กสทช. เดินหน้าพัฒนาวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน
กสทช.มีมติเห็นชอบประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่
งและเครื่องรับวิทยุกระจายเสี
ยงในระบบดิจิทัล หลังจากผ่านการรับฟังความคิดเห็
นสาธารณะมาแล้ว ทั้งนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์
การพัฒนากิจการกระจายเสี
ยงของประเทศไทยให้เข้าสู่
มาตรฐานสากลมีพลวัตสอดคล้องกั
บบริบทดิจิทัลตามแผนแม่บทกิ
จการกระจายเสียงและโทรทัศน์ที่กำหนดให้มีวิทยุกระจายเสี
ยงออกอากาศภาคพื้นดินในระบบดิจิ
ทัล เพื่อเป็นทางเลือกให้
ประชาชนและผู้ประกอบการ นอกเหนือจากวิทยุกระจายเสี
ยงในระบบ FM อนาล็อก เดิม
พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า มาตรฐานทางเทคนิคดังกล่าวเป็
นการกำหนดทั้งเครื่องส่งและเครื่
องรับวิทยุด้วยระบบ Digital Audio Broadcasting (DAB) ที่มีการเข้ารหัสสัญญาณเสียงแบบ MPEG-4 High Efficiency Advanced Audio Coding Version 2 (MPEG-4 HE AAC v2) หรือที่เรียกว่า DAB+ Audio ซึ่งเป็นการเผยแพร่สัญญาณเสี
ยงภาคพื้นดิน(On Air) ด้วยระบบดิจิทัล นอกเหนือจากการมีคุณภาพเสียงที่
คมชัด รับฟังได้โดยไม่มีสั
ญญาณรบกวนแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นเสริม เช่น ตัวอักษรวิ่ง (Text Scrolling), แสดงภาพนิ่ง (Slide Show), ผังรายการอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Program Guide: EPG), ข้อมูลจราจรและการเดินทาง (TPEG) และที่สำคัญสามารถนำมาใช้เป็
นระบบแจ้งเตือนภัย (Emergency Warning System: EWS) ได้ โดยที่หากสามารถสร้างโครงข่ายวิ
ทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัลได้
ครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว จะทำให้สามารถรับฟังรายการได้
อย่างต่อเนื่องและได้รับการแจ้
งเตือนได้ด้วยเนื้อหาเดียวกันทั่
วประเทศ หรือ กำหนดการกระจายเสียงให้เป็นระดั
บชาติ ภูมิภาค หรือ ท้องถิ่น ได้อย่างแท้จริง
ระบบนิเวศของวิทยุกระจายเสี
ยงระบบดิจิทัล จะเปลี่ยนไปจากระบบเดิม โดยที่ในระบบ FM อนาล็อกนั้นผู้ประกอบการเจ้
าของสถานีนอกจากรับผิดชอบเรื่
องการผลิตเนื้อหารายการแล้ว ยังต้องเป็นผู้ดำเนินการเกี่
ยวกับอุปกรณ์เครื่องส่
งและโครงข่ายเสาส่
งในการออกอากาศเองทั้งหมด รวมทั้งการออกอากาศก็จำกั
ดภายในรัศมีครอบคลุมพื้นที่ไม่
เกิน 100 กิโลเมตร ทำให้ไม่สามารถเผยแพร่เนื้
อหาเป็นสถานีวิทยุในระดั
บประเทศได้ แต่สำหรับระบบดิจิทัลนั้นแยกผู้
ประกอบการที่เป็นโครงข่
ายออกจากเจ้าของสถานีออกจากกัน ทำให้สามารถประหยัดทรัพยากรทั้
งคลื่นความถี่และอื่นๆ ไม่เกิดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และเจ้าของสถานีจะทำหน้าที่ผลิ
ตเนื้อหารายการเพียงอย่างเดียว ทำให้มีเนื้อหารายการที่ดีมีคุ
ณภาพมากยิ่งขึ้น
“วิทยุกระจายเสียงถือเป็นกิ
จการสื่อสารสุดท้ายที่ยังคงเป็
นระบบอนาล็อกอยู่ นับตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ทรงเปิด "สถานีวิทยุพญาไท" และมีกระแสพระราชดำรัสเนื่
องในวันฉัตรมงคล ซึ่งถือว่าเป็นวันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ จากนั้นได้มีการพัฒนาจาก AM มาเป็น FM ราวปี พ.ศ.2495 จนถึงปัจจุบัน ยังคงเป็นระบบอนาล็อกอยู่ อย่างไรก็ตาม กสทช. มิได้มีความประสงค์จะยกเลิกระบบ FM เดิม เพียงแต่เสนออีกทางเลือกหนึ่
งให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งควรต้องดำเนินการพั
ฒนาให้มีโครงข่ายวิทยุกระจายเสี
ยงระดับชาติ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่
าวสารสาธารณะที่เป็นประโยชน์ แบบ On Air ได้ฟรีเช่นเดิม แม้ว่าปัจจุบันจะมีอีกทางเลื
อกคือการรับฟังวิทยุ Online ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งหากโครงข่ายอินเทอร์เน็
ทไปไม่ถึงหรือไม่สามารถใช้
งานได้ ก็จะไม่สามารถรับฟังได้ ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไปคงต้องพิ
จารณาแนวทางในการอนุญาตหรือพั
ฒนาโครงข่ายวิทยุกระจายเสี
ยงในระบบดิจิทัลให้เกิดขึ้นอย่
างเป็นรูปธรรมตามมาตรฐานที่
กำหนดนี้ เพื่อให้ผู้ที่มีความประสงค์จะเป็นเจ้าของสถานีสามารถให้บริ
การได้ต่อไป” พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ ฯ กล่าว
สร้างโดย - (27/9/2567 9:24:59)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 107