“ธนพันธุ์”รองเลขาธิการ กสทช. เผยประชุมเตรียมการวิทยุคมนาคมโลกถกนำคลื่นดาวเทียมใช้แทนคลื่นโทรศัพท์มือถือ หลังการใช้งานโทรศัพท์มือถือเพิ่มสูงต่อเนื่อง
พลอากาศตรี ดร. ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการ กสทช. สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค กล่าวว่า การเข้าร่วมประชุมกลุมเตรียมการสําหรับการประชุมใหญระดับโลกวาดวยวิทยุคมนาคม ในปี 2562 ขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกครั้งที่ 1 (The Asia-Pacific Telecommunity (APT) Conference Preparatory Group for WRC-19: APG19-1) ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องที่สำคัญได้แก่การกำหนดย่านความถี่เพิ่มเติมสำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ในย่านความถี่ 24.25-86 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งอาจกระทบย่านความถี่ดาวเทียม
Ka-band 26.5-40 กิกะเฮิรตซ์ ส่งผลต่อกิจการที่ต้องใช้ความถี่ผ่านดาวเทียมอยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่หลายประเทศ เช่น ประเทศไทย ก็ยังมีความต้องการใช้คลื่นความถี่ผ่านดาวเทียม แม้อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีความต้องการใช้งานมากขึ้น
“ตอนนี้อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็มองว่า คลื่นโทรศัพท์มือถือมีความต้องการใช้มากขึ้น คลื่นที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอ จึงต้องการใช้คลื่นความถี่ดาวเทียม Ka-band แต่ถ้านำไปใช้ก็อาจกระทบกับกิจการดาวเทียมเหมือนกัน แต่คำถามคือเราจะป้องกันไม่ให้มีการใช้คลื่นดาวเทียมได้นานแค่ไหน หากมีความจำเป็นต้องใช้คลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่ม ในขณะที่คลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการใช้งาน” พลอากาศตรี ดร.ธนพันธุ์ กล่าว
นอกจากที่ประชุมยังมีการหารือเรื่อง การกำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับวงโคจรดาวเทียม ซึ่งได้มีการปรับลดขั้น A (Advance Publication Information) ออกคงเหลือแต่เฉพาะขั้น C (Coordination) และขั้น N (Notification) โดยจะต้องมีการดูรายละเอียดในการปฏิบัติ รวมทั้งมีการหารือในประเด็นกิจการทางทะเล และกิจการทางการบิน ที่จะมีการผลักดันในการกำหนดคลื่นความถี่สำหรับ Global Maritime Distress and Safety System (GMDSS) และ Global Aeronautical Distress and Safety System (GADSS) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในกิจการทั้งสองให้ดียิ่งขึ้น
รองเลขาธิการ กสทช. สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค กล่าวว่า การประชุม APG19-1 มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดโครงสร้างและวิธีการดำเนินการของที่ประชุม รวมทั้งเลือกประธานการประชุมในระดับต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกจัดทำข้อเสนอในนามภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่อที่ประชุม WRC-19 ในปี 2562 โดยสำนักงาน กสทช. ในนามประเทศไทยได้ส่งข้อเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างและแผนงานของการประชุมที่จะจัดขึ้นอีก 4 ครั้ง โดยให้แบ่งกลุ่มทำงานออกเป็น 6 เรื่อง ได้แก่ 1. กิจการเคลื่อนที่และประจําที่ 2. การประยุกต์ใช้งานระบบบอร์ดแบนดในกิจการเคลื่อนที่ 3. กิจการดาวเทียม 4. กิจการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 5. กิจการทางการบิน ทางทะเล และวิทยุสมัครเล่น และ 6. ประเด็นทั่วไป รวมทั้งเสนอพนักงาน กสทช. ทำหน้าที่ประธานการประชุมในระเบียบวาระ Intelligent Transport System
สร้างโดย - (4/8/2559 8:34:43)
Download
เอกสารแนบ
Page views: 452