ครบรอบ 1 ปี กสทช.ประมูล 4G ส่งผลต่อเศรษฐกิจทางตรงกว่า 3 แสนล้านบาท มีผู้ใช้บริการ 4G กว่า 22 ล้านราย และมีผู้ใช้งาน MOBILE BROADBAND เกือบ 62 ล้าน ความเร็วเฉลี่ยสูงสุดในการให้บริการอยู่ที่ 25 MBPS สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก
นับตั้งแต่ 10 โมงเช้าของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 สำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดการประมูลคลื่นย่านความถี่ 1800 MHz จำนวน 60 MHz (2x15MHz จำนวน 2 ชุด) ซึ่งใช้เวลาในการประมูลข้ามวันซึ่งเสร็จสิ้นในเวลา 19.25 น. ในวันถัดมา ยิ่งไปกว่านั้นการประมูลคลื่นย่านความถี่ 900 MHz จำนวน 40 MHz (2x10MHz จำนวน 2 ชุด) ใช้เวลาที่ยาวนานตั้งแต่วันที่ 15 ถึง 19 ธันวาคม 2558 และยังมีการประมูลต่อเป็นรอบที่ 2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 จากวันนั้น จนกระทั่งวันนี้เป็นเวลาเกือบ 1 ปีที่คลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่าน ภายหลังการประมูลได้ถูกนำไปใช้พัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากมาย นับตั้งแต่เงินประมูลที่มีมูลค่าสูงถึง 232,730 ล้านบาทให้กับภาครัฐภายในระยะเวลา 4 ปี คือตั้งแต่ช่วง ปี 2559-2563 โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ชำระไปแล้วในช่วงปีแรกรวมประมาณ 58,830 ล้านบาท ซึ่งภาครัฐสามารถนำเงินไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ รวมไปถึงการขยายโครงข่ายของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ชนะการประมูล ผู้ที่ไม่ได้รับการจัดสรร คลื่นความถี่ก็มีแรงกดดันทางการแข่งขันให้มีการลงทุนและขยายโครงข่ายตามไปด้วย
ในด้านการลงทุนของผู้ประกอบการ ในช่วงระยะ 1 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2558 ที่ผ่านมา จนกระทั่งไตรมาส 2 ของปีนี้ การลงทุนในสินทรัพย์รวมของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักทั้ง 3 ราย เพิ่มขึ้นประมาณ 100,264 ล้านบาท โดยการลงทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นนับตั้งแต่ต้นปี 2558 จนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 25591 ซึ่งนอกจากการลงทุนของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นจากมีนัยสำคัญแล้ว จำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ ก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
สร้างโดย - มหิตถีห์ จักราบาตร (2/11/2559 16:27:18)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 485