กสทช.ระดมแผนเด็ดปี 58 หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เผยงบฯ ใหม่ปรับตามแนว สตง. ชูรัฐสภาตรวจสอบ
กสทช.ระดมแผนเด็ดปี 58 หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เผยงบฯ ใหม่ปรับตามแนว สตง. ชูรัฐสภาตรวจสอบ
กสทช. เตรียมพร้อมเดินหน้าโครงการปี 2558 จัดประมูลคลื่นความถี่เพื่อนำเทคโนโลยี 4G มาใช้ในประเทศไทย การประมูลเลขสวย เปิดช่องทีวีสาธารณะ คาดจะกระตุ้นเศรษฐกิจนำรายได้เข้ารัฐหลายหมื่นล้านบาท ยืนยันการปรับกระบวนการจัดสรรงบประมาณประจำปี 57 และ 58 ตามคำแนะนำของสตง. ส่วนงบฯ ปี 56 ผ่านการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐแล้ว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยภายหลังการหารือเบื้องต้นร่วมกับผู้บริหารสำนักงาน กสทช. ว่าขณะนี้สำนักงาน กสทช.ได้เตรียมภารกิจปี 2558 เพื่อสร้างรายได้ให้กับรัฐ โดยมีโครงการหลักที่จะดำเนินการได้แก่ การจัดสรรคลื่นความถี่โทรคมนาคมด้วยวิธีการจัดประมูลคลื่น 4 G โครงการประมูลเลขสวย นอกจากนี้ยังเปิดช่องทีวีสาธารณะเพื่อเผยแพร่สาระและความรู้ให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง
นายฐากรกล่าวว่า ในโครงการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ที่จะมีขึ้นในปี 2558 เป็นการจัดสรรคลื่นความถี่และรองรับการใช้งานเลขหมาย การใช้ข้อมูลหรือดาต้าที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) การจัดสรรคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ได้นำมาใช้ให้บริการ 3 G เมื่อปี 2555 นั้น กสทช.ช่วยกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจเติบโตขึ้นอย่างมากมีเม็ดเงินหมุนเวียนนับแสนล้านในระบบเศรษฐกิจ
นายฐากรกล่าวว่า กสทช.ยื่นงบฯรายจ่ายเมี่อปี2556ให้สตง.ตรวจสอบและผ่านการรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้สตง. มีข้อแนะนำให้ปรับปรุงการจัดทำงบฯ ทางกสทช. ปฎิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวโดยในงบฯด้านการดูงานต่างประเทศ ในปี 2557 และปี 2558 กสทช.ลดทั้งจำนวนโครงการและงบฯลงเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การจัดทำงบฯของกสทช.ทุกปี จะต้องผ่านการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณ ในงบฯปี2558 จะมีตัวแทนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) 4 คนเข้าร่วมตรวจสอบด้วย
นายฐากร กล่าวว่า กสทช.ได้ยื่นงบฯรายจ่ายเมี่อปี 2556ให้ สตง.ตรวจสอบและผ่านการรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ สตง.มีข้อแนะนำให้ปรับปรุงการจัดทำงบฯ ซึ่ง กสทช.ได้นำคำแนะนำดังกล่าวมาปรับใช้ โดยในงบฯด้านการดูงานต่างประเทศปี 2557และปี 2558 ได้ลดทั้งจำนวนโครงการและงบฯลงเป็นจำนวนมาก
นายฐากรกล่าวว่า สาเหตุที่ในปี 2556ต้องใช้จ่ายงบประมาณด้านการดูงานต่างประเทศและประชาสัมพันธ์สูง เนื่องจาก กสทช. มีแผนจะจัดประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz เพื่อพัฒนาสู่ระบบ 4 G และทีวีดิจิตอล จึงจำเป็นต้องเสาะแสวงหาความรู้และประสบการณ์รวมถึงกรณีตัวอย่างการจัดประมูลในต่างประเทศเนื่องจากเทคโนโลยีทางด้านโทรคมนาคมและกระจายเสียงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวและแนวคิดเพื่อให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
นายฐากร กล่าวว่า สำหรับการจัดทำงบประมาณประจำปี 2557 และ 2558 ของสำนักงาน กสทช. นั้น เป็นไปตามข้อเสนอแนะจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) รวมถึงได้มีการนำส่งรายได้แผ่นดินให้กระทรวงการคลังประจำปี 2556 เป็นเงินทั้งสิ้น 654.5 ล้านบาท โดยงบฯ ประมาณดังกล่าวได้ผ่านการรับรองรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)แล้ว โดยเป็นการดำเนินการตามมาตรา 65 (1) (2) ของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
นายฐากร กล่าวว่า พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ มาตรา 27 ได้ให้อำนาจ กสทช. จัดทำและอนุมัติงบประมาณของตนเอง ซึ่งงบประมาณรายได้ของสำนักงาน กสทช. มีที่มาจาก 1. มาจากค่าธรรมเนียมต่าง ๆ 2. ค่าเลขหมายโทรศัพท์หรือบริการอื่นๆ 3. รายได้จากการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีการจัดประมูล โดยรายได้เมื่อเข้ามาที่สำนักงาน กสทช.จะต้องจัดสรรไปเป็นรายจ่าย 1.เข้ากองทุน 2. นำรายได้มาเป็นรายจ่ายตั้งงบประมาณเองใน กสทช.
ทั้งนี้รายได้จากการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ หรือการจัดประมูล 3 G จำนวนกว่า 4.2 หมื่นล้านบาท สำนักงาน กสทช.จะนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด ส่วนคลื่นความถี่สำหรับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ จะถูกนำส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตาม พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ตามจากประกาศ คสช.ฉบับที่ 80 /2557 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับฯ ได้ให้สำนักงาน กสทช. นำเงินรายได้จากการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิตอลทีวีที่ยังไม่นำเข้ากองทุนนำส่งเข้ารัฐทั้งหมด ซึ่งในภายหลังทางผู้ชนะการประมูลช่องทีวีดิจิตอลได้ยื่นเรื่องขอยืดระยะเวลาการนำส่งเงินจากการชนะการประมูลให้กับ กสทช. ในปีที่ 2 ไปอีก 1 ปี
สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ กสทช. สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. งบด้านบุคลากร ซึ่ง กสทช.มีอยู่ 1,300 คน ต่อปี มีรายจ่ายประมาณ 1,200 ล้านบาท โดยประมาณ รวมค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส
2. งบลงทุน แบ่งเป็นค่าอบรม สัมมนา ซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ระหว่าง 3,000-4,000 ล้านบาท
3. งบบริหารจัดการองค์กร ประกอบด้วย ค่าน้ำ ค่าไฟ งบศึกษาดูงานต่างประเทศ โดยงบประมาณของสำนักงาน กสทช. จะต้องผ่านการพิจารณาของอนุงบประมาณ สำนักงาน กสทช. ก่อนผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ. 2553 โดยไม่ผ่านการตรวจสอบจากรัฐสภาเนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขรายการงบประมาณประจำปีของรัฐ ทั้งนี้ มาตรา 65 และ 66 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ. 2553 กำหนดให้รัฐสภาสามารถพิจารณางบประมาณสำนักงาน กสทช. กรณีรายได้ของสำนักงาน กสทช.ไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน โดย รัฐจะต้องเข้ามาจัดสรรงบประมาณให้
นายฐากร กล่าวในตอนท้ายว่า ทางสำนักงาน กสทช. พยายามผลักดันให้การพิจารณาและตรวจสอบงบประมาณของสำนักงาน กสทช. ผ่านกระบวนการทางรัฐสภา ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Download
เอกสารแนบ.doc
สร้างโดย - (8/3/2560 15:49:54)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 4