เลขาธิการ กสทช.เซ็นตั้งคณะทำงานเตรียมแผนเดินหน้าคลื่น 5จี พร้อมตั้งอนุกรรมการอีกชุด กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการชดเชยทีวีดิจิตอล
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งที่ 4/2562เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เมื่อวันที่ 11เมษายนที่ผ่านมานั้น สำนักงาน กสทช. อาศัยอํานาจตามความในข้อ9(3) ของระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2555 แต่งตั้งคณะทํางานเพื่อดำเนินมาตรการตามคำสั่งคสช.ดังกล่าวมีทั้งหมด 4 คณะ นอกจากนี้ยังแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขการชดเชยสืบเนื่องจากการคืนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และการทดแทน ชดใช้ และจ่ายค่าตอบแทนผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ อีก 1ชุด โดยลงนามเมื่อวันที่19เมษายนที่ผ่านมา
สำหรับคำสั่งเรื่อง แต่งตั้งคณะทํางานเพื่อดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม มีจำนวน 4 คณะ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. คณะทำงานด้านการจัดทำหลักเกณฑ์และการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz
ให้รองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะทํางาน คณะผู้ทำงานมีทั้งหมด12คน ได้แก่ นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธินนายเสน่ห์ สายวงศ์ นางสุพินญา จําปีนางสาวพูลศิริ นิลกิจศรานนท์นางสาวจิตสถา ศรีประเสริฐสุขนายจาตุรนต์ โชคสวัสดิ์ นางสาวอรวรี เจริญพรนางธีตานันตร์ สีวะราผู้ทำงานและเลขานุการนายประถมพงศ์ ศรีนวลนายณัฐวุฒิ อาจปรุนางสาวปุณย์สิรี ฉัตรจินดานายพชร เชื้อรอต
อำนาจหน้าที่ของคณะทำงานชุดนี้ มี 3 ข้อ
1.จัดทําหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สําหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 700 MHz ตลอดจนจัดทําเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700MHz และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว
2.ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการพิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz และประสานงานกับผู้ที่ประสงค์จะขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าว ตลอดจนแจ้งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.ดำเนินการอื่นใดตามที่เลขาธิการ กสทช. มอบหมาย
2.คณะทำงานด้านหลักประกันและการชำระเงิน
ให้รองเลขาธิการ กสทช.สายงานยุทธศาสตร์และกิจการองค์กร เป็นหัวหน้าคณะทํางาน คณะทำงานมีทั้งหมด 10คน ได้แก่นางสุพินญา จําปี นายสมบัติ ลีลาพตะนางดวงเดือน เสวตสมบูรณ์ นายสมสกุล ชัยกาญจนาศักดิ์ นายพิชัย ร่วมภูมิสุข นายชาญวุฒิ อำนวยสิน นางปัญชลีย์ ชัยกาญจนาศักดิ์นางจักรพงษ์ พื้นอินต๊ะศรี นายฑัฬห์ณธร อยู่เกิดนางสาวภารดี อนันท์ธนภาคอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานชุดนี้ มี 3 ข้อ
1.ตรวจสอบ พิจารณา และดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการคืนหลักประกันเดิม และ/หรือ การจัดทำหลักประกันใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2562เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
2.ตรวจสอบและดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินตามข้อ 12ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2562 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
3.ดำเนินการอื่นใดตามที่เลขาธิการ กสทช. มอบหมาย
3.คณะทำงานด้านการสนับสนุนเงินเพื่อสำรวจความนิยมช่องรายการโทรทัศน์และการใช้จ่ายเงินกองทุน
ให้รองเลขาธิการ กสทช.ยุทธศาสตร์และกิจการองค์กรเป็นหัวหน้าคณะทํางาน คณะทำงานมีทั้งหมด7คน ได้แก่ นางยุพา ทรัพย์ยิ่งนายนิพนธ์ จงวิชิตนางรมิดา จรินทิพย์พิทักษ์ นางสาวชนัณภัสร์ วานิกานุกูลนายณัฏฐชาติ พวงสุดรักนางสาวภัทรวดี ไชยยะนายอธิพัฒน์ บุราพันธ์
อำนาจหน้าที่ของคณะทำงานชุดนี้ มี 3ข้อ
1.ศึกษาและพิจารณาจัดสรรเงิน ตลอดจนดำเนินการใดๆ เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรกลางเกี่ยวกับการสำรวจความนิยมช่องรายการโทรทัศน์ ตามข้อ 14 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2562 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
2.ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามข้อ 15 วรรคสอง ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2562เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
3.ดำเนินการอื่นใดตามที่เลขาธิการ กสทช. มอบหมาย
4.คณะทำงานด้านการสร้างการรับรู้ต่อสาธารณะ
ให้รองเลขาธิการ กสทช. สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาคเป็นหัวหน้าคณะทํางาน คณะทำงาน11คนประกอบด้วย นางสุวรรนีย์ เจียรานุชาตินายมาโนชญ์ จารุสมบัตินายวรพงษ์ นิภากรพันธ์นางธีตานันตร์ สีวะรา นายชาญวุฒิ อำนวยศิลป์ นางสาวชนัณภัสร์ วานิกานุกูล นางสาวศรีศศิ ใช้ไหวพริบนางสาวอรนิตย์ เนติธรรมกุล นายตะวันเศรษฐ์ เซ็นนันท์ นายยุทธนันท์ ศิริวัธนนุกูล นางสาวภารวี เกตุสิริ
คณะทำงานชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ 2 ข้อ
1.ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินงานตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2562เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ทั้งด้านการดำเนินกิจกรรมและด้านการสื่อสารสู่สาธารณะ
2.ดำเนินการอื่นใดตามที่เลขาธิการ กสทช. มอบหมาย
สำหรับ คณะอนุกรรมการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขการชดเชยอันเนื่องมาจากการคืนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และการทดแทน ชดใช้ และจ่ายค่าตอบแทนผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ ในคำสั่งมอบหมายเลขาธิการ กสทช. เป็นประธานอนุกรรมการอนุกรรมการมี 11คน ได้แก่
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติผู้แทนสำนักงบประมาณผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เป็นเลขานุการ พร้อมผู้ช่วยเลขานุการ ประกอบด้วยนายสมบัติ ลีลาพตะนายกีรติ อาภาพันธุ์ นางปริตา วงศ์ชุตินาทนางสาวมณีรัตน์ กำจรกิจการ
คณะอนุกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ ใน 4ข้อ
1.ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขชดเชยอันเนื่องจากการคืนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และการทดแทน ชดใช้ และจ่ายค่าตอบแทนผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2562เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
2.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะอนุกรรมการฯ มอบหมาย
3.เชิญบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย คำแนะนำหรือความเห็นได้
4.ดำเนินการอื่นใดตามที่เลขาธิการ กสทช. มอบหมาย
นายฐากร กล่าวในตอนท้ายว่า คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่4/2562 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ทำให้การประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าร่วม การประมูลคลื่นความถี่เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5จี
สร้างโดย - Khemakanit Sasilawan (23/4/2562 10:14:20)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 276