สำนักงาน กสทช. จับมือ ดีอีเอส และปภ. หนุนสหพันธ์สมาคมวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายประเทศไทย จัดโครงการอบรมอาสาสมัครพนักงานวิทยุสมัครเล่น 1,000 คน ทั่วประเทศ เพื่อทำหน้าที่เป็นเครือข่ายสื่อสารสำรองของชาติ
สำนักงาน กสทช. ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่
อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภั
ย (ปภ.) สนับสนุนสมาพันธ์สมาคมวิทยุสมั
ครเล่นควบคุมข่ายประเทศไทยพั
ฒนาและฝึกอบรมพนักงานวิทยุสมั
ครเล่นอาสาสมัครจำนวน 1,000 คน ให้มีความพร้อมทำหน้าที่เป็
นระบบเครือข่ายสื่
อสารสำรองของชาติ หรือระบบคู่ขนาน ที่พร้อมทำงานในเมื่อเกิดภาวะฉุ
กเฉิน หรือภัยพิบัติ โดยเฉพาะในกรณีที่ระบบสื่
อสารหลัก/ระบบสื่อสารสาธารณะไม่
สามารถใช้งานได้ ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้
ภาคประชาชนเกิดความเข็มแข็
งสามารถช่วยเหลือหน่
วยงานราชการในการรับมือกับภัยพิ
บัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การอบรมจะจัดขึ้น 4 ครั้ง ในพื้นที่ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ โดยนักวิทยุสมัครเล่นสามารถสมั
ครเข้าร่วมการอบรมผ่านระบบอิเล็
กทรอนิกส์ของสมาคมวิทยุสมัครเล่
นควบคุมข่ายประจำจังหวัดที่เป็
นสมาชิกของสมาพันธ์สมาคมวิทยุ
สมัครเล่นควบคุมข่ายประเทศไทย
ข้อมูลจากกรมป้องกั
นและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พบว่า ในแต่ละปี ทุกภาคของประเทศไทยต้องเผชิญกั
บภัยน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก พายุฤดูร้อน พายุโซนร้อน แผ่นดินไหว ที่บางครั้งมีความรุนแรงมาก เช่น พายุไต้ฝุ่น สึนามิ ซึ่งทำให้ระบบสื่อสารสาธารณะใช้
งานไม่ได้ชั่วคราว อาจเพราะโครงสร้างถูกทำลาย หรือไฟดับ หรือความต้องการการสื่อสารที่
มากเกินกว่าที่ระบบปกติจะรองรั
บได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาในการแก้
ไขประมาณไม่เกิน 72 ชั่วโมง แต่ในช่วงเวลานั้นเครือข่ายวิ
ทยุสมัครเล่นยังสมารถทำงานได้
อยู่ เนื่องจากเป็นเครือข่ายแบบ Stand Alone เชื่อมต่อกันด้วยคลื่นวิทยุ สถานีวิทยุสมัครเล่นของนักวิทยุ
สมัครเล่นตั้งกระจายอยู่ในทุกพื้
นที่ของประเทศ เมื่อเกิดภัยพิบัติสามารถเคลื่
อนย้ายเข้าไปตั้งสถานีสื่อสารฉุ
กเฉินในพื้นที่ที่ประสบเหตุได้
อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยในการสื่อสาร ประสานงานให้กับทางราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่
างทันท่วงที นอกจากนั้นสมาคมและพนักงานวิทยุ
สมัครเล่นซึ่งเป็นประชาชนในพื้
นที่ รู้จักพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่เป็
นอย่างดี รู้เส้นทางที่จะเข้าถึงพื้นที่
ที่ต้องการความช่วยเหลือ อีกทั้งรู้สภาพภัยพิบัติที่เกิ
ดขึ้นประจำ สามารถให้ข้อมูลที่จะเป็
นประโยชน์ต่อทางราชการเพื่
อวางแผนป้องกัน ลดความรุนแรง หรือแก้ไขสถานการณ์ได้
พนักงานวิทยุสมัครเล่นในสังกัด กสทช. มีประมาณแปดหมื่นคน กระจายอยู่ในทุกจังหวัด มีสมาคมวิทยุสมัครเล่นที่ กสทช. มอบหมายให้ทำหน้าที่สถานีวิทยุ
สมัครเล่นควบคุมข่ายประจำจังหวั
ด เพื่อกำกับดูแลและทำหน้าที่เป็
นผู้ประสานงานกับทางราชการ จังหวัดละ 1 แห่ง โดย สมาคมวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่
ายประมาณร้อยละ 75 ได้รวมตัวกันเป็นสหพันธ์สมาคมวิ
ทยุสมัครเล่นควบคุมข่
ายประเทศไทยและได้ทำงานร่วมกั
นอย่างใกล้ชิด ในงานนี้สำนักงาน กสทช. ได้อนุมัติงบประมาณจากกองทุนวิ
จัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิ
จการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สนับสนุนให้สหพันธ์สมาสหพันธ์
สมาคมวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่
ายประเทศไทย ซึ่งได้มอบหมายสมาคมนักวิทยุ
อาสาสมัครเป็นผู้แทนในการจั
ดทำโครงการพัฒนาและฝึกอบรมพนั
กงานวิทยุสมัครเล่นอาสาสมัครสื่
อสารฉุกเฉินในสังกัด สำนักงาน กสทช. เพื่อคัดเลือกพนักงานวิทยุสมั
ครเล่นที่มีจิตอาสาจากทุกจังหวั
ดให้มาเข้ารับการอบรมเป็
นอาสาสมัคร และจัดตั้งเครือข่ายสื่
อสารสำรองของชาติในแต่ละจังหวั
ดอย่างเป็นรูปธรรม
สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการติดต่
อสื่อสารเมื่อเกิดภัยพิบัติ เมื่อการสื่อสารหลักใช้งานไม่
ได้ วิทยุสมัครเล่นจะเป็นช่องทางสื่
อสารที่สำคัญที่ทำให้เราไม่
ขาดการติดต่อในช่วงเวลาสำคัญ เพื่อสร้างนักวิทยุสมัครเล่นที่
มีคุณภาพ มีคุณสมบัติที่เหมาะสม และมีความพร้อมที่จะทำหน้าที่
เป็นระบบเครือข่ายสื่
อสารสำรองของชาติ จึงได้สนับสนุนให้เกิดโครงข่
ายสื่อสารสำรองของชาติขึ้น
สร้างโดย - (8/12/2564 16:24:50)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 589