สำนักงาน กสทช. เดินหน้ารับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวข้องกับวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล DAB+ จำนวน 3 ฉบับ
วันที่ 6 มิถุนายน 2567 พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียง เป็นประธานการประชุมรับฟั
งความคิดเห็นสาธารณะ ต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวข้องกับวิทยุกระจายเสี
ยงในระบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี DAB+ จำนวน 3 ฉบับ ที่ ห้องอัศวินแกรนด์บอลรูม โรงแรมอัศวินแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ผู้ประกอบการ นักวิชาการ และประชาชน ทั้งในส่วนของสถานีวิทยุรวมทั้
งผู้ผลิตเครื่องรับและเครื่องส่
งภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมทั้งออนไลน์
และออนไซต์ มากกว่า 200 คน
กิจการกระจายเสียงนับเป็นกิ
จการสื่อสารสุดท้าย ที่ยังคงเป็นระบบอนาล็อกอยู่ โดยเริ่มออกอากาศด้วยระบบ AM เมื่อปี พ.ศ.2473 และพัฒนาการต่อมาคือระบบ FM เมื่อปี พ.ศ.2495 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 70 ปี ที่ไม่มีการพัฒนาการใช้
เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น ประกอบกับจำนวนช่องคลื่นความถี่
ที่จะจัดสรรให้แก่สถานีวิทยุ FM ในระบบแอนะล็อกปัจจุบันมีจำกัด ดังนั้นระบบวิทยุดิจิทัลจึงเป็
นทางเลือกให้แก่ผู้
ประกอบการและกลุ่มผู้ฟังคนรุ่
นใหม่ที่สอดคล้องกับบริ
บทเทคโนโลยีปัจจุบัน กสทช.จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 เห็นชอบให้นำ (ร่าง) ประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ฉบับ มารับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวั
นนี้ ดังนี้
1. (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการกระจายเสี
ยงในระบบดิจิทัล ที่เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ
ในย่าน 174-230 MHz โดยได้แบ่งพื้นที่ประเทศไทยเป็น 10 ภูมิภาคและ 34 พื้นที่
2. (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิ
ทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัล ที่กำหนดค่ากำลังส่งออกอากาศสู
งสุดไม่เกิน 10kW และค่ามาตรฐานอื่นๆ ที่ได้
ผลมาจากการทดลองออกอากาศที่ทำร่
วมกับสถานีวิทยุกองทั
พบกและผลงานวิจัยจากคณะที่ปรึ
กษา
3. (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคเครื่องรับวิ
ทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัล ที่มีการเข้ารหัสสัญญาณเสียงแบบ MPEG-4 HE ACC v2 ตามมาตรฐาน DAB+ โดยกำหนดทั้งประเภทที่ 1 คือ ภายในยานพาหนะ ประเภท 2 คือ ภายในครัวเรือนหรือพกพา และ ประเภท 3 คือ ส่วนเพิ่มเติมสำหรับติดตั้
งภายในรถยนต์
ผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ได้รับข้อคิดเห็นทางเทคนิคที่
เป็นประโยชน์ เช่น การกำหนดมาตรฐานภาษาไทยที่ใช้
ในการส่งข้อความสั้น โดยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็
นด้วยกับบริบทและวิวั
ฒนาการของเทคโนโลยีที่เปลี่
ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งด้
านคุณภาพของสัญญาณและปั
ญหาการรบกวน แต่มีข้อห่วงใยในเรื่องระบบนิ
เวศและมูลค่าการลงทุนโครงข่ายที่
อาจสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาเครื่องรับที่
อาจเพิ่มภาระให้แก่ประชาชนผู้
บริโภค โดยที่ กสทช. ควรมีนโยบายในการสนับสนุนและแก้
ปัญหาดังกล่าวที่ชัดเจน
“วิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล ถือเป็นทางเลือกเพื่อรองรั
บการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่
ระบบการอนุญาต จากเหตุที่สถานีวิทยุ
ทดลองออกอากาศจะต้องยุติ
การออกอากาศในสิ้นเดือนธั
นวาคมนี้ ตามแผนการดำเนินการ (Timeline) ที่กำหนด จากนี้ไปคงต้องเร่งรัดเสนอหลั
กเกณฑ์การอนุญาตให้บริการโครงข่
าย DAB+ และหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่
นความถี่ DAB+
ในขณะเดียวกันระบบ FM เดิมจะต้องดำเนินการคู่
ขนานโดยจะออกประกาศเชิญชวนให้
สถานีวิทยุทดลองออกอากาศ
ประเภทชุมชนและสาธารณะเข้าสู่
ระบบการอนุญาตในเดือนกรกฎาคมนี้ และจัดทำประกาศหลักเกณฑ์
การประมูลสำหรับประเภทธุรกิจ โดยจะนำไปรับฟังความคิดเห็
นภายในเดือนกรกฎาคมนี้เช่นกัน เพื่อให้สถานีวิทยุ
ทดลองออกอากาศที่เข้าสู่
ระบบการอนุญาตจะได้ไม่ต้องยุติ
การออกอากาศและสามารถออกอากาศต่
อไปได้ โดยที่กิจการกระจายเสียงคงเป็
นกิจการสุดท้ายที่ยังไม่เข้าสู่
ระบบใบอนุญาต จึงต้องดำเนินการเพื่อให้เข้าสู่
มาตรฐานสากล และจะทำให้ กสทช. สามารถส่งเสริมและสนับสนุนได้
เต็มกำลังตามที่กฎหมายกำหนด” กส
ทช. พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม
สร้างโดย - (7/6/2567 10:01:51)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 126