สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) แถลงตัวเลขสถิติและการจัดอันดับล่าสุดด้านการเติบโตของICT ในประเทศต่างๆทั่วโลก

- ยอดผู้ใช้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็น250 ล้านคน ในปี  2012
- สาธารณรัฐเกาหลีครองอันดับหนึ่งในด้านICTเป็นปีที่สามติดต่อกัน
- ปลายปี2013 ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะเท่ากับ 40 % ของจำนวนประชากรโลก ในขณะที่อีกกว่า 1.1 พันล้านครัวเรือน หรือเทียบเท่ากับ 4.4  พันล้านคน ยังไม่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
- บรอดแบนด์เคลื่อนที่(mobile broadband) ในปัจจุบันราคาถูกกว่าบรอดแบนด์แบบพื้นฐาน
- ปัจจุบันประชากรเกือบทั่วโลกสามารถเข้าถึงบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
- 30% ของคนวัยหนุ่มสาวจากทั่วโลกใช้ชีวิตอยู่กับโลกดิจิตอลตั้งแต่เด็ก (digital natives)
- บรอดแบนด์มีความเร็วมากขึ้นบรอดแบนด์ที่ความเร็ว 2 Mbps เป็นแพคเกจที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
- ผู้ประกอบการโทรคมนาคมมีการลงทุน(CAPEX)มากที่สุดในปี 2008 และลดลงหลังจากนั้น จนปัจจุบันการลงทุนด้านกิจการโทรคมนาคมยังไม่มากเท่าในปี 2008

        กรุงเทพฯ, วันที่ 8ต.ค.2556  - ตามรายงานชิ้นสำคัญประจำปีของ ITU เรื่อง ดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศปี 2556 แสดงให้เห็นว่า การใช้บริการบรอดแบนด์ผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ตมีอัตราการเติบโตสูงสุดในตลาด ICT โลก

        จากตัวเลขล่าสุดได้เผยให้เห็นถึงอุปสงค์ในการใช้บริการรวมถึงผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  (ICT) ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆขณะที่ราคาค่าบริการทั้งระบบโทรศัพท์มือถือและบรอด์แบนด์ลดลงอย่างต่อเนื่อง การใช้งานระบบ 3G  มีอัตราการเติบโตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ปลายปี 2556 จะมียอดผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ ถึง 6.8 พันล้าน คน ซึ่งเกือบจะเท่ากับประชากรของทั้งโลก

         นอกจากนี้ มีการประมาณการณ์ว่าจะมียอดผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลกถึง 2.7 พันล้านคน ถึงความเร็วและอัตราค่าบริการในแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก เมื่อเทียบกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกันและระหว่างภูมิภาค การเชื่อมต่อเครือข่าย 3G และ 3G+ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 40% ซึ่งเท่ากับจำนวนผู้ใช้งานในระบบบรอดแบนด์เคลื่อนที่ถึง2.1 พันล้านคน หรือเท่ากับอัตราการเข้าถึงทั่วโลก (global penetration rate) ที่ 30%  ปัจจุบันเครือข่าย 3G ได้ครอบคลุมผู้ใช้บริการจำนวนถึงเกือบ 50% จากประชากรทั่วโลก

อันดับประเทศต่างๆด้านการพัฒนา ICT

        ข้อมูลล่าสุดจากรายงานฉบับปี  2556 หัวข้อเรื่อง ดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศ  เผยให้เห็นว่าสาธารณรัฐเกาหลีเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของโลกในด้านการพัฒนาและการเติบโตด้าน ICTโดยรวม เป็นปีที่3 ติดต่อกัน ตามมาด้วย สวีเดน ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ค ฟินน์แลนด์ และนอร์เวย์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ลักเซมเบิร์ก และฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ก็อยู่ในสิบอันดับแรก(top 10)โดยสหราชอาณาจักรขยับขึ้นมาอยู่ในกลุ่มสิบอันดับแรก จากอันดับที่ 11ในปีก่อนหน้านี้ ดัชนีการเติบโตด้าน ICT (ICT Development Index หรือ IDI) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้จัดอันดับกลุ่มประเทศทั้งหมดจำนวน157 ประเทศ โดยวัดระดับความสามารถในสามด้าน คือ ด้านการเข้าถึง (access index) การใช้งาน (use index) และทักษะผู้ใช้ (skills index)และเปรียบเทียบคะแนนระหว่างปี 2554และปี 2555(แผนภูมิที่ 1)ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากภาครัฐหน่วยงานสหประชาชาติ และภาคอุตสาหกรรม ว่ามีความน่าเชื่อถือและถูกต้องในการวัดความเติบโตด้าน ICT ของประเทศ ประเทศที่มีการเติบโตสูง และ ความท้าทายของการเชื่อมต่อ 30 อันดับแรกของ IDI คือประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง(high-income countries) แสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างรายได้และการเติบโตด้าน ICT ค่า IDI เฉลี่ยในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีความแตกต่างอย่างมากกับค่า IDI เฉลี่ยของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยต่างกันถึงสองเท่า กลุ่มประเทศที่มีการไต่อันดับสูงสุด (most dynamic countries)โดยมีอันดับ IDI สูงขึ้นมากที่สุดจากปีที่ผ่านมา ได้แก่ 

(เรียงตามลำดับจากประเทศที่มีการไต่อันดับสูงสุด)สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์เลบานอน บาร์เบโดส เซเชลล์ เบลารุส คอสต้า ริก้า  มองโกเลีย แซมเบีย ออสเตรเลีย บังคลาเทศ โอมาน และซิมบับเว (ตารางที่ 1) รายงานฉบับนี้ยังแสดงกลุ่มประเทศที่มีอันดับIDI ต่ำสุดหรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศที่มีการเชื่อมต่อต่ำสุด(Least Connected Countries – LCCs. )กลุ่มประเทศเหล่านี้มีประชากรรวมกันมากถึง2.4 พันล้านคน หรือประมาณหนึ่งในสามของจำนวนประชากรของโลก อย่างไรก็ตามประเทศในกลุ่มนี้สามารถได้รับประโยชน์อย่างมากหากมีการพัฒนาให้มีการเข้าถึงและการใช้ ICT ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในด้านของสุขภาพ การศึกษาและการจ้างงาน

      Dr. HamadounTouré เลขาธิการของ ITU กล่าวว่า ตัวเลข IDI ในรายงานปีนี้แสดงให้เห็นทิศทางที่ดีขึ้นว่าภาครัฐให้ความสำคัญด้าน ICT ว่าเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างไรก็ตามความท้าทายยังมีอยู่ในหลายๆประเทศที่ยังไม่สามารถพัฒนาและใช้ประโยชน์จาก ICT ได้โดยเฉพาะการจัดให้มีการเข้าถึง ICT ราคาค่าบริการบรอดแบนด์และความสามารถในการบริโภค ผลการวิเคราะห์แนวโน้มในด้านราคาของการให้บริการบรอดแบรนด์ ใน160 กว่าประเทศ เผยให้เห็นว่า ในช่วงระหว่าง4 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 – 2555  ราคาค่าบริการบรอดแบรนด์แบบพื้นฐาน(fixed-broadband prices) ได้ลดต่ำลงถึง82% จากที่มีราคาอยู่ที่ 115.1% ของค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรในประเทศต่อหัวต่อเดือน (average monthly income per capita, GNI p.c.) ในปี 2551 มาอยู่ที่ 22.1% ในปี 2555 (แผนภูมิที่ 2) กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีการลดลงของค่าบริการบรอดแบรนด์แบบพื้นฐานมากที่สุด โดยลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณ 30% ต่อปี ในระหว่างปี2551 – 2554

       ค่าเฉลี่ยราคาต่อหน่วยความเร็ว (Mbps) ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงปี2551 – 2555 โดยในปี 2555 มีราคาค่าเฉลี่ยของทั้งโลกอยู่ที่US$ 19.50 per Mbps ซึ่งเกือบจะเท่ากับ1ใน 4ของราคาค่าบริการในปี2551        
       รายงานฉบับนี้ยังเสนอผลการเก็บข้อมูลด้านราคาที่สมบูรณ์มากที่สุดเป็นครั้งแรก โดยมีการเก็บข้อมูลของบริการบรอดแบนด์แบบเคลื่อนที่ถึง 4 ประเภทบริการซึ่งผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาความสามารถในการบริภาคด้านราคาของบริการบรอดแบนด์แบบเคลื่อนที่ มีมากกว่าบริการบรอดแบรนด์แบบพื้นฐาน แต่ยังน้อยว่าความสามารถในการบริภาคด้านราคาในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
       ประเทศออสเตรียเป็นประเทศที่ประชากรมีความสามารถในการบริโภคด้านราคาของบริการบรอดแบนด์แบบเคลื่อนที่มากที่สุด ในขณะที่ความสามารถในการบริโภคด้านราคาในประเทศ ประเทศเซาตูเมและปรินซิปี‎(Sao Toméand Principe) ประเทศซิมบับเว่ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มีน้อยที่สุดโดยราคาค่าบริการสูงกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรในประเทศต่อหัวต่อเดือน ประเทศอื่นๆที่มีความสามารถในการบริโภคด้านราคาในเกณฑ์ค่อนข้างสูงรวมถึง กาตาร์ สหราชอาณาจักร เยอรมันนี คูเวต และฝรั่งเศส
         ITU/UNESCO Broadband Commission for Digital Developmentได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2558ราคาเฉลี่ยทั้งโลกของบริการบรอดแบนด์เริ่มต้นจะต้องน้อยกว่า5%ของค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรต่อหัวต่อเดือน


       ‘ผู้ที่อยู่ในโลกดิจิตอล’  (Digital natives) รูปแบบใหม่ในการเก็บสถิติที่ถูกพัฒนาโดย  ITU ที่ปรากฏอยู่ในรายงานของปีนี้ได้ประเมินจำนวน ‘ผู้ที่อยู่ในโลกดิจิตอล’หรือ ดิจิตอล เนทีฝ จากทั่วโลกว่ามีถึงประมาณ 363ล้านคนจากยอดประชากรทั่วโลกประมาณ 7 พันล้านคน ซึ่งเท่ากับ 5.2%ของประชากรทั่วโลก (แผนภาพที่ 3) และเท่ากับ 30%ของประชากรวัยหนุ่มสาวจากทั่วโลก (แผนภูมิที่ 4) รูปแบบสถิติใหม่นี้นิยาม ‘ดิจิตอล เนทีฝ’ ว่าคือกลุ่มคนวัยหนุ่มสาว ช่วงอายุระหว่าง 15 – 24ปี ที่มีประสบการณ์การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างต่ำ 5ปีหรือมากกว่า จากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เป็นคนรุ่นใหม่กว่า145 ล้านคน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว86.3 % จัดว่าเป็น‘ผู้ดิจิตอล เนทีฝ’เปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาที่มีจำนวน ‘ดิจิตอล เนทีฝ’ น้อยว่า 50% ของจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตที่เป็นคนรุ่นใหม่
        Mr. Brahima Sanou ผู้อำนวยการใหญ่ของ สำนักพัฒนาโทรคมนาคม (Telecommunication Development Bureau) ของ ITU กล่าวว่า คนรุ่นใหม่มีความกระตือรือร้นในการใช้งาน ICTอย่างมากและเป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนทิศทางของการพัฒนาด้าน ICT ดังนั้นเราต้องรับฟังเสียงของพวกเขา ช่องว่างทางดิจิตอล
       
        ต้นปี 2556 เกือบ 80% ของครัวเรือนทั่วโลกมีทีวี เทียบกับ 41% ของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ และ 37% ของครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จำนวนครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ดียังมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างจำนวนครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตครัวเรือนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 80% ในขณะที่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่เพียง 28%(แผนภูมิที่ 5) ประมาณว่า 1.1 พันล้านครัวเรือนทั่วโลกยังไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่ง 90% ของจำนวนนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

          แต่ถึงอย่างไร อัตราการเติบโตของจำนวนครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นจากที่เติบโตปีละ 12% ในปี 2551 มาเป็นเติบโตปีละ 28% ในปี 2556

 

            ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเมื่อเทียบกับเปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร ถือว่ามีการเติบโตเป็นอัตราเลขสองหลักในช่วง 10ปีที่ผ่านมา สัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศที่พัฒนาแล้วอาจมียอดถึง77%ในปลายปี 2556ในขณะประเทศที่กำลังพัฒนา มียอดอยู่ที่ 31% การลงทุนด้านโทรคมนาคม ผลวิจัยของ ITU ชี้ให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX)ของผู้ประกอบการทางโทรคมนาคมได้พุ่งขึ้นสูงสุดในปี 2551 ด้วยการลงทุนทั่วโลกมีจำนวนรวมถึง 290พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยยอดการลงทุนลดลงอย่างต่อเนื่องในสองปีต่อมา และถึงแม้ว่าการลงทุนในกิจการด้านโทรคมนาคมจะกลับมาเพิ่มขึ้นในปี 2554แต่ยังไม่มากเท่ากับยอดการลงทุนในปี 2551(แผนภูมิที่ 6)
            การลดลงของยอดการลงทุนในกิจการด้านโทรคมนาคมหลังปี 2551สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป ซึ่งการเข้าถึงตลาดทุนมีข้อจำกัดมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สร้างโดย  -   (18/3/2559 14:34:51)

Download

Page views: 3292