กสทช. อนุมัติเงินอีก 100.59 ล้านบาท สนับสนุนโรงพยาบาลและสถานพยาบาลของรัฐ 69 แห่ง สู้โควิด-19 พร้อมกำหนดเลขช่องทีวีดิจิตอลเพื่อการศึกษา 17 ช่องเรียงกัน เริ่มตั้งแต่หมายเลขช่อง 37 ถึงช่อง 53 และอนุมัติให้ไทยพีบีเอสใช้ความถี่เป็นการชั่วคราวทำช่องทีวีเรียนสนุก หมายเลขช่อง 4 เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของเยาวชนและครอบครัวในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019

กสทช. อนุมัติเงินอีก 100.59 ล้านบาท สนับสนุนโรงพยาบาลและสถานพยาบาลของรัฐ 69 แห่ง สู้โควิด-19 พร้อมกำหนดเลขช่องทีวีดิจิตอลเพื่อการศึกษา 17 ช่องเรียงกัน เริ่มตั้งแต่หมายเลขช่อง 37 ถึงช่อง 53 และอนุมัติให้ไทยพีบีเอสใช้ความถี่เป็นการชั่วคราวทำช่องทีวีเรียนสนุก หมายเลขช่อง 4 เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของเยาวชนและครอบครัวในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า วันนี้ (13 พ.ค. 2563) ที่ประชุม กสทช. มีมติอนุมัติงบประมาณสนับสนุนสถานพยาบาลและโรงพยาบาลภาคสนามของรัฐสู้สถานการณ์ “ไวรัสโคโรน่า” สายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID–19) ในส่วนของงบประมาณสำนักงาน กสทช. เป็นล็อตที่ 2 วงเงิน 100.591 ล้านบาท สนับสนุน 69 โรงพยาบาล ดังนี้
1.โรงพยาบาลราชวิถี สนับสนุนวงเงิน 29.985 ล้านบาท
2.โรงพยาบาลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี สนับสนุนวงเงิน 2.212 ล้านบาท
3.โรงพยาบาลอุทัยธานี สนับสนุนวงเงิน 4.612 ล้านบาท
4.โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก สนับสนุนวงเงิน 2.235 ล้านบาท
5.โรงพยาบาลตากสิน จังหวัดกรุงเทพมหานคร สนับสนุนวงเงิน 1.673 ล้านบาท
6.โรงพยาบาลสระบุรี สนับสนุนวงเงิน 1.540 ล้านบาท
7.โรงพยาบาลหนองคาย สนับสนุนวงเงิน 2.915 ล้านบาท
8.โรงพยาบาลปัตตานี สนับสนุนวงเงิน 1.685 ล้านบาท
9.โรงพยาบาลท่าโรงช้าง ตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนวงเงิน 3.608 ล้านบาท
10.โรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนวงเงิน 0.8 ล้านบาท
11.โรงพยาบาลเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี สนับสนุนวงเงิน 3.306 ล้านบาท
12.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี สนับสนุนวงเงิน 1.605 ล้านบาท
13.โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี สนับสนุนวงเงิน 1.425 ล้านบาท
14.โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย สนับสนุนวงเงิน 3 ล้านบาท
15.โรงพยาบาลธวัชบุรี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สนับสนุนวงเงิน 0.193 ล้านบาท
16.โรงพยาบาลขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนวงเงิน 1.853 ล้านบาท
17.โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สนับสนุนวงเงิน 2.446 ล้านบาท
18.โรงพยาบาลละงู จังหวัดสตูล สนับสนุนวงเงิน 1.951 ล้านบาท
19.โรงพยาบาลควนโดน จังหวัดสตูล สนับสนุนวงเงิน 1.910 ล้านบาท
20.โรงพยาบาลย่านตาขาว จังหวัดตรัง สนับสนุนวงเงิน 0.294 ล้านบาท
21.โรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สนับสนุนวงเงิน 0.962 ล้านบาท
22.โรงพยาบาลมัญจาคีรี อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น สนับสนุนวงเงิน 2.069 ล้านบาท
23.โรงพยาบาลเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สนับสนุนวงเงิน 1.843 ล้านบาท
24.โรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.689 ล้านบาท
25.โรงพยาบาลตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี สนับสนุนวงเงิน 0.893 ล้านบาท
26.โรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี สนับสนุนวงเงิน 0.785 ล้านบาท
27.โรงพยาบาลเคียนซา อำเภอเคีอนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนวงเงิน 1.310 ล้านบาท
28.โรงพยาบาลพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนวงเงิน 1.560 ล้านบาท
29.โรงพยาบาลนาด้วง จังหวัดเลย สนับสนุนวงเงิน 3.162 ล้านบาท
30.โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม สนับสนุนวงเงิน 2.945 ล้านบาท
31.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียน ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา สนับสนุนวงเงิน 1.328 ล้านบาท
32.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกสูง-คูขาด จังหวัดบุรีรัมย์ สนับสนุนวงเงิน 0.886 ล้านบาท
33.โรงพยาบาลทุ่งหว้า จังหวัดสตูล สนับสนุนวงเงิน 2.335 ล้านบาท
34.โรงพยาบาลโนนคูณ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ สนับสนุนวงเงิน 2.349 ล้านบาท
35.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดจันทร์ จังหวัดสงขลา สนับสนุนวงเงิน 0.359 ล้านบาท
36.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดค้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ สนับสนุนวงเงิน 0.562 ล้านบาท
37.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สนับสนุนวงเงิน 0.492 ล้านบาท
38.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.477 ล้านบาท
39.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกร่างทอง ตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
40.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาดิน ตำบลท่าล้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
41.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาน้อย ตำบลเขาน้อย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.208 ล้านบาท
42.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลาดสำรอง ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
43.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนพกิจโกศล ตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
44.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าตะคร้อ ตำบลท่าตะคร้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
45.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วงชุม ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
46.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านรางสาลี่ ตำบลรางสาลี่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
47.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลเจ้าโพรงไม้ ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
48.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองขาว ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
49.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
50.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไร่ ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนวงเงิน 0.221 ล้านบาท
51.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะท้อ ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สนับสนุนวงเงิน 0.103 ล้านบาท
52.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยโป้ ตำบลดงคู่ อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สนับสนุนวงเงิน 0.103 ล้านบาท
53.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สิน ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สนับสนุนวงเงิน 0.103 ล้านบาท
54.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาเมือง ตำบลนาเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สนับสนุนวงเงิน 0.238 ล้านบาท
55.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโพธิ์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สนับสนุนวงเงิน 0.182 ล้านบาท
56.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สนับสนุนวงเงิน 0.110 ล้านบาท
57.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาวี ตำบลศรีวิลัย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สนับสนุนวงเงิน 0.202 ล้านบาท
58.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทม ตำบลภูเงิน อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สนับสนุนวงเงิน 0.102 ล้านบาท
59.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชมสะอาด ตำบลชมสะอาด อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด สนับสนุนวงเงิน 0.103 ล้านบาท
60.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำนางตุ้ม ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด สนับสนุนวงเงิน 0.103 ล้านบาท
61.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกุง ตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด สนับสนุนวงเงิน 0.629 ล้านบาท
62.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาบัว ตำบลนาบัว อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี สนับสนุนวงเงิน 0.100 ล้านบาท
63.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคม ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี สนับสนุนวงเงิน 0.102 ล้านบาท
64.โรงพยาบาลส่งเสริมประจำตำบลบ้านคอนเลียบ ตำบลเตาไห อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี สนับสนุนวงเงิน 0.101 ล้านบาท
65.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่าน ตำบลเขียงหวาน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี สนับสนุนวงเงิน 0.100 ล้านบาท
66.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร้างแป้น อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี สนับสนุนวงเงิน 0.103 ล้านบาท
67.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำบง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สนับสนุนวงเงิน 0.269 ล้านบาท
68.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น สนับสนุนวงเงิน 0.687 ล้านบาท
69.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สนับสนุนวงเงิน 0.231 ล้านบาท
ซึ่งหลังจากนี้โรงพยาบาลและสถานพยาบาลของรัฐยังสามารถขอรับการสนับสนุนเข้ามาได้ที่ กสทช. โดยตรงจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ซึ่ง กสทช. จะรีบพิจารณาโครงการ เพื่ออนุมัติเงินสนับสนุนให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรน่า 2019
นายฐากร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2563 ที่ประชุม กสทช. วาระพิเศษได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจตอลเพื่อการศึกษา จำนวน 17 ช่อง ตามแนวทางการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของเยาวชนและครอบครัว อันเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านการทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยให้ออกอากาศแบบความคมชัดปกติ (SD) นั้น วันนี้ ที่ประชุม กสทช. มีมติอนุมัติกำหนดให้เรียงลำดับหมายเลขช่องรายการเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่องรายการเพื่อการศึกษาผ่านทางไกล และช่องรายการเพื่อการอาชีวศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ 17 ช่องรายการ เรียงลำดับต่อเนื่องกันไป ตั้งแต่ช่องรายการหมายเลข 37 ไปจนถึงช่อง 53
นายฐากร กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช. ยังได้อนุญาตให้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ในการจัดทำช่องทีวีดิจิตอลสอนหนังสือ (Active Learning TV) “ทีวีเรียนสนุก” โดยใช้หมายเลขช่องรายการลำดับที่ 4 เป็นเลขช่อง ซึ่งช่องดังกล่าวไม่ใช่ช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว แต่เป็นไปตามโครงการ Active Learning TV (ALTV) ทีวีเรียนสนุก ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของเยาวชนและครอบครัว ทั้งนี้ ให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรทัศน์เพื่อการทดลองทดสอบเป็นการชั่วคราวผ่านโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลระดับชาติของไทยพีบีเอส ตามประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2563 โดยการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวต้องไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหารายได้
สำหรับรายละเอียดการออกอากาศ ให้ไทยพีบีเอสออกอากาศช่องสอนหนังสือ (Active Learning TV) ทีวีเรียนสนุก แบบความคมชัดปกติ (SD) จำนวน 1 ช่องรายการ และให้ไทยพีบีเอสดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราว ตามข้อ 17 ของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์เพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราว ส่วนการวางเงินประกันความเสียหายที่อาจเกิดกับบุคคลอื่นจากการทดลอง เนื่องจากเป็นการทดลองทดสอบผ่านโครงข่ายของตนเอง ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิคเดิมและไม่มีต้นทุนที่จะนำมาคำนวณมูลค่าโครงการในการวางเงินประกันความเสียหายที่อาจเกิดกับบุคคลอื่นจากการทดลอง และเห็นควรแจ้งให้ไทยพีบีเอส ดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์เพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราว ประกาศ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า จากนั้นที่ประชุม กสทช. ได้พิจารณาคัดเลือกพนักงานผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. อีกหนึ่งตำแหน่ง และตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิจารณาพิเศษ เทียบเท่า ระดับ ช1 อีก 4 ตำแหน่ง โดยที่ประชุมฯ มีมติแต่งตั้ง นางสาวมณีรัตน์ กำจรกิจการ เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ส่วนตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ สายงานกิจการภูมิภาคให้รอ กสทช. นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ร่วมพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป และได้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญพิจารณาพิเศษ (ระดับ ช1) จำนวน 4 คน ดังนี้
1.นายฉันทพัทธ์ ขำโคกกรวด เป็นนักวิชาการนโยบายและแผนเชี่ยวชาญพิเศษ
2.นายเสน่ห์ สายวงศ์ เป็นวิศวกรเชี่ยวชาญพิเศษ
3.นางสุพิญญา จำปี เป็นนิติกรเชี่ยวชาญพิเศษ
4.นายสมบัติ ลีลาพตะ เป็นนิติกรเชี่ยวชาญพิเศษ
 
///////////////////////////////////////////////////////////////////////
 

สร้างโดย  - ปฐมพงศ์  ศรีแสงจันทร์ (13/5/2563 15:20:58)

Download

Page views: 1486