บอร์ดกระจายเสียง/กสทช. แถลงผลการประชุมวันที่ 31 มีนาคม 2557
กสท. ออกใบอนุญาตดิจิตอลทีวี 23 ช่อง /ปรับTGT 5 แสน กรณี ‘สิทธัตถะ’
พ.อ. ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองประธาน กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ประธาน กสท.) กล่าวว่า วันนี้ (31 มีนาคม 2557) ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีวาระสำคัญ ดังนี้
เรื่องที่ 1 ที่ประชุม กสท. มีมติเห็นชอบคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 134 ราย แบ่งเป็นกิจการบริการธุรกิจ 111 ราย กิจการบริการสาธารณะ 13 ราย และกิจการบริการชุมชน 10 ราย รวมทั้งสิ้นถึงปัจจุบันมีผู้ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ทั่วประเทศ 4,320 ราย
เรื่องที่ 2 ที่ประชุม กสท. เห็นชอบใบอนุญาตกรณีผู้ขอรับใบอนุญาต ซึ่งมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการกำกับดูแลด้านคุ้มครองผู้บริโภค แต่ยังไม่เป็นที่ยุติ จำนวน 8 ช่องรายการ ได้แก่
- ช่องรายการ มิติ 4 บริษัท มิติ 4 ทีวี จำกัด
- สถานีโทรทัศน์ไทยมุสลิม (TMTV) มูลนิธิ ฮัมซะฮ์
- ช่องรายการ อารมณ์ดี ทีวี บริษัท อารมณ์ดี เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด/บริษัท ไนน์ เพจเจส อินโนเวชั่น จำกัด
- ช่องรายการ MV5 Channel บริษัท เอซี เทเลวิชั่น จำกัด
- ช่องรายการ Asian Major Channel บริษัท บอยไทย จำกัด
- ช่องรายการ H Plus Channel บริษัท เอช พลัส แชนแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- ช่องรายการ สวัสดีเมืองไทย บริษัท ไทยพลัส มีเดีย จำกัด
ทั้ง 7 ช่องรายการดังกล่าว ได้รับใบอนุญาต 2 ปี หากพบว่ามีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายอาหารและยาหรือกฎ ข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ลดอายุใบอนุญาตลงกึ่งหนึ่ง (1ปีนับตั้งแต่วันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นสุดลง)
ส่วน ช่องรายการ Nice Channel บริษัท ยูนิเวอร์แซล โปร จำกัด ฝ่าฝืนการแจ้งเตือนจาก กสทช. ในการให้ระงับการโฆษณา ได้รับใบอนุญาต 3 เดือน
เรื่องที่ 3 ที่ประชุม กสท. พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีการออกอากาศรายการไทยแลนด์ ก็อททาเล้นท์ ซีซั่น 3 ปี 2013 ในช่วงแสดงความสามารถของผู้เข้าแข่งขันที่ใช้ชื่อว่า สิทธัตถะ เอมเมอรัล เห็นว่าการออกอากาศดังกล่าวมีเนื้อหาก่อให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจของประชาชนอย่างร้ายแรง ผิดต่อมาตรา 37 วรรคแรกแห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ลงโทษปรับทางปกครองแก่บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เป็นเงิน 500,000 บาท
เรื่องที่ 4 ที่ประชุม กสท. พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ จำนวน 23 ช่องรายการ ได้แก่
หมวดเด็ก เยาวชนและครอบครัว 3 ช่องรายการ ได้แก่
- บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไทยทีวี จำกัด
หมวดข่าวสารและสาระ 7 ช่องรายการ ได้แก่
-บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด
-บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด
-บริษัท ไทยทีวี จำกัด
-บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด
-บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด
-บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด
-บริษัท ไบรท์ ทีวี จำกัด(ชื่อเดิมบริษัท 3เอ. มาร์เก็ตติ้ง จำกัด )
หมวดทั่วไปความคมชัดปกติ 6 ช่องรายการ ได้แก่
-บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด
-บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด
-บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด
-บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด
-บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด
-บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด
หมวดทั่วไปความคมชัดสูง 7 ช่องรายการ ได้แก่
-บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด
-บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด
-บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด
-บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด
-บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน)
-บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด
-บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด
ทั้งนี้ ที่ประชุม กสท. อนุญาตให้บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 นำผังรายการในระบบแอนาล็อกทั้งหมดไปออกอากาศคู่ขนาน (Simulcast) ในระบบดิจิตอลได้
กรณี บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน) ยังมีประเด็นการพิจารณาของศาลปกครองในคดีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 รอบสุดท้าย จึงเห็นควรให้ได้รับความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว เพื่อประกอบการพิจารณาการขอรับใบอนุญาตฯ ซึ่งทางสำนักงานกสทช.และคณะกรรมการกสท.ยังมีระยะเวลาการพิจารณาตามประกาศ กสทช. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555
Download
PressRelease-กสท-31มีค57.docx
สร้างโดย - (14/3/2559 17:50:11)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 37