กสทช.สุภิญญา ร่วมอภิปรายในเวที Thailand in View: Changing the Digital Landscape
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ได้รับเชิญจาก CASBAA ซึ่งเป็นสมาคมที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ ผู้บริการแพลตฟอร์ม ผู้ผลิตรายการ นักโฆษณา และการส่งวิดีโอ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์และวิดีโอ ให้เกิดจากการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ของเครือข่ายที่มาจากหลายภูมิภาคและมีความหลากหลาย การเข้าร่วมการอภิปราย หัวข้อ “Thailand’s New Regulatory Framework-Is it Promoting Growth? ในการประชุม Thailand in View: Changing the Digital Landscape ณ โรงแรมเซนทารา กรุงเทพฯ มีผู้ร่วมอภิปราย ได้แก่ ดร.พนา ทองมีอาคม กรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ กปทส. , Mr. Joe Welch, SVP, Government Affairs, Asia, News Corporation และ Mr. John Medeiros, Chief Policy Officer, CASBAA ประเด็นสำคัญที่มีการอภิปรายในหัวข้อดังกล่าวประกอบด้วย ทิศทางของกสทช.ในการจัดสรรคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนแนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล และนโยบายของกสทช.ในการกำกับดูแลและพิจารณาให้ใบอนุญาตในการประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
กสทช.สุภิญญาฯ ได้อภิปรายในประเด็นที่มีการซักถามเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมของผู้ประกอบกิจการ โดยเสนอว่าค่าธรรมเนียมแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี อัตราร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย และ ส่วนที่สอง คือ ผู้รับใบอนุญาตต้องนำส่งเงินรายปีเข้ากองทุนวิจัยและการพัฒนาฯ ในอัตราร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย ซึ่งในประเด็นค่าธรรมเนียมมีการกำหนดไว้ใน มาตรา 42 ของ พรบ. องค์การจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553 นอกจากนี้ กสทช.สุภิญญาฯ ยังได้ชี้แจงเรื่องประกาศ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการเคเบิลและทีวีดาวเทียม 3 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป, ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป และประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ พ.ศ. ... ซึ่งอยู่ระหว่างการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในส่วนการพิจารณาใบอนุญาตสำหรับกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ สำนักงาน กสทช. ได้พิจารณาให้ใบอนุญาตช่องรายการจนถึงเดือนพฤษภาคม 2556 จำนวน 506 ช่องรายการ , จำนวนใบอนุญาตโครงข่ายจำนวน 355 ราย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ท้องถิ่น และภูมิภาค...
สร้างโดย - (23/3/2560 14:00:51)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 18