ผลการประชุม กสทช. วันที่ 22 ส.ค. 2561

กสทช. มีมติรับรองผลการประมูลคลื่น 1800 MHz โดย DTN และ AWN เป็นผู้ชนะการประมูล และชำระเงินค่าประมูลงวดที่ 1 จำนวนร้อยละ 50 ของราคาประมูลสูงสุดของตนเอง พร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล

          นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า วันนี้ (22 ส.ค. 2561) ที่ประชุม กสทช. มีมติรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1740-1785/1835-1880 MHz ดังนี้

1.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN)  เสนอราคารวม 12,511 ล้านบาท เป็นผู้ชนะการประมูลจำนวน 1 ชุด คลื่นความถี่ชุดที่ 1 รวม 2 x 5MHz ในช่วงความถี่วิทยุ 1740 - 1745 MHz คู่กับ 1835 - 1840 MHz

2. บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) เสนอราคารวม 12,511 ล้านบาท เป็นผู้ชนะการประมูลจำนวน 1 ชุด คลื่นความถี่ชุดที่ 2 รวม 2 x 5 MHz ในช่วงความถี่วิทยุ 1745 - 1750 MHz คู่กับ 1840 - 1845 MHz

หลังจากนี้ สำนักงาน กสทช. จะมีหนังสือแจ้งผลการประมูลให้ทั้งสองบริษัทรับทราบ และผู้ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินประมูลงวดที่ 1 เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของราคาการประมูลสูงสุดของตนเอง พร้อมจัดส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลในส่วนที่เหลือภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งจะจัดส่งภายหลังการรับรองผลการประมูล

นายฐากร กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช. ยังได้มีมติให้เพิกถอนใบอนุญาต กรณีผู้รับใบอนุญาตฯ ไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี รอบบัญชี 2559 จากสำนักงาน กสทช. จำนวน 44 ใบอนุญาต ได้แก่

1.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ เค. เคเบิ้ลทีวี ประตูน้ำ (ใบอนุญาตระดับภูมิภาค)

2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด คลองใหญ่เคเบิ้ลทีวี (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

3.บริษัท บีเอสทีวี จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

4.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ณรงค์เดชอิเล็กทรอนิกส์ (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

5.บริษัท ซัน มัลติมีเดีย ซิสเต็ม จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

6.บริษัท บ้านอำเภอ เคเบิ้ล ทีวี จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

7.บริษัท ทีวี โฟกัส จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

8.ห้างหุ้นส่วนจำกัด สูงเม่นเคเบิ้ลทีวี (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

9.บริษัท เค.พี.พี. เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

10.ห้างหุ้นส่วนจำกัด สตาร์ บี.ซี.เคเบิลทีวี (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

11.บริษัท เน็ตเวิร์ค เคเบิ้ลทีวี จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

12.บริษัท เน็ตเวิร์คดิจิตอล เคเบิลเซอร์วิส จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

13.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.ที.เอส คอมมูนิเคชั่น (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

14.บริษัท เสียงยนต์อิเล็คทริค จำกัด (ใบอนุญาตระดับภูมิภาค)

15.ห้างหุ้นส่วนจำกัด พระอินทร์ เน็ตเวิร์ก เคเบิลทีวี (ใบอนุญาตระดับภูมิภาค)

16.บริษัท ดิจิตอล เทเลวิชั่น เน็ทเวิร์ค จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

17.บริษัท กระบี่เคเบิ้ล ทีวี จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

18.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกาะโพธิ์ เคเบิล 2007 (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

19.บริษัท เกาะช้าง เทเลวิชั่น จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

20.บริษัท จี.เอส.แอร์ อิเล็คทรอนิคส์ จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

21.บริษัท เวิลด์ เอนเตอร์เทนเมนท์ เทเลวิชั่น จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

22.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีทีซี เคเบิลทีวี เนทเวิร์ค (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

23.ห้างหุ้นส่วนจำกัด สัตหีบ เน็ตเวิร์ค (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

24.ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอลพี เคเบิล ทีวี (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

25.บริษัท เมจิก เคเบิ้ล จำกัด (บริษัท เมจิก เอ็ม จำกัด) (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

26.บริษัท ทีวีเพื่อคุณ จำกัด (ใบอนุญาตระดับภูมิภาค)

27.บริษัท เมอร์รี่ คอมเมอร์เชี่ยล จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

28.บริษัท ดับบลิววาย เคเบิล เน็ตเวิร์ค จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

29.ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมบัติอุไรลักษณ์ (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

30.บริษัท โกลบอล บรอดคาสติ้ง เน็ตเวิร์ค จำกัด (ใบอนุญาตระดับชาติ)

31.ห้างหุ้นส่วนจำกัด บายฮาร์ท เอ็นเทอร์ไพรส์ (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

32.ห้างหุ้นส่วนจำกัด จัสมิน เอ็นเทอร์ ไพรส์ 2000 (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

33.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีสะเกษ ส.การไฟฟ้า (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

34.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.มีเดียแอนด์คอมมูนิเคชั่น (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

35.บริษัท ชุมแสงแซทเทลไลท์ จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

36.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชนาลัยเคเบิลทีวี  (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

37.ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิภา เคเบิ้ลทีวี 2003 (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

38.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เพชรบูรณ์ เคเบิ้ลทีวี (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

39. บริษัท เมืองลับแล เคเบิ้ลทีวี (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

40. บริษัท หล่มสัก วีซี เคเบิล ทีวี จำกัด (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

41. ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ซี.เค.เคเบิลทีวี (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

42.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เท็น เคเบิล เน็ตเวิร์ค  (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

43.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เจ.พี.เคเบิ้ล ที.วี. (ดอนไชย) (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

44. ห้างหุ้นส่วนจำกัด บานเย็นเคเบิ้ลทีวี (ใบอนุญาตระดับท้องถิ่น)

เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า วันนี้ กลุ่มพรอมมีเตียส (PROMETHEUS BALANCED SOCIETY) ได้เดินทางมามอบแผนผังภาพนูนอาคารหอประชุมชั้น 1 สำนักงาน กสทช. ให้สำนักงาน กสทช. เพื่อใช้ประโยชน์ โดยแผนผังภาพนูนดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตา และการได้ยิน โดยในแผนผังจะมีลักษณะเป็นภาพนูน และมีอักษรเบลล์ภาษาไทยระบุสถานที่ เมื่อผู้พิการทางสายตาเอามือไปสัมผัสก็สามารถทราบว่า ตนเองอยู่ที่ไหน และเมื่อลากมือไปสัมผัส ก็จะทราบว่าสถานที่นั้นเป็นที่ใด ช่วยให้เดินทางได้สะดวก สำหรับผู้พิการทางการได้ยินแผนผังดังกล่าวจะมีสัญลักษณ์ที่แสดงสถานที่เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นสากล ซึ่งผู้พิการทางการได้ยินสามารถดูแล้วเข้าใจ เนื่องจากผู้พิการทางการได้ยินบางส่วนจะไม่สามารถอ่านตัวหนังสือได้ การจัดทำแผนภาพดังกล่าวของ กลุ่ม PROMETHEUS BALANCED SOCIETY เป็นโปรเจ็คทดลองจากความคิดที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับผู้พิการทางสายตา และผู้พิการทางการได้ยิน โดยได้เลือกสำนักงาน กสทช. เป็นหน่วยงานแรก ที่จัดทำแผนที่ดังกล่าวเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ประชาชนต้องเข้ามาติดต่อและใช้บริการจำนวนมาก โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC) โดยในการดำเนินงานทำแผนผังชิ้นนี้ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 1 เดือน ซึ่งการจัดทำแผนผังภาพนูนดังกล่าวยังไม่มีการจัดทำขึ้นในประเทศไทย ถ้าทำได้ก็จะผลักดันให้เป็นมาตรฐานกลางในการจัดทำแผนผังภาพนูน เพื่อผู้พิการทางสายตา และการได้ยินต่อไป

สร้างโดย  - เขมอัคคนิจ  ศศิลาวัณย์ (22/8/2561 14:55:44)

Download

Page views: 415