ประเทศพม่า(Myanmar)สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาพม่ามีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

พม่า หรือ เมียนมา (อังกฤษ: Myanmar,) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (อังกฤษ: Republic of the Union of Myanmar;  ปี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่ายังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดย มีประชากรกว่า 60.28 ล้านคน นับแต่ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายซึ่งยังแก้ไม่ตก ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ประเทศพม่าอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองถูกยุบอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2554 หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 และมีการตั้งรัฐบาลพลเรือนในนามแทน แต่ทหารยังมีอิทธิพลอยู่มาก

            ประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร แต่เศรษฐกิจพม่าเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 42,953 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดาและอีกหลายประเทศได้กำหนดการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า ระบบสาธารณสุขของพม่าเป็นหนึ่งในระบบสาธารณสุขที่เลวที่สุดในโลก องค์การอนามัยโลกจัดอันดับพม่าไว้อันดับที่ 190 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย

             สหประชาชาติและอีกหลายองค์การได้รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบในพม่า รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การข่มขืนเป็นระบบ แรงงานเด็ก ทาส การค้ามนุษย์ และการขาดเสรีภาพในการพูด ในช่วงปีหลัง พม่าและผู้นำทหารได้ผ่อนปรนต่อนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตและกำลังพัฒนาความสัมพันธ์อย่างช้า ๆ กับมหาอำนาจและสหประชาชาติ




ประเทศ ไทยแบ่งออกเป็น 6 ภาค ซึ่งแต่ละภาคมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันดังนี้ ภาคเหนือ มีภูเขาสูง โดยจุดสูงสุดคือ ดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงแห้งแล้ง ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด ภาคใต้ ติดทะเลสองฝั่ง มีจุดแคบสุดที่คอคอดกระ ภาคตะวันออก มีชายฝั่งทะเลเรียบขาวและโค้งเว้า 
ภาคตะวันตก เป็นหุบเขาและแนวเทือกเขา

         ประเทศสหภาพพม่า (exPNg5k'N06e,oN,kO6b'N'"g9kN-Union of Myanmar)มีพื้นที่ทั้งหมด ๖๗๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร สหภาพพม่าตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ ณ จุดตัดของเส้นรุ้งที่ ๒๒ องศาเหนือ กับเส้นแวงที่ 98 องศาตะวันออก สหภาพพม่าทางตอนล่างติดกับทะเลอันดามัน (dx»]ux'N]pN-Andaman Sea)และอ่าวเบงกอล (48§]ktx'N]pNgvkN -Bay of Bengal)มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ได้แก่ ด้านตะวันตกติดกับบังคลาเทศ(48§]ktgmHiaN) และอินเดีย (vbO·bp) ด้านเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศจีน (9U69N) ด้านตะวันออกติดกับประทศลาว(]kv6b) และประเทศไทย(56b'Nt) รวมเส้น เขตแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 6,125 กิโลเมตร กล่าวคือติดกับบังคลาเทศ 244 กิโลเมตร ติดกับอินเดีย 1,379 กิโลเมตร ติดกับจีน 2,183 กิโลเมตร ติดกับลาว 205 กิโลเมตร และติดกับไทย 2,114 กิโลเมตร (บางข้อมูลว่าราว 2,400 กิโลเมตร) ส่วนที่ติดกับทะเลจากปากแม่น้ำนัตถึงเกาะสองมีระยะทางยาว 2,228กิโลเมตร ได้แก่ แนวฝั่งยะไข่(Rakhine coast)ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ แนวฝั่งริมพื้นที่ปากน้ำอิรวดี และแนวฝั่งตะนาวศรี(Taninthayi coast)ทางด้านใต้ของประเทศ และหากวัดระยะทางจากเหนือสุดลงใต้สุดจะยาวถึง 2,051 กิโลเมตร และมีระยะกว้างที่สุดถึง 936 กิโลเมตร กล่าวกันว่ารูปร่างของประเทศพม่านั้นคล้ายว่าวหางยาว บ้างว่าคล้ายเพชร และบ้างว่าคล้ายกับคนที่หันหน้าไปทางตะวันออก

            สภาพภูมิประเทศของพม่านั้น ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและเทือกเขาอยู่โดยรอบคล้ายรูปเกือกม้า กล่าวคือด้านตะวันตกและด้านเหนือเป็นพื้นที่ภูเขา และด้านตะวันออกเป็นที่ราบสูงและภูเขา ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่ตอนกลางประเทศ บริเวณลุ่มน้ำ และตลอดแนวชายฝั่งทะเลจากด้านตะวันตกถึงด้านใต้ แนวเทือกเขาในประเทศพม่าจะทอดแนวต่อจากเทือกเขาหิมาลัยในทิศทางจากเหนือลงไป ทางใต้เป็น 3 แนว ได้แก่ ด้านตะวันตกมีเทือกเขานาคะ(Naga Hills)เทือกเขาชิน(Chin Hills)และเทือกเขายะไข่ (Rahkine Yoma)ซึ่งทอดแนวโค้งคล้ายคันศร มีเทือกเขาพะโค(Bago Yoma)อยู่ตอนกลาง และมีที่ราบสูงฉาน(Shan Plateau)สลับแนวเขาอยู่ด้านตะวันออก พื้นที่สูงและภูเขามีความสูงเฉลี่ยราว 3,000 ฟุต โดยมีจุดสูงสุดคือ ยอดเขาคากาโบราซี(-jdk46bik=u-Mt. Hkakaborazi)ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของ ประเทศ มีความสูงถึง 19,296 ฟุต ระหว่างเทือกเขาทั้ง 3 แนวนั้น จะมีที่ราบลุ่มน้ำของแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลขนานในทิศทางเหนือ-ใต้ ได้แก่ แม่น้ำชิดวิน(Chindwin)แม่น้ำอิรวดี(Irrawaddy)แม่น้ำสะโตง(Sittoung)และสา ละวิน(Thanlwin)แม่น้ำสายสำคัญที่สุดคือแม่น้ำอิรวดี มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านใจกลางประเทศลงสู่ทะเลอันดามัน มีความยาว 2,170 กิโลเมตร และมีเมืองสำคัญหลายเมืองซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาย นี้ อีกทั้งเป็นที่ตั้งของราชธานีโบราณหลายแห่งของพม่าอีกด้วย อันได้แก่ มัณฑะเล(Mandalay)อังวะ (Ava) อมรปุระ(Amarapura)แปร(Prome)และ พุกาม(Pagan)แม่น้ำอิรวดีถือเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญที่สุด สามารถล่องเรือขนส่งสินค้าขึ้นไปได้ไกลถึงเมืองพะมอในรัฐกะฉิ่นตอนล่าง โดยขึ้นล่องได้ถึง 1,450 กิโลเมตร แม่น้ำอิรวดีตอนล่างเป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่ประกอบเป็นมณฑลเอยาวดี กินพื้นที่ราว 20,000 ตารางกิโลเมตร โดยแตกย่อยเป็นสายน้ำ 8 สายไหลลงสู่ทะเลอันดามัน บริเวณนี้ถือเป็นอู่ข้าว(rice bowl)ของประเทศพม่า เพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์อันเกิดจากน้ำท่วมและการทับถมของแร่ธาตุที่ถูกสาย น้ำพัดพามา ส่วนแม่น้ำสายยาวที่สุดคือแม่น้ำสาละวิน มีความยาวถึง 2,815 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้ไหลจากภูเขาหิมาลัยผ่านที่ราบสูงฉานแล้วลงสู่ทะเลอันดามันที่ อ่าวเมาตะมะ(Gulf of Martaban)ในรัฐมอญ แม่น้ำทั้งหลายนั้นต่างเป็นสายน้ำสำคัญที่ก่อให้เกิดพื้นที่ราบลุ่มน้ำอัน อุดมสมบูรณ์ของประเทศพม่า

สร้างโดย  -   (31/1/2559 13:10:31)