ประธาน กสทช. และ กสทช. ต่อพงศ์ฯ พร้อมคณะ เข้าร่วมประชุมด้านวิชาการกับหน่วยงานสำคัญ ณ ประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 8 – 13 กันยายน 2567 สายงานวิชาการได้รับเกียรติจากประธาน กสทช. ศาสตราจารย์คลินิก นพ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ และ กสทช. ต่อพงศ์ เสลานนท์ พร้อมด้วยนายกีรติ อาภาพันธุ์ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. สายงานวิชาการ และคณะ เข้าร่วมประชุมด้านวิชาการกับหน่วยงานสำคัญ ณ ประเทศญี่ปุ่น ดังนี้
     (1) มหาวิทยาลัยนาโงยะ ศ.ดร. Shuya Hayashi อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และ AI ให้การต้อนรับและประชุมหารือในประเด็นกฎหมายใหม่ของญี่ปุ่น "Smartphone Software Competition Promotion Act 2024" โดยเปรียบเทียบกับกฎหมาย DMA ของยุโรป และประเด็นความท้าทายในการบังคับใช้กับบริษัทเทคโนโลยีต่างชาติ ผลของการประชุมก่อให้เกิดความคิดริเริ่มในการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) ด้านวิชาการระหว่างกัน
     (2) ตัวแบบเมืองอัจฉริยะ “คะซุงะอิ” (Kasugai Smart City Project) ศ.ดร. Ryo Kanamori จาก Global Research Institute for Mobility in Society แห่งมหาวิทยาลัยนาโงยะ ให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนข้อมูลการออกแบบผังเมืองและการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการใช้งานได้โดยคนทุกกลุ่ม (Barrier-Free Standards) เพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมของกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะผู้สูงอายุให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัย ทั้งนี้ ศ.ดร. Ryo Kanamori ได้สาธิตวิธีการใช้รถยนต์ไร้คนขับ (Slow Autonomous Driving) สำหรับรับ – ส่งผู้สูงวัย
ในชุมชนแทนการใช้จักรยาน เพื่อเดินทางจากประตูบ้านถึงที่หมาย (Door-to-Door) ให้กับคณะผู้แทนฯ อีกด้วย
     (3) กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร (Ministry of Internal Affairs and Communications: MIC) Mr. Nishida Shoji รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ ให้การต้อนรับและหารือในประเด็นการส่งเสริมผู้แข่งขันในตลาด MVNOs เพื่อเพิ่มทางเลือกอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และได้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Digital Inclusion) การพัฒนาทักษะดิจิทัล (Upskill และ Reskill) โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันในอนาคต
     (4) องค์กรแพร่ภาพกระจายเสียงสาธารณะของรัฐบาลญี่ปุ่น หรือ Japan Broadcasting Corporation (NHK) Mr. Hiroshi Maeda, Director of Corporate Planning Department ให้การต้อนรับและประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแอปพลิเคชันแจ้งเตือนภัยพิบัติแบบ Real Time ตลอด 24 ชั่วโมงในหลากหลายภาษาซึ่งรวมถึงภาษาไทย, การใช้ AI ในระบบผลิตและเผยแพร่คำบรรยายเสียง (AD) ระบบบริการคำบรรยาย (CC), การใช้เทคโนโลยีการรู้จำเสียงพูด (Voice Recognition) และการคาดเดาบทพูด (Manuscript Prediction), การพัฒนาเทคโนโลยี CG ในการสร้างตัวละคร Avatar สำหรับบริการภาษามือ, และการประยุกต์ใช้ AI และเทคโนโลยีดิจิทัลในสื่อสาธารณะสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนพิการ
 
 

สร้างโดย  -   (18/9/2567 14:20:50)

Download

Page views: 0