย์สุรวัฒน์  ชมพูคง  ดร.สมเกียรติ  อ่อนวิมล และเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ร่วมเป็นวิทยากร โดยมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้จัดรายการ ทั้งนี้ ได้เข้าร่วมให้กำลังใจการจัดประชุมครั้งนี้ ในการจัดงานมีนักจัดรายการเข้าร่วมประมาณ 100 คน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี และสำนักงาน กสทช. สมควรต้องดำเนินการต่อไป
3.  กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบเรื่องการจัดทำดีวีดีสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสครบ ๖๐ ปีของการพระราชพิธีราชาภิเษกชุด “พลิกตำนานสยาม” ซึ่งสำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือแจ้งว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ แล้ว โดยเบื้องต้นจะจัดทำจำนวน 2,500 ชุด และสำนักราชเลขาธิการขอให้จัดทำเพิ่มเติมอีก 554 ชุด เพื่อให้สอดคล้องกับปี พ.ศ. 2554 ซึ่งจะได้เริ่มดำเนินการให้แล้วเสร็จ และจะได้มอบให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ไว้แจกจ่ายส่วนหนึ่งด้วย
4.  ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. (นายฐากร ตัณฑสิทธิ์) ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบรวม 2 เรื่อง ได้แก่
(1) สำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา กรณีโครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม เพื่อขอให้ส่งเงินคืน จำนวน 84 ล้านบาทแล้ว
(2)  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือรับรองผลการตรวจรับรองงบการเงินของสำนักงาน กทช. ประจำปี 2553 ซึ่งคาดว่าจะส่งมาในวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2554
มติที่ประชุม               
1.  รับทราบเรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
2.  รับทราบเรื่องการจัดประชุมสัมมนานักจัดรายการวิทยุชายแดนตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ
3.  รับทราบเรื่องสำนักราชเลขาธิการแจ้งเรื่องได้รับพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อจัดทำดีวีดีสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสครบ 60 ปีของการพระราชพิธีราชาภิเษกชุด “พลิกตำนานสยาม” ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ
4.  รับทราบเรื่องสำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา กรณีโครงการเยาวชนยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม เพื่อขอให้ส่งเงินคืน จำนวน 84 ล้านบาท และเรื่องสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือรับรองผลการตรวจงบการเงินของสำนักงาน กทช. ประจำปี 2553 ซึ่งคาดว่าจะส่งมาในวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2554 ตามที่ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. (นายฐากร  ตัณฑสิทธิ์) รายงานให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่  2  :  เรื่องรับรองรายงานการประชุมรับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 30/2554  วันพุธที่ 28 กันยายน 2554
มติที่ประชุม               
1.  รับรองรายงานการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 30/2554   วันพุธที่ 28 กันยายน  2554 โดยให้แก้ไขข้อความในมติที่ประชุมวาระที่ 6.2 ข้อ 5 บรรทัดที่ 3 จากเดิม “ที่ประชุมมีมติให้ชะลอการดำเนินการตามกรอบความตกลงดังกล่าวในส่วนที่ผิดกฎหมาย...” แก้ไขใหม่เป็น “ที่ประชุมมีมติให้แก้ไขการดำเนินการตามกรอบความตกลงดังกล่าวในส่วนที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมายตามข้อ 4...”
2.  ให้จดรายงานการประชุมในระเบียบวาระที่ ๖ : เรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง ดังนี้
2.1 ระเบียบวาระที่ 6.8 เรื่อง การกำหนดแนวทางการกำกับดูแลเรื่องร้องเรียนกรณีผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2543
มติที่ประชุม  โดยที่ปัจจุบันมักมีปัญหาการร้องเรียนของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Prepaid ในหลายกรณี ซ้ำๆ และบ่อยครั้ง ซึ่งสมควรต้องพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังกล่าวให้หมดสิ้นไปอย่างชัดเจน ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาการร้องเรียนของผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหายจากกรณีผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 กรณี Prepaid พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการกำกับดูแลเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แล้วนำเสนอที่ประชุมพิจารณาต่อไป ตามความเห็น กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
2.2  ระเบียบวาระที่ 6.9 เรื่อง การเชิญประธาน Regulator ของฮังการีเข้าร่วมการประชุมสัมมนา 19th ITS Biennial Conference 2012 ณ จังหวัดภูเก็ต
มติที่ประชุม  รับทราบและเห็นชอบการเชิญ Ms. Krisztina Rozgonyi, Chair, Vice-Chair, Member of the Board at National Communications Authority of Hungary เข้าร่วมการประชุมสัมมนา The 19th ITS Biennial Conference 2012 ณ จังหวัดภูเก็ต ตามที่ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. รายงานให้ที่ประชุมทราบ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ไปดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และมีหนังสือเชิญ Ms. Krisztina Rozgonyi เข้าร่วมการประชุมฯ อย่างเป็นทางการด้วยต่อไป
ระเบียบวาระที่  3  :  รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.รายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 30/2554 วันพุธที่ 28 กันยายน 2554
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 30/2554 วันพุธที่ 28 กันยายน 2554 ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา
กลุ่มเรื่องกฎหมาย  
4.1   การอุทธรณ์คำสั่งเลขาธิการ กสทช. ตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 2/2554 วันที่ 12 มกราคม 2554 ของบริษัท วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด : กม.
4.2  ข้อพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งเลขาธิการ กสทช. กรณีกำหนดให้บริษัท ทีทีแอนด์ทีจำกัด (มหาชน) ระงับการหยุดการให้บริการวงจรเช่าและการรื้อถอนคู่สายที่ใช้ในการเชื่อมโยงสัญญาณในส่วนที่กระทบต่อการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) : คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
4.3   การพิจารณาข้อเสนอของบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ในการขอแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดในแบบสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม : กม.4.4 สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ ขอลดหนี้ตามคำพิพากษา: กม.4.5   การขอความเห็นชอบและลงนามการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างกลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช.กับ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเพื่อดำเนินการด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค : กม.
4.6   การตรวจสอบระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 : กม.
4.7   คำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม : กม.
กลุ่มเรื่องใบอนุญาต
4.8   การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ของ บริษัทคอล-เอ้าท์-เอเชีย จำกัด : ปก.
4.9   ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประจำปี 2552 ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปก.
4.10  การจัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพิ่มเติมประเภทโครงข่าย (โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi 2.4 GHz และ 5 GHz) ของ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) : ปก.
4.11  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้บริการโทรคมนาคมสำหรับรถยนต์รับจ้างของ บจ. ไทยเอซ คอมมูนิเคชั่น : ปก.
4.12  บริษัท แอมเน็กซ์ จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง : ปก.
4.13  ยกเลิกการให้บริการวิทยุโทรศัพท์สาธารณะ บริการถ่ายทอดเสียง (Sound Programme Transmission Service) และบริการวิทยุติดต่อกับเรือ ของบมจ. กสท โทรคมนาคม : ปก.
กลุ่มเรื่องการขอใช้ความถี่วิทยุ/ตั้งสถานีวิทยุ
4.14  กรมเจ้าท่า (กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี) ขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุย่าน Microwave Link สำหรับโครง VTS : ฉก.
กลุ่มเรื่องการบริหารงานของสำนักงานฯ/งบประมาณ
4.15  การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2554 : ลสทช., บค.(ครั้งที่ 29/2554)
4.16  การขอรับการสนับสนุนงบประมาณการจัดทำหนังสือที่ระลึก ละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” : บป.
4.17  ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางและร่างหลักเกณฑ์การให้บริการเสริมผ่านมือถือเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกรบกวนและเพื่อการกำกับดูแล : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.18  โครงการพัฒนาศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคม สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (โครงการต่อเนื่อง) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
4.19  โครงการสนับสนุนการรับเรื่องร้องเรียนและพัฒนาศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ปี 2554 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ 
4.20  โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ICT เพื่อเยาวชน : ทถ.
4.21  การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างจัดงานเพื่อดำเนินการบริหารจัดการกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่แนวคิดและกิจการการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz หรือ 3G โดยวิธีพิเศษ : คณะกรรมการตรวจการจ้างการจัดจ้างผู้รับจ้างจัดงานเพื่อดำเนินการบริหารจัดการกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ฯ
กลุ่มเรื่องการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน/การกำกับดูแล
4.22  ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตให้จัดตั้งหน่วยตรวจสอบเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ประเภทที่สอง ใบอนุญาตเลขที่ 001 : วท.
4.23  การยกเลิกการอนุญาตให้บริษัท ไอเน็ต คอนเน็ค จำกัด ออกเครื่องหมายแสดงการได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานด้วยตนเอง : วท.
4.24  การรื้อถอนอุปกรณ์ DSLAM (ต่อเนื่อง) : กท.
4.25  การขอปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ของ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการใช้และการเชื่อมต่อฯ
4.26  มติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการขอความเห็นชอบต่อแนวทางการรักษาสิทธิเอกสารข่ายสื่อสารดาวเทียมของประเทศไทย ณ ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออก : กร.
กลุ่มเรื่องเลขหมาย
4.27  บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด ขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : กบ.
4.28  บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ขอรับการจัดสรรเลขหมายฯ พิเศษ : กบ.
4.29  การขอรับจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ (เพิ่มเติม) ของ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น: กบ.
กลุ่มเรื่องกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4.30  ข้อสังเกตเกี่ยวกับวาระการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่ด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการจ่ายค่าตอบแทน : กส.
4.31  การขอคัดค้านมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554 ของสมาคมวิทยุ – โทรทัศน์พัฒนาธุรกิจไทย (สว.พท.) : กส.
4.32   ข้อร้องเรียนของนายประมุท สูตะบุตร กรณีขอให้ตรวจสอบการดำเนินการของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรณีการต่อสัญญาร่วมดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 ให้บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด : กส.
4.33   การพิจารณาผังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนคนหนองหญ้าไซ คลื่นความถี่ 107.50 MHz อำเภอหนองหญาไซจังหวัดสุพรรณบุรี และสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบ้านนา คลื่นความถี่97.50 MHz อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เพื่อใช้ในการออกอากาศ : กส.
4.34   การดำเนินการทดลองออกอากาศภายในระยะเวลาตามข้อ 8(6) ของ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : กส.
4.35   ผลการตรวจสอบสภาพสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 13/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554  เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จำนวน 7 ราย (9 ใบอนุญาต)
4.36   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 13/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554 (จำนวน 2 สถานี) : กส.
4.37   บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 13/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554 (จำนวน 73 ราย 193 ใบอนุญาต) : กส.
4.38   การขอให้ทบทวนมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554 และขอความเป็นธรรมในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนชั่วคราว : กส.
4.39  การจัดทำความตกลงด้านการผลิตภาพยนตร์และโสตทัศน์กับอินเดีย : สท.
ระเบียบวาระที่  4  :  เรื่องเพื่อพิจารณา  
ระเบียบวาระที่  4.1  :  การอุทธรณ์คำสั่งเลขาธิการ กสทช. ตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 2/2554 วันที่ 12 มกราคม 2554 ของบริษัท วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ (นายฐากรฯ), กม.

มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า กรณีของ บจ. วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น  เป็นการขออุทธรณ์มติ กสทช. มิใช่การอุทธรณ์คำสั่ง ลสทช. ตามข้อวิเคราะห์ของสำนักงาน กสทช. แต่อย่างใด เนื่องจากมิใช่เป็นกรณีที่ ลสทช. ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2554 หากแต่เป็นกรณีที่ ลสทช. ได้ดำเนินการแจ้งมติที่ประชุมของ กสทช. ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองให้เกิดผลต่อผู้รับคำสั่ง อนึ่ง การออกคำสั่งทางปกครองของ กสทช. ถือเป็นที่สุด หากคู่กรณีประสงค์จะโต้แย้ง จะต้องใช้สิทธิยื่นฟ้องเพิกถอนคำสั่งต่อศาลปกครอง ดังนั้น จึงมีมติให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งยืนยันมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2554 ตามที่เลขาธิการ กสทช. ได้มีคำสั่งไปแล้วให้ บจ. วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น ทราบ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. , และ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ โดยให้บริษัทฯ ทำคำชี้แจงและส่งพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาเพื่อให้ขั้นตอนครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยตามความเห็นของ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
ระเบียบวาระที่ 4.2  :  ข้อพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งเลขาธิการ กสทช. กรณีกำหนดให้บริษัท  ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ระงับการหยุดการให้บริการวงจรเช่าและการรื้อถอนคู่สายที่ใช้ในการเชื่อมโยงสัญญาณในส่วนที่กระทบต่อการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) : คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า กรณีที่ บมจ. ทีทีแอนด์ที ขออุทธรณ์คำสั่ง ลสทช. กรณีกำหนดให้ บมจ. ทีทีแอนด์ที ระงับการหยุดการให้บริการวงจรเช่าและรื้อถอนคู่สายที่ใช้ในการเชื่อมโยงสัญญาณในส่วนที่กระทบต่อการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมของ บมจ. ทริปเปิ้ลที นั้น เห็นว่า การกระทำดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีผลเป็นการพักหรือหยุดการให้บริการ ซึ่งนอกจากจะขัดต่อมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ยังเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อ 46 ของประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ดังนั้น อุทธรณ์ของ บมจ.  ทีทีแอนด์ที จึงฟังไม่ขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติยืนตามคำสั่งเลขาธิการ กสทช. โดยให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งมติที่ประชุมดังกล่าวให้ บมจ. ทีทีแอนด์ที ทราบ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
ระเบียบวาระที่ 4.3  :  การพิจารณาข้อเสนอของบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ในการขอแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดในแบบสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ (นายฐากรฯ), กม.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากมติ กทช. ครั้งที่ 39/2553 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553 ให้ บจ.ตรีเพชร อีซูซุเซลส์ แก้ไขปรับปรุงแบบสัญญาการให้บริการโทรคมนาคม ตามความเห็นคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เป็นความเห็นภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 51 และประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 กอปรกับไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันอาจทำให้ข้อกำหนดของแบบสัญญาการให้บริการโทรคมนาคมที่พึงเป็นที่ยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ เว้นแต่ประเด็นในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับยกเว้นตามประกาศ กทช. เรื่อง กำหนดให้กิจการโทรคมนาคมบางประเภทไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศ กทช. เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการ และการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 พ.ศ.2550 ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติยืนยันตามมติ กทช. ครั้งที่ 39/2553 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553   ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (ประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. และ กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ดังนี้
1.  ให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้ง บจ.ตรีเพชร อีซูซุเซลส์ เพื่อให้แก้ไขสัญญาดังนี้ “ข้อ 4(2) ภายใต้ประกาศ กทช. และหลักเกณฑ์ที่ กสทช. จะประกาศเพิ่มเติมหรือแก้ไขเพื่อบังคับใช้ต่อไปในอนาคต ในกรณีที่ผู้ให้บริการประสงค์จะเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการตามสัญญานี้ ผู้ให้บริการจะแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ใช้บริการที่จะยกเลิกสัญญาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการดังกล่าว”
2.  ให้สำนักงาน กสทช. กำกับดูแล และบังคับใช้กฎหมายและประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 โดยเคร่งครัดต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.4  :  สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ ขอลดหนี้ตาม    คำพิพากษา : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) , กม.
มติที่ประชุม 
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่กรณีหนี้จำนวน 1,388,198.- บาท พร้อมดอกเบี้ยเป็นเงินตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 114/2554 ซึ่งสำนักงาน กสทช. จะต้องนำส่งเงินทั้งจำนวนดังกล่าวแก่กระทรวงการคลัง ตามกฎหมาย มิใช่เป็นเงินรายได้ของสำนักงาน กสทช. ดังนั้น สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษาข้างต้น โดยไม่ยกเว้นดอกเบี้ยก่อนและหลังฟ้องตามที่สมาคมฯ ร้องขอ อย่างไรก็ดี เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นเนื่องจากเป็นอำนาจของกระทรวงการคลัง ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือสอบถามกระทรวงการคลังว่าในกรณีดังกล่าวตามที่สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ร้องขอมานั้น จะยกเว้นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากเงินต้นที่ต้องชำระจำนวน 1,071,254.- บาท ทั้งก่อนและหลังฟ้องคดีให้แก่สมาคมฯ ได้หรือไม่ หากกระทรวงการคลังเห็นสมควร สำนักงาน กสทช.ก็ยินดีที่จะยกเว้นให้ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ เพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1 และให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการในเรื่องนี้ตามผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังได้ต่อไป แล้วรายงานให้ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทราบ
ระเบียบวาระที่  4.5  :  การขอความเห็นชอบและลงนามการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างกลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. กับ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเพื่อดำเนินการด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) , กม.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเพื่อดำเนินการด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเป็นเรื่องเชิงนโยบายและมีผลผูกพันในระยะยาว จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าวเสนอที่ประชุม กสทช. พิจารณาต่อไป ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช. สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ                  
ระเบียบวาระที่  4.6  :  การตรวจสอบระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) , กม.
มติที่ประชุม   ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า รายงานการตรวจสอบระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543   ที่สำนักงาน กสทช. จัดทำขึ้นยังขาดรายละเอียดที่ชัดเจนประกอบการพิจารณา จึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับข้อคิดเห็นที่ประชุมไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขรายงานการตรวจสอบดังกล่าวใหม่โดยให้จัดทำรายละเอียดของการวิเคราะห์เพื่อแสดงถึงเหตุผลที่ชัดเจนในการวินิจฉัยให้ยกเลิกหรือให้ใช้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งนั้นๆได้ต่อไป โดยเฉพาะกรณีที่วินิจฉัยว่าให้ยกเลิกทั้งฉบับ เช่นกรณีระเบียบงบประมาณ  แล้วนำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.7  :  คำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) , กม.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ยื่นคำร้องขอนำข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมตามประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 ซึ่งเป็นกำหนดระยะเวลาที่เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดระยะเวลา 90 วันในการเจรจาเพื่อทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม อีกทั้งกรณีนี้ไม่ปรากฏว่า บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ได้มีการเจรจาเพื่อทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับ บมจ. ทีทีแอนด์ที และไม่ได้มีการดำเนินการอื่นใดอันเป็นการแสดงให้เห็นว่า บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส มีความประสงค์ที่จะขอทำการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับ บมจ. ทีทีแอนด์ที แต่อย่างใด นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำวินิจฉัยข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมของ กวพ. ว่า โครงข่ายโทรคมนาคมระหว่าง บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสและ บมจ. ทีทีแอนด์ที ได้มีการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมทางกายภาพแล้ว กรณีจึงไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ อีกทั้งไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใดที่ทำให้ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ไม่สามารถยื่นคำร้องขอนำข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมได้ทันภายในกำหนดระยะเวลา ด้วยเหตุนี้ การยื่นคำร้องของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จึงเป็นการยื่นคำร้องที่ขัดต่อ ข้อ 75 ของประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้มีคำสั่งเพิกถอนกระบวนการพิจารณา ข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่าง บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และ บมจ. ทีทีแอนด์ที ของ กวพ. ทั้งหมด และมีคำสั่งยกคำร้องของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส โดยไม่ตัดสิทธิของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ที่จะดำเนินการขอเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับ บมจ. ทีทีแอนด์ที ใหม่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมกำหนดต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.8  :  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ของ บริษัท คอล-เอ้าท์-เอเชีย จำกัด : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการดทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (International Calling Card Service) ของ บจ.คอล-เอ้าท์-เอเชีย เป็นกรณีที่ กทช. ได้มีการเปิดเสรีไปแล้ว และมีการแข่งขันใน Sector โดยไม่มี Dominant Player ที่จะขัดขวางการแข่งขัน ดังนั้น จึงมีมติอนุมัติให้ บจ.คอล-เอ้าท์-เอเชีย ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (International Calling Card Service) โดยให้ใช้กระบวนการออกใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ (Automatic License) ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.9  :  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประจำปี 2552 ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม                
1.  เห็นชอบจำนวนเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ซึ่ง บมจ.ทีโอที จะต้องชำระประจำปี 2552 ลดลงจำนวน 17,777,092.37 บาท (ไม่รวม VAT) หรือ 19,021,488.84 บาท (รวม VAT) โดยใช้หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคิดค่าธรรมเนียมฯ ประจำปี 2549 ซึ่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. คืนเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ประจำปี 2552 ให้ บมจ.ทีโอที จำนวน 19,021,488.84 บาท (รวม VAT) ต่อไป        
ระเบียบวาระที่  4.10  :  การจัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพิ่มเติมประเภทโครงข่าย (โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi 2.4 GHz และ 5 GHz) ของ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ  (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  เห็นชอบตามหลักการเดิมที่ กทช.ได้เคยมีมติไว้ในการประชุมครั้งที่ 15/2552 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 กล่าวคือ เพื่อเป็นการส่งเสริมการแข่งขันและพัฒนารูปแบบบริการใหม่ๆในตลาดโทรคมนาคมให้มากขึ้น กอรปกับเพื่อมิให้เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการจนเกินควร โดยเฉพาะในกรณีที่เข้าข่ายเป็นบริการประเภท Like Service หรือบริการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงเห็นชอบเป็นหลักการเป็นการทั่วไปในการพิจารณายกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนที่ขออนุญาตเพิ่มเติมรูปแบบการให้บริการให้แก่ผู้รับใบอนุญาต ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปตรวจสอบรายละเอียดให้ชัดเจนในกรณีการขอยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการขอเพิ่มเติมลักษณะประเภทโครงข่าย (โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi 2.4 GHz และ 5 GHz) ของ บมจ. ซิมโฟนี่คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) อีกครั้งหนึ่ง โดยหากเป็นไปตามหลักการเดิมที่ กทช.เคยมีมติไว้แล้วข้างต้น เนื่องจากการขอเพิ่มบริการเป็นเรื่องปกติที่มิใช่การขอใบอนุญาตใหม่ และไม่มี Cost เพิ่มเติม ให้สำนักงานฯ ดำเนินการยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการขอเพิ่มเติมลักษณะประเภทโครงข่าย (โครงข่ายไร้สายเทคโนโลยี WiFi 2.4 GHz และ 5 GHz) ของ บมจ. ซิมโฟนี่คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ต่อไปตามความเห็นที่ประชุม และความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.)
ระเบียบวาระที่  4.11  :  การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้บริการโทรคมนาคมสำหรับรถยนต์รับจ้างของ บจ. ไทยเอซ คอมมูนิเคชั่น   : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  อนุมัติให้ บจ. ไทยเอซ คอมมูนิเคชั่น ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง เพื่อให้บริการโทรคมนาคมสำหรับรถยนต์รับจ้าง โดยมีระยะเวลาการอนุญาต 5 ปี ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในภาคผนวก ก ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.12  :  บริษัท แอมเน็กซ์ จำกัด ขอขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  อนุมัติให้ บจ. แอมเน็กซ์ ขยายระยะเวลาการเริ่มให้บริการใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง บริการ ADSL และบริการ Leased Line ออกไปอีก 3 เดือน ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ทั้งนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการ ADSL และบริการ Leased Line ใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งออกไปอีก 3 เดือน นับแต่ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีมติ
2.  ให้ บจ. แอมเน็กซ์  แจ้งผลการดำเนินงานให้สำนักงาน กสทช. ทราบด้วย
3.  หาก บจ. แอมเน็กซ์ ไม่เริ่มให้บริการได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่    ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. มีมติ ให้สำนักงาน กสทช. นำเสนอที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. พิจารณาการสิ้นสุดการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมของ บจ. แอมเน็กซ์ ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.13  :  ยกเลิกการให้บริการวิทยุโทรศัพท์สาธารณะ บริการถ่ายทอดเสียง (Sound Programme Transmission Service) และบริการวิทยุโทรเลขติดต่อกับเรือ ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ปก.
มติที่ประชุม  อนุมัติให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ยกเลิกการให้บริการวิทยุโทรศัพท์สาธารณะ บริการถ่ายทอดเสียง (Sound Programme Transmission Service) และบริการวิทยุโทรเลขติดต่อกับเรือ ทั้งนี้ ให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามแผนการดำเนินการโดยเคร่งครัด และให้ส่งคืนคลื่นความถี่ให้ กสทช. เพื่อจะดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ต่อไป ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. , กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.14  :  กรมเจ้าท่า (กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี) ขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุย่าน Microwave Link สำหรับโครง VTS : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากกรมเจ้าท่าเป็นองค์กรหลักในการกำกับดูแล ส่งเสริม พัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีให้มีความปลอดภัยมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ให้มีการเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งอื่นๆ  ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ท่าเรือ อู่เรือ กองเรือไทย และกิจการเกี่ยวเนื่อง การทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนและเตรียมการในการให้บริการต่างๆ แก่เรือตามที่เรือแจ้งมา สามารถบริหารทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บริการนำร่อง บริการเรือลากจูง บริการเรือรับเชือก บริการขนถ่ายและกำจัดปฏิกูล บริการขนถ่ายสินค้า บริการเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในการขนถ่ายสินค้า บริการน้ำจืด บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิง บริการซ่อมแซมอุปกรณ์และซ่อมเรือ รวมไปถึงบริการด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง บริการตรวจและกักกันโรค เป็นต้น ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือ รักษาความปลอดภัยในการเดินทะเล และเพื่อประโยชน์สาธารณะ และไม่ใช่เพื่อการเชิงพาณิชย์ จึงมีมติอนุมัติให้กรม  เจ้าท่าใช้ความถี่วิทยุย่าน Microwave Link ความถี่วิทยุ 7435, 7463, 7589, 7617 MHz ความกว้างแถบคลื่นความถี่ 14 MHz ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีประจำที่ (Fixed Station) จำนวน 6 สถานี (3 เส้นทาง) สำหรับโครงการ VTS เพื่อใช้เป็นโครงข่ายของการติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงอุปกรณ์ในการติดตามเรือต่างๆ ในทะเลเขตปากน้ำเจ้าพระยาถึงปากอ่าวไทยและเขตท่าเรือสำหรับการบริหารการควบคุมจราจรทางน้ำและความปลอดภัยทางทะเล  ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) โดยมีรายละเอียดลักษณะทางเทคนิคของสถานีวิทยุคมนาคม และกำหนดเงื่อนไขตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ ดังนี้
1.  ให้ใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวเป็นระยะเวลา 1 ปี และการขอขยายระยะเวลาการใช้ความถี่วิทยุจะต้องแจ้งขออนุญาตใช้ความถี่วิทยุก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตดังกล่าว เพื่อให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
2.  หากการใช้ความถี่วิทยุก่อให้เกิดการรบกวนต่อข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว กรมเจ้าท่าจะต้องเป็นผู้แก้ไขการรบกวน หรือระงับการใช้งานทันที
3.  เครื่องวิทยุคมนาคมต้องมีลักษณะทางเทคนิคตามแผนความถี่วิทยุ กิจการประจำที่ ความถี่วิทยุย่าน 7.5 GHz (กทช. ผว. 109-2550) และผู้ประกอบการมีหน้าที่ให้คำยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์มีความสอดคล้องตามมาตรฐานทางเทคนิคหรือข้อกำหนดทางเทคนิค โดยใช้หลักการรับรองตนเองของผู้ประกอบการ (Supplier’s Declaration of  Confornity  : SDOC)
4.  จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5.  ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในทันที เมื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตนี้
6.  ให้กรมเจ้าท่ายืนยันการยินยอมผูกพันตามเงื่อนไขในข้อ 1 เป็นหนังสือภายในเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กสทช. หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้การอนุญาตในครั้งนี้เป็นอันสิ้นผล
ระเบียบวาระที่  4.15  :  การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2554   : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ (นายฐากรฯ), บค.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมได้มีการอภิปราย และอยู่ระหว่างการพิจารณาวาระนี้ยังไม่แล้วเสร็จ สำนักงาน กสทช.จึงจะนำเรื่อง การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2554 ที่ค้างการพิจารณาดังกล่าว เสนอต่อที่ประชุมอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.16  :  การขอรับการสนับสนุนงบประมาณการจัดทำหนังสือที่ระลึก ละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” : ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ (นายฐากรฯ), บป.
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การขอรับการสนับสนุนงบประมาณการจัดทำหนังสือ ที่ระลึก ละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ครั้งนี้ เป็นการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ     พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นการสนองพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีพระประสงค์จะเผยแพร่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงมีความกล้าหาญ เสียสละเพื่อแผ่นดินไทยในการ กอบกู้เอกราช และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสรับชมการแสดงที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นการส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แต่โดยที่เป็นเรื่องการของการผูกพันงบประมาณ กอปรกับขณะนี้อยู่ในระหว่างรอโปรดเกล้าแต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่ จึงเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องดังกล่าวเสนอที่ประชุม กสทช. เพื่อพิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.17  :  ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางและร่างหลักเกณฑ์การให้บริการเสริมผ่านมือถือเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกรบกวนและเพื่อการกำกับดูแล : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่อง ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางและร่างหลักเกณฑ์การให้บริการเสริมผ่านมือถือเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกรบกวนและเพื่อการกำกับดูแล เสนอให้ที่ประชุม กสทช. พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.18  :  โครงการพัฒนาศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคม สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (โครงการต่อเนื่อง) : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง  (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปพิจารณาตรวจสอบประเด็นอำนาจหน้าที่ของกลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ  พ.ศ.2553 ตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสำนักงาน กสทช. และดำเนินการตามขั้นตอนระเบียบวิธีการงบประมาณให้ถูกต้องก่อนนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.19  :  โครงการสนับสนุนการรับเรื่องร้องเรียนและพัฒนาศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ปี 2554 : กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ 
มติที่ประชุม  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. (กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ) รับความเห็นของกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปพิจารณาตรวจสอบประเด็นอำนาจหน้าที่ของกลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสำนักงาน กสทช. และดำเนินการตามขั้นตอนระเบียบวิธีการงบประมาณให้ถูกต้องก่อนนำเสนอที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.20  :  โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ICT เพื่อเยาวชน : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการ (นายพิทยาพลฯ), ทถ.
มติที่ประชุม  เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ICT เพื่อเยาวชน ให้เป็นไปตามมติที่ประชุม กทช. ครั้งที่ 39/2553 โดยให้ปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วตามกรอบเดิม แล้วให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการพัสดุ โดยเคร่งครัดต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.21  :  การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างจัดงานเพื่อดำเนินการบริหารจัดการกิจกรรม  การประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่แนวคิดและกิจการการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz หรือ 3G โดยวิธีพิเศษ : คณะกรรมการตรวจการจ้างการจัดจ้างผู้รับจ้างจัดงานเพื่อดำเนินการบริหารจัดการกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ฯ
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ได้มีมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 28/2554 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 เห็นชอบการปรับปรุงแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 โดยอนุมัติการปรับเพิ่มงบประมาณรายจ่ายโครงการที่ปรึกษาเพื่อการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ ๓G and beyond) จำนวน 8.7811 ล้านบาทไปแล้ว กอปรกับคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานการจ้างฯ ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 5/2554  ซึ่งเห็นชอบหลักการพิจารณาของคณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายฯ และดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการเจรจาต่อรองและบรรเทาความเสียหายฯ อย่างครบถ้วน โดยได้เจรจาต่อรองค่าจ้างกับผู้รับจ้างจัดงานเพื่อดำเนินการบริหารจัดการกิจกรรมการประชาสัมพันธ์  เพื่อเผยแพร่แนวคิดและกิจการการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz หรือ 3G โดยยึดถือประโยชน์ของสำนักงาน กสทช.เป็นที่ตั้ง รวมทั้งได้คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น และความยุติธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อยุติที่จำนวนเงิน 3,511,620.- บาท (สามล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพันหกร้อยยี่สิบบาทถ้วน) (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) อย่างไรก็ดี โดยที่เหตุกรณีดังกล่าวเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างสำนักงาน กสทช. กับผู้รับจ้าง ดังนั้น ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงมีมติกำหนดเป็นหลักการว่า ในกรณีนี้ให้สำนักงาน กสทช. ไปตรวจสอบเพื่อยืนยันความชอบด้วยกฎหมายให้ชัดเจนและถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะทำการเบิกจ่ายได้ต่อไป แต่หากพบว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เหมาะสม หรือมีปัญหาไม่สามารถเบิกจ่ายได้  ให้นำเสนอที่ประชุม  กสทช. พิจารณาตัดสินอีกครั้งหนึ่ง
ระเบียบวาระที่  4.22  :  ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตให้จัดตั้งหน่วยตรวจสอบเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ประเภทที่สอง ใบอนุญาตเลขที่ 001 : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายทศพรฯ), วท.
มติที่ประชุม  อนุมัติการต่ออายุใบอนุญาตให้จัดตั้งหน่วยตรวจสอบเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ประเภทที่สอง ใบอนุญาตเลขที่ 001 ให้แก่ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายละเอียดขอบข่ายการให้บริการทดสอบตามที่ได้รับอนุญาตไว้เดิม ทั้งนี้ ใบอนุญาตที่ต่ออายุในครั้งนี้ให้ใช้ได้จนถึง 5 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นระยะเวลา 3 ปี นับถัดจากวันที่ใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุ ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.23  :  การยกเลิกการอนุญาตให้บริษัท ไอเน็ต คอนเน็ค จำกัด ออกเครื่องหมายแสดงการได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานด้วยตนเอง : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายทศพรฯ), วท.
มติที่ประชุม  อนุมัติให้ยกเลิกการอนุญาตให้บริษัท ไอเน็ต คอนเน็ค จำกัด ออกเครื่องหมายแสดงการได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานด้วยตนเอง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตที่กำหนดไว้ในข้อ 3.2 ของเงื่อนไขการอนุญาตตามประกาศสำนักงาน กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขประกอบการอนุญาตให้ออกเครื่องหมายแสดงได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานด้วยตนเอง ทั้งนี้ โดยได้มีหนังสือแจ้งเตือนแล้ว ตามความเห็นกรรมการกลั่นกรอง (กทช.สุธรรมฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. และ กทช.พันเอกนทีฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.24  :  การรื้อถอนอุปกรณ์ DSLAM (ต่อเนื่อง) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กท.
มติที่ประชุม            
1.  รับทราบข้อเท็จจริงสถานะการดำเนินงานในทางคดี กรณีการรื้อถอนอุปกรณ์ DSLAM ของบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) โดยที่บริษัทฯ ได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้เป็นหลักฐาน จำนวน 7 เรื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริงของผู้ที่เกี่ยวข้อง และข้อเท็จจริงสถานะการดำเนินงานในทางคดี กรณีการรื้อถอนอุปกรณ์ DSLAM ของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ในความผิดฐาน  บุกรุก 7 เรื่อง ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  รับทราบความเห็นเพิ่มเติมและข้อมูลเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการของบริษัท TI ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) จากกลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งมีผู้ร้องเรียนมายังกลุ่มภารกิจฯ มีจำนวน 115 เรื่อง แก้ไขเยียวยา แล้วเสร็จ จำนวน 89 เรื่อง และอยู่ในระหว่างกระบวนการเรื่องร้องเรียนของกลุ่มภารกิจฯ จำนวน 26 เรื่อง
ระเบียบวาระที่  4.25  :  การขอปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ของ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด : กลุ่มภารกิจด้านการใช้และการเชื่อมต่อฯ
มติที่ประชุม  เห็นชอบให้ส่งเรื่องการขอปรับปรุงหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ของ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด ให้คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แล้วจัดทำความเห็นเสนอที่ประชุม กสทช. พิจารณาต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.26  :  มติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการขอความเห็นชอบต่อแนวทางการรักษาสิทธิเอกสารข่ายสื่อสารดาวเทียมของประเทศไทย ณ ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม 120  องศาตะวันออก : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายทศพรฯ), กร.
มติที่ประชุม      
1.  รับทราบมติคณะรัฐมนตรี (วันที่ 20 กันยายน 2554) เรื่องการดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิเอกสารข่ายสื่อสารดาวเทียมของประเทศไทย ณ ตำแหน่ง  วงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออก ที่กำลังจะหมดอายุภายในเดือนมกราคม 2555 ตามเอกสารข้อบังคับวิทยุ ตามแนวทางที่นำเสนอโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่มีนัยของคำพิพากษาของศาลปกครองคดีหมายเลขดำที่ 546/2550 กรณีนายสุพงษ์  ลิ้มธนากุล ผู้ฟ้องคดี กับ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และบริษัทไทยคม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ถูกฟ้องต่อศาลในประเด็น กทช. มีอำนาจในการอนุญาตหรือไม่ บัดนี้ เมื่อมีคำพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งวินิจฉัยว่า การประกอบกิจการดาวเทียมถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคม และอยู่ในอำนาจหน้าที่การกำกับดูแลของ กทช. ซึ่ง กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ก็ได้สั่งการให้สำนักงานฯ ไปดำเนินการในเรื่องนี้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รายงานผลการดำเนินงานให้ทราบ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเร่งรัดให้สำนักงานฯ นำเรื่องการยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมของบริษัท ไทยคมฯ เสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาโดยด่วน
3.  เห็นชอบเป็นหลักการในการอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
3.1 โดยที่ขณะนี้ ยังไม่มีอนุบัญญัติของกฎหมายที่ชัดเจนในเรื่องการอนุญาตให้บริการการสื่อสารโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม และยังไม่มีความจำเป็นที่จะออกประกาศในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นเวลาเปลี่ยนผ่านไปสู่ กสทช. ซึ่งขณะนี้กำลังรอการโปรดเกล้าฯ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม มาใช้ดำเนินการในเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษจนกว่า กสทช. ชุดใหม่จะได้จัดทำการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมเพื่อใช้บังคับต่อไป
3.2 กรณีการยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมของบริษัท ไทยคมฯ ซึ่งได้ยื่นเรื่องไว้นั้น เนื่องจากบริษัท  ไทยคมฯ อยู่ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงย่อมได้สิทธิตามบทเฉพาะกาลมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544  อยู่แล้ว ดังนั้น กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. จึงมีมติว่ากรณีการอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมของบริษัท ไทยคมฯ นั้น ให้ดำเนินออกใบอนุญาตให้แก่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อันเป็นสิทธิที่พึงได้รับตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มาตรา 46 วรรคสอง และมาตรา 84 วรรคสอง ต่อไป
3.3 และโดยที่ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นที่ 120 หรือ 50 องศา เป็นสิทธิอธิปไตยของประเทศไทย ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้รับมอบหมายโดยมติคณะรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ  ดังนั้น หากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะพิจารณาเป็นประการใดภายใต้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย หรือประสงค์จะมอบหมายให้หน่วยงาน/นิติบุคคลใดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินการแทนแล้ว กทช.ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ก็จะได้พิจารณาออกใบอนุญาตให้แก่หน่วยงาน/นิติบุคคลตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.27  :  บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด ขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม                
1.  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากปัจจุบันบริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด ได้มีการใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษหมายเลขดังกล่าว และมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงมีมติอนุมัติให้ บจ. ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค ใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ 1740 สำหรับบริการโทรศัพท์ราคาประหยัด (Low Cost Telephone Service) ตามวัตถุประสงค์เดิมต่อไป
2.  อนุมัติให้ บจ. ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษหมายเลข 1742 จากบริการโครงข่ายเสมือนแบบ Dial up VPDN ให้เป็น Call Center ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่ 4.28  :  บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม พิเศษ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษให้แก่ บมจ. ซิกน่า ประกันภัย จำนวน 1 หมายเลข ได้แก่ หมายเลข 1758 เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหาร    เลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 โดยเคร่งครัด ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.29  :  การขอรับจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ (เพิ่มเติม) ของ บมจ.  ทรู คอร์ปอเรชั่น : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม  อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ (เพิ่มเติม) ให้แก่ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น จำนวน 1 หมายเลข ได้แก่ หมายเลข 1761 เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551โดยเคร่งครัด ตามความเห็นคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม ตามที่ กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.30  :  ข้อสังเกตเกี่ยวกับวาระการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่ด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการจ่ายค่าตอบแทน : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม                
1.  รับทราบข้อสังเกตเกี่ยวกับวาระการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่ด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการจ่ายค่าตอบแทน ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
2.  เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องข้อสังเกตเกี่ยวกับวาระการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่ด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการจ่ายค่าตอบแทน โดยไม่ให้มีผลบังคับย้อนหลัง ตามความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายสำนักงาน กสทช. ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.31  :  การขอคัดค้านมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554 ของสมาคมวิทยุ – โทรทัศน์พัฒนาธุรกิจไทย (สว.พท.) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม  เห็นชอบแนวทางคำชี้แจงต่อคำขอคัดค้านมติที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554 ของสมาคมวิทยุ-โทรทัศน์พัฒนาธุรกิจไทย (สว.พท.) โดยมีแนวทางชี้แจงอ้างอิงอำนาจหน้าที่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ที่ระบุไว้ในบทเฉพาะกาลแห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551  ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  4.32  :  ข้อร้องเรียนของนายประมุท สูตะบุตร กรณีขอให้ตรวจสอบการดำเนินการของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรณีการต่อสัญญาร่วมดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 ให้บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม                
1.  โดยที่ในการดำเนินการเรื่อง ข้อร้องเรียนของนายประมุท สูตะบุตร กรณีขอให้ตรวจสอบการดำเนินการของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรณีการต่อสัญญาร่วมดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 ให้ บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด นั้น ได้มีการดำเนินการตรวจสอบมาเป็นลำดับ และในการประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 14/2554 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 ที่ประชุมกทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้มีมติให้ส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 53 มาตรา 78 และมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.   การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 และตามความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 477/2551
2.  ในการประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงฯ ครั้งที่ 8/2554  วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2554 ได้มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว มีมติว่า กรณีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการต่อสัญญาตามที่นายประมุทฯ ร้องเรียน มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ตามบทเฉพาะกาลแห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ในขณะนี้ หากแต่เป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ที่ได้รับการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 แล้ว
3.  จากผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ และประเด็นข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจหน้าที่ที่จำกัดของ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ข้างต้น ที่ประชุม กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้พิจารณาแล้วจึงเห็นว่า โดยที่ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่ กอรปกับข้อร้องเรียนของนายประมุท สูตะบุตร ดังกล่าวมีมูล และอาจมีผลในทางกฎหมายต่อการปฏิบัติของสำนักงาน กสทช. ได้ตามมาตรา 79 แห่งพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาประโยชน์ในการปฏิบัติงานให้เกิดความต่อเนื่องและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น 1 คณะเพื่อดำเนินการตรวจสอบ และประมวลรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนของนายประมุท สูตะบุตร ดังกล่าวทั้งหมด แล้วรายงานผลต่อ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.หรือ กสทช. ทราบภายใน 7 วัน ก่อนที่จะพิจารณาดำเนินการในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง และเป็นไปอย่างรอบคอบตามขอบอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายให้ไว้ต่อไป
ระเบียบวาระที่  4.33  :  การพิจารณาผังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนคนหนองหญ้าไซ คลื่นความถี่ 107.50 MHz อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี และสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบ้านนา คลื่นความถี่ 97.50 MHz อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายกเพื่อใช้ในการออกอากาศ : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม  เห็นชอบผังรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนคนหนองหญ้าไซ คลื่นความถี่ 107.50 MHz อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี และสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบ้านนา คลื่นความถี่ 97.50 MHz อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นไปตามกำหนดเวลาของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ข้อ 13 และมีสัดส่วนรายการเป็นไปตามข้อ 10 และ ข้อ 12 ของประกาศดังกล่าว ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้ สำนักงาน กสทช.รับข้อคิดเห็นของ  ที่ประชุม (กทช.สุรนันท์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช.) ไปติดตามตรวจสอบการดำเนินรายการต่างๆ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนคนหนองหญ้าไซ และสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนบ้านนาด้วยว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามที่อนุญาตไว้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกำกับดูแล  มิให้มีการกระทำการใดๆ ที่ไม่เหมาะสม และ / หรือฝ่าฝืนกฎระเบียบที่กำหนดไว้
ระเบียบวาระที่  4.34  :  การดำเนินการทดลองออกอากาศภายในระยะเวลาตามข้อ 8(6) ของ ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว  (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมสำหรับกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ประกอบด้วย การเปรียบเทียบปรับคดีความผิดกรณีผู้ยื่นคำขอมีไว้หรือใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม (เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง) โดยไม่ได้รับอนุญาต การอนุญาตทำเครื่องวิทยุคมนาคม การตรวจสอบความสอดคล้องตามมาตรฐานทางวิชาการที่ระบุไว้ในมาตรฐานเทคนิคแนบท้ายประกาศ กทช.ฯ และการพิจารณาออกใบอนุญาตให้มี ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ซึ่งในปัจจุบันสำนักงาน กสทช. ได้กำหนดให้มีหน่วยตรวจรับรองมาตรฐานเพื่อการดังกล่าวอยู่เพียงแห่งเดียว คือ สำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. จึงส่งผลให้ผู้ยื่นคำขอ โดยเฉพาะในรายที่อยู่ ณ พื้นที่ห่างไกลต้องใช้เวลาในการนำเครื่องเข้ารับการตรวจสอบ ซึ่งการตรวจสอบมาตรฐานเครื่องจะมีการแจ้งให้ดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดแล้ว จึงจะสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้ ดังนั้น ในระยะเริ่มต้นของการพิจารณามาตรฐานเครื่องส่งวิทยุคมนาคมสำหรับกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการทั้งในส่วนของผู้ขอรับใบอนุญาตและส่วนของสำนักงาน กสทช. ที่อาจจะเกินกว่าระยะเวลาการเตรียมการเพื่อเริ่มทดลองออกอากาศตามข้อ 8(6) ของประกาศ กทช.ฯ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอันเกินควรที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตที่ได้ดำเนินการตามกระบวนการที่ได้กำหนดไว้ในประกาศ กทช.ฯ จึงเห็นชอบกำหนดหลักการพิจารณากำหนดระยะเวลาการเริ่มทดลองออกอากาศตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุประจายเสียงชุมชน) ข้อ 8(6) ว่าหากผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และได้แจ้งถึงความพร้อมในการเริ่มทดลองออกอากาศต่อเจ้าพนักงานแล้ว แต่ยังไม่สามารถเริ่มทดลองได้ตามกำหนดระยะเวลาตามข้อ 8(6) ของประกาศ กทช. ดังกล่าว อันมีเหตุเนื่องมาจากกระบวนการพิจารณาออกใบอนุญาตเครื่องวิทยุคมนาคม ซึ่งเป็นเครื่องมืออุปกรณ์หลักในการดำเนินการทดลองออกอากาศ    ก็ให้ดำเนินการเริ่มทดลองออกอากาศโดยเร็วเมื่อได้รับผลการพิจารณาตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ทั้งนี้ เหตุดังกล่าวที่ทำให้ไม่สามารถทดลองออกอากาศได้ภายในระยะเวลาตามประกาศข้อ 8(6) ถือว่ามิได้เป็นเหตุที่ทำให้สถานภาพการเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตหมดไป เนื่องจากระยะเวลาในการดำเนินการดังกล่าวมิได้อยู่ในช่วงระยะเวลาที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจะสามารถกำหนดหรือควบคุมได้ ดังนั้น จึงมีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินการกรณีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ไม่สามารถเริ่มดำเนินการทดลองออกอากาศ 30 วันตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามข้อ 8(6) ของประกาศ กทช. ดังกล่าวข้างต้น ตามความเห็นคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
ระเบียบวาระที่  4.35  :  ผลการตรวจสอบสภาพสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 13/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554 เพื่อออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จำนวน 7 ราย (9 ใบอนุญาต)  : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม              
1.  รับทราบผลการตรวจสอบสภาพปัญหาการรั่วไหลของสัญญาณ เมื่อสถานีทำการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) จำนวน 7 ราย (9 ใบอนุญาต) ซึ่งไม่ปรากฏการรั่วไหลของสัญญาณ ตามที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอ ดังนี้
1.1 บริษัท เฟรนลี่มายด์ จำกัด (1 ใบอนุญาต/ 86 ช่องรายการ)
1.2 บริษัท รวมเจริญเคเบิล ทีวี จำกัด (2 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด รัตนเคเบิลทีวี (1 ใบอนุญาต/ 16 ช่องรายการ)
1.4 บริษัท อรัญประเทศเทเลวิสชั่น จำกัด (1 ใบอนุญาต/ 26 ช่องรายการ)
1.5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เคเบิ้ล ทีวี.ขลุง (1 ใบอนุญาต/ 55 ช่องรายการ)
1.6 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจทีวีมีเดีย (1 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ)
1.7 บริษัท ดับบลิว แอนด์ วาย เคเบิ้ล ซิสเท็มส์ จำกัด (2 ใบอนุญาต/ 80 ช่องรายการ)
2.  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต จำนวน 7 ราย ตามข้อ 1 ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  4.36  :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 13/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554 (จำนวน 2 สถานี) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ให้แก่ผู้รับใบอนุญาต จำนวน 2 ราย ได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนหนองแรด เอ็นจี เรดิโอ คลื่น 105.75 MHz ความถี่ 105.75 MHz อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนท้องถิ่นตำบลห้วย FM 96.00 MHz ความถี่ 96.00 MHz อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ตามข้อ 8(4) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยกำหนดให้มีการทดลองออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาการรบกวนตามข้อ 8(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ
     อนึ่ง การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นการอนุญาตให้ใช้ทดลองเป็นการชั่วคราว และอาจปรับเปลี่ยนได้ตามแผนความถี่ รวมทั้งการอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิถาวรกับผู้รับใบอนุญาตที่จะอ้างสิทธิ
ระเบียบวาระที่  4.37  :  บทวิเคราะห์คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) และการขึ้นทะเบียนช่องรายการให้ดำเนินการแพร่ภาพกระจายเสียงในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามมติคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ครั้งที่ 13/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 19กันยายน 2554 (จำนวน 73 ราย  193 ใบอนุญาต) : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 
มติที่ประชุม  อนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ จำนวน 73 ราย (193 ใบอนุญาต) ตามข้อ 7(3) ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) โดยกำหนดให้มีการทดลองให้บริการหรือแพร่ภาพกระจายเสียงเป็นเวลา 30 วัน ตามข้อ 7(5) ของประกาศดังกล่าวข้างต้น และการขึ้นทะเบียนช่องรายการของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว ทั้งนี้ ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก) ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามที่ กทช.พนาฯ ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. เสนอ ดังนี้
1.1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สูงเม่นเคเบิ้ลทีวี จำนวน 2 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สนุก เคเบิ้ล ทีวี จำนวน 4 ใบอนุญาต 85 ช่องรายการ
1.3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เคทีวี ลันตา จำนวน 1 ใบอนุญาต/ 60 ช่องรายการ
1.4 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนะเคเบิลทีวี จำนวน 2 ใบอนุญาต 55 ช่องรายการ
1.5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธารเกษม เคเบิล ที.วี. จำนวน 1 ใบอนุญาต 61 ช่องรายการ
1.6 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เค. เคเบิ้ล ทีวี เซ็นเตอร์ จำนวน 2 ใบอนุญาต 50 ช่องรายการ
1.7 ห้างหุ้นส่วนจำกัด  อยุธยา เน็ทเวิร์ค จำนวน 16 ใบอนุญาต 50 ช่องรายการ
1.8 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ เค. เคเบิ้ลทีวี ประตูน้ำ จำนวน 2 ใบอนุญาต 55 ช่องรายการ
1.9 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทียนดัดเคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.10 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บัวใหญ่ เคเบิลทีวี จำนวน 2 ใบอนุญาต 67 ช่องรายการ
1.11 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ เคเบิลทีวี จำนวน 6 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.12 บริษัท ซันไซน์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 20 ใบอนุญาต 84 ช่องรายการ
1.13 บริษัท อิทธิ-วรา ซี.เอ.ที.วี.เน็ทเวิร์ค จำกัด จำนวน 2 ใบอนุญาต 56 ช่องรายการ
1.14 บริษัท บีทีเอส เคเบิล ทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 116 ช่องรายการ
1.15 บริษัท สกลนครเคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 70 ช่องรายการ
1.16 บริษัท ไทย-เบส เคเบิล ทีวี จำกัด จำนวน 3 ใบอนุญาต 67 ช่องรายการ
1.17 บริษัท แก่งคอย เคเบิล ที.วี. จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.18 บริษัท เค.แอล. ทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 28 ช่องรายการ
1.19 บริษัท โคกสำโรงเคเบิ้ล ที.วี. จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.20 บริษัท ไทยเคเบิ้ล แชนแนลส์ จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 116 ช่องรายการ
1.21 บริษัท เฉินเจียนวันเจริญ จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 68 ช่องรายการ
1.22 บริษัท เสนีศิรินพ เคเบิ้ล จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.23 บริษัท เมโทร เคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 2 ใบอนุญาต 62 ช่องรายการ
1.24 บริษัท ห้าดาวเคเบิลทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 30 ช่องรายการ
1.25 บริษัท เมืองลับแล เคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 63 ช่องรายการ
1.26 บริษัท พานทอง เคเบิลทีวี เอ็กซ์เพรส จำกัด จำนวน 2 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.27 บริษัท เคซีทีวี(นครสวรรค์) จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 68 ช่องรายการ
1.28 บริษัท เคเบิ้ล ชัยนาท จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 95 ช่องรายการ
1.29 คณะบุคคล พีทีวี จำนวน 13 ใบอนุญาต 21 ช่องรายการ
1.30 ไชยชนะ เคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 30 ช่องรายการ
1.31  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม่วงไข่เคเบิลที.วี. จำนวน 1 ใบอนุญาต 24 ช่องรายการ
1.32 ห้างหุ้นส่วนจำกัด จัสมิน เอ็นเทอร์ ไพรส์ 2000 จำนวน 4 ใบอนุญาต 20 ช่องรายการ
1.33 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ครบุรีเคเบิ้ล จำนวน 1 ใบอนุญาต 20 ช่องรายการ
1.34 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลำนารายณ์ เคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 37 ช่องรายการ
1.35 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ราชบุรี เคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.36 ห้างหุ้นส่วนจำกัด โคกตูมเคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 40 ช่องรายการ
1.37 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยะลาเคเบิลเน็ทเวิร์ค จำนวน 2 ใบอนุญาต 62 ช่องรายการ
1.38 ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี เคเบิลเน็ทเวิร์ค จำนวน 1 ใบอนุญาต 62 ช่องรายการ
1.39 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี.ที. เคเบิ้ล ที.วี. จำนวน 1 ใบอนุญาต 35 ช่องรายการ
1.40 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สา เคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 35 ช่องรายการ
1.41 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.แอล.เสียง (ไทยแลนด์) จำนวน 3 ใบอนุญาต 75 ช่องรายการ
1.42 ห้างหุ้นส่วนจำกัด คุณธรรม เคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.43 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอเชีย โมบาย จำนวน 1 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.44 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เจ.พี.เคเบิ้ล ที.วี. จำนวน 2 ใบอนุญาต / 26 และ 39 ช่องรายการ
1.45 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุวรรณภูมิเคเบิ้ล ทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 50 ช่องรายการ
1.46 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.ที.เอส. คอมมูนิเคชั่น จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.47 ห้างหุ้นส่วนจำกัด มิตรภาพ เคเบิลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 50 ช่องรายการ
1.48  บริษัท แซท เคเบิล เมจิก เทเลวิชันส์ จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 45 ช่องรายการ
1.49 บริษัท แซท เคเบิล เน็ตเวิร์ค จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 45 ช่องรายการ
1.50 บริษัท แซท เคเบิล เมจิก บรอดคาสติ้ง จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 45 ช่องรายการ
1.51 บริษัท ชุมแสงแซทเทลไลท์ จำกัด จำนวน 3 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.52 บริษัท ราไวย์ เคเบิ้ล ทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.53 บริษัท เสียงฝาง จำกัด จำนวน 6 ใบอนุญาต / 30 และ 50 ช่องรายการ
1.54 บริษัท ซุปเปอร์เช็ง ปทุมธานี จำกัด จำนวน 3 ใบอนุญาต 81 ช่องรายการ
1.55 บริษัท ซูเปอร์เช็ง กรุงเทพ จำกัด จำนวน 5 ใบอนุญาต 81 ช่องรายการ
1.56 บริษัท บ้านอำเภอ จอมเทียน เคเบิ้ลทีวี เอ๊กซ์เพรส จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 58 ช่องรายการ
1.57 บริษัท เฟิร์ส บรอดคาสติ้ง เคเบิล ทีวี จำกัด จำนวน 27 ใบอนุญาต 78 ช่องรายการ
1.58 บริษัท เจียงฮายเคเบิลทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.59 บริษัท เฟรนด์ เคเบิลทีวี จำกัด จำนวน 3 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.60 บริษัท เอ็น.พี.เคเบิ้ล ทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 47 ช่องรายการ
1.61 บริษัท เอาท์บอกซ์ โซลูชั่น จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.62 บริษัท กระบี่เคเบิ้ล ทีวี จำกัด จำนวน 3 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.63 บริษัท จี.เอส.แอร์. อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด จำนวน 4 ใบอนุญาต / 60 และ 70 ช่องรายการ
1.64 บริษัท สามย่าน เคเบิ้ลทีวี จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 45 ช่องรายการ
1.65 ทีวีชุมชน คนมะเขือแจ้ จำนวน 1 ใบอนุญาต 30 ช่องรายการ
1.66 นันทิญา เคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 60 ช่องรายการ
1.67 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เอ็ม.เคเบิ้ล เน็ทเวิร์ค จำนวน 4 ใบอนุญาต 81 ช่องรายการ
1.68 บริษัท ซุปเปอร์เช็ง จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 81 ช่องรายการ
1.69 บริษัท ซุปเปอร์เช็ง จำกัด จำนวน 1 ใบอนุญาต 80 ช่องรายการ
1.70 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอสทีพี เคเบิล 1 ใบอนุญาต 40 ช่องรายการ
1.71 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านหมอ เคเบิล ทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 40 ช่องรายการ
1.72 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามร้อยยอดเคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 ใบอนุญาต 16 ช่องรายการ
1.73 เทศบาลแม่อาย จำนวน 1 ใบอนุญาต 20 ช่องรายการ
ระเบียบวาระที่  4.38  :  การขอให้ทบทวนมติ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ครั้งที่ 18/2554 และขอความเป็นธรรมในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนชั่วคราว : คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มติที่ประชุม                
1. ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า โดยที่ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มาตรา ๗๙ ได้มีบทกำหนดโทษพนักงานเจ้าหน้าที่ กสทช. หรือผู้ซึ่งใช้อำนาจของ กสทช. ที่รู้หรือได้รับแจ้งจากบุคคลว่ามีการใช้คลื่นความถี่อันเป็นการ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้ หากมิได้ดำเนินการบังคับใช้ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ซึ่งการกระทำหรืองดเว้นการกระทำดังกล่าว กฎหมายได้มีบทกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จึงมีมติให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการกับผู้ที่มีการใช้คลื่นความถี่ที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้ ทุกราย โดยไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ รวมถึงกรณีเมื่อการร้องเรียนสถานีวิทยุชุมชนที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้วด้วย
2.  มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) เพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 1 
ระเบียบวาระที่ 4.39  :  การจัดทำความตกลงด้านการผลิตภาพยนตร์และโสตทัศน์กับอินเดีย    : สท.
มติที่ประชุม  เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งกระทรวงพาณิชย์เพื่อทราบเรื่อง การจัดทำความตกลงด้านการผลิตภาพยนตร์และโสตทัศน์กับอินเดีย ว่าโดยที่ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามความเห็นคณะกรรมการเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรปต่อไป
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
5.1   รายงานการประชุม EMC 2011 และการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นณ ประเทศสหรัฐอเมริกา : ปธ.
5.2   รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ประจำเดือนสิงหาคม 2554 : กม.
5.3   รายงานผลการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้รับสื่อในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำเดือน สิงหาคม 2554 : สท.
5.4   สำนักงานป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : กบ.
ระเบียบวาระที่  5  :  เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่  5.1  :  รายงานการประชุม EMC 2011 และการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา : ปธ.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานการเดินทางของประธาน กทช. ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช.  และคณะในการเข้าร่วมประชุมกับ Prof. Romesh Jahari, Stomford University และเข้าร่วมประชุม EMC Society International Symposium on Electromagnatic Compatibility 2011 ระหว่างวันที่ 12-19 สิงหาคม 2554 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.2  :  รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ประจำเดือนสิงหาคม 2554 : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ (นายฐากรฯ), กม.
มติที่ประชุม  รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือมอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ลสทช.) ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ประจำเดือนสิงหาคม 2554  ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่   5.3  :  รายงานผลการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้รับสื่อในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำเดือน สิงหาคม 2554 : สท.
มติที่ประชุม รับทราบรายงานผลการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้รับสื่อในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำเดือน สิงหาคม 2554 จำนวน 26 เรื่อง ได้แก่ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 8 เรื่อง และเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ จำนวน 18 เรื่อง ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.4  :  สำนักงานป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), กบ.
มติที่ประชุม  รับทราบการพิจารณาอนุมัติจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมพิเศษ จำนวน 1   เลขหมาย ได้แก่ หมายเลข 1205 ให้แก่สำนักงานป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ทั้งนี้ ตามมติ กทช. ครั้งที่ 45/2548 เมื่อวันที่ 21 กันยายน2548 ตามเอกสารที่สำนักงาน กสทช. เสนอ
ระเบียบวาระที่  5.5  :  แนวทางการส่งเสริมการเข้าถึงบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะตามนโยบายของรัฐบาล : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายพิทยาพลฯ), ทถ.
มติที่ประชุม ที่ประชุมให้สำนักงาน กสทช. นำเรื่องแนวทางการส่งเสริมการเข้าถึงบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะตามนโยบายของรัฐบาล เสนอกรรมการกลั่นกรองตามขั้นตอนก่อนนำเสนอที่ประชุมต่อไป
ระเบียบวาระที่  6  :  เรื่องอื่นๆ
ระเบียบวาระที่  6.1  :  การขอรับการสนับสนุนการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของวุฒิสภา “วุฒิสภาช่วยน้ำท่วม” : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ  (นายทศพรฯ), บป.
มติที่ประชุม  อนุมัติการสนับสนุนการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของวุฒิสภา จำนวน 1,000,000.- บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) โดยใช้จ่ายจากงบประมาณประจำปี 2554 รายการค่าใช้จ่ายสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการดำเนินงานของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ 
ระเบียบวาระที่  6.2  :  การสนับสนุนจัดซื้อเรือพระราชทานช่วยน้ำท่วม : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ (นายฐากรฯ)
มติที่ประชุม  รับทราบไว้ชั้นหนึ่งก่อนในเรื่อง การขอรับการสนับสนุนการจัดหาเรือท้องแบนเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย จำนวน 38 จังหวัด ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการฯ (นายฐากรฯ) ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่าได้มีการประสานงานจากสำนักงานราชเลขาธิการและกรมเจ้าท่า เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการดังกล่าวต่อไปแล้ว
ระเบียบวาระที่  6.3  :  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีขอสนับสนุนการพัฒนาระบบความปลอดภัยการสื่อสารและเครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ (Synthesizer) : ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการฯ (นายประเสริฐฯ), ฉก.
มติที่ประชุม                
1.  อนุมัติให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีตั้งสถานีฐาน (Base Station) จำนวน 1 สถานี ณ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางบก โดยใช้ความถี่ 157.750  157.975  444.200  449.200  449.225  450.125  450.150  455.125 และ 464.125 MHz ระบบ  V-UHF/FM ความกว้างแถบคลื่นความถี่ไม่เกิน ๑๖ KHz เพื่อภารกิจในการอำนวยการปฏิบัติงานนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และบุคคลสำคัญ ตามรายละเอียดที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยกำหนดเงื่อนไข ดังนี้
(1) เครื่องวิทยุคมนาคมต้องเป็นตราอักษร รุ่น/แบบ ที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แล้ว
(2) ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่ กสทช. กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) หากการใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวก่อให้เกิดการรบกวนกับข่ายสื่อสารอื่นที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจะต้องดำเนินการแก้ไขการรบกวนหรือระงับการใช้งานทันที
2.  อนุมัติการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาระบบความปลอดภัยการสื่อสารและเครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ (Synthesizer) เพื่อใช้ภารกิจในการอำนวยการปฏิบัติงานของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี และบุคคลสำคัญตามข้อ 1 จำนวน 1 ล้านบาท ให้แก่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวาระที่  6.4  :  แนวทางการดำเนินงานกำกับดูแลวิทยุชุมชนในห้วงระยะเวลาเกิดอุทกภัย : ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ (นายฐากรฯ)
มติที่ประชุม                
1. รับทราบเรื่อง การร้องเรียนในการเข้าตรวจจับกุมสถานีวิทยุชุมชนที่ขัด พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ในขณะที่สถานีวิทยุชุมชนดังกล่าวได้ให้ความช่วยเหลือทางราชการในการแจ้งเตือนภัยพิบัติและประสานความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในขณะนี้ ตามที่ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. (นายฐากรฯ) รายงานให้ที่ประชุมทราบ
2. ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากขณะนี้ได้เกิดอุทกภัยขึ้น และได้ก่อให้เกิดความเสียหายและความเดือดร้อนแก่ประชาชนในเกือบทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันวิทยุชุมชนได้เข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการแจ้งเหตุเตือนภัยและประสานความช่วยเหลือทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี สำนักงาน กสทช. ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 โดยดำเนินการกับผู้ที่มีการใช้คลื่นความถี่ที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้ ทุกราย โดยไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ รวมถึงกรณีเมื่อมีการร้องเรียนสถานีวิทยุชุมชนที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้วด้วย ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้สำนักงาน กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมวิทยุชุมชน ซึ่งได้มีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติและชีวิตประชาชน โดยขอให้ใช้ความระมัดระวังในการเข้าไปตรวจจับกุม ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ อาจพิจารณาทบทวนในการขยายเวลาการลงทะเบียนให้แก่สถานีวิทยุชุมชน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนในห้วงระยะเวลาภัยพิบัติที่เกิดจากอุทกภัยครั้งนี้ตามความเหมาะสม
3. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อทราบมติที่ประชุมตามข้อ 2 ต่อไปด้วย

สร้างโดย  -   (23/2/2559 16:47:33)

Download

Page views: 346